ข้อความเสริมพลังใจที่คัดมาบางตอนจากการแสดงพระธรรมเทศนา

  • Uploaded by: Kasama Vorawan
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View ข้อความเสริมพลังใจที่คัดมาบางตอนจากการแสดงพระธรรมเทศนา as PDF for free.

More details

  • Words: 927
  • Pages: 7
ŒŒŒŒŒ™ŒŒŒŒŒ ขอความเสริมพลังใจที่คัดมาบางตอนจาก การแสดงพระธรรมเทศนา เรื่อง “สูชวงชีวิตใหม เติมพลังใจดวยธรรมะ” โดย พระธรรมโกศาจารย (ศ.ดร.ประยูร ธมฺมจิตฺโต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เจาอาวาสวัดประยุรวงศาวาส ธนบุรี กรุงเทพมหานคร วันที่ 10 ตุลาคม 2552 ณ บานยุกตะเสวี ŒŒŒŒŒ™ŒŒŒŒŒ ...การที่ไดดํารงชีวิตตามรอบนักษัตรมาจนถึงวันนี้นั้น ตามพุทธคติทางพุทธศาสนาถือวา ไดบําเพ็ญ บุญบําเพ็ญกุศลเปนปุพเพ กะตะปุญญะตา บุญกุศลไดหลอเลี้ยงรักษาใหชีวิตยืนยาวประสบความสําเร็จใน หนาที่การงาน... ...วัน นี้ ไ ด ปลงภาระเริ่มศัก ราชใหม ชีวิตใหม ตามคติ ทางพระพุทธศาสนาถือวาการ ดํารงชีวิตราบรื่นปลอดภัยทั้งในสวนตัวครอบครัวการงานเปนดวยการบําเพ็ญบุญบําเพ็ญกุศลตอเนื่องบุญ รักษาใหชีวิตเจริญงอกงาม การที่มีชีวิตยืนยาวก็ไดบุญเชนเดียวกัน ไดยศไดศักดิ์ก็ไดบุญเชนกัน โบราณจึง กลาววา “บุญหนัก ศักดิ์ใหญ” บุญทําใหเราไดศักดิ์ใหญ แตบุญนั้นไดใชไปแลวบุญกุศลที่สั่งสมพาใหชีวิต ของเราเจริญงอกงามมียศมีศักดิ์ เพราะฉะนั้นตองทําบุญเพิ่ม เมื่ออายุมาถึงวันนี้ ขณะนี้ วัยนี้ ตองการใหมี ความเจริญงอกงามรุงเรืองตอไป จึงทําบุญเพิ่มเรียกวา ฉลองอายุ โบราณจึงกลาววา “ยามบุญมาวาสนาชวย ที่ปวยก็หายที่หนายก็รักบุญไมมาวาสนาไมชวย ที่ปวยก็หนักที่รักก็หนาย” เพราะฉะนั้นบัณฑิตในทาง พระพุทธศาสนา จึงจัดงานฉลองอายุเพื่อใหบุญใหมรักษาชีวิตใหเจริญงอกงามไพบูลยยิ่งๆ ขึ้นไป เพราะบุญ เกาเราไดใชไปมากแลว ฉะนั้นการทําบุญวันนี้จึงเปนไปตามคติทางพระพุทธศาสนา เมื่อมาถึงวาระเชนนี้ ทําบุญอยางนี้ก็เปนวาระที่จะไดทบทวนตรวจสอบชีวิตของเราวา ไดปฏิบัติบําเพ็ญสิ่งใดที่เปนประโยชนก็จะ ไดเกิดโสมนัสชื่นชมยินดี มีปติใจเปนกําลังใจใหขวนขวายทําความดีตอไปได... ...แตขณะเดียวกัน ก็เปนชวงเปลี่ยนแหงชีวิต เพราะวาไดวางภาระตางๆ ในชีวิต การทําบุญครั้งนี้ใน คติ ข องจี น เรี ย กว า การทํ า บุ ญ แซยิ ด ก็ จึ ง เป น ช ว งชี วิ ต ที่ สํ า คั ญ บุ ญ ก็ จ ะได รั ก ษาให เ จริ ญ ก า วหน า แต ขณะเดียวกันก็เปนชวงเวลาที่เปลี่ยนบทบาทแหงชีวิต เรียกวาหยุดภาระงานสําคัญในสวนราชการซึ่งเรียกวา เกษียณ เกษียณก็คือหยุดยุติบทบาทในสวนที่เกี่ยวกับงานประจําตามกฎหมายบานเมือง ในบางประเทศเชน สหรัฐอเมริกาเรียกผูเกษียณอายุราชการวาเปน “Senior Citizen ราษฎรอาวุโส” ชวงชีวิตนี้กําลังจะเปนกาว ไปสูความเปนราษฎรอาวุโส ภาษาพระเรียกวาความ “ปาปมุต” ทําอะไรไมคอยผิด วาใครก็ไดเพราะผาน รอนผานหนาวมาเยอะแลว เพราะฉะนั้นราษฎรอาวุโสนอกจากจะไดสิทธิที่สังคมตองตอบแทนในฐานะที่ ทําบุญคุณแกประเทศชาติ ยังมีบทบาทในฐานะเปนผูใหคําปรึกษาใหคําแนะนําแกรุนตอๆ ไป ในฐานะที่ 1

