เพอลาเบอลัส คนหลังเงา 14

  • Uploaded by: Sornchai Chatwiriyachai
  • 0
  • 0
  • October 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View เพอลาเบอลัส คนหลังเงา 14 as PDF for free.

More details

  • Words: 217
  • Pages: 4
เ พอลาเบอลัส คนหลังเงา : สุนทรียภวังค์ของนัยที่หลากเลื่อน ศรชัย ฉัตรวิริยะชัย 5080211622

ถ้าหากจะกล่าวถึงงานแสดงที่มีความโดดเด่นเป็นที่สนใจของสาธารณชน ของกลุ่มนักเต้น เพอลาเบอลัส (PILOBOLUS) ในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา คงจะหลีกเลี่ยงไม่ได้ที่จะไม่กล่าวถึงงานแสดงที่เกี่ยวข้องกับแสงและเงา โดยในการ แสดงจะเป็นการฉายภาพเงาของนักเต้นลงบนฉากสีขาว และบรรดานักเต้นก็มีหน้าที่จะเสกสรรค์รูปทรงต่างๆด้วยร่างกาย ของตน เพื่อให้เกิดเป็นภาพเงาที่สามารถสื่อความหมายให้ปรากฏอยู่บนผืนผ้าที่อยูเ่ บื้องหน้า ด้วยผลงานการสร้างสรรค์ที่ แหวกแนวไม่เหมือนใคร จึงเป็นเรื่องไม่น่าแปลกที่เราจะได้เห็นงานของเขาในโฆษณารถยนต์, รายการทีวี และแม้กระทั่ง งานระดับโลกเช่น งานประกาศผลรางวัลออสการ์ในปี ค.ศ. 2007

ในโลกยุคหลังสมัยใหม่ ชาร์ล เจ็งคส์ นักคิดนักวิจารณ์ที่มีอิทธิพลต่อวงการสถาปัตยกรรม ได้กล่าวถึงว่างานของ ยุคหลังสมัยใหม่นั้นมีความหมายที่เหลื่อมซ้อนกันอยู่สองนัย (Double Coding) กล่าวคืองานเช่นที่ว่านี้จะเข้าถึงกลุ่มผู้ชม สองกลุ่มพร้อมๆกันแต่ในนัยที่แตกต่างกัน ซึง่ ผูเ้ ขียนมีความรู้สึกเป็นเช่นนั้นจริงเมื่อได้รับชมงานของกลุ่ม เพอลาเบอลัส โดยนัยแรกที่เห็นก็คือภาพเงาที่ปรากฏอยู่บนผืนผ้าใบเป็นภาพที่ประกอบสร้างจากวัฒนธรรม และประสบการณ์ร่วมของ ชุมชนและสังคม ผู้ชมที่เรียกว่าเป็นผู้ชมทั่วๆไปหรือเป็นมวลชน (mass) นั้นจะสามารถเข้าถึงได้ยกตัวอย่างเช่นการเล่นแสง เงาให้ปรากฏเป็นภาพเครื่องบินที่มีงูร้อยรัดอยู่บนใบปิดภาพยนตร์เรื่อง Snakes on a Plane เป็นสิ่งที่ไม่สามารถจะสื่อความ หมายไปถึงผู้รับสารได้เลยถ้าหากไม่ได้มีความคุ้นเคยกับการถูกระดมถล่มด้วยวัฒนธรรมภาพยนตร์อเมริกัน ดังนั้นมวลชน ในที่นี้จึงหมายถึงมวลชนที่อยู่ในกระแสวัฒนธรรมหลักที่เรียกว่า Popular Culture ไปในตัวเองอีกด้วย

