Speak Discussion

  • Uploaded by: Associate Professor Dr.Marut Damcha-om
  • 0
  • 0
  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Speak Discussion as PDF for free.

More details

  • Words: 1,121
  • Pages: 12
การอภิปราย สมพงศ์ วิทยศักดิ์พันธุ์ ข้อเขียนต่อไปนี้มุ่งให้นักศึกษาได้เรียนรู้เกี่ยวกับการอภิปราย การเตรียมตัวเพื่อเป็นผู้อภิปรายหรือวิทยากร การเป็นผูด้ ำาเนินการอภิปราย และการเป็นพิธีกรในการอภิปราย ทั้งนี้เพื่อให้สามารถปฏิบัติตนได้อย่างถูกต้อง เป็นลำาดับขั้นตอน ทำาได้อย่างเหมาะตามความคาดหวังของผู้ฟัง และตามสิ่งที่พึงเป็น

.

๑ การอภิปรายคืออะไร ก่อนอื่นต้องเข้าใจความหมายของการอภิปรายให้ถ่องแท้เพื่อจะได้เตรียมความคิดและเตรียมตัวได้ถูกต้อง การอภิปรายหมายถึงการร่วมกันแสดงความคิดเห็นต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่ง รวมไปถึงการพูดให้ความรู้ข้อมูลใหม่ด้วย การอภิปรายที่ได้ยินกันบ่อยปัจจุบัน เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจรัฐบาล การอภิปรายเกี่ยวกับปัญหาเศรษฐกิจ การอภิปรายเรื่องวิกฤติวัฒนธรรมในยุคโลกาภิวัตน์ เป็นต้น ปกติจะมีผู้มาร่วมอภิปรายตั้งแต่สองคนขึ้นไป หรืออาจเป็นกลุ่มคนที่สนใจเรื่องเดียวกัน อาจเป็นการอภิปรายในที่ประชุม สำานักงาน กลางแจ้ง หรือในสภา ก็ได้ โดยมักเปิดโอกาสให้แต่ละคนได้แสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเต็มที่ แต่ในระยะเวลาจำากัด ทั้งนี้เพื่อให้ทุกคนสามารถเข้ามามีส่วนร่วมได้

.

๒ วัตถุประสงค์ของการอภิปราย การอภิปรายแสดงความคิดเห็นที่จัดขึ้นมักมีจุดมุ่งหมายแน่นอน นั่นคือ เพื่อบรรลุวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งดังต่อไปนี้คือ เพื่อมาแสดงความคิดเห็น ให้ความรู้ เสนอแนะ โต้แย้ง หรือสนับสนุน ด้วยข้อมูลเหตุผล หลักการ ตัวอย่าง เพื่อโน้มน้าวให้ผู้ฟังคล้อยตาม หรือเพื่อให้ผู้ฟังคิด ชั่งนำ้าหนัก ไตร่ตรอง ฉุกคิด หรือตอกยำ้าความเชื่อในแง่มุมเดิม หรือเพื่อให้เกิดความคิดใหม่ ก็ได้ ปกติแล้วหากมีข้อถกเถียง ปัญหา และความไม่เข้าใจกันของสาธารณชน หน่วยงาน หรือองค์กรเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็มักจะจัดการอภิปรายขึ้นเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็น ทัศนคติ และให้ข้อมูลความรู้ เพื่อที่ผู้ฟังจะได้นำาความรู้ ความคิดเห็นที่ได้เหล่านี้ไปไตร่ตรองเพื่อตัดสินใจดำาเนินการต่อไป วัตถุประสงค์ของการอภิปรายอาจมีได้ดังนี้

๑. เพื่อหาข้อเท็จจริง ๒. เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้และความคิดเห็น ๓. เพื่อวัดและตรวจสอบทิศทางหรือความรู้สึกของสมาชิกของสังคมหรือกลุ่มต่อเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่เป็นประเด็นสนใจ ๔. เพื่อกระตุ้นให้ผู้ฟังเกิดความสนใจและเรียนรู้เกี่ยวกับประเด็นปัญหา ๕. เพื่อนำาข้อมูลความรู้และความคิดเห็นไปประกอบการตัดสินใจ ๖. เพื่อแก้ปัญหาและหาทางออกร่วมกันของกลุ่ม .

/

๓ ลักษณะ ประเภทของการอภิปราย การอภิปรายมีลักษณะทั่วไป ๓ ลักษณะดังนี้คือ การอภิปรายในที่ประชุม การอภิปรายทั่วไป การอภิปรายแบบมีวิทยากรหรือจำากัดผู้ร่วมอภิปราย

.

๑ การอภิปรายในที่ประชุม หมายถึงการเปิดโอกาสให้สมาชิกของที่ประชุมที่มีลักษณะปิด ได้แสดงความคิดเห็นอย่างกว้างขวางเกี่ยวกับประเด็นใดประเด็นหนึ่ง เพื่อนำาไปสู่การตัดสินใจหรือการแก้ไขปัญหา หรือมติของที่ประชุม โดยมีประธานในที่ประชุมทำาหน้าที่ควบคุมการอภิปราย หลังจากการอภิปรายอาจมีการให้ลงมติ หรือสรุปผลการอภิปราย โดยที่ประชุมอาจแบ่งออกได้เป็น สามฝ่าย คือฝ่ายเห็นด้วย ฝ่ายไม่เห็นด้วย และฝ่ายยังไม่ตัดสินใจ การอภิปรายของทุกฝ่ายเป็นไปเพื่อให้เหตุผล ข้อมูล และความคิดเห็นเพื่อโน้มน้าวให้อีก ๒ ฝ่ายมาเห็นด้วยเพื่อให้ที่ประชุมมีความเห็นคล้อยตามหรือลงมติตามที่ฝ่ายตนต้องการ เช่น การอภิปรายในที่ประชุมรัฐสภาเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่ง เช่น เรื่องงบประมาณ เรื่องกระทู้เกี่ยวกับอาชญากรรมและยาเสพติด ฯลฯ หรือการอภิปรายในที่ประชุมขององค์กร หน่วยงาน เป็นต้น การอภิปรายในที่ประชุมมีลักษณะพิเศษคือเปิดโอกาสให้ทุกคนได้แสดงความคิดเห็น ให้ข้อมูลความรู้ได้โดยเท่าเทียมกัน โดยถือว่าสมาชิกแต่ละคนมีความรู้ มีสิทธิ์ และมีโอกาสอภิปรายได้ เนื่องจากผู้เข้าประชุมมีความรู้ความเข้าใจงานและประเด็นที่กำาลังถกเถียงอภิปรายกันอยู่ค่อนข้างดี ปกติมักให้มีการแจ้งวาระการประชุมเพื่อให้สมาชิกเตรียมตัวล่วงหน้าได้

.

