Taeniasis Solium And Cysticercosis

  • Uploaded by: Chom Siri
  • 0
  • 0
  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Taeniasis Solium And Cysticercosis as PDF for free.

More details

  • Words: 802
  • Pages: 7
1.2 โรคพยาธิตืดหมู และซิสติเซอร์โคสิส (Taeniasis solium and cysticercosis) 1.2.1 สาเหตุ (Etiology) พยาธิตืดหมู ทีเนี ย โซเลียม (Taenia solium) ทำา ให้เกิดโรคใน คนได้สอง อย่าง อย่างที่หนึ่ ง ได้แก่ การที่มีพยาธิตัวแก่เข้าไปอาศัยอยู่ในลำา ไส้ โดยที่คนเป็ นโฮสท์เฉพาะที่ เรียกว่า โรคพยาธิตืดหมู (Taenia solium, Pork tapeworm infection หรือ Taenia solium infection) อย่างที่สองได้แก่ การที่มีพยาธิตัวอ่อนซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ่ เข้าไปฝั งตัวและมีถุง รอบเป็ นซิสต์ในเนื้ อเยื่อของคน เรียกว่าซิสติเซอร์โคลิส ในกรณี หลังนี้ คนเป็ นโฮสต์กึ่งกลางของ พยาธิ 10

1.2.2. รูปร่างลักษณะ (Morphology) พยาธิตืดหมูตัวแก่มีความยาวประมาณ 2 - 4 เมตร ลำา ตัวแบ่งออก เป็ น 3 ส่วน ส่วนที่หนึ่ ง คือ หัว หรือที่เรียกว่า สโกเล็กซ์ มีรูปร่างกลม ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 มิลลิเมตร มี ซัคเกอร์รูปถ้วยอยู่โดยรอบ 4 อัน บนสโกเล็กซ์มีเรสเทลลัมซึ่งมี ขอเล็ก ๆ ล้อมรอบอยู่ 2 แถว ส่วนที่สองถัดลงไปคือ คอ ซึ่งยาวประมาณ 5 - 10 มิลลิเมตร ส่วนที่สามถัดจากคอลงไป เป็ นปล้องต่อ ๆ กัน ประมาณ 800 - 900 ปล้อง ปล้องมี 3 ชนิ ด ชนิ ดแรกเป็ นปล้อง อ่อน ซึ่งเป็ นปล้องที่อวัยวะเพศยังไม่พัฒนาสมบูรณ์ ชนิ ดที่สองเป็ น ปล้องแก่ ซึ่งมีอวัยวะเพศผู้ และเพศเมียเจริญเต็มที่อย่ภ ู ายในปล้องเดียวกัน รูเปิ ดร่วมกันของ อวัยวะเพศทั้งสองอยู่ทางด้าน ข้าง ด้านใดด้านหนึ่ งของปล้อง ภายในปล้องมีรังไข่ซึ่งแบ่งออกเป็ น 3 พู (พยาธิตืดวัวมีเพียง 2 พู) ชนิ ดที่สามเป็ นปล้องแก่จัด ปล้องชนิ ดนี้ มีลำา ตัวของมดลูกอยู่ ตรงกลางปล้องและแตกแขนง ย่อย ๆ ออกเป็ น 2 ข้าง ข้างละประมาณ 5 - 13 แขนง (พยาธิตืดวัว มีมากกว่า 13 แขนง)

