Food Fight

  • Uploaded by: Nattapol Kengkuntod
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Food Fight as PDF for free.

More details

  • Words: 454
  • Pages: 4
สู้ยิบตากับอาหารที่เราทาน โดย แคเธอรีน แซกเซลบี้

Highlight

อาหารว่างบุกแล้ว … ข้าวกรอบ (rice crackers) เป็นอาหารว่างยอดนิยม ในเด็ก แต่มีความจาเป็นที่จะต้องจับตาเฝ้าระวังด้วย การสารวจระดับชาติครั้งใหม่ว่าด้วยเรื่องการทานอาหารของชาวออสเตรเลีย ยืนยันว่า เด็ก ๆ ที่มาจากครอบครัวชั้นล่าง มีแนวโน้มที่จะทานอาหารขยะและมีแนวโน้มที่จะมีโรคอ้วนมากกว่า กลุ่มอื่น ผลสารวจยังแสดงให้เห็นด้วยว่า เด็กทุกคนไม่ว่า รวยหรือจน ผอมหรืออ้วน ต่างก็ บริโภคน้าตาลและเกลือมากกว่าที่ควรจะเป็น ขณะเดียวกัน วัยรุ่น ก็ไม่ค่อยที่จะบริโภคผักและ ผลไม้สดเลย ในฐานะที่เคยทางานอาสาสมัครในโรงอาหาร ในโรงเรียนเอกชนสาหรับเด็กผู้หญิงขนาดใหญ่ แถว ๆ ฝั่งด้านเหนือของซิดนีย์ เกือบ ๆ แปดปี ฉันได้เห็นความเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ในอาหารที่ ถูกเสิร์ฟให้เด็ก ร้านขนมหวานที่เคยมีในคนรุ่นฉัน เช่น ขนมพาย มันฝรั่งทอด ขนมสอดไส้และลูกกวาดใส่ถุง กระดาษไม่มีแล้ว ปัจจุบันเราเสิร์ฟพายมังสวิรัติ ขนมปังแยมโรลห่อเสร็จสรรพ ก๋วยเตี๋ยว สลัด พาสต้าอบ ของคบเคี้ยวที่ทาจากถั่วเหลือง และ ผลไม้แห้งอัดแท่ง แทน สิ่งเหล่านี้ ได้รับการเปลี่ยนโฉมใหม่ให้เป็น “โรงอาหารเพื่อสุขภาพ ” (Health canteen) อาหาร ถูกออกแบบเพื่อจัดการกับปัญหาโรคอ้วนในเด็ก และไลฟ์สไตล์ที่ไม่กระฉับกระเฉงกระตือรือร้น ประเด็นพวกนี้สามารถจัดให้เห็นฉากสาหรับโรคเบาหวานประเภทที่ 2 ความดันโลหิตสูง และ ปัญหาต่าง ๆ เกี่ยวกับหัวใจในช่วงต่อไปของชีวิต กระนั้น นักเรียนชั้นอนุบาลจนถึงอายุ 12 ปี ไม่มีเด็กผู้หญิงคนใดเลยที่โรงเรียนแห่งนี้ดูแล้ว มี น้าหนักเกิน ยังไม่ต้องพูดถึงเรื่องภาวะโรคอ้วน ครูต้องเดินทางไปทางภาคตะวันตกถึงจะได้เห็น หลักฐานความแตกต่างทางสังคมและเศรษฐกิจ ในการทานอาหารขยะและโรคอ้วนในเด็ก

“มันเป็นการแบ่งแยกระหว่าง คนรวยและคนจน ” ยืนยันโดย ศาสตราจารย์ ทิโมธี โอลดส์ แห่ง มหาวิทยาลัยเซาท์ออสเตรเลีย (University of South Australia's Professor Timothy Olds) ศาสตราจารย์ เป็น ผู้ประสานงานการทาวิจัย ในการสารวจระดับชาติว่าด้วยเรื่องโภชนาการใน เด็กและการออกกาลังกาย ซึ่งเป็นเอกสารที่เผยแพร่ในปี 2007

