History Of The Modern Mac Operating Systems

  • Uploaded by: AkeDemo
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View History Of The Modern Mac Operating Systems as PDF for free.

More details

  • Words: 5,462
  • Pages: 26
History of the Modern Mac Operating Systems: Mac OS 8, 9, and X รวิทัต ภู่หลำ Department of Computer and Information Science University of Tsukuba, Japan

1

Prologue

Mac OS รุ่นปัจจุบัน ถือเป็นรุ่นที่ 10 หรือมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Mac OS X (อ่านว่า โอเอส เท็น เพราะว่าตัว X นี้มาจากตัวเลขสิบโรมัน) หรือที่เรารู้จักกันดีในชื่อเสือสารพัดชนิด (Cheetah, Puma, Jaguar, Panther และที่กำลังจะ ออกมาอาละวาดในปี 2005 ก็คือ Tiger) ได้ออกมาปรากฏโฉมครั้งแรก ในชื่อรุ่นที่ 10.0 ในปี 2001 แต่ว่าจริงๆ แล้ว Mac OS X มีประวัติยาวนานกว่านั้นมาก นานกว่า Mac OS ที่ออกมาก่อนหน้านั้นคือ Mac OS 9 เสียด้วยซ้ำ ... และ ในความเป็นจริงก็คือ Mac OS X นั้น แทบจะไม่มีความเกี่ยวพันกับ Mac OS 9 หรือก่อนนั้นเลย เคยสงสัย กัน บ้างหรือ ไม่ ว่า ทำไมโปรแกรมต่างๆ ที่ พวกเราเคยใช้ ในฐานะประชากรชั้นหนึ่ง ใน Mac OS รุ่น เก่าๆ กลับต้องมาวิ่งในฐานะประชากรชั้นสองใน OS X โดยผ่านการจำลองสภาพการทำงานของ OS 9 (OS 9 emulator) หรือ ที่ เรารู้จัก กัน ในนามของ Classic? หรือว่า เคยสงสัย กัน บ้างหรือ ไม่ ว่า ทำไมหน้าตาของ OS X กับ OS 9 มัน ต่างกัน เหลือเกิน? นอกจากนี้ ยัง มี คำแปลกๆ ที่ หลายคนอาจจะไม่ เคยได้ยิน ในสมัย OS 9 อีก มากมาย ไม่ว่า จะเป็น UNIX, BSD, Cocoa, Carbon, ตลอดจนเรื่องการเปลี่ยนแปลงระบบผู้ใช้ เป็นระบบ privilege และสนับสนุน multi-users อย่าง สมบูรณ์ ที่ทำให้หลายคนออกมาบ่นกันมาก เพราะว่าการจะทำอะไรในเครื่องตัวเอง กลับต้องกรอก password อยู่เรื่อย ... นอกจากนี้ยังมีเรื่องอื่นๆ อีกมากมาย ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น? มันเกิดอะไรขึ้น? ความจริง ที่เป็นเรื่องของเรื่องก็คือ Mac OS X เป็นระบบปฏิบัติการ ที่แตกต่างจาก Mac OS 9 โดยสิ่นเชิง ซึ่งจะ เรียกว่าเป็นคนละตัวกันไปเลย อาจจะเหมาะกว่าเรียกว่า เป็น Mac OS รุ่นถัดจาก Mac OS 9 เสียอีก และจุดเริ่มต้นของ การพัฒนา Mac OS X นั้น ไม่ได้มาจาก Apple แต่อย่างใด แต่ว่ามาจากบริษัทที่ชื่อ NeXT Computer! บทความนี้ ผมจะพาทุกคนไปทำความรู้จักกับที่มาของ Mac OS X มากขึ้นครับ โดยจะพยายามเสนอให้ครอบคลุมในทุก เรื่อง ตลอดจนเบื้องหน้าเบื้องหลังในการตัดสินใจของ Apple กับการยกเลิกการพัฒนา Mac OS ตัวเดิม และจุดเริ่มต้น ของ OS X เท่าที่ผมจะหาข้อมูลมาได้ พร้อมแล้ว เรามาย้อนเวลาหาอดีตกันเลยครับ

2

The NeXT Overture

ในวันที่ 31 พฤษภาคม 1985 เป็นวันสูญสิ้นอำนาจของ Steve Jobs ที่บริษัท Apple อย่างเป็นทางการ (โดยก่อนหน้า นั้น John Sculley (CEO ของ Apple ในขณะนั้น) ได้ตัดสินใจถอด Steve Jobs ออกจากตำแหน่งที่มีอำนาจการบริหาร และการตัดสินใจทุกอย่างของ Apple) ภายในเวลาไม่นานหลังจากนั้น Steve Jobs ผู้ซึ่งเป็นที่รู้จักกันดี ในเรื่องความคิด สร้างสรรค์ และมุมมอง วิสัยทัศน์ที่แตกต่าง ก็เกิดความคิดใหม่ขึ้น และเริ่มต้นเส้นทางใหม่ในโลกซิลิคอน-ดิจิทัล

1

ภาพ: John Sculley และ Steve Jobs ที่มา: http://www.aventure-apple.com/bios/sculley.html ความคิด ที่ ว่า นี้ ก็ คือ การสร้างคอมพิวเตอร์ (ทั้ง ฮาร์ดแวร์ และซอร์ฟแวร์) ที่ "เพอร์เฟ็ค" สำหรับ สิ่ง ที่ Jobs เรียก ว่า Interpersonal Computing ซึ่งก็คือการทำงานร่วมกันระหว่างกลุ่มหรือทีมงาน เพื่อผลประโยชน์และความคืบหน้าของ หน่วยงาน ซึ่ง Jobs เห็น ว่า นั่น คือ ทิศทางที่ โลกกำลัง เดิน ไปหา และจากแนวคิด นี้ เอง ทำให้ ระบบที่ Jobs มองเห็น นี้ เหมาะสมกับศูนย์วิจัยและสถาบันการศึกษาชั้นสูงต่างๆ ที่ต้องการทำงานวิจัยทางวิทยาศาสตร์ที่ใช้คอมพิวเตอร์ ตลอดจน บริษัทที่ต้องการพัฒนาซอฟท์แวร์ระดับ Enterprise และหน่วยงานที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งต้องการการประสานงานระหว่างทีม งานที่ทำงานต่างๆ กันหลายอย่าง Jobs ได้ชวนเพื่อนร่วมงานที่ Apple ออกไปทำงานด้วยเป็นจำนวนห้าคนด้วยกัน (ซึ่ง ทำให้ Apple ตัดสินใจฟ้อง Steve Jobs แต่ว่ายอมความกันได้ในที่สุด) และนี่คือที่มาของ NeXT Computer, Inc. บริษัท ใหม่ของ Steve Jobs ตั้งขึ้นมา ด้วยทุนของเค้าเอง และ Ross Perot เพื่อสานความฝันดังกล่าว

ภาพ: Steve Jobs และ Logo ของ NeXT Computer ที่มา: http://next.z80.org/next/employees/steve jobs/ อนึ่ง การใช้ คอมพิวเตอร์ ในงานวิจัย ทางวิทยาศาสตร์ ในสมัย นั้น จะใช้ ในการทำแบบจำลองระบบและซิ มิ วเลชั่น ซึ่ง เป็น งานที่ ต้องการประสิทธิภาพในการคำนวณและการทำงานของเครื่อง สูง กว่า ความต้องการสำหรับ งานธุรกิจ หรือ งาน ทั่วไปมาก ดังนั้น แทบจะทั้งหมดจะเป็นระดับ Workstation ที่ใช้ระบบปฏิบัติการ UNIX เป็นหลัก โดยชื่อที่เราได้ยินกัน บ่อยและรู้จักกันดีในตลาดนี้ก็คือ Sun Microsystems และ Silicon Graphics Inc (SGI) ที่เป็นเจ้าของระบบปฏิบัติการ UNIX (อ่านว่า "ยูนิกซ์") ที่ชื่อ Solaris และ IRIX ตามลำดับ เป็นต้น แม้แต่ในปัจจุบันนี้ ที่ PC ทั่วไปมีประสิทธิภาพไม่ แพ้เครื่องระดับเวิร์กสเตชั่นแล้ว ซอฟท์แวร์และระบบต่างๆ ที่ใช้ในการวิจัยเหล่านั้น ก็ยังคงยึดติดอยู่กับระบบแบบ UNIX อยู่ดี แต่ว่าปัญหาของระบบ UNIX ที่เป็นที่ทราบกันดี ก็คือใช้งานยาก การเปลี่ยนแปลงค่าต่างๆ ของระบบสามารถ ตลอดจน การคิดตั้งโปรแกรมต่างๆ สามารถทำได้ยาก ต้องมีผู้เชี่ยวชาญคอยดูแลระบบเครื่องโดยเฉพาะ บรรดานักวิทยาศาสตร์ที่ไม่ ใช่ ผู้เชี่ยวชาญทางคอมพิวเตอร์ ไม่ สามารถใช้ โปรแกรมหลายตัว ติดตั้ง ค่า ของเน็ต เวิร์ก หรือว่า ติดตั้ง โปรแกรมต่างๆ ด้วย ตัวเองได้ง่าย ฯลฯ ตลอดจนมีระบบติดต่อกับผู้ใช้ที่ไม่ค่อยเป็นมิตร และโปรแกรมแต่ละตัวมีการทำงานไม่ค่อยเหมือนกัน ทำให้การเรียนรู้การใช้โปรแกรมใหม่ๆ ใช้เวลาค่อนข้างนาน ส่วนในเรื่องงานพัฒนาโปรแกรมนั้นก็เช่นเดียวกัน ในขณะนั้นการพัฒนาโปรแกรมไม่สามารถทำได้ง่าย สาเหตุประการ หนึ่ง ก็ เพราะว่า ไม่ มี ชุด เครื่องมือ สำหรับ การพัฒนาที่ มี ประสิทธิภาพและความยืดหยุ่น สูง และมี การใช้ งานที่ ง่ายและไม่ ซับซ้อน ทำให้ในการพัฒนาโปรแกรมเพื่อใช้ในงานต่างๆ นั้น เป็นไปอย่างยากลำบากและกินเวลานาน ตลอดจนต้องใช้ ความรู้ทางเทคนิคอย่างมากมาย 2

ดังนั้น เพื่อ สร้างระบบที่ เป็น ระบบในฝัน สำหรับ นักวิทยาศาสตร์ นักวิจัย ตลอดจนนัก พัฒนาซอฟท์แวร์ นั้น NeXT จึง ได้ เริ่ม สร้างระบบปฏิบัติการใหม่ ที่ มี รากฐานมาจากระบบ UNIX และชุด เครื่องมือ ในการพัฒนาโปรแกรม ที่ ใช้ สถาปัตยกรรมการออกแบบและวิศวกรรมซอฟท์แวร์ที่ยังเป็นสิ่งที่ใหม่มากในสมัยนั้น ก็คือแนวคิดแบบ Object-Oriented มาช่วยในการพัฒนาโปรแกรม และผลที่ได้มา ก็คือระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP นั่นเอง โดย Steve Jobs ได้เอาเครื่อง คอมพิวเตอร์ของ NeXT ออกมาแสดงเป็นครั้งแรกในปี 1988 ที่ซาน ฟรานซิสโก โดยใช้ระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP 0.8 และในปีถัดไป ได้ออก NeXTSTEP เวอร์ชั่นสมบูรณ์ตัวแรก (1.0) ออกมา ซึ่งล่าช้ากว่าที่ Steve Jobs คาดหวังไว้ถึง สองปี อย่างไรก็ตาม แม้ว่า แนวความคิด ของ NeXT จะได้ รับ เสียงตอบรับ ที่ ดี มาก จากบรรดานักวิจัย ต่างๆ แต่ว่า จากราคา เครื่องที่ค่อนข้างแพงมาก เทียบกับ Workstation อื่นๆ ที่ได้รับการปรับราคาลงมา ทำให้ฮาร์ดแวร์จาก NeXT ไม่ได้รับ ความนิยมเท่าที่ควร และในปี 1993 NeXT ได้ยุติการผลิตฮาร์ดแวร์ลง

ภาพ: NeXT Station, NeXT Cube ที่มา: http://www.alyon.org/InfosTechniques/informatique/NeXT/ แต่ว่าสำหรับระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP แล้วนั้น กลับเป็นเมืองหนังคนละม้วน... ระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP (และเครื่องมือสำหรับการพัฒนาโปรแกรมจาก NeXT) ได้รับ ความนิยมอย่างมากใน หมู่นักวิจัยและนักพัฒนาซอฟท์แวร์ โดยมีโปรแกรมหลายหลากถูกสร้างขึ้นมากมาย ทั้งโปรแกรมที่ใช้สำหรับงานวิจัย และ โปรแกรมที่ใช้สำหรับเรื่องทั่วๆ ไป ที่โด่งดังมากที่สุดตัวหนึ่งก็คือ Web Browser แบบ WYSIWYG (What You See Is What You Get) ตัวแรก ที่มีทั้งความสามารถในการ browse internet และความสามารถ website authoring ซึ่งได้รับ การพัฒนาโดย Tim Berners-Lee แห่ง CERN ในปี 1990 ซึ่ง Tim นั้น ได้กล่าวชมชุดเครื่องมือพัฒนาโปรแกรมจาก NeXT ว่าทำให้การทำซอร์ฟแวร๋เช่นนั้น ง่ายขึ้นมาก ระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP นั้น ถูกสร้างขึ้นโดยใช้ Mach 2.5 kernel ที่ได้รับการพัฒนาโดยมหาวิทยาลัย CarnegieMellon แห่ง ประเทศสหรัฐอเมริกา และ BSD 4.3 ซึ่ง การสร้างระบบปฏิบัติการโดยการผสมผสาน Mach kernel กับ BSD UNIX นี้ ยังผลให้ NeXTSTEP เป็น UNIX ที่มีความเหมาะสมกับตลาดผู้ใช้ทั่วไป ที่ไม่ค่อยมีความรู้เรื่อง technical ทางคอมพิวเตอร์มากนัก ทั้งนี้เนื่องจาก Mach มีลักษณะเป็น microkernel ที่จะไม่มีการนำเอาส่่วนประกอบใดๆ ก็ตามที่ไม่มีความจำเป็นอย่างยิ่งยวดต่อระบบ มาเก็บไว้เป็นส่วนหนึ่งของ kernel ซึ่งส่งผลให้ผู้ใช้ไม่มีความจำเป็นต้องลง kernel ใหม่ เมื่อต้องการเปลี่ยนแปลงส่วนประกอบเหล่านั้น (ซึ่งการ compile kernel ใหม่นี้ เป็นเรื่องที่ยากและซับซ้อน พอสมควร สำหรับผู้ใช้ทั่วไป) นอกจาก NeXTSTEP แล้ว OS/F 1 UNIX และ GNU HURD ก็ใช้ Mach เช่นเดียวกัน ส่วนเรื่องของระบบการติดต่อ กับ ผู้ใช้ นั้น NeXT ได้ สร้างระบบที่ เรียกว่า window server สำหรับ ระบบปฏิบัติการ NeXTSTEP โดย window server นี้จะรับ event จากผู้ใช้ (เช่นการ click mouse) และส่งต่อไปยังตัวโปรแกรมต่างๆ เพื่อ ทำการประมวลผลตามที่ user ต้องการ และเมื่อประมวลผลเรียบร้อยแล้ว โปรแกรมนั้นๆ ก็จะส่งคำสั่งในการวาดหน้าจอ กลับไปยัง window server เพื่อทำการวาดหน้าจอใหม่ เพื่อให้ผู้ใช้เห็นผลลัพธ์ ส่วนระบบการแสดงออกทางจอภาพ หรือที่เราเรียกกันง่ายๆ ว่าการวาดหน้าจอ นั้น NeXTSTEP ได้สร้างเทคโนโลยีที่ เรียกว่า Display Postscript ซึ่งเป็นการนำเอาภาษา PostScript ซึ่งเป็นภาษาที่ใช้ในการสั่งงานเครื่องพิมพ์แบบ PostScript มาใช้ในการวาดหน้าจอ หรือว่ากล่าวโดยง่ายก็คือ ใช้ภาษาเดียวกันในการสั่งวาดหน้าจอ กับการสั่งพิมพ์ (อาจจะกล่าว ให้ ตรงกัน ได้ ว่า พิมพ์ ลงหน้าจอ หรือ วาดลงกระดาษพิมพ์ ก็ได้ เพื่อให้ เข้าใจง่ายขึ้น) ข้อดี ของระบบนี้ ก็ คือ โปรแกรม ทั้งหลายใช้ code สำหรับการแสดงผลและการพิมพ์เหมือนกัน ดังนั้นโปรแกรมเมอร์ที่ทำการพัฒนาโปรแกรมที่ต้องการ 3

