น า ง นิ ต ย า
นิ ล จั น ท ร์
ร หั ส 4 7 1 7 8 7 0
ม ห า ส ติ ปั ฏ ฐ า น สู ต ร สติปัฏฐาน๔ เป็นการฝึกสติและใช้สตินนั้ ในการปฏิบัติ อันท่านได้กล่าวไว้ว่าเป็น ทางปฏิบัติ สายเอก แบ่งออกเป็น ๔ หมวด
กายานุปัสนา
เท่าทันเวทนา จิตตานุปัสสนา สติรู้เท่าทันจิต
สติรู้เท่าทันกาย
เวทนานุปัสสนา สติรู้
ธัมมานุปัสสนา สติรู้เท่าทันธรรม
มีรายละเอียดพอสังเขปดังนี้ ๑. กายานุปัสสนา คือมีทั้งการฝึกสติ และให้ใช้สตินั้นมาพิจารณากาย หรือตามดูรู้ทันกาย ตลอดจนใช้สติที่ฝึกนั้นนํามาพิจารณาและปฏิบัติใน เวทนา จิต และธรรม, จุดประสงค์คือเป็นการ ฝึกสติในขั้นแรกแล้วใช้สตินั้นพิจารณากาย เพื่อให้หน่ายคลายกําหนัดและความหลงไหลในกาย สังขาร อันท่านได้กล่าวไว้ดังนี้ ๑.๑ อานาปานสติ เป็นการฝึกสติ ให้มีสติกําหนดตามลมหายใจเข้าออก อันท่านกล่าวไว้ว่าลม หายใจนั้นก็เป็นกายสังขารชนิดหนึ่ง(การกระทําทางกาย) เช่นเดียวกับการยืน นอน เดิน นัง่ การปฏิบัติในข้อนี้มีความสับสนกันมาก เพราะมีความนิยมเอาลมหายใจเช่นกันเป็นอุบายวิธี เครื่องล่อจิต เพื่อก่อให้เกิดสมาธิหรือฌาน จริงๆแล้วอานาปานสติเป็นการปฏิบัติวิปัสสนาที่ต้อง เป็นการมีสติตามดูรู้เข้าใจลมหายใจอย่างมีสติ มิใช่ขาดสติโดยการปล่อยให้เลื่อนไหลเข้าสู่องค์ ฌานหรือสมาธิอันแสนสงบสบายดังที่นิยมปฏิบัติกันโดยไม่รู้ตัว
๑.๒ กําหนดรูเ้ ท่าทันอิริยาบถ เป็นการฝึกสติ ให้ให้มีสติรู้เท่าทันอิริยาบถต่างๆ เช่น ยืน นอน เดิน นัง่ ฯลฯ. ๑.๓ สัมปชัญญะ เป็นการฝึกสติ ให้สติระลึกรู้อยู่ในการกระทําอย่างต่อเนื่อง การเคลื่อนไหว เช่น การดื่ม การกิน การเดิน การเคี้ยว ปัสสาวะ อุจจาระ ฯลฯ. (เพื่อให้เกิดความชํานาญหรือเป็นวสี เพื่ออํานวยประโยชน์นําไปฝึกใช้ในชีวิตประจําวันในการเห็นเวทนาหรือจิต อันเป็นสิ่งที่ละเอียด อ่อนกว่า) ๑.๔ ปฏิกูลมนสิการ เป็นการใช้สติที่ฝึกนั้น มาพิจารณากายของตนว่าล้วนประกอบด้วยสิ่งที่ ไม่สะอาด สิ่งปฏิกูลต่างๆทั้งสิ้น เพื่อให้เกิดนิพพิทาคลายความรัก ความหลงใหล ความลุ่มหลง ความยึดถือ ทั้งในกายของตน และกายของบุคคลอื่นๆด้วย ๑.๕ ธาตุมนสิการ เป็นการใช้สติในการพิจารณาให้เห็นว่ากายเรานั้นตามความเป็นจริงขั้น สูงสุด(ปรมัตถ์) หรือแก่นแท้แล้วล้วนเกิดแต่เหตุปัจจัยของธาตุทั้ง๔ หรือสักแต่ว่าธาตุ๔มาประชุม รวมตัวกันเป็นกลุ่มก้อนอยู่ชวั่ ระยะหนึ่งเท่านั้น ไม่คงทนไปตลอดกาล เพื่อให้เกิดนิพพิทา ๑.๖ นวสีวถิกา พิจารณาศพในสภาพต่างๆอันมี ๙ ระยะ เพื่อให้คลายความยึดมั่น ความ หลงใหล ลุ่มหลงในกาย ว่ากายเราหรือบุคคลอื่นๆ ต่างก็ล้วนเป็นเช่นนี้ในที่สุด ในปัจจุบันนี้คง ต้องใช้การน้อมคิดนึกให้เข้าใจ เพื่อให้เกิดนิพพิทา
2
๒. เวทนานุปัสนา การมีสติรู้เท่าทันเวทนา เท่าทันขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือขณะที่กําลัง แปรปรวนอยู่บ้าง หรือขณะดับไปบ้าง พร้อมทั้งรู้ว่าเป็น สุขเวทนา ทุกขเวทนา เฉยๆหรืออทุกขม สุขก็ดี ทั้งที่มีอามิส(เจือด้วยกิเลสตัณหา), หรือไม่มีอามิส(เป็นธรรมชาติไม่มีอามิส)ก็รู้ชัดตามที่เป็น (สังเกตุสักนิดตรง รูช้ ัดตามที่เป็น ไม่ใช่พยายามไม่ให้เกิดไม่ให้มี) สติรู้เท่าทันนั้นครอบคลุมถึงรู้ แล้วเป็นกลางอุเบกขา วางทีเฉย โดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือทางร้าย เพราะเป็นปัจจัย ให้เกิดเวทนาขึ้นอีก ลองสังเกตุดูความหมายข้างต้น กล่าวคือเวทนาเป็นปัจจัยให้เกิดตัณหาในปฏิ จจสมุปบาทนั่นเอง และให้มีสติรู้เท่าทันธรรม(ชาติ)เวทนานั้นตามความเป็นจริง ๓. จิตตานุปัสสนา