Super Factory - Corvette Jul 25

  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Super Factory - Corvette Jul 25 as PDF for free.

More details

  • Words: 1,497
  • Pages: 31
Super Factories Corvette รายชื่อตัวละคร บรรยาย ชาย 40 ปี ชาย1 ชาย 40 ปี วิลล์ ชาย 45 ปี ทอม ชาย 55 ปี ทอดจ์ ชาย 40 ปี มาร์ค ชาย 45 ปี คิม หญิง 50 ปี เดวิด ชาย 40 ปี ไอเซีย ชาย 40 ปี ทอดจ์ ชาย 45 ปี เควิน ชาย 45 ปี สตีเฟ่น ชาย 45 ปี โรเบิร์ต ชาย 45 ปี เจอร์รี่ ชาย 45 ปี **************************************************************************************

1

บรรยาย

การตัดโลหะด้วยเลเซอร์ ....การใช้หุ่นยนต์.... และความชำานาญใน การสร้าง

ชาย 1

(ส)พร้อมแล้ว

บรรยาย

ได้แรงบันดาลใจจากรถแข่ง .......สร้างด้วยบริษัทรถระดับตำานาน

วิลล์

เป็นสุดยอดที่คุณต้องคอยดู

ทอม

มันเร็ว คล่องแคล่ว สมดุลดี เป็นสิ่งที่ใครๆก็อยากได้จากรถสปอร์ต

บรรยาย

ด้วยกำาลังห้าร้อยแรงม้าที่สามารถวิ่งได้สามร้อยกิโลเมตรต่อชั่วโมง ในการสร้างรถสปอร์ตอเมริกันสุดยอดแบบนี้ มีที่เดียวที่โรงงานคอร์ เวทท์ในโบว์ลิ่ง เคนตั๊กกี้

บรรยาย

ด้วยสตรีมไลน์ดีไซน์แบบเท่ห์ๆ โลโก้รูปธงรถแข่งโบกสะบัด และไฟ ท้ายสี่ดวง เป็นสัญลักษณ์ในตำานาน

บรรยาย

กว่าห้าสิบปีที่คอร์เวทท์เป็นผู้สร้างรูปแบบของรถสปอร์ตอเมริกัน มัน เป็นสิ่งที่คลาสสิคที่ไม่สามารถมองเป็นอื่นได้

ทอดจ์

(ส)มันเป็นรถสปอร์ตแท้ๆ เหมือนกับขับรถแข่งเลย

ทอดจ์

เครื่องยนต์ทำาให้รถวิ่งได้ง่ายๆ แค่คุณเหยียบคันเร่งนิดเดียว รถก็วิ่ง ฉิวแล้ว

2

บรรยาย

วันนี้ โรงงานขนาดยักษ์แห่งนี้กำาลังจะแหกกฏทุกอย่าง พบกับรถ สปอร์ตคันใหม่ แซดศูนย์หกที่เต็มไปด้วยความเร็วและแรงม้า ด้วย รถราคาห้าหมื่นยูโรคันนี้ มันอยู่ในระดับเดียวกับเฟอร์แรลลี่เอฟสี่สิบ และลัมโบร์กินี่การาล์ด้า คอร์เวทท์แซดศูนย์หกมีความสามารถ เหมือนกับรถแข่ง มันสามารถเร่งความเร็วจากศูนย์ถึงเก้าสิบหก กิโลเมตรต่อชั่วโมงด้วยเวลาเพียงสามจุดหกวินาที มันสามารถวิ่งได้ เร็วถึงสามร้อยยี่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง ด้วยขุมกำาลังจากเครื่องยนต์ ที่สร้างขึ้นโดยเฉพาะให้กับมัน

ทอม

เมื่อคุณเหยียบคันเร่ง รถคันนี้เร่งได้อย่างที่ไม่มีคันไหนทำาได้มาก่อน

บรรยาย

มีที่เดียวในโลกนี้ที่จะประกอบรถคันนี้เข้าด้วยกันได้ โรงงานคอร์-เวท ท์ที่เมืองโบว์ลิ่งกรีน รัฐเคนตั๊กกี้ ภายในพื้นที่เกือบเก้าหมื่นสาม พันตารางเมตร คนงานหนึ่งพันสองร้อยคนประกอบแซดศูนย์หกใน พื้นที่หลายแห่ง ประกอบด้วย คาร์แทรค ทริม เพนท์ชอพ แชสสิส และเทสต์

มาร์ค

ส่วนมากคนจะคิดว่าโรงงานจะมีข้าวของทิ้งเกะกะ คนเดินกัน ขวักไขว่ แต่ถ้าคุณดูจริงๆจะเห็นว่าแต่ละคนมีหน้าที่เฉพาะ

บรรยาย

แต่การที่จะสร้างรถคันนี้ขึ้นมาจากศูนย์ จะต้องมีโรงงานอีกสองแห่ง

3

บรรยาย

ที่แรกคือที่ดีทรอยท์ เป็นที่ที่ประกอบเครื่องยนต์ขึ้นมา อีกที่หนึ่งอยู่ ไกลออกไปหลายร้อยกิโลเมตร ที่ฮอพสกินวิลล์ เคนตั๊กกี้ นี่คือที่ที่ เริ่มต้นชีวิตของแซดศูนย์หก ก่อนที่คุณจะสร้างรถขึ้นมา คุณต้องมี โครงก่อน.. สำาหรับโครงรถของแซดศูนย์หกนั้น เชฟโรเลท จ้างบริษัท รับทำาโครงรถไฮเทคชื่อเดน่า เทคโนโลยี่

บรรยาย

เป้าหมายคือยังคงมีทรงเดิมของคอร์เวทท์อยู่ ในขณะที่ต้องวิ่งเร็ว กว่าของเดิมกว่าที่เคยเป็น สำาหรับวิศวกรแล้ว นี่คือความท้าทาย อย่างมากทำาให้แซดศูนย์หกเบาขึ้นโดยไม่มีการลดความสามารถ อย่างอื่นลง วิธีแก้ปัญหาคือ การใช้โครงอลุมิเนียม เรียกว่าสเปซ เฟรมซึ่งมีความคงทน และนำ้าหนักเบา

บรรยาย

คอร์เวทท์รุ่นปกติมีโครงทำาด้วยเหล็ก แซดศูนย์หกมีโครงโลหะทำา ด้วยอลุมิเนียมซึ่งเบากว่าสามสิบเปอร์เซนต์ นำ้าหนักของมันเพียง ร้อยสามสิบหกปอนด์เท่านั้น และเบากว่า หมายถึงวิ่งเร็วกว่า

บรรยาย

โครงอลุมิเนียมประกอบด้วยชิ้นส่วนสำาคัญดังต่อไปนี้ โครงด้านข้าง ทั้งสอง ส่วนกันชนหน้าหลัง โครงหลังคา และส่วนท่อส่งกำาลัง ใน การประกอบโครง อลุมิเนียม แต่ละชิ้นทำาจากอลุมิเนียมที่มีความ หนาแตกต่างกันไปจากหนึ่งถึงห้ามิลลิเมตร

บรรยาย

เครื่องเจเนซิสเป็นตัวประกอบโครงรถเข้าด้วยกัน มันเป็นเครื่องเชื่อม อัตโนมัติที่เชื่อมเหล็กฉากและชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกันซึ่งและท้าย สุด เครื่องยนต์ ระบบช่วงล่าง และระบบขับเคลื่อนจะถูกติดตั้งบน โครงนี้

4

บรรยาย

จากนั้นจะเชื่อมโครงส่วนที่เป็นกันชนเข้ากับโครงด้านข้าง การเชื่อม นี้จำาเป็นต้องใช้คนเป็นผู้เชื่อม มันคือการเชื่อมที่เรียกว่ามิกเวลด์ซึ่ง แข็งแรงกว่าการเชื่อมแบบธรรมดา การเชื่อมแบบนี้ เครื่องเชื่อมจะมี ไฟแรงสูงที่ทำาหน้าที่ละลายลวดเชื่อมที่อยู่ภายในหัวเชื่อม เพื่อ ป้องกันการปนเปื้อนของโลหะ หัวเชื่อมยังปล่อยก๊าซออกมาเพื่อ ป้องกันรอยเชื่อมจากการปนเปื้อนของอากาศ ถ้าทำาการเชื่อมอย่าง ถูกต้อง รอยเชื่อมของมิกเวลด์จะขนาดเท่ากันตลอด และมีความ แข็งแรงกว่าการเชื่อมแบบธรรมดา

