Feeling

  • Uploaded by: Associate Professor Dr.Marut Damcha-om
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Feeling as PDF for free.

More details

  • Words: 1,573
  • Pages: 6
ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม Ph. D. (Rural Development), รองศาสตราจารย์ ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ความรู้สึก หรือเวทนาเป็นสิ่งที่ต้องศึกษาเรียนรู้ เพราะทุกคนมีความรู้สึก สำาหรับผู้ที่หมดความรู้สึกแล้วไม่ต้อง ศึกษาเรียนรู้อีกต่อไป มีคำา ถามต่อไปว่าทำา ไมคนที่ยังมีความรู้สึกต้องศึกษา คำา ตอบคือ คนที่ยังมีความรู้สึกต้องศึกษา เพราะ “ความรู้สึก” เป็นที่มาของปัญหาทั้งปวง ดังพุทธพจน์ทวี่ ่า สัพเพธัมมา สโมสเวทนา แปลเป็นไทยว่า สิ่งทั้งหลาย ทั้งปวงรวมลงไปที่ความรู้สึกเท่านั้น ถ้าไม่มีความรู้สึกสิ่งทั้งหลายทั้งปวงก็ไม่มี หรือแม้มีก็เหมือนไม่มี เพราะสิ่งนั้นไม่ได้ อยู่ในความรู้สึก ชีวิตและสรรพสิ่งก็เป็นเพียงปรากฏการณ์ของธรรมชาติ ที่เป็นเช่นนั้นเอง (วรธัมโมภิกขุ, 2523 : 25) คำาสำาคัญ : ความรู้สึก, ปรากฏการณ์ธรรมชาติ, ใจ, อารมณ์, ปัญญา, ความสงบสุข Keywords : feelings, natural phenomena, mind, emotion, intellect, peace and Happiness.

บทนำา

บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของผลการศึกษา ชีวิตจิตใจ ซึ่งมีป ระเด็นปัญ หาหลั กในการศึก ษา คือ “ความรู้สึก” ที่เกิดขึ้นในใจ ผู้อ่านต้องศึกษา และทำาความเข้าใจ เวลารู้สึกดีใจ เสียใจ และใจที่ดี ปลอดโปร่ง เพื่อการเกิดปัญญารู้แจ้งในความรู้สึก หรือเวทนาทั้งปวง แม้ขณะที่กำาลังอ่านบทความนี้ก็ สามารถศึกษาความรู้สึกในใจได้ การศึกษาโดยดู ลงไปในความรู้สึกในใจ ศึกษาว่าขณะที่ตื่นเต้นดีใจ ผลของความ รู้สึกตื่นเต้นดีใจเป็นอย่างไร ขณะที่ซึมเศร้าเสียใจ ผลของความรู้สึก ซึมเศร้าเสียใจเป็นอย่างไร ขณะทีใ่ จดี ปลอดโปร่งไม่มอี ารมณ์ใดๆ รบกวน ผลเป็นอย่างไร นอกจากนั้นต้องตั้งคำา ถามและแสวงหา คำาตอบว่า ทำาไมต้องดีใจ เสียใจ หรือทำาไมใจดีบา้ ง ไม่ดีบ้าง บทความนี้จะให้แนวทางการตอบคำาถาม เหล่านั้น โดยมีการนำาเสนอแบ่งออกเป็น 4 ส่วน

