01 Design1 Originofdesign

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View 01 Design1 Originofdesign as PDF for free.

More details

  • Words: 6,128
  • Pages: 11
1. พัฒนาการของมนุษยที่เกี่ยวของกับ การออกแบบ นับตั้งแตยุคกอนประวัติศาสตร จนถึงยุคปฏิวัติอุตสาหกรรม

2



กําเนิดการออกแบบ การออกแบบเปนเรื่องของคนกับสิ่งที่คนสรางขึ้น เพื่ อ สนองความต อ งการของคน ทุ ก วั น นี้ เ ราอยู ทามกลางสิ่งแวดลอมที่แบงออกไดเปนสองกลุมใหญๆ คือสิ่งแวดลอมที่เกิดขึ้นโดยธรรมชาติ และสิ่งแวดลอม ที่ ค นเราสร า งขึ้ น โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง สิ่ ง แวดล อ มใน เมืองจะมีสิ่งที่คนสรางขึ้นอยูแวดลอมเราอยูในสัดสวน ที่ สู ง มาก สิ่ ง เหล า นี้ จ ะเกิ ด ขึ้ น ไม ไ ด แ ละคงจะไม มี หนาตาอยางที่เรารูจักคุนเคยกันทุกวันนี้ หากไมมีใคร สักคนเคยใชความคิด จินตนาการขึ้นมากอน แลวจึงลง มือสรา ง ประดิษฐ หรือ ผลิต สิ่งเหลา นั้นขึ้นมา หลาย ครั้ ง เรามั ก หลงลื ม กั น ไปว า แทบทุ ก สิ่ ง ที่ อ ยู แ วดล อ ม รอบตัวเราในชีวิตประจําวัน นับตั้งแตแปรงสีฟนที่เราใช เมื่ อตื่ นนอนตอนเช า ไป ชามขา วต มที่ ร า นอาหารแถว สามย า น เครื่ อ งชงกาแฟด ว ยแรงดั น ไอน้ํ า ในร า น Starbucks คอมพิวเตอรที่ค รูใ ชผลิตสื่อการสอนนี้ อาคารภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรมที่เราใชเปนที่ เรี ย น รถไฟฟ า ที่ ห ลายคนใช โ ดยสารมาเรี ย นหนั ง สื อ รวมทั้งโลงศพที่เราทุกคนคงไดใชเมื่อถึงวาระสุดทาย ทุก สิ่ งที่ ค นเราสร า งขึ้น ล ว นเป นผลิ ต ผลของความคิ ด และการออกแบบของใครบางคน หรือ กลุมคนบางคน ทั้งสิ้น









มนุษยยอมไมสามารถออกแบบ อาวุธโลหะไดถา หากปราศจากความรูเกี่ยวการถลุงแรโลหะและการ ขึ้นรูปโลหะ หรือ การออกแบบเครื่องดินเผาจะไมเกิดขึ้น ตราบใดที่ เราไมรูวาเมื่อดินเหนียวถูกเผาดวยความรอนสูง มาก ดินเหนียวจะเปลี่ยนโครงสรางทางเคมีและ ฟสิกส กลายเปนวัสดุที่แกรงคงทนและมีรูปทรง ถาวรกวาดินเหนียว หรือ ถาเราไมรูวาลอสามารถชวยลดแรงเสียดทานใน เกิดการเคลื่อนที่ เราก็ไมอาจออกแบบยานพาหนะ สวนใหญที่เรารูจ  ักกันทุกวันนี้ ตั้งแตจักรยาน จักรยานยนตร รถยนต หรือรถไฟฟา ในทํานองเดียวกัน เอดิสันก็อาจไมสามารถสราง หลอดไฟฟาไดสําเร็จ หากไมไดมีการพัฒนา ุ กอนหนานั้น เทคโนโลยีการผลิตไฟฟาขึ้นตัง้ แตยค หรือ ถาหากคนจีนไมไดคด ิ ลูกคิดขึน ้ มาเมื่อหลายพันป กอน หลายรอยปกอนคนยุโรปก็อาจจะไมสามารถ ประดิษฐเครื่องคํานวณทีใ่ ชวิธก ี ารของเครื่องมือ กล และคนอเมริกันก็คงไมสามารถพัฒนา คอมพิวเตอรขน ึ้ มาไดอยางที่เรารูเห็นกันอยูเดี๋ยวนี้

ความตองการของมนุษย มนุษยเกิดขึ้นมาในโลก ก็ เกิดมาพรอมกับความรักตัวกลัวตาย อยากมีชีวิตรอด อยากอยู สุ ข สบาย เงื่ อ นไขเหล า นี้ เ องที่ ผ ลั ก ดั น ให มนุ ษ ย แ สวงหาและสร า งสิ่ ง ต า งๆมาตอบสนองความ ต อ งการของตน ห ลั ก ฐ า น ก อ น ยุ คปร ะ วั ติ ศ า ส ต ร ชี้ ใ ห เ ห็ น ว า กว า ที่ ม นุ ษ ย พั น ธุ ใ หม ที่ เ รี ย กว า homo sapiens (แปลตรงตัววา man the wise) จะปรากฏขึ้น เปนครั้งแรกในดินแดนแถบทวีปอาฟริกาเมื่อ ประมาณ 100,000-250,000 ปมาแลว มนุษยยุคโบราณที่เรียก กันวา humanoids ก็สามารถประดิษฐคิดคนเครื่องมือ หินขึ้นใชไดแลว (Uhlig, 2000, pp.4) เครื่องมือหิน เหลานี้ เปนของมีคมหรืออาวุธที่ทําจากวัสดุจําพวกหิน มนุษยสมัยกอนประวัติศาสตรทําเครื่องมือเหลานี้ขึ้นมา เพื่อใชเปนอาวุธในการลาสัตว เราอาจถือไดวาอาวุธใน ทํ า นองนี้ ไม ว า จะเกิ ด ขึ้ น ในส ว นใดของโลก เป น ผลงานออกแบบรุ น แรกของมนุ ษ ยชาติ สํ า หรั บ ใน ดินแดนที่เปนประเทศไทยปจจุบัน พบหลักฐานเหลานี้ ไดตามแหลงตางๆ โดยหลักฐานเกาแกที่สุดมีอายุไม เกิน 12,000 ป (พิสิฐ เจริญวงศ, 2525)

Design « Innovation «

Technology

เทคโนโลยีเปนราก นวัตกรรมเปนฐาน การทีม ่ นุษย คนพบวาตนสามารถเอากอนหินมาทุบใหแตกเกิดเปน คมเพื่อใชงานไดนี้เปน 'การคนพบเทคโนโลยีใหม' พัฒนาการของการออกแบบจะเกิดขึ้นไมไดเลยหาก ปราศจากพัฒนาการของเทคโนโลยี เทคโนโลยีคือ การนําเอาความรูความเขาใจเกี่ยวกับกฏเกณฑของ ธรรมชาติ มาประยุกตใชใหเกิดประโยชนเปนรูปธรรม ยกตัวอยางเชน

3

พัฒนาการ 3 ระดับ ของการออกแบบ

Design = Form + Function = Meanings [Concepts]

ระดับที่ 1 สราง ความหมาย งานออกแบบ ต อ งมี ความหมาย เครื่ อ งมื อ หิ น ที่ ม นุ ษ ย ยุ ค ก อ น ประวัติศาสตรประดิษฐขึ้นจะไมมีความสลักสําคัญใดๆ เลย หากมนุ ษ ย ยุ ค ก อ นประวั ติ ศ าสตร ห ลายๆคนไม สามารถเชื่อมโยงรูปรางหนาตา (form) ของเครื่องมือ หิน เขากับ ประโยชนใชสอย (function) ของการลา สัตว เกิดเปนความหมายใหม (meaning) หรือ แนวความคิด ใหม (concept) วา สิ่งของที่มีรูปรา ง หนาตาเชนขวานหินนี้สามารถนํามาใชในการทําใหสัตว เกิดบาดแผล อาจทําใหสัตวที่มนุษยตองการนํามาเปน อาหารเสียชีวิตไดโดยไมตองลงแรงมากอยางแตกอน การที่ form กับ function มีการเชื่อมโยงดังตัวอยาง ข า งต น นี้ เ อง ก อ ให เ กิ ด ความหมายใหม ใ ห กั บ สิ่ ง ที่ มนุษยประดิษฐหรือออกแบบ ระดับที่ 2 ปรับปรุงประโยชน หลั ง จากที่ ม นุ ษ ย โบราณหลายๆคน หรื อ หลายๆชั่ ว อายุ ค น สามารถ เขาใจ concept ของอาวุธมีคมแลว ก็ทําให concept ดังกลาวแพรหลายไปในหมูมนุษยในกลุมเดียวกัน หรือ ขามไปสูกลุมอื่นๆดวย ตอมาอีกยุคหนึ่งมนุษยจึงรูจัก พั ฒ นา form ของอาวุ ธ มี ค มทํ า ให เ กิ ด ความ หลากหลาย โดยการปรับปรุง form ปรับปรุงวัสดุ เชน ใชโลหะแทนหิน ทั้งนี้เพื่อใหใชงานไดดียิ่งขึ้น ความ หลากหลายในลักษณะนี้ ศัพททางวิชาประวัติศาสตร การออกแบบเรียกวา typology of products หรือ product type ซึ่งแปลเปนไทยไดวา ชนิดของ ผลิตภัณฑ

