Lern From Neighbor

  • Uploaded by: Nattapol Kengkuntod
  • 0
  • 0
  • May 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Lern From Neighbor as PDF for free.

More details

  • Words: 2,662
  • Pages: 14
1

เรียนรูจากเพื่อนบานของเรา แรงบันดาลใจขามพรมแดนเพื่อนโยบายสาธารณสุขของชาวดัชช: รายงานวาดวยเรื่องการสูบบุหรี่ การบริโภคแอลกอฮอล ภาวะโรคอวน ซึมเศรา ความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ เยาวชน 1 และการตรวจเช็คสุขภาพ Highlight มันไมใชเหตุการณบังเอิญเลยทีเ่ รือ ่ งความแตกตางทางสุขภาพในดานสังคมและ เศรษฐกิจจะเปนวาระหลักของประเทศตนแบบ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีชื่อเสียง โดงดังในเรือ ่ งสังคมหลายชนชั้น (Multi-class society) ในสวีเดน มันเปนเรื่อง นาตกใจวาความแตกตางทางสุขภาพมีอยูในสังคมที่ไดชอ ื่ วาเทาเทียมกัน (Egalitarian society) ซึ่งก็นําไปสูการปฏบัติเชิงนโยบาย สวนในนิวซีแลนด นั้น สถานการณคอนขางแตกตาง เพราะความไมเทาเทียมสวนใหญเกิดขึ้นกับ กลุมชาติพน ั ธุ ซึ่งผูคนก็ไมสามารถเขาใจไดวาทําไม มากไปกวานั้นนโยบายใน เรื่องความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพก็กําลังถูกปฏิบัติในเวลาเดียวกันกับสิทธิ ทางประวัติศาสตรของชนเผาดั้งเดิมชาวเมารีพึ่งกําลังไดรับการเห็นคุณคา

นโยบายตาง ๆ ดานการสาธารณสุขในประเทศอื่น ๆ สามารถใหความรูและสราง แรงบันดาลใจไดอยางสูง รายงานเรื่อง ‘เรียนรูจากเพื่อนบาน’ นี้ พรรณาวาประเทศตาง ๆ ออกแบบนโยบาย สาธารณสุขอยางไรพรอมกับตั้งเปาในการสรางแรงบันดาลใจและการใหความรูควบคูกัน ไป จากรายงานเรื่อง Public Health Status and Forecasts 2006 (PHSF-2006) สรุป ไดวาประเทศเนเธอรแลนดไมไดเปนประเทศกลุมผูนําในยุโรปทางดานนโยบายสุขภาพ อีกตอไป จากรายงานเดียวกัน ยังสรุปดวยวาชาวดัทชที่มีสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ ที่ต่ํามีระยะของชีวิตที่สั้นอยางนาตกใจ โดยมีจํานวนปของชีวิตที่ถูกใชไปกับการใชชีวิต ที่ มี ผ ลลบต อ สุ ข ภาพ ส ว นใหญ ข องการใช ชี วิ ต ที่ ไ ม ดี ต อ การมี สุ ข ภาพดี ข องชาวดั ท ช สามารถหลีกเลี่ยงไดโดยการปองกันทั้งในระดับบุคคลและระดับการรวมมือกัน อยางไรก็ ดี สิ่งนี้จําเปนตองมีนโยบายทางการสาธารณสุขในระดับชาติ การเปรียบเทียบตัวอยาง ในระดับสากลสามารถชวยใหเรียนรูจากผูอื่นและหาวัตถุประสงคที่สามารถทําได เพื่อ ความทะยานอยากในการดูแลรักษาสุขภาพสาธารณะในระดับชาติ ในรายงาน PHSF2006 ยังไดกลาวถึงนโยบายตาง ๆ ดานสาธารณสุขที่ไดรับการประยุกตใชในประเทศ ตาง ๆ และก็ไดผลสรุปที่วา ประเทศเนเธอรแลนดสามารถเรียนรูไดจากเพื่อนบาน ใน เรื่องของการสรางความรวมมือ การศึกษาวิจัย การประเมินผลนโยบาย และการจัดการ อยางยั่งยืนในเรื่องการสาธารณสุข

1

ทําการแปลสรุปในเรื่องความไมเทาเทียมกันทางดานสุขภาพและเรื่องเยาวชนเทานั้น

2

ผลการศึกษา จากผลการศึกษา ประเทศอื่น ๆ ไดแสดงใหเนเธอรแลนดเห็นวา นโยบายสุขภาพแบบ บูรณาการเปนสิ่งที่จําเปนและเปนเรื่องที่เปนไปได พฤติกรรมที่ไมชวยใหมีสุขภาพดี ความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพและโรคตาง ๆ ไมได เปนเพียงแคสิ่งที่คุนเคยของบุคคล แตยังเปนสิ่งที่ถูกตัดสินจากสภาพที่กวางกวานั้น นั่น คื อ จากสภาพแวดลอ มทางกายภาพและสั งคมที่ ป ระชาชนถื อ กํ า เนิ ด ขึ้ น มา ถู ก เลี้ ย งดู และอยูอาศัย นี่เปนเหตุผลว าทําไมนโยบายสาธารณสุข จําเปนตองการแนวทางแบบ บูรณาการและละเอียดละออ นั่นคือ เปนการผสมผสานเครื่องมือที่ไมไดเพียงแคต้ังเปา อยูที่ระดับบุคคลเทานั้น แตยังพิจารณาสัมพันธภาพที่ซับซอนระหวางพื้นที่ที่แตกตางกัน ทั้งในพื้นที่งานสาธารณสุขและนอกพื้นที่ ในประเทศเนเธอรแลนดแนวทางทํางานแบบ บูรณาการไดพิสูจนแลววามีประสิทธิผลในประเด็นของบุหรี่ ความปลอดภัยบนทองถนน และมีศักยภาพในการทํางานเรื่องแอลกอฮลและภาวะโรคอวน สวนประเทสอื่น ๆ ก็พบ ทางที่ ดี ก ว า และมากกว า ในการประยุ ก ต น โยบายสุ ข ภาพแบบบู ร ณาการเพื่ อ ปรั บ ปรุ ง สุขภาพ และในประเด็นอื่น ๆ โดยการลดความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพ อะไรคือการสาธารณสุข ในประเทศเนเธอรแลนด คําวา ‘สาธารณสุข’ (Public Health) ‘สุขภาพแหงชาติ’ (National Health) ‘การดูแลรักษาสุขภาพเบื้องตน’ (Basic Health Care) ‘การดู สุขภาพสาธารณะ’ (Public Health Care) หรือ ‘การปองกันรวมกัน’ (Collective Prevention) ถูกใชสลับกันไปมา และทั้งหมดตางก็อางถึงเรื่องเดียวกัน ตามความหมาย ของ Winslow (1920) ที่ไดนิยามไว และเปนที่รูจักกันอยางกวางขวางนั้น นอกจากการ สาธารณสุขจะเกี่ยวกับเรื่องของ โรคติดตอ การจัดการดานสิ่งแวดลอม และการปองกัน โรคแล ว ยั ง พู ด ถึ ง เรื่ อ งมิ ติ ท างการเมื อ ง สั ง คม เศรษฐกิ จ และการศึ ก ษาของการ สาธารณสุขและการสรางเสริมสุขภาพอีกดวย อะไรคือ นโยบายสาธารณสุข ตามแนวความคิดของสมาคมยุโรปแหงหนึ่ง (a European consortium) ซึ่ง ทําการศึกษาเรื่องการเขาแทรกแซงจัดการดานการสาธารณสุขเมื่อไมนานมานี้ ไดใหคํา นิ ย ามว า นโยบายสาธารณสุ ข เป น งานที่ ก ล า วถึ ง กิ จ กรรมเฉพาะเจาะจงของการ บริหารงานของสวนรวมหรือบริหารรัฐกิจ ไมวาจะเปนระดับชาติ ภูมิภาค หรือทองถิ่น ที่ ถูกวางเปาหมายเพื่อปรับปรุงงานดานสุขภาพของกลุมคนบางกลุม นโยบายสาธารณสุข สามารถไดรับการปฏิบัติการผานการตรากฎหมาย และการสนับสนุนในเรื่องการสื่อสาร ทางสื่อเกี่ยวกับเรื่องสุขภาพและโรค