การพิมพ์ จึงไม่ต้องเขียน code แยกกันเพื่อแสดงผลทางหน้าจอและทางการพิมพ์ และผลลัพธ์ที่ได้จากการพิมพ์ออกทาง เครื่องพิมพ์จะเหมือนกับที่มองเห็นในจอ (อันนี้ในกรณีที่จอได้รับการ calibrate อย่างถูกต้อง) ทั้งนี้ PostScript นั้นเป็น เทคโนโลยีของบริษัท Adobe ทำให้ทาง NeXT ต้องซื้อลิขสิทธิ์ license นี้จาก Adobe การพัฒนาของ NeXTstep เป็น ไปอย่างต่อเนื่อง NeXTSTEP 2.0 ออกมาในปี 1990, 2.1 ในปี 1991 และ 3.0 ในปี 1992 และความสำเร็จ ของ NeXTSTEP ทำให้ มี การออกเวอร์ชั่น สำหรับ Intel x86 (PC) มาในเวลาต่อมา โดย NeXTSTEP 486 ออกมาในงาน NeXTWorld Expo 1992 (ในราคา $995) และในท้ายที่สุด NeXTSTEP รุ่นสุดท้าย คือ 3.3 ก็ออกมาในเดือนกุมภาพันธ์ 1995

ภาพ: หน้าจอของ NeXTSTEP ที่มา: http://www120.pair.com/mccarthy/nextstep/intro.htmld/ ก่อนหน้านั้นไม่นาน NeXT และ Sun Microsystems ได้ร่วมกันสร้าง specification (ข้อกำหนด) สำหรับ OpenStep ซึ่งเป็นข้อกำหนดมาตรฐานของระบบปฏิบัติการแบบ NeXTSTEP โดยในข้อกำหนดดังกล่าวนั้น ได้ระบุรวมถึง API (Application Programming Interface) และ Framework ต่างๆ ไว้อย่างมากมายด้วย และการออก specification ของ OpenStep นี้เอง ทำให้ไม่ว่าใครก็ตาม สามารถที่จะสร้างระบบปฏิบัติการ *STEP ของตัวเองได้ (หมายเหตุ: * คือเครื่องหมาย wild card ใช้แทนอะไรก็ได้ หรือว่าเราอ่านได้ง่ายๆ ว่า whatever) สำหรับ NeXT นั้น ก็ได้ออกระบบปฏิบัติการภายใต้มาตรฐาน OpenStep นี้เช่นกัน โดยใช้ชื่อว่า OPENSTEP โดย ได้ออกมาสามเวอร์ชั่น ก็คือ 4.0 ในเดือนกรกฎาคม 1996, 4.1 ในเดือนธันวาคม 1996 และ 4.2 ในเดือนมกราคม 1997 (หมายเหตุ: ระวังตัวใหญ่กับตัวเล็กในกรณีนี้ให้ดี OpenStep เป็นชื่อของข้อกำหนดสำหรับ API ในขณะที่ OPENSTEP เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการของ NeXT ที่สร้างตามข้อกำหนด OpenStep)

ภาพ: หน้าจอของ OPENSTEP ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/nextstep/openstep4/openstep42

4

นอกจากนี้ยังมีการนำเอา OpenStep specification ไปทำการ implement สำหรับระบบอื่นๆ ทั้งโดย NeXT เองและ โดยบริษัทอื่นๆ ที่เป็นเจ้าของ platform ระบบนั้นๆ เช่น Sun Microsystems ได้ทำการสร้าง OpenStep for Solaris (ซึ่ง Solaris เป็นชื่อของระบบปฏิบัติการ UNIX สำหรับ workstation ของ Sun)

ภาพ: OpenStep for Solaris โดย Sun Microsystems ที่มา: http://homepage.mac.com/troy stephens/OpenStep/screenShots/ โดยทาง NeXT เอง ได้ทำการสร้างระบบที่ใช้ข้อกำหนด OpenStep นี้บน Windows NT ด้วย โดยใช้ชื่อว่า OPENSTEP Enterprise

ภาพ: OPENSTEP บน Windows NT ที่มา: http://www.alyon.org/InfosTechniques/informatique/NeXT/ แม้แต่ทุกวันนี้ยังมี project ที่ยัง active และได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่องอยู่ ก็คือ GNUstep (http://www.gnustep.org) ซึ่งเป็นซอฟท์แวร์เสรีโปรเจคท์ที่มุ่งเน้นการสร้างตัว OpenStep API และใช้ได้ในหลายแพล็ทฟอร์ม (รวมทั้ง Windows) และใช้ WindowMaker (http://www.windowmaker.org) ในการแสดงผลให้มีหน้าตาคล้ายคลึงกับ OPENSTEP

5

ภาพ: GNUstep บน GNU/Linux ที่มา: http://www.roard.com/screenshots/

ภาพ: GNUstep บน Windows XP ที่มา: http://www.roard.com/screenshots/ แต่ว่าเป็นที่น่าสังเกตว่า... ไม่มีการสร้าง OPENSTEP สำหรับระบบ Macintosh แต่อย่างใด! แต่ แม้ว่า OPENSTEP จะสามารถใช้ได้ ในหลาย platform แต่ว่า หลายสิ่ง หลายอย่าง ดูจะไม่สู้ ดี นัก สำหรับ NeXT และทาง NeXT เองก็ได้มุ่งความสนใจไปกับการพัฒนา WebObjects ซึ่งเป็นชุดเครื่องมือในการพัฒนา web applications มากกว่า แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จมากนักในทางธุรกิจ

3

Before 2000: The Apple’s OS Odyssey

หลังจากที่ Steve Jobs ได้จากไปแล้วนั้น ทาง Apple ก็ไม่ได้ประสบความสำเร็จอะไรมากมายเท่าไหร่นัก ความนิยมใน ตัวผลิตภัณฑ์ต่างๆ ลดน้อยลงไปเรื่อยๆ แม้แต่ในเรื่องระบบปฏิบัติการที่ทาง Apple ภูมิใจนักหนา กลับเจอคู่แข่งที่น่ากลัว อย่าง Windows 3.1 จากค่าย Microsoft ที่เป็นระบบกึ่งปฏิบัติการ (เนื่องจากยังต้องรันบน MS-DOS อยู่) ทีนำเสนอ ส่วนของ Graphical User Interface (GUI) ให้กับระบบปฏิบัติการ DOS (หมายเหตุ: เป็นเรื่องที่มักเข้าใจกันผิดว่า Microsoft เลียนแบบ GUI ไปจาก Apple ซึ่ง Apple เป็นผู้วิจัยและพัฒนา จริงๆ แล้วระบบ GUI ได้รับการวิจัยมาจากศูนย์วิจัยที่อื่น ก็คือ Xerox ที่ Palo Alto โดย Apple เป็นบริษัทแรกที่เอา มาใช้ในการแสดงผล user interface ของระบบปฏิบัติการ ในตอนที่ออก Macintosh รุ่นแรก ก่อนที่ Jobs จะออกจาก บริษัท และภายหลัง Microsoft ได้ทำบ้าง และได้รับ license อย่างถูกต้องจาก Apple โดยคนที่ license ก็ไม่ใช่ใครอื่น .. John Sculley, CEO ของ Apple นั่นเอง และข้อแลกเปลี่ยนก็คือการท่ี่ Microsoft จะพัฒนาโปรแกรม Microsoft Excel สำหรับแมคฯ) ยิ่งไปกว่านั้นในปี 1993 Microsoft ก็ได้ออกระบบปฏิบัติการ Windows NT (New Technology) ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการ ระดับสูงสำหรับเครื่อง client/server ซึ่งมีฟีเจอร์สำคัญๆ สำหรับระบบปฏิบัติการสมัยใหม่มากมาย (และ Windows รุ่น 6

ใหม่ๆ ของ Microsoft เช่น Windows 2000 และ XP ก็เป็นลูกหลานของระบบ NT นี้) เช่น Win32 API, preemptive scheduler, integrated networking, subsystems สำหรับ OS/2 และ POSIX, virtual machine สำหรับ DOS และ Windows 16-bit และระบบไฟล์ตัวใหม่ที่ชื่อ NTFS (NT File System) ... และทาง Microsoft ได้เริ่มพัฒนาระบบปฏิบัติการ ตัวใหม่สำหรับผู้ใช้ทั่วไปซึ่งจะมีเทคโนโลยีของ Windows NT ตัวนี้ด้วย ภายใต้ชื่อรหัสว่า Chicago (ซึ่งต่อมากลายเป็น Windows 95)

ภาพ: หน้าจอของ Windows 95 ที่มา: http://toastytech.com/guis/win95.html ดังนั้น Apple จึงมีความจำเป็นที่จะต้องออกระบบปฏิบัติการระดับ advanced และ modern ตัวใหม่ ให้ได้ก่อนหน้า ที่ Chicago หรือ Windows 95 จะเสร็จสิ้น แต่ว่าจนแล้วจนรอด Apple ก็คว้าแต่ความล้มเหลว ทั้งที่พยายามทำหลายต่อ หลายทาง ในหลายต่อหลายโปรเจ็ค เริ่มต้น จากโปรเจ็ค ที่ ใช้ ชื่อ รหัส ว่า Star Trek ซึ่ง เป็น การพัฒนาร่วมกัน ระหว่างบริษัท Novell กับ Apple เพื่อที่จะ แปลงระบบปฏิบัติการของ Apple ไปลงยังแพลทฟอร์ม Intel x86 ซึ่งแม้ว่าจะได้รับการพัฒนาไปได้ในระดับหนึ่งในเวลา อันสั้น แต่ว่าสุดท้ายแล้วก็ต้องยกเลิกไปเนื่องจากขัดกับรูปแบบการทำธุรกิจของ Apple ในขณะนี้ และทำให้หลายคนต่อ หลายคนไม่พอใจกับการเปลี่ยนแพลทฟอร์มนี้ ต่อมาก็คือโปรเจ็ค Raptor (หรือว่าเป็นที่รู้จักกันอีกชื่อหนึ่งว่าโปรเจ็ค Red) ซึ่งจะสามารถกับสถาปัตยกรรมต่างๆ ได้ อย่างหลากหลาย และทำงานโดยลักษณะ microkernel ซึ่ง Apple ได้คาดหวังว่า Raptor นี้จะเป็นรากฐานของระบบปฏิบัติการ รุ่นใหม่ต่อๆ ไปในอนาคต แต่ว่าอย่างไรก็ตาม ด้วยเหตุผลหลายอย่าง ไม่ว่าจะเป็นงบประมาณที่จำกัด หรือว่าจำนวนของ คนทำงานที่ลดลงเรื่อยๆ และอื่นๆ อีกมากมาย ทำให้ Raptor ถูกยกเลิกไปเช่นกัน โปรเจ็คต่อมา ก็คือหนึ่งในโปรเจ็คที่เป็นที่รู้จักกันดีที่สุดของ Apple ในช่วงนั้น นั่นก็คือโปรเจ็ค Pink โดยบริษัท Taligent ซึ่ง Apple และ IBM ร่วมกันก่อตั้งในช่วงต้นปี 1992 โดย Pink นี้ถูกวางให้เป็นระบบปฏิบัติการที่ใช้เทคโนโลยี Object-Oriented ในการออกแบบและพัฒนา และเป็น ระบบปฏิบัติการที่ ยืดหยุ่น ต่อเติม เพิ่ม ได้ ในอนาคต มี ขนาดเล็ก และมีประสิทธิภาพที่ดี โดยทาง Taligent ได้มุ่งหวังว่าจะพัฒนาระบบที่เป็น Object-Oriented อย่างสมบูรณ์แบบสำหรับ ทุกอย่าง เหนือกว่าแม้แต่ระบบของ NeXTSTEP ... แต่ว่าในท้ายที่สุด ด้วยการดีไซน์ระบบที่ซับซ้อนเกินกว่าที่ควรจะเป็น ในหลายต่อหลายอย่าง และพยายามที่จะเป็นอะไรมากจนเกินไป (หรือว่าที่เรามักจะกล่าวว่า "พยายามกินข้าวคำโตกว่าที่ จะกลืนได้หมด") ทำให้จนถึงปี 1995 Pink ก็ยังไม่สามารถจะกลายเป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่กับ Apple ได้ และกลาย เป็นของ IBM แต่เพียงผู้เดียว และได้ปิดตัวเองลงไปในที่สุด อีกระบบหนึ่งคือระบบที่ได้รับการพัฒนาโดย Apple เอง โดยมีชื่อรหัสว่า Copland (ซึ่งเป็นชื่อของนักประพันธ์เพลง ชื่อดัง Aaron Copland) และถูกประกาศต่อสาธารณะเป็นครั้งแรกในปี 1994 ซึ่งหลายต่อหลายคนคาดหมายและความ หวังไว้อย่างสูงว่า Copland นี้จะเป็นคู่ชกตัวจริง ของระบบปฏิบัติการตัวใหม่จาก Microsoft หรือว่า Windows 95 เลย ทีเดียว (ไม่ ทราบว่า ตั้งใจใช้ คำที่ ขึ้นต้น ด้วยตัว C เพื่อให้ เป็น คู่แข่ง โดยตรงกับ Windows 95 ที่ ใช้ ชื่อ รหัส ว่า Chicago หรือเปล่า) โดยเพื่อให้ความหวังนั้นเป็นจริง Apple จึงได้พยายามใส่เทคโนโลยีต่างๆ มากมายใน Copland โดยบางส่วน ก็คือ การใช้สถาปัตยกรรม RISC PowerPC อย่างเต็มประสิทธิภาพ เสริมสร้าง ต่อเติม และปรับปรุงพัฒนาระบบที่มีอยู่ แล้วในขณะนั้นเช่น OpenDOC, QuickDraw GX, ColorSync, QuickDraw 3D ให้ดียิ่งขึ้น และอื่นๆ อีกมากในขณะที่ 7