ยอมมีสภาพอิ่มตัวโดยธรรมชาติของตลาดนั้นเอง เมื่อ ถึงจุดนั้นก็มีทางเดียวที่จะทําใหนวัตกรรมเดิมคงความ ใหมอยูได ดวยการออกแบบผลิตภัณฑเดิมออกมาซ้ํา แล ว ซ้ํ า เล า ในรู ป ร า งหน า ตาใหม ๆ แต ล ะรุ น มี ก าร ปรับปรุงประโยชนใชสอยเพียง เล็ ก น อ ย แต มี ห น า ตาที่ ค อ นข า งแตกต า งจากรุ น เดิ ม อยางเห็นไดชัด (Dormer, 1991, pp.12) กลาวโดยสรุปเกี่ยวกับความเปนมาของ design ผูเขียน เชื่อวานาจะแบงออกไดเปน 3 ชวง การสร า งความหมายใหม ใ ห กั บ สิ่ ง ที่ ม นุ ษ ย design และถื อ ได ว า เป น นวั ต กรรม ซึ่ ง เป น ช ว งแรกของ design เมื่อเกิดเปน product type ขึ้น design ก็กาวมาสู ชวงที่สอง ซึ่งเปนชวงของการปรับปรุง form หรือ ปรับปรุงกลไกเพื่อปรับปรุง function ทางกายภาพ โดยที่ ความหมายของผลิตภัณฑนั้นยังคงเดิม ชวงอิ่มตัวของ design นี้เปนการแกปญหาในแงของ สไตล หรือ stylization ถาความคิดของคนเกี่ยวอาวุธมีคมกาวมาถึงชวงที่เปน เพียงการขัดเกลารูปแบบ ก็ถึงจุดที่จะตองหานวัตกรรม ใหม ไม ว า จะเป น เทคโนโลยี ใ หม หรื อ วั ส ดุ ใ หม ซึ่ ง ไมใชหนาที่ของนักออกแบบ แตที่สําคัญหากจะมองวา ความคิดอยางนักออกแบบมีสวนรวมอยางไรใหเกิดปน ขึ้นได วิธีคิดอยา งนักออกแบบก็คือ การสรางแนวคิ ด และความหมายใหม อยางในกรณีที่เกิดปนเปนอาวุธ ชนิ ด ใหม นี้ เราจะเห็ น ความเปลี่ ย นแปลงในความคิ ด ของคนที่วา อาวุธ ใหมนี้มีอํา นาจการทําลายอยูที่การ ทะลุทะลวง ไมไดอยูที่ความคม form และ function ใหม ก็เกิดขึ้นพรอมกับความหมายใหม

3 ระดับ ของ การออกแบบ

เมื่อการ ระดับที่ 3 สรางเปลือกหลากหลาย ปรั บ ปรุ ง ประโยชน ใ ช ส อยทางกายภาพพั ฒ นามาจน อิ่ ม ตั ว แล ว มนุ ษ ย ก็ ไ ม ห ยุ ด อยู แ ค นั้ น แต มี ก ารสร า ง รูปแบบของอาวุธมีคมใหถูกกับรสนิยม หรือฐานะ หรือ ภาพพจน ของผู ใ ช เช น พระแสงดาบของพระเจ า แผนดิน ยอมมีรูปแบบแตกตางจากดาบของพลทหาร ชั้นต่ํา

1. new typology

ห า ก พิ จ า ร ณ า ด ว ย ใ จ ที่ เ ป น ธ ร ร ม ด ว ย ข อ มู ล ท า ง ประวั ติ ศ าสตร ข องสิ่ ง ของที่ ม นุ ษ ยชาติ ไ ด ทํ า การ ออกแบบมาโดยตลอด เราจะพบวาโดยสวนใหญ การ ออกแบบเปนกิจกรรมเกี่ยวกับการสรางสรรค "รูปแบบ" (styling) และการออกแบบ "เปลือก" (packaging) ของผลิ ต ภั ณ ฑ แม ว า เราจะยอมรั บ กั น ว า นวั ต กรรม อยาง Sony Walkman หรือคอมพิวเตอรสวนบุคคล (personal computer) หรือ เครื่องคิดเลขขนาดพก กระเปา หรือ เครื่องรับสงแฟกซ หรือ โทรศัพทมือถือ เปนงานออกแบบที่กอใหเกิดผลิตภัณฑชนิดใหมขึ้นใน ท อ งตลาด และด ว ยการที่ สิ่ ง เหล า นี้ มี คุ ณ สมบั ติ ข อง นวัตกรรมที่เหมาะสมกับความตองการของมหาชนจึง เปนเรื่องงายที่จะสรางตลาดใหมและขยายตลาดใหมนี้ ออกไปในชวงแรก แตเมื่อเวลาผานไปตลาดเหลานี้ก็

3. stylization

form กับ function ถูกเชื่อมโยงเขาดวยกัน เกิดเปน 'ความหมายใหม' (new concept) และ เกิดเปนผลิตภัณฑชนิดใหม (new typology)

2. typological development ผูคนยอมรับและเขาใจ 'ความหมาย' ของ typology ปรับปรุง form และเทคนิควิธีการผลิต เพื่อปรับปรุง function ทางกายภาพ function ทางกายภาพพัฒนามาจนอิ่มตัว สรางความหลากหลายของ form ของผลิตภัณฑ เพื่อตอบสนอง function ทางจินตภาพ อันไดแก สไตล, รสนิยม,หรือภาพพจนของผูใช

4

design และ designer ความหมายที่แปรเปลี่ยน

"กรอบจํ า กั ด ของกระบวนวิ วั ฒ นาการ(evolutionary)

แทนที่จะเปน อภิวัฒนาการ(revolutionary) 1 ไมใชปญหาสําหรับนักออกแบบ แตเปนสัจธรรมที่นักออกแบบตองเรียนรูที่จะยอมรับ " Peter Dormer, 1991

การออกแบบไม ใ ช กิ จ กรรมที่ เ พิ่ ง เกิ ด ขึ้ น ใน คริส ตศตวรรษที่ 20 แต สิ่งที่เกิด ขึ้นเปนปรากกการณ เฉพาะในศตวรรษดังกลา วก็ คือการที่การออกแบบได ขยับฐานะขึ้นมาเปนธุรกิจที่เปน เอกเทศแยกจากธุรกิจ อุตสาหกรรมการผลิต (Dormer, 1991, pp.13) และ คนไทยคงจําตองยอมรับขอเท็จจริงทางประวัติศาสตร ที่วา เราไดรับถายโอนแนวความคิด (concept)ของคํา ว า design และ designer(การออกแบบ และ นั ก ออกแบบ)อย า งที่ เ ราเข า ใจกั น (หรื อ คิ ด ว า เข า ใจกั น ) ทุ ก วั น นี้ ม า จ า ก ม า จ า ก โ ล ก ต ะ วั น ต ก ใ น ช ว ง คริสตศตวรรษที่ 202 กิจกรรมการออกแบบในฐานะที่ เปนวิชาชีพอยางที่เรารูจักกันทุกวันนี้ เปนเปนผลพวง มาจากสัง คมอุต สาหกรรมสมั ย ใหมใ นโลกตะวัน ตกที่ เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อประมาณหนึ่งรอยปที่ผานมา และอาชีพ นักออกแบบเปนวิชาชีพที่เริ่มขึ้นในเมืองไทยไดเพียง ประมาณ 60 ป เมื่อมีการกอตั้งคณะสถาปตยกรรม ศาสตร ขึ้นเปนแหงแรกในประเทศไทย ที่จุฬาลงกรณ มหาวิทยาลัย • •

นักออกแบบอยางที่เรารูจักกันทุกวันนี้มีฐานะเปน 'ผูคิดแบบ' โดยมีคนอื่นๆ เชน ชาง หรือ โรงงาน เปน 'ผูทําตามแบบ'

กวาที่แนวคิดนี้จะเกิดขึ้นไดและขยายวงกวาง จนมี ฐ านะเป น วิ ช าชี พ หนึ่ ง ในสั ง คมมนุ ษ ย ก็ กิ น เวลา หลายหมื่ น ป นั บ ตั้ ง แต ม นุ ษ ย ค นแรก เริ่ ม 'ประดิ ษ ฐ ' สิ่งของที่เปนฝ มือและความคิดของมนุษยขึ้นเปน ครั้ง แรกตั้งแตยุคกอนประวัติศาสตร ตลอดระยะเวลาหลาย หมื่ น ป ดั ง กล า วนั้ น แนวความคิ ด ของมนุ ษ ย เ กี่ ย วกั บ กิ จ กรรมที่ เ รารู จั ก กั น ในป จ จุ บั น ว า การออกแบบ ได มี การเปลี่ ย นแปลงไม ห ยุ ด นิ่ ง ขึ้ น อยู กั บ สภาพสั ง คม เศรษฐกิ จ โดยเฉพาะอย า งยิ่ ง ระบบการผลิ ต นั ก ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร โ ด ย ทั่ ว ไ ป นิ ย ม แ บ ง ยุ ค ส มั ย ข อ ง มนุ ษ ยชาติ ต ามระบบสั ง คมที่ เ ป น ผลมาจากระบบการ ผลิ ต ในแต ล ะยุ ค ออกเป น สั ง คมล า สั ต ว ร อ นเร สั ง คม เกษตรกรรม และสังคมอุตสาหกรรม หากเราพิจารณา แนวความคิดเกี่ยวกับการออกแบบในแตละยุคสมัยก็จะ พบว ามี ความแ ตกต า งกั นอย างมา ก แ ละ แน วคิ ด เหลานั้นผูกพันกันอยางแนบแนนกับ/และแปรผันตาม ระบบการผลิตที่แพรหลายอยูในยุคนั้น

นวัตกรรม กับ การออกแบบ ปเตอร ดอรเมอร (Peter Dormer) นักประวัติศาสตรการออกแบบชาว อังกฤษเขียนไววา…"ตามปกติ นักออกแบบมักทํางาน

ดวยวิธีก ารที่มีลั กษณะอนุรักษนิ ยม นี่ เปนเพราะโดย วิ ช าชี พ แล ว นั ก ออกแบบมี ห น า ที่ อ อกแบบสิ่ ง ที่ ผู ค น ต อ งการ และผู ค นส ว นใหญ ก็ มั ก จะต อ งการสิ่ ง ที่ ต น คุ น เคยอยู แ ล ว จะมี ก็ เ พี ย งบางครั้ ง เท า นั้ น ที่ นั ก ออกแบบสามารถผลิตผลงานออกมาในลักษณะที่เปน 'ประดิษฐกรรม' แตโดยทั่วไปแลวงานออกแบบที่ผาน เล็ดรอดออกมาสูขั้นตอนการผลิตจนถึงมือผูใชนั้น เปน การปรับรูปแบบบนพื้นฐานของขนบนิยมเดิม สไตลจาก อดีต หรือ แฟชั่นที่เคยเปนที่นิยมมาแลว หัวจักรรถไฟ รุ น แรกๆมี ห น า ตาเหมื อ นกั บ เครื่ อ งป ม น้ํ า วางอยู บ น ล อ เลื่ อ นและตู ร ถไฟนั้ น ก็ มี ลั ก ษณะแทบจะถอดพิ ม พ ออกมาจากรถประทุน เทียมมาที่ ตูรถไฟเหลานี้เขามา แทนที่ ที่ เ ป น เช น นี้ ไ ม ใ ช เ พี ย งเพราะข อ จํ า กั ด ของ เทคโนโลยี แ ละทั ก ษะของช า งฝ มื อ ในสมั ย นั้ น แต เหตุผลสําคัญที่กํากับใหรูปแบบของหัวจักรรถไฟและตู รถไฟรุ น แรกเป น เช น นั้ น ก็ คื อ จิ น ตนาการของนั ก ออกแบบในยุคนั้นไมสามารถเอื้อมออกไปไกลเกินกวา สิ่ ง ที่ ค น ใ น ยุ ค นั้ น รู แ ล ะ เ ข า ใ จ (เ ช น เ ดี ย ว กั บ ที่ จิ น ตนาการของเราในยุ ค นี้ ไ ม ส ามารถก า วข า มไปถึ ง อนาคตไกลๆได ม ากนั ก ) แม ก ระทั่ ง เฮนรี่ ฟอร ด (Hernry Ford) นักออกแบบรถยนตผูยิ่งใหญชาว อเมริกัน ก็ไมสามารถสรางจินตนาการแบบกาวกระโดด (mental leap) จากรถยนตฟอรด Model T ไปสู รถยนตรุนรูปทรง 'ไหลลื่น' (streamlined saloon) โดยไมผานกระบวนการเรียนรูอยูหลายป เชนดียวกับ ทุกๆสิ่งในจักรวาลนี้ งานออกแบบตองผานกระบวนการ วิวัฒนาการ และแนนอนบางครั้งนักออกแบบก็ชอบที่ จะเลนกับ 'ไฟ' โดยเฉพาะเลนกับแนวความคิดทาง ศิลปะที่พัฒนาขึ้นในชวงปลายคริสตศตวรรษที่ 20 นัก ออกแบบเหลานี้พยายามออกแบบสิ่งที่มีลักษณะ 'แหก คอก' โดยเฉพาะเฟอรนิเจอรและการตกแตงภายใน แต ผลที่นักออกแบบเหลานี้ไดรับก็คือ ผูคนสวนใหญไมใส ใจและไมซื้องานออกแบบเหลานั้น" (Dormer, 1991, pp.10)