คือ ส่วนแรก ความสำาคัญของการศึกษาความรู้สึก ส่วนที่สอง แนวทางการศึกษาความรู้สึกโดยเริ่ม ที่ ใ จ ส่ ว นที่ ส าม วิ ธี ก ารควบคุ ม ความรู้ สึ ก และ พฤติกรรมให้ถูกต้องด้ว ยวิ ธีการต่ างๆ ส่วนที่สี่ เป็ นการสรุ ป การดำา เนิน ชี วิต ด้ว ยปัญ ญาที่ อิส ระ จากความรู้สึก คนอื่ นรู้ สึก อย่า งไรต่ อ เราไม่ สำา คั ญ ที่ สำา คัญคื อเราไปรู้สึก อย่างไรต่อเขาเราต้อ งรับ ผลทั้งหมด รู้สึกดีถูกต้องสบาย รู้สึกร้ายเร่าร้อน ดังโวหารที่ว่า อันสนิมนั้นเกิดขึ้นในเนื้อในเหล็ก และทำาลายตัวเหล็กมันเอง ความรู้สึกร้าย (ราคะ โทสะ โมหะ) เกิดขึ้นในจิตของผู้ใดก็ทำาให้ผู้นั้น เศร้าหมองเอง ด้วยเหตุนี้จึงไม่มีใครทำาร้ายเราได้ นอกจากความรู้สึกที่เกิดขึ้นในจิตของเราเอง และ เป็ น ความรู้ สึ ก ที่เ กิ ด มาจากความไม่ รู้ (อวิ ช ชา) ของเราเอง ถามต่อไปว่าเราไม่รู้อะไร คำา ตอบคือ เราไม่รู้ ว่าเรายังไม่รู้ เรายังไม่รอู้ ะไร เรายังไม่รจู้ ัก ชีวติ สิง่ แวดล้อม และโลกตามทีเ่ ป็นจริง เราจึงต้อง รู้ก่อนว่าเรายังไม่รู้ และต้องศึกษา

ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

พระเยซูเจ้า ทรงสอนให้สาวก รักเพื่อน บ้านเหมือนรักตัวเอง ให้รกั คนทีก่ ำาลังทำาตัวเป็นศัตรู กับเรา และสวดขอพรให้แก่ศตั รูดว้ ย (มัดธาย 22, 6 อ้างใน พระคริสตธรรมใหม่, 2520 : 42, 6) เราจะเห็นว่าเมื่อเรารักเพื่อนบ้านเหมือนรักตัว เองความรู้ สึก รั ก อยู่ ในใจของเรา ความรู้ สึก รัก เมตตาที่ เ กิ ด จากปั ญ ญาที่ ถู ก ต้ อ งจะเย็ น และสุ ข สบาย เป็นความรู้สึกรักที่ออกมาจากใจที่ดี สงบ สะอาดและสว่างเมื่อ ใจสงบพบความสุขใจสะอาด ปราศจากโรค ใจสว่างเห็นทางพ้นทุกข์ เป็นใจที่ ไม่มีอารมณ์ใดๆรบกวน หรือกล่าวได้ว่าพ้นทุกข์ ไม่มีปัญหา มีปัญญาเห็นว่าชีวิตทั้งหลายเป็นเพื่อน ที่ ต้ อ งร่ ว มทุ ก ข์ ร่ ว มเกิ ด แก่ เจ็ บ และตาย (ร่างกาย) ต้องเป็นอยู่อย่างเกื้อกูลกัน ไม่เป็นพิษ มีภัยแก่กันและกัน ไม่เบียดเบียนทำาร้ายกัน การไม่ เบียดเบียนทำา ร้ายกันเป็นสุขในโลก ตรงกับพุทธ พจน์ ว่ า อั พ พยา ปั ช ฌั ง สุ ขั ง โลเก (วิ . มหา. 4/6. ขุ . อุ . 25/86 อ้ า งใน สมเด็ จ พระมหา สมณเจ้า กรมพระยาวชิ ร ญาณวโรรส, 2521 : 77) ซึ่ ง ตรงกั น กั บ คำา กล่ าวของนั ก ปราชญ์ ช าว เยอรมั น ชื่ อ เกอร์ เ ต กล่ า วว่ า “ฉั น รั ก หล่ อ นแต่ ไม่ มี อ ะไรที่ เ กี่ ย วกั บ ตั ว หล่ อ นเลย” ไม่ ไ ด้ รั ก เพราะหล่ อ นสวย หล่ อ นรวย หล่ อ นดี หรื อ มี ประโยชน์ แต่รั กเพราะเห็น ว่ า หล่ อ นเป็ น เพื่ อ น ร่ ว มทุ ก ข์ เกิ ด แก่ เจ็ บ และตาย หล่ อ นจะเป็ น อย่างไรเรายังรักอยู่นิรันดรไม่เปลี่ยนแปลง เพราะ ความรักออกจากใจที่ประกอบด้วยปัญญามีอยู่ เต็มในใจและล้นบ่าออกไปยังเพื่อนมนุษย์และ สรรพสัตว์ทั้งหลาย เป็นความรักที่บริสุทธิ์ไม่ได้ หวังอะไรตอบแทน เห็นว่าเป็นหน้าที่ต้องรัก จึ ง เป็ นความรั กที่ไ ม่เป็ นไปเพื่ อความเกลี ยดชั ง ซึ่ ง ตรงกันข้ามกับความรักของหนุ่มสาว หรือความรัก วัยรุ่นที่รักด้วยอารมณ์ เมื่อรักมากก็เกลียดมาก รัก เขาเพราะเราได้ประโยชน์ เมื่อเขาไม่มีประโยชน์ก็ เลิ ก รั ก ด้ ว ยเหตุ นี้ ค นที่ เ รากำา ลั ง เกลี ย ดหรื อ ไม่ พอใจอยูใ่ นขณะนี้ คือคนทีเ่ ราเคยรักเคยชอบเขามา แล้ว ความรักประเภทนีเ้ รียกชื่อใหม่ว่าความใคร่(