ยังคงความง่ายของการใช้ งานซึ่งเป็นเอกลักษณ์ สำคัญของระบบปฏิบัติการบนแมคฯ มาตลอด นอกจากนี้ Copland ยัง ถูกวางให้สามารถทำงานร่วมกับ DOS และ Windows และยังจะเป็นระบบที่เป็นเน็ทเวิรก์ไคลเอนท์ที่ดีที่สุดด้วย สำหรับ ทางเทคนิคนั้น Copland จะใช้ microkernel ชื่อ NuKernel ซึ่งได้รับการพัฒนาโดย Apple เช่นเดียวกัน และจะมีความ สามารถในการซัพพอร์ทระบบ symmetric multiprocessing และ preemptive multitasking และมีระบบการจัดการ virtual memory และ memory protection ที่ดีขึ้น ซึ่งสิ่งเหล่านี้คือจุดอ่อนของระบบปฏิบัติการของ Apple ในขณะนั้น

ภาพ: Copland ที่มา: http://plaza.cypango.net/fr.GIF/ Copland ได้ รับ การพัฒนาอย่างรวดเร็ว มากในระยะแรก แต่ว่า เมื่อ ถึง ประมาณกลางยุค ’90s แล้ว การพัฒนาของ Copland แทบจะหยุดชะงักลงราวกับชนกำแพง ด้วยเหตุผลหลายประการ แต่ว่าอย่างไรก็ดี ในเดือนพฤศจิกายนปี 1995 Copland รุ่น ทดลองเบต้า รุ่น แรกสำหรับ นัก พัฒนาโปรแกรม ก็ได้ ออกมาให้ คนได้ ยลโฉมกัน โดยก่อนหน้า นั้น ในเดือน สิงหาคมปีเดียวกัน David Nagel รองประธานอาวุโสของ Apple ได้ประกาศว่า Copland จะออกมาในช่วงกลางปี 1996 เทคโนโลยี หลายอย่างที่อยู่ ในตัว ของ Copland นั้น หลายตัว ดู มี อนาคต เป็น ระบบปฏิบัติการที่ ออกมาสำหรับ ผู้ใช้ ทั่วไป และที่สำคัญก็คือ เป็นลูกหลานของระบบปฏิบัติการ Macintosh System อย่างแท้จริง โดยตัว Copland นี้ได้เรียก เสียงฮือฮาจากสื่อต่างๆ ตลอดจนนักพัฒนาโปรแกรมมากมาย บทความหลายอย่างตลอดจนข่าวจากสำนักต่างๆ ที่เคยออก มาเกี่ยวกับ Copland ในปี 1995 นั้น ยังสามารถหาอ่านได้ทั่วไปจาก internet ในปัจจุบัน แต่ว่าด้วยปัญหาความขัดแย้ง ภายในและการบริหารโปรเจ็คที่ล้มเหลวของทีมที่รับหน้าที่บริหารการพัฒนา Copland ตลอดจนความเกาเหลาของทีมนัก พัฒนาที่รับผิดชอบในส่วนต่างๆ (ซึ่งในเรื่องนี้ Gil Amelio CEO ของ Apple ในขณะนั้นได้ให้คอมเมนท์ว่า "Copland ก็เหมือนกับงานที่ทำจากคนละที่คนละทาง เอามาโยนเข้าด้วยกัน และทุกคนหวังปาฏิหาริย์ว่าแต่ละส่วนมันจะทำงานร่วม กันได้") ทำให้ Apple ไม่สามารถที่จะออก Copland ได้ตามกำหนดการเดิม และสุดท้ายแล้วในปลายปี 1996 ทาง Apple ก็ได้ยกเลิกโครงการ Copland อย่างสิ้นเชิง ต่อจากนั้น ทาง Apple ก็ยังไม่เลิกล้มความตั้งใจเสียทีเดียว โดยได้วางโปรเจ็คการพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่อีก ครั้ง ซึ่งแสดงให้เห็นว่า Apple อยู่ในสภาวะหลังชนฝาและต้องออกระบบปฏิบัติการตัวใหม่ให้ได้เร็วที่สุด โดยโปรเจ็คตัวนี้ มีชื่อว่า Gershwin (นักประพันธ์เพลงอีกคนหนึ่ง, George Gershwin) แต่ว่าจนแล้วจนรอด โปรเจ็คนี้ก็ไม่ได้มีอะไรมาก ไปกว่า codename ที่แปะอยู่บนฝาของ Apple ในขณะนั้น ไม่ได้รับการลงมือทำแต่อย่างใดเลย หลังจากที่ Apple ประสบความล้มเหลวอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด กับ การพัฒนาระบบปฏิบัติการด้วยตัวเอง ทำให้ Apple เริ่ม เสาะแสวงหาระบบปฏิบัติการจากที่ อื่นๆ เพื่อที่จะเอามาใช้ กับ แมคอิน ทอช เริ่มต้น จาก Windows NT ของ Microsoft และ Solaris ของ Sun Microsystems และสุดท้ายก็คือ BeOS จาก Be ซึ่งถูกก่อตั้งโดย Jean-Louis Gassee ซึ่งเป็นอดีตหัวหน้าฝ่ายพัฒนาผลิตภัณฑ์ของ Apple และเป็นบริษัทดาวรุ่งในขณะนั้น

8

ภาพ: BeOS รุ่นปัจจุบัน (Zeta Deluxe Edition, ไม่ใช่รุ่นในขณะที่ Apple เจรจาแต่อย่างใด) ที่มา: http://www.yellowtab.com/products/deluxe edition.php BeOS มีจุดเด่นหลายอย่าง ซึ่งหลายอย่างเป็นสิ่งที่ Apple เคยต้องการสร้างใน Copland ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของ memory protection, preemptive multitasking, symmetric multiprocessing และนอกจากนี้ยังเป็นระบบที่ถูกสร้างขึ้นมา เพื่อใช้งานบนสถาปัตยกรรม PowerPC โดยเฉพาะอีกด้วย (แม้ว่าจะถูกแปลงไปใช้บน x86 ในภายหลังก็ตาม) และสิ่งที่ ใหม่ และล้ำหน้า ที่สุด ของ BeOS ก็ คือ ระบบการจัดการไฟล์ ที่ ใช้ metadata ซึ่ง ทำให้ ผู้ใช้ สามารถค้นหาและเข้าถึง ไฟล์ ที่ ต้องการได้ด้วยคุณสมบัติเฉพาะตัวของไฟล์นั้นๆ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม BeOS ก็ยังไม่เสร็จสมบูรณ์ในขณะนั้น และแน่นอน ว่ายังไม่ได้รับการพิสูจน์ตัวเองในตลาดหลายระดับ และขาดคุณสมบัติที่จำเป็นอีกหลายอย่าง เช่น การใช้ไฟล์ร่วมกันและ การพิมพ์ นอกจากนี้ยังไม่ค่อยมีโปรแกรมให้ใช้ด้วยมากเท่าไหร่นัก Apple ต้องการที่ จะซื้อ Be อย่างมาก และ Gassee ก็ ทราบในข้อ นี้ ดี จึง ได้ โก่ง ราคาให้ สูง ถึง 500 ล้านเหรียญ สหรัฐ (ในขณะนั้น Be ถูก ประเมิณ ว่า มี ค่า ประมาณ 20 ล้านเหรียญเท่านั้น และทาง Apple เองก็ ตี ค่า Be ไว้ ไม่ เกิน 50 ล้านเหรียญ) หลังจากการเจรจาหลายต่อหลายรอบ Apple ได้ยื่นข้อเสนอที่ 200 ล้านเหรียญ แต่ว่า Gassee ปฏิเสธ และได้ยื่นข้อเสนอ "สุดท้าย" ที่ 275 ล้านเหรียญ เพราะเขามั่นใจว่า Apple จะต้องยอมรับในข้อเสนอนี้แน่นอน แต่ว่า จนแล้วจนรอด การซื้อ Be นี้ก็ไม่เกิดขึ้น และแล้ว ท่ามกลางความคลุมเครือและสับสน หมอกควันที่ปกคลุมอนาคตของ Apple .... "เขา" ก็กลับมา

4

The Return of the King

Steve Jobs ได้ติดต่อมายัง Gil Amelio CEO ของ Apple ในขณะนั้น และได้ให้คำแนะนำว่า BeOS นั้น ไม่เหมาะ กับเส้นทางการพัฒนาของ Apple โดยประการหนึ่งก็เพราะว่า เทคโนโลยีหลายอย่างของ BeOS นั้นมี design ที่มีปัญหา และไม่ ยืดหยุ่น เพียงพอ อีก ประการหนึ่ง ก็คือ BeOS นั้น ยังไม่ได้ รับการพิสูจน์ในตลาด นอกจากนี้ยัง มีเหตุผลอีกหลาย อย่างที่จะไม่ขอกล่าวถึงในที่นี้

ภาพ: Gil Amelio ที่มา: http://www.osnews.com/story.php?news id=8905 ต่อมาทาง Apple ได้ ยื่น ข้อเสนอและเจรจากับ NeXT ในความเป็น ไปได้ ของเรื่องการ license ระบบปฏิบัติการ OPENSTEP ซึ่งได้พิสูจน์ตัวเองแล้วในหลายวงการ (เช่น Wall Streets, NASA, และอื่นๆ) มีส่วนประกอบหลาย โดยเฉพาะ 9

ตัวสถาปัตยกรรมและเทคโนโลยีของระบบ ที่ได้รับการออกแบบมาอย่างที่เรียกได้ว่า "ล้ำสมัย" กว่า BeOS และระบบปฏิบัติการ ตัว อื่นๆ แทบทุก ตัว ในตลาดมาก อีก ทั้ง ยัง เป็น ระบบที่ ได้ ชื่อ ว่า เป็นมิตรกับ นัก พัฒนาโปรแกรมอย่างมากด้วยพลัง ของ OpenStep API และชุดเครื่องมือสำหรับพัฒนาซอฟท์แวร์ (Developer Tools) ของ NeXT แม้ว่า OPENSTEP จะยัง ไม่เหมาะสมเท่าไหร่สำหรับการเป็นระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้ทั่วไปก็ตาม จนในที่สุด ในเดือนกุมภาพันธ์ ปี 1997 Apple ได้ ซื้อ บริษัท NeXT ในราคา 427 ล้านเหรียญสหรัฐ พร้อมกับ ได้ Steve Jobs ซึ่งกลับมายัง Apple ในฐานะที่ปรึกษา ว่ากันว่า สิ่งที่ Apple ต้องการไม่แพ้ NeXT และ OPENSTEP ก็คือ วิสัยทัศน์ ความเฉียบขาด บารมี ความเป็นผู้นำ ของ Steve Jobs .... ซึ่งเป็นสิ่งที่ขาดหายไปจาก Apple เป็นเวลานาน เหลือเกิน (สิ่ง ที่ อาจจะขาดหายไปที่สุด ก็ คือ Reality Distortion Field (RDF) หรือว่า ความสามารถพิเศษในการชักจูง โน้นน้าว ให้คนคล้อยตามและเห็นด้วย) สำหรับ การพัฒนาระบบปฏิบัติการตัว ใหม่ นั้น Apple ได้ อัจฉริยะอย่าง Avie Tevanian จาก NeXT (ปัจจุบัน เป็น Senior Vice-President ทาง Software Engineering ของ Apple) มานำทีม พัฒนา โดยทาง Apple ได้ เริ่ม โครงการ สร้างระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ภายใต้ชื่อรหัสว่า Rhapsody (แปลว่า บทเพลงที่ถูกแต่งอย่างอิสระไม่มีรูปแบบตายตัว และ เต็มเปี่ยมไปด้วยอารมณ์ความรู้สึก) ซึ่งงานของโปรเจ็ค Rhapsody นี้ก็คือ การพัฒนาระบบปฏิบัติการ Mac OS รุ่นใหม่ จากระบบปฏิบัติการ OPENSTEP โดยพัฒนาเพิ่มเติม ปรับปรุงเปลี่ยนแปลง ให้เหมาะกับตลาดผู้ใช้ทั่วไป ทั้งนี้เนื่องจาก ว่า ระบบ NeXTSTEP/OPENSTEP นั้น มี องค์ประกอบหลายอย่างที่ ไม่ เหมาะสมต่อ การเป็น ระบบปฏิบัติการสำหรับ ผู้ใช้ ทั่วไป

