Siu Think Tank Book - Introduction

  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Siu Think Tank Book - Introduction as PDF for free.

More details

  • Words: 965
  • Pages: 7
ถังความคิด ว่าด้วยสังคมไทยกับความขัดแย้งครั้งใหญ่ ในรอบกึ่งศตวรรษ

ถังความคิด ว่าด้วยสังคมไทยกับความขัดแย้งครัง้ ใหญ่ในรอบกึง่ ศตวรรษ เลขมาตรฐานสากลประจำหนังสือ: ISBN xx xxx xxx xxxxx x x พิมพ์ครัง้ แรก: สยามอินเทลลิเจนซ์ยนู ติ จำนวน: 3,000 เล่ม

ถังความคิด รวมบทสัมภาษณ์นักคิด ว่าด้วยสังคมไทยกับความขัดแย้ง ครั้งใหญ่ในรอบกึ่งศตวรรษ

กองบรรณาธิการ: กานต์ ยืนยง เจริญชัย ไชยไพบูลย์วงศ์ พาณี จิราพัชรชัยศิริ พิสติ ศรีปราสาททอง อิสริยะ ไพรีพา่ ยฤทธิ์ ฉกาจ ชลายุทธ

ศิลปกรรม: วิภาพร มาศรีนวล ออกแบบปก: กุลวัฒน์ กาญจนสุนทรี

ผูพ้ มิ พ์ผโู้ ฆษณา: บริษทั สยามอินเทลลิเจนซ์ยนู ติ จำกัด เลขที่ 434 ซอยลาดพร้าว 24 ถนนลาดพร้าว เขตจตุจกั ร กรุงเทพฯ 10900 โทรศัพท์ 0 2513 8208 โทรสาร 0 2513 8209 อีเมล [email protected] พิมพ์ที่ xxxxxxx โทร. จัดจำหน่าย xxxxxxx โทร.

สนับสนุนโดย









http://siamintelligence.com/

สารบัญ

บทนำ เราต้องผ่านการปฏิวตั อิ กี ครัง้ : จักรภพ เพ็ญแข แสวงจุดร่วม สงวนจุดต่าง : สุรยิ ะใส กตะศิลา ถ่วงพลังแห่งทุน ด้วย ‘ทุนมวลชน’ : ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ ทุนใหม่ พลังใหม่ จะชนะ : พิชติ ลิขติ กิจสมบูรณ์ แทงให้ทะลุ ภาวะขัดแย้งทางจิต : สุวนิ ยั ภรณวลัย มุง่ หน้าสูร่ ฐั บาลแนวขวาง : ก่อศักดิ์ ไชยรัศมีศกั ดิ์

(4) I สารบัญ

100

หลักนิตริ ฐั ทำให้คนเท่ากันโดยกฎหมาย : วรเจตน์ ภาคีรตั น์ เปิดตลาดพัฒนาคุณภาพ ปิดตลาดบริการสังคม : สมเกียรติ ตัง้ กิจวาณิชย์ เผชิญภัยคุกคาม ด้วยปฏิบตั กิ ารสารสนเทศ : ธีรนันท์ นันทขว้าง ผมอยากเร่งเวลาไปข้างหน้า สักห้าปี สิบปี : \ ม.ล. ณัฐกรณ์ เทวกุล ชุมชนท้องถิน่ คือทางออก : พลเดช ปิน่ ประทีป จุดยืนใหม่การเมืองไทย ไม่เหลืองได้ ไม่แดงได้ ไม่กลัวได้ : ธิตนิ นั ท์ พงษ์สทุ ธิรกั ษ์ บทสรุป ภาคผนวก

ถังความคิด

I (5)