2

นัยที่สองสำาหรับผู้ที่มีความดื่มดำ่าและลึกซึ้งกับศิลปะการเต้นรำาย่อมจะสามารถเข้าถึงสุนทรียะอันเป็นความงดงาม ที่จัดวางอยู่บนหยาดเหงื่อและความสามารถอันยอดเยี่ยมของนักเต้นที่อยู่เบื้องหลังภาพเงาอันน่าตื่นตาเหล่านี้ เพราะกว่าจะมาเป็นภาพๆหนึ่งที่ฉาบทาอยู่บนผืนผ้าใบให้ได้ชมกัน ในเบื้องหลังจะต้องใช้ทั้งทักษะความสามารถส่วนตัวของนักเต้น ผนวกกับแรงบันดาลใจและความคิดสร้างสรรค์ของทั้งผู้ออกแบบท่าเต้นและความร่วมแรงร่วมใจของนักแสดง จึงจะปรากฏ ออกมาเป็นความงดงามภาพแล้วภาพเล่าที่ต่อเนื่องไปอย่างไม่มีการสะดุดอย่างที่เห็น การซึมซับและชื่นชมในสุนทรียภาพใน มิตินี้จึงขึ้นอยู่กับประสบการณ์ของผู้ชมที่ได้สัมผัสหรือมีความซาบซึ้งกับนาฏศิลป์มากน้อยเพียงใด เช่นหากเป็นผู้เขียนที่มี ความรู้ทางการเต้นแบบงูๆปลาๆ ก็คงจะได้แต่เพียงรับรู้ว่าเบื้องหลังการทำางานอันยากลำาบากนี้นักเต้นคงจะต้องฝึกฝนเป็น อย่างหนัก แต่ก็ไม่อาจจะเข้าใจอย่างลึกซึ้งในความยากลำาบากของพวกเขาได้ดีเท่าเทียมกับผู้ที่ฝึกฝนมาทางนี้ หรือมี ประสบการณ์การเต้นในลักษณะนี้มาโดยตรง

ผู้เขียนเห็นว่าการเหลื่อมซ้อนทางสุนทรียะที่มีความหมายเป็นสองนัยเช่นนี้ได้สร้างเสน่ห์ให้กับการแสดงซึ่งได้ พิสูจน์แล้วว่าได้ทำาให้คนดูในทุกระดับชั้นได้เข้าถึงและเข้าใจโดยสุนทรียภาพของงานแสดงไม่ว่าจะเป็นกลุ่มคนดูทั่วไป หรือกลุ่มคนดูที่มีประสบการณ์ แต่ผู้เขียนเห็นแย้งว่าในแท้ที่จริงแล้วในประสบการณ์ของผู้ชมเองก็ไม่ได้สามารถแบ่งแยก ออกจากกันอย่างชัดเจนว่าจะชื่นชมอยู่เพียงภาพเงาที่ปรากฏ หรือชื่นชมกับสุนทรียศาสตร์ทางการเต้นรำาที่อยู่เบื้องหลังฉาก ในเส้นแบ่งที่มีความคลุมเครือไม่ชัดเจนนี้เองกลับทำาให้เกิดพลวัติที่หยอกเย้าและยั่วยุให้กับการรับรู้ของผู้ชมในหลากหลาย มิติ ความประทับใจในรูปทรงที่จัดแจงมาเป็นอย่างนี้ในชั่วขณะเวลาหนึ่งกลับไปส่งเสริมให้เกิดความประทับใจในความ พร้อมเพรียงและเป็นนำ้าหนึ่งใจเดียวกันของนักแสดงในอีกขณะหนึ่งก็เป็นได้ การรับรู้ที่หลากเลื่อนไปที่บริเวณหน้าเวทีบ้าง

3 หลังเวทีบ้าง ยังผลให้เกิดการปะทะสังสรรค์ของทั้งอารมณ์ความรู้สึกและความคิดเชิงตรรกอย่างพัลวัน และคลื่คลายกลาย เป็นประสบการณ์ที่แปลกใหม่อันไม่เคยได้รับชมจากที่ใดมาก่อน