บรรยาย

ตอนนี้ ถึงเวลาที่จะเชื่อมส่วนที่เป็นตรงกลางของโครงรถ ส่วนกลางนี้ ประกอบด้วยชิ้นส่วนสำาคัญสองส่วน ส่วนแรกคือ ท่อส่งกำาลังขับ เคลื่อน อีกส่วนหนึ่งคือกระบอกเพลาหรือ ทอร์คทูป ซึง่ มีหน้าที่แปลง แรงจากระบบขับเคลื่อนไปยังเครื่องยนต์ สำาหรับรถที่มีตัวถังตำ่าอย่าง คอร์เวทท์ มันเป็นชิ้นส่วนที่สำาคัญมาก โดยป้องกันการรบกวนของ เสียงและแรงสั่นสะเทือนให้กับคนขับ

บรรยาย

แค่กดปุ่ม หุ่นยนต์เชื่อมโลหะก็จะเริ่มเชื่อมท่อต่างๆด้วยเลเซอร์ ซึ่งใช้ เวลาเพียงยี่สิบนาที การเชื่อมเลเซอร์ไม่เพียงแต่เชื่อมชิ้นส่วนทั้งหมด เข้าด้วยกัน มันยังอุดช่องว่างต่างๆตามชิ้นโลหะ เพื่อป้องกันไม่ให้นำ้า หรือสิ่งสกปรกเข้าไปได้

บรรยาย

ตอนนี้ ท่อส่งกำาลังเรียบร้อยแล้ว มันพร้อมที่จะถูกเชื่อมเข้ากับโครง รถ

บรรยาย

หลังจากนั้นจึงเชื่อมโครงหลังคาเข้าไป ซึ่งเป็นตัวยึดหลังคา กระจก หน้า และกระจกหลังเข้าด้วยกัน 5

บรรยาย

จากนั้นจึงติดตั้งระบบล๊อค และแกนบานพับสำาหรับประตู

บรรยาย

ในการยึดชิ้นส่วนต่างๆเข้าด้วยกันนั้น ต้องมีการใส่หมุดยำ้า หรือเรียก กันว่า เอส พี อาร์ ถึงสองร้อยตัว นอกจากตัวหมุดเองมีความแข็งแรง มากแล้ว มันยังเพิ่มความแข็งแรงต่อโครงสร้างรวมด้วย

บรรยาย

หมุดยำ้านี้ถูกตอกเข้าไปเพื่อยึดเนื้ออลุมิเนียมเข้าด้วยกัน หัวของมัน ถูกตอกให้กลายเป็นปุ่ม

บรรยาย

การเชื่อมและการตอกหมุดเรียบร้อยแล้ว แต่ก่อนที่จะส่งไปที่โรงงาน ประกอบ โครงนี้จะต้องผ่านขั้นตอนเพิ่มเติมอีกนิดหน่อยคือ การ ปรับพื้นผิวและการเจาะรูต่างๆ ซึ่งทั้งหมดทำาโดยเครื่องจักรที่ถูก ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ เรียกว่าคอมพิวเตอร์นิวเมอริเคิล คอนโทรล หรือ ซีเอ็นซี คอมพิวเตอร์บอกพิกัดเป็นตัวเลขให้แกหัวกัด และเจาะให้วิ่งไปในตำาแหน่งที่ต้องการและบอกว่าการเจาะหรือกัดมี ความลึกและขนาดรูปร่างแบบไหน

บรรยาย

เครื่องซีเอ็นซีเริ่มต้นการปรับขนาดของโครงรถให้เท่ากับขนาดขอตัว รถซึ่งมีความเที่ยงตรงในระดับมิลลิเมตร ในขณะที่ซีเอ็นซีมีความ ละเอียดในระดับหนึ่งส่วนสี่มิลลิเมตร ซึ่งทำาให้โครงนี้สามารถนำาไป ประกอบเป็นรุ่นคูเป้ และรุ่นเปิดประทุน ที่โบว์ลิ่งกรีน จากนั้นซีเอ็นซี เริ่มการเจาะซึ่งรูเหล่าเป็นรูของน๊อตต่างๆที่ต้องขันเข้าไปในการ ประกอบตัวถัง เราสามารถนึกภาพได้ว่าชิ้นส่วนต่างๆของแซดศูนย์ หกจะต้องติดลงบนโครงรถคันนี้

6

บรรยาย

ต่อไป เครื่องยกอัตโนมัติจะส่งโครงรถไปยังส่วนควบคุมคุณภาพการ ผลิตเพื่อการตรวจสอบอย่างละเอียด

บรรยาย

นี่เป็นสถานีสุดท้ายของการผลิต เบรด เกรดี้เป็นผู้ควบคุมการตรวจ สอบนี้ด้วยหุ่นยนต์ที่มีกล้องถึงหกตัว คอยเปรียบเทียบรูปภาพที่ได้ กับรูปของโครงต้นแบบถ่ายไว้ก่อนหน้านั้น นี่คือจุดสุดท้ายก่อนที่ โครงรถจะถูกส่งไปโรงงานที่โบว์ลิ่ง กรีน มันสำาคัญมากจะต้องจับ ความผิดพลาดต่างๆให้ได้ที่นี่ ทุกอย่างไปได้ดีจนกระทั่งกล้อง หมายเลขหกส่งข้อความเตือนขึ้น มีจุดที่ไม่ผ่าน มันกำาลังเทียบรูที่ ถูกเจาะกับภาพต้นแบบ กล้องมีความไวมาก ถ้าภาพไม่ตรงกัน สมบูรณ์แบบ มันจะฟ้องทันที ….เบรด เกรดี้ ตรวจสอบจุดนั้นและ มันผ่านการตรวจของเขา โครงอลุมิเนี่ยมนี้ ใช้เวลาในการทำาขึ้นมา เพียงสิบแปดนาที มันมีนำ้าหนักน้อยกว่าหนึ่งร้อยสามสิบกิโลกรัม เบาที่สุดเท่าที่เคยทำาคอร์เวทท์มา

***** break ****** บรรยาย

โครงรถเหล่านี้ถูกส่งไปยังเชฟวี่คอร์เวทอยู่ห่างออกไปทางตะวันออก ร้อยกว่ากิโลเมตรที่โบว์ลิ่งกรีน รัฐเคนตั๊กกี้

7

บรรยาย

โครงอลุมิเนี่ยมของแซดศูนย์หก ถูกประกอบเป็นคัน พร้อมๆกับรถรุ่น ที่เป็นโครงเหล็ก ในบริเวณที่เรียกว่าคาร์แทรคของโรงงาน เริ่มต้น จากการทำาความสะอาดทุกส่วนของโครง ซึง่ ทำาการล้างเอานำ้ามัน หรือสิ่งแปลกปลอมต่างๆออก จากนั้น โครงรถจะผ่านขั้นตอนการชุบ สีด้วยไฟฟ้า กลายเป็นสีดำาที่สามารถป้องกันสนิมได้ ไฟฟ้าแรงสูง ทำาให้เม็ดสีติดโครงอลุมิเนียมได้อย่างทั่วถึง ตอนนี้ มันพร้อมแล้ว สำาหรับชิ้นส่วนต่างๆของแซดศูนย์หก

บรรยาย

ตอนนี้มันพร้อมแล้ว หุ่นยนต์อัตโนมัติทากาวเพื่อยึดกระโปรงหลัง รถสปอร์ตส่วนใหญ่มีกระโปรงหลังไม่ใหญ่มาก แต่คอร์เวทท์มีขนาด ใหญ่กว่ามาก มันมีความจุกมากกว่าศูนย์จุดห้าลูกบาศก์เมตร ใหญ่ เป็นอันดับต้นๆของรถสปอร์ตด้วยกัน

บรรยาย

ต่อไปเป็นการติดตั้งพื้นรถ… แต่มันไม่ใช่พื้นรถธรรมดา มันทำาด้วย คาร์บอนไฟเบอร์ประกบไม้บัลซ่าร์เพื่อลดเสียงจากถนนและเพิ่ม ความแข็งแกร่ง

บรรยาย

พื้นรถรุ่นนี้มีนำ้าหนักน้อยกว่าคอร์เวทท์รุ่นธรรมดาสองกิโลกรัม ซึ่ง น้อยกว่าสามสิบเปอร์เซนต์ …..ในแซดศูนย์หกนั้น นำ้าหนักที่เบาลง หมายถึงความเร็ว และกำาลังที่มีมากขึ้น

บรรยาย

อีกสิ่งหนึ่งที่รวมอยู่กับการเตรียมโครงรถเพื่อการประกอบคือ ส่วนที่ เป็นหน้าปัด ในบริเวณที่ประกอบหน้าปัดรถ คนงานได้เดินสาย ภายในคอนโซลหน้ารถ เมื่อเสร็จแล้ว คอนโซลจะถูกส่งไปยัง คาร์แทรคแอเรียเพื่อติดตั้งเข้ากับโครงรถ เมื่อติดตั้งคอนโซล เรียบร้อย โครงรถก็พร้อมที่จะถูกประกอบเป็นแซดศูนย์หกแล้ว 8