อาบน้ํารอนมากอนผานรอนผานหนาวมาก มีประสบการณเยอะ เสียอยางเดียวลืมงาย เพราะฉะนั้นก็ตอง บันทึกตองพูดเอาไว ก็จะตองเขาใจวาตอไปนี้ จะเลาเรื่องอดีตกันมากขึ้น กันลืม… ...ฉะนั้นในวัยนี้เปนวัยที่มีประสบการณเปนบุคคลที่มีคุณคาของสังคม ในคติทางพระพุทธศาสนา และในทางอินเดียนั้น ถือเปนชวงที่ 3 ของชีวิต คือชวงชีวิตนั้นมี 4 ชวง เรียกวา “อาศรม 4” ชวงที่ 1 เรียกวา พรหมจารี ชวงที่ 2 เรียกวา คฤหัสถ ชวงที่ 3 เรียกวา วานปรัส ชวงที่ 4 เรียกวา สันยาสี ชวงที่ 1 พรหมจารี หมายถึง ศึกษาเลาเรียนหาความรู ชวงที่ 2 คฤหัสถ หมายถึง ครองเรือน เปนวัยมี ครอบครัวทํางานไดเงินประสบความสําเร็จกาวหนาในทางโลก บัดนี้ ทานทั้งหลายเขาชวงที่ 3 เรียกวา “วานปรัส” คําวา วานปรัส หมายถึง ในสมัยโบราณนั้น การเกษียณวางภาระงานแลวจะเขาปาปฏิบัติธรรม ในสมัยนี้ก็คือวัยเขาวัดปฏิบัติธรรม ฟงเทศนฟงธรรม เปนชวงของการศึกษาธรรมะได เมื่อศึกษาธรรมได ความรูก็จะไปถึงชวงที่ 4 คือชวงสุดทายเรียกวา “สันยาสี” คือ ถายทอดความรูประสบการณแกอนุชนคนรุน ตอไป มีหนาที่ในการสั่งสอน ในการสงเคราะหคนอื่น เพราะฉะนั้นจึงกลาววาในชวงที่ 3 นี้เปนวัยแหงการ ทําประโยชนตนและประโยชนทาน ทานทั้งหลายไดทําประโยชนทั้งแกตนเอง ทั้งแกผูอื่นดวย โดยเฉพาะแก ผูอื่นในฐานะทําหนาที่การงานมากแลว ตอไปนี้ใหทําประโยชนตนในสวนที่ลึกซึ้งยิ่งขึ้นไป ปลอยวางภาระ ทั้งหลายที่ทําใหเกิด “ปลิโพธ” แปลวา เครื่องกังวลมีเวลาวางสําหรับพัฒนาจิตใจ ความสุขของชีวิตอยูที่ จิตใจ เราไมคอยไดดูแลจิตใจของตัวเองในชวงที่ผานมา หวงคนอื่นเสียมาก ความสุขความทุกขสัมพันธกับ คนอื่น คนหนุมสาวมองไปขางหนาดวยความหวัง คนแกเฒามองกลับขางหลังดวยความอาลัย บางคนพอ อายุมากเกษียณราชการกลับไปอาลัยหวงใยกับอดีตมาก ลืมมองวาในอนาคตยังมีความสําคัญกับชีวิต คือ การพัฒนาคุณภาพภายในจิตใจใหสูงยิ่งขึ้น ประโยชนนั้นมี 2 ประการสําหรับคฤหัสถ ดังพระบาลีที่อาตมา ภาพไดยกไวเปนนิกเขปบทเบื้องตนจากทีฆชาณุสูตรวา จัตตาโร เม พยัคฆปชชะ ธัมมา เปนตนซึ่งมาจาก พระสูตรนั้น โดยที่ ทีฆชาณุ ไดกราบทูลถามพระพุทธองควา ในฐานะที่เปนคฤหัสถจะดําเนินชีวิตอยางไร ใหไดประโยชนเต็มที่ในฐานะที่มีชีวิตอยูในโลกนี้ พระพุทธเจาก็ไดตรัสดังพระบาลีที่อาตมาภาพไดยกนั้น วา ประโยชนสําหรับคฤหัสถมี 2 ประการ ทิฏฐธัมมิกัตถประโยชน แปลวา ประโยชนปจจุบันเฉพาะหนา 2 สัมปรายิกัตถประโยชน ประโยชนในภายหนา หรือประโยชนชั้นสูง ประโยชนปจจุบันเฉพาะหนา เปนเรื่อง ของการแสวงหาทรัพยภายนอก มีลาภ มียศ มีสุข มีสรรเสริญ นี่เปนประโยชนที่คฤหัสถผูถือครองเรือนพึง แสวงหา แตยังมีประโยชนที่สูงไปกวานั้น นั่นคือประโยชนในภายหนาประโยชนระดับสูงดังพระบาลีนิกเข ปบทนั้นวา มี 4 ประการ 1. สัทธาสัมปทา มีสมบัติเปนศรัทธา 2. สมบัติคือศีล 3. สมบัติคือ จาคะ 4. สมบัติ คือ ปญญา ชีวิตไดแสวงหาสมบัติภายนอกมามากแลว บัดนี้เปนเวลาแหงการแสวงหาสมบัติภายใน เรียกวา 2