3

ภาพที่ 1-1 รูปแบบแนวความคิดรวบยอดของการสาธารณสุข Health status สถานะทางสุขภาพ Prevention and care การปองกันและดูแล Determinants of health ตัวชี้วัดทางสุขภาพ External developments การพัฒนาสภาพภายนอก Policy นโยบาย ทําไมตองเรียนรูจากเพื่อนบาน เหตุผลหลักตอการเก็บรวบรวมขอมูลในรายงานฉบับนี้ที่เกี่ยวกับนโยบายตาง ๆ ทางการ สาธารณสุขในประเทศอื่น ๆ มีขึ้นก็เพื่อใหเกิดแรงบันดาลใจและเรียนรูซึ่งกันและกัน ความรูจากอุปสรรคตาง ๆ ที่ไดพบในประเทศอื่น ๆ สามารถชวยเอาชนะหรือหลีกเลี่ยง อุปสรรคนั้น ๆ ในประเทศของตน เรายังสามารถเรียนรูไดอีกในเรื่องของวิธีการไดมาซึ่ง นโยบายนั้นมาอย า งไร กล า วคื อ มาจากการบริ ห ารแบบบนลงล า ง (Top-down) หรื อ ลางขึ้นบน (Bottom-up) อีกทั้งการไดพิจารณานโยบายของประเทศอื่น ๆ สามารถชวย กระตุนใหความคิดของเราในเรื่องนโยบายในปจุบันหรือนโยบายในอนาคต

4

กรณีศึกษาเรื่องความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ (Health Inequalities)

บทนํา ค ว า ม ไ ม เ ท า เ ที ย ม กั น ด า น สุ ข ภ า พ เ ป น หั ว ข อ สํ า คั ญ อั น ห นึ่ ง ใ น น โ ย บ า ย สาธารณสุข เรื่ อ งความไม เ ท า เที ย มกั น ทางสุ ข ภาพนี้ เป น หนึ่ ง ในสาระหลั ก พื้ น ฐานของการ สาธารณสุข และดวยเหตุดังนี้จึงเปนเรื่องที่ไมสามารถถูกเวนวรรคไดในรายงานนโยบาย ทางการสาธารณสุ ข นั บ แต ยุ ค ปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม ความกั ง วลของชนชั้ น ล า งในเรื่ อ ง สภาพความเปนอยูและสภาพการทํางาน ไดจุดประกายใหเกิดการเขาแทรกแซงในเรื่อง การสาธารณสุขมากมาย การสาธารณสุขมีศูนยกลางอยูที่การมีผลประโยชนรวมกัน กลาวคือ เปนการปองกันและ การสรางเสริมสุขภาพของกลุมพลเมืองตาง ๆ ความไมเทาเทียมกันในเรื่ องสุข ภาพมีศู นยกลางอยู ที่ กลุ มคนและความแตกตางทาง โครงสรางในเรื่องสุขภาพที่สัมพันธกับลักษณะของกลุมทางดานสังคมและเศรษฐกิจเปน การเฉพาะเจาะจง ความไม เ ท า เที ย มกั น ด า นสุ ข ภาพจึ ง เป น เรื่ อ งที่ น า สนใจสํ า หรั บ นโยบายสาธารณสุ ข เพราะการไดมาซึ่งการมีสุขภาพดีจะสําเร็จไดนั้นเปนเรื่องที่ตองออกแรง จุดรวมในเรื่องความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพในปจจุบัน นับไดวาเกิดขึ้นมาตั้งแตยุคป ค.ศ. 1980 เมื่อ ‘Black Report’ ในประเทศอังกฤษไดเผยใหทราบวามีความเชื่อมโยง ระหวางสถานะทางสังคม เศรษฐกิจและสุขภาพ ความแตกตางที่นาพิจารณาในเรื่องสุขภาพโดยพิจารณาจากกลุมชาติพันธุ กลุมคนที่มีโอกาสดอยกวาทางสังคมมีโครงสรางทางสุขภาพที่แยกวา และมีความเสี่ยง ในเรื่องสุขภาพมากกวากลุมที่มีสถานะทางสังคมที่ดีกวา ชนิดของความไมเทาเทียมกัน ทางสุขภาพที่พบบอยมากที่สุด ก็คือ ความแตกตางในเรื่องสุขภาพที่มีประเด็นทั้งทาง สังคมและเศรษฐกิจเขามาเกี่ยวของ (Socio-economic health differences-SEHD) ความแตกตางนี้เกิดขึ้นในประเทศสมาชิกของสหภาพยุโรปดวย ความไมเทาเทียมกัน ต า ง ๆ ทางด า นสุ ข ภาพนี้ ยั ง เกิ ด ขึ้ น ในกลุ ม ชาติ พั น ธุ ห รื อ ชนกลุ ม น อ ยบางกลุ ม เมื่ อ เปรี ย บเที ย บกั บ ประชากรพื้ น เมื อง ของประเทศ และเกิ ดขึ้ น ระหว า งเพศชายและเพศ หญิงดวย โดยปกติกลุมที่ประสบความไมเทาเทียมกันในเรื่องสุขภาพมีสถานะทาง สั ง คมและเศรษฐกิ จ ไม น า พึ ง ประสงค เ ท า ไร และยั ง มี ค วามแตกต า งทางด า นสุ ข ภาพ ระหวางภูมิภาคตาง ๆ และภายในเพื่อนบานของภูมิภาคนั้น ๆ อีกดวย

5 แนวทางแบบบูรณาการเพื่อความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพเปนสิ่งจําเปน เรื่องความแตกตางทางสุขภาพในดานสังคมและเศรษฐกิจ (SEHD) เปนเรื่องที่พบไดใน ทุก ๆ แงมุมของสาธารณสุข มันเปนปญหาที่มาจากสาเหตุมากมาย โดยสาเหตุเหลานี้ ไม ส ามารถแก ไ ขได โ ดยใช ห น ว ยงานการดู แ ลสุ ข ภาพเพี ย งแค ภ าคส ว นเดี ย ว ดั ง นั้ น แนวทางจั ด การแบบบู ร ณาการที่ ตั้ ง อยู บ นพื้ น ฐานของนโยบายแบบบู ร ณาการเป น สิ่งจําเปน