๒ การอภิปรายทั่วไป เป็นลักษณะของการอภิปรายที่เปิดโอกาสให้ทุกคนที่เป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือผู้เข้าร่วมประชุมที่สนใจปัญหาเดียวกันแสดงความคิดเห็นได้ การอภิปรายทั่วไปทำาได้สองลักษณะ คือ ลักษณะแรกทำาในหมู่สมาชิกผู้เข้าร่วมประชุมเท่านั้น แต่เปิดโอกาสให้ทุกคนแสดงความคิดเห็นได้

ดังเช่นการอภิปรายในที่ประชุมดังกล่าวข้างต้น หรือเป็นการเปิดโอกาสให้ผู้ฟังที่เป็นสาธารณชนเข้าร่วมประชุมและแสดงความคิดเห็นได้ด้วย ปกติก่อนจะมีการอภิปรายทั่วไปมักเริ่มต้นให้มีวิทยากร หรือผู้ร่วมอภิปรายที่กำาหนดบุคคลไว้แล้วพูดอภิปรายเสนอความคิดจนครบทุกคนแล้วก่อน จากนั้นก็เปิดโอกาสให้ผู้ฟังร่วมแสดงความคิดเห็นเพิ่มเติมได้

.

/

๓ การอภิปรายแบบมีวิทยากร ผู้ร่วมอภิปราย ลักษณะนี้เป็นที่นิยมในปัจจุบันมาก

-

การอภิปรายแบบนี้มักมีวิทยากรหรือผู้รว่ มอภิปรายประมาณ ๒ ๔ จนถึง มาร่วมแสดงความคิดเห็น อาจเป็นการให้ความรู้ความเข้าใจในเรื่องเดียวกัน หรือเป็นการเสนอแนวทาง ทางออกของปัญหา หรือความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องใดเรื่องหนึ่งที่กำาลังเป็นประเด็นสนใจของกลุ่มหรือสาธารณชน การอภิปรายลักษณะนี้ ผูอ้ ภิปรายมักได้รับเชิญในฐานะเป็นผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน เป็นบุคคลที่สังคมยอมรับ เป็นบุคคลที่มีความคิดเห็นน่าสนใจ เป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้ทสี่ ังคมกำาลังให้ความสนใจ เป็นต้น มีคำาเรียก ๒ คำาสำาหรับผู้อภิปราย คือ วิทยากร และผู้ร่วมอภิปราย ทั้งสองคำามีความหมายเดียวกันในแง่ที่ว่ามีบทบาทหน้าที่ให้ความคิด ความรู้ และข้อเสนอแนะต่าง ๆ แก่ผู้ฟัง

.

๔ การเตรียมตัวสำาหรับการอภิปราย ไม่ว่าจะเป็นการอภิปรายลักษณะใดก็ตาม ผูอ้ ภิปรายทีด่ ีมักจะเตรียมตัวเพื่อที่จะพูดอภิปรายล่วงหน้าเสมอเพื่อให้การพูดแต่ละครั้งน่าสนใจ โน้มน้าวใจ เป็นเหตุเป็นผล สมเหตุสมผล และเป็นจริง และต้องพูดให้ครบถ้วนในระยะเวลาที่จำากัด

-

ปกติหากเป็นการอภิปรายในที่ประชุมหรือการอภิปรายทั่วไป ผูอ้ ภิปรายมักมีเวลาเพียงน้อยนิดตั้งแต่ ๒ ๓ นาทีไปจนถึงประมาณ ๑๐ นาที ก็เรียกว่าใช้เวลามากแล้ว เพราะมีคนอีกจำานวนมากที่รอจะอภิปรายแสดงความคิดเห็นเช่นเดียวกัน ในขณะที่การอภิปรายที่มีวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายนั้น วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายมีจำานวนจำากัดจึงมีเวลาอภิปรายมากกว่า กระนั้นก็ตาม การเตรียมตัวที่ดีถือเป็นหัวใจสำาคัญของการอภิปรายเลยทีเดียว การเตรียมตัวที่ดีมี ๒ แบบตามประเภทหรือลักษณะของการอภิปรายดังนี้

.

๑ การเตรียมตัวอภิปรายในที่ประชุมและการอภิปรายทั่วไป การประชุมเช่นนี้มักมีการแสดงความคิดเห็นกันต่อเนื่อง หากเป็นสมาชิกของที่ประชุมหรือเป็นผู้สนใจในประเด็นปัญหาโดยเฉพาะ จำาเป็นต้องเตรียมตัว คือ



ศึกษาหาข้อมูลและความคิดเห็นต่าง ๆ เกี่ยวกับประเด็นดังกล่าวให้กว้างขวางรอบด้าน รู้จักต้นตอหรือสาเหตุ ปัจจัยที่ให้เกิดปัญหา ข้อเสนอที่ได้มีการปฏิบัติไปแล้ว หรือข้อเสนอ ข้อคิดเห็นต่างๆ ที่ได้มีการพูดหรืออภิปรายมาก่อนหน้านี้ ผลของการปฏิบัติหรือการยอมรับ หรือความเป็นไปได้ของข้อเสนอเหล่านั้น ข้อมูลรอบด้านที่เป็นธรรมชาติของประเด็นปัญหา เหตุการณ์รอบด้าน และผู้ที่เกี่ยวข้อง ฯลฯ