บทนำ

Our journey on pursuit of the future

การเดินทางเพื่อแสวงหาอนาคตของเราทุกคน โดย กานต์ ยืนยง

ในช่วงทีว่ กิ ฤติการเมืองเมืองไทยระเบิดออกมาเป็นการรัฐประหาร ตัง้ แต่กลางปี 2549 ผมมีโอกาสพบปะมิตรสหายใหม่ๆ จากการรวมตัวกัน เพือ่ จัดวงเสวนาการเมือง ประเด็นหลักในการเสวนานัน้ เป็นการวิเคราะห์ และแลกเปลี่ยนมุมมองถึงสาเหตุวิกฤติทางการเมือง รวมถึงการคาด การณ์ผลทีเ่ กิดขึน้ ในอนาคต ระหว่างการเสวนาแลกเปลีย่ นในหมูม่ ติ รสหายนัน้ เราเริม่ มองเห็น แนวโน้มความแตกแยกระหว่างฝักฝ่ายที่อยู่ในขั้วตรงข้ามมีการพัฒนา มากยิง่ ขึน้ ยิง่ ไปกว่านัน้ เรายังเห็นความชะงักงันของการพัฒนาประเทศ ในระยะยาว มุมมองของเราต่อความขัดแย้งในครั้งนี้เราเริ่มเปลี่ยนจาก การมองว่าเป็นความขัดแย้งเฉพาะกลุม่ หรือเรือ่ งเฉพาะบุคคล กลายเป็น ความขัดแย้งทัง้ ผลประโยชน์ ชนชัน้ และแนวคิดทีม่ รี ากฐานมาจากสาเหตุ อย่างน้อยสามประการด้วยกันคือ (6) I บทนำ

1. ความขัดแย้งเชิงโลกทัศน์ทางการเมืองของ ชนชั้นกลาง และ

ชนชัน้ รากหญ้า 2. ความขัดแย้งระหว่างอุดมการณ์ประชาธิปไตย และอุดมการณ์ที่ ไม่ใช่ประชาธิปไตย 3. ความขัดแย้งเชิงผลประโยชน์ระหว่างกลุ่มทุนเก่า และกลุ่มทุน ใหม่ ในเวลาต่อมาผมรูจ้ กั หนังสือเรือ่ ง Synchronicity หรือฉบับแปลไทย ในชือ่ รหัสอภิมนุษย ของ โจเซฟ จาวอร์สกี้ (Joseph Jaworski) ผม ได้รบั มาอ่านด้วยความสนใจ หากเป็นก่อนหน้านีผ้ มคงไม่ได้สนใจหนังสือ เล่มนี้เท่าใดนัก แต่จากการผ่านประสบการณ์และทบทวนสิ่งที่ได้เรียน รูม้ ากขึน้ ทำให้ครัง้ นีผ้ มอ่านหนังสือเล่มนีด้ ว้ ยความตัง้ ใจ จาวอร์สกีเ้ ล่าถึงประสบการณ์ชวี ติ ของตัวเขาเอง ทีผ่ า่ นประสบการณ์ ทั้งการสูญเสียหน้าที่การงานและชีวิตครอบครัว แทนที่จะจมปลักกับ ความเศร้า เขากลับเลือกเส้นทางทีต่ า่ งออกไปจากทีเ่ คยเป็น ระหว่างการ ผจญภัยครั้งใหม่ของชีวิต เขาก็ได้พบหญิงสาว ที่ต่อมาทั้งคู่ได้เริ่มสร้าง ครอบครัวใหม่ ทั้งยังเลือกทำงานที่เขาเองมีความสุขและให้ความหมาย ต่อชีวติ ในช่วงหนึง่ จาวอร์สกีเ้ ล่าถึงความรูท้ ไี่ ด้จากแขกรับเชิญทีพ่ ดู ถึงการ ทำงานของกลุม่ บริษทั รอยัลดัชท์เชลล์ ซึง่ เป็นบริษทั ค้าน้ำมันรายใหญ่ของ โลกของฮอลแลนด์ เขาใช้วธิ กี ารเฉพาะตัวในการคาดการณ์ในอนาคต คือ แทนทีจ่ ะใช้วธิ พี ยากรณ์แบบนักวิเคราะห์ทางเศรษฐกิจทัว่ ไป เชลล์กลับใช้ วิธกี ารจำลองสถานการณ์ และวาดภาพฉากทัศน์อนาคต (scenario) ทีด่ ู เป็นไปได้มากทีส่ ดุ ในแบบต่างกันขึน้ มา ฉากทัศน์อนาคตเหล่านีจ้ ะถูกนำ เสนอให้ผบู้ ริหารและพนักงานของเชลล์ได้ทำความเข้าใจ เพือ่ เรียนรู้ และ เตรียมปรับสภาพองค์กรให้พร้อมรับมือกับความเป็นไปได้ทกุ รูปแบบใน อนาคต ถังความคิด

