Edfordev_

  • Uploaded by: Associate Professor Dr.Marut Damcha-om
  • 0
  • 0
  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Edfordev_ as PDF for free.

More details

  • Words: 354
  • Pages: 3
การศึกษาเป็นเครื่องมือพัฒนาหรือสร้างปัญหา การศึกษาเป็นเครื่องมือช่วยให้คนเป็นคนดีมคี วามสุขได้อย่างไร ทำาไมคนไม่ดีและไม่มีความสุข พิจารณาดูว่าท่านเป็นคนดี หรือคนไม่ดี คำาตอบคือ 1. การศึกษาที่ถูกต้องสมบูรณ์แบบเป็นเครื่องมือช่วยให้คนเป็นคนดีมีความสุขได้ สิ่งที่ต้องพิจารณาคือ 1) การศึกษาคืออะไร 2) ศึกษาที่ไหน 3)ศึกษาอย่างไร 4)ความถูกต้องคือ อะไร 5) เกณฑ์ในการพิจารณาความถูกต้องมีอะไรบ้าง 6) ถ้าสิ่งนั้นถูกต้องแต่ไม่ถูกใจเราจะทำาอย่างไร 7) ความสุขคืออะไร แตกต่างกับความเพลิดเพลินสนุกสนานอย่างไร 2. คนไม่ดีไม่มีความสุข เพราะคนมีการศึกษาไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์แบบ 3. ถ้าเราเป็นคนมีความสุขง่าย ทุกข์ยาก(ไม่เผลอให้มีความทุกข์) เราก็เป็นคนดีมีความสุข การศึกษาที่ถูกต้องช่วยให้คนมีวิชชา วิชชา คืออะไร วิชชา คือความรู้ความจริง ตามที่มันเป็นจริงว่าอะไรเป็นอะไร รู้ทั้งเรื่องนอกตัวและเรื่องในตัว ความจริงคืออะไร ความจริง มีเพียงหนึ่ง แต่ปราชญ์กล่าวไว้หลายโวหาร (Truth is One but sage says in many ways) แยกอธิบายความจริงได้ 2 ระดับ คือ 1) ความจริงสมมติ 2) ความจริงแท้ การศึกษาความจริง ใน 2 มิติ คือ 1) ความจริงนอกตัว เปิดตาแล้วมองออกไป เห็นความจริงทางวัตถุ(รูป เสียง กลิ่น รส สัมผัส) รูจ้ ักวัตถุ จัดการกับวัตถุได้อย่างถูกต้อง เป็นความรู้เรื่องร่างกาย ซึง่ เป็นเปลือกของชีวิต เรียนรู้ เรื่อง การกิน การอยู่ การทำามาหากิน การประกอบอาชีพ การบริโภค ใช้สอย การทำางานร่วมกับคนอื่น สังคม สิ่ง แวดล้อมรอบตัว 2) ความจริงในตัวในใจ หลับตาเนื้อ (ดวงตา) เปิดตาใจมองเข้าไป เห็นชีวิตด้านในใจตนเอง เห็นความคิด ความรู้สึก เห็นความสงบความวุ่นในใจ เห็นธรรมชาติของจิตใจที่ไม่ได้ฝึก หวั่นไหววุ่นวาย เมื่อถูก กระทบทางตา หู ฯลฯ ดีใจเมื่อได้ ร้องให้เมื่อเสีย เป็นความรู้เรื่องจิตใจ อันเป็นแก่นของชีวิต ถึงกับกล่าวว่าอะไร อะไรก็หลอมลงที่ใจเพียงเรื่องเดียว สำาคัญที่ใจ สุข ทุกข์ การสิ้นทุกข์ล้วนเกิดจากใจ การศึกษาที่สมบูรณ์แบบจึง ต้องรูค้ วามจริงทัง้ เรื่องนอกตัวและในตัว การปฏิรูปการศึกษาเกิดขึ้น ปัจจัยสำาคัญเพราะ มีคนกล่าวว่า “ความโง่ไม่มีขายใครอยากได้ต้องเข้า โรงเรียน” สรุปกันว่าโรงเรียนเป็นที่ที่ทำาให้เด็กไทย คนไทยโง่ ถึงกับกล่าวว่า “ยิ่งเรียนยิ่งโง่ ยิ่งโตยิ่งเซ่อ” เรื่องนี้ มีหลักฐานยืนยันมากมาย หลักฐานที่น่าสนใจ คือ ฝรั่ง ชื่อนายไมเคิล ไวท์ (Michael White ) เจ้าของโรงงาน อุตสาหกรรม สรุปพฤติกรรมคนงานไทยที่สัมพันธ์กับการศึกษาไว้ว่า คนที่มีการศึกษาน้อย เป็นคนขยัน อดทน มี วินัย ซื่อสัตว์ สุภาพ อ่อนน้อมถ่อมตัว ให้เกียรติผู้อื่น รับฟังความคิดเห็นของผู้อื่น คนที่มกี ารศึกษายิ่งมากหรือมี การศึกษาสูงขึ้น สิ่งทีก่ ล่าวมากลับลดลง