การมีสติรู้เท่าทันจิต หรือจิตสังขาร หรือความคิด เท่าทันขณะเกิดขึ้นบ้าง หรือขณะที่กําลังแปรปรวน(กําลังคิดปรุง)อยู่บ้าง หรือขณะดับไปบ้าง พร้อมทั้งอาการรูว้ ่าในขณะ นัน้ จิตมีราคะ ไม่มีราคะ, มีโทสะ ไม่มีโทสะ, มีโมหะ ไม่มีโมหะ, คิดฟุ้งซ่าน, เป็นสมาธิ, หลุด พ้น ไม่หลุดพ้น ก็รู้ชัดตามที่มันเป็นในขณะนั้น(สังเกตุสักนิดตรง รู้ชัดตามที่เป็น ไม่ใช่พยายามไม่ ให้เกิดไม่ให้มี และที่สําคัญคือเป็นกลางอุเบกขาวางทีเฉย โดยไม่คิดนึกปรุงแต่งไปทั้งในทางดีหรือ ทางร้าย ต่อจากสติรู้เท่าทันนั้น เพราะเป็นปัจจัยให้เกิดเวทนาขึ้นอีก) หรือ คือรู้เท่าทันความคิดหรือ จิตสังขาร อันเกิดเนื่องมาจากเวทนาความรู้สึกรับรู้สิ่งที่กระทบสัมผัส
3
๔. ธัมมานุปัสสนา การมีสติรู้ทันธรรม อันหมายถึงมีธรรมเป็นเครื่องรู้ เครื่องระลึก เครื่อง พิจารณา เครื่องเตือนสติ เพื่อให้เกิดความเข้าใจหรือปัญญาญาณ ตลอดจนนิพพิทาญาณ อันนําไปใช้ ประกอบการปฏิบัติเพื่อการดับทุกข์ เมื่อเกิดเวทนาหรือจิตสังขารขึ้นแล้ว มีสติรู้เท่าทันสภาวะธรรม(ชาติ)ของเวทนาหรือจิตสังขาร ที่เกิดขึ้นนั้น และมันเป็นเช่นนั้นเองเป็นธรรมดา ไม่ต้องไปทําอะไรกับเขา เพียงแต่มีสติ แล้วละเสีย ถืออุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉย, วางเฉยโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งทางดีและร้ายอันจักยังให้เกิดเวทนา อันอาจเป็นปัจจัยให้เกิดทุกข์ตามวงจรปฏิจจสมุปบาท 2. สรุปว่านําไปใช้ปฏิบัติอย่างไร ได้นําไปใช้ปฏิบัติโดยข้าพเจ้าจะฝึกมีสติอยู่ตลอดเวลา คิดแต่สิ่งดีๆ ทําแต่สิ่งดีๆ ปล่อยให้ ทุกอย่างเป็นไปตามธรรมชาติที่ควรจะเป็น ไม่ยึดมัน่ ถือมั่น เมื่อถูกกระทบแล้วจะไม่กระเทือนมี สติรู้ตามความเป็นจริง ไม่ส่งจิตออกนอกไปปรุงแต่ง(คิดนึกปรุงแต่ง) อันเป็นปัจจัยสําคัญที่ทําให้ ไม่เกิดทุกข์ มีสติ แล้วละเสีย ถืออุเบกขาเป็นกลางวางทีเฉย, วางเฉยโดยไม่คิดนึกปรุงแต่งทั้งทางดี และร้ายอันจักยังให้เกิดเวทนา
4
โลกวิปัตติสูตร ธรรม ที่กล่าวถึงธรรมชาติของโลก หรือธรรม(สิ่ง)ที่เป็นของคู่กับโลก[๙๖] ดูกรภิกษุทงั้ หลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไปตามโลกธรรม๘ ประการเป็นไฉน คือ ลาภ ๑, ความเสื่อมลาภ ๑ยศ ๑, ความเสื่อมยศ ๑นินทา ๑, สรรเสริญ ๑สุข ๑, ทุกข์ ๑ ดูกรภิกษุทั้งหลาย โลกธรรม ๘ ประการนี้แล ย่อมหมุนไปตามโลก และโลกย่อมหมุนไป ตามโลกธรรม ๘ ประการนี้, ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภก็ดี ความเสื่อมลาภก็ดี, ยศก็ดี ความเสื่อมยศก็ด,ี นินทาก็ดี สรรเสริญก็ดี สุขก็ดี ทุกข์ก็ดี ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ(ไม่เข้าใจ)ย่อมเกิดขึ้นแม้ แก่อริยสาวกผู้ได้สดับ(เข้าใจ) ดูกรภิกษุทั้งหลาย ในข้อนี้จะมีอะไรแปลกกัน มีอะไรผิดกัน มีอะไร เป็นข้อแตกต่างกัน ระหว่างอริยสาวกผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ. ภิกษุทั้งหลายกราบทูล ว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ธรรมของข้าพระองค์ทั้งหลาย มีพระผู้มีพระภาคเป็นมูล มีพระผู้มีพระภาค เป็นผู้นํา มีพระผู้มีพระภาคเป็นที่พึ่งอาศัย ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ขอประทานพระวโรกาส ขอเนื้อ ความแห่งภาษิตนี้แจ่มแจ้งกะพระผู้มีพระภาคเถิด ภิกษุทั้งหลายได้สดับต่อพระผู้มีพระภาคแล้ว จัก ทรงจําไว้ ฯพระผู้มีพระภาคตรัสว่า ดูกรภิกษุทั้งหลาย ถ้าอย่างนั้น เธอทั้งหลายจงฟัง จงใส่ใจให้ดี เราจักกล่าว, ภิกษุเหล่านั้นทูลรับพระผู้มีพระเป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ลาภ ความ เสื่อมลาภ , ยศ . ความเสื่อมยศ, นินทา . สรรเสริญ, สุข ... ทุกข์ย่อมเกิดขึ้นแก่ปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ เขาไม่ตระหนักชัดไม่ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่(เพราะ)ว่า ทุกข์(