I (7)

กระบวนคิดเรือ่ งฉากทัศน์อนาคตทีเ่ ชลล์ใช้นเี้ อง ต่อมาเราได้นำมา เป็นพื้นฐานการทำโครงการที่เราเรียกกันว่า “การท้าทายอนาคตของ ประเทศไทย” (Challenge Thailand 2010) โดยเราสัมภาษณ์นกั การ เมือง นักกิจกรรมทางสังคม นักวิชาการ ตลอดจนผูม้ บี ทบาทในนโยบาย สาธารณะของสังคมไทย และเผยแพร่การสนทนานั้นลงรายการทีวีทาง อินเทอร์เน็ตที่เราจัดกันอยู่เป็นประจำทุกเดือนในชื่อ Practical Utopia http://practicalutopia.tv โดยเราใช้ความขัดแย้งทางการเมืองไทย ปัจจุบนั และวิกฤติเศรษฐกิจในระดับสากลเป็นพืน้ ฐาน ทีน่ า่ สนใจคือผูถ้ กู สัมภาษณ์โดยส่วนใหญ่ให้ภาพอนาคตของประเทศในมุมมองของตนเอง ซึ่งนั่นก็ช่วยเปิดโลกทัศน์และความคิดของเราให้กว้างขวางขึ้นไปได้อีก มาก การสนทนาและแลกเปลี่ยนความรู้กับผู้ถูกสัมภาษณ์ทุกคนใน โครงการ Challange Thailand 2010 จึงกลับกลายเป็นการเดินทางไกล และการผจญภัยครัง้ ใหม่ๆ ของเราเอง บทสัมภาษณ์สองครั้งแรก เป็นการแลกเปลี่ยนและสนทนากับ ตัวแทนความคิดของฝ่ายทีม่ กี ารต่อสูแ้ ลกเปลีย่ นกันทางการเมือง คือคุณ จักรภพ เพ็ญแข ซึง่ ขณะทีเ่ ราสัมภาษณ์คณ ุ จักรภพ เขาเพิง่ ลาออกจาก ตำแหน่งรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรีหลังจากมีข้อกล่าวหาเรื่อง การหมิน่ สถาบันกษัตริย ์ ในขณะทีอ่ กี ฝ่ายหนึง่ คือ คุณสุรยิ ะใส กตะศิลา เป็นตัวแทนของความคิดฝ่ายพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย ที่ กำลังขับไล่รฐั บาลคุณสมัคร สุนทรเวช ในขณะนัน้ อย่างเอาจริงเอาจัง ในขณะที่คุณจักรภพกังวลถึงอนาคตการแข่งขันของประเทศชาติ ความเท่าเทียมกันในสังคม และหลักนิติรัฐ ด้านคุณสุริยะใสมีความเป็น ห่วงเรือ่ งการคอรัปชัน่ การมีสว่ นร่วมของประชาชน และความเป็นธรรมใน สังคม แต่ลึกๆ แล้ว ดูเหมือนว่าจุดร่วมของทั้งสองคนนี้ มีเป้าหมายไม่ ต่างกันนัก คือ ความก้าวหน้าของประเทศ และความเป็นธรรมในสังคม เพียงแต่วา่ น้ำหนัก วิธกี าร และความเชือ่ ในการขับเคลือ่ นทางการเมือง (8) I บทนำ

