คู่มือการจำแนกมดที่พบบ่อยในศาลายา นครปฐม

  • Uploaded by: AkeDemo
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View คู่มือการจำแนกมดที่พบบ่อยในศาลายา นครปฐม as PDF for free.

More details

  • Words: 904
  • Pages:
SUBFAMILIES of ANTS

มี acidopore

FORMICINAE

ปล้องท้าย (ventral) ไม่มีเหล็กไน ไม่มี acidopore

เหล็กไน

DOLICHODERINAE มีหนามสั้นๆ เป็นแถว

มีเหล็กไน

มีตา

ปล้องท้าย (dorsal)

เอว 1 ปล้อง

ไม่มีหนาม

ตา เอว

ไม่มีตา

เอว 2 ปล้อง

CERAPACHYINAE

ลำตัวสั้น

PONERINAE

DORYLINAE

MYRMICINAE

ลำตัว มีตา ตา

ไม่มีตา

ลำตัวยาว

ไม่มี subpetiolar process

PSEUDOMYRMICINAE AENICTINAE

postpetiole มี subpetiolar process

LEPTANILLINAE

มดที่มีเอว 2 ปล้องจะมี sp. ที่มีเหล็กไนในทุก subfamilies

มดที่พบในไทยมีทั้งหมด 9 subfamilies ได้แก่ 1. Formicinae - มีเอว 1 ปล้อง, ไม่มีเหล็กไน, ปล้องท้ายมีรูเปิดรูปวงกลมทางด้าน ventral (acidopore) ส่วนใหญ่มักมีขนล้อมรอบรูเปิดนี้ 2. Dolichoderinae - มีเอว 1 ปล้อง, ไม่มีเหล็กไน, ปล้องท้ายมักมีลักษณะเป็นแผ่นประกบกัน ไม่มี acidopore หากมีช่องเปิดก็จะไม่ใช่รูปวงกลมหรือครึ่งวงกลมและไม่มีขนที่ร่องนั้น 3. Ponerinae - มีเอว 1 ปล้อง, มีเหล็กไนยาว เห็นได้ชัดเจน (ส่วนใหญ่), ไม่มี sp. ที่มี petiole เป็นก้านหลอด, มีความหลากหลายรองจาก Myrmicinae 4. Dorylinae - มีเอว 1 ปล้อง, มีเหล็กไน, ไม่มีตา, เมื่อมองจากทางด้านบน จะเห็นเส้นคั่น ระหว่างอกปล้องที่ 1 กับปล้องที่ 2 เป็นร่องชัดเจน, ปลายสุดของปล้องท้ายจะเว้าเห็นเป็น มุม 2 มุม 5. Cerapachyinae - มีเอว 1 ปล้อง, มีเหล็กไน, ระหว่างท้องปล้องแรกกับปล้องที่ 2 จะคอด คล้ายเอว แต่รอยคอดจะเห็นเป็นท่อหนา, ปล้องท้ายจะมีหนามซี่สั้นๆเรียงทางด้าน dorsal เป็นแถวจนถึงโคนของเหล็กไน (สังเกตลักษณะหนามจะต่างจากขน) 6. Aenictinae - มีเอว 2 ปล้อง, ไม่มีตา แต่บางชนิดอาจจะเห็นมีจุดเหลืองๆคล้ายตา แต่ไม่ใช่ ตา, ขายาวเก้งก้างเมื่อเทียบกับลำตัว, ด้านใต้ postpetiole ไม่มี subpetiolar process ถ้ามี process จะพบอยู่ใต้ petiole ไม่ใช่ postpetiole 7. Leptanillinae - มีเอว 2 ปล้อง, ไม่มีตา, ลำตัวเล็กมาก ตัวยาว มี subpetiolar process ยื่นออก มาเป็นติ่งทางด้านใต้ของ postpetiole 8. Myrmicinae - มีเอว 2 ปล้อง, มีตาตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึงกลาง, ลำตัวตั้งแต่ขนาดเล็กจนถึง กลาง, มีความหลากหลายมากที่สุด 9. Pseudomyrmicinae - มีเอว 2 ปล้อง, มักมีตาขนาดใหญ่เมื่อเทียบกับขนาดหัว, ลำตัวยาว เอว ยาว