จุ ด สํ า คั ญ ก็ คื อ พึ ง เ ข า ใ จ ว า ง า น ข อ ง นั ก ออกแบบ โดยเฉพาะวิชาการออกแบบอยางที่เรากําลัง เรียนอยูที่ภาควิชาการออกแบบอุตสาหกรรมนี้ ไม กิน ค ว า ม ร ว ม ถึ งกา ร ป ร ะ ดิ ษฐ คิ ด ค น ท า งเ ท ค โ น โ ล ยี วัตถุประสงคของวิชาการออกแบบไมไดอยูที่การสอน นักเรียนของเราใหสรางเทคโนโลยีใหมได แตเปนการ สอนนัก ออกแบบให ส ามารถนํา เอาเทคโนโลยี ที่ มีอ ยู แลวมาประยุกตใชใหเหมาะสม

Design

<<

Crafts

<< Fine Arts

1 อภิวัฒนในความหมายของดอรเมอรหมายถึงการเปลี่ยนแปลง ขนานใหญ อยางที่เรียกวาพลิกฟาพลิกแผนดิน 2 ดูนิยามของกลุมคําที่เกี่ยวของใน ภาคผนวก 1

5

จากชาง มาเปน นายชาง ตลอดประวัติศาสตรของ มนุษยชาติ ความรูความคิด ตางๆจากคนรุนเกาไดรับ การสื บ ทอดและสานต อ ให ง อกงามจนเกิ ด เป น ระบบ ความรูและความคิดที่ซับซอนจนเกินกวาที่คนๆเดียวจะ สามารถเรี ย นรู แ ละทํ า ได ห มด เพราะฉะนั้ น จึ ง เกิ ด มี ผู เ ชี่ ย วชาญเฉพาะทางขึ้ น ในสั ง คมมนุ ษ ย หรื อ ที่ เ รา เรี ย กรวมๆว า วิ ช าชี พ ต า งๆ ในส ว นที่ เ กี่ ย วกั บ การ ออกแบบ เราอาจอนุมานได ว า แรกเริ่มเดิมทีนั้นคนที่ คิดเทคโนโลยีกับคนที่คิดคน form ของ design นั้น รวมทั้งคนที่ผลิต design นั้นออกมาเปนชิ้นงานอาจ เปนคนๆเดียวกัน แต เ มื่ อ เทคโนโลยี ซั บ ซ อ นขึ้ น คนที่ คิ ด ค น เ ท ค โ น โ ล ยี ใ ห ม ๆ ก็ จํ า เ ป น ต อ ง มี ค ว า ม รู เ กี่ ย ว กั บ เทคโนโลยี เ ก า เพื่ อ เป น ฐานสํ า หรั บ การสร า งสิ่ ง ใหม ผู เ ชี่ ย ว ช า ญ เ ฉ พ า ะ ท า ง เ ห ล า นี้ เ ร า เ รี ย ก ว า นั ก วิ ท ยาศาสตร และ วิ ศ วกร เทคโนโลยี ใ หม ที่ เพิ่มขึ้นตามเวลาเหลานี้ถูกถายถอดไปสูผูเชี่ยวชาญอีก กลุ ม ที่ ทํ า หน า ที่ คิ ด ค น เรื่ อ งรู ป แบบและลงมื อ ทํ า ผลิตภัณฑ เมื่อรูปแบบและกรรมวิธีการผลิตซับซอนขึ้น เรื่อยๆ ก็ทําใหจําเปนตองมีการฝกฝนทักษะ เชน ทักษะในการวาด แกะสลักไม แกะสลักหิน หลอโลหะ เ ป น ต น เ กิ ด เ ป น ก ลุ ม วิ ช า ชี พ อี ก ก ลุ ม ขึ้ น ม า ซึ่ ง ภาษาไทยเรียกวา ชาง และเกิดระบบการฝกฝน ทักษะตางๆนี้ โดยที่ผูที่ตองการเปนชางตองไปฝากตัว เป น ศิ ษ ย กั บ ครู ช า ง ระบบนี้ มี อ ยู ใ นอารยธรรมทั่ ว โลก รวมทั้งในเมืองไทย ในยุ โ รปตั้ ง แต ส มั ย กลางจนถึ ง ช ว งก อ นการ ปฏิวัติอุตสาหกรรม มืระบบที่เรียกวา Guild ซึ่งคลาย กับระบบที่มีหลงเหลืออยูจนถึงเดี๋ยวนี้ในญี่ปุน เชนคน ที่ อ ย า งเป น ช า งเซรามิ ค ส ต อ งไปฝากตั ว เป น ศิ ษ ย ทํ า หนาที่รับใชเปนเวลานับป จึงจะไดรับอนุญาตใหเรียนรู ทักษะทางเซรามิคสทีละเล็กทีละนอย นายชาง ในสมัยกอนปฏิวัติอุตสาหกรรม ยังไมมีอาชีพ นั ก ออกแบบที่ แ ยกเป น เอกเทศจากอาชี พ ช า ง ใน ขณะเดียวกันผูผลิตศิลปะวัตถุตางๆที่ตกทอดมาจนถึง ทุ ก วั น นี้ ก็ ถู ก เรี ย กรวมว า ช า งเหมื อ นกั น วิ ช าชี พ นั ก ออกแบบชนิดแรกที่เกิดขึ้นนาจะเปนสถาปนิก เพราะ เมื่อสังคมมนุษยพัฒนาขึ้นก็เกิดการปลูกสรางอาคารที่ มี ค วามสลั บ ซั บ ซ อ นตามไปด ว ย การก อ สร า งอาคาร เหล า นี้ มั ก เป น งานใหญ โ ตเกิ น กว า ที่ ค นออกแบบจะ สรางเองได จึงเกิดการแบงแยกงานระหวางสถาปนิก ซึ่งเปนผูออกแบบ กับชางกอสรางซึ่งเปนผูสรางอาคาร ใหไดตามแบบ การแบ ง แยกงานในลั ก ษณะดั ง กล า วเป น จุ ด กํ า เนิ ด ของวิ ช าชี ก นั ก ออกแบบอย า งที่ เ รารู จั ก ใน ปจจุบัน คือ นักออกแบบ เปนผูคิดสิ่งที่เรียกวา "แบบ" และ ออก คือ ถายทอดแบบนั้นออกมาจากสมองของ นักออกแบบในรูปแบบที่ค นอื่นเขาใจได เชนเขีย นลง บน กร ะ ด า ษ ทํ า หุ น จํ า ล อง เป น ต น ผ ล จ า ก ก า ร แบงแยกนี้ก็ทําใหอาชีพชางถูกกําหนดความหมายเสีย ใหม จากเดิมที่เปนทั้งคนคิดและคนผลิต design ก็ กลายเปนผูลงมือปฏิบัติการทําตาม "แบบ" เพื่อผลิต แบบนั้นใหสําเร็จเปนชิ้นงานจริง