เมื่อเข้าใจสภาพปัญหาและข้อคิดเห็นที่มีอยู่ก่อนแล้ว พยายามคิดหาเหตุผลด้วยกรอบคิดหรือมุมมองที่แตกต่างในการเสนอแนะเพื่อแก้ปัญหาหรือให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนั้นๆ ทั้งนี้เพื่อว่าความคิดของเราจะได้ไม่ซำ้าซ้อนหรือเป็นความคิดดาดๆ ทั่วไปที่คนรู้แล้ว ผู้อภิปรายไม่เพียงแต่ตอกยำ้าข้อมูล ความคิด ความเชื่อเดิมเท่านั้น หากต้องเสนอแนวคิดใหม่ที่น่าสนใจ เป็นไปได้ และคิดว่าน่าจะเป็นข้อมูลใหม่หรือทางออกใหม่ที่ดีให้กับที่ประชุมด้วย



กลั่นกรองความคิด เหตุผล และข้อมูลเพื่อให้เกิดความแน่ใจและมั่นใจอย่างเต็มที่ จากนั้นนำาความคิด เหตุผล และข้อมูล มาเรียงลำาดับเพื่อความเป็นเหตุเป็นผล จากนั้นก็หาตัวอย่างประกอบเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจได้ง่าย สัน้ และชัดเจน ทั้งนี้เนื่องจากมีเวลาพูดอภิปรายจำากัด



หากมีเวลาเตรียมตัวน้อยและเป็นการอภิปรายแสดงความคิดเห็นของที่ประชุมอย่างต่อเนื่อง จำาเป็นต้องใจจดใจจ่อต่อการอภิปรายของสมาชิกแต่ละคน บันทึกประเด็น เหตุผล และตัวอย่างที่ยกประกอบเพื่อทำาความเข้าใจได้เร็ว หากต้องการเพิ่มเติม สนับสนุน หรือโต้แย้ง ควรเขียนสิ่งที่ต้องการอภิปรายเป็นหัวข้อหรือประเด็นไว้ พร้อมเหตุผล และตัวอย่างอย่างย่อๆ โดยเขียนให้เป็นลำาดับ วางเหตุและผลให้เหมาะสมพร้อมตัวอย่างที่ชัดเจนเพื่อสนับสนุนความคิดของตน หัวใจสำาคัญของการอภิปรายแบบนี้คือ ฟังให้มากเพื่อให้ได้รับข้อมูลและความคิดเห็น เพื่อที่จะคิดหาทางออกใหม่สำาหรับที่ประชุม และสิ่งเหล่านี้คือสิ่งที่ผู้ฟังหรือผู้เข้าร่วมประชุมคาดหวัง

.

๑ การเตรียมตัวเป็นวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย การเป็นวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแสดงถึงการได้รับการยอมรับให้เป็นผู้รู้หรือผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านที่เกี่ยวข้องกับประเด็นปัญหาหรือเรื่องราวที่มีจะการอภิ ปราย เหตุนี้เองทำาให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายมีเวลาสำาหรับการอภิปรายมากกว่าการอภิปรายแบบอื่น และการอภิปรายเช่นนี้มักเน้นให้วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายพูดเป็นหลัก โดยอาจมีการซักถาม เปิดอภิปรายทั่วไปตอนหลังเพื่อให้ผู้ฟังมีส่วนร่วมได้บ้างในเวลาที่จำากัดเท่านั้น เมื่อเป็นเช่นนี้ การเตรียมตัวของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงมีลักษณะคล้ายกับการเตรียมตัวพูดโดยทั่วไป นั่นคือ

เตรียมตัวศึกษาหาความรู้ ความคิดเห็นและข้อมูลเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปรายอย่างรอบด้าน และตรงประเด็น

เน้นเรื่องความคิดใหม่ ข้อเสนอแนะใหม่ ทางออกใหม่ และข้อมูลใหม่ พร้อมเหตุผล ตัวอย่างประกอบที่ชัดเจน ทั้งหมดนี้ต้องตรงประเด็นเช่นเดียวกัน

วิเคราะห์ผู้ฟัง โอกาส สถานที่ เวลา วัตถุประสงค์ของการอภิปราย ฯลฯ จัดลำาดับความคิด เหตุผล และเลือกตัวอย่างที่เหมาะสม เพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจง่าย ร่างบทพูดด้วยการเลือกคำา สำานวน ประโยค หาคำาคม คติ แง่คดิ และบทกวีที่สำาคัญและเข้ากับเรื่องที่จะอภิปราย โดยให้เหมาะสมกับเวลาที่กำาหนด

ฝึกซ้อมให้จำาได้ขึ้นใจ และสามารถพูดได้อย่างเป็นธรรมชาติ เร้าใจ น่าสนใจ ทำาเค้าโครงของบทพูดโดยกำาหนดเป็นโครงเรื่องที่เขียนเฉพาะประเด็นสำาคัญ เหตุผล และตัวอย่าง ทั้งหมดเขียนแบบย่อ ๆ