ภายในมดลูก มีไข่บรรจุอยู่ปล้องละประมาณ 30,000 - 50,000 ฟอง ไข่รูปร่างกลม เส้นผ่าศูนย์กลาง 31 - 43 ไมครอน เปลือกนอกบาง ใส และ มักไม่ค่อยเห็น เปลือกในสีน้ ำาตาล หนา และมีรอยขีดเป็ นเส้นรัศมี อยู่โดยรอบ ตัวอ่อนที่อยู่ในไข่ เรียกว่า อองโคสเฟี ยร์ หรือเฮ็กซาแคนท์ เอบริโอ มีขอเล็ก ๆ อยู่ 6 อัน ไข่ของพยาธิตืด หมู เหมือนไข่ของพยาธิตืดวัวจนไม่สามารถวินิจฉัยแยกชนิ ดกันได้ ตัวอ่อนที่เรียกว่า สาร หรือ เม็ดสาคู หรือ ซิสติเซอร์คัส เวลลูโลเซ่ ขนาด ประมาณ 5 x 10 มิลลิเมตร มีสโกเล็กซ์ซึ่งประกอบด้วยซัคเกอร์ และขอเล็ก ๆ ผลุบเข้าไป ข้างในทำา ให้มองเป็ นเป็ นจุดขาวขุ่นภายในสารหรือเม็ดสาคู 1.2.3 ระบาดวิทยา (Epidemiology) 1.2.3.1 เป็ นโรคที่พบทั่วโลก และพบบ่อยในกลุ่มคนที่นิยมรับ ประทานหมูดิบ หรือ สุก ๆ ดิบๆ พวกยิวหรือคนที่นับถือศาสนาอิสลามไม่นิยมรับ ประทาน จึงพบว่าเป็ นโรคนี้ ได้นอ ้ ย สำา หรับประเทศไทยโรคพยาธิตืดหมูพบได้นอ ้ ยกว่าโรค พยาธิตืดวัว และปรากฎว่าโรคนี้ พบในภาคเหนื อและภาคตะวันออกเฉียงเหนื อมากกว่าภาคอื่น จาก การสำา รวจของกรมควบคุม โรคติดต่อใน ปี พ.ศ. 2523 - 2524 พบว่าอัตราความชุกชุมของ โรคพยาธิตัวตืด (ไม่แยก ชนิ ดว่าเป็ นตืดหมูหรือตืดวัว) ในภาคทั้งสองมีประมาณ 1 เปอร์เซ็นต์ 1.2.3.2 พยาธิตัวแก่พบในคนเพียงอย่างเดียว ส่วนตัวอ่อนซิสติเซ อร์คัส เซล ลูโรเซ่ พบในหมูและพบได้บ้างในคนและกวาง สุนัข ลิง หนู และ แมว แต่มีโอกาสพบน้อย มาก 11

1.2.4 การติดต่อ (Mode of transmission) 1.2.4.1 คนเป็ นโรคพยาธิตืดหมูได้โดยรับประทานอาหารที่ปรุง ด้วยเนื้ อหมูดิบ

หรือสุกๆ ดิบๆ ประเภท ลาบ ลู่ พล่า ยำา และแหนม โดยที่อาหาร ดังกล่าวมีตัวอ่อนซิสติเซอร์ คัส เซลลูโรเซ่ อยู่ในนั้น 1.2.4.2 ซิสติเซอร์โคลิสเกิดจากการกินไข่ของพยาธิตืดหมูท่ีติดอยู่ บนมือ หรือ ปนเปื้ อน ในอาหารหรือเกิดจากปล้องแก่จัดของพยาธิแตกใน กระเพาะ ไข่จะแตกออกเป็ นตัว อ่อน แล้วไชเข้าไปฝั งตัวอยู่ในเนื้ อเยื่อส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย 1.2.4.3 สาเหตุท่ีทำา ให้โรคพยาธิตัวตืดคงอยู่ในท้องที่น้ัน ๆ คือ 1.2.4.3.1 อุปนิ สัยชอบรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยหมูดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆ ของประชากรในท้องถิ่นนั้น 1.2.4.3.2 อุปนิ สัยของการไม่ใช้ส้วมชอบถ่ายอุจจาระลงบนพื้นดิน 1.2.4.3.3 บางแห่งไม่เลี้ยงหมูไว้ในคอกที่จำา กัด ปล่อยให้ออกไป หา อาหารกินเอง ปกตินิสัยของหมูมักกินอาหารไม่เลือก บางครั้งกิน อุจจาระที่มีปล้องแก่จัดหรือไข่ พยาธิเข้าไปด้วย บางแห่งใช้อุจจาระเป็ นอาหารเลี้ยงหมูก็มี 1.2.5 วงจรชีวิต (Life cycle) พยาธิตัวแก่ใช้หัวเกาะติดอยู่กับผนังลำา ไส้เล็กส่วนกลางของคน ปล้องแก่จัดของ พยาธิจะหลุดปนออกมากับอุจจาระ หรือหลุดออกมาเองปล้องเดียว หรือ 2 - 3 ปล้อง บางครั้ง ปล้องแก่จัดจะแตกในลำา ไส้ใหญ่ปล่อยไข่ปนออกมากับอุจจาระ ปล้องแก่จัดหรือไข่ เมื่อออกมา กับอุจจาระจะกระจายอยู่บนพื้นดินหรือบนหญ้า เมื่อหมูซึ่งเป็ น โฮสท์กึ่งกลางกินปล้องแก่จัดหรือ ไข่ของพยาธิน้ี เข้าไป ตัวอ่อนของโคสเฟี ยร์ก็จะออกจากไข่แล้วไช ทะลุผนังลำา ไส้เข้าสู่วงจรเลือด หรือนำ้าเหลืองไปยังกล้ามเนื้ อทั่วร่างกายฝั งตัวอยู่ในนั้น โดยมีถุง หุ้มรอบเรียกว่าซิสติเซอร์คส ั เซลลูโลเซ่ ซึ่งเป็ นระยะติดต่อระยะเวลาตั้งแต่อองโคสเฟี ยร์เจริญ เป็ นซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ่ กิน เวลาประมาณ 60 - 70 วัน ระยะนี้ เองที่เรียกว่าหมู เป็ นสารหรือ เม็ดสาคู (Measly pork) เมื่อคนกินเนื้ อหมูท่ีเป็ นสารหรือเม็ดสาคูดิบ หรือสุกๆ ดิบๆ เข้าไป เนื้ อหมูจะถูกปล่อยซิสติ