ผูเขียนอยากจะตั้งขอสังเกตไววา ในสมัยกอน อุต สาหกรรม วิ ช าชี พ นัก ออกแบบอย า งที่เ รารู จั ก กั น ทุกวันนี้ยังไมเกิดขึ้น แนวความคิดที่แยก design ออก จาก crafts และ fine arts เปนแนวคิดที่เกิดขึ้น หลังจากที่สังคมมนุษยเปลี่ยนเปนสังคมอุตสาหกรรม อยางเต็มรูปแบบ ซึ่งกอใหเกิดการจําแนกแรงงานใน โรงงานอุตสาหกรรม โดยการแบงแยกกระบวนการผลิต ออกเปนชวงสั้นๆ ในแตละชวงของการผลิตก็ใหคนงาน คนหนึ่ งทํ า งานเฉพาะในช ว งการผลิต นั้ น ซ้ํา ๆกั น ซึ่ ง ตัว อย า งที่ เห็ น ได ชั ด คือ ระบบการผลิ ต รถยนต ที่ มี ก าร แยกสายการผลิตออกเปนหนวยยอยๆ เชน หนว ยตั ด แผ น โลหะ ป ม แผ น โลหะ เชื่ อ ม ประกอบตั ว ถั ง พ น สี ทําเบาะ ประกอบเบาะ เปนตน แตประเด็นสําคัญในที่นี้ก็คือ การกําเนิดของ ระบบการผลิตในโรงงานอุตสาหกรรมตั้งแตชวงปลาย ศตวรรษที่ 19 กอใหเกิดอาชีพนักออกแบบขึ้น ซึ่ง ณ จุ ด นี้ ผ มหมายถึ ง นั ก ออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ที่ ผ ลิ ต ขึ้ น ใน โรงงานอุตสาหกรรม หรือ อยางนอยก็ใชคนอื่นทําผลิต สินคาหนาตาเหมือนกัน ทีละหลายๆชิ้น หรือ เปนมวล มาก (mass) นักออกแบบเหลานี้ ซึ่งเราเรียกกันใน ภาษาอังกฤษวา industrial designer หรือ product designer เปนผูมีหนาที่ "ออก - แบบ" แตไมมีหนาที่ ผลิตสินคา เพราะหนาที่ในการผลิตสินคาถูกแบงแยก ย อ ยเป น หน ว ยการผลิ ต ย อ ยๆภายในโรงงาน พู ด กลั บ กั น ก็ คื อ ความคิ ด เกี่ ย วกั บ วิ ช าชี พ นั ก "ออก แบบ" โดยเฉพาะนักออกแบบสินคานี้จะไมไดรับความ นิ ย มอย า งกว า งขวางเลยหากไม มี ร ะบบการผลิ ต ใน โรงงานขึ้นมารองรับ ผลกระทบที่ตามมาอยางหลีกเลี่ยงไมไดก็คือ เกิดความแตกตา งในแงสถานะทางสังคมระหวา ง นั ก ออกแบบ และ คนงาน แน น อนว า สถานะของนั ก ออกแบบย อ มดี ก ว า สถานะทางสั ง คมของคนงาน เพราะเป น ผู ที่ ทํ า งานอยู บ นส ว นบนของป ร ามิ ด คื อ มี สวนในการกําหนดวาคนระดับลางลงไปจะตองทําอะไร และอยางไร ผ ล ก ร ะ ท บ อี ก อ ย า ง ห นึ่ ง ก็ คื อ เ กิ ด ก า ร เปลี่ ย นแปลงอย า งสํ า คั ญ ในความหมายของวิ ช าชี พ "ช า ง" ทุ ก วั น นี้ เ ราอาจเรี ย กคนงานบางจํ า พวกใน ระบบการผลิต วา ช า ง เช น ชา งเหล็ ก ชา งไม ชา งสี แตเราก็ตองตระหนักดวยวา ความหมายของคําวาชาง ที่ใ ชกันทั่วไปทุกวันนี้ แตกตางจากความหมายของ คําวาชางในสมัยโบราณมาก โดยเฉพาะในแงสถานะ ทางสังคม และไมนาแปลกใจที่กลุมคนที่มีฝมือทางชาง ในระดับสูง และมีความคิดสามารถสรางสรรคสิ่งใหมไม หยุ ด นิ่ ง ย อ มไม ต อ งการมี ส ถานะอย า งช า งในระบบ อุ ต สาหกรรม แต ต อ งการให ส ถานะของตั ว ดี ขึ้ น หรื อ อย า งน อ ยก็ ค งเดิ ม นี่ อ าจเป น สาเหตุ ใ ห เ กิ ด กลุ ม วิชาชีพใหมแยกตัวออกจากวิชาชีพชาง กลุมใหมนี้เรา รูจักกันในนาม ศิลปน ผูทํางานชางที่เรียกกันวา ศิลปะ ในทางทัศนศิลปกลุมศิลปนเปลานี้โดยเฉพาะในฃชาติ ตะวัน ตกไดพัฒ นาความคิดมาอยา งตอเนื่องจนฉีกตั ว ออกจากการสรางสรรคผลงานจากทักษะทางการชาง เชนวาดรู ป สวย ปน รูป เหมือน ออกไปเปน การคิด ค น

6

ทางปรั ช ญาศิ ล ปะที่ มี ค วามซั บ ซ อ นกว า เดิ ม กล า ว โ ด ย ร ว ม ก็ คื อ ง า น ทั ศ น ศิ ล ป นั บ ตั้ ง แ ต ก า ร ป ฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมนั้ น มี แ นวโน ม จะมี ลั ก ษณะ conceptual มากขึ้นเรื่อยๆ กลุมศิลปนเหลานี้ เรียกรวมๆวาพวกหัว กาวหนา (avant-garde) ซึ่งแตละยุคก็จะมีคนหรือ กลุมคนใหมเสนอแนวคิดใหมขึ้นมาทาทายแนวคิดเดิม ในขณะเดี ย วกั น สั ง คมตะวั น ตกก็ ส ร า งกลไกทา ง วั ฒ น ธ ร ร ม ที่ ก อ ใ ห เ กิ ด ส ถ า น ะ ใ ห ม ข อ ง ศิ ล ป ะ ที่ นอกเหนือไปจากความงาม นั่นก็ คือความเปนของแท (authenticity) เกิดวัฒนธรรมการแสดงงานศิลปะใน พิ พิ ธภั ณฑ ทํา ให ง านศิล ปะมี ส ถานะแยกออกไปจาก งานสถาป ต ยกรรมอย า งที่ เ คยเป น มาในอดี ต ผลที่ ติ ด ตามมาอี ก อย า งก็ คื อ ราคาของงานศิ ล ปะถี บ ตั ว สู ง ขึ้ น จนไม อ าจประเมิ น ราคางานศิ ล ปะได จ ากราคา วัสดุ หรือคาแรงในการทํา แตกลับใชเกณฑความนิยม ของตลาดศิลปะ และการเก็งกําไรเขามาเปนเกณฑ

Renaissance man คือรูไปเสียทุกเรื่องและทําไดดีทุก อยาง แตอันที่จริงคนที่ทํางานเหลานี้แตไมถูกบันทึก ชื่อไวยังมีอีกมาก ถาเราสืบใหดี ชางพื้นบานของไทย ห ล า ย ค น ก็ มี ลั ก ษ ณ ะ เ ป น ค น ที่ ทํ า ง า น ช า ง ไ ด ห ล า ก ห ล า ย แ ล ะ ไ ม ไ ด ใ ช แ ค เ พี ย ง ฝ มื อ ทํ า ข อ ง ซ้ํ า ๆซากๆ หากแต มี ก ารสร า งสรรค สิ่ ง ใหม ๆ ขึ้ น มา ถึงแมจะไมมีการเขียนแบบบันทึกไว แตก็ถือไดวาเปน การ design ใหม

ในขณะที่ ก ลุ ม ศิ ล ป น ที่ ส นใจในการผลั ก ดั น งานศิ ล ปะแนวทางใหม ใ ห เกิ ด ขึ้ น ก็มี กลุ มคนอี กกลุ ม หนึ่งที่ยังคงสนใจสรางสรรคงานของตนโดยใชฝมือขั้น สูง กลุมคนเหลานี้ไดพัฒนางานของตนโดยเฉพาะ ในแง เ ทคนิ ค ในเชิ ง ช า งจนมี ค วามสลั บ ซั บ ซ อ นและ สวยงาม และมุงทํางานในลักษณะที่ตนทําสําเร็จแลว ซ้ําแลวซ้ําอีก ซึ่งในสังคมตะวันตกเรียกงานในลักษณะ นี้วา crafts และเรียกกลุมคนที่ทํางานในลักษณะนี้วา craftsman หรือ craftsperson ภาษาไทยมักแปลคํา วา crafts วาหัตถกรรม ซึ่งก็ถูกในสวนหนึ่ง แต crafts ในสถานะใหมนี้ควรแปลวา ประณีตศิลป จึงจะถูกตอง กวา ตัวอยางงาน crafts ที่เห็นไดชัดๆก็คือ งานที่ผลิต ในโครงการศูนยศิลปาชีพพิเศษ, งานชางสิบหมูของ กรมศิล ปากร, งานประณีตศิลปของจักรพันธ โปษ ยกฤติ, งานเซรามิคสของ ทวีไทย บริบูรณ หรือ สม ถวิล อุรัสยะนันท, งานทอผาบานไรไผงามของแสงดา บั น สิ ท ธิ์ เป น ต น หากจะเที ย บกั น ในแง ร าคาระหว า ง งานศิลปะ กับงาน crafts แลว ในประเทศที่มีกําลัง เศรษฐกิจมาก เชน สหรัฐอเมริกา, ประเทศในยุโรป ตะวันตก, ญี่ปุน, หรือ เกาหลีใต งานศิลปะ จะมีราคา สูงกวางาน crafts มาก ซึ่งสภาพการณก็เปนแนวโนมที่ กําลังเกิดมากขึ้นในประเทศไทย

ในขณะเดียวกันกลุม industrial designer หรือ product designer ก็พัฒนาสถานะของตน ขึ้นมาเรื่อยๆ ซึ่งเราอาจแยกไดเปนสองกลุม กลุมหนึ่งมี ชื่อเสียงโดดเดนขึ้นมาเพราะมีความคิดสรางสรรคใหมๆ และโดยมากมีแรงสนับสนุนทางการเงินจากครอบครัว หรื อ จากคนในชนชั้ น เดี ย วกั น นั ก ออกแบบเหล า นี้ มี โอกาสออกแบบสิ่งตางๆ โดยไมถูกจํากัดดวยเงื่อนไข ทางการผลิ ต และการการตลาดมากเกิ น ไป ตั ว อย า ง ของกลุมคนเหลานี้ เชน William Morris , Charles Rennie Mackintosh, หรือ บรรดาสถาปนิกมีชื่อที่หัน มาออกแบบผลิตภัณฑบางหลังจากประสบความสําเร็จ ในฐานะสถาปนิกแลว เชน Le Corbusier, Walter Gropius หรือ Frank Gehry

และอาชี พ ศิ ล ป น เช น จิ ต รกร ประติ ม ากร ก็ ไมไดถูกแยกออกจากงาน design อยางเด็ดขาด เชน Michaelangelo Bunarotti ซึ่งเรารูจักกันดีในฐานะจิตร กรและประติมากรนั้นจริงๆแลวเปนสถานิกผูอออกแบบ plaza และอาคารรอบ plaza หนามหาวิหารเซนตป เตอร ในวาติ กั น การที่ ค นๆหนึ่ ง สามารถทํ า งานได หลากหลายลักษณะเชนนี้ ภาษาไทยเราเรียกวา ความ เปนชาง หรือ craftsmanship หรือ draftsmanship ในภาษาอังกฤษ ตัว อยางของคนลักษณะนี้ใ น เมืองไทยก็เชน สมเด็จเจาฟากรมพระยานริศรานุวัดติ วงศ ผูเปนสถาปนิกออกแบบวัดเบญจมบพิตร และเปน ผูออกแบบเครื่องใชหลายอยางสําหรับการพระราชพิธี สําหรับรัชกาลที่ 5 และ 6 ในขณะเดียวกันก็เปนผูที่มี ความสามารถในการวาดภาพ และแกะสลัก คือลงมือ ทําไดดวยพระองคเอง อาจจะมีค นแยงวาตัวอยางของคนลักษณะนี้ เ ป น บุ ค ค ล จํ า พ ว ก ม นุ ษ ย พิ เ ศ ษ ที่ เ รี ย ก กั น ว า