กรณีศึกษาในองคกรระหวางประเทศและองคกรแบบเหนือชาติ กรอบการทํางานของนโยบายระหวางประเทศ 2

องคกรเหนือชาติ (Supranational organization) และองคกรระหวางประเทศ (International organization) ตาง ๆ กําลังพุงเปาไปที่เรื่องความไมเทาเทียมกันดาน สุขภาพ โปรแกรมขององคกรฯ สรรหากรอบการทํางานตามบริบท เพื่อการวางกฎเกณฑ นโยบายในระดับชาติ กรอบการทํางานนโยบายระหวางประเทศ ยังสามารถสรางแรง บันดาลใจใหกับนโยบายของเนเธอรแลนด ดังนั้นประเทศในยุโรปจําเปนอยางยิ่งที่ตอง มุงเปาไปที่ตัวอยางโปรแกรมและกิจกรรมตาง ๆ ของทางสหภาพยุโรปและองคการ อนามัยโลกใหมากขึ้น นโยบายของสหภาพยุโรป ความแตกตางดานสุขภาพไดปรากฎอยูในวาระของสหภาพยุโรปเปนเวลานานหลายป เชนในป ค.ศ. 1993 คณะกรรมาธิการยุโรป (European Commission) ได นํ า เสนอ ยุ ท ธศาสตร แ รกในเรื่ อ งการสาธารณสุ ข ในช ว งนั้ น ยุ ท ธศาสตร ไ ด แ ตะประเด็ น ความ แตกตางดานสุขภาพในภูมิภาครวมถึงสังคมและเศรษฐกิจที่มีสาเหตุมาจากการวางงาน การเหยียดเชื้อชาติผิวพรรณและความยากจน ยุทธศาสตรแรกนี้ไดรณรงคสงเสริมสราง ใหเกิดกระแสความสนใจในเรื่องสุขภาพสําหรับนโยบายตาง ๆ ของทางสหภาพยุโรป อยางไรก็ดี ในทางปฏิบัติ โปรแกรมสาธารณสุขอันแรกที่เกิดขึ้นนี้ (ที่จริงแลวประกอบไป ด ว ยโปรแกรมย อ ยจํ า นวนแปดโปรแกรม) ได เ น น ไปที่ ค วามบกพร อ งทางจิ ต ที่ เฉพาะเจาะจงบางอยาง กระนั้นก็ดี หนึ่งในแปดโปรแกรมยอยนี้ มีโปรแกรมหนึ่งที่พุงเปา ไปที่การสรางเสริมสุขภาพ ในโปรแกรมการสาธารณสุขชวงตอมาคือในป ค.ศ. 2003-2007 ประเด็น ‘การจัดการกับ ตัวชี้วัดทางสุขภาพ’ ไดถูกกลาวถึงอยางชัดเจนและเจาะจงมากขึ้น สาเหตุเพราะเปน หนึ่งในสามวัตถุประสงคหลัก แตองคประกอบที่เกี่ยวกับรูปแบบการดําเนินชีวิตไดรับการ เนนย้ํามากกวาลักษณะทางสังคมและเศรษฐกิจ ในสวนของประเทศอังกฤษนั้นไดกระตุน

2

องคกรเหนือชาติ (Supranational organization) เปนองคกรที่ถูกตั้งขึ้นโดยประเทศตาง ๆ ที่รวมตัวกันเปนสมาชิก ของภูมิภาคนั้น ๆ ตัวอยางที่ชัดเจนที่สุดคือ สหภาพยุโรป ซึ่งไดบูรณาการสถาบันรวมกันใหเปนองคกรเหนือชาติ เพื่อ ดูแลกิจ การ งาน ความรว มมื อตา ง ๆ เชน กฎหมายของสหภาพ เป นต น ทั้ งนี้ เพื่ อเป นการรวมตัว ให เกิด ความแน น แฟนมากยิ่งขึ้น อีกทั้งยังชวยดําเนินความสะดวกใหเกิดขึ้นแกประเทศสมาชิก โดยจะเห็นไดชัดวาการที่ประเทศใน อาเซียนรวมตัวกันมีการบูรณาการตามแบบสหภาพยุโรป ซึ่งในไมชา จะตองมีการจัดตั้งองคกรแบบเหนือชาตินี้ขึ้นมา ดูแลงานตาง ๆ ของทางอาเซียนใหมากกวาที่ สํานักงานเลขาธิการอาเซียนไดดําเนินการอยูในปจจุบัน (เรียบเรียง โดยผูแปล)

6 ในเรื่ อ งความแตกต า งด า นสุ ข ภาพอี ก ครั้ ง โดยทํ า ให ป ระเด็ น เป น สํ า คั ญ ในระหว า งที่ อังกฤษเปนประธานของสหภาพยุโรปในป ค.ศ. 2005 ความแตกตางดานสุขภาพในวาระของสหภาพยุโรป สหภาพยุโรปวางวัตถุประสงคสําหรับความแตกตางดานสุขภาพออกเปนสามขอ -

ประเมินผลสุขภาพของพลเมืองทุกคนเรื่อยไปจนถึงผูที่อยูดีกินดีที่สุด รับประกันความจําเปนดานสุขภาพของผูที่ยากจนที่สุดวาจะไดรับการตอบสนอง เร ง ให มี ก ารปรั บ ปรุ ง สุ ข ภาพของประชาชนในภู มิ ภ าคและประเทศที่ มี สุ ข ภาพ ย่ําแย

สหภาพยุโรปพิจารณาวาความแตกตางดานสุขภาพโดยสวนใหญแลวเปนปญหาที่แตละ ประเทศตองแกไขเอง แตเปนประเด็นสุขภาพที่รับรูรวมกัน สหภาพยุโรปเชื่อวา การทํา ใหเปนประเด็นรวมกันนั้นเปนเวทีที่ดี ที่ภาคีแตกตางหลากหลายจะได สามารถทํางาน รวมกันเพื่อตอกรกับปญหา สหภาพยุโรปยังพิจารณาวาการศึกษาคนควาวิจัยในสาเหตุ ของความแตกต า งด า นสุ ข ภาพเป น เรื่ อ งที่ จํ า เป น และต อ งการได รั บ ความรู ใ นเรื่ อ ง มาตรการที่จะนําไปแกไขปญหาความแตกตาง สหภาพยุโรปหารอยตอเชื่อมกับนโยบายตาง ๆ ตามแนวทางของสหภาพยุโรป ประเด็นเรื่องความแตกตางดานสุขภาพตองถูกบูรณาการ เขากับนโยบายตาง ๆ (Health in All Policies) เชน นโยบายการจางงาน ครอบครัว สภาพแวดลอมทางกายภาพ และการศึกษา เปนตน ในภาคสวนอื่นของสหภาพยุโรปได เชื่อมโยงเรื่ อ งความแตกต างด านสุ ข ภาพกั นเอง ยกตั ว อย างเชน ยุ ท ธศาสตร ลิส บอน (Lisbon Strategy) ที่แสดงถึงความทะเยอทะยานในการที่จะสรางสหภาพยุโรปใหเปน ‘กลุมเศรษฐกิจฐานความรู ที่พรอมแขงขันและมีความเปนพลวัตที่สุดในโลก’ การลด อัตราการวางงานและการลดการกีดกันทางสังคมจึงเปนสวนสําคัญในยุทธศาสตรนี้ องคการอนามัยโลก (World Health Organization-WHO) ในป ค.ศ. 1998 องคการอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป (WHO-Europe) ไดเผยแพรเอกสาร ที่มีชื่อวา ‘Health 21’ ซึ่งไดอรรถาธิบายเปาหมาย 21 ขอที่ควรทําเพื่อใหบรรลุในงาน สาธารณสุข ซึ่งก็เปนการขยายความนโยบาย ‘Health for All’ ฉบับทั่วโลกขององคการ ฯ ในรูปแบบของสหภาพยุโรปนั่นเอง แนวทางการทํางานแบบบูรณาการเพื่อตัวชี้วัดทางสุขภาพ เอกสาร ‘Health 21’ ไดเนนย้ําวานโยบายในทุก ๆ ดานตองมีสวนรับผิดชอบในการลด ความแตกต า งทางสุ ข ภาพผ า นทางตั ว ชี้ วั ด ด า นสุ ข ภาพ เอกสารได ก ล า วถึ ง ‘การ ประเมินผลกระทบดานสุขภาพ’ (Health Impact Assessment) วาเปนเครื่องมือสําคัญ อันหนึ่งที่สามารถนําไปใชในการนิยามนโยบาย นับแต ค.ศ. 2003 เปนตนมา ประเด็น เรื่องความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพไดเปนสวนสําคัญในโปรแกรมเพื่อตัวชี้วัดสุขภาพ ทางสังคมขององคการอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป สํานักงานสหภาพยุโรปเพื่อการลงทุนดานสุขภาพและการพัฒนา (The European Office for Investment for Health and Development) กําลังดําเนินโครงการเพื่อ