5
สิ่ง)นัน้ ไม่เที่ยง (จึง)เป็นทุกข์ (เพราะ)มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แม้ลาภย่อมครอบงําจิตของเขา ได้ แม้ความเสื่อมลาภ ...แม้ยศ ... แม้ความเสื่อมยศ ... แม้นินทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ ย่อมครอบงําจิตของเขาได้ เขาย่อมยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อม(ต้อง)ยินร้ายในความ เสื่อมลาภ ย่อม ยินดียศที่เกิดขึ้น ย่อมยินร้ายในความเสื่อมยศ ย่อมยินดีสรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในนินทา ย่อมยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ย่อมยินร้ายในทุกข์เขาประกอบด้วยความยินดียินร้ายอย่างนี้ ย่อมไม่พ้น ไปจากชาติ ชรา มรณะโสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัสและอุปายาส เรากล่าวว่า ไม่พ้นไปจากทุกข์ ฯ ดูกรภิกษุทั้งหลาย ลาภย่อมเกิดแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ(ผู้เข้าใจ) อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความเป็นจริงว่า ลาภเกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ลาภนัน้ ไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความ แปรปรวนเป็นธรรมดา ความเสื่อมลาภ ... ยศ ... ความเสื่อมยศ ... นินทา ... สรรเสริญ ... สุข ... ทุกข์ ย่อมเกิดขึ้นแก่อริยสาวกผู้ได้สดับ(เช่นกัน),(แต่)อริยสาวกนั้นย่อมตระหนักชัด ทราบชัดตามความ จริงว่า ทุกข์นี้เกิดขึ้นแล้วแก่เรา ก็แต่ว่า ทุกข์นั้นไม่เที่ยง เป็นทุกข์ มีความแปรปรวนเป็นธรรมดาแม้ ลาภย่อมครอบงําจิตของท่านไม่ได้ แม้ความเสื่อมลาภ ... แม้ยศ ... แม้ความ เสื่อมยศ ... แม้นนิ ทา ... แม้สรรเสริญ ... แม้สุข ... แม้ทุกข์ย่อมครอบงําจิตของท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินดีลาภที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมลาภ ไม่ยนิ ดียศที่เกิดขึน้ แล้ว ไม่ยินร้ายในความเสื่อมยศ ไม่ยนิ ดีความ สรรเสริญที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในนินทา ไม่ยินดีสุขที่เกิดขึ้นแล้ว ไม่ยินร้ายในทุกข์ ท่านละความ ยินดียนิ ร้ายได้แล้วเด็ดขาดอย่างนี้ ย่อมพ้นไปจากชาติ ชรา มรณะ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส และ
6
อุปายาส เรากล่าวว่า ย่อมพ้นไปจากทุกข์ ดูกรภิกษุทั้งหลาย นี้แลเป็นความแปลกกัน ผิดกัน แตก ต่างกัน ระหว่างอริยสาวก ผู้ได้สดับ กับปุถุชนผู้ไม่ได้สดับ ฯ ธรรมในหมู่มนุษย์เหล่านี้ คือ ลาภ ๑, ความเสื่อมลาภ ๑ ยศ ๑, ความเสื่อมยศ ๑, นินทา ๑, สรรเสริญ ๑, สุข ๑, ทุกข์ ๑
เป็นสภาพไม่
เที่ยง ไม่แน่นอน มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา แต่ท่านผู้เป็นนักปราชญ์ มีสติ ทราบธรรมเหล่า นัน้ แล้ว พิจารณาเห็นว่า มีความแปรปรวนเป็นธรรมดา ธรรมอันน่า ปรารถนา ย่อมยํ่ายีจิตของ ท่านไม่ได้ ท่านย่อมไม่ยินร้ายต่อ อนิฏฐารมณ์(อารมณ์ที่ไม่น่าปรารถนา) ท่านขจัดความยินดีและ ยินร้ายเสียได้จนไม่เหลืออยู่ อนึ่ง ท่านทราบทางนิพพานอันปราศจากธุลี ไม่มีความเศร้าโศก เป็นผู้ถึงฝั่งแห่งภพ ย่อมทราบได้อย่างถูกต้อง ฯ โยนิ โ สมนสิ ก าร