บรรยาย

แต่นี่เป็นเพียงแค่โครงรถเท่านั้น

บรรยาย

รักแรกของชาวอเมริกันต่อคอร์เวทท์ เริ่มเมื่อปีพันเก้าร้อยห้าสิบสาม ฮาร์ลี่ย์เอิร์ล แห่งเจนเนอรัล มอเตอร์ นำารถสปอร์ตสองที่นั่งสู่ สาธารณะ เขาฝันว่ามันจะทำาตลาดได้ดีในยุโรป แต่ในปีพันเก้าร้อย ห้าสิบห้า เอ็ด คอร์ หัวหน้าวิศวกรของเชฟโรเลท ได้นำาเครื่องวีแปด ขนาดเล็กออกสู่ตลาด ซึ่งทำาให้แนวทางของคอร์เวทท์เปลี่ยนไป มัน เป็นเครื่องที่ไม่เหมือนใคร นำ้าหนักเบา แข็งแรง และมีกำาลังสูง มัน กลายเป็นเครื่องยนต์ที่จีเอ็มเลือกใช้ในรถยนต์ความเร็วสูงและรถ แข่ง ห้าสิบปี บวกกับเครื่องยนต์อีกเก้าสิบล้านเครื่อง เครื่องวีแปดนี้ ยังวิ่งอยู่บนถนนจนถึงปัจจุบัน

วิลล์

(ส)ถ้าคุณมองไปที่อุตสาหกรรมรถยนต์ และดูว่ามีกี่รุ่นที่ยังผลิตอยู่ จนถึงทุกวันนี้ คอร์เวทท์คือผู้อยู่รอดครับ

บรรยาย

จากหนึ่งล้านสี่แสนคันผ่านไป คอร์เวทท์ยังเป็นรถสปอร์ตหมายเลข หนึ่งของอเมริกา

บรรยาย

ทำาไมหรือ? เพราะคอร์เวทท์ไม่เคยเปลี่ยนรูปแบบ ความเร็วของมัน รูปร่าง และกำาลังม้าที่มีให้

บรรยาย

ตอนนี้โครงรถพร้อมสำาหรับประกอบเข้ากับตัวถังแล้ว รูปร่างของตัว ถังรถที่ไม่มีวันมองผิดไปได้ รถส่วนใหญ่จะติดตั้งตัวถังรถที่เป็นโลหะ แล้วจึงพ่นสี แต่ของคอร์เวทท์ไม่ได้เป็นโลหะ แต่เป็นไฟเบอร์กลา สนำ้าหนักเบา

9

บรรยาย

ชิ้นส่วนตัวถังของคอร์เวทท์ถูกพ่นสีที่เพนท์ชอพก่อนที่จะนำาไป ประกอบ การพ่นสีใช้เวลาสิบชั่วโมง ประกอบด้วยการพ่นสามขั้น ตอนคือ พ่นรองพื้น พ่นสี และพ่นเคลือบสี ซึ่งคอร์เวทท์มีสีให้เลือก ถึงแปดสี

บรรยาย

อุปสรรคใหญ่ของการพ่นสีคืออะไร มันคือความสกปรกที่มากับตัวที่ เข้ามาในเพนท์ชอพ …ดังนั้น ก่อนที่คนงานจะเข้ามาทำางาน จะต้อง ล้างมือเพื่อไม่ให้มีสิ่งสกปรก หรือคราบไขมันที่จะทำาให้เกิดรอยนิ้ว มือได้

บรรยาย

ต่อไปคือการตรวจรอยบุ๋มซึ่งเกิดจากฝุ่นผงที่มาจากตัวคน ซึง่ ทำาให้ เกิดผลเสียแก่สีที่พ่นลงบนแซดศูนย์หกได้ มันจะเห็นเป็นหลุมสี หรือ เป็นรอยบนพื้นสี ช่างสีแต่ละคนต้องทดสอบพ่นสี่ที่นี่ก่อน ถ้าใคร อาจจะมีปัญหาเรื่องนี้ สีที่พ่นลงบนชิ้นงานทดสอบจะมีรอยเกิดขึ้น

บรรยาย

ซิลิโคนก็เป็นหนึ่งในการทำาให้เกิดหลุมสีขึ้นได้ ซิลิโคนอยู่ใน ผลิตภัณฑ์ที่มีกลิ่นในชีวิตประจำาวัน เช่น นำ้าหอม ผลิตภัณฑ์สำาหรับ เส้นผม หรือนำ้ายาปรับผ้านุ่ม สิ่งแรกที่คนงานต้องทำาคือลองเอาชิ้น งานทดสอบมาถูกับเสื้อผ้า และเขย่าแขนเสื้อลงบนแผ่นทดสอบอะไร ที่ร่วงออกมานั้นจะทำาให้งานเสียหายได้ แผ่นทดสอบจะถูกพ่นสีเพื่อ ดูว่ามีอะไรผิดไปหรือไม่

คิม

เราจะลองพ่นสีดูว่ามีอะไรที่จะทำาให้ให้เกิดหลุมสีหรือไม่

บรรยาย

แผ่นทดสอบจะถูกอบยี่สิบนาทีเพื่อดูว่ามีสิ่งแปลกปลอมหรือไม่

10

บรรยาย

ถ้ามีหลุมสีอยู่บนแผ่นทดสอบ คนงานจะไม่สามารถเข้าไปในเพ นท์ชอพได้

บรรยาย

ถ้าแผ่นทดสอบไม่ผ่าน มันจะเป็นแบบนี้ รอยเปื้อนและหลุมสีที่ เห็นจะเกิดขึ้นแบบเดียวกับงานสีของแซดศูนย์หก

บรรยาย

แผ่นทดสอบแผ่นนี้ผ่าน คนงานจะเข้าไปยังห้องพ่นลม เพื่อเป่าเอา ฝุ่นออก ….ถึงจะเข้าไปในเพนท์ชอพได้

บรรยาย

ข้างในนี้ สิ่งแรกที่ทำาคือเอาตัวถังไฟเบอร์กลาสมาล้างทำาความ สะอาดก่อน เพื่อที่จะทำาให้พื้นผิวสะอาดทำาจะให้สีเกาะได้ดแี ละงาน ออกมาสมบูรณ์แบบ

บรรยาย

ตัวถังรถจะเข้าไปยังส่วนที่เป็นการพ่นสีรองพื้น ซึ่งจะทำาให้เม็ดสีพ่น จับตัวได้ดีกว่าการพ่นสีตรงๆ หุ่นยนต์สี่ตัวทำาการพ่นสีรองพื้นบางๆ ในระดับไมโครเมตร ด้วยหัวพ่นอะตอมไมซ์ สเปรย์ …. หัวพ่นนี้จะ อัดอากาศจนทำาให้สีรองพื้นกระจายเป็นเม็ดสีเล็กๆพ่นลงไปบนชิ้น งาน

วิลล์

(ส)เราพบว่ามือคนไม่สามารถพ่นสีให้เรียบเสมอกันได้เหมือนกับหุ่น ยนต์ พวกมันทำางานได้ดีมาก งานของมันออกมาคงที่มากกว่าการใช้ คนทำา

บรรยาย

ตอนนี้ก็พร้อมแล้วสำาหรับการพ่นสี

11

บรรยาย

โรงงานคอร์เวทท์มีชุดพ่นสีสองชุด พ่นสีแตกต่างกันไปในแต่ละวัน เพนท์ชอพพ่นสีตัวรถประมาณสามร้อยยี่สิบชิ้นต่อชั่วโมงโดยใช้สีมา กกว่าสองร้อยห้าสิบลิตรในการพ่น หุ่นยนต์พ่นสีสี่ตัวพ่นสีทับสอง ครั้งซึ่งทำาให้ได้ความหนาศูนย์จุดศูนย์ศูนย์ห้ามิลลิเมตร …จากนั้น จึงพ่นเคลือบเงาด้วยยูรีเธน ยูรีเธนเป็นเกราะป้องการรอยขูดขีดที่ อาจจะเกิดกับสีรถ เม็ดสีของสีเคลือบเข้าไปติดกับชิ้นงานด้วย แรงดึงดูดทางไฟฟ้าซึ่งถูกควบคุมด้วยคอมพิวเตอร์ หัวพ่นสีใช้แรง ดันไฟถึงหกสิบกิโลโวลท์ทำาให้เม็ดสีแตกตัวจนมีขนาดเล็กมากมีผล ให้งานเคลือบทำาให้อย่างเท่าถึงกันทั่วชิ้นงาน

บรรยาย

เมื่อชิ้นงานผ่านการตรวจการทำาสีแล้ว ก็จะเป็นการติดตั้งลงบนโครง รถในพื้นที่ที่เรียกว่าทริมแอเรีย… แซดหกศูนย์ตอนนี้เริ่มเป็นรูปร่าง แล้ว เริ่มจากด้านข้างรถ ใช้สกรูว์สิบเอ็ดตัวในการยึด

บรรยาย

ตามด้วยแผงด้านหลังที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของคอร์เวทท์ คนงาน ต้องต่อสายไฟและยึดกับตัวรถด้วยน๊อตสิบตำาแหน่ง