Common genera ที่มีโอกาสพบตาม urban habitat ในศาลายา Subfamily Cerapachyinae Cerapachys มีโอกาสพบมากกว่า Sphinctomyrmex Sphinctomyrmex พบตามป่าที่อุดมสมบูรณ์เท่านั้น

Cerapachys sulcinodis

Subfamily Dorylinae Dorylus มีโอกาสพบมากที่สุด

Dorylus laevigatus

Yunodorylus Edentodorylus พบเฉพาะในป่า พบครั้งแรกที่ประเทศไทย Subfamily Aenictinae Aenictus

Aenictus ceylonicus

Subfamily Leptanillinae หายาก เนื่องจากมีขนาดเล็กมากและพบในป่าเท่านั้น Leptanilla Protanilla Subfamily Pseudomyrmicinae ประเทศไทยมีเพียง 1 genus Tetraponera (สกุลมดตะนอย)

Tetraponera rufonigra

5 subfamilies ข้างต้นนี้มีความหลากหลายน้อยในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นมดหายาก (ยกเว้น มดตะนอย) Subfamily Dolichoderinae มี 6-7 common genera ในประเทศไทย เป็นมดที่มักพบใน พื้นที่ที่ถูกบุกรุก 1. Tapinoma “มดเหม็น” เป็นมดขนาดเล็ก ส่วนอกมีลักษณะเป็นก้อน ส่วนเอวกลมยาวเป็น หลอด เมื่อมองจากทางด้านบนส่วนท้องจะยื่นมาบังเอวจนเกือบมิด ชนิดที่พบทั่วไปตามบ้านเรือน คือ Tapinoma melanocephalum ซึ่งมีลักษณะผิวคล้ายเม็ดทราย เมื่อถูกรบกวนจะปล่อยของเหลวที่ มีกลิ่นเหม็นออกมา ในประเทศไทย sp. อื่นๆยังไม่มีการจำแนก

Tapinoma melanocephalum

2. Technomyrmex อกปล้องที่ 1 และปล่องที่ 2 เป็นส่วนยาวต่อเนื่องกัน ส่วนอกปล้องที่ 3 แยกออกมาเป็นก้อนสี่เหลี่ยมชัดเจน เอวเป็นหลอดสั้นๆ พบตามต้นไม้หรือใต้ชั้นซากใบไม้ มีการ ย้ายรังเรื่อยๆ

Technomyrmex albipes

3. Iridomyrmex อกปล้องที่ 1 และปล่องที่ 2 เป็นส่วนยาวต่อเนื่องกัน ส่วนอกปล้องที่ 3 มี เส้นแบ่งแต่ไม่แยกเป็นก้อนชัดเจนเหมือนใน Technomyrmex และเอวจะนูนขึ้นมาเป็นโหนก พบ ตามต้นไม้ ซากใบไม้ มีการย้ายรังเรื่อยๆ

Iridomyrmex anceps

4. Philidris หัวคล้ายรูปหัวใจเมื่อมองจากทางด้านหน้า ระหว่างอกปล้องที่ 1 และ 2 มีส่วน นูนรูปสามเหลี่ยมคล้าย Plagiolepis (Subfamily Formicinae) แต่อกปล้องแรกของ Philidris จะเว้า ลงไปมากกว่า พบตามต้นไม้และซากใบไม้ บางชนิดเป็นมดเลี้ยงเพลี้ย ทำรังบนกิ่งไม้ พบตามใบไม้ ที่มีเพลี้ยเยอะๆ 5. Dolichoderus มี propodeum เว้า บางชนิดที่พบทางภาคใต้่มีหนามที่ petiole

Dolichoderus thoracicus

6. Bothriomyrmex เป็นมดขนาดเล็ก หัวรูปร่างคล้ายสี่เหลี่ยมมนๆ มีขนอ่อนเส้นเล็กๆคลุม ทั่วตัว 7. Ochetellus เป็นมดที่ไม่ค่อยได้พบทั่วไปนัก มักพบตามผิวดิน ซากกิ่งไม้ ใบไม้ petiole เป็นแผ่นบางตั้งฉากขึ้นมากับแกนลำตัว