คนที่เรียน design ก็จําเปนตองมีคุณสมบัติใน ทํ า นองนี้ ก็ คื อ มี จิ น ตนาการอยู ใ นสมองของตั ว และ สามารถถายทอดเขียนออกมาเปนแบบใหคนอื่นเขาใจ ได และในหลายกรณีเชน ในวิชา ceramic design และ textile design รวมทั้ง graphic design เราก็ จําเปนตองใชฝมือในการถายทอดจาก "แบบ" ออกมา เปนผลงานที่ใชการไดจริง

ส ว นอี ก กลุ ม หนึ่ ง ซึ่ ง เกี่ ย วข อ งกั บ วิ ช าชี พ ใน อนาคตของพวกเรามากกว า ก็ คือ กลุ ม นั กออกแบบที่ ทํ า งานเป น ส ว นหนึ่ ง ในระบบอุ ต สาหกรรมหรื อ ใน โรงงาน คนเหลานี้เมื่อเริ่มแรกเกิดวิชาชีพนักออกแบบ ขึ้นมา เคยทํางานในลักษณะที่โรงงานอุตสาหกรรมจาง นักออกแบบเพียงคนเดียว ทําหนาที่ออกแบบทุกอยาง ในโรงงานอุ ต สาหกรรม นั บ ตั้ ง แต ออกแบบสิ น ค า ออกแบบ packaging ออกแบบ graphic design และ ออกแบบโฆษณา ตอมางานออกแบบในโรงงานก็มาก และสลั บ ซั บ ซ อ นขึ้ น จนเกิ น กว า คนๆเดี ย วจะทํ า ได ก็ ต อ งก็ ข ยั บ ขยายให มี นั ก ออกแบบหลายๆคนทํ า งาน รวมกันเกิดเปนแผนก design ขึ้นในโรงงาน หรือที่เรา เรียกกันวา in-house designers จากนั้นก็เกิดการ แยกยอยใหความเชี่ยวชาญของนักออกแบบออกเป น สาขาตางๆ อยา งที่เราเห็นกันอยูทุกวันนี้ และนับวันก็ จะมีสาขายอยของวิชาชีพนักออกแบบผุดขึ้นมาเรื่อยๆ เชน interior architect ก็เปนแนวคิดใหมที่ผสานเอา วิ ช า ชี พ ส ถ า ป นิ ก ที่ เ ข า ใ จ ใ น แ ง โ ค ร ง ส ร า ง ท า ง สถาปตยกรรม เขากับความเขาใจในดานการออกแบบ ภายใน หรือ เมื่อสิบปกอนหนานี้ เราไมเคยนึกวาจะเกิด อาชีพที่เรียกวา web designer แตเดี๋ยวนี้ก็กลายเปน อาชี พ ยอดนิ ย มอาชี พ หนึ่ ง ในวงการนั ก ออกแบบใน ปจจุบันนี้ จุดเปลี่ยนครั้งสําคัญในวิชาชีพนักออกแบบก็ คื อ การที่ เ กิ ด การจั ด ตั้ ง แผนกออกแบบสิ น ค า ขึ้ น ใน บริษัทตัวแทนโฆษณา (advertising agency) ขึ้นใน

7

สหรัฐอเมริกาและอังกฤษเมื่อประมาณหนึ่งรอยปที่ผาน มา แผนกออกแบบสิ น ค า ในบริ ษั ท เหล า นี้ ทํ า หน า ที่ ออกแบบสิ น ค า ให ลู ก ค า ที่ จ า งบริ ษั ท ดั ง กล า วทํ า โฆษณา โดยเดิมทีปริ ษัท โฆษณาถือวา งานออกแบบ สิ น ค า นี้ เ ป น บริ ก ารเสริ ม ความสํ า คั ญ ของแผนก ออกแบบสิ น ค า ในบริ ษั ท โฆษณาอยู ต รงที่ ก ารที่ นั ก ออกแบบผลิตภัณฑแยกตัวออกมาเปนหนวยงานอิสระ จากโรงงานอุ ต สาหกรรม ผลก็ คื อ นั ก ออกแบบใน ลั ก ษณะนี้ มี โ อกาสออกแบบผลิ ต ภั ณ ฑ ห ลากหลาย กวาเดิมที่เคยถูกจํากัดอยูดวยเงื่อนไขในแงกรรมวิธีการ ผลิ ต และชนิ ด ของสิ น ค า ของโรงงานเดี ย วผลที่ เ กิ ด ตามมาก็คือ มีนักออกแบบแยกตัวออกมาเปนอิสระจาก แผนกออกแบบสิ น ค า ในบริ ษั ท โฆษณา เพื่ อ จั ด ตั้ ง บริษัทออกแบบ (design firm) ของตนเอง ซึ่งบริษัท ออกแบบลักษณะนี้เกิดขึ้นเปนครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ผลจากการแยกตั ว ออกมาเป น อิ ส ระนี้ ประกอบกั บ ความสํ า เร็ จ ในการออกแบบที่ จั บ ใจมหาชนส ง ผลให นักออกแบบบางคนมีชื่อเสียงขึ้นถึงระดับเทียบเคียงได กั บ บุ ค คลสํ า คั ญ ระดั บ ชาติ หรื อ ดาราภาพยนตร ตัวอยางของนักออกแบบในลักษณะนี้ เชน Raymond Lowey ผูเปนแรงผลักดันแนวทางการออกแบบที่รูจัก กั น ในป จ จุ บั น ว า Streamlining,Herman Miller Knoll,Charles Eames ตัวอยางของนักออกแบบ ลั ก ษณะนี้ ใ นป จ จุ บั น ก็ เ ช น Viviene Westwood, Ettore Sottsass, และ Philip Starck ซึ่งมีชื่อเสียงจาก การออกแบบอันมีเอกลักษณเปนของตนเอง เมื่อวิช าชีพนักออกแบบ พัฒ นามาถึงจุด นี้ ก็ เป น ที่แ น น อนว า ความหมายของคํ า วา การออกแบบ โดยเฉพาะคํ า ว า design ในภาษาอั ง กฤษ ได เ ป ลี่ ย น แ ป ล ง ไ ป จ า ก จุ ด เ ริ่ ม ต น ข อ ง คํ า นี้ ใ น ส มั ย Renaissance ที่คําวา il disegno ในภาษาอิตาเลียน หมายความวา การเขียนและวาดภาพของงาน หากเรา สั ง เกตบทความเกี่ ย วกั บ การออกแบบในภาษาอื่ น ๆ นอกจากภาษาอั ง กฤษ เช น ฝรั่ ง เศส เยอรมั น ญี่ ปุ น หรือ แมกระทั่งอิตาเลียน เราจะพบวาเริ่มมีการใชคําวา design แทนคําดั้งเดิมในภาษานั้น สาเหตุที่เปนเชนนี้ ก็ เ พ ร า ะ ค ว า ม ห ม า ย ข อ ง คํ า ว า ก า ร อ อ ก แ บ บ ไ ด เปลี่ยนแปลงไปภายใตเงื่อนไขของเศรษฐกิจทุนนิยมที่ มี อ เ ม ริ ก า เ ป น ผู นํ า แ ล ะ อ ย า ง ที่ เ ร า รู กั น ดี ว า ภาษาอั ง กฤษเป น ภาษาประจํ า ชาติ อ เมริ กั น ภายใต เงื่ อ นไขนี้ ความหมายของคํ า ว า design ได เปลี่ ย นแปลงไปจนคํ า ดั้ ง เดิ ม ในภาษาอื่ น ไม อ าจ ครอบคลุมความหมายไดครบถว น ปจจุบันนี้ เกิดคํา เรี ย กใหม ๆ ในภาษาอั ง กฤษที่ ยิ่ ง นั บ วั น จะเปลี่ ย น ความหมายของคําวา design เขาไปทุกที ยกตัวอยาง เชน designer’s jeans,designer’s drugs ความหมาย ของคําใหมเหลานี้เปนผลพวงจากระบบเศรษฐกิจแบบ ทุนนิยมที่กอใหเกิดกระแสโลกาภิวัติ กลาวคือมีการสง อิท ธิพลทางวัฒ นธรรมผานทางสินคา ที่ผ ลิต หรือขาย โดยบริษัทขามชาติ

¶ 8

จากปฏิวัติเกษตรกรรม ถึงปฏิวัติอุตสาหกรรม วิชาชีพการออกแบบอยางที่เรารูจักกันทุกวันนี้ มีพัฒนาการมาจากสิ่งที่เรียกวาการปฏิวัติอุตสาหกรรม ซึ่ ง เป น กระบวนการเปลี่ ย นแปลงอย า งถึ ง รากถึ ง โคน ของระบบทางเศรษฐกิจและสังคม โดยเกิดขึ้นเปนแหง แรกในประเทศอังกฤษ ในชวงปลายคริสศตวรรษที่ 18 การเปลี่ยนแปลงนี้มีความสําคัญถึงขนาดพลิกโฉมหนา ประวัติศาสตรโลกอยางที่โลกไมอาจหวนคืนกลับไปสู สภาพเดิมไดอีกนี้ เกิดขึ้นจากการนําเอาระบบการผลิต ดวยเครื่อ งจั กรกลมาใช ซึ่ งก อใหเ กิด การเคลื่ อนยา ย ฐานการผลิตจากภายในครอบครัวมาสูระบบการผลิตใน โรงงานขนาดใหญ และเปน ผลใหร ะบบเศรษฐกิจ ทุ น นิยมแผอิทธิพลออกไปครอบงําระบบเศรษฐกิจของทั้ง โลก แต ก ารปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมไม อ าจเกิ ด ขึ้ น ได เ ลย หากอารยธรรมของมนุ ษย ไ ม ไ ด ผ า นวิ วั ฒ นาการ ยาวนานกวา 10000 ป เนื้อหาตอไปนี้เปนการพิจารณา สองประเด็นสําคัญ • • •

ป ร ะ เ ด็ น แ ร ก คื อ เ งื่ อ น ไ ข แ ล ะ น วั ต ก ร ร ม อะไรบ า งที่ เ ป น ป จ จั ย ทํ า ให เ กิ ด การปฏิ วั ติ อุตสาหกรรม ป ร ะ เ ด็ น ที ส อ ง คื อ ทํ า ไ ม ก า ร ป ฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมจึ ง เกิ ด ขึ้ น เป น ครั้ ง แรกที่ เ กาะที่ อยู ต ร ง ช า ย แ ด น ท วี ปยุ โ ร ป อ ย า ง อั ง ก ฤ ษ แทนที่ จ ะเกิ ด ขึ้ น ในประเทศมหาอํ า นาจทาง การคา ทางทะเลอย างเนเธอรแ ลนด หรื อไม เกิ ด ขึ้ น ที่ เ ยอรมั น นี ซึ่ ง ได ชื่ อ ว า เป น เจ า แห ง เทคโนโลยี ท างวิ ศ วกรรม และไม เ กิ ด ขึ้ น ใน ประเทศจีนที่ครอบครองความเปนมหาอํานาจ โ ล ก ม า ตั้ ง แ ต โ บ ร า ณ ม า จ น ถึ ง ป ล า ย ค ริ ส ศตวรรษที่ 15