เซอร์คัสออกมา พอถึงลำา ไส้ หัวหรือสโกเล็กซ์จะยื่นโผล่ออกมา แล้วใช้ขอเล็ก ๆ และซัคเกอร์ เกาะติดกับผนังลำา ไส้ส่วนของพยาธิท่ีต่อจากหัวจะค่อย ๆ งอก ปล้องออกไปเรื่อย ๆ เจริญเป็ น ตัวแก่ต่อไปภายในระยะเวลาประมาณ 2 - 3 เดือนพยาธิตัวตืดหมู มีอายุยืนยืนนานถึง 25 ปี . 1.2.6. พยาธิวิทยาและลักษณะทางคลินิก (Pathogenesis,Pathology and Symptomatology) พยาธิตัวแก่โดยทั่วไปมักไม่ทำา ให้เกิดอาการรุนแรงแต่อย่างใด มีผู้ อธิบายว่า โรคจากพยาธิน้ี เกิดจากการถูกแย่งอาหาร การอุดตันในลาำ ไส้ และหรือจากการระคายเคืองจาก สารพิษของพยาธิเอง อาการที่พบได้ก็มีน้ ำาหนักลด ผอมลง ทั้ง ๆ ที่ รับประทานอาหารได้มาก หิวบ่อย บางรายอาจมีปวดท้อง ท้องอืด คลื่นไส้ อาเจียน หรือ อุจจาระบ่อยได้ ส่วนการอุดตัน 12

ในลำา ไส้ท่ีเกิดจากการที่พยาธิรวมเป็ นก้อน หรือหัวพยาธิไชทะลุลำา ไส้ทำา ให้เยื่อบุช่องท้องอักเสบ นั้นพบได้นอ ้ ยมาก อาการอื่น ๆ ก็มีเกี่ยวกับระบบประสาท เป็ นต้น ว่า วิงเวียน กระสับกระส่าย นอนไม่หลับ สำา หรับผู้ท่ีเป็ นโรคประสาทไม่ค่อยดีอยู่แล้ว อาจทำา ให้มีอาการมากขึ้น ผู้ป่วยบาง รายอาจมีอาการแพ้ ทำา ให้มีอาการคันหรือเป็ นลมพิษ ซิสติเซอร์โคลิส เกิดจากการที่พยาธิตัวอ่อนเข้าไปอยู่ในกล้ามเนื้ อ หรืออวัยวะ ต่างๆ ของร่างกาย เช่น เนื้ อเยื่อใต้ผิวหนัง กล้ามเนื้ อสมอง ไขสันหลัง ตา หัวใจ ตัว ปอด และ ในช่องท้องในระยะแรกจะมีอาการอักเสบเฉพาะที่รอบ ๆ พยาธิ พร้อมทั้งมีเซลล์เม็ดเลือดขาว ปะปนอยู่ ต่อมาจะมีเนื้ อเยื่อพังผืดมาหุ้ม (ยกเว้นที่ในตา) นานเข้า เมื่อพยาธิตายจะมีหินปูนมา จับ ซิสต์มีขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางได้ต้ังแต่ 0.5 - 3.0 เซนติเมตร อาการและอาการแสดง ต่างๆ ของผู้ป่วย ขึ้นอยู่กับตำา แหน่ งของซิสต์ ถ้าซีสต์อยู่ใต้ผิวหนัง จะพบเป็ นตุ่มนูน ๆ ขนาด