สิ่งที่ผเู้ ขียนได้รับรู้ในแง่ของสุนทรียภาพอีกแง่หนึ่งก็คือการที่คณะเต้น เพอลาเบอลัส ไม่ได้จำากัดตัวเองให้อยู่ใน กรอบเกณฑ์ใดๆ อีกทั้งมิได้พยายามที่จะประกาศตัวเป็นเจ้าของอุดมคติใดๆ การทำางานของพวกเขาจึงเป็นอิสระจากการ ตัดสินแบบดาดๆที่เราพบเห็นกันอย่างคุ้นชิน เช่นคำาถามที่ว่าศิลปะควรจะรับใช้ทุนหรือไม่ หรือมากน้อยเพียงใด สำาหรับ คณะละครนี้พวกเขาเป็นกลุ่มที่ไม่หวังผลกำาไร การทำางานจึงเป็นไปเพื่อทลายขีดจำากัดของการเต้นรำาอย่างแท้จริง ในขณะ เดียวกันพวกเขาก็ปะปนอยู่กับโลก ไม่ทำาตัวห่างเหินหรือสร้างระยะห่างระหว่างศิลปินกับผู้คน พวกเขาจึงทำางานในแบบที่ เรียกได้ว่า “ข้ามพ้นแต่ปนอยู่” คือมีความนอบน้อมต่อสังคมและประสบการณ์ร่วมเชิงวัฒนธรรม แต่ก็ไม่นำาตัวเข้าไปพันผูก จนเกิดเป็นพันธนาการที่ฉุดรั้งมิให้ไม่อาจคิดสร้างสรรค์ หรือเรียกได้ว่ารับใช้ต่อทุนอย่างไม่คำานึงถึงศักยภาพของความเป็น มนุษย์ และในเมื่อความคิดหลังสมัยใหม่นั้นปฏิเสธการยึดโยงและมั่นคงอยู่กับโลกทัศน์ และมโนทัศน์แบบใดแบบหนึ่ง การ เต้นรำาของพวกเขาจึงมีความหลากเลื่อนในความหมายที่ไม่อาจจะ “ฟันธง” ลงไปได้อย่างชัดเจนว่าพวกเขาทำาเพื่ออุดมการณ์ ใด หรือปฏิเสธสิ่งใด แต่ที่เราพอจะแน่ใจได้ก็คือพวกเขาก็คงจะเดินหน้าต่อไปที่จะตั้งคำาถาม และทำาลายกรอบเกณฑ์ที่ขวาง กันอยู่ไม่ว่าจะเป็นกรอบเกณฑ์ของสังคม วัฒนธรรม หรือแม้แต่กรงกรอบทางกายภาพของมนุษย์ เพื่อสิ่งใดน่ะหรือ? อาจจะ เพื่อคำาตอบง่ายๆ ว่า .... “เพื่อที่ฉันจะได้ใช้ทุกๆวินาทีไปกับการเต้นรำำอยู่บนโลกนี้น่ะสิ!”

บรรณานุกรม Jencks, Charles. What Is Post-Modernism? London: Academy Editions. New York: St. Martin's Press, 1986.

4 รายชื่อสื่อวิดีโอคลิป Online ประกอบบทความ Pilobolus - "Summer In The City" [n.d.]. [online] Available: http://www.youtube.com/watch?v=3n8gxEwLx0w Retrieved September 21, 2008. Pilobolus at the 79th Oscars [n.d.]. [online] Available: http://www.youtube.com/watch?v=-OS7uz-kRDA Retrieved September 21, 2008. Pilobolus/ Life Shapes [n.d.]. [online] Available: http://www.youtube.com/watch?v=elWf8nI6ivw Retrieved September 21, 2008. PILOBOLUS - VOLKSWAGEN AD [n.d.]. [online] Available: http://www.youtube.com/watch?v=Mg_X_NjQKjg Retrieved September 21, 2008. Pilobolus Bidauto 2007 [n.d.]. [online] Available: http://www.youtube.com/watch?v=sNNNIz2Y1q0 Retrieved September 21, 2008.

Related Documents

14
November 2019 20
14
November 2019 22
14
May 2020 17
14
May 2020 19
14
June 2020 10
14
October 2019 37

More Documents from "piyushdadriwala"

5days_appform
April 2020 11
October 2019 10
Theatre In Education
December 2019 16
October 2019 15