จากชาวปา มาเปนชาวนา: การปฏิวัติเกษตรกรรม ชวงเวลานับตั้งแตเมื่อมนุษยคนแรกเริ่มเดินดวยสองขา แทนการคลานสีตีนอยางสัตวเดรัจฉาน(แปลตรงตัวใน ภาษาบาลีวา ผูไปทางขวาง) จนถึงเวลาที่เริ่มมีบันทึก ทางประวั ติ ศ าสตร ใ ห เ ราสื บ ค น ได (ที เ รี ย กกั น ว า ยุ ค ประวัติศาสตร) ชวงเวลาดังกลาวนับวามีความสําคัญ ที่ สุ ด ในประวั ติ ศ าสตร ข องการประดิ ษ ฐ คิ ด ค น ของ มนุ ษ ยชาติ นี่ เ ป น ช ว งเวลาที่ ค วามอยุ ร อดของมนุ ษ ย ขึ้ น อยู กั บ ความสามารถของมนุ ษ ย ใ นการประดิ ษ ฐ คิ ด ค น เพื่ อ ความอยู ร อดของตน นี่ เ ป น ช ว งเวลาที่ ความคิดสรางสรรคในเชิงเทคโนโลยีเปนปจจัยสําคัญ ที่ สุ ด ต อ วิ วั ฒ นาการของมนุ ษ ยชาติ และการหยั่ ง ราก อารยธรรมมนุษยลงบนผืนโลก ผูคนในทุกยุคสมัยมัก ชอบคิดกันวาชวงชีวิตของตนเองนั้นชางเปนชวงเวลาที่ มี พั ฒ น า ก า ร ท า ง เ ท ค โ น โ ล ยี ที่ มี ค ว า ม สํ า คั ญ ต อ พัฒ นาการของมนุษยชาติ อยา งใหญ ห ลวงอยา งที่ไ ม เคยมีมากอนในประวัติศาสตร แตหากเรามองยอนกลับ ไ ป ใ น อ ดี ต เ ร า ก็ จ ะ พ บ ว า ผ ล ก ร ะ ท บ อั น เ กิ ด จ า ก พัฒ นาการทางเทคโนโลยีที่ เราภูมิ ใ จกัน หนัก หนาใน ยุคนี้ ไมไดมีความสลักสําคัญมากมายตอความอยูรอด ของเราเทียบไดกับเทคโนโลยีที่เกิดขึ้นในโลกยุคกอน ประวัติศาสตร เมื่อประดิษฐกรรมและเทคโนโลยีเปน

9

สิ่ ง ที่ มี อํ า นาจมากที่ สุ ด ในการกํ า หนดชะตากรรมของ อ า ร ย ธ ร ร ม ม นุ ษ ย ต ล า ด ยุ ค ก อ น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร เ ท ค โ น โ ล ยี เ ป น ป จ จั ย สํ า คั ญ ที่ สุ ด ร อ ง จ า ก สภาพแวดล อ มทางธรรมชาติ ที่ บั ง คับ ให ปจ จั ย อื่ น ที่ มี ผลต อ อารยธรรมมนุ ษ ย ต อ งปรั บ เปลี่ ย นตาม และ เทคโนโลยีนี่เองที่เปนพลังสําคัญที่ผลักดันใหเกิดการ เปลี่ยนแปลงอยางขนานใหญ ทั้งทางสัง คม การเมือง และวัฒนธรรม (Uhlig, 2000, pp.4) ตัวอยางของเทคโนโลยีที่คนพบหรือคิดคนขึน ้ โดย มนุษยยุคบรรพกาล 1.4 ลานปกอนคริสตกาล ในอาฟริกา คนพบไฟและวิธีจุดไฟ 38,000 กอนคริสตกาล ในอาฟริกา ประดิษฐเบ็ดและอาวุธลาสัตว 17,000 ปกอนคริสตกาล ในยุโรป คนพบและคิดคนวิธีสกัดเชื้อเพลิงประเภทน้ํามัน 8000 ปกอนคริสตกาล ในยุโรป ประดิษฐเรือ 7900 ปกอนคริสตกาล ในประเทศจีน คนพบและประดิษฐเครื่องดินเผา 6500 ปกอนคริสตกาล ในทะเลทราย Judaean ประดิษฐสิ่งทอ

ฯลฯ นักประวั ติศ าสตรโ ดยทั่วไปนิย มแบงยุค สมัย ของมนุษ ยชาติต ามระบบสังคมที่เปนผลมาจากระบบ การผลิ ต ในแต ล ะยุ ค ออกเป น สั ง คมล า สั ต ว ส ะสม อาหาร สั ง คมเกษตรกรรม และสั ง คมอุ ต สาหกรรม หากเราพิจารณาแนวความคิดเกี่ยวกับการออกแบบใน แต ล ะยุ ค สมั ย ก็ จ ะพบว า มีค วามแตกตา งกั น อย า งมาก และแนวคิดเหลานั้นผูกพันกันอยางแนบแนนกับ/และ แปรผันตาม ระบบการผลิตที่แพรหลายอยูในยุคนั้น ออกจะเปนการยากที่จะมองเห็นความสัมพันธ ร ะ ห ว า ง ม นุ ษ ย ถ้ํ า ยุ ค ก อ น ป ร ะ วั ติ ศ า ส ต ร กั บ นั ก อุตสาหกรรมสมัยศตวรรษที่ 18 หัวเลี้ยวหัวตอที่สําคัญ ใ น วิ วั ฒ น า ก า ร ข อ ง อ า ร ย ธ ร ร ม ม นุ ษ ย เ กิ ด ขึ้ น ใ น กระบวนการที่ เ รี ย กว า การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม หรื อ ปฏิ วัติ ยุค หินใหม (Agricultural Revolution or Neolithic Revolution) เมื่อมนุษยที่เคยดํารงชีพอยุ ดวยการลาสัตวสะสมอาหาร (hunter-gatherers) เลิก การเดิ น ทางเร ร อ นและลงหลั ก ป ก ฐานเพื่ อ ทํ า การ เ พ า ะ ป ลู ก ธั ญ พื ช แ ล ะ ทํ า ก า ร เ ลี้ ย ง สั ต ว ก า ร เปลี่ยนแปลงนี้กอใหเกิดสิ่งที่เราเรียกกันวาเกษตรกรรม ประเด็ น สํ า คั ญ ก็ คื อ การเปลี่ ย นแปลงนี้ ไ ม ไ ด ทํ า ให คุณภาพชีวิตของคนดีขึ้นมากนัก แตสิ่งที่เปลี่ยนแปลง ก็คือมนุษยกินอาหารที่มีความหลากหลายนอยลง ใช

เวลาทํางานยาวนานขึ้น ความเครียดเพิ่มขึ้น และมีโรค มากขึ้น (Dugan and Dugan, 2000, pp. 158) แรงงานสัตว: กําเนิดของระบบทาส มนุษย เลี้ยง สั ต ว เ พื่ อ นํ า เนื้ อ สั ต ว ม าอาหาร และใช สั ต ว ม าเป น แรงงาน กลาวอีกนัยหนึ่งก็คือมนุษยนําสัตวมาเปนทาส แรงงานใหกับมนุษย พัฒนาการนี้สงผลกระทบตออารย ธรรมมนุ ษ ย ทั่ ว โลก โดยเฉพาะในดิ น แดนแถบยุ โ รป และเอฌวียซึ่งประสบความสําเร็จในการเพาะเลี้ยงสัตว ก อ นส ว นอื่ น ๆของโลก ผลที่ ต ามมาก็ คื อ มนุ ษ ย ใ น ดินแดนที่มีสัตวมากก็สามารถมีพลังงาน(จากสัต ว)ไว ใชมากขึ้น สามารถเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรไดมาก ขึ้น และในขณะเดียวกันก็สามารถพัฒนาพันธุสัตวใหมี ความแข็งแรงเหมาะสมกับการใชงานมากยิ่งขึ้นพรอม กับทําใหมีอาหารจากสัตวเพิ่มขึ้นดวย ผลที่ตามมาก็คือ มนุษยบางกลุมบางเหลามีอาหารสวนเกิน ทําใหบาง คนมีเวลามากพอที่จะคิดคนทําการทอผา ปนหมอจาก ดินแลวนําไปเผาใหแกรง หรือทําเครื่องใชจากโลหะ คนเริ่มอยูรวมกันเปนกลุมใหญมากขึ้นเรื่อยๆ บางกลุมก็ มีของสะสมมาก อีกนัยหนึ่งก็คือมีทรัพยมาก ทําใหเกิด ระบบจางวานใหคนอื่นทํางานแทนแลวจายคาแรงดวย ทรั พ ย ส ง ผลให เ กิ ด ความเหลื่ อ มล้ํ า ระหว า งมนุ ษ ย ดวยกันดวย มนุษยเริ่มควบคุมหรือบังคับมนุษยดวยกัน เอง เกิดการจัดลําดับชวงชั้นทางสังคม เกิดเปนระบบ บ า ว-นาย ระบบทาส และระบบทหารขึ้ น มา คนที่ มี กํ า ลั ง คนอยู ใ ต อํ า นาจมากมากก็ มี อํ า นาจมากทํ า ให สามารถครอบครองที่ดินสําหรับทําเกษตรกรรมไดกวาง ใหญขึ้นเรื่อยๆ วิวัฒนาการนี้กอใหเกิดการเปลี่ยนแปลง ระบบสังคมอยางขนานใหญ กลายเปนระบบเศรษฐกิจ สังคมแบบเจาขุนมูลนาย (feudalism) หรืออยางที่ สมเด็ จ พระบรมไตรโลกนาถของไทยตราออกมาเป น กฎหมายเรียกวาระบบศักดินา คือมีมูลนาย (lord) เปน เจาที่ดินและมีไพร(vassal) ทําหนาที่สงสวย(feud หรือ fee ซึ่งเปนที่มาของคํา feudalism) เมื่อคนมาอยู รวมกันเปนหมูใหญมากๆก็เกิดเปนเมือง (town) นคร (city) และ รัฐ(state) ขึ้นมา ตั ว อย า งของนวั ต กรรมที่ เ กิ ด ขึ้ น หลั ง การปฏิ วั ติ เกษตรกรรม 3500 ปกอนคริสตกาล ในประเทศสุเมเรีย คนพบการใชลอเลื่อน 3500 ปกอนคริสตกาล ในตะวันออกกลาง ประดิษฐยานพาหนะประเภทรถลากสองลอ 3000 ปกอนคริสตกาล ในPhoenicia คนพบการผลิตแกว 3000 ปกอนคริสตกาล ในอียิปต คนพบวิธีการวัดเวลาดวยแสงแดด ทราย และน้ํา 2500 ปกอนคริสตกาล ในอียิปต และจีน คนพบหมึกสําหรับเขียน