“อริยทรัพย” ทรัพยอันประเสริฐแหงชีวิต ชีวิตไดทรัพยภายนอกแสวงหาเกียรติลาภยศมาพอสมควรแตยัง ไมสมบูรณ เพราะชีวิตนั้นก็เปนไปตามกฎแหงอนิจจัง เมื่อถึงวัยหนึ่งก็ไมสามารถที่จะทํางานมีกิจกรรม มากมายได ตองผองงานเรียกวา “เกษียณ” เกษียณแลวยังทําอะไร เกษียณแลวยังปลิโพธ หวงใยตําแหนง หวงใยอํานาจ หวงใยลาภยศ ทานเรียกวาเปนเครื่องถวง ไมพัฒนา ภาษาพระเรียกวา “ปลิโพธ” เพราะฉะนั้น ทานๆ ทั้งหลายไดตัดปลิโพธไปทีละนอยๆ เพื่อที่จะทําการใหญ คือพัฒนาจิตใจ ในสมัยกอนพระพุทธเจา ตรัสชาดกชื่อวา “มฆเทวชาดก” เลาถึงพระเจาแผนดินพระองคหนึ่งสั่งชางกัลบกคือชางตัดผมทุกครั้งเมื่อใด พบผมหงอกบนศีรษะของเรา ใหบอกดวย ชางกัลบกก็ไดมาแตงผมตัดผมของพระราชาองคนี้เปนประจํา จนกระทั่งวันหนึ่งไดกราบทูลพระองควา “เห็นผมหงอกเกิดขึ้นแลวบนศีรษะ” เพราะฉะนั้นพระราชาก็บอก วา “ถอนมาใหดูหนอย” เมื่อถอนมาแลวไดประกาศวา “อุตะมังคะลุหามัยหัง ผมหงอกเกิดขึ้นบนศีรษะของ เราแลว วัยลวงเลยไปเทวทูตปรากฏแลว บัดนี้ถึงเวลาบรรพชา” ทานก็ไปลาออกจากตําแหนงที่เปนอยู คือกษัตริย แลวไปถือศีลปฏิบัติธรรมอยูในสวนมะมวง ตั้งทายาทเปนผูรับตําแหนงหนาที่กษัตริยตอไป คนก็ถามวา “ทําไมพระองคจึงทําอยางนี้” พระราชาก็ตอบวา “เพราะเทวทูตปรากฏ ผมหงอกนั้นบอกเราวา ชี วิ ต อยู อี ก ไม น าน แสวงหาสมบั ติ ภ ายนอกมามากแล ว แต ยั ง ขาดสมบั ติ ภ ายใน ยั ง ขาดอริ ย ทรั พ ย เพราะฉะนั้ น ชี วิ ต จะต อ งก า วต อ ไปสู ง ขึ้ น ” ซึ่ ง คติ นี้ เ อง แม ใ นประเทศไทยก็ ถื อ กั น ดั ง โคลงโลกนิ ติ ไดประพันธไววา “ปางนอยสําเหนียกรู เรียนคุณ ครั้นใหญยอมหาทุน ทรัพยไว เมื่อกลางแกแสวงบุญ ธรรมชอบ ยามหงอมทําใดได แตลวนอนิจจัง” ทานทั้งหลายไดผานในชวงปางนอยสําหนียกรูเรียนคุณ ครั้นใหญแสวงทุนทรัพยไว สองชวงชีวิตนี้ดําเนิน อยางประสบความสําเร็จมาแลว มาถึงชวงตอไปที่จะเอาใจใส เมื่อกลางแกแสวงบุญธรรมชอบ พัฒนาจิตใจ ดูแลชีวิตปลอยวางภาระไมตองหวงกังวลมากนักกับเรื่องอื่น เพราะเหตุที่วา “วัฒนธรรม อารยธรรมทั้งหลาย เกิดจากจิตใจที่มีเวลาวาง” เวลาวางตางหากที่สรางอารยธรรมของโลก วัฒนธรรมบริโภคนั้นทําใหคน หมกมุนหมดเวลา และไมไดสรางสิ่งที่เปนสาระแกโลกเทาใด อารยธรรมของกรีกเปนตัวอยาง อารยธรรม ของกรีกนั้นฝากเปนมรดกของโลกเพราะคนที่อยูในยุคของกรีกนั้น ถูกแบงเบาภาระในการทํางานโดยมี ระบบทาส และไมไปหมกมุนกับการบริโภคหรือลัทธิยุคบริโภคนิยม กลับแสวงหาสติปญญาอยางยิ่ง... ...คนที่ไดรับอิทธิพลจากโลกตะวันตกสมัยใหมมักจะไมเขาใจ เมื่อเห็นทานผูสูงวัยไปวัดไปสวด มนต นั่งกรรมฐาน ก็บอกวาไปเสียเวลาทํางานทําการ หาไดรูไมวาสิ่งเหลานั้นแหละที่ทําใหเกิดคนอยาง “เลาจื๊อ” อยาง “พระพุทธเจา” ที่สรางสันติภาพ ที่สรางความสุขใหมนุษย เพราะมนุษยเอาแตแกงแยงแขงขัน วัดกันดวยอํานาจวาสนาไมใชหรือ? โลกจึงเรารอนแบงเปนพรรคเปนพวกเปนสี เขาวัดกันใหมากขึ้นและไม 3