ภาพ: Avie Tevanian ขณะที่อยู่กับ NeXT ที่มา: http://next.z80.org/next/employees/people/ แต่ว่า แม้ Jobs จะได้ เป็น ถึง ที่ปรึกษาของ Amelio แล้ว แต่ วิสัย ทัศน์ ของเขาตลอดจนคำปรึกษาของเขาก็ ยังคงถูก เพิกเฉยไม่สนใจ โดยผู้บริหารระดับสูง และเริ่มที่จะเบื่อหน่ายกับสภาพนั้น ทำให้ Jobs แทบจะไม่สนใจงานที่ Apple เลย และได้พุ่งความสนใจแทบทั้งหมดไปให้กับงานที่บริษัท Pixar Animation Apple ก็ยังคงประสบมรสุมต่อไป โดยเฉพาะทางการเงิน ที่แทบจะไม่เห็นอย่างอื่นนอกจากตัวเลขสีแดงอย่างต่อเนื่อง เป็น เวลานาน การบริหารภายในที่ ย่ำแย่ โปรเจ็ค จำนวนมากที่ เขียนขึ้น มาเพื่อ ของบในการทำเพียงอย่างเดียวแต่ว่า ไม่ มี ผลงานเป็น รูปธรรม ตลอดจนการใช้ เงิน บริษัท อย่างหรูหราของผู้บริหารหลายต่อ หลายคน รวมทั้ง ตัว ของ Amelio เอง ด้วย ทำให้บอร์ดบริหารของ Apple ลงมติปลด Gil Amelio ออกจากการเป็น CEO และจุดนี้เอง เป็นการกลับมาสู่อำนาจอย่างเต็มตัวของหนึ่งในสองผู้ให้กำเนิด Apple Computer โดยวันที่ 16 กันยายน 1997 บอร์ดบริหารได้มีมติแต่งตั้ง Steve Jobs ขึ้นเป็น CEO "ชั่วคราว" โดยหน้าที่ของ Jobs ก็คือ พา Apple ออกจาก สภาวะขาดทุนต่อเนื่อง ให้นำ Apple ให้พบกับคำว่า "กำไร" และยิ่งกว่านั้นคือคำว่า "ความสำเร็จ" อีกครั้งหนึ่ง โดยบอร์ด บริหารได้ให้ carte blanche (หรือว่าอำนาจสิทธิขาดอย่างอิสระที่จะทำอะไรก็ได้) สำหรับงานนี้เลยทีเดียว และอีกงานหนึ่ง ของ Jobs ก็คือ เฟ้นหาผู้ที่มีความเหมาะสมที่จะมาดำรงตำแหน่ง CEO ถาวร (ในความเป็นจริงก็คือ บอร์ดบริหารต้องการ ที่จะให้ Jobs เป็น CEO อย่างเต็มตัว แต่ว่า Jobs เองยืนยันที่จะอยู่ในตำแหน่งรักษาการ) และในขณะเดียวกันทีมงาน บริหารของอดีต NeXT Computer ก็เริ่มขึ้นมานั่งเก้าอี้บริหารใน Apple มากขึ้นเรื่อยๆ (ทำให้มีคำกล่าวอย่างติดตลกใน วงการว่า "Apple ซื้อ NeXT แต่ว่า NeXT กลายมาเป็นเจ้าของ Apple") และในช่วงเดือนกันยายนปี 1997 นี้เอง Apple ที่ได้ออก Rhapsody รุ่น Developer Release 1 (DR1) ออกมาให้ บรรดาผู้ผลิตและพัฒนาโปรแกรมได้ยลโฉมกันเพื่อที่จะได้เริ่มพัฒนาโปรแกรมสำหรับระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตตัวใหม่ 10

พร้อมกับ การปรับปรุง และต่อเติม ชุด เครื่องมือ ในการพัฒนาโปรแกรม (Developer Tools) และ API ของระบบเพิ่มเติม จาก OpenStep specification เดิมที่ใช้ใน OPENSTEP โดยใช้ชื่อรหัสว่า Yellow Box โดยทั้ง Rhapsody DR1 และ Yellow Box นี้สามารถใช้งานได้ทั้งในสถาปัตยกรรม PowerPC และ Intel x86

5

The Renaissance: Copland Reloaded

หลังจากที่การบริหารภายในของ Apple เริ่มกลับมาเข้ารูปเข้ารอยเดิม โดยได้ Steve Jobs กลับมาเป็นหัวเรือใหญ่คอย ชี้นำทิศทาง Apple ก็ได้เดินหน้าเต็มกำลังเพื่อที่จะพัฒนา Rhapsody เพื่อเป็นระบบปฏิบัติการตัวใหม่ และได้ออก DR1 มาแล้ว แต่ว่า Apple และ Jobs กลับเดินชนกำแพงขนาดมหึมาที่ทำให้การพัฒนา Rhapsody ไม่เป็นไปอย่างที่คาดหวัง ไว้ในตอนแรกถึงสามกำแพง นั่นก็คือ เสียงตอบรับจากบริษัทผู้พัฒนาซอฟท์แวร์อื่นๆ, ความเข้ากันได้ของโปรแกรมเก่าๆ, และกำแพงที่มีความสำคัญต่อ Apple อย่างมากที่สุด และเป็นผลมาจากกำแพงสองอันแรก นั่นก็คือ ผู้บริโภค นั่นเอง ด้วยรากฐานที่แตกต่างกันอย่างมาก ของ Rhapsody ที่มาจาก NeXTSTEP/OPENSTEP และระบบ System ดั้งเดิม ทำให้ โปรแกรมต่างๆ ที่ มีอยู่ บนระบบเดิม ไม่ สามารถนำมาใช้ กับระบบใหม่ได้ ทันที นั่น คือ ความเข้ากัน ได้กัน ได้ ของทั้ง สองระบบนั้น แทบจะไม่ มี เลยเสีย ด้วยซ้ำ โดยทาง Apple เองได้ พยายามขอให้ ผู้ผลิต และพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ เขียน ซอฟท์แวร์สำหรับ Mac ขึ้นมาใหม่โดยใช้ Yellow Box ที่มีความสามารถและความยืดหยุ่นสูงกว่าระบบ System ที่มีอยู่ อย่างมาก แต่ทว่าทางผู้ผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ต่างๆ นั้น เข็ด กับโครงการแล้วโครงการเล่า ที่ถูกยกเลิกโดย Apple ใน ช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะ Copland ก็ไม่ต้องการที่จะเสียเวลาและทุ่มเทแรงกายแรงใจโดยใช่เหตุ เนื่องจากการเขียน ซอฟท์แวร์ใหม่ทั้งหมด ไม่ใช่งานเล็กๆ และไม่มีใครรู้ว่า Apple จะยกเลิกโครงการอีกหรือไม่ สำหรับกำแพงที่ใหญ่ที่สุด ที่เป็นผลกระทบโดยตรงจากความเห็นและความต้องการที่ไม่ตรงกันของผู้ผลิตทั้งสอง นั่น ก็ คือ ผู้บริโภค หรือ ลูกค้า นั่นเอง โดยถ้า มี การเปลี่ยนแปลงระบบปฏิบัติการอย่างกระทัน หัน และโปรแกรมต่างๆ ที่ พวกเขามี อยู่ แล้ว ไม่ สามารถทำงานได้ ทันที และระบบปฏิบัติการใหม่ ที่ ออกมาก็ คงจะไม่ มี คนต้องการเปลี่ยนมาใช้ มาก นัก เนื่องจากไม่ มี โปรแกรมที่ ใช้ได้ มากเท่าไหร่ ... ผู้บริโภคต้องการการเปลี่ยนแปลง โดยเฉพาะถ้า การเปลี่ยนแปลง นั้นๆ เป็น ไปในทางที่ ดี ขึ้น และจะทำให้ พวกเขากลับ มาเสมอ หรือว่า นำหน้า โลกทั้งหมดอีก ครั้ง แต่ว่า ไม่ มี ใครต้องการ การเปลี่ยนแปลงแบบจากหน้า มือ เป็น หลัง มือ ในเวลาชั่ว วูบ เหมือนกับ เครื่องบิน ที่ ไต่ ระดับ เพดานบิน เร็ว เกิน ไปจนทำให้ ร่างกายปรับ ตัว ไม่ ทัน หรือว่า รถที่ เข้า โค้ง เร็ว เกิน ไปจนทุกคนเซกัน หมด ... การเปลี่ยนแปลงอย่างราบรื่น เหมือนกับ เครื่องบินที่กำลังค่อยๆ ไต่เพดานบิน หรือว่ารถที่เข้าโค้งอย่างนุ่มนวลต่างหาก คือสิ่งที่ทุกคนต้องการ ทางเลือกของ Apple ทางหนึ่งก็คือ ซุ่มพัฒนา Rhapsody ต่อไปจนกว่าจะสามารถใช้งานกับโปรแกรมเก่าๆ ได้ แต่ หากทำแบบนั้น จากภายนอกจะเหมือนกับว่า Apple ได้หยุดพัฒนาทุกอย่างและรอวันตายเท่านั้น ผู้ผลิตโปรแกรมต่างๆ ก็คงจะไม่พัฒนาโปรแกรมให้กับระบบที่ไม่มีการพัฒนาคืบหน้า และผู้บริโภคก็จะเริ่มตีจากไปใช้ PC ที่มีราคาถูกกว่าและ ระบบปฏิบัติการที่มีความสามารถเหนือกว่าและมีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง (ในขณะนั้น) จาก Microsoft ยักษ์ใหญ่แห่ง Redmond และอีกทางเลือกหนึ่ง ก็คือยกเลิกการพัฒนา Rhapsody ซะ แล้วเอาเทคโนโลยีจากทาง NeXT ที่อยู่ใน Rhapsody เข้าไปใช้ในระบบปฏิบัติการ System ที่มีอยู่ และออกรุ่นใหม่ออกมา แต่ว่าถ้าทำแบบนั้นก็เท่ากับการย้อนกลับไปสู่ รอยเดิม ทางเลือกทั้งสองทาง มีได้มีเสียต่างกันไป และเหมือนกับว่าจะไม่ใช่ทางเลือกที่ดีเท่าไหร่ทั้งคู่ ... แต่ว่านี่คือ Apple ภายใต้การนำของ Steve Jobs ไม่ใช่ Apple อย่างที่โลกรู้จักมาเป็นเวลาหลายปีก่อนหน้านี้ ดังนั้นคำว่าจึงไม่มีคำว่า "เป็น ไปไม่ได้" ... และในเมื่อเลือกทางหนึ่งจากสองทาง มันยากนัก และไม่ได้การันตีผลว่าจะดี ก็ทำมันทั้งสองทางเลยเสีย เป็นไร ... นิยายเรื่องหนึ่งๆ ไม่จำเป็นว่าต้องมีพระเอกขี่ม้าขาวไปช่วยนางเอกหรือว่ากู้ชาติคนเดียวเสมอไป บทบาทของ "พระรอง" หรือว่าตัวละครหลักบางตัว ที่มีหน้าที่เป็นพี่เลี้ยงของพระเอกจนกว่าวันที่พระเอกจะพร้อม หรือว่าช่วยซื้อเวลา ให้กับพระเอกจนกว่าจะเก่งกล้าพอ ก็เป็นบทบาทตัวละครที่สำคัญไม่แพ้กัน และนี่เอง ทำให้ Copland ถูก ปลุก ขึ้น มาจากหลุม อีก ครั้ง หนึ่ง แต่ว่า คราวนี้ ไม่ ใช่ ในฐานะพระเอกอัศวิน ม้า ขาว ที่ เป็นระบบปฏิบัติการแห่งอนาคตของ Apple อีกต่อไป แต่ว่าเป็นบทบาทของพระรอง เพื่อซื้อเวลาให้พระเอกตัวจริงอย่าง Rhapsody พัฒนาขึ้น ได้ มากเพียงพอ ที่ จะกอบกู้ Apple ได้ และเป็น ตัว สำคัญ อย่างมาก ที่ ทำให้การเปลี่ยนแปลงจาก ระบบปฏิบัติการ System ไปสู่ระบบใหม่ เกิดขึ้นอย่างราบรื่น เทคโนโลยีต่างๆ หลายส่วนจากโปรเจ็ค Copland ถูกนำมาใส่เข้าไปในระบบปฏิบัติการ ซึ่งในขณะนั้นได้เปลี่ยนชื่อจาก System มาเป็น Mac OS แล้ว (เริ่มต้นจาก Mac OS 7.6 ทั้งนี้เนื่องมาจากในช่วงนั้นเริ่มมีการเปิดให้ทำเครื่องเลียนแบบ Macintosh หรือที่เรียกว่า Mac clone เกิดขึ้น ทำให้ Apple ต้องการที่จะสื่อให้เห็นชัดเจนว่าระบบปฏิบัติการนั้น เป็น 11

ทรัพย์สินทางปัญญาของ Apple ทำให้เกิดการเปลี่ยนชื่อขึ้นเพื่อให้เกิดความชัดเจน) โดยเริ่มต้นจาก Mac OS 8.0 ที่ออก มาในปี 1997 นั้นเอง

ภาพ: Mac OS 8.0 ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/macos/macos80/macos80 และต่อมาในเดือนมกราคมปี 1998 ทาง Apple ก็ได้ออกอัพเดท ที่ถือว่ามีความสำคัญมากทีเดียว นั่นก็คือ Mac OS 8.1 ซึ่งเป็นรุ่นสุดท้ายที่จะสามารถใช้ได้ทั้งบน m68k และ PowerPC โดยในรุ่นนี้ Apple ได้เริ่มใช้ระบบไฟล์แบบ HFS+ ซึ่งยังคงใช้กันมาจนถึงทุกวันนี้ (ในชื่อของ Mac OS Extended) และที่สำคัญที่สุดก็คือใน Mac OS 8.1 นี้ทาง Apple ได้เริ่มมีสิ่งที่เรียกว่า Carbon เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของระบบหลัก โดย Carbon นี้ถือว่าเป็นส่วนประกอบหลักส่วนหนึ่ง ที่ จะทำให้โปรแกรมเก่าสามารถทำงานได้ในระบบปฏิบัติการใหม่ที่กำลังจะออกมาในอนาคต ซึ่งถือว่าเป็นส่วนที่สำคัญมาก ที่จะทำให้การเปลี่ยนแปลงเป็นไปได้อย่างราบรื่น

ภาพ: Mac OS 8.1 ที่มา: http://en.wikipedia.org/wiki/Mac OS 8 ในขณะเดียวกัน ในเดือนพฤษภาคมปี 1998 ทาง Rhapsody ก็ได้ ออก Developer Release 2 สำหรับ นัก พัฒนา โปรแกรม ต่อจาก DR1 ที่ได้ออกไปแล้วก่อนหน้านั้น โดยจะเห็นว่ามีการเปลี่ยนหน้าตาของระบบมาให้เหมือนกับ Mac OS มากขึ้น มี การผสมผสานรูปแบบการทำงานต่างๆ ของ Mac OS กับ OPENSTEP มากขึ้น โดยที่ โปรแกรมต่างๆ ตลอดจนการทำงานแทบทั้งหมดแล้ว ก็ยังคงเป็นระบบแบบ OPENSTEP ที่มีเสถียรภาพและความยืดหยุ่นสูง ทำงานอยู่ เบื้องหลัง และนี่เป็นนิมิตรหมายที่ดี ที่แสดงถึงความก้าวหน้าและความพยายามที่จะพังกำแพงอันเป็นอุปสรรคที่มีอยู่ลง โดย DR2 นี้ก็ยังคงสามารถใช้ได้ทั้งบน PowerPC และ Intel x86 เช่นเดียวกับ DR1 โดยที่ชุดเครื่องมือในการพัฒนา โปรแกรม Yellow Box นั้น สามารถที่จะใช้งานบน Windows NT ได้อีกด้วย

12

ภาพ: หน้าจอของ Rhapsody (Developer Release 2) บน Intel x86 (Pentium) ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/nextstep/rhapsody/rhapsodydr2