นัน้ แตกต่างกัน บทสนทนากับผูถ้ กู สัมภาษณ์ทกุ คนยิง่ ยืนยันและสร้างความเชือ่ มัน่ ให้กบั เรามากขึน้ ทุกทีวา่ ในทีส่ ดุ แล้ว แม้จะมีความแตกต่างทางความคิด และอุดมการณ์ ทีไ่ ม่วา่ มีทมี่ าจากฝ่ายใดก็ตาม ต่างก็มจี ดุ มุง่ หมายสูงสุด อยู่ที่ความก้าวหน้าของประเทศชาติ และความเป็นธรรมในสังคมอย่าง แท้จริง การเข้าไปมีแลกเปลี่ยนและสัมผัสความคิดกับแขกรับเชิญทุก ท่าน ค่อยๆ เปลีย่ นวิธคี ดิ ในการคาดการณ์สถานการณ์ในอนาคตของผม มาเป็นการเชื่อมโยงบทสนทนาระหว่างความคิดเห็นที่แตกต่างกัน สิ่ง เหล่านี้ทำให้ผมเริ่มรู้สึกว่า การสร้าง “วาระการสนทนา” ในระดับกว้าง ขวางขึน้ น่าจะเป็นไปได้ ในเวลาต่อมาผมได้มโี อกาสอ่านหนังสือ Solving Tough Problems โดย อดัม คาเฮน (Adam Kahane) หนังสือเล่มนีแ้ ปลเป็นภาษาไทยใน ชือ่ วิธสี ร้างปาฏิหาริย์ เมือ่ สถานการณ์ถงึ ทางตัน เส้นทางชีวติ ของอดัม คาเฮน ก็แทบละม้ายคล้ายคลึงกับจาวอร์สกีอ้ ย่างน่ามหัศจรรย์ ซึง่ ในชีวติ จริงนัน้ คนทัง้ สองต่างก็รจู้ กั กันดี ความละม้ายของเส้นทางชีวติ และแนวคิด นัน้ สังเกตได้จากหนังสือทัง้ สองเล่มต่างก็มบี ทเกริน่ นำโดย ปีเตอร์ เซงเก้ คนเขี ย นหนั ง สื อ เรื่ อ ง Fifth Discipline เหมื อ นกั น ทั้ ง ยั ง กล่ า วถึ ง กระบวนการสร้างฉากทัศน์อนาคตที่บริษัทรอยัลดัชท์เชลล์อีกด้วย โดย เฉพาะตัวคาเฮนเองถือเป็นผูม้ สี ว่ นร่วมโดยตรงในการการสร้างฉากทัศน์ อนาคตทีเ่ ชลล์เลยทีเดียว คาเฮน ยิ่งไปไกลถึงขนาดที่ว่า เมื่อเขาสามารถสร้างฉากทัศน์ อนาคตออกมาในรูปแบบต่างๆ ได้แล้ว เขาเริม่ เห็นว่าควรจะเข้าไปมีสว่ น ผลักดันให้สงั คมก้าวไปสูท่ ศิ ทาง (หรือฉากทัศน์) ทีพ่ งึ ปรารถนา เขาได้ เล่าให้เราฟังผ่านหนังสือของเขาในการเข้าไปสร้างการสานเสวนาระหว่าง กลุม่ ต่างๆ ในแอฟริกาใต้ แคว้นบาสก์ในสเปน ประเทศโคลอมเบีย และ ปารากวัย ฯลฯ ถังความคิด

I (9)