10

640 ปกอนคริสตกาล ใน Lydia ประดิษฐเหรียญโลหะสําหรับแทนคาทรัพยสิน 287-213 ปกอนคริสตกาล ในซิซิลี Archemedes ประดิษฐเครื่องกลสกรูวทดน้ํา 600 ปกอนคริสตกาล ในทะเลแถบเมดิเตอเรเนียน สรางประภาคาร สําหรับการเดินเรือ 200 ปกอนคริสตกาล ใน Alexandria อียิปต ประดิษฐเครื่องจักรไอน้ํารุนแรกของ Ctessibius 200 ปกอนคริสตกาล ในอาณาจักรโรมัน ประดิษฐเกือกมา 180 ปกอนคริสตกาล ในกรีซ เริ่มทําหนังสือ 82 ปกอนคริสตกาล ในกรีซ ประดิษฐเครื่องคํานวณทางดาราศาสตร 45 ปกอนคริสตกาล ในอาณาจักรโรมัน ประดิษฐปฏิทิน

ภาษาเขียน: กลไกพัฒ นาความรูแ บบตอ ยอด ผลผลิตสําคัญอยางหนึ่งที่เกิดขึ้นตามมาจากการปฏิวัติ เกษตรกรรมก็ คื อ พั ฒ นาภาษามนุ ษ ย จ ากภาษาพู ด กลายเปนภาษาเขียนทุกวันนี้เรามักเขาใจกันวาภาษา เขี ย นเป นสมบั ติส าธารณะสํา หรั บทุ กคน แต เมื่ อเริ่ม มี ภาษาเขี ย นขึ้ น เป น ครั้ ง แรกนั้ น ภาษาเขี ย นถู ก คิ ด ค น ขึ้นมาใชงานในหมูอภิสิทธิ์ชนชั้นปกครองเพื่อใชบันทึก จํานวนของสัตวที่พวกไพรไดนํามาจายใหพวกเจาเปน ค า ส ว ยหรื อ ภาษี ยิ่ ง ภาษาเขี ย นซั บ ซ อ นเท า ไรก็ ยิ่ ง ดี เทานั้น เพราะพวกไพรจะไดอา นไมออกตีความไมได (Dugan and Dugan, 2000, pp.166) Claude Lévi Strauss ปรมาจารยวิชามานุษยวิทยากลาววา หนาที่ของภาษา เขียนรุนแรกๆนั้นก็คือเพื่อ "ใชสําหรับชวยในการบังคับ มนุษยคนอื่นๆใหเปนทาส" ประโยชน ที่ สํ า คั ญ ยิ่ ง อี ก ประการหนึ่ ง ของ ภาษาเขี ย นก็ คื อ ภาษาเขี ย นช ว ยให ส ามารถบั น ทึ ก ถ า ยทอดความรู ใ ห แ พร ก ระจายได ก ว า งขวางและมี พั ฒ นาการที่ ต อ ยอดจากความรู เ ดิ ม ขึ้ น ไปได เ รื่ อ ยๆ ระบบภาษาเขียนในโลกนี้แบงออกไดเปนสองระบบคือ ภาษาเขี ย นที่ เ ป น ภาพสั ญ ญลั ก ษณ แ ทนวั ต ถุ ห รื อ แนวคิ ด เช น ตั ว อั ก ษรจี น ซึ่ ง ผู อ า นจะต อ งสามารถจํ า อักษรตัวนั้นไดจึงจะอานออกเสียงอักษรนั้นได ภาษา เขียนอีกจําพวกหนึ่งเปนภาษาเขียนที่ใชแทนแสียงพูด ซึ่งสามารถอานออกเสียงไดโดยการประสมอักษร เชน อักษรภาษาไทย หรืออักษรโรมันในภาษาตระกูลยุโรป สวนใหญ นักประวัติศาสตรตางสงสัยกันวาทําไมการ ปฏิวัติอุตสาหกรรมไมเกิดขึ้นเปนครั้งแรกในประเทศจีน ทั้งๆที่จีนเปนประเทศที่เปนตนกําเนิดเทคโนโลยีสําคัญ หลายอย า ง เช น ดิ น ป น ลู ก คิ ด เครื่ อ งป น ดิ น เผา

ประเภทพอรซเลน รวมทั้งหมึกสําหรับเขียนหนังสือ กับ ระบบการพิมพ

คริสตศตวรรษที่ 18 เริ่มปฏิวัติอุตสาหกรรม ใน ระหวางคริสตศตวรรษที่ 18 เปนยุครุงเรืองของยุโรป อังกฤษมีสเถียรภาพทางการเมือง, มีการติดตอการคา ระหวางประเทศทั้งไกลและใกล, ระบบการเงินและการ ธนาคารโดยเฉพาะระบบเครดิตไดรับการพัฒนาขึ้นมา อยางมากในยุคนี้, และที่สําคัญก็คือเกิดแนวความคิด ใหมๆขึ้น/ ลอนดอนในยุคนี้กลายเปนเมืองผูนําแฟชั่น ของยุโรป, ดึงดูดชาวตางชาติใหหลั่งไหลเขามาชม วั ฒ นธรรมที่ มี ชี วิ ต ชี ว า เช น โรงละคร สวนสํ า ราญ บรรยากาศของคาเฟในเมื อ งใหญ ที่ นั ก คิ ด แห ง ยุ ค ไป ร ว มเสวนากั น จุ ด สํ า คั ญ ที่ ทํ า ให บ รรยากาศทาง วัฒนธรรมของลอนดอนในยุคนั้นแตกตางจากเงื่อนไข ทางวัฒ นธรรมในชาติยุโรปอื่นอยูที่ก ระแสแฟชั่น และ ความนิ ย มทางศิ ล ปะไม ไ ด ถู ก ชี้ นํ า และจํ า กั ด โดยราช สํ า นั ก ดั ง เช น กระแสแฟชั่ น ของฝรั่ ง เศสในยุ ค นั้ น ที่ มี ราชสํานักแวรซายเปนผูนํา ในประเทศอังกฤษทิศทาง ของสไตลและรสนิยมใหมมีการเปลี่ยนแปลงมาจากชน ชั้นกลางซึ่ งนับ ไดว าเป นชนชั้ น ใหมใ นสังคมตะวันตก ซึ่ ง เ ติ บ โ ต ขึ้ น ม า จ า ก ค ว า ม มั่ ง คั่ ง จ า ก ก า ร ป ฏิ วั ติ อุตสาหกรรม ยุคนี้เปนสมัยแรกที่กลุมชนชั้นกลางนี้ซึ่ง มีจํานวนมากกวาชนชั้นขุนนางหรือราชวงศ สามารถซื้อ หาสินคาฟุมเฟอย เชน ใบชา, ยาสูบ, แพรพรรณจาก ตางประเทศ, และผาลูกไมถักดวยมือ ไดอยางสะดวก ในขณะที่กําลังซื้อของผูบริโภคในอังกฤษเพิ่ม ทวีขึ้น ก็มีพัฒนาการดานอื่นๆที่เปนพื้นฐานสําคัญของ การออกแบบสมัย ใหมของอังกฤษเกิด ขึ้นหลายอยา ง บทบาทของนักออกแบบ ตลอดชวงศตวรรษที่ 18 เปลี่ ย นแปลงไปอย า งมากจากอดี ต ช า งฝ มื อ ที่ เ คย ผ ลิ ต สิ่ ง ข อ ง ต า ม วิ ธี ก า ร ดั้ ง เ ดิ ม ก็ ยั ง ค ง มี อ ยู แ ต ความหมายของวิ ช าชี พ ช า งกํ า ลั ง เปลี่ ย นโฉมใหม สาเหตุ สํา คัญ คือ การเติ บโตของธุร กิ จ การพิม พ ข อมู ล เกี่ ย วกั บ การออกแบบ ช า งสมั ย ก อ นมั ก หยิ บ ยื ม หรื อ ลอกแบบมาจากสิ่งของที่ชางเคยเห็นและสิ่งพิมพที่มี ภาพงานออกแบบไม ค อ ยมี ใ ห ดู เมื่ อ มาถึ ง กลาง ศตวรรษที่ 18 สิ่งพิมพเกี่ยวกับงานออกแบบกลายเปน ที่ นิ ย มและหาซื้ อ ได ง า ยจากร า นหนั ง สื อ ที่ มี อ ยู อ ย า ง ดาษดื่นบริเวณโคเวนท การเดนของกรุงลอนดอน ซึ่ง เห็ น ได จ ากความรุ ง เรื อ งในฐานะนั ก ออกแบบเครื่ อ ง เรือนของ Thomas Chippendale ธุรกิจของ Chippendale เปนสวนหนึ่งของธุรกิจเครื่องเรือนใน ลอนดอนที่ทันสมัยและประสบความสําเร็จ แตที่สาํ คัญ ก็ คื อ งานและความคิ ด ของชิ พ เพนเดลในฐานะนั ก ออกแบบอิส ระเปน ประเด็นที่ค วรศึกษา Chippendale ยายเขามาลอนดอนในชวงทศวรรษที่ 1750s และเปด โชวรูมในยานที่ทันสมัยที่สุดของลอนดอนในยุคนั้นคือ Saint Martin’s Lane ยานนี้มีลักษณะเดนในทางสังคม และวัฒนธรรมตรงที่เปนศูนยร วมศิลปนของลอนดอน ในยุคนั้น ที่ทํางานของ Chippendale ไมเพียงแตเปน ที่ ข ายสิ น ค า ที่ ผ ลิ ด โดยช า งฝ มื อ ดี แต ยั ง ให บ ริ ก าร ออกแบบตกแตงภายในอยางครบวงจร, นําเขาสินคา ฟุมเฟอย เขามาจากตางประเทศ, และเสนอรสนิยม