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

กามารมณ์)จะชัดเจนกว่า มีความใคร่ให้ได้อย่างใจ เมื่อได้อย่างใจก็พอใจชั่วขณะแล้วแสวงหาใหม่อีก ไม่รู้จักคำา ว่าพอ ทรัพยากรในโลกนี้มีพอสำา หรับ คนทุกคนแต่ไม่พอกับความใคร่หรือโลภะของ คนเพียงคนเดียว ตรงกับพุทธพจน์ว่า “ความอิ่ม ในกามทั้งหลายย่อมไม่มี แม้ฝนจะตกลงมาเป็น กหาปณะ(เงิ น ) กามทั้ ง หลายมี ร สอร่ อ ยน้ อ ยมี ทุกข์โทษมาก บัณฑิตรู้อย่างนี้แล้วไม่ยินดีในกาม แม้ที่เ ป็น ทิ พ ย์ “ (คณะอนุก รรมการดำา เนิ น การ ศึกษาและกำา หนดหลักวิชาการศึกษาศาสตร์ตาม แนวพุทธศาสตร์ ภาคที่ 6 สือ่ การศึกษา, 2526 : 32) รักบริสุทธิ์ที่ประกอบด้วยปัญญาออกจากใจ ย่อมให้ความเย็นแก่คนที่มีความรักและคนที่ได้รับ ความรักนั้น ซึ่งตรงกันข้ามกับความใคร่ที่เผาลน ให้เร่าร้อนแก่ทุกคนและทุกฝ่าย ทำาไมเราต้องขอพรให้แก่ผู้ที่เป็นศัตรูกับ เรา เราต้องขอพรให้เพราะความรู้สึกเป็นศัตรูอยู่ ในใจของเขาและเขากำาลังมีปัญหามีความทุกข์ใจ ไม่สบายใจ เราขอพรให้เขามีปัญญาเห็นศัตรูในใจ คือความรู้สึก โกรธเกลียด ชิงชัง ซึ่งเป็นความมืด ในใจ ชีวิตเขาจะมืดมนเศร้าหมอง หรือเรียกว่า เครียด(stress) ปัญญาเปรียบเหมือนแสง สว่างส่องใจ ความมืดก็หายไป ศัตรูในใจหมดไป หน้าตาผิวพรรณผ่องใส ชีวิตก็อยู่เย็นเป็นสุข พระเยซูเจ้า ยังบอกให้สาวกของพระองค์ ปฏิบัติ ตัวให้ถูก ต้อ งเมื่ อถูกเบีย ดเบีย นทำา ร้ ายว่า “จงอย่าใช้วิธีรุนแรงแก้แค้นต่อกันเลย ถ้าผู้ใด ตบแก้มซ้ายของท่าน ก็จงหันแก้มขวาให้เขาเสีย ด้วย ถ้า ท่า นถู ก ฟ้ อ งร้ อ งต่ อ ศาล และผลแห่ ง การฟ้องร้องนั้นทำาให้ท่านถูก ยึดเสื้อไป ก็จงให้ เสื้อคลุมแก่เขาเสียด้วย” (มัดธาย 5 / 39,40 . อ้า งในพระคริ ส ตธรรมใหม่ , 2520 : 7-8) คำาสอนเหล่านี้ล้วนเป็นคำาสอนที่มุ่งให้เรารักษา ความรู้สึกในใจให้ดี ทั้งสิ้น ถ้าเราไม่เข้าใจก็คิดไป ว่า คนบ้าที่ไหนที่เขาตบแก้มซ้ายแล้วยื่นแก้มขวา ให้เขาตบอีกคนโดยมากต้องการทำา ร้ายตอบ เขา ตบเราหนึ่งครั้ง เราต้องตบกลับสามครั้งเพื่อให้ได้

ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

กำา ไรสองครั้งเราจึงพอใจ สะใจ มีความจริงอยู่ว่า เวรย่อมระงับด้วยการไม่จองเวร คนที่กำาลังทำาร้าย ผู้อื่ นอยู่ คือ ผู้ที่ ได้ เบี ย ดเบีย นทำา ร้ ายตนเองเสร็ จ แล้ว เฉกเช่น ไม้ขีดจะเผาบ้านเผาเมืองได้ต้องเผา ตัวมันเองก่อน เขาตบเราเพียงแก้มซ้ายข้างเดียว ยังน้อยไปแม้เขาตบแก้มขวาอีก เราก็ไม่โกรธเขา เราก็เจ็บกาย แต่ใจไม่เจ็บ เราถูกยึดเสื้อ ยังน้อย ไปเขาจะยึดเสื้อคลุมด้วยเราก็ไม่โกรธเขา เพราะ เรารู้ว่าเขามีปัญหามีความทุกข์จิตเขายังหยาบบาป และป่าเถื่อนอยู่ เราจึงต้องให้อภัยไม่โหดร้ายซำ้า เติมเขาอีก ส่วนการจัดการทางกฎหมายหรือกฎ ระเบียบทางสังคมก็จัดการกันไป เพื่อรักษาความ สงบเรียบร้อยทางสังคม พระพุทธเจ้าก็ทรงสอนสาวกเกี่ยวกับเรื่อง นี้ในทำานองเดียวกันว่า “ถ้าโจรจับเธอมาแล้วมัด มือมัดเท้าเธอไว้ โจรเอาเลือ่ ยเลือ่ ยเธอจนกระทัง่ หนังขาด ถ้ าเธอโกรธโจรเธอไม่ ใช่ คนของเรา ถ้าโจรเลื่อยต่อไปอีกจนถึงเนื้อ ถ้าเธอโกรธโจร เธอก็ ไ ม่ ใ ช่ ค นของเรา ถ้ า โจรเลื่ อ ยต่ อ ไปอี ก จนถึงกระดูก ถ้าเธอโกรธโจร เธอก็ไม่ใช่คนของ เรา ถ้า โจรเลื่ อยต่ อไปอี กจนถึ ง เยื่ อในกระดู ก ถ้าเธอโกรธโจร เธอก็ไม่ใช่คนของเรา” (พุทธ ทาสภิกขุ, 2518 : 27)คนของพระพุทธเจ้าต้อง เป็ น ผู้ รู้ ผู้ ตื่ น ผูเ้ บิกบาน เขาทำา ร้ายเราได้เฉพาะ ร่างกาย ส่วนใจนัน้ ไม่มีใครทำา ร้ายได้ เพราะเรามี สติปัญญารักษาใจให้ดีอยู่นิรันดร ความรู้สึกทางจิตที่เราต้องศึกษา คือ รู้สึก ว่า อร่อย มัน สะใจ คำา 3 คำานี้สื่อความรู้สึกหรือ เวทนาเมื่อชีวิตกระทบ(ผัสสะ)กับสิ่งแวดล้อม และไม่รู้(อวิชชาผัสสะ) เราจึงเพลินไปกับความ รู้สึกนั้นชั่วขณะ และหลงไปว่านั่นคือ “ความสุข” เป็นความรู้สึกสุขที่ได้มาด้วยการแสวงหา เหน็ดเหนื่อยยากลำาบาก มีบางครั้งหรือบ่อยครั้ง เราต้องแย่งชิงแข่งขันเบียดเบียนทำาร้ายให้บาดเจ็บ พิการ หรือถึงชีวิต เพื่อเราจะได้เสวยความอร่อยที่ เกิดขึ้นชั่ววูบ หรือ พุทธทาสภิกขุ (2527 : ปก