ภาพ: Yellow Box for Windows บน Windows 2000 ที่มา: http://www.shawcomputing.net/resources/apple/os pictures/yb2k/index.html ถัดไปในเดิอนมกราคมปี 1999 Apple ก็ได้ออกสิ่งที่เรียกได้ว่า "เกือบจะ" เป็นสิ่งที่หลายต่อหลายคนตั้งหน้าตั้งตา รอคอย นั่น ก็ คือ ผลงานจากโปรเจ็ค Rhapsody ที่ ออกมาสู่ ตลาดในชื่อ ของ Mac OS X Server ซึ่ง เป็น ระบบสำหรับ เครื่องเซิร์ฟเวอร์โดยเฉพาะ โดยตัว X นี้นอกจากจะเป็นเลข 10 โรมันแล้ว ยังแสดงถึงความเป็น UNIX (ระบบ UNIX มักจะมีตัว X ในชื่อ เช่น HP-UX, IRIX, AIX, A/UX, ฯลฯ) อีกด้วย นอกจากนี้ในเวลาใกล้เคียงกันทาง Apple ก็ยังได้ออก Darwin 0.1 ซึ่งเป็นส่วน core ของ Mac OS X Server ออก มาเป็น open source ซึ่งตัว Darwin นี้ยังเป็นระบบปฏิบัติการอย่างสมบูรณ์ในตัวเองอีกด้วย โดยเป็นระบบที่มีลักษณะ แบบ BSD UNIX ซึ่งใช้รากฐานจาก Mach microkernel และระบบ FreeBSD ซึ่งเป็นระบบปฏิบัติการแบบ open source เช่นเดียวกัน โดย kernel ที่ใช้ใน Darwin นี้มีชื่อว่า xnu (ซึ่งเราอาจจะคิดได้ว่ามาจาก X is Not Unix ก็ได้)

13

ภาพ: Mac OS X Server 1.2 (Rhapsody 5.6) ที่มา: http://www.shawcomputing.net/resources/apple/os pictures/rhap56/index.html สำหรับ ผู้ใช้ ทั่วไป ก็ ยังคงต้องรอกัน ต่อไป ทั้งนี้ เนื่องจากว่า ระบบปฏิบัติการ UNIX นั้น เป็น ระบบที่ ถูก สร้างขึ้น มา สำหรับ เครื่องที่ มี ลักษณะเป็น เซิร์ฟเวอร์ อยู่ แล้ว และสิ่ง ที่ เป็น เรื่องสำคัญ ต่อ server ก็ คือ เสถียรภาพและความง่ายใน การจัดการ process ต่างๆ ตลอดจนเรื่องของ multi-users และต้องใช้ซอฟท์แวร์สำหรับเซิร์ฟเวอร์ได้ (ซึ่งส่วนมากก็เป็น ซอฟท์แวร์สำหรับระบบ UNIX อยู่แล้ว) ซึ่งนี่เป็นเหตุผลที่ทำให้การทำ Rhapsody ออกมาเป็นระบบสำหรับเซิร์ฟเวอร์ นั้น ง่ายกว่าการทำให้เป็นระบบสำหรับผู้ใช้ทั่วไป ซึ่ง Rhapsody ในขณะนั้นยังไม่พร้อมที่จะรับหน้าที่นั้น และนอกจากนี้ การเป็นระบบที่ออกมาสำหรับเซิร์ฟเวอร์ยังไม่ต้องรองรับทั้งฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์ที่มีความหลากหลายมาก เหมือนกับ ระบบปฏิบัติการสำหรับผู้ใช้ทั่วไปอีกด้วย แต่ว่าอย่างไรก็ดี การที่ Mac OS X ออกมาเป็นระบบเซิร์ฟเวอร์โอเอสเท่านั้น ได้สร้างความผิดหวังให้กับหลายคนต่อ หลายคนด้วยกัน โดยบางคนถึงกับเข้าใจว่า Apple ได้ยกเลิกการสร้างระบบปฏิบัติการที่ล้ำสมัยที่มีรากฐานมาจาก OPENSTEP ออกมาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปอย่างสิ้นเชิงแล้ว .... และมันก็ดูเหมือนว่าจะเป็นจริง เมื่อ Apple ได้ประกาศการพัฒนาระบบปฏิบัติการตัวใหม่ ที่เป็นรุ่นถัดไปของระบบ Mac OS ดั้งเดิม ภายใต้ชื่อรหัส Sonata ...

6

Winter’s Sonata: The Final Flight of Classic Mac OS

ถ้าสิ่งที่ Apple ต้องการให้เกิดขึ้นอย่างที่สุด ก็คือการเปลี่ยนแปลงในระบบปฏิบัติการไปสู่ระบบที่มีรากฐานจาก OPENSTEP อย่างราบรื่นและรวดเร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้แล้ว ทาง Apple ก็ยังคงมีการบ้านอีกหลายข้อที่ต้องแก้ เพราะว่า เรื่องดังกล่าวจะเป็น ไปได้ ในกรณี เดียว ก็ คือ ผู้ใช้ คอมพิวเตอร์ แมคฯ ต้องเปลี่ยนมาใช้ ให้ เร็ว ที่สุด ในปัญหาที่ น้อยที่สุด และยิ่งกว่านั้น ผู้ผลิตและพัฒนาซอฟท์แวร์ยังต้องการให้โปรแกรมที่พวกเขามีอยู่แล้ว สามารถทำงานได้ในฐานะประชากร ชั้นหนึ่งของระบบใหม่ โดยที่ไม่ต้องเขียนโปรแกรมนั้นใหม่ทั้งหมด (หรือว่าเขียนให้น้อยที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) ซึ่งยังไม่ ใช่ความเป็นไปได้ในตอนนั้น แม้ว่าจะมี Carbon ที่ได้เข้าไปเป็นส่วนหนึ่งของ Mac OS ตั้งแต่ 8.1 แล้วก็ตาม นอกจากนี้ ยังมีอีกเรื่องหนึ่ง ที่อาจมีผลทางจิตวิทยากับผู้ใช้คอมพิวเตอร์ทั่วไปพอสมควร นั่นคือ เรื่องของ "ชื่อ"! ทั้งนี้เนื่องจาก Apple ต้องการที่จะใช้ชื่อระบบปฏิบัติการตัวใหม่ที่มีรากฐานจาก OPENSTEP นี้ว่า Mac OS X ซึ่งจะ ทำให้เกิดการ "กระโดด" ในส่วนของรุ่น (จาก 8 ไป 10) ซึ่งอาจจะทำให้ผู้ใช้หลายคนไม่กล้าที่จะเปลี่ยนไปใช้ Mac OS X โดยปริยาย ซึ่งนี่เป็นแนวคิดเดียวกับ Microsoft ในตอนที่เปลี่ยนจาก Windows 98 ไปเป็น Windows 2000 ซึ่งเป็น การเปลี่ยนระบบจากรากฐาน Windows 95 ไปเป็น ระบบที่ มี รากฐาน Windows NT แต่ว่า เมื่อ ใช้ เวอร์ชัน ที่ ตัวเลขเรียง กัน (ในกรณี คือ จาก 95, 98, 2000) จะทำให้ผู้ใช้เปลี่ยนมาใช้ได้อย่างสบายใจกว่า และหลายคนก็อาจไม่เอะใจกับการ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีที่ว่านี้เลยก็ได้ นอกจากนี้ ยัง มี เหตุผลที่ สำคัญ อย่างมากอีก อย่างหนึ่ง ก็ คือ โลกในช่วงนั้น เริ่ม ที่ จะเข้า สู่ ยุค อิน เตอร์เน็ ทอย่างเต็มตัว และยักษ์ใหญ่จาก Redmond ที่ชื่อ Microsoft ได้ออกระบบปฏิบัติการรุ่นใหม่ที่ชื่อว่า Windows 98 ซึ่งเป็นรุ่นที่พัฒนา ขึ้นมาจาก Windows 95 เป็นอย่างมาก และมีหลายๆ อย่างที่ล้ำหน้า Mac OS 8 ในขณะนั้น และนี่เอง ทำให้ Apple ต้องการระบบปฏิบัติการพระรองตัวที่สองที่จะมาทำหน้าที่ช่วยเชื่อมต่อ Mac OS ในขณะนั้น กับ Mac OS X และเนื่องจากความไม่พร้อมที่จะออกมาสู่ตลาดของ Mac OS X ในขณะนั้น ทำให้บทบาทของพระรอง 14

ตัวนี้คือ ต้องอยู่ช่วยพระเอกจนกว่าพระเอกจะเก่งพอที่จะเผชิญโลกกว้างได้เพียงลำพัง และระบบปฏิบัติการที่ว่านี้ ก็ได้ถูก พัฒนาขึ้นในชื่อรหัส Sonata ในวันที่ 23 ตุลาคมปี 1999 Sonata ก็เสร็จสมบูรณ์ และได้ออกมาอย่างเป็นทางการในชื่อ Mac OS 9.0

ภาพ: Mac OS 9.2 ที่มา: http://www.kernelthread.com/mac/oshistory/9.html โดย Mac OS 9 ได้เพิ่มส่วนประกอบต่างๆ ที่จะช่วยให้ผู้ใช้สามารถเปลี่ยนไปเป็น Mac OS X ได้ง่ายขึ้นด้วย เมื่อไหร่ ก็ตามที่ Mac OS X เสร็จสมบูรณ์เพียงพอที่จะออกมา โดยความสามารถอย่างหนึ่งที่เพิ่มเข้าไป และถือว่าเป็นส่วนสำคัญ มากที่ จะช่วยในการเปลี่ยนแปลงในเวลาต่อมา ก็ คือ ความสามารถในการทำงานในโหมดจำลองระบบ (emulator mode) ของ Mac OS X หรือที่เรารู้จักกันดีทุกวันนี้ในชื่อของ "Classic environment" นั่นเอง นอกจากนี้ ยังมี Carbon ตัวใหม่ ที่จะช่วยให้โปรแกรมที่ใช้ Carbon สามารถทำงานบน Mac OS X ได้ในฐานะประชากรชั้นหนึ่ง และไม่ต้องทำงานผ่าน โหมดจำลองระบบแต่อย่างใด ซึ่ง Carbon ตัวนี้แหละ ที่ทำให้ Mac OS X มีโปรแกรมรองรับมากมายกว่าที่ควรจะเป็นใน ช่วงเริ่มแรก นอกจากนี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงในเชิงเทคนิคอีกมากมายที่ทำให้ Mac OS 9 แตกต่างไปจาก Mac OS 8 เช่นเป็น Mac OS รุ่นแรกที่ทำงานกับสถาปัตยกรรม PowerPC อย่างสมบูรณ์แบบ (Mac OS 8 นั้นแม้ว่าจะทำงานได้กับ PowerPC แต่ว่าก็ต้องผ่านการจำลองระบบคำสั่งของสถาปัตยกรรมแบบเก่า หรือ 680x0) ทาง Apple ได้ปรับแต่ง เพิ่มเติม แก้ไข Mac OS 9 หลายครั้ง เพื่อปรับแต่งฟีเจอร์ต่างๆ และการทำงานร่วมกับ Mac OS X ที่กำลังอยู่ในบั้นปลายของขั้นตอนการพัฒนาและใกล้เสร็จสิ้น โดยเฉพาะการเปลี่ยนแปลงในช่วงท้ายๆ นั่นก็คือ 9.2.x นั้น แทบจะเรียกได้ว่าเป็นการเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ทำงานได้กับ classic mode ของ Mac OS X ดีขึ้นโดยเฉพาะ ก็ได้ และ Mac OS 9 นี่เอง ที่เป็น รุ่นสุดท้าย ของระบบปฏิบัติการ Mac OS แบบเก่า ที่ทุกวันนี้เรารู้จักกันในชื่อเรียก รวมๆ ว่า Classic Mac OS

7

Prelude to the NeXT Mac OS: Final Movement of Rhapsody

ในฉากหลังของการทำงาน Apple ก็ยังพัฒนา Rhapsody เพื่อเป็น Mac OS X ต่อไปอย่างไม่หยุดยั้ง และได้ออก Developer Preview (DP) มาให้บรรดานักพัฒนาโปรแกรมได้ยลโฉมและปรับตัวตามเทคโนโลยีเป็นระยะๆ รวมถึงเป็น ความพยายามที่จะบอกบรรดานักพัฒนาโปรแกรมด้วยว่า คราวนี้ Apple เอาจริง และครั้งนี้จะไม่ใช่ vaporware ที่จะลงท้าย ด้วยอากาศธาตุ ฝุ่นทรายในสายลม ดังเช่นหลายต่อหลายครั้งที่ผ่านมา (โดยเฉพาะ Copland แต่ว่าอย่างไรก็ตาม Copland ก็มี Developer Release ออกมาเช่นเดียวกัน) โดยทาง Apple ได้ออก DP มาทั้งหมดถึงสี่ตัวด้วยกัน (DP1-4) ในช่วง เวลาเพียงประมาณปีเดียว ซึ่งแต่ละตัวได้เพิ่มความสามารถเข้าไปเรื่อยๆ โดยที่สำคัญๆ มีดังนี้ เริ่มต้นจาก DP1 มีการเพิ่ม Carbon API เข้าไปเพื่อความเข้ากันได้กับ Mac OS 9 โดยโปรแกรมที่ใช้ Carbon นี้ จะ สามารถใช้ได้ในฐานะประชากรชั้นหนึ่งของทั้ง Mac OS 9 และ Mac OS X ดังที่กล่าวไปแล้ว ต่อไปใน DP2 โหมดการ จำลองระบบที่ได้รับการพัฒนามาอย่างต่อเนื่องภายใต้ชื่อรหัส Blue Box ก็ได้กลายมาเป็น Classic Environment และ สามารถใช้กับ Mac OS 9.0.4 เป็นต้นไปได้ นอกจากนี้ใน DP2 นี้ยังมีการเปลี่ยนแปลงที่สำคัญมากอีกอย่างหนึ่ง ก็คือ 15

การเปลี่ยนชื่อของ OpenStep API จาก Yellow Box เป็น Cocoa ซึ่งกลายมาเป็น API หลักของ Mac OS X จนถึง ทุกวันนี้

ภาพ: Mac OS X Developer Preview 2 (DP2) ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/macos/macosx/macosxdp2 หลังจากที่ได้เปลี่ยนแปลงการทำงานในระดับลึกของระบบไปอย่างมากพอสมควรใน DP1-2 ซึ่งหลายอย่างได้กลายมา เป็นรากฐานสำคัญของ Mac OS X อย่างที่เรารู้จักกันในปัจจุบัน ใน DP3 นี้ทาง Apple ก็ได้เปลี่ยนแปลงอีกอย่างหนึ่ง นั่น ก็ คือ "หน้าตา" โดย DP3 นี้ เป็น Mac OS X รุ่น แรกที่ ใช้ Aqua User Interface และระบบการวาดหน้าจอใหม่ ที่มาแทน Display PostScript ที่ชื่อว่า Quartz ซึ่งใช้เทคโนโลยี PDF แทน PostScript และในคราวนี้ Apple ได้สร้าง Display PDF ที่ว่านี้เอง ทำให้ไม่ต้อง license มาจาก Adobe ซึ่งการเปลี่ยนเทคโนโลยีจาก Display PostScript มาเป็น Display PDF นี้ทำให้ Rhapsody เสียเวลาในการพัฒนาไปไม่ใช่น้อย