ข้อสรุปในการสานเสวนาคือ การเปิดใจรับฟังฝ่ายต่างๆ อย่างลึกซึง้ การเสวนานัน้ ก้าวหน้าถึงขนาดทีว่ า่ แม้วา่ ในโคลอมเบีย มีกลุม่ ติดอาวุธที่ เข้าร่วมการสานเสวนาด้วย สอบถามเงือ่ นไขว่าจำเป็นต้องมีการหยุดยิง หรือไม่ คาเฮนตอบกลับไปว่า “ไม่ตอ้ ง” และสิง่ เดียวทีเ่ ขาต้องการคือการ เปิดใจรับฟัง ช่วงที่ผมรู้สึกประทับใจที่สุดในหนังสือของคาเฮน คือช่วงที่เขา เข้าไปมีสว่ นร่วมในการทำโครงการ ฉากทัศน์อนาคตมองต์เฟลอร์ ซึง่ เป็น โครงการวาดอนาคตของประเทศแอฟริกาใต้ในอีกสิบปีขา้ งหน้า โครงการ นีถ้ กู จัดทำขึน้ ในช่วงปี 2534 – 2535 โดยได้รบั ทุนสนับสนุนจากมูลนิธิ ฟรีดริค เอแบร์ท และหน่วยงานพัฒนาของสวิส มั น เป็ น ช่ ว งเวลาเปลี่ ย นผ่ า นที่ เ ป็ น จุ ด หั ว เลี้ ย วหั ว ต่ อ ที่ สุ ด ของ ประเทศแอฟริกาใต้ เนื่องจากเกิดความขัดแย้งเรื่องการแบ่งแยกสีผิว ระหว่างชนผิวขาวซึง่ มีจำนวนน้อยกว่าแต่เป็นผูป้ กครองประเทศ กับชน ผิวดำซึ่งมีจำนวนมากกว่าแต่กลับกลายเป็นผู้อยู่ใต้การปกครองและ แทบไม่มีสิทธิออกเสียงทางการเมืองเลย ก่อนหน้าเกิดโครงการนี้เพียง หนึ่งปี ผู้นำผิวดำที่มีชื่อเสียงที่สุดของแอฟริกาใต้ “เนลสัน แมนเดลา” (Nelson Mandela) ก็ถูกปล่อยตัวจากเรือนจำ หลังจากที่เขาติดคุกมา เป็นเวลา 27 ปีเต็ม แน่นอนว่า เนลสัน แมนเดลา เป็นผู้นำที่โดดเด่น ความมุง่ มัน่ และการต่อสูข้ องเขาเป็นส่วนหนึง่ ทีน่ ำพาสันติมาสูแ่ อฟริกาใต้ อย่างไม่ต้องสงสัย แต่โครงการฉากทัศน์อนาคตมองต์เฟลอร์ก็มีส่วน สำคัญไม่นอ้ ยเช่นกัน โครงการนีเ้ ป็นการนำเอาผูม้ สี ว่ นเกีย่ วข้องจากแทบทุกฝ่าย เข้ามา วาดภาพอนาคตของแอฟริกาใต้รว่ มกัน ในทีส่ ดุ ทีมก็กำหนดโครงการออก มาเป็นสี่แบบด้วยกัน ฉากทัศน์แบบแรกสุดมีชื่อว่า “นกกระจอกเทศ” เป็นสภาพที่ผู้ปกครองผิวขาวไม่ยอมแบ่งอำนาจกับคนผิวดำ ทำให้เกิด การสูร้ บสลับกับการเจรจาไม่รจู้ บ ไม่ตา่ งอะไรจากนกกระจอกเทศเอาหัว (10) I บทนำ