“เด็กที่มีฐานะร่ารวยมีการเข้าถึงค่าใช้จ่ายเพื่ออาหารที่ดีต่อสุขภาพที่ดีกว่า และพ่อแม่ ผู้ปกครองก็ควบคุม การรับประทานของพวกเด็ก ๆ มากกว่า ” “อย่างไรก็ตาม เด็กที่ยากจน ทาน ไส้กรอก เนื้อบด และอาหารขยะ รวมถึง น้าอัดลมและมันฝรั่งทอดมากกว่า และทานผัก ผลไม้ รวมถึงธัญพืชน้อยกว่าเด็กรวย” ดังนั้น การทานอาหารโภชนาการสาหรับเด็กรวยและเด็กจนอาจมีความแตกต่างกัน หากแต่มิติ ด้านสุขภาพในระยะยาวจะแตกต่างกันอย่างมีนัยสาคัญหรือไม่ ? ดร. รีเบคก้า กอลลี่ย์ นักวิชาการด้านโภชนาการในมนุษย์ (Human nutrition research fellow at CSIRO, Dr Rebecca Golley) ผู้ซึ่งทางานอยู่ในทีมที่ทาสารวจด้วย กล่าวว่า การทานอาหารของเด็กชาว ออสเตรเลียส่วนใหญ่ ไม่ว่าเด็กเหล่านั้นจะรวยหรือจน พวกเขาต่างก็ต้องการความช่วยเหลือ การสารวจครั้งนี้ มีเด็ก ๆ มากกว่า 4, 400 คน อายุตั้งแต่ 2 ถึง 16 ปีเข้าร่วม มีเพียงเด็กจานวน ครึ่งหนึ่งของเด็กอายุ 9 ถึง 13 ปี ทานผลไม้สดตามที่ได้รับการแนะนาหนึ่งถึงสามครั้งต่อวัน ขณะที่ ร้อยละ 3 ทานผักที่ได้รับการแนะนาให้ทานสองถึงสี่ครั้งในหนึ่งวัน เมื่อเด็ก ๆ ยิ่งโตขึ้น ผักผลไม้สด และผลิตภัณฑ์ที่ทามาจากนม ถูกแทนที่ด้วย อาหาร กรุบ กรอบและน้าอัดลมมากขึ้น การทานผลไม้ที่ร้อยละ 61 ของเด็กอายุ 4 – 8 ขวบถือว่าเพียงพอ เมื่อเปรียบเทียบกับร้อยละ 1 ของเด็กอายุ 14 – 16 ปี สาหรับการทานผักเด็กอายุ 4-8 ขวบ ตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 22 ที่ทานผัก ก็ถือว่าเหมาะสมกับตัวชี้นาแนวทางการทานอาหาร เมื่อ เปรียบเทียบกับเด็กอายุ 14-16 ปีที่ตัวเลขอยู่ที่ร้อยละ 5 ดร. รีเบคก้า กล่าวว่า “โชคร้ายที่ ผลไม้ ผัก และผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากนมกาลังถูกแทนที่โดย 1

อาหารที่มีกิโลจูลส์สูง ซึ่งเต็มไปด้วยด้วยไขมันอิ่มตัว และเกลือ“

น้าตาลและอาหารที่มีน้าตาลสูงก่อให้เกิด การทานน้าตาลมวลรวมกิโลจูลส์ทั้งหมดที่ร้อยละ 24 ซึ่งจริง ๆ แล้วไม่ควรจะทานเกินร้อยละ 20 เด็กที่ร่วมทาการสารวจทั้งหมดทานเกลือมากเกินไป กระนั้นก็ตาม การหาอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่เด็กต้องการจะทานนั้นเป็นเรื่องลาบากเช่นกัน สมาคมโรงอาหารในโรงเรียนเพื่อเด็กสุขภาพดี ( The Healthy Kids School Canteen Association-HKSCA) ได้อนุมัติเห็นชอบผลิตภัณฑ์ 800 ชนิดภายใต้แผน เฮลท์ตี้คิด (Healthy Kids scheme) ซึ่งเป็นกระจกสะท้อนยุทธศาสตร์ของรัฐบาลที่มีชื่อว่า Fresh Tastes @ School Strategy ผลิตภัณฑ์มีการใช้สีเพื่อบอกรหัส กล่าวคือ สีเขียว หมายความว่า “ทานได้ เลย” (Eat up) สีเหลืองอาพัน เตือนให้รู้ว่า “โปรดเลือกอย่างระมัดระวัง ” (Select carefully) และ อาหารที่ได้สีแดง เช่น น้าอัดลม หรือโดนัท ถูกห้ามจาหน่ายและได้รับอนุญาตให้ทานและ ดื่มได้แค่เพียงสองครั้งในหนึ่งภาคการศึกษา เพียงแค่ในงานเลี้ยงเท่านั้น อย่างไรก็ตาม คุณ เจน ดิบบส์ ผู้ให้คาปรึกษาเกี่ยวกับอาหารทางสุขภาพประจา HKSCA (HKSCA dietitian, Jane Dibbs) กล่าวว่า มันยากสาหรับบริษัทขายอาหารที่จะผลิตขนมกรุบ กรอบที่อยู่ในหมวดสีเขียว “ผลไม้ นม โยเกิร์ต ลูกเกต และขนมปังธัญพืช เป็นเรื่องง่าย ๆ” “แต่การหาอาหารทางเลือกที่มี โภชนาการแทน มันฝรั่ง อาหาร แท่ง ผสมประกอบด้วยธัญพืช ถั่วและผลไม้แห้ง หรือ ช็อกโกแลตแท่ง เป็นงานยาก” โรงงานผลิตอาหารได้พัฒนาสินค้าประเภท พาย ไก่บดละเอียด ข้าวผัด และพาสต้า ที่มีไขมัน อิ่มตัว และเกลือน้อยลง พวกเขายังคิดสร้างสรรค์ ด้วยการทาอาหารถุงเล็ก ๆ และไอศกรีม หนึ่งกิโลจูลส์เท่ากับ 1, 000 จูลส์หรือค่าของ แคลลอรีที่ 238.8459 ที่มา http://wiki.answers.com/Q/What_is_a_kilojoule (เรียบเรียงโดยผู้แปล)