บรรยาย

บังโคลนหน้าถูกติดตั้งหลังจากเครื่องยนต์ ต่อไปเป็นการติดตั้งสมาร์ ซีท หรือเบาะรถยนต์ไฟฟ้าที่มีคอมพิวเตอร์ควบคุม

บรรยาย

เดวิด เคิร์น ติดตั้งอุปกรณ์เพื่อความปลอดภัยสำาหรับเด็กที่เชื่อม โดยตรงเข้ากับถุงลมนิรภัย คอมพิวเตอร์มีความไวพอที่จะรับรู้ว่าคน ที่นั่งเป็นเด็กหรือผู้ใหญ่

12

เดวิด

เบาะจับขนาดของคนนั่งได้ ผมติดอุปกรณ์นี้เข้าไป ถ้าเด็กที่นั่งมีนำ้า หนักไม่ถึงแปดสิบปอนด์ ถุงลมจะไม่ทำางาน แต่ถ้าเกิดแปดสิบปอนด์ จะทำางาน ผมติดมันเข้ากับระบบจ่ายไฟทางด้านหน้านี้

บรรยาย

ติดเบาะรถเสร็จ ภายในส่วนที่เป็นคนขับและผู้โดยสารของแซดศูนย์ หกถือว่าเรียบร้อยแล้ว

บรรยาย

เมื่อเบาะรถเรียบร้อยก็เริ่มติดประตูทั้งสอง ประตูของแซดศูนย์หก ต้องมีการติดตั้งกระจกรถที่บริเวณที่จัดไว้โดยเฉพาะ ที่ทริมไลน์ มี รอกสำาหรับห้อยประตูรถเฉพาะเพื่อใช้ในการติดตั้งตัวประตูเข้ากับ ตัวรถ

ไอเซีย

เรากำาลังติดตั้งประตูรถอยู่ ….จะมีตำาแหน่งที่ถูกกำาหนดไว้ล่วงหน้า แล้ว มีหมุดที่จะต้องเข้าไปในรูนี้ ซึง่ เป็นส่วนที่สำาคัญมาก… หลังใส่ จากประตูลงไปแล้วก็แค่ขันน๊อตเข้า ….ผมกำาลังใส่น๊อตสี่ตัวนี้ลงไป สองชุดเป็นแปดตัว ขันเข้าไปน้อยๆก่อนให้พออยู่ และกวดให้แน่น อีกทีนึง

บรรยาย

ต่อไปเป็นการติดตั้งกระจกหลังรูปหยดนำ้า กระจกทรงนี้เป็น สัญลักษณ์อย่างหนึ่งของคอร์เวทท์ตั้งแต่ปีพันเก้าร้อยหกสิบสาม มี เหตุผลมากกว่าเรื่องความสวยงาม มันมีผลในการทำางานด้วย

13

บรรยาย

ผู้ออกแบบคอร์เวทท์เชื่อว่ากระจกหลังรูปหยดนำ้ามีแอโร่ว์ไดนามิค หรือความเพรียวลมมากกว่า มันถูกพิสูจน์ในอุโมงค์ลมและการวัด ด้วยระบบคอมพิวเตอร์ในภายหลังว่าเป็นอย่างนั้นจริงๆ วันนี้ นาน กว่าสี่สิบปีที่กระจกหลังรูปหยดนำ้าบานแรกอยู่บนคอร์เวทท์ แซด ศูนย์หกก็มีกระจกหลังแบบนี้เช่นกัน

ทอดจ์

(ส)คุณสามารถมองย้อนไปในประวัติศาสตร์ของคอร์เวทท์และจะ เห็นว่าแอโร่ว์ไดนามิคเป็นส่วนหนึ่งของรถในยุคหกสาม และมันยัง คงไว้ซึ่งความสามารถนี้ในปัจจุบัน

บรรยาย

การติดตั้งกระจกรูปหยดนำ้านี้ต้องใช้ความเที่ยงตรงอย่างมาก แต่ขั้น ตอนต่อไปยิ่งสำาคัญกว่า นั่นคือการใช้กาวยูโรเธนติดกระจกและรอ เป็นเวลาสี่ชั่วโมงให้แห้งตัว การติดตั้งต้องลงได้อย่างพอดีและเควิน คิลแพทริคต้องคอยดูอยู่ตลอดเวลา

เควิน

ผมกำาลังจากกระจกลงแบบนี้ และก็ทุบลงไปด้วยมือ ….. ติดเทปลง ไปเพื่อไม่ให้มันเคลื่อนที่ และทุบอีกหน่อยและตรวจดูว่ามันเรียบเท่า กันหรือเปล่า

บรรยาย

กระจกหลังที่เป็นเอกลักษณ์ของรถเรียบร้อยแล้ว แซดหกศูนย์ไปถึง จุดสุดท้ายก่อนที่จะติดตั้งขุมพลังของมัน นั่นคือเครื่องยนต์ ระบบขับ เคลื่อน และระบบเกียร์ที่จะส่งกำาลังไปให้ล้อทั้งสี่

บรรยาย

ตอนนี้เป็นเวลาที่เริ่มสร้างเครื่องยนต์สำาหรับรถโดยสารที่แรงที่สุด ของจีเอ็มแล้ว

14

บรรยาย

มันยากที่จะเข้าใจว่าเครื่องเจ็ดลิตรวีแปดมีแรงมากแค่ไหน

บรรยาย

คอร์เวทท์รุ่นธรรมดามีสี่ร้อยแรงม้า และรุ่นแซดศูนย์หก……มีแรงถึง ห้าร้อยห้าแรงม้า ..มันมีแรงมากเหลือเฟือพอที่จะใช้เป็นเครื่องยนต์ ในรถแข่ง ซี หก อาร์ ซึ่งเป็นผู้ชนะเลิศในการแข่งรถที่เลอมังส์ เครื่อง นี้สามารถเร่งความเร็วจากศูนย์ถึงเก้าสิบหกกิโลเมตรต่อชั่วโมง ภายในเวลาสามจุดเจ็ดวินาทีโดยยังเป็นเกียร์หนึ่งอยู่ ถ้าเปลี่ยนเกียร์ ไปจนถึงเกียร์สุดท้ายในสนามแข่ง มันสามารถวิ่งได้ถึงสามร้อยยี่สิบ กิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่ถ้าคุณคิดว่ามันจะกินนำ้ามันมหาศาล ไม่ใช่ เลย อัตราสิ้นเปลืองของมันอยู่ที่สิบกิโลเมตรต่อชั่วโมงบนไฮเวย์

ทอดจ์

ทุกอย่างไม่เหมือนใครเลยสำาหรับเครื่องแอลเอสเจ็ดนี่ ทุกอย่าง ตั้งแต่การส่งอากาศเข้าเครื่อง ขนาดของวาวล์ วัสดุต่างๆ ประสิทธิภาพคือหัวใจของแซดศูนย์หก

***** break ****** บรรยาย

เครื่องแอลเอสเจ็ดถือว่าเป็นไฮเทคเวอร์ชั่นของเครื่องคลาสสิควีแปด ที่ใช้กันมากว่าห้าสิบปี ภายในเสื้อสูบมีลูกสูบแปดตัวเลื่อนขึ้นลงเพื่อ ส่งกำาลังไปยังเพลาข้อเหวี่ยง เพลาข้อเหวี่ยงส่งกำาลังต่อไปยัง กระบอกเพลาซึ่งไปถึงล้อในที่สุด แต่อะไรที่ทำาให้ลูกสูบเคลื่อนที่ได้? การจุดระเบิดของเชื้อเพลิงและอากาศ เชื้อเพลิงและอากาศผ่านเข้า มาทางท่อไอดี วาวล์หรือลิ้นเปิดปิดจะปล่อยให้เชื้อเพลิงและอากาศ ผสมกัน หัวเทียนทำาการจุดระเบิดทำาให้ลูกสูบเคลื่อนลง วาวล์อีกตัว เปิดให้ไอเสียออกไป และขั้นตอนทั้งหลายวนไปเรื่อยๆนับพันรอบใน หนึ่งนาทีที่เครื่องยนต์ทำางาน 15

บรรยาย

แต่ตรงไหนคือขนาดและนำ้าหนักที่แตกต่างกันของแอลเอสเจ็ด เครื่องยนต์ขนาดใหญ่มักจะหนัก แต่แอลเอสเจ็ดใช้เสื้อสูบที่ทำาด้วย อลุมิเนียมซึ่งเบากว่าเครื่องที่เป็นเหล็กในรุ่นปกติถึงสี่สิบห้ากิโลกรัม ชิ้นส่วนอื่นๆในนั้นทำาด้วยไทเทเนี่ยมที่มีความแข็งแรงและนำ้าหนัก เบากว่าปกติมาก นำ้าหนักเครื่องที่เบา หมายถึงมันใช้กำาลังน้อยกว่า ในการขับเคลื่อน รถจะวิ่งเร็วกว่าเพราะไม่ต้องแบกนำ้าหนักตัวเอง