สภาวะธรรมของการมี ล าภ ก็ เ สื่ อ มลาภ การมี ย ศ ก็ เ ลื่ อ มยศ การมี สรรเสริญ ก็มีนินทา การมีสุข ก็มีทุกข์ สิ่งเหล่านี้เป็นสภาวะธรรม หรือธรรมชาติอันเกิดขึ้นทั้ง ต่อปุถุชนและอริยสาวกผู้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบแล้วเป็นธรรมดาไม่เลือกหน้า ไม่สามารถหลบเลี่ยง ได้แม้อริยบุคคล เพียงแต่สิ่งเหล่านั้นเกิดขึ้นแล้วในปุถุชนก็จะยินดีหรือยินร้ายอันเป็นล้วนเป็น ตัณหา จึงเป็นปัจจัยให้มีอุปาทาน จึงเป็นปัจจัยให้มีภพ จึงเป็นปัจจัยให้มีชาติอันคือการเกิดขึ้น แห่งทุกข์ อันเป็นปัจจัยให้เกิดชราอันคืออุปาทานขันธ์๕อันเป็นทุกข์เร่าร้อนกระวนกระวายวน เวียนคิดปรุงแต่งอยู่ในกองทุกข์ จนกว่ามรณะดับไป พร้อมเป็นปัจจัยให้เกิดอาสวะกิเลสต่างๆอัน
7
คือ โสกะ ปริเทวะ ทุกข์ โทมนัส อุปายาส เก็บจํา นอนเนื่องอยู่ในจิต อันเป็นการดําเนินไปตาม วงจรของการเกิดขึ้นแห่งทุกข์ปฏิจจสมุปบาทนั่นเอง 2. สรุปว่านําไปใช้ปฏิบัติอย่างไร การใช้ชีวิตในปัจจุบันทุกสิ่งทุกอย่างเป็นของไม่เที่ยง เมื่อตายแล้วก็เอาอะไรไปไม่ได้ ข้าพเจ้าจึงไม่ยึดติดกับลาภ ยศ สรรเสริญต่างต่าง เพราะทุกสิ่งเหล่านี้มันเป็นเพียงสิ่งสมมติเท่านั้น ส่งผลให้ข้าพเจ้าได้พบกับความสุขที่แท้จริงในชีวิต
8
1. เรียนรู้อะไรจากภาพนี้(ภาพดอกไม้) ความสดชื่นสดใส เหมือนดอกไม้ที่เบ่งบานเต็มที่ เมื่อใครได้เห็นได้ชมก็มีแต่ความสุขใจ 2. ภาพอะไร ภาพดอกไม้กําลังเบ่งบาน ความอุดมสมบูรณ์ของต้นไม้ 3. มีองค์ประกอบอะไรบ้าง มีลําต้น ดอก ใย และสิ่งแวดล้อมรอบๆลําต้น 4. มีความหมายอะไร การเป็นมหาบัณฑิตเราก็เปรียบเสมือนดอกไม้ที่กําลังเบ่งบานเต็มที่ 5. นํามาใช้พัฒนาจิตลักษณะได้อย่างไร การเป็นมหาบัณฑิตเราต้องมีแต่สิ่งดีๆ คิดดีๆ ทําในสิ่งที่ดีๆ จะทําให้เรามีคุณค่าในตัวเอง ใครเห็นหรือได้สัมผัสจะพบแต่ความสุขเหมือนกับได้เห็นภาพดอกไม้นั้น
9
1. เรียนรุ้อะไรจากภาพนี้(ภาพรูปปั้น) เป็นรูปปั้นของคนที่ถูกพันธนาการที่มือแต่พยายามดิ้นรน 2. นําไปใช้พัฒนาจิตลักษณะได้อย่างไร เราต้องรู้จักการปล่อยวางบ้าง จะทําให้พบกับความสุขโดยมิให้มีกิเลสมาพันธนาการเราซึ่ง เป็นเหตุแห่งทุกข์ Take Home 1. เมื่อได้ปฏิบัติธรรมในค่ายวัดศานติไมตรี ในวันที่ 8- 12 ธันวาคม 2548 ได้เรียนรู้เรื่องอะไรบ้าง ปฏิบัติได้อย่างไรบ้าง 1.1 ตัวเรา เกิดอะไรขึ้นกับตัวเราแต่ก่อนเข้าค่ายวันที่ 1-4 ก่อนจะเข้าค่ายฝึกตนในครั้งนี้ข้าพเจ้ารู้สึกวิตกกังวลต่างๆนานา เช่นสงสารลูกคนเล็ก ซึ่งยังทานนมแม่อยู่จะเป็นอย่างไร แล้วลูกคนโตเวลาพ่อเขาไปราชการต่างจังหวัดจะเป็นอยู่ อย่างไร แต่อีกใจหนึ่งก็อยากเข้าร่วมกิจกรรมทําให้ข้าพเจ้าเครียดมาก แต่ต้องเข้าร่วมกิจกรรมตาม บทบาทและหน้าที่ของตนเองเพื่อการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่ถูกต้อนก่อนจะไปเป็นมหาบัณฑิตที่ดี ต่อไปในอนาคต 1.2 สถานที่ฝึก เอื้อให้เราฝึกได้อย่างไร สถานที่ฝึก เอื้อให้เราฝึกเป็นสถานที่ดีมากเนื่องจากมีความเป็นธรรมชาติค่อนข้างสูง สงบและเป็นสัดส่วน แต่ไม่ค่อยเป็นส่วนตัวเท่าไหร่ เนื่องจากมีกลุ่มอื่นเข้ามารับการอบรมด้วย ทําให้ใจเราเกิดการวอกแวกได้ 1.3 กิจกรรมทีฝึก กระบวนการฝึก เริ่มตั้งแต่ฝึกการนอน ตื่นแต่เช้าในวันแรกข้าพเจ้ารู้สึกทรมานมากเลยเนื่องจากไม่เคย ตื่น เช้าขานอนี้แต่พอคืนที่2 และต่อๆมาจะตื่นได้เองโดยอัตโนมัติ การฝึกเดินท่านอาจารย์ฝึกให้เดินช้าๆ เป็นสิ่งที่ดีมากเนื่องจากว่าข้าพเจ้าเป็นคนเดิน เร็วไม่ค่อยเรียบร้อย เมื่อได้รับการฝึกครั้งนี้ทําให้เหมือนกับการฝึกมารยาทในตัวเลย