Subfamily Formicinae 1. Gesomyrmex เป็น canopy ant พบในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ เช่น ป่าดิบแล้ง ป่าดิบเขา ป่าดิบชื้น คาดว่าทำรังบนโพรงหรือช่องว่างบนต้นไม้ 2. Echinopla เป็น canopy ant หากินและทำรังบนเรือนยอด พบในพื้นที่ที่มีความอุดม สมบูรณ์

Echinopla pallipes

3. Myrmoteras พบในป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์เท่านั้น เช่น ป่าดิบแล้ง 4. Prenolepis อยู่บนเรือนยอด พบในป่าดิบชื้่นทางภาคใต้ **genus 1-4 เป็นมดที่พบเฉพาะในป่า ไม่น่าจะพบที่ศาลายา** 5. Oecophylla “มดแดง” เอวคอดเป็นหลอดยาว อกแต่ละปล้องยาวและคอดเป็นช่วงๆ ที่ พบในแถบ Asia, Australia จะเป็น Oecophylla smaragdina แต่อาจมีสีต่างกันได้ ส่วนชนิดที่พบใน ฝั่งอเมริกาจะเป็น Oecophylla longinoda

Oecophylla smaragdina

6. Anoplolepis “มดนำ้ผึ้ง” เป็น alien species แต่มีการกระจายตัวใน SE Asia มานานมาก จนไม่สามารถทราบได้ว่า มีแหล่งกำเนิดมาจากที่ใด มีสีตัวคล้ายสีนำ้ผึ้ง ขายาวเก้งก้างเมื่อเทียบกับ ลำตัว อกยาวต่อเนื่องกัน ไม่คอดเป็นช่วงๆ petiole นูนเป็นโหนกขึ้นมา ในประเทศไทยมี 1 sp. คือ Anoplolepis gracilipes

Anoplolepis gracilipes

7. Lepiciota หากินตามต้นไม้ propodeum มีหนาม 1 คู่ petiole มีหนาม 1 คู่ บางชนิดหนาม อาจ reduced เมื่อมองจากด้านหลังของ gaster มายัง propodeum จะเห็น propodeum มีผิวนูนคล้าย หน้าตัดของฟันกราม

8. Plagiolepis ผิวลำตัวเป็นมัน ระหว่างอกปล้องที่ 1 กับปล้องที่ 2 มีก้อนสามเหลี่ยมนูนยื่น ออกมาอยู่เหนือขาคู่ที่ 2 (คล้าย Philidris) petiole นูนเป็นสัน 9. Paratrechina “มดกินนำ้ตาล” มีขนบนอกขึ้นเป็นเส้นคู่เรียงกันชัดเจน จำนวนคู่และ ตำแหน่งของขนเหล่านี้ใช้ในการจำแนก sp. (ดังนั้นจึงต้องระวังในการเก็บรักษาตัวอย่าง เพราะขน เหล่านี้อาจหลุดออกได้) มดชนิดนี้พบตามบ้านเรือน ชนิดที่พบมากที่สุดคือ Paratrechina longicornis ซึ่งมีขนบนอก 4 คู่ ขายาว หนวดยาว และมีขนยาวๆยื่นออกมาจากหนวดมากมาย

Paratrechina longicornis

10. Camponotus “กลุ่มมดไม้” gena นูนขึ้นมา ทำให้หน้าโค้งอูม อดจะเป็นสันโค้ง clypeus เป็นรูปสี่เหลี่ยม แต่บางชนิดก็ไม่คล้ายสี่เหลี่ยมมากนัก 90% ของ sp. ทั้งหมดอยู่บนต้นไม้ บางชนิด อาจพบตามซากใบไม้ แต่ไม่มีการขุดรังใต้ดิน มีบางชนิดที่หากินกลางคืน เช่น Camponotus sp 7 AMK

Camponotus arrogans

Camponotus gigas

11. Polyrachis บนอกทั้ง 3 ปล้องมีหนาม petiole มีหนามเป็นส่วนใหญ่ รูปร่างผันแปรไป ตามแต่ละชนิด รอยต่อระหว่างอกกับหัวจะแคบ ทำให้ดูคล้ายหดคออยู่ใต้อกปล้องที่ 1 บางสกุลย่อย ไม่มีหนามเลย ในชนิดที่ไม่มีหนาม อกปล้องที่ 1 ขะขยายใหญ่มาก