เพื่อเป็นแนวในการพูด เขียนตัวโต ๆ เพื่อให้ดูและอ่านง่าย หากเป็นคำาคม บทกวี ก็เขียนไว้ด้วยเช่นเดียวกัน เพราะขณะพูดอาจลืมได้ เค้าโครงหรือโครงเรื่องนี้อาจจะใช้กระดาษธรรมดา หรืออาจใช้แผ่นกระดาษแข็งก็ได้ เพื่อให้ดูและอ่านได้อย่างสะดวก สิ่งหนึ่งที่การเตรียมตัวอภิปรายแตกต่างจากการเตรียมตัวพูดทั่วไปคือ การวิเคราะห์วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายด้วยกัน เนื่องด้วยการอภิปรายเช่นนี้มีวิทยากรตั้งแต่ ๒ คนขึ้นไป หากได้รับการมอบหมายหัวข้อหรือประเด็นที่แตกต่างกัน ก็นับเป็นเรื่องดีที่สามารถเตรียมตัวได้ตามประเด็นนั้น หลายครั้งที่การอภิปรายไม่ได้มีการมอบหมายหัวข้อพิเศษให้แก่วิทยากรแต่ละคน ทำาให้วิทยากรจำาเป็นต้องเตรียมมากขึ้น ด้วยการอ่านใจหรือวิเคราะห์วิทยากรที่เป็นผู้ร่วมอภิปรายว่าเขามีความรู้ความเชี่ยวชาญด้านใด มักมีแนวคิดหรือมุมมองอย่างไร และคาดว่าเขาจะเสนออย่างไร เพื่อว่าการเตรียมตัวจะได้ไม่เกิดความซำ้าซ้อนกันขึน้ หากเกิดเหตุการณ์เช่นนี้ ผู้ที่อภิปรายก่อนจะพูดไปหมดแล้ว ทำาให้ผู้ร่วมอภิปรายคนต่อมาไม่มีเรื่องที่พูดอภิปรายเพราะเตรียมเรื่องมาซำ้ากัน ดังนั้น ทางที่ดีควรเตรียมตัวให้มากและขณะเดียวกันก็ต้องอ่านและวิเคราะห์ผู้ร่วมอภิปรายของเราด้วย ปกติแล้วเพื่อให้การอภิปรายดำาเนินไปอย่างราบรื่นและได้รบั ความรู้ ความคิดเห็นและประโยชน์สูงสุด ผู้จัดการอภิปรายจะกำาหนดหัวข้อย่อยให้ผู้อภิปรายแต่ละคนล่วงหน้า บ่อยครั้งที่ไม่ได้ทำาเช่นนี้ ผู้จัดก็อาจจัดให้ผู้อภิปรายได้พบปะกัน โดยมีผู้ดำาเนินการอภิปรายเป็นผู้ประสานงานจัดประเด็น ลำาดับการพูดอภิปราย และเวลาให้กับวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่านก่อนการอภิปรายไม่นานนัก ยกเว้นมีการติดต่อล่วงหน้าเป็นเวลานาน เมื่อเป็นเช่นนี้ วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายจึงต้องเตรียมตัวให้กว้างขวาง ลึกซึ้ง และมีข้อมูลและความคิดเห็นเพื่อจะได้ไม่เกิดความซำ้าซ้อนหรืออับจนข้อมูล ข้อคิดเห็นได้ขณะขึ้นอยู่บนเวทีแล้ว การจะทำาได้แน่นอนว่าจะต้องวิเคราะห์ผู้ร่วมอภิปรายได้อย่างถูกต้องเท่านั้น

.

๕ ผูด้ ำาเนินการอภิปราย ผูด้ ำาเนินการอภิปรายมีบทบาทสำาคัญมากในการอภิปราย เป็นผู้ทำาให้การอภิปรายเริ่มต้นและดำาเนินไปอย่างราบรื่นและน่าสนใจ ปกติแล้วผูด้ ำาเนินการอภิปรายมีหน้าที่และบทบาทต่อไปนี้

๑. เป็นผู้กำาหนดรูปแบบการอภิปราย ประเด็นหัวข้อย่อยให้เป็นลำาดับที่เหมาะสม มีความน่าสนใจ ให้แก่วิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายแต่ละท่าน กำาหนดเวลาอภิปรายของแต่ละคน และช่วงเวลาสำาหรับการซักถาม ทำาหน้าที่เป็นผู้จัดการ ผู้ควบคุมเวที ผูก้ ำาหนดเวลาและจับเวลา ตลอดจนกำาหนดกติกาที่เหมาะสมเพื่อให้การอภิปรายดำาเนินได้รับประโยชน์สูงสุด

๒. เป็นพิธีกร สำาหรับการอภิปรายที่ไม่เป็นทางการมากนัก ผู้ดำาเนินการอภิปรายจะทำาหน้าที่เป็นพิธีกร แนะนำาประเด็นที่จะอภิปราย

ความสำาคัญ ความน่าสนใจ โอกาส และความคาดหวังของผู้จัดอภิปราย เป็นต้น

๓. แนะนำาวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย โดยกล่าวถึงประวัติที่สำาคัญ ความน่าสนใจหรือลักษณะพิเศษไม่ว่าจะเป็นหน้าที่การงาน ตำาแหน่ง

ผลงาน ฯลฯ ที่เกี่ยวข้องกับการอภิปราย โดยคำานึงถึงความเหมาะสมด้านเวลา และความสนใจของผู้ฟัง

๔.

นำาและเชื่อมโยงประเด็นการอภิปรายของวิทยากรแต่ละท่าน หากผู้ร่วมอภิปรายพูดยาวและไม่ชัดเจนนัก

ผูด้ ำาเนินการอภิปรายอาจสรุปเป็นประเด็นเพื่อให้ผู้ฟังเข้าใจชัดเจนขึ้น หากเนื้อหาชัดเจนอยู่แล้ วก็ไม่มีความจำาเป็นต้องสรุปเพราะทำาให้เสียเวลา แต่เชื่อมโยงประเด็นและเชิญผู้ร่วมอภิปรายพูดคนต่อไป

๕. จัดสรรและควบคุมเวลาของผู้ร่วมอภิปรายและผู้สนใจซักถามในการอภิปรายทั่วไป เพื่อไม่ให้มีการผูกขาดการพูดหรือการพูดที่ออกนอกเรื่อง ไม่ตรงประเด็น หรือเยิ่นเย้อ

๖. กล่าวขอบคุณวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปราย ผู้ให้การสนับสนุนช่วยเหลือ และผู้ฟัง ผูด้ ำาเนินการอภิปรายที่ดีควรมีลักษณะดังต่อไปนี้

.