10
การฝึกนั่งสมาธิเท่ากับการฝึกให้ข้าพเจ้าคิดมากขึ้น ทํางานอย่างมีสติส่งผลให้ถูก กระทบแล้วไม่กระเทือน การฝึกโยคะ เป็นการออกกําลังกายที่ดีในชีวิตประจําวันถ้าเราได้รับการออกกําลังกาย อย่างสมํ่าเสมอจะทําให้สุขภาพกายดีแข็งแรงมากยิ่งขึ้น การกินเดิมข้าพเจ้าเป็นคนที่รับประทานเร็วเคี้ยวข้าวไม่ค่อยละเอียดส่งผลให้ท้องอืด บ่อย เมื่อได้ผา่ นกระบวนการฝึกรับประทานการรับประทานช้าๆ และก่อนรับประทานให้นึกถึง มารดาที่กําลังกินเนื้อบุตรทําให้ข้าพเจ้ารับประทานได้น้อยลง การเคี้ยวข้าวช้าๆทําให้มีเวลาได้ เคี้ยวอาหารให้ละเอีดส่งผลให้ระบบย่อยอาหารดีขึ้น 1.4 อุบาย 3 น้อย 1 มากมีผลอย่างไร พูดน้อย คือการพูดในสิ่งที่จําเป็น และพูดในสิ่งที่ดีๆ การคิดก่อนพูด เป็นสิ่งที่ดี มากเพราะเมื่อก่อนข้าพเจ้าจะพูดมาก ตลก พูดตรงไปตรงมาทําให้เพื่อนๆรู้ว่าคิดอะไรอยู่ แต่เมื่อ พูดน้อยลงทําให้ข้าพเจ้าเป็นคนสุขุมมากยิ่งขึ้น ไม่พูดในสิ่งทีจ่ ําเป็นส่งผลให้ไม่เสียพลังงาน ไม่มี เรื่อง เรื่องน้อยลง คนในครอบครัวรู้สึกแปลกๆ กินน้อย การกินวันละ 1 มื้อและกินน้อยลงทําให้ข้าพเจ้าไม่ต้องเสียพลังงานในการ ย่อยมากขึ้น ร่างกายก็ไม่เป็นโรคที่เกิดจากการกิน เช่นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันฯลฯ นอนน้อยคือการนอนอย่างน้อยวันละ 6 ชัว่ โมงส่งผลให้ขา้ พเจ้าไม่เป็นคนขี้เกียจ เนื่องจากเมื่อข้าพเจ้านอนน้อยทําให้ณุ้สึกกระปรี้กระเปร่ามากยิ่งขึ้น ซึ่งเมื่อก่อนข้าพเจ้าเป็นคน นอนมากข้าพเจ้าเกิดอาการง่วงบ่อยมาก แต่เมื่อนอนน้อยลงจนเป็นนิสัย เคยชินทําให้ข้าพเจ้าไม่ ขี้เกียจ มาก คือการฝึกอบรมจิตใจตนเองให้มาก ให้เป็นคนจิตใจดี คิดดี ทําดี การสํารวม จิตใจให้สงบ ทําหน้าที่ให้ถูกต้องที่สุดตามสติปัญญาเต็มกําลังความสามารถที่มีอยู่ ส่งผลให้จิตใจ อ่อนโยนมากยิ่งขึ้น 1.5 ทฤษฎีในการฝึก องค์ความรู้ที่ได้รับ ชีวิตการดําเนินชีวิตเป็นอย่างไร ชีวิตข้าพเจ้าหลังการฝึกปฏิบัติทําให้ชีวิตข้าพเจ้าดีขึ้น มีสาระมากยิ่งขึ้น มีความกล้าที่ จะทําในสิ่งที่ถูกต้อง มัน่ ในใจในตนเองเพิ่มขึ้น ใช้ชีวิตอย่างมีสติ และไม่ประมาท 1.6 ข้อเสนอแนะควรปรับปรุงและเพิ่มเติมอย่างไร ข้าพเจ้าคิดว่าในการฝึกครั้งนี้ น่าจะเริ่มฝึกตั้งแต่เริ่มเข้าเรียนในปี 1 เนื่องจากว่าได้ ประเมินความก้าวหน้าในระยะยาว และได้มีการเรียนรู้ต่อกันในชั้นเรียนก่อนที่จะใช้ชีวิตร่วมกัน ในการเรียนทั้ง 2 ปี จะทําให้มีการรักใคร่ สามัคคีกนั มากขึ้น
11
1. หลักการสําคัญของการพัฒนา คน คือศูนย์กลางของการพัฒนา ท่านเข้าใจหลักการนี้อย่างไร การพัฒนาแบบองค์รวม มีกระบวนการที่จะเชื่อมโยงมิติต่าง ๆ ของการพัฒนา ตลอดจนเปิด โอกาสให้ทุกฝ่ายในสังคมมีส่วนร่วมในทุกขั้นตอนของการพัฒนา โดยการให้ประชาชนมีส่วน ร่วมทุกขั้นตอน การสร้างกระบวนการเข้มแข็งในชุมชนเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งการ พัฒนา คน พัฒนาชาติ เริ่มต้นที่ จิตใจคนเราถ้ามีจิตใจดีจะทําให้ทําอะไรดีๆ คิดในสิ่งที่ดี ทําในสิ่งที่ ดีจะทําให้สังคมไม่มีปัญหา
2. จงบอกคุณลักษณะของคน 3 ประเภท คือ 1)คนด้อยพัฒนา บุคลิกทางกายภาพ จะมีบุกลิกที่ไม่ได้ผ่านการฝึกใช้ชีวิตตามสัญชาติญาณไม่ได้มีการคิด ทําแต่สิ่งที่ไม่ดี ไม่ถูกต้อง เป็นคนเห็นแก่ตัว จิตภาพ คนที่มีจิตใจตํ่า คิดร้ายต่อผู้อื่น วิญญาณภาพ ใช้ความอยากในการดําเนินชีวิต
12
2) คนกําลังพัฒนา บุคลิกทางกายภาพ คนที่มีบุคลิกที่มีการใช้ชีวิตด้วยสัญชาตญาณแต่มีกระบวนการคิดโดย การใช้สมอง จิตภาพ คนที่มีจิตใจบางครั้งก็เป็นคนดี บางครั้งเป็นคนคิดไม่ดีกับคนอื่น
3) คนที่พัฒนาแล้ว (อธิบาย บุคลิกทางกายภาพ/ จิตภาพ และวิญญาณภาพ) บุคลิกทางกายภาพ เป็นผู้ที่ผ่านการฝึกผ่านการปฏิบัติตนมาดีแล้ว ไม่วา่ เวลาเดิน นัง่ กิน นอนก็ปฏิบัติอย่างถูกต้อง จิตภาพ เชื่อมัน่ ในความดีและความถูกต้อง วิญญาณภาพ การใช้ชีวิตอยู่เหนือความดี 3) ท่านเป็นคนประเภทใด ทําไม จึงเป็นเช่นนั้น ข้าพเจ้าเป็นคนที่พัฒนาแล้ว และบางครั้งข้าพเจ้าเป็นคนที่กําลังพัฒนา และบางครั้งเป็น คนด้อยพัฒนา เนื่องจากว่า บางครั้งข้าพเจ้าใช้ชีวิตอยู่กับความอยาก ทําตามความต้องการทางด้าน จิตใจของตนเอง ยังมีความโกรธอยู่ เช่น เมื่อข้าพเจ้าทํางานไม่ทันก็รู้สึกโกรธตนเองพาลให้ หงุดหงิดใครพูดอะไรก็ฟังไม่เข้าหู และบางครั้งก็กําลังพัฒนาเช่นการฝึกตนเองให้ให้ลดละเลิก ความรัก ความโกรธ ความหลง เชื่อมั่นในตนเอง กล้า การคิดก่อนพูด และคนที่พัฒนาแล้ว เป็นส่วนใหญ่ เนื่องจากว่าข้าพเจ้าพยายามฝึกตนเองอย่างสมํ่าเสมอให้ตนเองเป็นคนดี คิดแต่สิ่ ง ดๆ กระทําแต่ความดี กล้าในสิ่งที่ถูกต้องเพื่อการเปลี่ยนแปลงที่ดีขึ้น การเชื่อมั่นในตนเองรู้เท่า ทันโลก ทํางานอย่างมีเป้าหมาย และในการทํางานก็ทํางานอย่างสนุกและมีความสุขจากการทํางาน โดยไม่ได้รอความสุขจากผลของการทํางาน
13
นางนิตยา นิลจันทร์ 4717870 การกํากับตนเพื่อพัฒนาตนและพัฒนางาน บทนํา ในปัจจุบันนี้เรายังมีปัญหาต่างๆเกิดขึ้นมากมายเนื่องจากว่าคนเรายังแพ้ใจตนเองอยู่ มีการใช้ชวี ิต ด้วยความประมาททําให้ไม่มีระเบียบวินัยในตนเอง มีการทํางานต่างๆผิดพลาดบ่อยครั้ง การ ทํางานก็ไม่มีคุณภาพ ส่งผลกระทบต่างๆนาๆมากมายที่เกิดจากการไม่มีวินัยในตนเองของผู้ปฏิบัติ การกํากับตนเพื่อพัฒนาตนและพัฒนางานเป็นสิ่งที่ดีในการสร้างระเบียบวินัยในตนเองดังคํากล่าวที่ ว่าไม่มีชัยชนะอื่นใดในโลกนี้ใดเท่ากับการชนะใจตนเองได้อีกแล้วเพื่อให้ เป็นผู้นําที่รู้ตน รู้คน และรู้งาน อย่างถูกต้อง สามารถกํากับตน พัฒนาคน พัฒนางานได้ ทําให้ชีวิตมีความสุข องค์กร อบอุ่น เข้มแข็ง มั่งคั่ง และ มั่นคงอย่างยั่งยืน โดยการการรู้จักตน การรู้จักคนการรู้จักงาน อย่างถูก ต้องตามที่เป็นจริง จึงจําเป็นต้องมีการกํากับตนเพื่อพัฒนาตนและพัฒนางานตามความรู้ที่ถูกต้อง เนื้อหา การกํากับตนต้องกํากับ 4 เรื่องดังนี้ การกํากับกายต้องดูแลกายให้ถูกต้องทุกอิริยาบท ไม่ว่า จะเป็นการนั่งก็ต้องนั่งให้ถูกท่าถูกต้องเพื่อมิให้ปวดเมื่อย นอนก็ต้องนอนอย่างถูกท่าคือนอนท่า ตะแคงขวาจะทําให้หลับสบาย ยืนให้ยืนอย่างถูกต้อง เดินต้องเดินอย่างถูกต้อง สํารวม การ กํากับกายมีปัจจัยที่เกี่ยวข้อง คือ 1.อาหาร เราต้องกินอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ ถูกต้อง กินแต่อาหารที่มีประโยชน์ไม่ดื่มเหล้า สูบบุหรี่จะทําให้เกิดผลร้ายต่อร่างกายทําลายสุขภาพของตนเอง 2.อาภรณ์ เราต้องสวมเสื้อผ้าอาภรณ์ที่กันร้อนกันหนาวได้ ปกปิดมิดชิดไม่ล่อแหลมต่อเพศ ตรงข้าม ซึ่งจะทําให้ส่งผลร้ายต่อตัวเองได้ 3.อาคารเราต้องจัดบ้านให้สะอาดมีระบบระเบียบเรียบร้อยซึ่งจะส่งผลไปถึงการทํางานด้วย จะทําให้ความเป็นระเบียบวินัยติดตัวไปตลอดทําให้สะอาดตาสบายใจ 4.โอสภ เราต้องรู้จักคิดในการรับประทานยา หรือโอสภต่างๆอย่าให้เขาหลอกเอาได้ เช่น การกินอาหารเสริมต่างๆ จริงๆแล้วถ้าเราปฏิบัติตนอย่างถูกต้อง ออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอก็จะ ไม่จําเป็นต้องกินอาหารเสริมเลย ทําให้เราถูกหลอกได้ 5.อากาศ ต้องควรระวังคนที่ใช้อากาศเทียม หรือการใช้แอร์ต้องพึงระวังว่าควรทําความ สะอาดมากน้อยเท่าไหร่ ความถี่ในการทําความสะอาดเป็นอย่างไร จะทําให้ไม่ส่งผลเสียต่อ สุขภาพ 6.ออกกําลังกาย เราต้องมีการออกกําลังกายอย่างสมํ่าเสมอทุกวันอย่างน้อยวันละ 35 นาที สัปดาห์ละ 3 วันเป็นอย่างน้อย 14