11

ใหมๆใหลูกคาดวยแคตาล็อก, และมีบริการซื้อดวยเงิน ผอน ในป 1754 Chippendale ตีพิมพแคตาล็อกที่ ใหชื่อวา The Gentleman and Cabinet Maker's Director ซึ่งสรางชื่อให Chippendale ในขณะนั้น แต ที่สําคัญกวานั้นก็คือแคตาล็อกนี้สรางมาตรฐานใหมใน การผลิตสินคาและสรางสถานะใหมใหนักออกแบบใน ฐานะผูป ระกอบวิ ช าชี พที่ สํา คั ญ ในสัง คมลอนดอนยุ ค นั้ น ซึ่ ง ถื อ ได ว า ทั น สมั ย กว า เมื อ งอื่ น ใดในโลกยุ ค นั้ น แคตาล็อกเลมนี้ของ Chippendale ถูกสงไปยัง คฤหาสนนับรอยแหงของผูทรงอํานาจในยุคนั้นรวมทั้ง คัธรินมหาราชินีแหงรัสเซีย ถือไดวาการตีพิมพแคตาล็ อกนี้เปนกลยุทธทางการโฆษณาที่ประสบความสําเร็จ เพราะนํ า ลู ก ค า ให ม ๆ นั บ ไม ถ วนมาให บริ ษั ท ของ Chippendale และทํ า ให ง านออกแบบของ Chippendale เปนที่นิยมในวงกวาง หากเราศึกษา ประวั ติ ศ าสตร ก ารออกแบบอย า งละเอี ย ดแล ว เราจะ พบว า แนวความคิ ด ทางการตลาด โดยเฉพาะการใช วิ ธี ก ารโฆษณาประชาสั ม พั น ธนั้ น เป น พลั ง ผลั ก ดั น สําคัญในการขยายตลาดและสงผลตามมาคือกอใหเกิด งานออกแบบใหมๆขึ้น การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรม (Industrial Revolution) ไดกอรางสรางพื้นฐานสําหรับยุคสมัยแหง อุ ต ส า ห ก ร ร ม ใ ห ม นี้ แ ล ะ ผ ลั ก ดั น ใ ห เ กิ ด ก า ร เปลี่ยนแปลงชนิดถอนรากถอนโคนในหลายดาน การ ผลิต และการบริโภคของมหาชนทํา ใหเกิด พัฒนาการ ของเทคโนโลยีใหมๆ, ทําใหเกิด โรงงานขนาดใหญ, และสอง และทําใหเกิดวิถีชีวิตเมืองในรูปแบบใหม/ รอยปใหหลังผลสะเทือนของการเปลี่ยนแปลงครั้งนั้น ยังคงเปนประเด็นอภิปรายและถกเถีย งที่ยังไมจืด จาง บรรยากาศของความรุงเรืองทางเศรษฐกิจ, การคนควา ทางความคิดในศตวรรษที่ 18 ปูทางใหงานของนัก ออกแบบ, นักการอุตสาหกรรมและนักประดิษฐ เชน โจ ไซอาห Wedgwood, โธมัส โบลตั้น, เซอร ริชารด อารคไรท, และ เจมส ฮารเกรฟ (Josiah Wedgwood, Thomas Boulton, Sir Richard Arkwright and James Hargraves) ผลงานของคนเหลานี้กอใหเกิด การเปลี่ยนแปลงขนานใหญในระบบอุตสาหกรรมและ รบบการผลิตของอังกฤษ(และของโลก) กอใหเกิด ปรากฏการณ ที่ ทุ ก วั น นี้ เ รารู จั ก กั น ในนามของ "การ ปฏิวัติอุตสาหกรรม" (Inudstrial Revolution) สิ่ ง ประดิ ษ ฐ ห ลายอย า งในยุ ค นี้ ส ง ผลต อ อุต สาหกรรมสิ่ง ทอซึ่ ง ตอ มากลายเป นแม แ บบในการ เปลี่ ย นแปลงอุ ต สาหกรรมอื่ น ๆ การป น (spinning) ดายเปนกระบวนการแรกที่ถูกเปลี่ยนใหทํางานไดโดย เครื่องจักรของ Arkwright, Compton และ Hargrave สิ่ง ประดิษ ฐ รุน แรกๆของทศวรรษที่ 1770s ทํา ให หัตถกรรมทอผาที่ทํากันในครัวเรือนพลิกโฉมกลายเปน อุตสาหกรรมโรงงานแบบรวมศูนย การทอ (weaving) เป น กระบวนการที่ ส องที่ ถู ก เปลี่ ย นมาใช เ ครื่ อ งจั ก ร ตามมาดวยกระบวนการพิมพ ซึ่งพัฒนาขึ้นมาโดยการ ใชเครื่องพิมพแบบลูกกลิ้ง การขยายตัวของการผลิต สิ่งทออยางรวดเร็วในมณฑลแลงเคอรเชียร เชนเมือง แมนเชสเตอร , โอลด แ ฮม, และ รอชเดล (Manchester, Oldham and Rochdale)สงผล สะเทือนอุตสาหกรรมใหเกิดการเปลี่ยนแปลงชนิดที่ไม มีวันหวนกลับคืนไดอีก

ในช ว งปลายศตวรรษที่ 18 ความ เป ลี่ ย น แ ป ล งท า ง เ ท ค โ นโ ล ยี ก็ เริ่ ม ส ง ผ ล ก ร ะ ท บ อุตสาหกรรมดั้งเดิมชนิดอื่นๆ ในป 1759 Wedgwood ได รั บ สื บ ทอดกิ จ การผลิ ต เซรามิ ค ส ซึ่ ง เป น มรดกตก ทอดของตระกู ล และWedgwoodก็ เ ริ่ ม วางแผนการ ปฏิรูปธุรกิจนี้ โดยการใชเครื่องจักรพลังไอน้ํา ในชวง ทศวรรษที่ 1760s และ 1770s เขาก็สามารถจัดระบบ การผลิตในระดับอุตสาหกรรมที่ตอมาถูกลอกเลียนแบบ ไปทั่ ว โลก นอกจากนี้ Wedgwoodยั ง เป น คนแรกที่ ริ เ ริ่ ม นํ า เอากระบวนการวิ จั ย ทางวิ ท ยาศาสตร เ ข า มา ประยุกตใ ชใ นโรงงาน เขาริเริ่ม ใชการตลาดวิ ธีใ หม ๆ เช น โฆษณาทางหนัง สื อพิ ม พแ ละการตั้ ง แสดงสิ น ค า ตามรา นคา ปลีก แตที่สําคัญก็คือการพัฒนาระบบการ ผลิ ต Wedgwood ตั ด กระบวนการผลิ ต เซรามิ ค ส ออกเป น กิ จ ก ร ร ม แ ย ก ป ร ะ เ ภ ท ช ว ง สั้ น ๆ ซึ่ ง ต อม า กลายเปนหลักสําคัญของการปฏิวัติอุตสาหกรรม นั่นก็ คือ การจําแนกประเภทแรงงาน (division of labour) พัฒ นาการนี้ดู เหมือนเป น เรื่อ งง า ยๆแต ก็ส งผลชนิด ที่ สามารถล ม เลิ ก กระบวนการผลิ ต แบบดั้ ง เดิ ม ที่ ผู ผ ลิ ต (ชางฝมือ) มีหนาที่และมีอํานาจควบคุมการผลิตของ ต น ไ ด ตั้ ง แ ต ต น จ น จ บ ภ า ย ใ ต ร ะ บ บ ใ ห ม ข อ ง Wedgwood คนงานแตละคนทําหนาที่เฉพาะอยาง เพียงอยางเดียว และเพิ่มจํานวนเครื่องจักรใหมีหลายๆ เครื่อง โดยแตละเครื่องทํางานเพียงเฉพาะอยาง ซึ่ง ความคิดนี้นําไปสูความคิดที่วา กระบวนการออกแบบ เปนกระบวนการที่ แยกจากกระบวนการผลิต แนวทางของ Wedgwood สะทอนใหเห็นถึ ง ทฤษฎีที่ใชเปนแนวดําเนินเศรษฐกิจของอังกฤษในยุค นั้น โดยเฉพาะทฤษฎีของ Adam Smith ที่ชื่อวา ทรัพยสินของชาติ (Wealth of Nations) ซึ่งเปน ทฤษฎีเศรษฐศาสตรท ฤษฎีแรกที่วิเคราะหผลกระทบ จากการปฏิวัติอุตสาหกรรม ในทฤษฎีนี้ Adam Smith ทํ า นายไว ว า การปฏิ วั ติ อุ ต สาหกรรมจะทํ า ให เ กิ ด การ แบงแยกแรงงาน, กระบวนการผลิต, และกระบวนการ ตลาดออกจากกั น สมิ ธ ใช ก รณี ข องคนงานผลิ ต เข็ ม หมุดเปนกรณีตัวอยางเพื่อพิสูจนทฤษฏีของเขาในสวน ที่วาดวยการจําแนกประเภทแรงงาน สมิธชี้ใหเห็นวาถา ห า ก ค น ง า น จ ด จ อ ทํ า ง า น เ พี ย ง ส ว น เ ดี ย ว ข อ ง กระบวนการผลิตก็จะสงผลใหประสิทธิผลเพิ่มขึ้นอยาง เ ห็ น ไ ด ชั ด ท ฤ ษ ฎี ข อ ง ส มิ ธ เ ป น จุ ด เ ริ่ ม ต น ข อ ง กระบวนการผลิตที่นําไปสระบบสายพานการผลิตแบบ ที่ใชกันโรงงานผลิตรถยนตของเฮนรี่ ฟอรดในศตวรรษ ที่ 20 สมิธยังชี้อีกวาการเพิ่มผลผลิตเพียงอยางเดียว ไ ม อ า จ ก อ ใ ห เ กิ ด ค ว า ม สํ า เ ร็ จ ใ น เ ชิ ง เ ศ ร ษ ฐ กิ จ การตลาด และ การออกแบบ เปนสองเงื่อนไขสําคัญที่ อุ ต สาหกรรมใหม ๆ ประสบความสํ า เร็ จ ในท า มกลาง สภาพเศรษฐกิ จ ในรู ป แบบใหม อั น เกิ ด จากการปฏิ วั ติ อุ ต ส า ห ก ร ร ม (แ ม ว า ส มิ ธ จ ะ ไ ม ได ใ ช คํ า ว า "กา ร ออกแบบ"ในทฤษฎีของเขาแตก็สามารถตีความไดใน ทํานองนี้) ประเด็นตางๆนี้ไดกลายเปนประเด็นหลักของ การวิจ ารณเ กี่ย วกับอุ ตสาหกรรมและการออกแบบใน ศตวรรษที่ 19

¶ 12

Related Documents

01 Design1 Originofdesign
November 2019 4
Design1 Syllabus2550
November 2019 7
Design1.docx
June 2020 4
Form Design1
November 2019 5