เมล็ดถั่วเขียว ซิสต์อาจอยู่ในลูกตาทำา ให้ผู้ป่วยมีอาการปวดตา ตาพร่ามัว สายตาผิดปกติหรือตา บอดได้ ถ้าซิสต์อยู่ท่ีสมอง อาจปรากฏหรือไม่ปรากฎอาการก็ได้ขึ้น อยู่กับจำา นวนของซิสต์ และ ตำา แหน่ งของซิสต์ในสมอง อาการที่เกิดขึ้นมีอาการปวดศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน ตามัวหรือตาพร่า ประสาทตาบวม ผู้ป่วยอาจมีอาการผิดปกติของระบบการ เคลื่อนไหวและระบบรับความรู้สึก เช่น เป็ นอัมพาต มีอาการชักและอาการทางจิตได้ 1.2.7. การวินิจฉัย (Diagnosis) 1.2.7.1 โรคพยาธิ 1.2.7.1.1 ตรวจพบไข่ของพยาธิตัวตืดในอุจจาระ โดยวิธธ ี รรมดา หรือวิธีเข้มข้น หรือโดยการตรวจพบไข่พยาธิตัวตืดรอบทวารหนัก โดยวิธีสก๊อตเทปไข่ของพยาธิ ตืดหมู และพยาธิตืดวัวมีลักษณะเหมือนกันมาก เพราะฉะนั้นการ แยกชนิ ดจึงแนะนำา ให้ตรวจ ปล้องแก่จัดของพยาธิ 1.2.7.1.2 ตรววจพบปล้องแก่จัดหลุดปนออกมากับอุจจาระ โดย นำา ปล้องที่พบมาก ระหว่างแผ่นสไลด์กระจก พยาธิตืดหมูมีแขนง มดลูกข้างละ 5 - 13 แขนง ส่วน พยาธิตืดวัวมีแขนงมดลูกข้างละมากกว่า 13 แขนง 1.2.7.1.3 ผู้ป่วยโรคพยาธิตัวตืดภายหลังได้รับยาถ่ายพยาธิ ใน บาง รายส่วนหัวหรือ สโกเล็กซ์จะหลุดออกมาด้วย สามารถวินิจฉัยแยก ชนิ ดได้โดยที่หัวของพยาธิตืด หมูมีโรสเทลลัมและขอเล็ก ๆ ส่วนหัวของพยาธิตืดวัวไม่มีอวัยวะดัง กล่าว 1.2.7.2 ซิสติเซอร์โคลิส ซิสติเซอร์โคลิสในคนอาจตรวจได้โดยคลำา พบตุ่มใต้ผิวหนัง เมื่อตัด ออกไป ตรวจพบถุงนำ้า พบพยาธิตัวอ่อน ซิสติเซอร์คัส เซลลูโลเซ่ ภาพถ่าย รังสีของกล้ามเนื้ อ และ กะโหลกศีรษะอาจพบได้เมื่อตัวอ่อนมีแคลเซียมมาพอหุ้มอยู่ 13

1.2.8 การรักษาเฉพาะ (Treatment)