๑ มีลักษณะผู้นำา กล้าตัดสินใจ กล้าที่ดำาเนินการอภิปรายให้เป็นไปตามเวลาที่กำาหนด

.

๒ เตรียมตัวดีสำาหรับการอภิปราย กล่าวคือ มีความรู้ค่อนข้างดีเกี่ยวกับเรื่องที่จะอภิปราย มีข้อมูล เข้าใจ สามารถตั้งคำาถามหรือข้อสังเกตที่ดีได้ และเตรียมตัวมาอย่างดี ทั้งในส่วนของเนื้อหา บทที่จะเริ่มต้น บทแนะนำาผู้ร่วมอภิปราย และบทสรุปการจบอภิปราย ว่าจะพูดอย่างไรให้เหมาะสม

. ๔. ใจจดใจจ่อและมีสมาธิฟังการอภิปรายเพื่อที่จะสรุปได้อย่างตรงประเด็น สั้น กระชับ ถูกต้อง และสามารถเชื่อมต่อประเด็นได้อย่างราบรื่น ๓ มีวาทศิลป์ในการตัด ขัด และแทรก หากมีการพูดเกินเวลา พูดนอกเรื่อง เยิ่นเย้อ เป็นต้น

ผูด้ ำาเนินการอภิปรายอาจจำาเป็นต้องเขียนบันทึกอยู่ตลอดเวลาขณะฟังวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายเพื่อไม่ให้ลืมประเด็น

. ๖. ดำาเนินการอภิปรายอย่างเป็นกันเอง เป็นธรรมชาติ และจริงใจ ๗. แต่งกายสุภาพ

๕ เตรียมนาฬิกาเพื่อจับเวลา กระดาษสำาหรับเตือนผู้ร่วมอภิปรายเกี่ยวกับเวลาที่เหลือหรือการให้รีบสรุป

.

๖ พิธีกร พิธีกรเป็นบุคคลสำาคัญของงานเสมอ เป็นผู้ที่จะทำาให้งานการอภิปรายดำาเนินไปได้อย่างราบรื่นทั้งก่อนการอภิปรายและภายหลังการอภิปราย ปกติแล้วคนทั่วไปไม่รู้จักพิธีกร หากทำางานได้ดี ราบรื่น ก็จะดูเหมือนว่าพิธีกรทำางานได้ตามปกติตามความคาดหวังของที่ประชุม อย่างไรก็ตาม หากมีเรื่องติดขัดขึ้น สิง่ ที่ผู้ฟังสนใจและพุ่งเป้าความสนใจไปก็คือ พิธีกร นั่นเอง สำาหรับการอภิปราย พิธีกรมีบทบาทและหน้าที่อยู่เพียง ๒ ช่วง คือช่วงแรกก่อนมีการอภิปราย และช่วงหลังเมื่อจบการอภิปราย แม้ดูเหมือนไม่ใช่กลไกหลักของงาน แต่ก็เป็นส่วนสำาคัญที่จะทำาให้การอภิปรายน่าสนใจและจบลงได้อย่างประทับใจ หากพิธีกรได้เตรียมตัว เขียนบท พูดอย่างเป็นธรรมชาติ มีแง่คดิ คติ และคำาคม ที่ให้ภาพรวมและความประทับใจเกี่ยวกับการอภิปราย ตลอดจนยำ้าความคิดข้อเสนอที่ดีของวิทยากรหรือผู้ร่วมอภิปรายให้ผู้ฟังได้ฝังใจ ประทับใจ และนำาติดไปคิดไตร่ตรองและมีความประทับใจที่ดีกับการอภิปรายและวิทยากร โดยทั่วไป พิธีกรสำาหรับการอภิปรายมีบทบาทและหน้าที่ดังต่อไปนี้

.

๑ แนะนำาหัวข้อการอภิปราย โอกาส และวัตถุประสงค์ของการอภิปราย เพื่อให้ผู้ฟังเกิดความสนใจมากขึ้น และอาจกล่าวถึงผู้ร่วมอภิปรายและผู้ดำาเนินการอภิปรายในแง่มุมที่เกี่ยวกับหัวข้อเพื่อเพิ่มความน่าสนใจ

. ๓. เมื่อการอภิปรายสิ้นสุดลง กล่าวขอบคุณผู้ดำาเนินการอภิปราย และวิทยากรอีกครั้ง และขอบคุณผู้ให้การสนับสนุน ช่วยเหลือ และผู้ฟัง ๒ แนะนำาผู้ดำาเนินการอภิปราย

พิธีกรที่ดีต้องเข้าใจและมองเห็นภาพรวมของการดำาเนินงานการอภิปรายทั้งหมด ต้องเป็นผู้วางแผนเกี่ยวกับกำาหนดเวลาของการเริ่มและการเลิกงาน รู้รายละเอียดเกี่ยวกับช่วงเวลาว่าช่วงใดมีการดำาเนินการอย่างไร และมีรายละเอียดเกี่ยวกับผู้ดำาเนินการอภิปรายและผู้ร่วมอภิปราย ตลอดจนรู้เกี่ยวกับหัวข้อ วัตถุประสงค์ของการจัดการอภิปราย สามารถพูดดึงความสนใจจากผู้ฟังได้ นอกจากนี้พิธีกรยังต้องรู้ว่าควรต้องกล่าวถึงและขอบคุณใครบ้างที่ทำาให้งานเกิดขึ้นได้และประสบความสำาเร็จ

ต่อไปนี้เป็นการทบทวนหัวข้อสำาคัญสำาหรับการอภิปรายและการเป็นพิธีกรที่ดี การอภิปราย

•การอภิปรายเป็นวิถีทางในการร่วมมือกันคิดแก้ปัญหาด้วยการพูดคุยกันอย่างมีจุดหมายแน่นอน หลักแนวทางในการดำาเนินการอภิปรายกลุ่ม

1. 2. 3.