ภาพ: Mac OS X Developer Preview 3 (DP2) และ Mac OS 9 ใน Classic Environment ที่มา: http://www.shawcomputing.net/resources/apple/os pictures/osxdp3/index.html สุดท้ายใน DP4 ทาง Apple ก็ได้ปรับปรุงรายละเอียดปลีกย่อยต่างๆ อีกหลายส่วน โดยเฉพาะในส่วนของ User interface ที่ มี การเปลี่ยนแปลงพอสมควร ที่ เห็น ได้ ชัด ที่สุด อย่างหนึ่ง ก็ คือ Dock ซึ่ง ตอนนี้ ได้ กลายมาเป็น โปรแกรมแยก ต่างหาก และสิ่ง ที่ สำคัญ ที่สุด สำหรับ นัก พัฒนาโปรแกรม นั่น ก็ คือ ชุด พัฒนาโปรแกรมตัว ใหม่เอี่ยม นั่น ก็ คือ ProjectBuilder ซึ่งเป็นชุดพัฒนาโปรแกรมมาตรฐานสำหรับ Mac OS X อยู่นานพอสมควร และที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งก็คือ DP4 เป็น Mac OS X รุุ่นแรกที่มีการนำเอา OpenGL (Open Graphics Library) ซึ่งเป็นมาตรฐานสำหรับการพัฒนาและ แสดงผลโปรแกรมที่ใช้ในงานกราฟฟิค, animation, และเกมส์ต่างๆ และแล้ว หลังจากที่ออก DP มาให้กับบรรดานักพัฒนาโปรแกรมยลโฉมถึง 4 รุ่น ก็ถึงเวลาสำหรับผู้ใช้ทั่วไปบ้าง โดย ในเดือนกันยายนปี 2000 Apple ได้ปล่อย รุ่นทดลอง หรือรุ่น Public Beta ของสิ่งที่ทุกคนรอคอยออกมาให้คนทั่วไป ได้ทดลองใช้กัน 16

ภาพ: Mac OS X Public Beta ที่มา: http://www.kernelthread.com/mac/oshistory/10.html

การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้อย่างชัดเจนแม้แต่ในแวบแรก ก็คือ รูปร่างหน้าตาและระบบการติดต่อกับผู้ใช้ที่แตกต่างไป อย่างสิ้นเชิงจาก Mac OS รุ่นเก่าๆ หรือว่าแม้แต่ Mac OS X DP1-2 โดยมีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า Aqua ซึ่งเริ่ม กลายมาเป็นระบบติดต่อกับผู้ใช้มาตรฐานของ OS X ตั้งแต่ DP3 โดยระบบ Aqua นี้มีฟีเจอร์ใหม่ที่ดูแปลกตามากมาย ไม่ว่าจะเป็น anti-alias text, full-color scalable graphics, การจำลอง shading และ lighting ของหน้าต่างและ icon ต่างๆ, ตลอดจนเรื่องของ transparency, และ animation อีกอย่างหนึ่ง ที่เป็นเรื่องใหม่พอสมควรสำหรับผู้ใช้ Mac OS มาก่อน (แต่ว่าไม่ใช่เรื่องใหม่เท่าไหร่สำหรับผู้ใช้ NeXTSTEP/OPEN ตลอดจนนักพัฒนาโปรแกรมที่ได้เห็น DP3-4 ก่อนหน้านี้) นั่นก็คือ Dock หรือ application launcher ตัวใหม่ ซึ่งแม้ว่าในรุ่นทดลอง Public Beta นี้ Mac OS X แทบจะเรียกได้ว่าไร้ซึ่งเสถียรภาพอย่างสิ้นเชิง การล่มของระบบ ตลอดจนสิ่งที่แย่กว่านั้นอย่าง kernel panic เป็นเรื่องปกติที่ผู้ทดสอบพบเห็นเป็นประจำ และหลายต่อหลายอย่างที่ผู้ใช้ เคยคุ้นเคยจาก Mac OS รุ่นก่อนๆ นั้นขาดหายไปจาก Public Beta ก็ตาม Public Beta นี้ถือเป็น milestone (หลักกิโลฯ) ที่ สำคัญ อย่างมากสำหรับ ผู้ใช้ แมคฯ โดยเฉพาะนัก พัฒนาโปรแกรมทั้งหลาย ที่ ยังคงหวาดหวั่น และกลัว ว่า ประวัติศาสตร์ Copland จะเกิดซ้ำรอย

8

The Light at the End of the Long, Dark, and Winding Tunnel

หลังจากที่ รอคอยกัน มาเป็น เวลานานหลายปี ผ่านการเปลี่ยนแปลงแผนการดำเนินการและอุปสรรคหลายต่อ หลาย อย่าง ในที่สุด เมื่อ วันที่ 24 มีนาคม 2001 ระบบปฏิบัติการแห่ง อนาคตตัว ใหม่ จาก Apple ก็ได้ ออกอย่างเป็นทางการ ในชื่อ Mac OS X 10.0 หรือว่า เป็น ที่ รู้จัก กัน ในชื่อ รหัส ว่า Cheetah แต่ว่า เสือ Cheetah ตัว นี้ เจอปัญหาหลายอย่าง โดยเฉพาะการตอบรับของผู้ใช้ทั่วไป และมีฟีเจอร์หลายอย่างที่ไม่สมบูรณ์และให้ความรู้สึกว่าออกมาทั้งที่ยังไม่พร้อมเท่า ที่ควร และไม่มีโปรแกรมให้ใช้มากเท่าที่ควร ซึ่งทาง Apple ก็ทราบถึงเรื่องนี้ดี ... เพราะว่ากลุ่มเป้าหมายที่แท้จริงของ Cheetah นั้น หาใช่บรรดาผู้ใช้ทั่วไปไม่ แต่ว่าเป็นบรรดา นักพัฒนาซอฟท์แวร์ ต่างหาก สำหรับนักพัฒนาโปรแกรมแล้ว การออก Commercial Release อย่างแท้จริงนั้น เป็นอะไรที่มีผลทางจิตวิทยาค่อนข้าง มาก เพราะว่าแม้ว่าจะมี Developer Preview Release หรือว่า Public Beta ออกมากี่ตัวก็ตาม ตราบใดที่ยังไม่มี Commercial Release (หรือว่ารุ่นที่ 1.0 และสำหรับกรณี Mac OS X ก็คือ 10.0) ออกมา นักพัฒนาโปรแกรมหลายคน ก็ ยังคงไม่สามารถที่จะมองโลกในแง่ดีได้เกินไปนัก และหลายต่อหลายคนก็เลือกที่จะไม่เชื่ออนาคตของระบบนั้นๆ จนกว่า Commercial Release จะออกมา เพราะว่า โปรเจ็ค ที่ ออกมาถึง ขั้น Public Beta อาจจะถูก ล้ม กระดานโดยที่ ไม่ เคยออก สู่ตลาดผู้ใช้ทั่วไปเลยก็เป็นได้ ดังนั้นการที่ Apple ปล่อย Cheetah ออกมา นั้นก็เพื่อเป็นการส่งสัญญาณบอกเหล่านัก พัฒนาโปรแกรมว่า เวลาแห่ง การทดสอบทดลอง เมฆหมอก และเครื่องหมายคำถามที่แขวนอยู่บนชื่อของ Mac OS X นั้นได้จบลงไปหมดแล้ว ตั้งแต่วันนี้เป็นต้นไป จะเป็นเวลาของ Mac OS X อย่างแท้จริง ... ดังนั้น "กรุณาเลิกสงสัย และ เริ่มต้นพัฒนาโปรแกรมสำหรับ Mac OS X ได้แล้ว" สำหรับ ผู้ใช้ ทั่วไปนั้น Cheetah ก็ ไม่ ได้ สิ้นไร้ไม้ตอกจนเกิน ไปนัก เพราะว่า Apple ได้ นำเอาโปรแกรมจากชุด Digital Lifestyle (หรือว่า ที่ รู้จัก กัน ในชื่อ ของ iLife ในปัจจุบัน) มาใส่ ไว้ เป็น ครั้ง แรกถึง สองโปรแกรม นั่น ก็ คือ iTunes และ iMovies แต่ว่าด้วยเหตุผลหลายประการ โดยเฉพาะความไม่สมบูรณ์ของ Carbon API ใน Cheetah ทำให้มันไม่ 17

มีโปรแกรมให้ผู้ใช้ได้เล่นด้วยมากนัก ทำให้ Apple เลือกที่จะไม่ให้ Cheetah เป็นระบบปฏิบัติการตัวเลือกที่หนึ่งแทนที่ Mac OS 9 ที่ยังคงมากับเครื่องด้วย Cheetah มีอายุไม่ยืนมากนัก เพราะว่าในวันที่ 29 กันยายนปีเดียวกันนั้นเอง Apple ก็ได้ออก Mac OS X รุ่นใหม่ หรือ Mac OS X 10.1 และเป็นที่รู้จักกันในชื่อรหัส Puma และนี่เอง เป็น Mac OS X รุ่นแรก ที่หลายคนลงความเห็น ตรงกันว่า "เริ่ม" ที่จะใช้งานจริงๆ ได้

ภาพ: Mac OS X 10.1 Puma ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/macos/macosx นอกเหนือจากเรื่องประสิทธิภาพและเสถียรภาพที่ดีกว่า Cheetah มากมาย และผู้ใช้สามารถทำอะไรต่อมิอะไรได้มาก ขึ้น (โดยเฉพาะด้านมัล ติ มี เดีย ที่ CD/DVD ที่ ได้ รับ การพัฒนาขึ้น อย่างมาก) และการรองรับ การทำงานกับ เครื่องพิมพ์ (printer) ได้มากกว่า 200 รุุ่นแล้ว แล้ว Carbon API ของ Puma ยังนับได้ว่ามีความสมบูรณ์มากกว่าที่มีใน Cheetah มากนัก ซึ่งผลที่ได้นั้นทำให้ Puma เป็นรุ่นแรกของ Mac OS X ที่สามารถใช้โปรแกรม Carbon ที่ถูกเขียนขึ้นสำหรับ Classic Mac OS จากผู้ผลิตรายอื่นได้ ในฐานะประชากรชั้นหนึ่งของ OS X (หรือที่มักเรียกทับศัพท์ว่า native mode) ซึ่งรวมถึง Adobe Photoshop ด้วย โดย Photoshop 7.0 สามารถใช้ได้ทั้งใน OS 9.x และ Puma (ทั้งใน native mode และใน Classic environment) Apple ได้ปรับปรุง Puma อยู่อย่างสม่ำเสมอ โดยได้ออกอัพเดทมาทั้งหมด 5 ตัวด้วยกัน (10.1.1 - 10.1.5) โดยใน ระหว่างนี้ Puma ก็ เริ่ม มี ซอฟท์แวร์ ให้ ใช้ มากขึ้น เรื่อยๆ นอกจาก Adobe Photoshop แล้ว ก็ ยัง มี ตัว ที่ สำคัญ มาก ก็ คือ Microsoft Office และนอกจากนี้ ด้วยรากฐาน UNIX ของ Mac OS X ทำให้โปรแกรมต่างๆ ที่ถูกพัฒนาขึ้นสำหรับ ระบบ UNIX และ GNU/Linux ได้เริ่มทะยอยกันออกมาสำหรับ Mac OS X มากขึ้นๆ ไม่ว่าจะเป็นระบบการจัดการ ฐานข้อมูล MySQL, ระบบ PHP, Tomcat ฯลฯ รวมทั้ง Apache ซึ่ง เป็น เว็บเซิร์ฟเวอร์ซอฟท์แวร์ มาตรฐาน โปรแกรม open source หลายต่อหลายตัว ที่ยังไม่สามารถทำงานได้บน Windows ในขณะนั้น ก็สามารถทำงานได้บน OS X เช่น PostgreSQL นอกจากนี้ยังมีซอฟท์แวร์เสรีอีกหลายตัว โดยเฉพาะโปรแกรมที่ใช้ GNUstep ซึ่งเป็นเวอร์ชันซอฟท์แวร์เสรี ของ OpenStep API ที่เป็นบรรพบุรุษของ Cocoa ก็สามารถนำมาใช้บน OS X ได้ด้วยเช่นกัน ไม่เพียงแต่เท่านั้น แอ พพลิเคชั่นโปรแกรมหลายต่อหลายตัว ที่เป็นมาตรฐานของงานหลายอย่าง ก็เริ่มประกาศสนับสนุน Mac OS X ด้วย เช่น Macromedia ก็ได้เริ่มประกาศที่จะสร้าง Flash, Dreamweaver และ Fireworks สำหรับ OS X โดยใช้ Carbon และจุด ที่ สำคัญ ที่สุด จุด หนึ่ง ในเรื่องราวของ Puma นี้ ก็ คือ การตัดสินใจของ Apple ที่ ให้ Mac OS X กลายเป็น ระบบปฏิบัติการตัวเลือกอันดับหนึ่ง แทนที่ Mac OS 9 แม้ว่าจะยังคงใส่มาทั้งสองตัวในเครื่อง เช่นเดียวกับครั้ง Cheetah ก็ตาม แต่ว่าคราวนี้ไม่ใช่ Mac OS 9 เป็นตัวเลือกโดยปริยาย แต่ว่าเป็น OS X ..... หน้าที่ของ OS 9 ในการเป็นพี่เลี้ยง พระเอก ได้เดินทางมาถึงโค้งสุดท้ายแล้ว

9

The King is Dead. Long Live the King! : Beginning of the new Era

หลังจากเสียงตอบรับ ที่ ค่อนข้างดี ต่อ Puma ทั้ง จากทางผู้ใช้ ทั่วไปและนัก พัฒนาซอฟท์แวร์ ทำให้ หลายต่อ หลายคน เชื่อว่าเวลาของ Classic Mac OS ซึ่งได้ทำงานรับใช้ผู้ใช้แมคฯ ทุกคนมาเป็นเวลานาน นั้นใกล้จะจบลงแล้ว ... ถึงแม้ว่า สำหรับคนที่ใช้แมคฯ ในการทำงานบางอย่าง เช่นงานทางด้านออกแบบ หรือว่างานสิ่งพิมพ์นั้น โปรแกรมหลายตัวตลอดจน 18

work flow หลายอย่างจะยังคงต้องการ Classic Mac OS อยู่ และ Classic Environment ใน Mac OS X ไม่สามารถ ทดแทนได้ก็ตาม ... แต่ว่าทาง Apple เห็นว่าสำหรับคนกลุ่มหนึ่งนั้น เวลาที่จะต้องบอกลา Mac OS 9 ก็ได้มาถึงจริงๆ แล้ว และคนกลุ่มนี้ก็คือ นักพัฒนาซอฟท์แวร์ นั่นเอง (อีกแล้ว) ในงาน Worldwide Developers Conference (WWDC; ซึ่งเป็นงานสัมมนาสำหรับนักพัฒนาซอฟท์แวร์) ประจำปี 2002 ซึ่ง Apple ได้วางแผนที่จะแสดง Mac OS X รุ่นใหม่ที่กำลังอยู่ในระหว่างการพัฒนาภายใต้ชื่อรหัส Jaguar นั้น Steve Jobs (ซึ่ง ในขณะนั้น ได้ รับ ตำแหน่ง CEO อย่างเต็มตัว) ได้ จัด พิธีศพ ให้ กับ Mac OS 9 ให้ เหล่า นัก พัฒนา ซอฟท์แวร์ได้เห็นกันด้วย ว่านี่แหละ ถึงเวลาแล้วที่เหล่านักพัฒนาจะบอกลา Classic Mac OS และเดินหน้าเต็มตัวใน การสร้างโปรแกรมสำหรับ Mac OS X และงาน WWDC นี้ เองที่ ถือ เป็น จุดเริ่มต้น ของยุค OS X อย่างแท้จริง เมื่อ Apple ได้นำเอา Jaguar ออกมาให้ทุกคนดูเป็นครั้งแรก