7 องคการอนามัยโลกภาคพื้นยุโรป เปาหมายของโปรแกรมก็เพื่อบูรณาการตัวชี้วัดสุขภาพ ทางสั ง คมและเศรษฐกิ จ ให เ ข า กั บ นโยบายในประเทศต า ง ๆ ในภู มิ ภ าคยุ โ รป นอกจากนั้น โปรแกรมยังชี้ดวยวามีความสัมพันธรวมระหวางสุขภาพและนโยบายดานอื่น องคการอนามัยโลกกับสาขาทั่วโลก: รวมใจเพื่อพัฒนาตัวชี้วัดสุขภาพทางสังคม โปรแกรมขององค ก ารอนามั ย โลกภาคพื้ น ยุ โ รปเป น งานที่ ทํ า ร ว มกั น อย า งใกล ชิ ด กั บ คณะกรรมาธิการตัวชี้วัดทางสังคมของสุขภาพ (Commission on the Social Determinants of Health) ซึ่งถูกจัดตั้งโดย องคการอนามัยโลก ในป ค.ศ. 2005 เปาหมายของคณะกรรมาธิการ ฯ คือทําใหแนใจวานโยบายในทุก ๆ เรื่อง ทุก ๆ ชนิดมี อิทธิพลในเชิงบวกตอตัวชี้วัดสุขภาพทางสังคม การลดความแตกตางดานสุขภาพเปนสวนสําคัญของนโยบายการสรางเสริมสุขภาพของ องคการอนามัยโลก ในแงนี้ดวยที่องคการ ฯ กําลังรองขอใหประเทศตาง ๆ ไดประยุกต แนวทางการทํางานแบบรวมมือกันระหวางสายงาน (Intersectoral approach) กรณีศึกษาในประเทศตนแบบ นโยบายในประเทศอังกฤษ แนวทางการทํางานกวาง ๆ เพื่อการจัดการการความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพ พรอมกับวัตถุประสงคที่เปนรูปธรรม โปรแกรมเพื่อการปฏิบัติการในประเทศอังกฤษ ที่มีชื่อวา ‘การตอกรกับความไมเทาเทียม กันทางสุขภาพ: โปรแกรมเพื่อการปฏิบัติการ’ (Tackling Health Inequalities: A Program for Action) มีแนวทางการทํางานแบบกวาง ๆ ดังที่ถูกแสดงตามเปาหมาย ของรัฐบาล นั่นก็คือ ลดความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพโดยการจัดการกับตัวชี้วัดกวาง ๆ ของความไม เท า เที ย มกั นด านสุ ข ภาพ เช น ความยากจน ผลลั พ ธ ทางการศึ ก ษาที่ ออน การวางงาน สภาพบานเรือนที่อยูอาศัยที่แย การไรบาน และปญหาเพื่อนบานที่ถูก เอารัดเอาเปรียบ โดยทั่วไป เปาหมายกวาง ๆ นี้ ถูกแปลความหมายไปสูวัตถุประสงคใน เชิงรูปธรรมเพื่อป ค.ศ. 2010 คือ - การเริ่มตนที่เด็กอายุต่ํากวาหนึ่งป เพื่อลดชองวางภาวะการเสียชีวิต ระหวางกลุม ผูที่ทํางานแบบประจําและกลุมผูใชแรงงาน รวมไปถึงประชากรในภาพรวมอยาง นอยรอยละ 10 - ลดชองวางในเรื่องชวงอายุของชีวิตใหไดอยางนอยรอยละ 10 ระหวางพื้นที่ที่มี ชวงอายุของชีวิตต่ําที่สุดในอัตราการเกิดและประชากรในภาพรวมที่รอยละ 20 โปรแกรมเพื่อการปฏิบัติการนี้ถูกตั้งเปาเพื่อลดความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพทั่วพื้นที่ ตามภูมิศาสตรระหวางชายและหญิง และจากชุมชนกลุมชาติพันธุที่แตกตางกัน และ ระหวางกลุมเศรษฐกิจและสังคมที่แตกตางกัน โปรแกรม ฯ ไดถูกจัดวางอยูในแกนสาระ สี่เรื่อง นั่นคือ - สนับสนุนครอบครัว มารดา และเด็ก เพื่อสรางความมั่นใจในเรื่องการเริ่มตนที่ดี ที่สุดเทาที่เปนไปไดในชีวิตและเปนการตัดทอนวงจรระหวางวัยของสุขภาพที่ไม สมบูรณ - นํา ชมชุ น บุ ค คลเข า ร ว มในการแทรกแซงและการทํ า โปรแกรม ทั้ งนี้ เพื่ อสร า ง ความมั่นใจในเรื่องความสัมพันธ การตอบรับ และความยั่งยืน

8 -

การปองกันความเจ็บปวยและการจัดหาการดูแลและรักษาที่มีประสิทธิผล ทําให แนใจวาองคกรบริการสุขภาพแหงชาติ (National Health Service-NHS) มีภาวะ ผูนําและทําใหเกิดการชวยเหลือสนับสนุนการลดความไมเทาเทียมกัน จัดการตัวชี้วัดสุขภาพที่สําคัญ ๆ