นําการเมืองเขาไปในวัดนั่นแหละ จะทําใหสังคมสงบสุข สวดมนตก็สวดมนตกันจริงๆ อยางปลอยวาง มี ความรัก มีเวลาใหกันมากขึ้น วันหนึ่งๆ นั้นไปนอกบาน ไดพบคุณแม คุณลูก สามี ภรรยา สักเทาไร คุณคา แหงความรักความอบอุนเกิดขึ้นเมื่อมีเวลาใหกัน มีเวลาที่จะทําในสิ่งที่ตัวชอบจริงๆ และจะฝากเปนมรดก โลกนี้เมื่อเราจากไป เพราะฉะนั้น คุณคาแบบนี้คนไมเขาใจวา ความสุข ที่เปนอิสระจากภาระทั้งปวงนั้นมีคา อยางไร คนที่แสวงหาทรัพยภายนอกจะไมเขาใจความสําคัญของทรัพยภายในที่ใหความสุขอยางแทจริง… ...ความคิดของคนมองทรัพยภายในกับทรัพยภายนอกตางกัน ในวัยใหมในชวงใหมนี้ อยางไรก็ แสวงหาความสุขในมิติทางจิตใจใหมากขึ้น มีทรัพยภายในมากขึ้น มีสติปญญามากขึ้น เรียกวา “สัมปรายิ กัตถประโยชน” ประโยชนที่สูงขึ้น เครียดนอยลง ผอนพัก มากขึ้น สุขภาพก็จะดีขึ้น อายุก็จะยืนยาว บางคน ไมอยากจะแก แตลืมไปวา “ความแกเปนทางผานแหงการมีอายุยืน” มีใครบางที่อายุยืนแลวไมแก ตองภูมิใจ วายิ่งแกอายุมาก นี่แสดงวาอายุยืน มีบุญ การมีอายุยืนก็สัมพันธกับสุขภาพจิต เมื่อมีอริยทรัพยภายในมี ความสุขไมเครียด สุขภาพกายก็จะดีขึ้น อดีตประธานองคมนตรีทานอาจารยสัญญา ธรรมศักดิ์ เคยแสดงปาฐกถาที่ตึกสันติไมตรี ทําเนียบ รัฐบาลเกี่ยวกับพระบาทสมเด็จพระเจาอยูหัวฯ หลายปมาแลว ทานอาจารยสัญญา ธรรมศักดิ์ ไดกลาวตอน หนึ่งในการปาฐกถาวามีคนเคยมาถามทานอาจารยสัญญาวา… “แลวทําไมอาจารยจึงดูไมเหมือนคนอายุ 80 มีเคล็ดลับอะไร” อาจารยสัญญาก็ตอบวา “ผมทําบริหาร 2 อยางทุกวัน 1 บริหารกาย 2 บริหารจิตบริหารกาย คือ การตองไมอยูนิ่ง ออกกําลังกายตามวัย บริหารจิตตรงกันขามจิตตองนิ่ง กายเรามักไมเคลื่อนไหว แตจิต เหมือนลิงบนยอดไม พระพุทธเจาตรัสวาอยางนั้น มันไมเคยหยุด ยิ่งวางงานมากมันยิ่งโดดมากจับมาฝกให นิ่งแลวมันจะสงบและมีพลัง มีความสุข เพราะฉะนั้น ผมทําบริหารจิตทุกวันตั้งแตทํางานพระพุทธศาสนา พุทธสมาคมเปนตนมา แตยังสูในหลวงไมได เพราะวาผมนั่งกรรมฐาน 20 นาทีเทานั้น แตพระเจาอยูหัวฯ ทรงนั่งกรรมฐานวันละ 40 นาทีตลอดมา ทรงพัฒนาจิตใจ พระราชหฤทัยของพระองคมาโดยตลอด แมจะมี พระราชภาระหนักกวาคนทั้งปวง แตทรงสามารถที่จะปฏิบัติรับพระราชภาระไดเปนอยางดีเพราะไดพัฒนา พระราชหฤทัย หรือจิตใจของพระองค” อาจารย สัญ ญา ธรรมศัก ดิ์ กลา วไวอยา งนี้ นี่ก็ห มายความวา ในขณะที่แ สวงหาทรั พ ยภ ายนอก พระเจาอยูหัวฯ ก็ทรงแสวงหาทรัพยภายใน “อริยทรัพย” หรือวาสมบัติภายในซึ่งในที่นี้มี 4 ขอ ดวยกัน 1. สัทธาสัมปทา