จำากัดวงขอบเขตของปัญหา วิเคราะห์ปัญหา หาสาเหตุ รวบรวมข้อปัญหาหาแนวทางแก้ไข แยกแยะประเด็น

.

4. 5.

พิจารณาข้อแก้ปัญหา ทางแก้ไข หนทางที่เป็นไปได้ ร่วมตัดสินใจกันเลือกข้อแก้ปัญหาที่ดีที่สุด มีเหตุผลสนับสนุนการตัดสินใจ คุณลักษณะและประเภทของผู้นำาอภิปรายกลุ่ม

•ผูน้ ำา คือผู้ที่สามารถชักจูงหรือชักชวนคนอื่นให้กระทำาตามทั้งทางตรงและทางอ้อม คุณลักษณะที่สำาคัญของผู้นำา

1. 2. 3. 4.

มีความสามารถ เฉลียวฉลาด คล่องแคล่วในการพูด มีวาทศิลป์ มีความคิดริเริ่ม กล้าตัดสินใจ มีความรู้ และประสบการณ์ มีความรับผิดชอบ ไว้วางใจได้ มีความเชื่อมั่นในตนเอง มีคุณธรรม สุขุมรอบคอบ จิตใจมั่นคง มีสว่ นร่วม รู้จักปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม รู้จักให้ความร่วมมือ มีอารมณ์ คุณลักษณะที่สำาคัญของผู้นำาอภิปรายกลุ่ม

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗

มีการยอมรับนับถือซึ่งกันและกัน มีความสามารถในการสื่อสาร เป็นนักฟังที่ดี คิดและติดตามเรื่องราวได้อย่างรวดเร็ว สรุปประเด็นได้ตรง ได้ใจความสำาคัญ มีความรู้ในเรื่องที่อภิปรายดี เคารพความคิดเห็นของผู้อื่น

Introducing Speakers • Thoroughly Prepare What You Are Going to Say • Follow the T-I-S Formula (Topic-Importance-Speaker) • Be Enthusiastic • Be Warmly Sincere • Thoroughly Prepare the Talk of Presentation

พิธีกร หน้าที่ของพิธีกร ๘ ประการ

1. 2. 3. 4. 5. 6. 7. 8.

เป็นผู้ให้ข้อมูล เป็นผู้ขับเคลื่อนปฏิบัติการ เป็นผู้ร้อยรัดหรือร้อยเรียงกิจกรรม เป็นผู้เสริมจุดเด่น เป็นผู้เหนี่ยวนำาอารมณ์ เป็นผู้เสริมสร้างความสมานฉันท์ เป็นผู้เสริมเติมช่องว่าง เป็นผู้แก้ไขปัญหาเฉพาะหน้า เปรียบเทียบหน้าที่ของวิทยากรและพิธีกร

วิทยากร

.

๑ พูดเนื้อหาเรื่องเดียว ยาว ต่อเนื่อง รวดเดียวจบ

-

มีเวลา ๑ ๓ ชั่วโมง

. ๓. มีบทบาทผู้ให้แนวคิด หลักการ ประสบการณ์ ๔. ทำาให้ผู้ฟังยอมรับ ประทับใจ ศรัทธา เชื่อถือ ๕. พูดในฐานะคนในหรือ”แขก”

๒ ต้องกำาหนดขอบเขตเรื่องและเวลาตามกำาหนด

พิธีกร

. ๒. เชื่อมโยงความต่อเนื่อง ต้องพูดหลายเรื่อง ๓. เป็นผู้ประสานระหว่างผู้พูดผู้ฟัง ๔. พูดให้ผู้ฟังยอมรับ ประทับใจผู้พูดมิใช่ตน ๕. พูดในฐานะเจ้าภาพ

-

๑ พูดข้อความสั้น ๆ หลายช่วงหลายตอนมีเวลาช่วงละ ๑ ๓ นาที

แนวการเตรียมตัวเป็นพิธีกร

มี ๒ แบบ คือ การเตรียมระยะยาว และการเตรียมระยะสั้น





การเตรียมระยะยาว

1. 2. 3. 4. 5.

(

สัง่ สมเจตคติ ทบทวนหน้าที่ เหตุผลสนับสนุนการเป็นพิธีกร พลิกความรู้สึกว่ายากเป็นความท้าทายและมุ่งมั่น ฝึกฟัง ต้องเป็นนักฟังที่ดี เก็บสาระ มุข ลูกเล่น ศึกษาการพูด สะสมเกร็ดการพูด พูดสั้นแต่ต้องมีพลัง ด้วยคำาคม สุภาษิต ฯลฯ ใช้การ์ดแยกเก็บเป็นหมวดหมู่ จดทันทีที่เห็นได้ยินได้ฟัง ซ้อมหลอก

การเตรียมระยะสั้น

1. 2. 3. 4. 5.

(

ศึกษาข้อมูล “วิเคราะห์สถานการณ์ ผู้ฟัง โอกาส จุดมุ่งหมาย บรรยากาศ ฯ

รียมเนื้อหาและคำาพูด มีผลต่อความราบรื่นมากให้ละเอียดพร้อมมุข คติ แง่คิด ตรวจสอบความเหมาะสม ถ้อยคำา ภาษา ความสั้นยาว ซ้อมจริง ไปดูสถานที่

การทำาหน้าที่พิธีกร ขั้นตอนการปฏิบัติ

• • • • •

)

ตัง้ จิตให้แจ่มใส ไปถึงก่อนเวลา อุ่นเครื่องแก้ประหม่า ทำาหน้าที่สุดฝีมือ สุดคือประเมินผล

.

.

๑ หลักและแนวปฏิบัติในการเป็นพิธีกร ของทพ อุทัยวรรณ กาญจนกามล

➭สัน้ -ใจความดี ➭มีมารยาท ➭ฉลาดชม ➭คารมดี ➭มีไมตรีต่อผู้ฟัง ➭ระวังอย่าวิจารณ์ ➭สานให้ราบรื่น ➭กลมกลืนเป็นหนึ่งเดียว

.