นักการศึกษาจึงตัดสินใจปฏิรูปการศึกษา อันเนื่องมาจากโรงเรียนเป็นที่ขังความคิด ให้ผเู้ รียนคิดแคบอยู่ ในห้องเรียน ในตำารา จึงเสนอให้เปิดห้องเรียนออกสู่ภายนอกโดยสำานวนว่า “เปิดห้องเรียนสู่โลกกว้างให้ทุกสิ่ง เป็นครู” ถือผู้เรียนเป็นสำาคัญ คือมีการเรียนรู้ทั้งในห้องเรียน ในตำารา นอกห้องเรียน นอกตำารา มีการเรียนรู้จาก ชุมชน ปราชญ์ชาวบ้าน ภูมิปัญญาท้องถิ่น นักการศึกษาส่วนมากคิดว่าน่าจะแก้ปัญหาโรงเรียนทำาให้ผู้เรียนโง่ได้.. .....ผลตามมา คือผู้เรียนเรียนเก่ง.....แต่ไม่ดี สิง่ ที่ต้องการ คือ เก่ง...ดี...มีสขุ ....แต่ผลกลับเป็น เก่ง....ใช้ความ เก่งเพื่อความเห็นแก่ตัวอย่างโง่เขลา ชีวิตก็มีทุกข์ (เป็นความเก่งที่ไปกระตุ้นสัญชาตญานความเห็นแก่ตัวส่งเสริม ความทะยานอยาก หรือตัณหาทั้งสาม คือ อยากได้....กามตัณหา/ อยากมี...ภวตัณหา/ อยากไม่มีอยากไม่ เป็น....วิภวตัณหา) ยิ่งเก่งยิ่งอยากมาก และทุกข์มากเพราะ ความทะยานอยาก หรือตัณหาเป็นที่มาของความทุกข์ นี่ คือผลของนักการศึกษาตาบอด จูงคนในสังคมที่ตาบอด ยอดเวรกรรม จะพากันไปไหน การศึกษาที่ ทำาอยู่ก็ไม่สามารถแก้ปัญหาชีวิต สังคมและสิ่งแวดล้อมได้ แต่กลับเพิ่มปัญหาและหายนะ ให้แก่ชีวิตสังคมและสิ่ง แวดล้อม การศึกษากระแสนี้กำาลังไหลบ่าไปทั่วโลก และการศึกษาแนวนี้จะเป็นเครื่องมือทำาลายโลกในที่สุด ดังที่พุทธาสภิกขุกล่าวว่า “การศึกษาหมาหางด้วน” เป็นหมาที่พิการ ไม่มเี ครื่องกำากับทิศทาง หลงทางไปตามทาง ของตัณหา และสัญชาตญาณของความเห็นแก่ตัว ทางออกควรเป็นเช่นไร ผู้เขียนขอเสนอความคิดให้พิจารณาดังนี้ 1. การศึกษาต้องถูกต้อง ไม่ตอบสนองตัณหา แต่ต้องพัฒนาปัญญาที่ถูกต้องเหนือตัณหา 2. การศึกษาต้องสมบูรณ์แบบ มิตท ิ ี่หนึ่ง คือการศึกษาเรื่องนอกตัว ให้ลืมตามองออกไป ทั้งใน ห้องเรียน นอกห้องเรียน ที่ชวี ิตกระทบกับสิ่งแวดล้อม เรียนรู้เพิ่มปัญญา เพิ่มความเก่ง มีความสารถ จัดการให้ชีวิตทางกายเป็นอยู่ถูกต้อง เน้นที่ “กินอยู่แต่พอดีมีสุขเย็น หรืออยู่เย็นเป็นสุข” มิใช่อยู่ดีกินดี ไม่มีขอบเขต จนเป็นเปรตกินเกิน ใช้เกิน อยู่ไม่ดี มีทุกข์ หรือเรียกว่า “อยู่ก็ร้อน(ตัณหา) นอนก็ทุกข์ กลางคืนอัดควัน กลางวันเป็นไฟ(ไฟราคะ โทสะ โมหะ) การศึกษาอีกมิติหนึ่ง การศึกษาเรื่องในตัว การศึกษาเรื่องในตัว ต้องหลับตาแล้วมองเข้าไปในตัว ในใจ รูค้ วามรู้สึก ความคิด การนึก การรู้ของเรา ในใจ รู้ธรรมชาติของจิต การฝึก การควบคุมจิต เอาชนะจิตใจตนเองไม่ให้ทำาอะไรตามใจอยาก(ตัณหา) แต่ทำาสิ่งที่ถูกต้องดีงาม รู้วิธกี ารรักษาใจให้ดี เป็นคนใจดี มิใช่เป็นคนดีใจเมื่อได้ ร้องให้เมื่อเสีย เมื่อชีวิต กระทบกับสิ่งแวดล้อมจิตใจไม่หวั่นไหว ลิงโลดดีใจ หรือหวั่นไหวหงุหงิด เบื่อเซ็ง ขัดใจ ไม่ได้อย่างใจ กระทบแล้วนิ่งเห็นความจริงทุกสิ่งแท้ ว่าอะไรเป็นอะไร ตามที่เป็นจริง ทั้งจริงสมมติและจริงแท้ ทำา หน้าที่ไปด้วยใจปกติ ใจดี ปลอดโปร่งโล่ง เบาสบายในทุกที่ทุกเวลา การศึกษาจึงต้อง มุ่งให้ ผู้เรียน เป็นคนดี มีความสุข มีความเก่งกล้าสามารถทำาสิ่งถูกต้องดีงามในทุ ก อิริยาบถ คนจะดีได้ ต้องฝึกการบังคับควบคุมตนเองให้อยู่กับความถูกต้องมิใช่ถกู ใจที่ใฝ่ตำ่า หลงทาง หลงชีวิต ถ้าเรามุ่งให้คนเก่ง คนจะไม่ดี มีทุกข์ ดังปรากฏการณ์ใหหน้า 1 เกือบทุกฉบับ และมีข้อความทำานองนี้ คือ “หมอ หนุ่มเรียนจบแพทย์ศาสตร์เกียรตินิยมอันดับหนึ่ง รับโทรศัพท์สายเดียว(จิตหวั่นไหว) ดิง่ ลงมาจากตึกชั้นสี่ หัว ฟาดราวเหล็กตายคาที่”