สมบัติ คือ ศรัทธา

2. สีลสัมปทา

สมบัติ คือ ศีล

3. จาคสัมปทา

สมบัติ คือ ความเสียสละ และ 4

4. ปญญาสัมปทา

สมบัติ คือ ปญญา

ในข อ แรกนั้ น สั ท ธาสั ม ปทา ศรั ท ธาในพระศาสนา ศึ ก ษาธรรมมี เ ป า หมายชี วิ ต ที่ สู ง ขึ้ น นอกเหนือไปจากทรัพยภายนอก มีคํากลาววาไมมีใครแกเกินเรียน ควรจะเพิ่มไปอีกวา บัดนี้ไมมีใครแกเกิน เรียนธรรมะ ปฏิบัติธรรมะ ยิ่งในวัยอยางนี้ยอมจะเห็นธรรมที่ลึกซึ้งกวาเด็กทั้งหลาย จึงเปนวัยแหงการเห็น สัจจะธรรม ศรัทธาตรงนี้ตองมั่นคง ขอที่ 2 สีลสัมปทา ศีลคือจรรยาเครื่องประดับชีวิต ปกตินั้นรางกายที่เคย งดงามก็เปลี่ยนแปลงแตสิ่งที่งดงามภายในตางหากเลาจะตองเพิ่มมากขึ้น ก็คือศีลหรือกริยามารยาท จรรยา ขอประพฤติปฏิบัติที่ทําใหชีวิตรูสึกไมคอยเศราหมองเสียใจ มีศีลมีขอปฏิบัติดีแลวชีวิตผองใส งดงามดังพระ บาลี ว า “สี ลั ง อาภะระนั ง เสดถั ง ” ศี ล เป น อาภรณ เ ครื่ อ งประดั บ ที่ ป ระเสริ ฐ ที่ สุ ด ใช ไ ด กั บ ทุ ก วั ย ดั ง คํ า ประพันธที่วา “คนจะงาม

งามน้ําใจ

ใชใบหนา

คนจะสวย

สวยจรรยา

ใชตาหวาน

คนจะแก

แกความรู

ใชอยูนาน

คนจะรวย

รวยศีลทาน

ใชบานโต”

รวยศีลทาน คือ สมบัติขอที่ 3 เรียกวา “จาคสัมปทา” ไดแสวงหาไดทําประโยชนตนมาพอสมควรแลว มีทรัพย ภายนอกมากแลว ตอจากนี้ตองเปนผูใหมากขึ้น เพราะมีเวลามาก สามารถที่จะทําประโยชนใหผูอื่นไดมาก เรียกวา “ปะระติตะปฏิบัติ” ชีวิตมีคุณคา เพราะการทําใหคนอื่นมีความสุข อยากจะเปน อมตะ นั้นไมยาก 1. เขียนหรือพูดอะไรเปนคําสอนเปนขอคิด ฝากไวในโลกนี้ ก็จะทําใหเราเปนอมตะ ก็จะทําใหคน ไดอานไดศึกษา ไดฟง หรือ 2. ทําอะไรใหเปนประโยชนใหคนเขาพูดถึง เขาเขียนถึง ก็โดยที่เราเปนผูเสียสละโดยที่เราเปนผูให เปนนักสังคมสงเคราะห... ...อํานาจก็เปลี่ยนแปลงได สิ่งตางๆ ก็หมดไปได ไมทุกข ไมยึดติด มีปญญาเครื่องสลัดออก ปลอย วาง คือ เกษียณ คือ ปลอยวางจริงๆ ในหัวใจ ก็จะมีความสุขเกษียณแลวเกษม เมื่อพระโมคคัลลานะปฏิบัติ ธรรม ไมสามารถบรรลุเปนอรหันตพระพุทธเจาไปเยี่ยม พระโมคคัลลานะไดทูลถามพระพุทธเจาวา “ขอใหแสดงธรรมยอๆ ใหปฏิบัติไดเวลาไมมากนักแลวบรรลุได” พระพุทธเจาไดตรัสวา 5