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

นอก) เรียกว่า “บ้าวูบเดียว” ท่านได้เขียน คำา ประพันธ์ให้ผู้คนได้ศึกษาเรื่องความสุขไว้ว่า ความเอ๋ยความสุข ใครๆทุกคน, ชอบเจ้า เฝ้าวิ่งหา “แกก็สุข, ฉันก็สุข, ทุกเวลา” แต่ดูหน้า ตาแห้ง ยังแคลงใจ ถ้าเราเผา ตัวตัณหา, ก็น่าจะสุข, แต่ถา้ มันเผา เราก็จะ “สุก” หรือเกรียม ได้ เขาว่าสุข สุขเน้อ ! อย่าเห่อไป มันสุขเย็น หรือสุกไหม้ ให้แน่เอย ฯ (พุทธทาสภิกขุ, อ้างใน ธรรมประทีป, 2527 : ปกใน) ความสุขจากความรู้สึกอร่อย มัน สะใจ ที่ คนทั่ว ไปต้อ งการ มั นเป็ น ความสุก ร้อ น สุก ไหม้ เป็นความสุขทีม่ าจากการกระตุน้ ทางตา หู จมูก ลิน้ และกาย ด้วย รูป เสียง กลิ่น รส และโผฏฐัพพะ หรือเรียกว่ากามคุณ 5 ซึ่งมีรสอร่อยน้อยแต่ทุกข์ โทษมากคนเขลายั ง ข้ อ งอยู่ (วรธั ม โมภิ ก ขุ , 2523 : 43) ชีวิต สังคม สิ่งแวดล้อมและโลก กำาลังถูก ทำาลายล้างด้วยความสุขชนิดนี้ ยิ่งยุคนี้ เป็นยุคที่ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีก้าวหน้ามาก การนำา เอาวัตถุกาม(รูป เสียง กลิ่น รส โผฏฐัพพะ) มา บำารุงบำาเรอปรนเปรอ ที่มีความรุนแรง เพื่อทำาให้ อร่อย มัน สะใจ ซึ่งต้องเพิ่มปริมาณการตอบสนอง ไม่จบไม่สิ้น ในวงการพัฒนาก็มีการกำาหนดเป้า หมายให้ประชาชนอยู่ดีกินดี ทีไ่ ม่มีขอบเขต ผู้รู้ทั้ง หลายจึงให้สติว่าควรให้ประชาชน กินอยู่แต่พอดี เพราะมีขอบเขตที่ชัดเจน หลังจากความสนุกสนาน กับความอร่อยทางวัตถุ เช่นซือ้ รถยีห่ อ้ ดังๆ ทัง้ ล็อท เพราะรู้สึกชอบทุกสี ซื้ออาหารนำาเข้าแดก ด่วน(fast food) กระเป๋ายี่ห้อดังจากฝรั่งเศส นาฬิการาคาเป็นล้านจากประเทศสวิสเซอร์แลนด์ กูเ้ งินดอกเบี้ยถูกจากต่างประเทศมาปล่อยกู้ ดอกเบี้ยราคาแพง กินเกิน ใช้เกิน เอากำาไรเกินได้ ชื่อว่าเป็นคนสกปรก (อติโลโภ หิปาปโก)

ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

เมื่อปี 2540 พระบาทสมเด็จ พระเจ้าอยู่หัวจึงให้สติแก่ประชาชนให้กลับมา ดำาเนินชีวิตแบบเศรษฐกิจพอเพียง ตามแนวทาง ทฤษฎีใหม่ และให้เริ่มศึกษาปัญหาที่ใจ โดยทรง ตรัสว่า