จุดเดนนโยบายของประเทศอังกฤษ -

-

-

-

-

นโยบายในประเทศอั งกฤษ เปนลักษณะการทํางานแบบขามหน วยงานองคกร ของรัฐบาล (Cross-governmental) กระทรวงสุขภาพ (Department of Health) เปนผูนําในเรื่องนี้ และไดสรางหนวยงานรับผิดชอบโดยตรงขึ้นมาคือ Health Inequalities Unit เพื่อประสานงานกับหนวยงานอื่น ๆ เชน กระทรวง การศึกษา กระทรวงการคาและอุตสาหกรรม และกระทรวงการคมนาคม เปนตน แนวทางการทํางานลงสูทองถิ่นเพื่อเนนในกลุมเพื่อนบานที่ถูกเอารัดเอาเปรียบ การทํางานในระดับทองถิ่น เริ่มตนที่การจัดตั้งภาคียุทธศาสตรในระดับทองถิ่น ระหว า งหน ว ยงานรั ฐ บาล หน ว ยงานภาครั ฐ ในระดั บ ท อ งถิ่ น และกลุ ม อื่ น ๆ โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง หน ว ยงานที่ ไ ม แ สวงหากํ า ไร เพื่ อ ตั้ ง เป า ในการลดความ แตกตางกันดานสุขภาพ ตัวชี้วัดที่เปนรูปธรรมเพื่อการวัดผลประเมินผลนโยบายกับแนวการทํางานแบบ กว า ง ๆ ในการประเมิ นผลมี ตั ว ชี้ วั ด ระดั บ ชาติ อ ยู 12 ตั ว ชี้ วั ด เพื่ อติ ด ตาม ความกาวหนาของโปรแกรม เชน การสูบบุหรี่ที่มีอยางแพรหลาย จํานวนวัยรุนที่ ตั้งครรภ จํานวนรอยละของการบริโภคผักและผลไม เปนตน การประเมินผลตัวชี้วัดแสดงใหเห็นถึงความกาวหนาในบางประเด็น การเนนย้ําเพิ่มเติมในเรื่องการโปรโมตทางเลือกเพื่อสุขภาพดี ในเอกสารปกขาว เรื่ อ ง ‘การเลื อ กสุ ข ภาพ:การทํ า ให ท างเลื อ กที่ จ ะมี สุ ข ภาพดี นั้ น ง า ยขึ้ น ’ หรื อ White Paper ‘Choosing Health: making healthy choices easier’ วาระใน เอกสารประกอบดวยขอฏิบัติที่ทําไดงายสําหรับประเด็นสุขภาพที่ตองทํากอนหก เรื่อง ซึ่งไดมาจากการปรึกษาประชากรและกลุมผูสนใจ และเรื่องสําคัญอันดับ แรกก็คือ การจัดการในเรื่องความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ ประเทศอังกฤษมี ประเพณีการศึกษาคนควา วิจัยมาอยางยาวนานในเรื่ องความ แตกตางด านสุข ภาพ งานวิ จัยได รั บ การสนั บ สนุ นทุ นจากศู นย ต า ง ๆ ที่ ทํ างาน วิจัยทางสังคมและการแพทย องคกรสวัสดิการตาง ๆ ที่เปนเอกชน และกระทรวง สุขภาพ นับตั้งแตมีการเผยแพรเอกสาร Black Report ความพยายามมากมายได ถู ก นํ า ไปใช ใ นการศึ ก ษาวิ จั ย ในเรื่ อ ง ธรรมชาติ และ ขอบเขตของ ความ แตกต า งทางสุ ข ภาพด า นสั ง คมและเศรษฐกิ จ และ ในเรื่ อ งการศึ ก ษาวิ จั ย ถึ ง ความสํ าคัญที่เกี่ยวของของสาเหตุที่แตกตา งกันในความแตกต างทางสุข ภาพ ดานสังคมและเศรษฐกิจ (SEHD)

9

นโยบายในประเทศสวีเดน วัตถุประสงค 11 ขอ ของนโยบายสาธารณสุข ซึ่งบรรจุตัวชี้วัดที่สําคัญที่สุดของ การสาธารณสุขของประเทศสวีเดน 1. 2. 3. 4. 5. 6.

การมีสวนรวมและการมีอิทธิพลในสังคม ความมั่นคงปลอดภัยทางสังคมและเศรษฐกิจ สภาพอยูอาศัยที่ปลอดภัยและนาอยูของคนในระหวางวัยเด็กและวัยรุน ชีวิตการทํางานที่เอื้อตอสุขภาพที่ดีกวา ผลิตภัณฑและสภาพแวดลอมที่ปลอดภัยและทําใหมีสุขภาพดี การดูแลทางการแพทยและสุขภาพที่เสริมสรางใหเกิดสุขภาพที่ดีอยางแข็งขัน มากกวาที่เปนอยู 7. การปองกันที่มีประสิทธิผลในการปองกันโรคติดตอ 8. การมีเพศสัมพันธที่ปลอดภัย และการมีสุขภาพวัยเจริญพันธุที่ดี 9. มีกิจกรรมการออกกําลังที่เพิ่มขึ้น 10. มีนิสัยการทานอาหารที่ดีและอาหารปลอดภัย 11. มีการบริโภคบุหรี่และสุราที่ลดลง สังคมปลอดจากการใชยาและยาเสพติดผิด กฎหมายและการลดผลที่เกิดจากอันตรายของการเลนพนันมากเกินไป จุดเดนนโยบายของประเทศสวีเดน - ยุทธศาสตรระดับชาติ กับการรวมจุดสนใจในเรื่องตัวชี้วัดทางสุขภาพ ในป ค.ศ. 2003 รัฐสภาสวีเดนไดอนุมติรับรองยุทธศาสตรระดับชาติในเรื่องการทํางาน ระหวางภาคสวนฉบับใหมเพื่อการสาธารณสุข (New Intersectoral National Strategy for Public Health) ยุทธศาสตรที่วานี้ตั้งอยูบนฐานของเปาหมายใหญรวมกันอันเดียวก็ คือ การสรางสภาพเงื่อนไขทางสังคมที่ทําใหเกิดความมั่นใจตอการมีสุขภาพที่ดีสําหรับ ประชากรทั้งหมด - แนวทางการทํางานระหวางภาคสวนเปนศูนยกลางการทํางานในสวีเดน ในประเทศสวีเดน การสาธารณสุขอยูภายใตอํานาจของกระทรวงสุขภาพและงานสังคม (Ministry of Health and Social Affairs) ซึ่งโดยหลักการแลว เปนการลดชองวาง ประเด็นนโยบายของทั้งสองเรื่อง ในมุมมองของสวีเดน ประเด็นเรื่องงานสาธารณสุขเปน ตัวอยางที่ไมมีที่ติของการรวมมือกันในแบบระหวางภาคสวนและการผสมผสานระหวาง วิทยาการ (Intersectoral and Interdisciplinary collaboration) - การรวมมือประสานงานในระดับชาติและการลงสูภาคปฏิบัติในระดับภูมิภาคและ ทองถิ่น ในระดับชาติ รัฐบาลกําหนดเครื่องมือทางนโยบาย เชน การสรางวัตถุประสงค การตรวจสอบติดตามความกาวหนาในประเด็นนโยบาย และการรายงานผลการทํางาน ในระดั บ ภู มิ ภ าคและท อ งถิ่ น งานสาธารณสุ ข ถู ก นํ า ไปปฏิ บั ติ โ ดยองค ก รเอ็ น จี โ อ เจาหนาที่ในระดับทองถิ่นและสภาประจําจังหวัดเปนผูมีบทบาทหลักในการบริหารงาน สาธารณสุขในระดับทองถิ่นและภูมิภาค - การรวมมือกันในนโยบายระดับชาติและการติดตามตรวจสอบ