ของมันซุกกับผืนทรายเพื่อหลบหนีความจริง ในขณะที่ฉากทัศน์ที่สอง มีชอื่ ว่า “เป็ดง่อย” เกิดจากการรัฐบาลผสมทีไ่ ม่มพี รรคใดได้เสียงข้างมาก ทำให้ในที่สุดก็ไม่สามารถแก้ไขปัญหาอะไรได้ แม้ว่าจะผ่านการยอมรับ และยุติปัญหาเรื่องการแบ่งแยกสีผิวกันก็ตาม ฉากทัศน์ที่สามมีชื่อว่า “อิคารุส” นีเ่ ป็นชือ่ ตัวละครในนิยายกรีกทีใ่ ช้ขผี้ งึ้ เชือ่ มปีกนกเพือ่ บินขึน้ ไปบนท้องฟ้า แต่แล้วด้วยความร้อนจากแสงอาทิตย์ทำให้ขผี้ งึ้ ละลาย ปีก นั้นก็หลุดร่วงออกไปทำให้เขาต้องตกลงมาเสียชีวิตในที่สุด นี่เป็นฉาก ทัศน์ที่แสดงถึงการได้อำนาจของรัฐบาลผิวดำที่ต้องการเสียงส่วนมาก ทำให้พวกเขาใช้นโยบายแบบประชานิยมในช่วงแรกมันอาจได้ผลดี แต่ กลับจะส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจในระยะยาว ในท้ายที่สุดแล้ว ทุกฝ่ายเห็นด้วยกับฉากทัศน์สุดท้ายที่มีชื่อว่า “นกฟลามิงโก” เป็นฉากทัศน์ในอุดมคติทแี่ อฟริกาใต้ไม่เพียงแต่หลุดพ้น จากปัญหาการแบ่งแยกสีผวิ แต่พวกเขายังสามารถมีรฐั บาลทีค่ ำนึงถึงการ เติบโตในระยะยาวอย่างยัง่ ยืนของประเทศชาติได้อกี ด้วย บ่อยครั้งที่การปิดใจไม่รับฟังความเห็นจากฝ่ายตรงข้าม ทำให้เรา คำนึงถึงผลประโยชน์เฉพาะหน้าของตัวเรามากเกินไป จนทำให้ผลลัพธ์ ของสถานการณ์โดยรวมออกมาในทางทีเ่ ลวร้าย โครงการนีจ้ งึ เป็นการ “ร่างผลลัพธ์” ทีท่ กุ ฝ่ายมีสว่ นร่วม และมีความเห็นตรงกันว่าเป็นผลลัพธ์ที่ ดีที่สุดกับผู้มีส่วนได้เสียทุกคน ไม่เพียงเท่านั้น กระบวนการนี้ยังทำให้ เกิดความสัมพันธ์ระหว่างฝ่ายทีไ่ ม่เป็นทางการเกิดขึน้ ด้วย ซึง่ ในทีส่ ดุ ก็นำ ไปสูก่ ารไว้วางใจซึง่ กันและกัน ราวกับเป็นเหตุบังเอิญที่เผยตัวออกมาอย่างเหมาะเจาะพอดี เมื่อ ไม่นานนี้เองผมได้มีโอกาสทำงานแปลหนังสือชิ้นหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับ ชีวประวัตขิ องเนลสัน แมนเดลา ทำให้ผมได้รบั รูแ้ ละเข้าใจประวัตกิ ารต่อสู้ และความคิดของผูน้ ำท่านนี้ ควบคูไ่ ปกับประวัตศิ าสตร์ทเี่ ป็นช่วงหัวเลีย้ ว หัวต่อของประเทศแอฟริกาใต้ได้ดยี งิ่ ขึน้ หลายคนอาจมองการเมืองเป็น ถังความคิด

I (11)