บรรยาย

โรงงานที่ผลิตเครื่องแอลเอสเจ็ดตั้งอยู่ที่ศูนย์ผลิตเครื่องในวิส้อม รัฐ มิชิแกน ขณะที่เครื่องยนต์สมัยใหม่จะถูกประกอบในสายการผลิต แต่แอลเอสเจ็ดต่างกันออกไป มันถูกสร้างด้วยคนๆเดียวเหมือนกับ เครื่องยนต์ของรถแข่ง โต๊ะยึดเครื่องที่หมุนได้ทำาให้สามารถหมุน เครื่องไปมาซึ่งสะดวกในการประกอบเครื่อง ผู้ทำางานจะค่อยๆ ประกอบชิ้นส่วนเข้าด้วยกัน เกรก โจนส์ คือหนึ่งในช่างที่มีได้รับการ ฝึกพิเศษในการประกอบ เขาเริ่มต้นจากการใส่เพลาข้อเหวี่ยงลงใน เครื่อง ซึ่งเพลาข้อเหวี่ยงนี้จะหมุนไปตามจังหวะของลูกสูบที่ เคลื่อนที่ขึ้นลง

เกรก

ผมจะเอาข้อเหวี่ยงใส่เข้าไป และติดตัวล๊อคเข้ากับมัน ตอนนี้มีของ ครบแล้วก็เริ่มกันเลยครับ

บรรยาย

เพลาข้อเหวี่ยงเป็นหัวใจของเครื่อง มันหมุนเป็นวงกลมเพื่อดันลูกสูบ เคลื่อนที่ขึ้นลงและส่งกำาลังให้กับแซดศูนย์หก

เกรก

มันส่งกำาลังให้รถของคุณ ….ซึ่งคือหัวใจของเครื่อง ตอนนี้ผมกำาลัง จะใส่มันเข้าไป และต่อด้วยลูกสูบ

16

บรรยาย

ตัวล๊อคจะทำาการยึดเพลาข้อเหวี่ยงให้อยู่นิ่ง เพื่อให้เครื่องยนต์หมุน ได้ราบเรียบ

บรรยาย

ตัวล๊อคเหล่านี้ถูกขันเข้าไปด้วยเครื่องขันน๊อตควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์ซึ่งใช้สำาหรับงานหนักโดยเฉพาะซึ่งมีความถูกต้องสูง มาก ไฟสีเขียวบอกถึงการติดตั้งทำาได้ถูกต้อง

บรรยาย

ต่อไปคือการใส่ ลูกสูบทั้งแปดที่ต้องรับแรงจากการระเบิด ขณะที่เพลาข้อเหวี่ยงหมุนตัว ….ก้านสูบที่ติดกับหัวลูกสูบซึ่งทำามา จากไทเทเนี่ยมราคาแพง ชิ้นส่วนทั้งสองมีความแข็งแรงมากและมี นำ้าหนักเบา ก่อนติดตั้ง จะต้องมีการหล่อลื่นเพื่อป้องกันการขูดขีด กระบอกสูบ จากนั้นจึงใส่เข้าไปในเสื้อสูบผ่านแหวนสูบ

บรรยาย

ในการยึดก้านสูบ เกรกใช้เครื่องขันอัตโนมัติทำางานจากระบบไฟฟ้า เขาทำาขั้นตอนเดียวกันซำ้าแปดครั้งตามจำานวนของก้านสูบ คอมพิวเตอร์ทำาการทดสอบสองครั้งเพื่อแน่ใจว่าก้านสูบยึดติดแน่น จริง

บรรยาย

ต่อไป เกรกยึดตัวฝาสูบ

เกรก

นี่คือฝาสูบของแซดศูนย์หก และตรงนี้คือจุดที่มีการจุดระเบิดเกิดขึ้น

17

บรรยาย

ฝาสูบอยู่ติดกับวาลล์หรือลิ้นเปิดปิดที่ปล่อยให้อากาศและเชื้อเพลิง เข้ามา รวมถึงการระบายไอเสียออก เครื่องขันน๊อตควบคุมด้วย คอมพิวเตอร์จัดการขันน๊อตทั้งสิบห้าตัวให้กับฝาสูบ ฝาสูบต้องมี ขนาดใหญ่เพื่อที่รับอากาศได้มาก เครื่องยนต์ของแซดศูนย์หกรับ อากาศได้มากกว่าคอร์เวทท์รุ่นธรรมดาถึงยี่สิบห้าเปอร์เซนต์ อากาศ ที่เข้ามามากกว่าคือการเผาไหม้ที่เร็วกกว่าและกำาลังที่มากกว่าเช่น กัน

เกรก

การเผาไหม้ของเครื่องยนต์อยู่ตรงนี้ ณ.ปลายของลิ้นเปิดปิด ไอเสีย ไอดี ไอนำ้ามัน การผสมกับอากาศ และการระเบิด เกิดขึ้นที่นี่หมด ทุกอย่างจะไม่เกิดขึ้นถ้าไม่มีเจ้าสองตัวนี้

บรรยาย

เครื่องยนต์ ดูดอากาศและเชื้อเพลิงผ่านอินเทคแมนิโฟลด์หรือท่อไอ ดี

เกรก

ตอนนี้เราพร้อมสำาหรับท่อไอดีแล้ว ท่อไอดีจะดึงอากาศเข้ามาผสม กับไอนำ้ามัน เครื่องยนต์จะต้องมีอากาศเพื่อให้มันทำางาน และตอนนี้ ผมกำาลังจะติดตั้งมันเข้าไป

บรรยาย

ท่อไอดีเป็นตัวจ่ายอากาศเพื่อผสมกับไอนำ้ามันในกระบอกสูบ

เกรก

ตอนนี้มันดูจะเป็นเครื่องยนต์ในรถแล้วครับ นี่คือส่วนที่สำาคัญที่สุด ส่วนนึงในรถเหมือนกัน

บรรยาย

ต้องขันน๊อตยี่สิบครั้งในการติดตั้งท่อไอดีเข้ากับเครื่องยนต์ ลำาดับใน การขันสามารถทำาให้เครื่องยนต์ทำางานหรือเสียหายได้ 18

เกรก

คุณจะต้องขันให้ถูกลำาดับ ถ้าผิดออกไป ระดับของมันจะไม่เท่ากับ ซึ่งจะทำาให้เกิดปัญหาขึ้นได้ ลำาดับคือ ….จากตรงกลางออกไปด้าน นอก เหมือนกับขึ้นตอนอื่นๆ เครื่องนี้ใช้ต้องขันทั้งหมดสามร้อยยี่สิบ สี่ตัว ยี่สิบตัวอยู่ตรงนี้ ผมว่ามันน่าจะเป็นงานที่เยอะที่สุดสำาหรับ เครื่องนี้

บรรยาย

การประกอบเครื่องด้วยมือ เริ่มจากเพลาข้อเหวี่ยงจนถึงท่อไอดี ใช้ เวลาสี่ชั่วโมง สำาหรับเกรก มันเป็นงานที่เขาภูมิใจ เช่นเดียวกับงาน ศิลปะที่ศิลปินจะเซ็นชื่อกำากับ เกรกกำาลังทำาเช่นเดียวกันกับเครื่อง ของแซดศูนย์หก

เกรก

คนขับจะเห็นชื่อของพวกเราและรู้ว่ามันเป็นสิ่งพิเศษ ไม่มีเครื่องของ เจนเนอรัลมอเตอร์ทำาแบบนี้ มีแต่แซดศูนย์หกเท่านั้น สิ่งที่สำาคัญ ที่สุดของเครื่องนี้คือตรงนี้ครับ ตรงที่เราใส่ชื่อของเราลงไป เพราะเรา รู้ว่าเราสร้างมันขึ้นมาอย่างดี

บรรยาย

และเมื่อเวลาเกรกเห็นแซดศูนย์หกวิ่งบนถนน เขาคิดว่าชื่อใครอยู่บน เครื่องของรถคันนั้น

เกรก

(ส)ผมอยากจะหยุดดูว่าชื่อใครที่เป็นคนประกอบเครื่องนั้น ผมคิดว่า ผมทำาเครื่องนั้นหรือเปล่า ผมอาจจะทำาก็ได้… เพราะมีบาร์โคดบอก อยู่

บรรยาย

ความภูมิใจในฝีมือของเขา ได้แสดงให้เห็นเมื่อมีการติดเครื่องเป็น ครั้งแรก

19

บรรยาย

มันผ่านการทดสอบทุกอย่าง และท้ายสุด ก็พร้อมที่จะเข้าไปอยู่ใน คอร์เวทท์ แซดศูนย์หกแล้ว