๒ หลักการการเป็นพิธีกร ของบุญศรี

(2538)

➭คือหัวใจแต่ไม่ใช่จุดเด่น ➭พร้อมเผชิญปัญหา ➭สุภาพ อ่อนน้อม ให้เกียรติ ➭แจ่มใส เป็นมิตร เป็นกันเอง ➭ประสานงานและประสานข้อมูลเสนอ ➭บริหารข้อมูลและเวลา ➭มีเพื่อนและมีทีม

สิ่งควรปฏิบัติและสิ่งควรละเว้นในการเป็นพิธีกร

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗

การทักทายปฏิสันถาร ควรใช้ “ท่านผู้มีเกียรติ” ท่านประธาน สำาหรับการประชุม หรือทักทายเฉพาะกลุ่มวิชาชีพ เริ่มพิธีอย่างมีที่มาที่ไป มีการกล่าวนำา เพื่อสร้างบรรยากาศ เรียกผู้รว่ มงานให้ถูก เรียกขานผู้พูดและเรียกขานการพูดให้ถูก ผูบ้ รรยาย วิทยากร องค์ปาฐก ผูอ้ ภิปรายฯ ใช้คำานุ่มนวลให้เห็นนิจ ท่าน บุคคล ขออภัย เรียน ประการ กรุณา พวกเรา โยงใยให้แยบยล

1. 2. 3. 4.

ใช้ความต่อเนื่องของกิจกรรม ใช้การขยายจุดสำาคัญ ใช้การเสนอความหลากหลาย ใช้คำาถามหรือการสร้างความฉงน

5. 6. ∗ ∗

ใชำ้าสำานวนโวหาร “การได้วิสาสะกับพระสมณะเป็นมงคลอันสูงสุด” “ตึกสูงสิบชั้นเริ่มแต่ดินก้อนเดียว ทางไกลร้อยลี้เริ่มแต่เดินก้าวเดียว” ใช้มุข ลูกเล่น หรือจุดเด่น

เข้าถึงบรรยากาศและอารมณ์ ใช้สามัญสำานึกประเมินภาวะอารมณ์ที่จะเกิด “นำ้าตาเป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของความละเอียดอ่อนในหัวใจ” กลั่นกรองถ้อยคำา

➭ใช้ถ้อยคำาให้ตรงความหมาย ➭คำาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน สอดล่อง-สอดส่วย ยกย่อง-ยกยอ คุณค่า-คุณภาพ บดบัง-เบียดบัง ยึดเหนี่ยว-หน่วงเหนี่ยว ขัดขืน-ขัดขวาง โอนอ่อน-โอนเอน ➭คำาที่มีความหมายใกล้เคียงกัน แน่นขนัด เนืองแน่น คราครำ่า ฯลฯ ➭คำาที่มีความหมายโดยนัยเจาะจงแนวการใช้ -มีประวัติ สาสม เช่นเคย อีกแล้ว ร่วมมือด้วยดี-ร่วมมือโดยดี สร้างทักษะเพิ่มพูนทักษะ

➭ใช้คำาให้เหมาะ “ถ้อยคำาย่อมมีรูป มีสี มีอุปนิสัย มีอารมณ์ กล่าวคือ คำาบางคำาเป็นคำาตำ่า คำาบางคำามีตระกูล คำาบางคำามีศักดิ์ บางคำาชวนขัน บางคำามีนำ้าหนัก เช่น สั่ง-บัญชา-โองการ” ➭ใช้คำาให้เหมาะสมกับระดับของบุคคล ➭ใช้คำาให้เหมาะสมกับวัย ➭ใช้คำาตามระดับความสุภาพ ➭ใช้คำาตามระดับความเป็นทางการ ➭ใช้คำาตามระดับความสนิทสนม ∗ ใช้คำาให้กระจ่าง ➭การใช้คำาที่มีความหมายหลายนัย ➭การใช้รูปประโยคไม่สมบูรณ์ ใช้คำาที่รู้จัก ∗

ใช้คำาให้กระทัดรัด คำาที่ซำ้าความ “คนเราทุกคนที่เกิดมาในโลกนี้ เป็นที่รู้กันอยู่ไปว่า” พูดคำาเกินความจำาเป็น “ทำาการ”

-

-

คำาพูดที่ตดิ ปาก “นะคะ แบบ แบบว่า ประมาณว่า เป็นอะไรที่” ใช้คำาให้มีพลัง ไฟไหม อัคคีภัย ประทับใจ ติดตรึงในความทรงจำา

-

-

มีใจรัก มีจิตเสน่หา อยู่มานาน ครำ่าหวอด

➭ใช้คำาให้ถูกหลักภาษา ➭ใช้คำาให้หลากหลาย ∗ พูด ไม่ท่อง ไม่อ่าน ∗

∗ ∗

การใช้ประโยค สั้น การใช้ลักษณะนาม การใช้คำาขยาย การใช้บุพบท สันธาน

ระวังอย่าทำาผิดหน้าที่ เป็นพิธีกรไม่ใช่วิทยากร เร้าให้ติดตามตลอดเวลา “ความเปลี่ยนแปลงคือเครื่องเทศของการพูด อุทิศตัวให้งาน “เริ่มงานก่อน เลิกงานทีหลัง”

)

การกล่าวแนะนำาผู้พูด

∗ ∗ ∗ ∗ ∗ ∗

∗ ∗

ใครบ้างที่ต้องแนะนำา

แนะนำาชื่อ ตำาแหน่ง ประวัติ และผลงานของผู้บรรยาย องค์ปาฐก และผูด้ ำาเนินการอภิปราย