การรักษาโรคพยาธิตัวตืด ผู้ป่วยจะหายขาดได้ต่อเมื่อส่วนหัวเหนื อ สโกเล็กซ์หลุด ออกมาด้วย ถ้าส่วนหัวไม่หลุดออกมาพยาธิจะออกปล้องออกมาอีก การให้ยาถ่ายพยาธิตัวตืด มี ผู้เกรงว่าจะเสี่ยงต่อการเป็ นซิสติเซอร์โคลิส จึงแนะนำา ให้ ระมัดระวัง เช่น ให้ยากันอาเจียนก่อนให้ ยาถ่ายพยาธิและให้ยาถ่ายดีเกลืออิ่มตัวขนาด 30 มิลลิลต ิ ร หลังให้ ยาถ่ายพยาธิ เพื่อพยาธิจะได้ ถูกขับออกมาก่อนที่ถูกย่อย เพราะถ้าพยาธิถูกย่อยประกอบกับผู้ ป่ วยมีอาการท้องผูกและคลื่นไส้ อาเจียนร่วมด้วย จะทำา ให้ไข่พยาธิท่ีออกมาจากปล้องย้อนกลับขึ้น มาในลำา ไส้เล็ก พยาธิตัวอ่อนที่ ออกจากไข่จะแพร่กระจายไปฝั งตัวในเนื้ อเยื่อส่วนต่างๆ ทำา ให้เป็ น ซิสติเซอร์โคลิสได้ แต่จาก ประสบการณ์ของหลายคนยังไม่พบอันตรายเช่นว่านี้ ยาถ่ายพยาธิ ที่ใช้ได้ผลคือ 1.2.8.1 นิ โคลสาไมด์ ยาชนิ ดนี้ ทำา เป็ นเม็ดขนาดเม็ดละ 500 มิลลิกรัม ให้รับ ประทานในขนาด 2 กรัม (4 เม็ด) เคี้ยวให้ละเอียดก่อนกลืน รับ ประทานครั้งเดียว 1.2.8.2 มีเบนดาโซล เป็ นยาเม็ดขนาดเม็ดละ 100 มิลลิกรัม ให้ รับประทาน ในขนาด ครั้งละ 200 มิลลิกรัม ให้เช้าและเย็นติดต่อนาน 4 วัน 1.2.8.3 ปวกหาดหรือมะหาดเป็ นยาสมุนไพรไทย ทำา จากแก่นไม้ มะหาดขนาด ยา 5 กรัมละลายนำ้าเย็นให้รับประทานตอนเช้ามืด 2 ชั่วโมงต่อมา จึงให้รับประทานยาถ่ายดี เกลืออิ่มตัว การรักษาซิสติเซอร์โคลิสยังไม่มีวิธก ี ารรักษาจำา เพาะที่ดี นอกจาก รักษาตาม อาการ การผ่าตัดเอาซิสต์ออกจากอวัยวะสำา คัญทำา ได้ยาก และ อาจไปรบกวนหรือทำา ลายเนื้ อเยื่อ ส่วนใกล้เคียง การผ่าตัดซิสต์ใต้ผิวหนังออกไม่มีความจาำ เป็ นสาำ ห รับการรักษา นอกเสียจากเพื่อ การวินิจฉัยโรค 1.2.9 การป้ องกัน (Preventive measures)

1.2.9.1 เนื้ อหมูท่ีจะนำา ออกขายหรือไปรับประทาน ต้องได้รับการ ตรวจจาก สัตวแพทย์ว่าไม่เป็ นสารหรือเม็ดสาดู 1.2.9.2 รับประทานเนื้ อหมูท่ีทำา ให้สก ุ แล้ว ไม่รับประทานเนื้ อหมู ดิบ หรือ สุกๆ ดิบๆ เช่น ยำา พล่า ลู่ ลาบ และแหนม 1.2.9.3 ถ่ายอุจจาระลงในส้วมที่ถก ู สุขลักษณะ 1.2.9.4 ให้ยาถ่ายพยาธิแก่คนเป็ นโรคนี้ 1.2.9.5 เลี้ยงหมูไว้ในคอก อย่าปล่อยให้ออกหากินโดยอิสระ อาหารที่เลี้ยง หมูควรต้มให้สุกเสียก่อน เพื่อทำา ลายไข่ของพยาธิ 1.2.9.6 เพื่อป้ องกันการเป็ นซิสติเซอร์โคสิส ควรรักษาความ สะอาดของมืออยู่ เสมอ โดยเฉพาะก่อนรับประทานอาหารและหลังเข้าส้วม อาหาร ควรจะสะอาดปราศจากการปน 14

เปื้ อนฝ่ ุนละอองและสิ่งแปลกปลอมต่าง ๆ และควรระมัดระวังการ ใช้ยาถ่ายพยาธิตัวตืดที่อาจทำา ให้เกิดซิสติเซอร์โคสิสดังที่ได้กล่าวมาแล้ว__

Related Documents


More Documents from "cgclark"