10 สถาบันสาธารณสุขระดับชาติของสวีเดน (The Swedish National Institute of Public Health) เปนผูมีบทบาทสําคัญในการประสานงานดานสาธารณสุขในระดับชาติ สถาบั น ฯ สนั บ สนุ น การปฏิ บั ติ ก าร การตรวจสอบติ ด ตาม และการประเมิ น ผล วัตถุประสงคทั้ง 11 ขอและไดพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อการติดตามตรวจสอบความกาวหนา เช น ร อ ยละของประชาชนที่ มี ง านทํ า และได รั บ ค า ตอบแทน (วั ด ในระดั บ เทศบาล) สุขภาพที่เกี่ยวกับงาน การมี สุขภาพดีที่รายงานดวยตนเอง (วั ดในระดั บภูมิภาค) และ คุณภาพความสัมพันธระหวางผูปกครองและเด็ก (วัดในระดับชาติ) นโยบายในประเทศนิวซีแลนด ความแตกตางทางสุขภาพเปนเรื่องที่เกี่ยวกับสังคม เศรษฐกิจ และกลุมชาติพันธุ นโยบายของนิ ว ซี แ ลนด ไ ม เพี ย งแต จั ด การประเด็ น ความแตกต า งทางสุ ข ภาพในเรื่ อ ง สังคม เศรษฐกิจ แตยังรวมไปถึงความแตกตางดานสุขภาพของกลุมชาติพันธุดวย โดย สวนใหญความไมเทียมกันนี้เกิดในกลุมชาวเมารีซึ่งเปนชนเผาดั้งเดิม (New Zealand’s indigenous population) และประชากรที่อพยพมาจากเกาะแถบแปซิฟก (Immigrants from the smaller islands in the Pacific such as Polynesia and Melanesia) จุดเดนนโยบายของประเทศนิวซีแลนด ความแตกต า งทางสุ ข ภาพเป น หั ว หอกของนโยบายสาธารณสุ ข มี ยุ ท ธศาสตร ค รอบอยู ส องเรื่ อ งที่ ผ ลั ก ดั น นโยบายสาธารณสุ ข ของนิ ว ซี แ ลนด นั่ น คื อ ยุทธศาสตรสุขภาพระดับชาติ และยุทธศาสตร สําหรับคนพิการ ทั้งสองยุทธศาสตรเนน ในเรื่องการลดความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ ภาคสุขภาพปฏิบัติงานตามวิสัยทัศนที่เดนเปนพิเศษ โดยมียุทธศาสตร รองรับสี่ขอ นั่นก็คือ 1. จัดการตนตอที่มาทางประวัติศาสตร เศรษฐกิจ วัฒนธรรมและ สั ง คมของความไม เ ท า เที ย มกั น ด า นสุ ข ภาพ (แนวทางการทํ า งานเชิ ง โครงสร า ง (Structural approach) 2. ทํางานคูขนานไปกับความไมเทาเทียมกันที่ถูกสรางขึ้น นั่น คือ องคประกอบดานพฤติกรรม จิตวิทยาสังคม และวัตถุ (แนวทางการทํางานแบบไม เปนทางการ) 3. พัฒนากิจกรรมที่เนนเฉพาะเรื่องในเรื่องการดูแลและในการดูแลผูพิการ (แนวทางการทํางานเชิงดูแลรักษาและใหบริการผูพิการ) และ 4. ลดอิทธิพลของการมี สุขภาพที่แยในเรื่องสถานะทางเศรษฐกิจและสังคม (แนวทางการทํางานที่ใชผลกระทบ เปนตัวตั้ง) ความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพเปนวัตถุประสงคหลักในระดับภูมิภาค ดวย นิวซีแลนดมีคณะกรรมการสุขภาพระดับเขตอยู 21 ชุด (District Health Boards) งานของพวกเขาก็คือทําใหแนใจวางานบริการดูแลสุขภาพและการดูแลผูพิการเปนสิ่งที่ พรอมใหบริการแกประชากรทุกคนในระดับภูมิภาค การติดตามตรวจสอบผลการทํางาน: การแสดงความรับผิดชอบตอ สาธารณะประจําปในระดับภูมิภาคและระดับชาติ คณะกรรมการสุขภาพ (District Health Boards) รับผิดชอบงานทุกเรื่องซึ่งขึ้นตรงตอกระทรวงสุขภาพ (Ministry of Health) ดวยเหตุดังนี้ คณะกรรมการ ฯ จึงตองทํางานลดความแตกตางทางสุขภาพ - นโยบายความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพฝงตัวอยูในนโยบายของรัฐบาลใน ขอบเขตที่กวางกวา การจัดการกับความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพเปนสวนหนึ่งของ นโยบายความไมเทาเทียมกันที่กวางกวาที่ซึ่งชี้ทิศทางการทํางานของกระทรวงตาง ๆ

