นายพงศ์บวร ควะชาติ เลขประจำาตัว 5001612026 เลแมน บราเดอร์ส เป็นธนาคารเพื่อการลงทุน หรือที่เรียกว่า Investment Bank สัญชาติอเมริกัน ก่อตั้งขึน้ เมื่อ 150 ปีที่แล้ว โดยทำาธุรกิจด้านการจัดหาเงินทุนและการลงทุนเป็นหลัก ณ สิ้นเดือนพฤศจิกายนปีที่แล้ว มี สินทรัพย์รวมทั้งสิ้น 151,705 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึน้ จากปีก่อนหน้า 17.9% มีรายรับจากการดำาเนินการทั้งสิ้น 16,883 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึ้น 12% จากปี 1996 คิดเป็นกำาไรสุทธิ 647 ล้านเหรียญสหรัฐ เพิ่มขึน้ 56% ขณะที่ ฐานเงินทุนรวมทั้งสิ้น 24,800 ล้านเหรียญสหรัฐ ด้วยฐานะที่แข็งแกร่งเช่นนี้ทำาให้เลแมนก้าวขึ้นมาเป็น Investment bank อันดับ 4 ของโลก ปีที่ผา่ นมาถือเป็นปีแห่งความสำาเร็จของเลแมน บราเดอร์ส เพราะสามารถทำารายได้สูงสุดเป็นประวัติการณ์ ซึ่งเป็นผลมาจากนโยบายขยายสายงานทางธุรกิจ ที่หันมาเน้นในธุรกิจทางการเงินที่ให้มาร์จินสูง โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ธุรกิจด้านการบริหารกลยุทธ์ (strategic management) และยังได้มีการกระจายเครือข่ายในลักษณะของแฟรนไชส์ ออกไปทั่วโลก โดยมีเป้าหมายเพื่อที่จะไปให้ถึง Top-Tier Investment Bank ของโลก จนนิยามตัวเองเป็น one-stop service เพราะสามารถให้บริการแก่ลูกค้าได้ครอบคลุม นับตั้งแต่การให้คำาปรึกษาด้านกลยุทธ์ ไปจนถึงธุรกรรมการ จัดหาเงินในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นหนี้และส่วนของทุน โครงสร้างของเลแมน บราเดอร์สทั่วโลกจะแบ่งออกเป็นกลุ่มธุรกิจอิสระ 4 กลุ่มตามลักษณะของงาน คือ กลุ่มที่ปรึกษาด้านวาณิชธนกิจ (Investment Banking Advisory Group) ซึ่งเลแมน บราเดอร์ส ไทยแลนด์ จะสังกัด ในกลุ่มนี้ กลุ่มสถาบันการเงิน (Financial Institution Group) กลุ่มธุรกิจซื้อขายตราสารหนี้และตราสารทุน (Fixed Income Trading & Equity Trading) และกลุ่มธุรกิจเพื่อการลงทุน (Principle Transactions Group) สำาหรับกลุ่มที่ ปรึกษาด้านวาณิช ธนกิจได้เข้ามาเมืองไทยนานเกือบ 10 ปี แล้ว ส่วนกลุ่ม Principle Transaction Group เพิ่งจะเข้า มาโดยมี เพริกรีนเป็น ผลงานชิ้นแรก ตามด้วยการประมูลพอร์ตสินเชื่อที่อยู่อาศัย ปรส. ที่สร้างชื่อให้เลแมนกลาย เป็นที่รู้จักของคนไทยอย่างกว้างขวางและมีคำาถามตามมาอย่างมากมาย การล้มละลายของวาณิชธนกิจชั้นนำาของสหรัฐ เลแมน บราเดอร์ส พร้อมกับการเข้ายึดกิจการของอเมริกัน อินเตอร์เนชั่นแนล กรุ๊ป (เอไอจี) โดยรัฐบาลสหรัฐ และความเสี่ยงที่บริษัทเงินทุนวอชิงตันมิวชวล อาจจะถูกปิดตัว ลง ล้วนแต่เป็นการสะท้อนว่า ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนัน้ มีความรุนแรงและแผ่ขยายไปอย่างกว้างขวางเกิน ความคาดหมายของทางการสหรัฐเป็นอย่างมาก ทำาให้เชื่อได้ว่าจะยังมีปัญหาในอนาคตอีกมากไปจนถึงกลางปีหน้า และจะเป็นภาระที่ท้าทายประธานาธิบดีสหรัฐคนใหม่อย่างมาก แต่สำาหรับประเทศไทยนั้น ผลกระทบโดยตรงจะ ไม่มีมากนัก เพราะมีสถาบันการเงินที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินสหรัฐน้อยมาก อาทิเช่น กรณีเลแมน นัน้ มีธุรกรรมร่วมกับสถาบันการเงินไทยเพียง 4,000 ล้านบาท และแม้จะมีการลงทุนและปล่อยกู้ภาค อสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยอีก 50,000 ล้านบาท แต่ก็เป็นสินทรัพย์ที่น่าจะหาผู้ซื้อมาทดแทนได้โดยง่าย
หน้า 1/2
ปัญหาสถาบันการเงินของสหรัฐนัน้ จะยังปะทุขึ้นมาอีกในอนาคต และจะเป็นภาระอย่างใหญ่หลวงกับ ธนาคารกลางสหรัฐและรัฐบาลสหรัฐ ปัญหาที่ใหญ่ที่สุด คือ การจะต้องเข้าไปเพิ่มทุนให้กับแฟนนี เม และเฟรดดี แมค สถาบันปล่อยกู้อสังหาริมทรัพย์ที่รัฐบาลสนับสนุนให้ปล่อยกู้และคำ้าประกันเงินกู้ภาคอสังหาริมทรัพย์มากถึง 5.2 ล้านล้านดอลลาร์ เพราะเมื่อราคาบ้านในสหรัฐปรับลดลง 15% (และอาจปรับลดลงอีก 10%) ก็เชื่อได้วา่ แฟนนี และเฟรดดีจะต้องได้รับความเสียหายจากปัญหาหนี้เสียอีกมาก สมมติวา่ ทรัพย์สินของสถาบันการเงินทั้งสองเสีย หาย 5% ก็หมายความว่ารัฐบาลจะต้องเพิ่มทุนเพื่อชดใช้ความเสียหายกว่า 250,000 ล้านดอลลาร์ เพราะทุนของแฟน นีกับเฟรดดีนั้น ขณะนี้ อาจลดลงเหลือไม่ถึง 10,000 ล้านดอลลาร์ สรุปได้ว่าปัญหาหลักของสถาบันการเงินที่เผชิญกับวิกฤติทางการเงิน ทำาให้ต้องล้มละลายเป็นเพราะ สถาบันการเงินดังกล่าว ดำาเนินธุรกิจที่มีความเสี่ยงสูง โดยลงทุนอย่างขาดความระมัดระวังและกู้เงินมาลงทุนเป็น จำานวนมาก โดยมีทนุ ของตนอยู่เพียงเล็กน้อย เพราะมั่นใจเกินไปและอยากได้กำาไรสูง จะเห็นได้ว่าบริษทั แบร์ส เติรน์ ส์ เลแมน เอไอจี และเมอร์ริล ลินช์นนั้ ล้วนแต่มีสินทรัพย์ต่อทุนประมาณ 20-30 เท่า หรือลงทุน 1 บาท และกู้ เงินมา 29 บาท เพื่อใช้ในการลงทุน ทำาให้เมื่อมีปัญหาสินเชื่อด้อยคุณภาพ ทุนก็จะหมดลงได้อย่างรวดเร็ว และเกิด ปัญหาสภาพคล่องได้โดยง่าย ยังมีสถาบันการเงินของสหรัฐที่มีลักษณะเช่นนี้อยู่อีก จึงไม่ควรแปลกใจหากมี สถาบันการเงินของสหรัฐล้มละลายอีกหลายแห่งใน 6-12 เดือนข้างหน้า
หน้า 2/2