บรรยาย

กลับไปที่โบวลิ่งกรีน เคนตั๊กกี้ ณ.สายการประกอบของคอร์เวทท์ เมื่อเครื่องของแซดศูนย์หกเข้ามา คนงานพร้อมที่จะประกอบชิ้นส่วน ต่างๆเข้าด้วยกัน ซึง่ เรียกรวมกันว่าเพาเวอร์เทรน หรือระบบส่งกำาลัง ซึ่งประกอบไปด้วยเครื่องยนต์ ชุดส่งกำาลัง และกระบอกเพลา… แซด ศูนย์หกเริ่มจะสมบูรณ์แล้ว เริ่มต้นจากคนงานติดตั้งวาวล์ไอเสีย ท่อ เชื้อเพลิงเข้ากับเครื่องยนต์

บรรยาย

แซดศูนย์หกให้ความรู้สึกในการขับขี่เหมือนกับเครื่องยนต์ของรถ แข่ง ไม่แปลกใจที่มันถูกออกแบบไปพร้อมๆกับคอร์เวทท์รุ่นซีหกอาร์ ซึ่งเป็นรถแข่งที่ลำ้ายุคที่สุดที่คอร์เวทท์เคยทำามา

บรรยาย

แพรท และมิลเลอร์ วิศวกรผู้ออกและพัฒนารถแข่งรุ่นซีหกอาร์ ที่ นิวฮัดสัน รัฐมิชแิ กน ได้ทำางานร่วมกับวิศวกรของคอร์เวทท์เพื่อสร้าง แซดศูนย์หกขึ้นมาก เป็นการรวมความคิดของรถสปอร์ตเข้ากับรถ แข่ง ที่มีรูปร่างภายนอกเป็นคอร์เวทท์

20

บรรยาย

แซดศูนย์หก และซีหก อาร์ ถูกออกแบบให้ใช้งานในสภาพแวดล้อม ต่างกัน แต่ทั้งคู่ใช้เทคโนโลยีของรถแข่งเหมือนกัน ชิ้นส่วนต่างๆเช่น เครื่องยนต์เจ็ดลิตร วีแปด ขั้วต่อไทเทเนี่ยม วาวล์ไอดี เพลาข้อ เหวี่ยง ฝาสูบอลุมิเนียม และรูปร่างเพรียวลม ทั้งคู่ใช้ระบบป้องกัน นำ้ามันเครื่องแห้งจากสูบตอนเลี้ยวและตอนเบรคเหมือนกัน สำาหรับ ซีหก อาร์ ได้ใช้เทคโนโลยีที่เหนือขึ้นไปอีกขั้นหนึ่ง คือการใช้ คอมพิวเตอร์ในการออกแบบชิ้นส่วนอื่นๆที่เป็นคาร์บอนไฟเบอร์นำ้า หนักเบาด้วย

สตีเฟ่น

คุณต้องการจะสร้างชิ้นส่วนทุกชิ้นให้เบาที่สุดเท่าที่จะทำาได้ แต่มัน ต้องมีความคนทนด้วย ซึ่งรถจะต้องทนสภาพการใช้งานหนักตลอด การทำางาน

บรรยาย

อีกย่างหนึ่งที่ต้องคิดถึงให้มากคือการออกแบบระบบอากาศ หมุนเวียนในซีหก อาร์ ที่ช่วยในการแข่งกับรถความเร็วสูงจากเจ้า อื่นๆในสนามแข่ง

สตีเฟ่น

(ส)ในการแข่งรถ ลมที่พัดผ่านตัวรถมีความสำาคัญมาก คุณต้องการ ที่จะลดแรงต้าน สร้างสมดุลของแรงลมในทุกที่ๆพัดผ่าน ซึ่งสำาคัญ มากในรถแข่ง

บรรยาย

คำาตอบคือใช้การออกแบบแอโร่ว์ไดนามิกที่ใช้กระโปรงหน้าเป็น คาร์บอนไฟเบอร์ที่มีช่องเป็นจำานวนมากให้อากาศไหลผ่านเข้าไปได้ และปีกด้านหลักที่ปรับได้

21

สตีเฟ่น

คุณลองจินตาการได้ถึงรถที่กำาลังวิ่งอยู่ที่เกือบสามร้อยกิโลเมตรต่อ ชั่วโมง เมื่อต้องการหยุด หน้ารถจะตกลงมาเล็กน้อย แต่ด้วยอากาศ คอยกดอยู่ด้านหลัง จะเป็นตัวป้องกันให้รถยังเกาะอยู่กับพื้นได้

บรรยาย

ภายนอกนั้น ซีหก อาร์ และแซดศูนย์หกมีขนาดใกล้เคียงกัน มัน เกือบจะมีด้านหน้าที่เหมือนกัน กระจกหลังรูปหยดนำ้าเหมือนกัน และยางขนาดใหญ่

สตีเฟ่น

เราทำางานด้วยกันอย่างใกล้ชิดกับฝ่ายออกแบบในขณะที่ออกแบบ แซดศูนย์หกอยู่ พวกเขาต้องการให้มันมีลักษณะที่พุ่งไปข้างหน้า การรักษาระยะของยางกับซุ้มล้อ ทั้งหมดนี้สำาคัญมากในการบังคับ ทิศทางลมที่ผ่านด้านล่างของตัวรถ หรือที่ผ่านผิวของรถ เรายอม แลกและประนีประนอมบางอย่าง ที่จะช่วยให้การออกแบบมีการ ไหลของอากาศเมื่อขับบนถนนทั่วไปได้ดีเช่นกัน

บรรยาย

ทั้งหมดรวมกันเป็นการออกแบบแห่งชัยชนะ ซี หก อาร์ ติดหนึ่งใน ห้าของการแข่งที่เลอ มังส์ ตลอดห้าปีที่ผ่านมา มันเป็นการแข่งที่ยิ่ง ใหญ่ที่สุดของฝรั่งเศสในการแข่งแบบยี่สิบสี่ชั่วโมง

บรรยาย

ในสนามแข่งเลอ มังส์ ในอเมริกา มันชนะเลิศมาตลอดหกปีที่ผ่าน มา

22

บรรยาย

สำาหรับ แซด ศูนย์หก คุณลักษณะของการเป็นรถแข่งยังอยู่ในตัวมัน ทั้งหมด ณ.พื้นที่การประกอบของโรงงงานคอร์เวทท์ที่โบวลิ่งกรีน ช่างเทคนิคทำาการปรับการติดตั้งระบบส่งกำาลัง พวกเขาทำาการปรับ ทุกอย่างพร้อมๆกันตั้งแต่ เครื่องยนต์ ระบบเกียร์ เบรค และระบบ ช่วงล่าง

บรรยาย

ในการควบคุมความแรงขนาดห้าร้อยห้าแรงม้า แซดศูนย์หก ต้องใช้ ระบบช่วงล่างที่มีความสมดุลย์ และระบบเบรคที่ดีที่สุดเท่าที่เคยใช้ ในคอร์เวทท์ ทุกอย่างเริ่มจากสถานีการประกอบช่วงล่าง…ด้วย ระบบช่วงล่างที่เป็นเอกลัษณ์เฉพาะของคอร์เวทท์ ที่เป็นการใช้ แหนบที่ทำาจากวัสดุผสมโดยวางตามขวาง หรือเรียกว่า ทรานเวอร์ส ลีฟ สปริง ประกอบกับเหล็กยึดล้อทั้งด้านหน้าและหลังของรถ

บรรยาย

ระบบช่วงล่างของแซดศูนย์หกถูกประกอบกับแหนบของรถ สำาหรับ ด้านหน้า ช่างเทคนิคติดตั้งฐานรอง เพลาล้อ และชุดควบคุมการ เลี้ยว

โรเบิร์ต

นี่คือชุดควบคุมการเลี้ยว …และปีกนก มันใช้สำาหรับการเลี้ยวรถ ฐานรองของมันทำาจากแมกนีเซี่ยม..เพื่อการกระจายนำ้าหนักที่ดี นี่ คือเพลาล้อ.. ซึ่งหนักกว่ารุ่นปกติ …มันต้องหนักกว่า เพราะแรงบิดที่ มีมากกว่า..ของแซดศูนย์หก มีรูน๊อตสำาหรับขันเพลาเข้าไป

บรรยาย

คอร์เวทท์แซด ศูนย์หก คือรถที่เร็วที่สุดที่คุณจะซื้อได้ แต่ความเร็วที่ ได้ก็ต้องมาพร้อมกับความสามารถในการหยุด หรือการชลอ อย่าง เร็วด้วย และนั่นคือที่มาของเบรคขนาดยักษ์ของมัน

23

บรรยาย

มันสามารถหยุดแซดศูนย์หกจากความเร็วเก้าสิบหกกิโลเมตรต่อ ชั่วโมงภายในระยะสามสิบสามเมตร …ซึ่งทำาได้ในทุกขณะ นี่คือการ ทำางานของมัน ผ้าเบรคที่อยู่ในก้ามปูเบรคจะกดลงบนจานเบรค เกิด แรงเสียดทานทำาให้ล้อหมุนช้าลงจนหยุดหมุน