การศึกษาที่ถูกต้องสมบูรณ์ จึงเป็นเครือ่ งมือช่วยให้ได้คนดีมีความสุข มีความกล้า เชื่อมั่น ทันโลก และ เหนือโลก อยู่ในโลกใบนี้อย่างเย้ยฟ้าท้ามฤตยู ความตายที่คนทั่วไปกลัว และบางคนตายทางจิตใจก่อนที่ร่างกาย ตาย แต่สำาหรับผู้ที่มกี ารศึกษาสมบูรณ์แบบเข้าถึงความหมายของชีวิต เข้าถึงความไม่ตายทางจิต ชีวิตทางกายอยู่ ก็ได้ ตายก็ดี กายยังไม่ตายก็ทำาหน้าที่เพื่อหน้าที่ มีเมตตา ต่อเพื่อนมนุษย์และสสรรพสัตว์ที่ยังมีอวิชชา ช่วยให้เขามี วิชชา ดำาเนินชีวิตด้วยปัญญาที่ถูกต้อง อยูเ่ ย็นเป็นสุขโดยทั่วหน้ากันในทุกทิพาราตรีกาล รองศาสตราจารย์ ดร.มารุต ดำาชะอม 2/07/50

ปรับปรุง 3/07/50

More Documents from "Associate Professor Dr.Marut Damcha-om"

May 2020 11
May 2020 11
Dalai Lama 2008
November 2019 29
Edfordev_
November 2019 26
November 2019 22
Sati4
November 2019 33