ใจเอ๋ยใจ ใจหายใจควำ่า หายใจยาว ใจดีสู้เสือ

ใจเอ๋ ย ใจ เมื่ อ มี ปั ญ หาให้ ศึ ก ษาปั ญ หา โดยเริ่มดูใจ ใจหายใจควำ่า เมื่ อ ศึ ก ษาดู ที่ ใ จก็ พ บว่ า ใจที่มีปัญหาเพราะหวั่นไหว ดีใจเมื่อได้ ร้องให้เมื่อ เสี ย ใจมี อ ารมณ์ ร บกวน ทำา ให้ ล มหายใจสั้ น อากาศที่ไปเลี้ยงสมองน้อย เซลล์สมองเสื่อม นั่น คือการที่จิตหวั่นไหวครั้งหนึ่งๆ จะดีใจ หรือเสียใจ ก็ตามทำาให้ความโง่เพิ่มขึ้น หายใจยาว เป็ น การแก้ ปั ญ หา จิ ต ใจที่ หวั่นไหวให้สงบ โดยการปรับลมหายใจให้ยาว ใจ จะสงบ ใจดีสู้เสือ เมื่อใจสงบ ใจจะดี สามารถสู้ กับเสือ หรือปัญหาทุกอย่างได้ ความสงบภายในจิตใจ สุขอื่นใดไม่เสมอ เหมือน ตรงกับพุทธพจน์ว่า “นัตถิ สันติ ปรัง สุ ขัง” แปลเป็นไทยว่า สุขอื่นใดเสมอด้วยสุขจาก สงบนั้ น ไม่ มี (กรมพระยา วชิ ร ญาณวโรรส, 2521 : 78) โดยธรรมชาติดั้งเดิม จิตเราสงบ อยูแ่ ล้ว แต่เมื่อชีวิตกระทบ(ผัสสะ)กับสิ่งแวดล้อม เราไม่มีปัญญา หรือไม่รู้สิ่งแวดล้อม ตามที่เป็นจริง จิตหวั่นไหว พอใจบ้างไม่พอใจบ้าง หรือกล่าวว่า กระทบแล้วกระเทือนจิตสูญเสียความสงบสุขที่มี อยู่เดิม และความไม่รู้ที่น่ากลัวคือจิตหวั่นไหวไป ทางบวกหรื อ ทางที่ ช อบอกชอบใจ ดี ใ จ ตื่ น เต้ น อร่อย มัน สะใจ เราหลงไปว่านั่นคือ “ความสุข” ที่เราควรได้ควรมี เราไม่รู้เลยว่าจิตหวั่นไหวเพราะ อารมณ์รบกวน จิตอยู่ในอำา นาจของสิ่งแวดล้อ ม

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

(รูป เสี ยง กลิ่ น รส โผฏฐั พพะ) หรื อกล่าวว่ า ตัวเป็นไทแต่ใจเป็นทาส พฤติ ก รรมที่ แ สดงออกทางกาย วาจา ที่มาจากจิตที่ไม่มีปัญญา(วิชชา) คุ้มครองจิตจะไม่ สงบ ไม่ดี ทำาให้การคิด การพูด และการกระทำาไม่ ดีไปด้วย ส่ ว นพฤติ ก รรมที่ แ สดงออกมาทางกาย วาจา ที่ มาจากจิ ต ที่ มี ปั ญ ญา(วิ ช ชา)คุ้ ม ครองจะ สงบมีความสุขเย็น เป็นคนใจดี การคิด การพูด และการกระทำาก็ดี จิตจะดีมีปัญญาคุ้มครองได้ต้องผ่านการ ฝึกอบรมหรือ พัฒ นา การฝึ กอบรมพัฒ นาจิต ใน ทุกศาสนาจะมีวิธี พัฒนาจิตให้ดีมีปัญญาคุ้มครอง เช่น ศาสนาพราหมณ์- ฮินดู มีการท่องมนตร์ และเคารพพระเจ้า ศาสนาพุทธ มีการศึกษาอบรมจิต เรียกว่า ไตรสิกขา(พุทธทาสภิกขุ, 2518 : 14) ไตรสิกขา หรือ การศึกษา 3 มี ดังนี้คือ 1. ศีลศึกษา (ศึกษากาย วาจา) 2. จิตศึกษา (ศึกษาจิต) 3. ปัญญาศึกษา (ศึกษาปัญญา) ศีลศึกษา คือการจัดระเบียบการเป็นอยู่ ทางกาย วาจา ให้ถูกต้องไม่เบียดเบียนตนเองและ ผู้อื่น เป็นการควบคุมภายนอก จิตศึกษา คือการศึกษาจิต ธรรมชาติของ จิต การควบคุมจิต จัดระเบียบทางจิต ภาษาสมัยใหม่ เรียกว่า ปัญญาทางอารมณ์ (E.Q. = Emotional Quotient) สมัยก่อนเรียกว่า สมถกัมมัฏฐาน หรือสมถภาวนา หมายถึงวิธีการ ควบคุมจิตให้สงบโดยอาศัยกายวาจาที่ไม่มีปัญหา เป็นฐาน เมื่อใจสงบเย็น เป็นสมาธิ จะมี คุณลักษณะสำาคัญเกิดขึ้น 3 อย่าง คือ บริสุทธิ์ (pureness) ตั้งมั่น (firmness) และ ว่องไว (activeness)

ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

จิตที่บริสุทธิ์ (ปริสุทโธ) จะพบความสุข แท้ มีความสุขสูงสุ ด ซึ่งทุก คนมี ได้ เท่า กัน ไม่ ว่า ยาจก หรือนายกรัฐมนตรี ถ้านำาจิตที่มีความสุขไป ทำางาน จะทำางานได้ดี มีคุณภาพ จิตทีต่ งั้ มัน่ (สมาหิโต) จะมีพลัง สามารถ ทำา งานได้นาน เป็นจิตที่ มีสมรรถภาพ จะทำา งาน นานเท่าไรก็ได้ตามที่ต้องการ จิตว่องไว (กัมมนิโย) เป็นจิตที่เหมาะแก่ การงาน ทำางานได้เร็ว เป็นจิตที่มีประสิทธิภาพ จิตที่ฝึกดีแล้วนำาสุขมาให้ จิตที่ไม่ได้ฝึกนำาทุกข์มาให้ เป็นชีวิตที่ กัดเจ้าของ จิ ต จ ะมี คุ ณ ภา พ สมรรถ ภ า พ แ ละ ประสิทธิภาพ ขณะที่อยู่ในสมาธิ แต่เมื่อจิตหวั่น ไ ห ว ฟุ้ ง ซ่ า น คุ ณ ภ า พ ส ม ร ร ถ ภ า พ แ ล ะ ประสิทธิภาพก็หมดไป ปั ญ ญาศึ ก ษา เป็ น การศึ ก ษาฝึ ก อบรม ปัญญาให้รู้เห็นสิ่งต่างๆ ตามที่เป็นจริง การศึกษา ขั้นนี้บางทีเรียกว่า วิปัสสนากัมมัฏฐาน วิปัสสนา ภาวนา หรือ สติ ปั ฏฐานสี่ เพื่ อ ให้ มีปั ญญารู้ แจ้ง เห็นจริงในทุกสิง่ ตลอดเวลา ปัญญาจะได้คมุ้ ครอง รักษาจิตได้ทุกขณะ ทั้งหลับและตื่น ทั้งนอน นั่ง ยืน เดิน หรือกล่าวได้ว่ามีปัญญารักษาใจทุกลม หายใจเข้าออก หรือทุกขณะจิต การศึกษาระดับ นี้ อาศัยกาย วาจา(ศีล) ที่เรียบร้อย และจิตที่สงบ เย็ น เป็ น สมาธิ เ ป็ น ฐานพิ จ ารณาความจริ ง หรื อ สัจธรรม เห็นความเป็นจริงของชีวิตและสรรพสิ่ง เช่นกฎไตรลักษณ์ ความเปลี่ยนแปลงไม่เที่ยง ทน สภาพอยู่ไม่ได้ ไร้ตัวตนที่แท้จริง (อนิจจัง ทุกขัง อนัตตา) ถอนความรู้สึกที่เคยหลงเข้าไปยึดมั่นถือ มั่นว่าตัวเรา(อหังการ) ของเรา(มมังการ) ออกได้ ชีวิตจิตใจก็สุขสบายนิรันดร ทางศาสนาอิสลาม ก็มีวิธีการในการ ควบคุมและอบรมจิต เช่น การทำาละหมาดอย่างน้อยวันละ 5 ครั้ง การถือศีลอดปีละ 1 ครั้ง เพื่อฝึกการอด ทุกอย่าง รวมทั้งการอดจากการหลงว่าตัวเราของ

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

เรา เพราะมี ปั ญ ญาเห็ น ว่ า ทุ ก อย่ า งเป็ น ไปตาม ความประสงค์ของพระเจ้า การฝึกอบรมจิตนอกจากวิธกี ารทางศาสนา แล้วยังมีวิธีอื่นๆอีก เช่น