บรรยาย

สำาหรับเพลาหน้า คนงานติดตั้งจานเบรคขนาดสามสิบสองซม.ที่ถูก เจาะรูไว้ รู้ที่เจาะมีไว้เพื่อระบายความร้อนได้เร็วขึ้น ซึ่งเพิ่มความ ทนทานของจาน ด้วยผ้าเบรคหกคู่ของล้อหน้า มันทำาการหยุดรถได้ ดีมาก

โรเบิร์ต

ก้ามปูเบรคล้อหน้ามีผ้าเบรคหกคู่ และปั้มเบรคหกชุด ทำาให้หยุดรถ ได้ดีกว่า

บรรยาย

เบรคหลังมีขนาดสามสิบสี่ซม. จานเบรคเจาะรู และผ้าเบรคสี่ชุด

โรเบิร์ต

นี่คือเบรคหลังของแซด ศูนย์หก มีผ้าเบรคสี่ชุด ปั๊มเบรคสี่ชุด และ จานเบรค

บรรยาย

การติดตั้งเบรคเสร็จเรียบร้อย ตอนนี้ทั้งหมดพร้อมจะประกอบเข้า กับระบบส่งกำาลังทั้งหมด

บรรยาย

ทุกอย่างพร้อมแล้วณ.ที่ประกอบตัวเครื่องเข้ากับระบบส่งกำาลัง ระบบขับเคลื่อนและช่วงล่างพร้อม

บรรยาย

ระบบส่งกำาลังประกอบด้วยเครื่องยนต์ ระบบขับเคลื่อน และทุก อย่างที่จะส่งแรงจากเครื่องไปยังล้อทั้งสี่ 24

บรรยาย

ในรถยนต์ปกติ เครื่องยนต์อยู่ติดกับระบบขับเคลื่อน จากเพลาขับจะ รับแรงจากระบบส่งกำาลังหรือทรานมิชชั่นส่งต่อไปยังล้อ แต่ในคอร์เวทท์ แซด ศูนย์หก ซึ่งไม่ใช่รถธรรมดา มันเป็นรถสปอร์ตที่เร็วที่สุด ในโลก มันต้องมีการรับมือกับความเร็วระดับโลกเช่นกัน หนึ่งใน ความสมบูรณ์แบบของการทำางานนั้นคือการแบ่งนำ้าหนักไปยังเพลา ทั้งหน้าและหลักอย่างสมดุลย์ คอร์เวทท์ แซด ศูนย์หก หนักไม่ถึง หนึ่งพันห้าร้อยกิโลกรัม เครื่องแอลเอสเจ็ดมีนำ้าหนักที่เบามาก เพียง แค่สองร้อยกว่ากิโลกรัมเท่านั้น

บรรยาย

แต่สำาหรับรถที่มีนำ้าหนักเบาอย่างคอร์เวทท์ ก็ยังหนักเกินไปสำาหรับ ด้านหน้า รถที่ด้านหน้าหนักจะเลี้ยวได้ไม่ดี และอาจหลุดโค้งได้ เป็น สิ่งที่คุณไม่อยากให้เกิดขึ้นกับรถสปอร์ต หรือในการแข่งเลอมังส์แน่ๆ

ทอดจ์

เราจะเน้นที่การเอานำ้าหนักออกจากด้านหน้าของแซด ศูนย์หก แต่ เราไม่ต้องการให้ด้านหลังเบาขึ้น เพราะล้อพวกนั้นเป็นล้อขับเคลื่อน ถ้านำ้าหนักน้อยลง ความเกาะถนนก็จะน้อยตามด้วย

บรรยาย

การแก้ไขปัญหาของเชฟวี ทำาโดยการย้ายระบบขับเคลื่อนไปทาง ด้านหลังของรถเพื่อสร้างสมดุลย์ของนำ้าหนัก แต่ตัวระบบขับเคลื่อน เองก็ยังต้องต่ออยู่กับเครื่องยนต์ที่อยู่ด้านหน้า จึงต้องมีสิ่งที่เรียกว่า กระบอกเพลาหรือทอร์คทูป ในส่วนที่มีการประกอบตัวรถนี้ การติด ตั้งระบบขับเคลื่อนในส่วนของกระบอกเพลานี้เป็นงานที่ใหญ่มาก อย่างนึง กระบอกเพลายึดกับเครื่องยนต์โดยตรง เพื่อส่งกำาลังให้กับ ระบบขับเคลื่อนที่ด้านหลังของแซดศูนย์หก

***** break ***** 25

บรรยาย

ในที่สุดเครื่องยนต์ที่มีกำาลังสูงสุดที่จีเอ็มเคยผลิตมาก็อยู่ในคอร์เวทท์ แซดศูนย์หกเรียบร้อยแล้ว ทำาให้มันกลายเป็นคอร์เวทท์ที่เร็วและเบา ที่สุดที่เคยมีมา

บรรยาย

เครื่องยนต์ขับเคลื่อนอยู่ข้างล่าง และตัวถังอยู่ข้างบน

บรรยาย

ในบริเวณที่เรียกว่าแชสสิสแอเรีย ช่างเทคนิคติดตั้งระบบท่อไอเสียที่ ทำาจากเสตนเลส หรือที่พวกช่างเรียกกันว่าการแต่งงาน…..การ แต่งงานระหว่างเครื่องและตัวรถ….. นี่เป็นช่วงเวลาที่สำาคัญอีกครั้ง ในการประกอบรถ โครงรถที่ประกอบไปด้วยตัวถัง เบาะ ประตุ และ หน้าต่าง จะมาประกอบเข้ากับเครื่องยนต์และระบบขับเคลื่อน และ มันก็กลายเป็นแซดศูนย์หกโดยสมบูรณ์

บรรยาย

สายการผลิตทั้งสองรวมเป็นหนึ่งแล้ว ตัวถังรถและระบบขับเคลื่อน ประกอบเข้าด้วยกันทางด้านล่าง ระบบขับเคลื่อนจะถูกยกขึ้นด้วยไฮ โดรลิคและตัวถังรถถูกหย่อนลงมา มันต้องการคนกลาง…ซึ่งคือช่าง เทคนิคสี่คนคอยเชื่อมทั้งสองส่วนด้วยกันด้วยน๊อตสามสิบจุด .. นี่ คือขั้นตอนที่ท้าทายอีกครั้งเนื่องจากความลำาบากในการปฏิบัติงาน …การแต่งงานเสร็จสิ้นในเวลาประมาณสามสิบนาที ส่วนประกอบ ทั้งสองชิ้นกลายเป็นหนึ่งเดียวแล้ว

บรรยาย

ในตอนนี้ แซดศูนย์หกพร้อมสำาหรับอุปกรณ์พิเศษสำาหรับรถแข่งโดย เฉพาะ รถธรรมดาใช้อ่างนำ้ามันเครื่องในการให้นำ้ามันเครื่องไหลวน ในตัวเครื่อง แต่แซดศูนย์หกและซี หก อาร์ ใช้ระบบที่ต่างออกไป พวกมันมีที่พักนำ้ามันแยกต่างหากออกมาเพื่อทำาการฉีดนำ้ามันเครื่อง เข้าไปในตัวเครื่องยนต์ 26

เจอร์รี่

(ส)และนี่คือระบบนำ้ามันเครื่องของแซดศูนย์หก แบบเดียวกับที่ใช้ใน รถแข่งรุ่นซีหก อาร์ มันมีสายที่ต่อนำ้ามันเครื่องเข้าไปในเครื่องเข้า และออก คอยหมุนเวียนนำ้ามันเครื่องอยู่ตลอดเวลา

บรรยาย

มีเหตุผลสองอย่างที่ต้องใช้ระบบนำ้ามันเครื่องพิเศษนี้ หนึ่งคือเพราะ แซดศูนย์หกเตี้ยเกินไปที่จะใช้ถาดนำ้ามันเครื่องแบบธรรมดา อีก เหตุผลนึงคือแรง จี หรือแรงเหวี่ยงจากความเร่ง

บรรยาย

เมื่อเลี้ยวโค้งด้วยความเร็ว รถทั่วไปอาจจะส่าย หรือเสียหลักได้

ทอดจ์

เมื่อคุณเข้าโค้ง จุดศูนย์ถ่วงที่อยู่สูงอาจทำาให้รถพลิกได้ ดังนั้นการที่มี จุดศูนย์ถ่วงตำ่าลง จะทำาให้รถวิ่งเข้าโค้งได้ดีขึ้น

บรรยาย

ในแซดศูนย์หก คนขับจะรับรู้ได้ถึงแรงเหวี่ยงที่จะดึงรถให้หลุดโค้ง ออกไปทั้งด้านซ้ายและขวา แซดศูนย์หกถูกออกแบบมาดีมากจน ทำาให้มันเลี้ยวโค้งด้วยความเร็วมากๆได้โดยไม่หลุดโค้งจากแรง เหวี่ยงที่ในระดับหนึ่งจี

ทอม

ที่หนึ่งจี คุณต้องจับพวงมาลัยให้แน่น และยึดตัวเองกับเบาะให้ดีๆ ไม่งั้นจะถูกผลักไปข้างๆได้

บรรยาย

ในภาพที่เห็นนี้ มีเครื่องทดสอบที่มีนำ้าสีแดงอยู่หน้ารถ แสดงให้เห็น ถึงผลจากแรงเหวี่ยงเมื่อรถเข้าโค้ง แซดศูนย์คันนี้มีตัวแสดงผลของ แรงเหวี่ยงมีหน่วยเป็นจีพร้อมกับความเร็วของรถ

27

เจอร์รี่

คุณจะเห็นนำ้าสีแดงเคลื่อนไปทั้งซ้ายและขวา บอกถึงแรงที่เกิดขึ้น แรงทางด้านข้างที่เกิดจากความเร่งที่เรากำาลังทำาให้เกิดขึ้น ตอนนี้นำ้า เริ่มเคลื่อนแล้ว

บรรยาย

สิ่งที่เกิดขึ้นตรงนี้ เกิดที่ถาดนำ้ามันเครื่องเช่นกัน

เจอร์รี่

ถ้าเราวิ่งเร็วขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ เราจะวิ่งให้เร็วขึ้นจนกว่าจะได้แรงเกิน หนึ่งจี

เจอร์รี่

เอาละ ตอนนี้เรามาเกินหนึ่งจีแล้ว นำ้าที่เห็นขึ้นไปสูงมากแล้ว

บรรยาย

นำ้ามันเครื่องก็จะถูกดันขึ้นไปด้านข้างของถาดนำ้ามัน ทำาให้มันไม่ สามารถไหลเข้าไปในเครื่องยนต์ได้ในขณะที่มีการเลี้ยวแบบนี้ แรง เหวี่ยงทำาให้เครื่องยนต์ไม่มีนำ้ามันเครื่องเข้าไปหล่อเลี้ยงและอาจจะ ทำาให้เครื่องเสียหายได้ นี่คือตอนที่ระบบฉีดนำ้ามันเครื่องถูกนำามาใช้ แทนที่จะให้แรงโน้มถ่วงเป็นตัวทำาให้นำ้ามันเครื่องไหลเข้าไป ระบบนี้ จะดูดนำ้ามันเครื่องเข้าไปในเครื่องโดยไม่สนใจแรงเหวี่ยงที่เกิดขึ้น ณ.เวลาใดก็ตาม

บรรยาย

โรงงานเชฟโรเลทที่โบว์ลิ่ง เคนตั๊กกี้ ได้ประกอบเครื่องยนต์เข้ากับตัว ถังของแซดศูนย์หกเรียบร้อย มันเกือบจะกลายเป็นรถแข่งบนถนน แล้ว

บรรยาย

ตัวรถใกล้เรียบร้อย แต่ยังต้องการยาง บังโคลน และกระโปรงหน้า

28

บรรยาย

คอร์เวทท์รุ่นธรรมดาใช้บังโคลนทำาจากไฟเบอร์กลาสนำ้าหนักเบา เหมือนกับส่วนอื่นๆของตัวถัง แต่แซดศูนย์หกใช้สิ่งที่ต่างออกไป เป็น อย่างเดียวที่ใช้ในรถแข่งซี หก อาร์ที่เลอมังส์ ….. บังโคลนของรถทั้ง สองคันทำาจากวัสดุที่เบากว่าไฟเบอร์กลาส นั่นคือคาร์บอนไฟเบอร์

บรรยาย

เส้นใยคาร์บอนที่ถักกันอย่างแน่นจนกลายเป็นแผ่นไฟเบอร์ ถูกนำา มาทำาเป็นบังโคลน มันมีนำ้าหนักแค่หนึ่งกิโลกรัมครึ่ง เบากว่า บังโคลนโลหะถึงแปดสิบเปอร์เซนต์

บรรยาย

ชิ้นส่วนสำาคัญอีกชิ้นหนึ่งในรถคันนี้คือล้อและยาง ณ.ที่ทริมแอเรีย ของโรงงานนี้ ที่นี่คือที่ๆยางพบกับถนน ยางและวงล้อของคอร์เวทท์ แซดศูนย์หกเป็นคู่ที่ใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา วงล้อหน้าแบบสิบก้านมี เส้นผ่าศูนย์กลางสี่สิบห้าเซนติเมตรและกว้างยี่สิบสี่เซนติเมตร ล้อ หลังมีเส้นผ่าศูนย์กลางถึงสี่สิบแปดเซนติเมตร และกว้างสามสิบ เซนติเมตร แท่นใส่ยางนำาเอายางเข้ามาใส่วงล้อซึ่งดูเหมือนลูกฮอคกี้ ขนาดยักษ์ และใช้ไขขวงอัตโนมัติกวดน๊อตยึดเข้ากับจานเบรค กู๊ดเยียร์เป็นผู้พัฒนายางนี้ให้กับทีมรถแข่งของคอร์เวทท์

ทอม

ทีมรถแข่งได้พัฒนาสูตรเฉพาะขึ้นมาก ด้านในของยางจะช่วยให้ หน้ายางสัมผัสกับถนนให้มากที่สุดโดยติดเรียบไปกับถนน เพื่อช่วย ในการเข้าโค้ง ยิ่งหน้ายางสัมผัสมากเท่าไหร่ การเข้าโค้งก็ดีขึ้น เท่านั้น

บรรยาย

ด้วยยางและวงล้อที่ติดตั้งเรียบร้อยแล้ว รถคันนี้ก็มีโอกาสได้วิ่งเป็น ครั้งแรก…. แซดศูนย์หกพร้อมแล้ว แต่ยังต้องผ่านขั้นตอนสุดท้าย

29

บรรยาย

ก่อนที่จะลงไปอยู่ในถนน มันต้องผ่านการทดสอบก่อน

บรรยาย

เครื่องทดสอบนี้จะทดสอบล้อและความดันของยางว่าเป็นอย่างไร เมื่อต้องวิ่งด้วยความเร็วร้อยสิบสองกิโลเมตรต่อชั่วโมง

บรรยาย

แซดศูนย์หกคันนี้ผ่านการทดสอบอย่างสมบูรณ์แบบ …. จากโครง อ ลุมิเนียม กลายเป็นรถทั้งคัน แซดศูนย์หก พร้อมที่ออกจากโรงงาน แล้ว

บรรยาย

แต่นักขับอาชีพอย่างทอม วอลเลซแล้ว การทดสอบจริงๆจะเกิดขึ้น ในสนามของเชฟโรเลทที่มิลฟอร์ด รัฐมิชแิ กน นอกจากทอมจะเป็น วิศวกรแล้ว เขายังเป็นนักแข่งรถระดับสามด้วย แต่เขาบอกว่าใครๆก็ สามารถขับแซดศูนย์หกได้ แต่ต้องตระหนักถึงความสามารถของมัน ด้วย

ทอม

(ส)โอเค พร้อมแล้ว

ทอม

ไอเดียคือ คุณขับให้เร็วที่สุด…. ค่อยๆเร่งขึ้นเรื่อยๆ เรื่อยๆ

บรรยาย

ทอมขับแซดศูนย์หกไปตามทางวิ่ง ถึงแม้ว่ารถจะมีแรงเหวี่ยงเกิน หนึ่งจี มันยังเกาะถนนได้เหมือนกับการแข่งที่เลอ มังส์ …. ทอมเร่ง ไปถึงร้อยหกสิบกิโลเมตรต่อชั่วโมง แต่รถก็ยังเฉยๆ

ทอม

การได้ขับแซดศูนย์หกมันเยี่ยมจริงๆ มันเกือบเหมือนการขับรถแข่งที่ ผมเคยขับมาก่อน ผมไม่คิดว่ามันจะสนุกอย่างนี้ มันทำาทุกอย่างที่รถ สปอร์ตทั้งหลายทำาได้ 30

บรรยาย

คอร์เวทท์แซดศูนย์หกที่ได้รับแรงบันดาลใจจากรถแข่งคันนี้ ไม่มีใคร เหมือน ด้วยโครงสร้างที่เบาและเครื่องยนต์ห้าร้อยห้าแรงม้า มัน เต็มไปด้วยพละกำาลัง ความเร็ว และเทคโนโลยีล่าสุด

บรรยาย

รถสปอร์ตพันธุ์ใหม่นี้คือสุดยอดของวิศวกรรมของคอร์เวทท์ มันสร้าง ด้วยชิ้นส่วนชั้นเลิศ ที่คอร์เวทท์ซูเปอร์แฟคทอรี่เท่านั้น

31

Related Documents

Factory
October 2019 31
Jul
June 2020 13