ภาพ: Steve Jobs ระหว่างพิธีศพของ Mac OS 9 ในงาน WWDC 2002 ที่มา: http://homepage.mac.com/epal/.Pictures/funeral.jpg ที่มา: http://homepage.mac.com/epal/.Pictures/headstone.jpg

ภาพ: Mac OS 9 ในโลงศพ ที่มา: http://www.watch.impress.co.jp/pc/docs/2002/0507/wwdc2.htm หลังจากที่ WWDC 2002 ได้จบลงไปไม่นาน ในวันที่ 24 สิงหาคม 2002 Apple ก็ได้ปล่อย Mac OS X รุ่น 10.2 ที่ใช้ชื่อว่า Jaguar ออกมาสู่ตลอด ซึ่ง Jaguar ถือว่าเป็นรุ่นที่พัฒนาไปจาก Puma อย่างมากในเชิงเทคนิค ซึ่งได้เพิ่มความ สามารถและเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างมากมาย ในระดับ infrastructure ซึ่งหลายตัวก็ยังคงเป็นหัวใจสำคัญของ Mac OS X มาจนถึงทุกวันนี้ เทคโนโลยี ใหม่ๆ ที่ ว่า นั้น ก็ เช่น Rendezvous ที่ เป็น เทคโนโลยี auto-configuration networking ที่ ใช้ ระบบ ZeroConf (zero-configuration) นอกจากนี้ ยัง ได้ เพิ่ม ระบบในการวาดหน้าจอใหม่ ซึ่ง เป็น วิวัฒนาการของระบบ Quartz ใน ชื่อ Quartz Extreme ซึ่ง ย้ายการประมวลผลสำหรับ การวาดหน้า สิ่ง ต่างๆ บนหน้าจอไปอยู่ บน Graphics Processing Unit (GPU) สำหรับเครื่องที่มีหน่วยความจำของระบบการแสดงผลมากกว่า 16MB นอกจากนี้ก็มีระบบควบคุม LCDantialiasing สำหรับเรื่องระบบ video และ audio นั้น ก็มีการเพิ่มการซัพพอร์ท MPEG4 และ AAC ซึ่งเป็นมาตรฐาน ภาพและเสียงใหม่ล่าสุดในขณะนั้น

19

ภาพ: Mac OS X 10.2 Jaguar ที่มา: http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/macos/macosx102/macosx102 นอกจากนี้ Jaguar ยังได้มาพร้อมกับโปรแกรมสำหรับผู้ใช้ทั่วไปมากมายหลายตัว ที่สำคัญก็คือ iChat ซึ่งเป็นโปรแกรม instant messaging ที่สามารถใช้กับ AOL Instant Messenger โปรแกรม iPhoto ซึ่งเป็นโปรแกรมตัวที่ 4 ชุด iLife (ตัว ที่ 3 คือ iDVD มากับ Puma) สำหรับจัดการกับอัลบั้มรูปดิจิตอลและมีความสามารในการแต่งรูปเบื้องต้น มี Safari web browser ที่ใช้ KHTML เป็นเทคโนโลยีที่ใช้ในการวาด(หรือเรนเดอร์; Render) เว็บเพจ ฟีเจอร์หลายตัวในส่วนการติดต่อกับผู้ใช้ก็มีหลายอย่างที่ได้รับการปรับปรุงและเพิ่มเติม โดยเฉพาะใน Finder นั้น มี หลายฟีเจอร์ที่คนเคยใช้ Classic Mac OS หลายคนคิดถึงและเรียกร้อง ก็ได้กลับมาอีกครั้ง และนี่เป็นครั้งแรกที่ Finder มีความสามารถที่จะทำงานได้ตรงตามชื่อของมัน เนื่องจากผู้ใช้สามารถใช้ฟีเจอร์ search (หรือว่า ค้นหา) จาก Finder ได้ โดยตรง (ก่อนหน้านี้ต้องใช้ Sherlock) และได้เพิ่มความสามารถในส่วนของ Universal Access เข้าไปหลายส่วนด้วยกัน ในเรื่องของเน็ทเวิร์กก็มีหลายต่อหลายอย่างที่เพิ่มเข้ามาใน Jaguar เช่นการติดตั้งให้เครื่องที่มี AirPort สามารถทำตัว เป็น wireless base station ได้ด้วย (ซึ่งนี่เป็นฟีเจอร์ที่เคยมีใน Classic Mac OS แต่ว่าขาดหายไปใน OS X รุ่นแรกๆ) เรื่องการแชร์ไฟล์ก็สามารถทำได้โดยการใช้ WebDAV สำหรับแชร์ไฟล์บนเว็บและ SMB-server สำหรับการแชร์ไฟล์กับ Windows และได้เริ่มมีการใช้ IPv6 ที่เป็นมาตรฐานใหม่ของ internet protocol ด้วย ส่วนเรื่อง security นั้นก็มีหลาย อย่างเพิ่มเติมมาเช่นกัน เช่น secure remote login ผ่าน SSH, SSL และ TLS และมี VPN-PPTP based remote client access และใน Jaguar นี้เอง (แต่ว่าเป็นช่วงอัพเดทหลังๆ) ที่ีทำให้อดีตผู้ใช้ UNIX หลายคนเริ่มเฮกันดังๆ เพราะว่า Apple ได้ออกระบบ X11 รุ่นทดลอง (Beta) สำหรับ Mac OS X ซึ่ง X11 นี้เป็นส่วนที่ทำหน้าที่แสดงผลของระบบการติดต่อกับ ผู้ใช้แบบกราฟฟิคใน UNIX และ GNU/Linux นั่นเอง ทำให้โปรแกรมที่มี GUI หลายตัวที่ถูกสร้างขึ้นมาสำหรับ UNIX หรือ GNU/Linux เช่น OpenOffice.org (และรุ่นภาษาไทย, OpenOffice.org TLE) นั้น สามารถทำงานบน Mac OS X ได้ โดยที่ก่อนหน้า Jaguar นั้นต้องใช้ X11 จากผู้ผลิตโปรแกรมรายอื่น เช่น XDarwin และ OroborOSX

ภาพ: OpenOffice.org บน Apple X11 ใน Jaguar 20

ที่มา: http://gallery.antiflux.org/albun91/x11screen2 จากฟีเจอร์ใหม่ๆ ทั้งหมดที่เข้ามาใน Jaguar นี้ ทำให้เรารู้สึกได้ว่ามันเป็น release ที่สำคัญและค่อนข้างยิ่งใหญ่ทีเดียว แต่ว่าทาง Apple ก็ได้พัฒนา Mac OS X ต่อไปอย่างไม่มีทีท่าว่าจะแตะเบรคเพื่อชะลอความเร็วแต่อย่างใด เพราะว่าใน WWDC ปี 2003 Apple ก็ได้นำเอาทายาทของ Jaguar ออกมาให้ทุกคนได้เห็นกัน นั่นก็คือ Panther ผู้ซึ่งจะมาเป็น Mac OS X 10.3 (รุ่นปัจจุบัน)

10

Finding the Future, and the Future is Now

เพียงแค่ ประมาณหนึ่ง ปี เท่านั้น หลังจากที่ Jaguar ได้ ออกมาสู่ ตลอด Apple ก็ได้ ออกรุ่น ต่อไปของ Mac OS X ในวันที่ 24 ตุลาคม 2003 หลังจากที่ ได้ แสดงให้ นัก พัฒนาซอฟท์แวร์ ดูก่อนหน้า นั้น ไม่ นานใน WWDC และได้ รับ การ ต้อนรับอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง โดยหลายคนดีดนิ้วชมเปาะว่า นี่คือระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุดตัวหนึ่งตั้งแต่มีการออกระบบปฏิบัติการ มาทั้งหมดในโลกของคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลกันเลยทีเดียว โดย Panther ได้ใช้ infrastructure ทั้งหลายแหล่ ที่ Apple ได้ วางเอาไว้ใน OS X รุ่นก่อนๆ มาสร้างฟีเจอร์ต่างๆ สำหรับผู้ใช้ทั่วไปมากมาย และทำให้หลายต่อหลายเริ่มเข้าใจประโยชน์ ของ infrastructure ที่พวกเขาอาจจะไม่เคยมองเห็นเหล่านั้น

ภาพ: Mac OS X 10.3 Panther ที่มา: http://www.apple.com/macosx/ ระหว่าง WWDC 2003 นั้น ทาง Apple ได้ประกาศว่า Panther จะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ กว่า 100 ฟีเจอร์ แต่ว่าพอเอาเข้าจริงๆ กลับมีถึงกว่า 150 ซึ่งมีฟีเจอร์สำคัญๆ เช่น • Finder ตัว ใหม่ ที่ ได้ รับ การเพิ่ม ระบบ real-time search (คล้า ยๆ กับ iTunes) ที่ มี ความเร็ว สูง และ sidebar ที่ สามารถปรับแต่งได้ตามความต้องการ โดยผู้ใช้สามารถลากเอา folder ที่ใช้บ่อยๆ มาวางไว้ใน sidebar ได้เพื่อการ เข้าถึงอย่างรวดเร็ว (คล้ายๆ กับ playlist ของ iTunes) • Fast User Switching สำหรับเครื่องแมคฯ ที่ใช้กันหลายคน คล้ายกับ Windows XP (ซึ่ง Jobs ได้ยอมรับเรื่องนี้ ในงาน WWDC) • Fax ซัพพอร์ทในตัว ในระบบ print ซึ่ง Jobs ได้กล่าวระหว่าง WWDC ว่า "คิดดูดีๆ สิ fax มันก็เหมือนกับ remote printing น่ะแหละ" • ผู้ใช้ UNIX ได้เฮกันเต็มๆ เพราะว่าคราวนี้ Panther มี X11 ตัวเต็มมาให้เลย • TextEdit ซึ่งเป็น text editor/word processor แบบง่ายๆ และความสามารถพอตัว (ผมเขียนบทความนี้ใน TextEdit) ก็ได้รับการพัฒนาให้ซัพพอร์ทไฟล์จาก Microsoft Word (ไฟล์ *.doc) • เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ Windows หลายต่อหลายอย่าง • ระบบรักษาความปลอดภัย FileVault ซึ่งทำการเข้ารหัส Home folder ของผู้ใช้ เพื่อไม่ให้คนอื่นสามารถอ่านข้อมูล ที่สำคัญได้ 21

• iChat AV ที่เพิ่มระบบ Audio/Video conference • Expose ซึ่งเรียกเสียงฮือฮาอย่างมาก โดย Expose เป็นระบบที่ถูกสร้างมาเพื่อช่วยผู้ใช้ในการค้นหาหน้าต่างของ โปรแกรมหนึ่งๆ ในหน้าจอ เมื่อกดปุ่มเพียงปุ่มเดียว หน้าต่างของแต่ละโปรแกรมทุกหน้าต่าง จะถูกย่อขนาดให้เล็ก ลงอย่างเหมาะสม (คือให้เห็นทุกหน้าต่าง) และยังคงทำงานอยู่ ทำให้ผู้ใช้สามารถเลือกหน้าต่างที่ตัวเองต้องการได้ นอกจากนี้ยังสามารถเลือกที่จะแสดงทั้ง desktop ว่างๆ และแสดงหน้าต่างจากแอพพลิเคชั่นปัจจุบันเท่านั้นได้อีก ด้วย

ภาพ: Expose แสดงหน้าต่างของโปรแกรมทั้งหมดในขนาด thumbnail ที่มา: http://www.oliverobrien.co.uk/ weblog/images/expose.jpg • Preview ได้รับการเพิ่มความเร็วในการเรนเดอร์ PDF อย่างสูงมาก และการ search ด้วย รวมทั้งสามารถอ่านไฟล์ ได้มากขึ้นด้วย โดยเฉพาะ PostScript (*.ps) • File/Folder labels • Pixlet ซึ่งเป็น high-definition video codec • Mail ตัวใหม่ที่มีฟีเจอร์ organize by thread ที่จัดการเก็บเมล์ที่มาจาก thread เดียวกันไว้ด้วยกัน และใช้ WebKit จาก Safari ในการเรนเดอร์ HTML mail • FontBook ซึ่งเป็นแอพพลิเคชั่นสำหรับการจัดการฟอนต์ • เพิ่มความสามารถในการทำงานร่วมกับ iDisk และ .Mac และที่ สำคัญ มาก ก็ คือ รุ่น ใหม่ ล่าสุด ของสิ่ง ที่ ทำให้ NeXTSTEP/OPENSTEP เป็น ที่ โปรดปรานของเหล่า นัก พัฒนา ซอฟท์แวร์ นั่นก็คือ Developer Tools ที่ชื่อว่า Xcode นั่นเอง โดย Xcode นี้จะมาด้วยกับ Panther ทุกกล่อง และเครื่อง แมคฯ ใหม่ที่ลง Panther ทุกเครื่อง และยังคงเอกลักษณ์ที่มีมาแต่ครั้ง NeXT ก็คือ ประสิทธิภาพ ความยืดหยุ่น ความ ง่ายในการใช้งาน และความสนุกในการเล่นด้วย ไว้อย่างครบถ้วน โดยในรุ่น Xcode นี้ยังได้เพิ่มความสามารถใหม่ๆ เข้า ไปมากมาย เช่น Fast Build, Fix and Continue, Zero Link, Predictive Compilation, Distributed Build เพื่อช่วย เพิ่มประสิทธิภาพ ลดเวลาและความวุ่นวายในการเขียนและแก้โปรแกรม ตลอดจนได้เพิ่มระบบการติดกับผู้ใช้ที่มีลักษณะ คล้าย iTunes เข้ามาอีกด้วย โดยเบื้องหลังการทำงานนั้น Xcode ใช้ GCC (GNU Compiler Collection) 3.3 ซึ่งเป็น คอมไพเลอร์ซอฟท์แวร์เสรี ที่มีประสิทธิภาพสูง และยังสามารถใช้กับภาษาที่ใช้ในการพัฒนาโปรแกรมได้หลายภาษาอีก ด้วย