เรื่องการแสวงหาผลประโยชน์และอำนาจ ดูเป็นการมองโลกในแง่ร้าย ชวนให้หดหู่ และเต็มไปด้วยความกังขาต่อปณิธานของเพื่อนมนุษย์ ด้วยกัน หากแต่เรือ่ งเล่าของมหาบุรษุ ในประวัตศิ าสตร์ ยังคงกระซิบในห้วง ความคิดของเราอยู่เป็นระยะว่า การมองโลกในแบบสัจนิยมนั้น ใช่จะ ผูกขาดการอธิบายเหตุการณ์ได้ทงั้ หมด แต่ตวั อย่างของบุคคลเหล่านัน้ ก็ ห่างไกลจากห้วงเวลาปัจจุบันเสียเหลือเกิน จนยากจะเชื่อได้ว่าพวกเขา เหล่านัน้ มีตวั ตนอยูจ่ ริง การใช้ชวี ติ ใกล้ชดิ เป็นดังเงาติดตามตัวของเนลสัน แมนเดลา เพือ่ คอยเก็บข้อมูลและความคิดทุกแง่ทุกมุมของรัฐบุรุษจากแอฟริกาใต้ด้วย เวลายาวนาน และด้วยความพยายามเจาะลึกของผูเ้ ขียน ทำให้สามารถ ดึงเอาสิง่ ทีด่ เู หมือนมีความความขัดแย้งนัน้ อธิบายเป็นการประสานเป็น หลักการและแนวคิดได้อย่างเหมาะเจาะลงตัว และแมนเดลาก็มไิ ด้ทำการ อำพรางข้อด้อยของตนแต่อย่างใด หากแต่ท่านตัดสินใจและกระทำราว กับเป็นชีวิตประจำวันอันสะท้อนถึงการหมั่นฝึกฝนตนเองอย่างหนัก ทั้ง ยังเป็นหลักศูนย์กลางให้กบั เจตจำนงทีจ่ ะนำพาประเทศชาติไปสูห่ นทาง แห่งสันติ จริงอยู่ สังคมไทยอาจขาดแคลนนักการเมืองที่อุทิศตนเพื่อสังคม ส่วนใหญ่นานเกินไป แต่เราก็หวังว่าจะมีหน่ออ่อนเมล็ดพันธ์ของนักการ เมืองรุน่ ใหม่ แม้กระทัง่ การอุทศิ ตนของพลเมืองทุกคนให้กบั บ้านเมืองของ เราในทศวรรษใหม่ทกี่ ำลังจะมาถึง แต่เราไม่ตอ้ งการคาดหวังจนเกินตัว ว่าหนังสือเล่มนีเ้ ป็นตัวแทนของการสานเสวนาของคนทัง้ ชาติ เหมือนดัง ทีค่ าเฮนได้มโี อกาสเข้าไปทำ เรามุง่ หวังว่าหนังสือเล่มนีเ้ ป็นเพียงกลไก เล็กๆ กลไกหนึ่งในการจุดชนวน สร้างเวทีสานเสวนาของคนทั้งชาติ เราเชือ่ ในมนุษยภาพ และในความเป็นจริงแล้วคนทัง้ ประเทศต่างก็วาด

(12) I บทนำ

เป้าหมายและอนาคตของเราในจุดเดียวกัน เหตุใดจึงจะเริ่มสร้างการ สนทนาทีส่ ร้างสรรค์ขนึ้ มาไม่ได้ จากการสำรวจความเห็นทางอินเทอร์เน็ต ทีเ่ ราได้มโี อกาสทำในช่วง ระหว่างการทำโครงการนี้ ก็ได้ยืนยันถึงสิ่งที่เราสัมผัสได้ในช่วงระหว่าง การเดินทางไกล คนส่วนใหญ่นนั้ รอฟังความเห็นทีม่ เี หตุมผี ล และยังมอง ถึงทางเลือกใหม่ๆ อยูเ่ สมอ ผลการสำรวจทีอ่ อกมานัน้ สร้างความหวังให้ กับเรา และเราหวังว่าจะถ่ายทอดให้คณ ุ ได้รบั รูเ้ ช่นนัน้ ด้วย

ทัง้ นีเ้ พราะในท้ายทีส่ ดุ ในช่วงระหว่างการเปลีย่ นผ่านของประเทศ ของโลก และของยุคสมัย เหมือนดังทีม่ นั เคยเป็นมานับพันๆ ปี นับจากนี้ ไป ประชาชนในสังคมทุกคน พลเมืองทุกๆ ทัว่ หัวระแหง จะเริม่ เข้ามามี ส่วนกำหนดฉากทัศน์ในอนาคตร่วมกันด้วยตัวของพวกเขาเอง เพราะ สังคมในอนาคตก็เป็นสิง่ ทีแ่ บ่งปันและเป็นความฝันร่วมกันของคนทุกคน



ถังความคิด

I (13)

Related Documents

Think-tank-application
October 2019 6
Pashtun Think Tank
April 2020 9
Tank
December 2019 42
Tank
November 2019 37