7.อุทกัง การใช้นํ้าต้องใช้นํ้าที่แน่ใจว่าสะอาด ต้องผ่านการต้มฆ่าเชื้อ เนื่องจากในปัจจุบันมี ปัญหาการใช้นํ้ามากเพราะต้องซื้อนํ้าดื่มกินเลยทําให้ไม่แน่ใจว่าสะอาดหรือไม่ 8.อุจจาระ จะเป็นตัวชี้วัดเรื่องสุขภาพเลยทีเดียว การที่เรามีอุจจาระสีอย่างไร ลักษณะ อย่างไรจะบ่งบอกถึงสุขภาพได้เพราะฉะนัน้ เราควรจะฝึกให้มีการถ่ายอุจจาระทุกวัน 9.อนามัยส่วนบุคคล ต้องดูความสะอาดร่างกาย ความเรียบร้อยว่าดูดีหรือยัง เช่นการดูว่าผม เรียบร้อยหรือไม่ ร่างกายสะอาดหรือไม่เป็นต้น 10.อนามันส่วนรวม การที่เราอยู่ร่วมกับคนอื่นต้องช่วยกันดูแลของส่วนรวมด้วย เช่นการอยู่ ในทีท่ ํางานต้องช่วยกันดูแลความสะอาดห้องนํ้าด้วย เป็นต้น การควบคุมวาจา ให้เรียบร้อย เรียกว่า ศีล หรือวินัย ศีล หรือวินัย ช่วยให้กาย วาจา ดีมี ระเบียบ เป็นฐานของการพัฒนาความเป็นคน (มนุษย์ ผู้มีใจสูง) ซึ่งเป้าหมายในการพูดมีอย่าน้อย 3 ประการคือ 1.การให้ข้อมูล ต้องให้ข้อมูลตามความเป็นจริง 2.พูดเพื่อจูงใจ ให้เขาเห็นด้วยเพื่อการคล้อยตามไปปฏิบัติ 3.พูดให้เกิดความรื่นรมย์ ฟังแล้วสบายหูไม่กระทบกับผู้อื่น การพูดที่ถูกต้องต้องกํากับให้อยู่ใน 2 ประเด็นคือ ต้องมีประโยชน์และเป็นความจริง การกํากําใจ ทําอย่างไรให้ใจสงบ กระทบแล้วไม่กระแทก คอยระวังไม่ให้กระเทือนเมื่อถูก กระทบ รักษาใจให้สงบมิให้เกิดอารมณ์ขุ่นมัว เมื่อใจสงบก็จะพบกับความสุขที่เรามิต้องแสวงหา มันอยู่ที่ตัวเรา เราต้องควบคุม ตา หู จมูกกาย ใจ ลิ้น ที่ไปกระทบภายนอกแล้วไม่กระเทือน ใจ สงบมีสมาธิที่ถูกต้องจิตใจ การกํากับปัญญา/วิญญาณ ใจมีสมาธิที่ถูกต้องเป็นฐานของพัฒนาปัญญา พัฒนางานใน หน้าที่ต้องรู้ความจริงที่ถูกต้องไม่หลงไปกับความจริงสมมติต้องรู้ทั้งความจริงแท้และความจริง สมมติ เรื่องเร่งด่วนที่ต้องกํากับ คือ 1 .ความรู ้สึก(Feelings) เพราะความรู้สึกเป็นสิ่งที่อยู่กับปัจจุบันขณะ ซึ่งถ้าจัดการกับ . ความรู้สึกได้ปัญหาทุกอย่างจะแก้ได้หมด ความรู้สึก มี 2 ประเภทคือ 1.1 ความรู้สึกที่มาจากวิชชาเป็นความรู้สึกที่เป็นปกติตลอด เป็นความรู้สึกที่เต็มอิ่มสดใส รู้แจ้งรู้จริง 1.2 ความรู้สึกมาจากอวิชชามี 3 ประเภทคือ 1.2.1 ชอบ พออกพอใจ ชืน่ ใจ 1.2.2 ชัง ไม่ชอบ ขัดใจ เบื่อ หงุดหงิดรําคาญ 1.2.3 เฉยๆ พร้อมจะหันไปด้านชอบหรือด้านชัง การดูทา่ ทีไปก่อน 2. การคิด (Thinking skills) ต้องคิดอย่างถูกต้อง ต้องฝึกจนเป็นทักษะการคิด 15
3 . การพูด(Words)การพูดอย่างไรก็บ่งบอกความเป็นตัวตนของตนเอง 4. การกระทํา(Actions) เป็นเรื่องของพฤติกรรมทั้งหมดซึ่งมีผลมาจากการพูดการคิด ต้อง เว้นชั่ว ทําดี และไม่ติดอยู่กับความดี การกํากับตนจะต้องเป็นผู้นําที่รู้ตน รูค้ น และรู้งาน อย่างถูกต้อง สามารถกํากับตน พัฒนาคน พัฒนางานได้ ส่งผลให้ชีวิตมีความสุข องค์กรอบอุ่น เข้มแข็ง มั่งคั่ง และ มั่นคงอย่างยั่งยืน หัวใจของงานบริการที่ดีอยู่ที่ การส่งมอบของตามสั่งได้อย่างถูกต้อง ถูกที่ และถูกเวลา (Right thing- Right place at Right time)การเพิ่มความระมัดระวัง หรือความรอบคอบในการรับการสั่งซื้อ รวมถึงการจัดส่ง จึงเป็นอีกเรื่องที่สําคัญ ในการทํางาน และถือเป็นอีกเป้าหมายหนึ่งในการ ปรับปรุงเพิ่มผลผลิต ที่ต้องให้ความสําคัญและป้องกันไม่ให้เกิดการผิดพลาด ไม่ให้เกิดความล่าช้า หรือมีปัญหาตั้งแต่เริ่มทําการผลิตจนกระทั่งถึงมือลูกค้าในการส่งมอบงานภายในระหว่างหน่วยงาน ก็เช่นกัน ความถูกต้อง ตรงเวลา ช่วยให้การผลิตดําเนินไปได้อย่างไม่ขาดตอน ไม่มีปัญหาเกิดขึ้นใน ระหว่างหน่วยงาน ผลผลิตสุดท้ายก็ได้คุณภาพตรงตามเวลา ตอบสนองความต้องการของลูกค้า ภายนอกได้ทันที ความระมัดระวัง ความรอบคอบตรงต่อเวลา ทั้งหมดนีค้ ือสิ่งที่จะต้องปลูกฝังให้ เจ้าหน้าที่หรือผู้ปฏิบัติงานของแต่ละหน่วยงานได้เรียนรู้ เพื่อที่จะเป็นพลังขับดันสําคัญในการเพิ่ม ผลผลิต เพิ่มความสําเร็จให้แก่ทุกองค์กร ได้อย่างยั่งยืน สรุป ตน คน และงาน เรียนรูท้ ี่ชีวิต มีร่างกายอันยาววาหนึ่ง มีสัญญาและใจ เรียนรู้ชีวิตที่ชีวิต ทีน่ ี่ เดี๋ยวนี้ ชีวิตมีหนึ่ง เรียกว่า นามรูป(กายกับใจ) แยกอธิบาย เรื่องกายกับใจ ใครรู้จักชีวิตดีแล้ว/ถูก ต้องตามที่เป็นจริง ชีวิตก็ไม่มีปัญหา(อวิชชา) คนที่มีปัญหายังมีความรู้ไม่ถูกต้องและไม่สมบูรณ์ เป็นชีวิตที่กัดเจ้าของ ข้อสอบ นิตยา นิลจันทร์ 4717870 จงตอบคําถามให้ถูกต้อง สั้น คมชัด และปฏิบัติได้จริง (ส่งก่อน 24 ก.พ.49) 1. ท่านมีวิธีการอย่างไรที่จะทําให้นักศึกษาศาสตร์เพื่อพัฒนาชุมชน มีจิตที่มีเมตตา กรุณา มุทิตา และอุเบกขา ทําตัวเป็นคนดี และฝึกตนอย่างสมํ่าเสมอ เชื่อมั่นในความดีและความถูกต้อง การฝึกกํากับควบคุมตน ให้อยู่กับความถูกต้อง อย่างน้อย 10 เรื่อง 1. รูเ้ ห็นถูกต้อง 2. คิดเห็นถูกต้อง (ปัญญาถูกต้อง) 3.พูดจาถูกต้อง 4. ทําการงานถูกต้อง 5. เลี้ยงชีวิตถูกต้อง (วินยั /ศีล) 16
6. พากเพียรถูกต้อง 7. มีสติถูกต้อง 8. จิตตั้งมั่น(สมาธิ) ถูกต้อง 9. รู้แจ้งถูกต้อง 10.มีอิสระถูกต้อง (จิต) 2. ท่านเรียนวิชานี้แล้วมีความรู้อะไรบ้าง และนําไปปฏิบัติอะไรได้บ้าง ผลการปฏิบัติทําให้ชีวิตท่าน เปลี่ยนไปอย่างไร ได้หลายอย่างทั้งด้านการใช้ชีวิตที่อยู่กับธรรมชาติ ความเป็นผู้นํา ฯลฯ ในการปฏิบัติเช่น การใช้ชีวิตกับปัจจุบันขณะจะต้องไม่ยึดติดกับอะไร การทําหน้าที่ให้ถูกต้องที่สุดตามกําลังความ สามารถของตนเอง ไม่เป็นอันตรายกับคนทั่วไป สร้างประโยชน์ให้เกิดขึ้นกับตนเองและคนรอบ ข้าง คิดดี ปฏิบัติดี กล้าทําในสิ่งที่ถูกต้อง เชื่อมั่นในตนเอง เห็นคุณค่าของตนเองและผู้อนื่ ทุก ขณะเท่าที่กําลังความสามารถและศักยภาพของตนเอง ผลการปฏิบัติทําให้ชีวิตท่านเปลี่ยนไปคือชีวิตมีความสุขมากยิ่งขึ้น 3. พฤติกรรมการขายหุ้นชินคอบของนายกและครอบครัว ถูกต้องตามกฎหมาย คือไม่ต้องเสียภาษี ท่านคิดว่าวิธีการที่ชาญฉลาดนี้คนไทยควรเอาเยี่ยงอย่างหรือไม่ เพราะอะไร ไม่ควรเอาเยี่ยงอย่างเป็นอย่างยิ่งเพราะ เพราะว่าการศึกษา ถึงดร.แต่ไม่ได้พัฒนาตนเองให้ มีความเป็นมนุษย์เลย เปรียบเสมือนการทํานาบนหลังคน (น่าสงสารคนจนและมนุษย์เงินเดือนอย่า ข้าราชการทั้งหลาย) 4. ท่านคิดว่าควรได้เกรดอะไร เพราะเหตุใด เกรดอะไรก็ได้แล้วแต่ท่านอาจารย์และคิดว่าตนเองได้เรียนและศึกษาจนเต็มความสามารถ และได้นําเอาสิ่งที่ตนเองเรียนมาไปปฏิบัติมากที่สุดและถูกต้องที่สุด ซึ่งข้าพเจ้าไม่ได้เข้าเรียนครบ ทุกวันที่มีเรียนแต่ก็ไม่ได้แก้ตัวอะไรเนื่องจากมีภาระกิจบางอย่าง แต่ตนเองได้ควบคุมตนเองใน การศึกษาเพิ่มเติมนอกห้องเรียนเพื่อชดเชยกับที่ตนเองขาดเรียนตามกําลัง สักยภาพของตนเองแล้ว "ไม่พียงแต่คิดนอกกรอบแต่ต้องทํานอกกรอบด้วย"
17