11 นโยบายประกอบไปด ว ยเรื่อ งของ สุ ข ภาพ การเลี้ ย งดู บุ ต ร ตลาดแรงงาน การศึ ก ษา รายไดและความยากจน ที่อยูอาศัย อาชญากรรม อัตลักษณทางวัฒนธรรม และความ เขมแข็งทางสังคม/ทุนทางสังคม ชุดตัวชี้วัดที่ครอบคลุมความไมเทาเทียมกันทั้งหมดจึง ถูกนํามาใชเพื่อตัดสินวานโยบายประสบความสําเร็จหรือไม ผลลัพธที่ไดเปนเรื่องที่นาใหกําลังใจ แตก็ยังมีอีกมากที่สามารถทําได ในป ค.ศ. 2005 กระทรวงสุขภาพของนิวซีแลนด (Ministry of Health) ไดแถลงผลลัพธในเชิง บวกเปนครั้งแรก ซึ่งก็ประสบความสําเร็จในการลดความแตกตางดานสุขภาพ เชน อัตรา การฆ า ตั ว ตาย การสู บ บุ ห รี่ ที่ มี แ พร ห ลาย และอั ต ราการเสี ย ชี วิ ต ของทารกลดลง แต นโยบายของรั ฐ บาลในเรื่ อ งความไม เ ท า เที ย มกั น ด า นสุ ข ภาพก็ ยั ง ถู ก วิ พ ากษ วิ จ ารณ สมาคมสุขภาพสาธารณะ (Public Health Association) ชี้แนะวาการลงทุนของรัฐบาล เนนหนักมากเกินไปในเรื่องการดูแลรักษา หากแตในเรื่ องการปองกันยังมีไม เพียงพอ คําแนะนําในเชิงรูปธรรมที่มาจากสมาคม ฯ ก็คือการเก็บภาษีเพิ่มจากสุรา บุหรี่ และการ พนัน บทสรุป นโยบายการจัดการความไมเทาเทียมกันของประเทศตนแบบเปนแหลงสรางแรง บันดาลใจ แนนอนวา บริบททางสังคม เศรษฐกิจ และวัฒนธรรมของแตละประเทศยอมแตกตางกัน นี่คือสาเหตุวา ทํา ไมจึงเป นไปไดนอ ยครั้ งที่ จ ะบู ร ณาการส วนต า ง ๆ ของนโยบายของ ประเทศหนึ่ ง ให เ ข า กั บ นโยบายของอี ก ประเทศหนึ่ ง ได โดยปราศจากการประยุ ก ต ดัดแปลงในระดับหนึ่ง ประเทศตนแบบทั้งสามคือ อังกฤษ สวีเดน และนิวซีแลนด ไดรับ การสนั บ สนุ น ทุ น จากรั ฐ บาลในรู ป แบบที่ เ รี ย กว า ระบบการดู แ ลสุ ข ภาพเบฟเวอร ริ ด จ (Beveridge) ในระบบนี้การดูแลสุขภาพและสาธารณสุขเปนสิ่งที่ใกลชิดกันมากกวากลุม ประเทศเชน เนเธอรแลนด ซึ่งใชระบบบิสมารค (Bismarck) โดยมีสวนประกอบที่เปน แบบระบบการประกันซึ่งมีความเขมแข็งกวา นอกจากตั ว อย า งที่ ม าจากประเทศต น แบบแล ว กรอบนโยบายระหว า งประเทศของ สหภาพยุโรปและองคการอนามัยโลก สามารถนําไปปรับใชชี้ทิศทางการลดความไมเทา เทียมกันดานสุ ขภาพ แรงกระตุนสามารถมาจากหลายสถาน เชน ยุทธศาสตรลิสบอน โดยมีวัตถุประสงคเพื่อเสริมความแข็งแกรงในเรื่องเศรษฐกิจบนฐานความรู ยุทธศาสตร การรวมมือแบบเปด (Open Method of Strategy Coordination) ที่เรียกรองใหประเทศ สมาชิกในกลุมสหภาพยุโรป รายงายความกาวหนาในการแกไขปญหาความยากจน และ การถูกกีดกันจากสังคม รวมไปถึงความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพ ดวยเหตุนี้ประเด็น การจั ด การความไม เ ท า เที ย มกั น ด า นสุ ข ภาพจึ ง ถู ก ใส เ ข า ไปในวาระของประเทศ เนเธอรแลนดโดยยุทธศาสตรลิสบอนนั่นเอง สภาพการณ ท างการเมื อ งและสั ง คมเป น ตั ว กํ า หนดการยอมรั บ และก อ ให เ กิ ด นโยบายความไมเทาเทียมกัน ยกตัวอยางในประเทศอังกฤษ เปนชวงเวลานานมากที่มีการใสใจนอยมากในเรื่องความ แตกตางทางสุขภาพทั้งทางดานสังคมและเศรษฐกิจ จนกระทั้งสิ้นป ค.ศ. 1990 เมื่อ รัฐบาลใหมไดเขามาบริหารประเทศจึงไดเห็นความสําคัญของความแตกตางนี้ และเปน ช ว งเวลาที่ สุ ก ถึ ง พร อ มสํ า หรั บ ยุ ท ธศาสตร ร ะดั บ ชาติ ในการตั้ ง เป า จั ด การกั บ ป ญ หา ในช ว งหลายป ที่ ผ า นมา เนเธอร แ ลนด ไ ดเ ปลี่ ย นกระบวนทั ศ นไ ปสู ข อ สั น นิ ษ ฐานที่ ว า บุคคลแตละคนรับผิดชอบสุขภาพของตนเอง และนักวางนโยบายเริ่มจะมองยุทธศาสตร

12 ที่คุมคากับตนทุนเพื่อปรับปรุงสุขภาพของประชาชน สันนิษฐานที่วาใหแตละคนมีความ รับผิดชอบดวยตนเองนี้จะสมบูรณไดก็ตอเมื่อประชาชนอยูในตําแหนงที่พรอมจะลงมือ รับผิดชอบ สิ่งจําเปนตองทํากอนและสามารถสรางใหเกิดขึ้นได เชน การวางเปาหมาย การแทรกแซงในสภาพแวดลอมทางสังคมของกลุมคนที่ไดรับผลกระทบจากความไม เทาเทียม หลายสิ่งที่สังคมจะไดรับสามารถประสบผลจากแนวทางการทํางานที่ตั้งเปา ในความแตกต างกันทางสุ ข ภาพดานสังคมและเศรษฐกิ จ นั่ นคือ การปรั บปรุ งสุข ภาพ กลุ มคนที่ อยู ชั้นลา งสุ ดของบันไดทางสั งคม ซึ่ งจะส งผลกระทบตอประเด็นอื่น ๆ ทาง สังคม เชน การเขาไปมีสวนรวมทางการศึกษาและตลาดแรงงานของคนกลุมนี้ ยุทธศาสตรระดับชาติเปนกรอบการทํางานสําหรับแนวทางการทํางานในระดับ ทองถิ่น ประเทศเนเธอรแลนดขาดยุทธศาสตรระดับชาติ หรือ แผนปฏิบัติการระดับชาติ ที่ตั้งเปา จัดการความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ ประเทศตนแบบที่ไดทําการศึกษามียุทธศาสตร ระดับชาติพรอมกับการจัดการและกรอบการทํางานที่ชัดเจน เชน -

-

-

ประเทศอังกฤษ ไดจัดตั้ง หนวยงานความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพ (Health Inequalities unit) ซึ่งทําหนาที่ใหบรรลุเปาประสงคในระดับชาติ นอกจากนี้ยังมี โปรแกรมเพื่อการปฏิบัติการ (Programme for Action) ที่ชวยอรรถาธิบายงาน ในความรั บ ผิ ด ชอบทั้ ง ในระดั บ ชาติ ภู มิ ภ าคและท อ งถิ่ น และยั ง มี ข อ ตกลงที่ รัฐบาลไดบรรลุกับหนวยงานทองถิ่น ในเรื่องแนวทางการทํางานเพื่อลดความไม เท า เที ย มกั น ทางสุ ข ภาพ ซึ่ ง มี บั น ทึ ก ไว ใ น ‘ข อ ตกลงการบริ ก ารสาธารณะ ระดับชาติ’ (National Public Service Agreement) สวนในประเทศสวีเดน รัฐบาลจัดเครื่องมือทางนโยบายในระดับชาติใหเขาที่เขา ทาง กลาวคือ รัฐบาลตัดสินวัตถุประสงคของนโยบาย ติดตามความกาวกนาและ รายงานผลลัพธยุทธศาสตรสาธารณสุขระดับชาติ นโยบายสาธารณสุขไดรับการ ดํ า เนิ น การในระดั บ ภู มิ ภ าคและท อ งถิ่ น ดั ง นั้ น เจ า หน า ที่ ใ นระดั บ ภู มิ ภ าคและ ระดับทองถิ่นมีสวนรับผิดชอบในการปฏิบัติมาตรการเชิงปองกัน อันไดบรรยายไว ในพระราชบั ญญัติ การให บ ริก ารทางการแพทย แ ละสุ ข ภาพ (Health and Medical Services Act) ประเทศนิวซีแลนด โดยกระทรวงสุขภาพ ทํางานเริ่มจากยุทธศาสตรที่ตั้งเปาใน การจัดการความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพที่นําแนวทางการทํางานระดับชาติ ภูมิภาคและทองถิ่นโดยการทํางานของรัฐบาล ภาคการดูแลรักษาสุขภาพ และ องคกรใหทุน นิวซีแลนดมีคณะกรรมการสุขภาพประจําเขตอยู 21 ชุด (District Health Boards) ซี่งเปนผูดําเนินการนํานโยบายสาธารณสุขในเรื่องการดูแล รักษาและการปองกันไปปฏิบัติ การลดความไมเทาเทียมกันเปนสวนหนึ่งในงาน ของคณะกรรมการ ฯ และพวกเขารับผิดชอบรายงานโดยตรงตอกระทรวงสุขภาพ (Ministry of Health)