แนะนำาไปทำาไม เพื่อสร้างความสนใจแก่ผู้ฟัง ให้ผู้ฟังรู้รายละเอียดเกี่ยวกับผู้พูด สร้างความมั่นใจ ภาคภูมิใจ เป็นกำาลังใจ และความพร้อมก่อนการพูด “ให้ผู้ฟังอยากฟัง ผูพ้ ูดอยากพูด” สร้างบรรยากาศ ความอบอุ่น ความเป็นมิตรให้แน่นแฟ้น แนะนำาอะไร คาร์เนกี้ถือว่าเป็น”ถึงขั้นสุนทรพจน์” นำาไปสูข่ ้อเท็จจริงของผู้พูด ใช้สูตร

T-Topic I-Importance S-Speaker

เตรียมอย่างไร หาข้อมูล มีแบบฟอร์มวิทยากรกรอก ขอข้อมูลประวัติ หาโอกาสพูดกับวิทยากร ซักถามจากผู้รู้ อย่าถามหรือให้วิทยากรกรอกใกล้เวลาบรรยาย การเตรียมถ้อยคำา สัน้ ครบถ้วน อย่ายกยอ ไม่ควรแนะนำาความสามารถการพูด อย่าพูดเกี่ยวกับเนื้อหา อย่าบอกความสนิทสนมส่วนตัว อย่าแนะนำาส่วนที่ไม่เกี่ยวข้องกับการพูด อย่าแนะนำาว่าเป็นตัวสำารอง อย่าพูดในสิ่งที่ไม่รู้แน่นอน อย่าทำาให้พิธีกรเด่นเกินไป ไม่จำาเป็นต้องสร้างอารมณ์ขัน เริ่มด้วยชื่อหรือประวัติก่อนก็ได้ การเตรียมบัตรบันทึกการพูด จะแนะนำาอย่างไร

แนวปฏิบัติในการเป็นพิธีกร

1. 2. 3. 4. 5. 6.

7. 8.

ยืนในท่าที่สบาย สง่างาม แต่ไม่ใช่ท่าพัก สีหน้ายิ้มแย้ม เป็นมิตร กระปรี้กระเปร่า นำ้าเสียงชัดเจน แจ่มใส นุ่มนวล จริงใจ ท่าทีให้เกียรติ ไม่ใช้มือประกอบการพูดมากเกินไป พยายามแนะนำาปากเปล่า ในลักษณะการบอกเล่า ไม่ใช่ท่องจำา ไม่ใช่อ่าน ขณะเอ่ยชื่อให้ยึดหลัก เว้นระยะ หยุดเล็กน้อยก่อนประกาศชื่อ ช่วยเพิ่มความคาดหวังขึ้น

แยกส่วน เอ่ยชื่อและนามสกุลต้องแยกกัน

ทำาให้ประทับใจผู้ฟัง และขึงขัง นำ้าเสียงชัดเจน กระปรี้กระเปร่า มีพลัง แนะนำาและเชื้อเชิญด้วยคำาพูดและสายตา ขณะเอ่ยชื่อผู้พูดตาอยู่ที่ผู้ฟังไม่ใช่ผู้พูด เมื่อเชื้อเชิญเบนสายตาไปยังผู้พูด ใช้เทคนิคทำาให้ที่ประชุมปรบมือ โดยไม่ต้องใช้คำาพูด

-

วิธีลด ควบคุมอาการประหม่าเวที

1.

➭สร้างเจตคติที่ถูกต้อง เป็นเรื่องธรรมดา มีประโยชน์ สามารถควบคุมได้ ➭เจตคติต่อการเป็นพิธีกร มีคุณค่า สง่างาม ช่วงสั้น ไม่ใช่ “พระเอก” ผู้ให้กำาลังใจ ➭เจตคติต่อตนเอง อยากเห็นความสำาเร็จ ทุกคนเสียสละมางาน ➭ ผ่อนคลายความเครียดให้เป็นนิจ ➭หาประสบการณ์ ระยะยาว

2. ระยะเตรียมตัว มีข้อมูล มีความพร้อมมีความรู้ความเข้าใจผู้ฟัง สถานการณ์ ฯลฯ 3. ระยะปฏิบัติงาน ทำาความคุ้นเคยสถานที่ ไมค์ สูดหายใจลึก ๆ สบสายตาผู้ฟัง ทรงตัวให้ดี หากมีอุปสรรค ไม่ตระหนก ใจเย็น มีอารมณ์ขัน

คุณสมบัติของพิธีกร

➭มีบคุ ลิกดี สง่างาม แต่งกายดี รสนิยมดี สุขภาพร่างกายดี ➭มีความรู้เฉพาะด้าน และศึกษาหาความรู้ทั่วไป ➭มีไหวพริบ แก้ปัญหาเฉพาะหน้าได้ ➭เสียงพูดชัดเจน แจ่มใส ถูกต้อง ความเร็วพอเหมาะ ➭มารยาทดี ➭มีอารมณ์ขัน ➭เลือกใช้ถ้อยคำา ภาษาได้ดี ต้องมีพื้นฐานจิตใจ ๔ ประการ คือ

➭ความยืดหยุ่น ➭ความอ่อนน้อมถ่อมตน ➭ความตั้งใจจริงและความรับผิดชอบ ➭ความพร้อมที่จะพัฒนา

อารมณ์ขันของพิธีกร

ต้องมีมารยาท หน้าที่ปลุกเร้าความสนใจ แต่ใช้มากรสอาหารจะเสียและเป็นอันตรายต่อร่างกาย

อารมณ์ขันเปรียบเหมือนผงชูรส

ช่วยให้อาหารรสดีขึ้น

Related Documents

Speak Discussion
November 2019 35
Speak Up Speak Out
May 2020 18
Discussion
April 2020 24
Discussion
October 2019 35
Discussion
May 2020 23
Discussion
October 2019 43

More Documents from ""

May 2020 11
May 2020 11
Dalai Lama 2008
November 2019 29
Edfordev_
November 2019 26
November 2019 22
Sati4
November 2019 33