“สัพเพ ธัมมา นาลัง อภินิเวสายะ” แปลวา “สิ่งทั้งหลายทั้งปวงไมควรยึดมั่นถือมั่น” การเห็นวาสิ่งทั้งปวงไมควรยึดมั่นถือมั่นเพราะเปนอนิจจังไมเที่ยง ทุกขัง เปนทุกข อนัตตาไมมี แกนสาร นี่แหละ คือ “ปญญา” พระโมคคัลลานะนอมนําไปปฏิบัติก็ไดสําเร็จเปนพระอรหันต เพราะพระพุทธเจาทรงอธิบายวา เมื่อสิ่งตางๆ เกิดขึ้นถูกใจเราก็ไดความสุข ไมถูกใจเราก็ไดความทุกข หรือไมมีอะไรถูกใจ หรือถูกใจเราก็ เฉยๆ เรียกวาเวทนา สุข ทุกข เวทนา เกิดขึ้นเหมือนกับละครที่มาแสดงอยูในชีวิตของเรา บางวันสุข บางวัน ทุกข แลวเราจะไปยึดมั่นถือมั่นทําไม เพราะมันสุข สุขก็ไมยั่งยืน เวลาสุขแลวอยากจะใหสุขตอไป อยากมี หนามีตามีชื่อเสียงเกียรติยศแตมันเปนไปไมไดเราก็ทุกข ก็เครียด ปลอยวางเสียบาง มองสิ่งตางๆ ไมเที่ยง ต อ งเปลี่ ย นแปลงเราก็ ไ ม ยึด ติ ด แม แ ต สั ง ขารสุ ข ภาพของเรา ซึ่ง ก็ ต อ งมี วัน ทรุ ด โทรมเปลี่ ย นแปลงไป ภายนอกจะเปนอยางไร แตจิตใจตองผองใสมีความสุข กระสับกระสายที่กายเพราะโรคภัยไมเปนไร แต พระพุทธเจาบอกวา แตจิตใจอยาไดกระสับกระสายทุรนทุรายไปดวย รักษาจิตใจใหมีความสุขดวยปญญา อยางนี้ชีวิตก็เปนอิสระไมเปนทาส ชีวิตเปนทาสกัน 3 วัย วันตนคนหนุมสาวเปนทาสของความฝน วัยกลางคนเปนทาสของงานหนัก วัยเกษียณเปนทาสของความกังวลคนอาลัยในอดีต ไมอาลัยกับอดีตแตคิดถึงอนาคต ชีวิตสดใสมีสมบัติภายในที่เราจะตองพัฒนาตอไป ก็ชื่อวาชีวิตนั้น สดใส และมีความสุขไดตองมองวา การเกษียณนั้นเปนวาระที่ปฉลู คือ วัวงานนั้นไดปลดแอกแลว เพราะนั้น ปลดแอกยังไปหวงแอกอยูทําไมเลา ไปทําอยางอื่นที่มีความสุขดีกวา นั่นก็คือพัฒนาจิตใจ ใหมีศรัทธา มีความหวังที่ถูกตอง มีเปาหมายที่ดีงามตอไป และมีศีลคือความประพฤติปฏิบัติที่ทําใหชีวิตและสุขภาพ ดีงาม มีจาคะอยูเพื่อคนอื่นมากขึ้นเพราะเราก็ไดมามากแลว และมีปญญาไมยึดติด ไมยึดมั่นกับสิ่งตางๆ ที่ เปนอดีต มองเห็นสัจจะธรรมในความเปนจริง ชีวิตเปนละครก็เชนนี้เอง “ชีวิตคือโรงละคร ปวงนิกรเราทานเกิดมา ตางรายรําทําทีทา ตามลีลาของบทละคร บางครั้งก็เศรา บางคราวก็สุข บางครั้งก็ทุกขหัวอกสะทาน มีรางมีรัก มีจากมีจร พอจบละครชีวิตก็ลา” ละครฉากหนึ่งในชีวิตเปนละครแหงการทํางานแสวงหาสมบัติภายนอกผานไปตอนหนึ่งแลว ก็ตอง แสวงหาสมบั ติ ภ ายในให ชี วิ ต พั ฒ นาก า วหน า ในทางจิ ต ใจให ม ากขึ้ น ซึ่ ง รออยู ใ นช ว งชี วิ ต ต อ ไป 6

การดํารงชีวิตในชวงตอไปใหเปนดังที่เราคาดหวังบุญกุศลก็หนุนสงนําสง เพราะบางทานก็ไมสามารถมีเวลา วางไดมากนัก เพราะการแสวงหาทรัพยภายนอกยังฝดเคือง แตถาหากถึงเวลาที่มีบําเหน็จบํานาญปลอยวาง ภาระไดก็ใชประโยชนตรงนี้ ใหเจริญในทางจิตใจพัฒนาในชวงชีวิตใหมอยางมีความสุขมากขึ้น บุญกุศลจะ นําสุขสงใหทานทั้งหลายดําเนินชีวิตไปสูชวงชีวิตใหมดวยกําลังที่เปนสมบัติ 4 ประการดังพรรณนามา...”

ŒŒŒŒŒ™ŒŒŒŒŒ

7

More Documents from "Kasama Vorawan"

Fat
May 2020 18
May 2020 9
789
May 2020 15
Dental
June 2020 20
Story From School
May 2020 10
June 2020 1