Polyrachis armata

12. Acropyga พบตามซากไม้ผุ ขอนไม้ ซากใบไม้ มีลักษณะคล้าย Pseudolasius ส่วนใหญ่ จะพบในชั้นดินที่ลึกกว่า Pseudolasius เล็กน้อย ไม่ค่อยพบรัง

Acropyga acutiventris

13. Pseudolasius พบตามซากไม้ผุ ขอนไม้ ซากใบไม้ คล้าย Acropyga มาก แต่อกปล้อง แรกแคบและสั้นกว่า ทำรังขนาดใหญ่ อยู่ใต้ชั้นซากใบไม้ Subfamily Ponerinae 1. Leptogenys มี variation มาก ทั้งขนาดเล็ก-ใหญ่ เอวอาจเป็นก้อน,แท่ง,นูนหรือรูป สามเหลี่ยม สีมีทั้งแดงและดำ ผิวอาจเป็นมันวาว (ส่วนใหญ่) หรือหยาบก็ได้ clypeus เป็นรูป สามเหลี่ยมอาจจะเล็กหรือใหญ่หรือมีขอบหยักก็ได้ ปลายเล็บมีหนาม (ดูใต้กล้องที่มีกำลังขยายสูง) อกปล้องที่ 1 และ 2 ติดกัน ปล้อง 3 โค้งเล็กน้อย หรืออาจเป็นเส้นระดับเดียวกันทั้งหมดก็ได้

Leptogenys iridescens

2. Pachycondyla (ลักษณะอาจคล้ายกับ Leptogenys บางตัว) แต่ก่อนแยกเป็น 2 genera ปัจจุบันจัดเป็น 2 subgenera Pachycondyla (Pachycondyla) อกโค้ง เอวหนา รูปร่างเอวเหมือนตลบมาข้างหน้า ส่วนใหญ่ขนาดตัวจะใหญ่กว่า Brachycondyla Pachycondyla leeuwenhooki

Pachycondyla (Brachycondyla) อกปล้องที่ 1 และ 2 โค้ง ปล้องที่ 3 เป็นสันตรง เอวดูบางกว่าของ Pachycondyla เล็กน้อย Pachycondyla luteipes

3. Hypoponera เป็นมดขนาดเล็ก ลักษณะคล้ายกับ Pachycondyla แต่มี subpetiole ใต้เอว อกทั้งสามปล้องเท่าๆกัน มีโอกาสที่จะพบใน invaded area 4. Ponera ลักษณะทั่วไปคล้าย Hypoponera แต่มีส่วนโปร่งใสอยูที่ด้านหน้าของ subpetiole มักจะพบในป่ามากกว่าเขตที่อยู่อาศัยและกสิกรรม 5. Anochetus หัวเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีเขี้ยวยาวยื่นออกมา ปลายด้านบนของเอวที่นูนขึ้นมา เป็นปลายทู่ๆ ซี่ฟันใช้ในการแยก sp. Anochetus graeffei

6. Odontomarchus คล้ายกับ Anochetus คือ หัวเป็นรูปห้าเหลี่ยม มีเขี้ยวยาวยื่นออกมา แต่ ปลายด้านบนสุดของปล้องเอวเป็นหนามแหลม ส่วนใหญ่มีขนาดตัวใหญ่กว่า Anochetus ซี่ฟันใช้ ในการแยก sp. Odontomarchus rixosus

7. Odontoponera ผิวลำตัวเป็นริ้วๆร่องๆ มีตุ่มหนามที่อกปล้องแรก (มองจากด้านบนลง มา) มี 2 sp. ในประเทศไทย Odontoponera denticulata พบได้ทั่วประเทศ ร่องที่อกไม่ ค่อยชัด

Odontoponera transversa พบเฉพาะภาคใต้ ร่องที่อกชัดเจน 8. Diacamma ลักษณะและผิวลำตัวเป็นริ้วๆร่องๆคล้ายกับ Odontoponera แต่มีหนาม 1 คู่ที่ petiole ลายของร่องบนอกใช้ในการแยก sp.