แนวทางทํางานแบบระหวางภาคสวน (Intersectoral approach) เพื่อจัดการ ความไมเทาเทียมกันดานสุขภาพ (ทั้งในระดับชาติและในระดับทองถิ่น) ความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพไมสามารถจัดการไดดวยหนวยงานภาคสุขภาพเพียง สวนงานเดียว องคประกอบหลายอยางมีผลกระทบตอการเกิดขึ้น และการมีอยูตอเนื่อง ของความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ แนวทางการทํางานที่เขมขน อันตั้งอยูบนพื้นฐาน ของนโยบายแบบระหวางภาคสวน (Intersectoral policies) จึงมีความจําเปน ดัง ตัวอยางที่ไดเห็นจากองคการอนามัยโลกและสหภาพยุโรปที่ไดทําการรณรงคสงเสริม การทํางานแบบนี้ อั นเปนภาพฉายในวิ สัย ทัศนขององคกรสากลและองคกรเหนือ ชาติ

13 (International and supranational organizations) และก็เปนศูนยกลางการทํางานใน ประเทศตนแบบ เชนใน อังกฤษ สวีเดน และนิวซีแลนด การติดตามตรวจสอบความกาวหนาและผลลัพธของนโยบายเปนสิ่งสําคัญมาก ประเทศตนแบบสนใจในเรื่องการติดตามตรวจสอบทั้งในเรื่องนโยบายที่มีเปาในการลด ความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพและผลลัพธของนโยบาย -

-

-

ในประเทศอังกฤษ ความกาวหนาและผลลัพธของนโยบายถูกติดตามตรวจสอบ อยางกวางขวาง เปนเรื่องงายที่จะติดตามความกาวหนาเพราะความรับผิดชอบ ของหนวยงานตาง ๆ ไดรับการแจกแจงอยางละเอียดชัดเจน ในระดับประเทศนั้น มีตัวชี้วัดอยู 12 ตัวซึ่งถูกใชในการติดตามตรวจสอบผลลัพธของโปรแกรม ตัวชี้วัดครอบคุลมสถานะทางสังคมและเศรษฐกิจ และปจจัย รวมถึงการใชการ ดู แ ลรั ก ษา หน ว ยงานระดั บ ท อ งถิ่ น ทํ า หน า ที่ ร ายงานความก า วหน า ในแนว ทางการทํางานจัดการความแตกตางกันดานสุขภาพดวย สถาบันสาธารณสุขระดับชาติของสวีเดน (The Swedish National Institute of Public Health) ไดทําการพัฒนาตัวชี้วัดเพื่อติดตามตรวจสอบความกาวหนา เปาหมายนโยบายสุขภาพทั้ง 11 ขอ ทุก ๆ สี่ป สถาบัน ฯ ตองนําเสนอรายงาน ต อ รั ฐ บาลเพื่ อ ให เ ป น ข อ มู ล ป อ นในการถกเถี ย งงานด า นการสาธารณสุ ข นอกจากนี้ สถาบัน ฯ ยังใชรายงานเพื่อชวยแนะนําการวางนโยบายในอนาคตอีก ดวย สําหรับประเทศนิวซีแลนด กระทรวงสุขภาพ (Ministry of Health) นําเสนอ รายงานประจําปตอรัฐสภาในเรื่อง กิจกรรม ตนทุน และผลลัพธของนโยบาย การ เชื่อมโยงไปสูนโยบายอื่น ๆ ในเรื่องความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ ซึ่งตัวชี้วัด ไดถูกกําหนดดวยแลวนั้น ชวยใหเห็นการเชื่อมโยงระหวางความไมเทาเทียมกัน ทางสุขภาพและปญหาในประเด็นอื่น ๆ ที่ควรไดรับการติดตามตรวจสอบดวย

ควรจะนําเรื่องความแตกตางทางสุขภาพในดานสังคมและเศรษฐกิจเขาเปนวาระ หรือไม ? (Socio-Economic Health Differences) มั น ไม ใ ช เ หตุ ก ารณ บั ง เอิ ญ เลยที่ เ รื่ อ งความแตกต า งทางสุ ข ภาพในด า นสั ง คมและ เศรษฐกิจจะเปนวาระหลักของประเทศตนแบบ ในประเทศอังกฤษ ซึ่งมีชื่อเสียงโดงดัง ในเรื่องสังคมหลายชนชั้น (Multi-class society) ในสวีเดน มันเปนเรื่องนาตกใจวาความ แตกตางทางสุขภาพมีอยูในสังคมที่ไดชื่อวาเทาเทียมกัน (Egalitarian society) ซึ่งก็ นํ า ไปสู ก ารปฏ บั ติ เ ชิ ง นโยบาย ส ว นในนิ ว ซี แ ลนด นั้ น สถานการณ ค อ นข า งแตกต า ง เพราะความไมเทาเทียมสวนใหญเกิดขึ้นกับกลุมชาติพันธุ ซึ่งผูคนก็ไมสามารถเขาใจได ว า ทํ า ไม มากไปกว า นั้ น นโยบายในเรื่ อ งความไม เ ท า เที ย มกั น ทางสุ ข ภาพก็ กํ า ลั ง ถู ก ปฏิ บัติ ในเวลาเดี ย วกั นกั บ สิท ธิ ท างประวั ติ ศ าสตร ข องชนเผ า ดั้ งเดิ ม ชาวเมารี พึ่ ง กํ า ลั ง ไดรับการเห็นคุณคา

ดังนั้นจึงสรุปไดวา -

แนวทางการทํางานแบบบูรณาการเพื่อการจัดการความไมเทาเทียมกัน ทางสุขภาพซึ่งประเทศอื่น ๆ ไดทําอยูนั้นเปนสิ่งที่เกิดขึ้นได นโยบายตองการเปาหมายและเครื่องมือที่ชัดเจนเพื่อใชวัดผลสําเร็จ

14 -

ตอ งมี ยุท ธศาสตรระดั บ ประเทศที มี เ ป าหมายในการจั ด การความไม เ ท า เทียมกันทางสุขภาพ ในยุทธศาสตรตองมี วัตถุประสงคที่ชัดเจน มีวิธีการ ทําใหเปนผลสําเร็จไดอยางไร และหนาที่ที่แตกตางกันของหนวยงานใน ระดั บท อ งถิ่ น ภู มิภ าคและระดั บชาติ จ ะมี ส วนช ว ยอย า งไร ทั้ ง นี้ เ พื่ อ การ ทํางานในเรื่องความไมเทาเทียมกันทางสุขภาพ

Related Documents

Lern From Neighbor
May 2020 7
Neighbor
November 2019 24
Neighbor To Neighbor
April 2020 14
Neighbor To Neighbor
April 2020 14
My Neighbor
June 2020 10
Hey, Neighbor!
June 2020 7

More Documents from ""