1

ขนาดพอทาน ทั้งนี้เพื่อตั้งเป้าหมายที่จะให้อาหารมีพลังงานต่ากว่า 1, 000 กิโลจูลส์ต่อ 100 กรัม อย่างไรก็ตาม แม้ว่าเมื่อบริษัทต่าง ๆ เปลี่ยนรูปแบบผลิตภัณฑ์ของพวกเขาอย่างประสบ ความสาเร็จ บ่อยครั้งที่พวกเขาไม่สามารถขายได้อย่างรวดเร็วและก็วางขายได้ไม่นาน “เรา อนุมัติผลไม้อัดแท่ง 100 เปอร์เซนต์ยี่ห้อ โก แนชเชอรัล ( Go Natural) เมื่อปีที่แล้ว ซึ่งมีไฟ เบอร์สูง ไม่มีน้าตาลมากและรสชาติดีด้วย ” คุณเจนกล่าว “แต่ก็ไม่ได้รับความนิยมวางขายใน ซุปเปอร์มาร์เก็ตและตอนนี้ก็หาซื้อได้ยาก” เกลือเป็นอีกเรื่องที่เป็นปัญหาใหญ่ซ่อนอยู่ ตามความคิดเห็นของคุณ แจ็คกี้ เว็บสเตอร์ ผู้จัดการ โครงการอาวุโส สถาบันจอร์จ เพื่อสุขภาพสากล ( Jacqui Webster, senior project manager with the George Institute for International Health) และเป็นผู้ประสานงานในส่วนของ ประเทศออสเตรเลียขององค์กร ปฏิบัติการระดับโลกว่าด้วยเรื่องเกลือและสุขภาพ (Coordinator of the Australian division of the World Action on Salt and HealthAWASH) ซึ่งเป็นกลุ่มมือโปรที่ทางานโปรโมท การลดบริโภคเกลือในประชากรวงกว้าง “อาหารทุกวันที่เด็ก ๆ ทานเป็นปกติ เช่น ขนมปัง อาหารเช้าที่ทาจากธัญพืช เนื้อสาเร็จรูป เนย แข็ง และอาหารถุงกลับบ้าน เป็นสาเหตุแท้จริงของปัญหา ” คุณแจ็คกี้กล่าว เพียงแค่แซนด์วิช ใส่เนยแข็งและแฮมก็ให้เกลือสามในสี่ส่วนเข้าไปแล้วสาหรับเด็กอายุ 4 ถึง 8 ปีควรได้รับในใน หนึ่งวัน “เราอยากให้พ่อแม่ผู้ปกครองตรวจดูฉลากอาหารและซื้อผลิตภัณฑ์ที่มีค่าโซเดียมต่าที่สุด "” ยกตัวอย่างเช่น ในคอร์นเฟลค ค่าความแตกต่างมันกว้างมาก ยี่ห้อหนึ่งมีเกลือ 200 เท่าต่อ 100 กรัมมากกว่ายี่ห้ออื่น’ เหมือนกับการทานอาหาร การสารวจพบว่าระดับการออกกาลังกายสร้างความแตกต่างอย่าง ชัดเจน ครอบครัวที่ดูแลตรงนี้สามารถหากีฬาเข้ามาเสริมได้ อย่างไรก็ตาม เด็ก ๆ ทุกคนใช้เวลา มากเกินไปในการนั่งหน้าจอ ไม่ว่าจะเป็นจอโทรทัศน์ จอคอมพิวเตอร์ หรือ จอวิดีโอเกม โดย เฉลี่ยแล้ว เด็ก ๆ ใช้เวลาประมาณ 3-4 ชั่วโมงต่อวัน ตามข้อมูลของ ศาสตราจารย์ ทิโมธี โอลดส์ ราว ๆ หนึ่งในสี่ของเด็กที่ได้รับการสารวจมี น้าหนักเกินหรือมีโรคอ้วน “จานวนนี้ไม่ได้เพิ่มขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา และนี่ก็น่าจะเป็นเรื่อง ที่ทาให้ใจชื้น แต่อย่างไรก็ดีมันก็ยังเป็นจานวนที่สูงเกินไป”

แหล่งที่มา http://www.smh.com.au/news/entertainment/good-living/foodfight/2009/07/13/1247337069420.html

Related Documents

Food Fight
June 2020 6
Food Fight Poster
June 2020 1
Fight
October 2019 46
Socialist Fight
June 2020 6
Baby Fight
October 2019 22

More Documents from ""