Diacamma sculpturata

9. Gnamptogenys ผิวลำตัวเป็นหลุมๆ

Gnamptogenys costata

10. Amblyopone จุดที่เอวเชื่อมกับ gaster ค่อนข้างกว้าง ทำให้ดูคล้ายกับไม่มีปล้องเอว เขี้ยวยาว ซี่ฟันใช้ในการแยก sp.11. Discothyrea ส่วน gaster เห็นเป็น 2 ปล้อง ปล้องแรกใหญ่มาก ลำตัวสั้นป้อม ผิวลำตัวคล้ายกำมะหยี่

Amblyopone reclinata

12. Proceratium ลักษณะคล้ายกับ Discothyrea แต่ gaster ปล้องแรกเล็ก ปล้องที่ 2 ใหญ่ Subfamily Myrmicinae 1. Crematogaster เมื่อมองจากด้านบนจะเห็น gaster คล้ายรูปหัวใจ ปล้องเอวทั้งสองมีรูป ร่างต่างกัน สามารถกระดกท้องขึ้นมาเหนือหัวได้ มี antennal club 3-5 ปล้อง (จำนวนปล้องของ club ใช้ในการแยก subgenus) ทำรังบนต้นไม้ รูปร่างรังคล้ายจอมปลวก มีน้อยชนิดที่ทำรังในดิน เป็น polymorphic

Crematogaster inflata

2. Pheidologeton “มดง่าม” คล้ายกับ Pheidole มาก ต่างกันที่ปลายหนวดขยาย 2 ปล้อง และมี propodeum spine ยาวกว่า ซึ่งจะเห็นได้ชัดใน major workers สร้างทางเดินเป็นทาง รังมี ขนาดใหญ่กว่า Pheidole

Pheidologeton diversus

3. Pheidole คล้ายกับ Pheidologeton มาก ต่างกันที่ปลายหนวดขยาย 3 ปล้อง และมี propodeum spine สั้นกว่า เป็น genus ที่มีสมาชิกมากที่สุด

Pheidole hortensis

4. Solenopsis “มดคันไฟ” ปลายหนวดขยาย 3 ปล้อง ไม่มี propodeum spine มีขนยาวคลุม ทั่วทั้งตัว อกปล้องที่สามเป็นรูปสีเหลี่ยมมนๆ พบมากใน open area เป็น alien sp. ปรับตัวเก่งมาก คาดว่ามีจุดกำเนิดมาจากอเมริกาใต้ Solenopsis geminata เป็นชนิดที่พบมากที่สุด ชนิดอื่นๆไม่ค่อย พบใน disturbed area

Solenopsis geminata

5. Monomorium “มดละเอียด” เป็นมดขนาดเล็ก พบทั่วไปตามบ้านเรือน ปลายหนวดขยาย 3 ปล้อง ไม่มี propodeum spine คล้าย Solenopsis แต่ไม่มีขนยาวๆคลุมตัว รอยคอดระหว่าง node ก็ แคบ ไม่กว้างเหมือนของ Solenopsis สันด้านบนของอกปล้องที่ 3 ก็โค้งกว่า

Monomorium floricola

6. Tetramorium มีความหลากหลายของขนาดลำตัวมาก ปลายหนวดขยาย 3 ปล้อง มี propodeum spine 2 คู่ คู่บนยาว คู่ล่างสั้น อกยาวกว่า Meranoplus (ในมดตัวเล็กๆอาจมองไม่เห็น) บนใบหน้ามีเส้นตามยาวพาดอยู่ จำนวนเส้นบนใบหน้าใช้ในการแยก sp.

Tetramotium bicarinatum

7. Meranoplus ลำตัวป้อมสั้น อกสั้นกว่า Tetramorium และแบ่งเป็นปล้องไม่ชัดเจน มี spine ยาวมาก เมื่อมองจากด้านบนลงมา จะเห็นอกมีลักษณะคล้ายโล่ ไม่มีเส้นบนใบหน้าเหมือน Tetramorium มักพบเดินช้าๆตามสนามหญ้า

Meranoplus bicolor

8. Catualacus ที่หัวจะมีมุมแหลมๆยื่นออกมาจากด้านบนของใบหน้าทั้งสองข้าง มีขน แข็งๆรอบใบหน้า มีร่องเก็บหนวดใต้ตาที่ลึกมาก ทำให้บางทีอาจไม่เห็นหนวด petiole เป็นก้อนก ลมๆ มีหนามเล็กๆหนาๆขึ้น

More Documents from "AkeDemo"

May 2020 11
June 2020 6
June 2020 5
May 2020 4