1. ทีเอ็ม (T.M. =

Transcendental Meditation) การอบรมจิตวิธี หนึ่ง

2. โยคะ เป็นการฝึกอบรมจิตที่ประสาน กับกาย 3. การทำางานศิลปะ 4. การเล่นดนตรี 5. การเล่นกีฬา

6. ศิลปะการป้องกันตัว เช่น มวยไทย คาราเต้ เทกวนโด

7. การทำางานในชีวิตประจำาวัน เห็น ว่าการทำางานคือการปฏิบัติธรรม งานคือชีวติ ชีวติ คืองานบันดาลสุขทำางาน ให้สนุกและเป็นสุขเมื่อทำางานไม่ต้องรอความสุข จากผลของงาน(พุทธทาสภิกขุ , 2516 : 11) มีสจั ธรรมอยู่ว่า เมื่อกายป่วยส่งผลให้จิตป่วย เมื่อจิตป่วยส่งผลให้กายป่วย ถ้าควบคุมจิตได้ คุ้มครองจิตด้วยปัญญา ไม่ให้จิตป่วยได้ ช่วยให้กายป่วยน้อยลง เมื่อคุมจิตได้ คุมสมองได้ เมื่อคุมสมองได้ก็คุมพฤติกรรมได้ การคิด พูด และทำาก็ถูกต้องเกื้อกูลแก่ กันและกันทุกฝ่าย เมื่อฝึกจิตให้ดีมีปัญญาคุ้มครองได้แล้ว สามารถถอนความรู้สึกว่าตัวเราของเราได้ก็สิ้นสุด การตกเป็นทาสความรู้สึก มีการดำาเนินชีวิตด้วย

ว. ศึกษาศาสตร์ ปีที่ 13 ฉบับที่ 1 2543

ความรู้สึก หรือเวทนา มารุต ดำาชะอม

ปัญญา เหนืออารมณ์(อร่อย มัน สะใจ) มีความ รู้ สึ กแต่ ไ ม่ มี ค นรู้ สึ ก ความรู้ สึ ก ก็เ ป็ น เพี ย งกิ ริ ย า อาการ ไม่ มี ก รรมได้ ชื่ อ ว่ า เป็ น การสิ้ น ไปแห่ ง กรรม(กัมมะ ขยัง ปัตโต) นี่คือที่สุดของการศึกษา ความรู้สึก ผลที่ได้ คือชีวิตและสรรพสิ่งทำา หน้าที่ อย่างถูกต้องในทุกอิริยาบถ ทุกขณะมีการเกื้อกูล กันอยู่ร่วมกันอย่างผาสุกนิรันดร

บรรณานุกรม

คณะอนุกรรมการดำาเนินการศึกษาและกำาหนดหลักวิชาการศึกษาศาสตร์ตามแนว พุทธศาสตร์. 2526. ศึกษาศาสตร์ตามแนวพุทธศาสตร์ ภาคที่ 6 สื่อการศึกษา. กทม. : สำานักพิมพ์กราฟิคอาร์ท. ธรรมประทีป. 2527. ธรรม ธรรม ธรรม. สงขลา : ธรรมสถานหาดทายแก้ว. พระคริสตธรรมใหม่. 2520. อมตธรรมเพื่อชีวิต. กทม. : ไทยวัฒนาพานิช. พุทธทาสภิกขุ. 2516. ปริศนาธรรม . กทม. : การพิมพ์พระนคร. พุทธทาสภิกขุ. 2518. คำาสอนผู้บวช. กทม. : สมชายการพิมพ์. พุทธทาสภิกขุ. 2527. บ้าวูบเดียว. กทม. : หอรัตนชัยการพิมพ์. วชิรญาณวโรรส, กรมพระยา . 2521. พุทธศาสนสุภาษิตเล่ม 1. กทม. : โรงพิมพ์มหามกุฎราชวิทยาลัย. วรธัมโมภิกขุ. 2523. ฝึกวิญญาณ. กทม. : สมชายการพิมพ์.

Related Documents

Feeling
June 2020 28
Feeling Marazzi
May 2020 13
A Feeling
April 2020 21
Feeling Threatened
June 2020 8
Ana Feeling
June 2020 7

More Documents from ""

May 2020 11
May 2020 11
Dalai Lama 2008
November 2019 29
Edfordev_
November 2019 26
November 2019 22
Sati4
November 2019 33