22

ภาพ: Xcode และ Interface บน Panther (Mac OS X 10.3.6) ที่มา: จับภาพมาจากหน้าจอของผู้เขียนเอง เนื่องมาจาก Cocoa ซึ่งเป็นลูกหลานของ OpenStep นั้น มีความสามารถสูงและยืดหยุ่นต่อการสร้างแอพพลิเคชั่นอ ยู่ แล้ว การพัฒนาของตัว ชุด เครื่องมือ มาเป็น Xcode นี้ ได้ ทำให้การพัฒนาโปรแกรมบน Mac OS X เป็น ไปอย่าางมี ประสิทธิภาพขึ้น มาก และใช้เวลาน้อยลงมาก ซึ่ง นี่เองเป็น กุญแจสำคัญ ให้ มี โปรแกรมที่ มี คุณภาพออกมาบน Mac OS X มากขึ้น เรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว และนอกจากนี้ ยัง ทำให้ Mac OS X กลายเป็น ระบบที่ เหมาะสมมากสำหรับ ใช้ ในการ พัฒนาแม้แต่ซอฟท์แวร์สำหรับระบบอื่นๆ เช่น Windows ด้วย (เช่นเกมบางตัว แม้ว่าจะรันบน Windows แต่ว่าตัว Level editor และ Level ต่างๆ นั้นถูกสร้างใน Xcode แล้วค่อยเอา level ต่างๆ มั้ยไปใช้กับตัวเกมซึ่งเขียนใน Windows อีกที เป็นต้น) นับ ตั้งแต่ ประมาณช่วงต้น ยุค ’90s ที่ Apple ได้ พยายามหาระบบปฏิบัติการแห่ง อนาคตมาโดยตลอด จนกระทั่ง มา ลงเอยกับ NeXT และได้ฝ่าฟันอุปสรรคหลายต่อหลายอย่างในยุคโปรเจ็ค Rhapsody และความพยายามที่จะทำให้เกิดการ เปลี่ยนแปลงในระบบปฏิบัติการหลักที่เคยทำงานบนแมคฯ มาตลอดในยุคปลาย Classic Mac OS และต้น Mac OS X .. และแล้วในงาน Macworld San Francisco ปี 2004 Steve Jobs ก็ได้ขึ้นเวลาอีกครั้ง และประกาศอย่างเต็มปากเต็มคำ ว่า "The transition is over. We made it". Apple ได้พยายามตามล่าอนาคต ... และอนาคตที่ว่า ก็อยู่กับพวกเราทุกคนที่นี่ เวลานี้แล้ว!

11

The Road Ahead: What’s NeXT?

และแม้ว่าในปัจจุบัน Apple จะมีระบบปฏิบัติการที่หลายคนได้ให้การยอมรับ ว่าเป็นระบบปฏิบัติการที่ดีที่สุด ล้ำสมัย ที่สุดแล้วก็ตาม แต่ว่าด้วยจรรยาบรรณของนักคิด นักพัฒนา ที่ได้ชื่อว่ามีความคิดสร้างสรรค์สูงและได้สร้างผลงานใหม่ๆ ออกมาอย่างสม่ำเสมอ จึงทำให้ Apple ไม่อาจหยุดอยู่กับที่ได้ และในงาน WWDC 2004 Steve Jobs ก็ได้ออกมาประกาศ กับบรรดานักพัฒนาซอฟท์แวร์ว่า "For you, Panther is over!" Panther ได้จบลงแล้ว สำหรับพวกคุณทุกคน เพราะว่า Jobs กำลังจะเอา Mac OS X รุ่นใหม่ออกมาโชว์ และรุ่นนี้ มีชื่อว่า Tiger หรือว่าเมื่อออกแล้วจะเป็น Mac OS X 10.4 และมีกำหนดการที่จะออกในช่วงครึ่งปีแรกของ 2005 หรือ หลังจาก Panther ออกไปประมาณปีครึ่ง ซึ่งถือว่าเป็นช่วงเวลาที่นานพอสมควร เทียบกับการออก Mac OS X รุ่นใหม่ๆ ในช่วงเวลาที่ผ่านมา

23

ภาพ: Mac OS X Tiger Developer Preview แสดงฟีเจอร์ใหม่เช่น Spotlight, Safari RSS, iChat และ Smart folder ที่มา: http://www.eweek.com/slideshow/0,2394,l=&s=25986&a=130460,00.asp ทั้งนี้ก็เนื่องจากว่า Tiger จะมีอะไรใหม่ๆ เพิ่มเข้าไปมากเลยทีเดียว จะเป็น Mac OS ที่มีการเปลี่ยนแปลงมากที่สุด ตั้งแต่เรื่องของ infrastructure ไปจนถึงการติดต่อกับผู้ใช้ โดย Jobs บอกว่าจะมีฟีเจอร์ใหม่ๆ กว่า 150 ฟีเจอร์ และไม่มี ใครรู้ว่าเมื่อออกมาจริงๆ จะมีเท่าไหร่กันแน่ สำหรับสิ่งที่เปลี่ยนแปลงไปนั้น มีหลักๆ ดังนี้ • สถาปัตยกรรม 64 bit ที่ยังคงความเข้ากันได้กับแอพพลิเคชั่น 32 bit • Spotlight ซึ่งเป็นระบบการค้นหาข้อมูล จากทั้ง text และ metadata คล้ายๆ กับ search ใน iTunes แต่ว่าได้รับ การสร้างในระดับ system-wide หรือว่าสามารถใช้ได้ทั้งระบบ รวมถึงข้อความใน PDF ไฟล์ด้วย ซึ่ง Spotlight นี้ มีการทำงานที่รวดเร็วมากเมื่อเทียบกับสิ่งที่มันทำได้ • Finder ที่ได้รับการขยายความสามารถด้วย Spotlight และเพิ่ม smart folder เช่นเดียว iTunes เพื่อใช้จัดหมวดหมู่ ไฟล์ที่เป็นผลจากการ search ไว้ด้วยกัน • iChat AV รุ่นใหม่ ที่รองรับ audio chat ได้ถึง 10 คนในห้องเดียวกัน และ video chat ได้ถึง 4 คน (และมีระบบ การติดต่อกับผู้ใช้สำหรับ video chat ที่ดีมาก) • RSS reader ที่เป็นส่วนหนึ่งของ Safari • Dashboard ซึ่งเป็น infrastructure ตัวใหม่สำหรับการพัฒนาโปรแกรมช่วยการทำงานเล็กๆ (เรียกว่า widget) ที่ เรามักจะเรียกใช้ เสมอๆ แต่ว่า ไม่ ต้องการที่ จะเปิด มัน ไว้ บน desktop ตลอดเวลา โดย Dashboard นี้ ใช้ HTML, CSS, และ JavaScript ในการทำงาน และใช้ Expose ในการเรียก widget เหล่านี้ขึ้นมาทำงาน (หมายเหตุ: มัก เป็นที่เข้าใจกันผิดว่า Dashboard คือสิ่งที่ Apple ลอกเลียนมาจาก Konfabulator ซึ่งจริงๆ แล้วไม่ได้เป็นเช่นนั้น เพราะว่า concept ของ widget เล็กๆ เหล่านี้ไม่ใช่เรื่องใหม่แต่อย่างใด และระบบการทำงานของ Dashboard และ Konfabulator นั้นต่างกันค่อนข้างมาก เพียงแต่ว่าหน้าตาออกมาคล้ายกันเท่านั้น

24

ภาพ: Dashboard, "Expose for Widgets" ที่มา: http://www.eweek.com/slideshow/0,2394,l=&s=25986&a=130460,00.asp • Automator ซึ่งเป็น visual-scripting สำหรับการสร้าง workflow อัตโนมัติ ซึ่งจนถึงทุกวันนี้เราต้องใช้ภาษา AppleScript เขียน workflow เหล่านั้นเอง และ Automator น่าจะเปลี่ยนแปลงสิ่งนี้มากพอสมควร และจะทำให้ผู้ใช้ แมคฯ ต้องทำอะไรซ้ำซาก จำเจ น้อยลงไปมากทีเดียว • H.264 codec ใน Quicktime ซึ่ง codec ตัวนี้กำลังจะเป็นมาตรฐานตัวใหม่ของการสร้างภาพยนต์ และที่ ขาดไม่ ได้ ก็ คือ ฟีเจอร์ใหม่ๆ ที่ จะช่วยสำหรับ การสร้างและพัฒนาโปรแกรม โดยสำหรับ Tiger นี้ ได้ เพิ่ม หลาย สิ่งหลายอย่างเข้ามามากมาย จนหลายต่อหลายคนดีดนิ้วชม ว่านี่จะเป็น Mac OS ที่ยิ่งใหญ่ที่สุดที่เคยออกมาสำหรับนัก พัฒนาซอฟท์แวร์ เพราะว่า นอกจากจะมี รุ่น ใหม่ ล่าสุด ของชุด เครื่องมือ Xcode นั่น ก็ คือ รุ่น 2.0 แล้ว การเปลี่ยนแปลง หลายต่อหลายอย่างในระดับ infrastructure ทำให้นักพัฒนาได้มี SDK (Software Development Kit) และ API (Application Programming Interface) ให้ใช้ในการสร้างแอพพลิเคชั่นเพิ่มขึ้นอย่างมากมาย ตัวที่เด่นๆ ก็คือ Core Image, Core Video และ Core Data โดยที่ Core Image นั้นทำหน้าที่ประมวลผลทางกราฟฟิคอย่างรวดเร็วบน GPU และมี filter และ effect ต่างๆ ให้ใช้อย่างมากมาย และใน realtime สำหรับ Core Video นั้นก็เช่นเดียวกัน แต่ว่าจะทำงานกับ video content แทนที่จะเป็น image ในขณะที่ Core Data ก็คือสิ่งที่เป็นผู้ปิดทองหลังพระตัวหนึ่ง ที่ทำให้ Spotlight สามารถทำงานได้ Tiger นี้ ผมได้เขียนเคยเขียนบทความจากงาน WWDC 2004 ไว้อย่างค่อนข้างละเอียด(มาก) และบทความที่ว่านั้น อยู่ที่ URL ต่อไปนี้ http://www.macdd.com/f article/article 008 02.html ณ เวลาที่เขียนบรรทัดนี้ ยังคงเหลืออีกหลายเดือนเลยทีเดียว กว่าที่ Tiger จะออกมาอาละวาด และถึงเวลานั้น การ ใช้แมคฯ ของเราคงจะเปลี่ยนไปอีกมากพอสมควร เพราะว่าฟีเจอร์ใหม่ๆ จาก Tiger ซึ่งเป็น Mac OS X ตัวแรกที่ออก มาหลังจาก "การปฏิวัติ Mac OS" ได้เสร็จสิ้นลงอย่างสมบูรณ์ และแม้ว่า Tiger จะเป็นระบบที่มีฟีเจอร์ใหม่เยอะแค่ไหน สามารถทำอะไรได้มากแค่ไหน มีประสิทธิภาพมากแค่ไหน .... Apple ภายใต้การนำของ Steve Jobs คงจะไม่มีทางหยุด อยู่แค่นี้เป็นแน่ แต่ว่าทุกวันนี้ยังไม่มีใครรู้ ว่าหลังจาก Tiger ไปแล้ว OS X จะมีการเปลี่ยนแปลงไปทางไหนอีก ทำสิ่งที่คนทั่วไปคาดไม่ถึง แต่ว่าเมื่อออกมาแล้วได้เปลี่ยนแปลงชีวิตดิจิทัลของคนเหล่านั้น (ซึ่งก็คือพวกเรา) ไปอย่าง มากมาย .... นี่แหละคือ Apple!

Appendix: Mac OS X Development Timeline

25

ภาพ: ภาพแสดงเส้นทางการพัฒนา OS X ที่มา: http://www.objectfarm.org/Activities/Publications/TheMerger/ หมายเหตุ: เนื่องจาก diagram นี้เป็น diagram เก่า ก่อนสมัยที่ Mac OS X จะออกมาอย่างเป็นทางจริงๆ ดังนั้น จึงยังไม่ทราบกันว่า Mac OS 9 จะได้รับการพัฒนาต่อไปถึงไหน แต่ว่าอย่างไรก็ตาม แผนภาพนี้ได้แสดงให้เห็นชัดเจนว่า การพัฒนา Mac OS X ตั้งแต่ยังเป็นโปรเจ็ค Rhapsody นั้น ได้เริ่มก่อนที่จะมี Mac OS 8 เสียอีก และ Mac OS X Server ตลอดจน Mac OS X Developer Preview ตัวแรกนั้น ได้ออกมาก่อน Mac OS 9 พอสมควร

References and Further Reading • Official Mac OS X Site: http://www.apple.com/macosx/ • Mac OS X Tiger Sneak Preview: http://www.apple.com/macosx/tiger/ • NeXTSTEP to Mac OS X Slashdot thread: http://apple.slashdot.org/article.pl?sid=04/11/12/2214226&tid=189&tid=179&tid=130&tid=94&tid=1&tid=3 • Intro to NeXTSTEP: http://www120.pair.com/mccarthy/nextstep/intro.htmld/ • Mac OS X: http://en.wikipedia.org/wiki/Mac OS X • Mac OS X History: http://en.wikipedia.org/wiki/Mac OS X history • Mac OS History: http://en.wikipedia.org/wiki/Mac OS history • OpenStep: http://en.wikipedia.org/wiki/OpenStep • History of Apple’s Operating Systems: http://www.kernelthread.com/mac/oshistory/ • A Brief History of Mac OS X: http://www.kernelthread.com/mac/osx/history.html • Mac OS Timeline: http://www.macos.utah.edu/Documentation/macosx/history/mac osx history.html • Mac OS X History: http://www.macos.utah.edu/Documentation/MacOSXClasses/macosxone/macosxhist.html • NeXT Information Archive: http://next.z80.org/ • The Merger of Apple and NeXT: http://www.objectfarm.org/Activities/Publications/TheMerger/ • GUI Guidebook (Mac OS): http://www.aci.com.pl/mwichary/guidebook/interfaces/macos • Taligent: http://en.wikipedia.org/wiki/Taligent • GNUstep: http://www.gnustep.org และอื่นๆ อีกมาก (เช่น Ars Technica ซึ่งมี review ของ Developer Preview มากมาย) ซึ่งทางตัวผู้เขียนเองขออภัยที่ไม่ สามารถจะใส่ reference ทั้งหมดได้ แต่ว่าอย่างไรก็ตาม website ต่างๆ ข้างบนนั้น โดยมากมักจะมี link ไปหา website อื่นๆ ที่เกี่ยวข้องหลาย website ด้วยกัน

26

Related Documents


More Documents from "AMIT RADHA KRISHNA NIGAM"

May 2020 11
June 2020 6
June 2020 5
May 2020 4