Responsible Financial Institutions Overview Paper (in Thai)

  • May 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Responsible Financial Institutions Overview Paper (in Thai) as PDF for free.

More details

  • Words: 2,239
  • Pages:
Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series

สถาบันการเงินที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม (Responsible Financial Institutions) ในปัจจุบันสถาบันการเงินมีส่วนสำคัญต่อระบบเงินทุนและเศรษฐกิจของประเทศ แต่ที่สำคัญไม่แพ้ กันคือความสำคัญของสถาบันการเงินต่อการเปลี่ยนแปลงทางสังคม ผลกระทบของธุรกิจของ สถาบันการเงินส่งผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมในสองทางคือ การบริหารงานในองค์กร และ ชนิดของบริษัทที่สถาบันการเงินเข้าไปลงทุนหรือปล่อยกู้ ธนาคารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม (socially responsible banking) เริ่มได้รับความสนใจในช่วง ยุค 70 เมื่อธนาคาร South Shore ประสบความสำเร็จในการเปลี่ยนสลัมที่เมืองชิคาโก้ให้เป็น ชุมชนที่น่าอยู่ โดยการใช้เงินฝากจากคนจนในชุมชน และจากผู้ฝากเงินที่สนใจทั่วประเทศ และ ปล่อยกู้ให้แก่คนจนเหมือนกันแต่จะเอาไปปล่อยกู้ที่ชุมชนอื่น Green Winners : The performance of sustainability- focused companies during the financial crisis - การศึกษาของบริษัท consult A.T. Kearney สรุปได้ว่าในตลาดการเงิน บริษัทที่มี ความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างยั่งยืนมีศักยภาพที่โดดเด่นกว่าบริษัทที่ไม่มีหรือมี อย่างไม่ยั่งยืน โดยเฉพาะอย่างยิ่งช่วงวิกฤตเศรษฐกิจขณะนี้จะทำให้กลุ่มบริษัทเหล่านี้เติบโตและ แข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งความหมายของบริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมคือบริษัทที่ไม่ทำลายสิ่ง แวดล้อมและ ช่วยเหลือสังคม แต่ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างผลกำไรให้แก่ผู้ถือหุ้นได้

ที่มา: Bloomberg; A.T. Kearney analysis จากกราฟด้านบนสามารถสรุปได้ว่า มีความสัมพันธ์ระหว่างความรับผิดชอบต่อสังคมกับผล ประกอบการโดยวัดจากราคาหุ้น แม้ในวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน บริษัทที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม แบบยั่งยืนมีผลประกอบการที่ดีกว่าเกณฑ์เฉลี่ยของตลาด ในระยะเวลาเพียงแค่ 6 เดือนราคาหุ้น ข อ ง ธ ุ ร ก ิ จ ส ถ า บ ั น

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series การเงินและประกันภัยที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเหล่านี้เพิ่มสูงขึ้นเมื่อเทียบกับบริษัทในกลุ่ม เดียวกันแต่ไม่ได้เน้นเรื่องความรับผิดชอบต่อสังคมถึง 25% และ 21% ตามลำดับ ขณะที่ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจ ธนาคารที่มีนโยบายปล่อยกู้แบบเดิมได้ปล่อยกู้ลดลง และยังมี สถาบันการเงินจำนวนมากที่ต้องพึ่งความช่วยเหลือจากรัฐบาลกลาง แต่ในขณะที่ธนาคารที่รับผิด ชอบต่อสังคม เช่น Washington Mutual Bank กลับมีสินทรัพย์เพิ่มขึ้น $307 billion และธนาคาร เพื่อชุมชนที่เล็กกว่าก็มีผลประกอบการที่ดีขึ้นเหมือนกัน นอกจากนี้การกู้ยืมเงินแบบเก่าทำให้มีผู้กู้ ที่มีความเสี่ยงสูงมีอยู่เป็นจำนวนมากและทำให้สถาบันการเงินที่ปล่อยกู้แบบเก่าได้รับผลกระทบ อย่างหนักจากวิกฤตเศรษฐกิจครั้งนี้ แต่สถาบันการเงินที่ให้กู้แก่โครงการพัฒนาชุมชนกลับไม่ได้ รับความเสียหายจากวิกฤตเศรษฐกิจแต่อย่างใดเนื่องจากสามารถจัดการกับความเสี่ยงได้ดีกว่า เพราะการที่ธนาคารเหล่านี้ได้เข้าไปคลุกคลีกับชมชุน นอกจากนี้ธนาคารเพื่อุมชนเหล่านี้จะเป็น กำลังสำคัญที่ทำให้ธนาคารที่มี นโยบายการปล่อยกู้แบบเดิมรอดพ้นจากวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบันอีกด้วย - an association of community development financial institutions (CDFIs) based in philadelphia การลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมเป็นกระแสที่ได้รับความสนใจมากขึ้นเรื่อยๆ สำหรับบริษัทต่างๆ เนื่องจากความจำเป็นต่อการแข่งขัน สมรรถนะทางการเงิน สำหรับสถาบันการ เงิน เองก็ได้มีความสนใจเรื่องนี้อยู่มากจึงได้มีการพัฒนาวิธีการให้กู้เงินที่ไม่ได้ดูแค่ผลตอบแทบ จากโครงการของผู้กู้และความสามารถจ่ายหนี้ของผู้กู้เท่านั้น แต่รวมถึงความรับผิดชอบต่อสังคม และการจัดการดูแลผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมของผู้กู้ ซึ่งจะเป็นการลดมลพิษ และผลกระทบต่อ ชุมชน

ประเด็นสำคัญที่เกี่ยวข้อง 1. The Equator Principles เป็นเกณฑ์มาตรฐานในการการประเมินความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมและสังคมในการให้กู้เพื่อ การลงทุน เนื่องจากความเชื่อที่ว่าการให้กู้เงินอย่างมีความรับผิดชอบนำมาซึ่งผลประโยชน์แก่ทั้ง สถาบันการเงิน(ผู้ให้กู้) ผู้กู้ และผู้ที่ได้รับผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคมจากพฤติกรรมของผู้ กู้ ทางสถาบันการเงินจะไม่ให้กู้แก่ผู้กู้ที่ไม่ปฎิบัติตามกฎที่ระบุใน Equator Principles 1.1 ขอบเขต • Equator Principles ได้ถูกกำหนดให้ใช้กับโครงการใหม่ที่ขอกู้เงินทั่วโลกและครอบคลุมทุก อุตสาหกรรมที่มีต้นทุนมากกว่า 10 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เนื่องจากกฎใช้ไม่ได้กับโครงการ ย้อนหลัง แต่สามารถใช้ได้กับการกู้เงินสำหรับการขยายโครงการเดิม ที่อาจส่งผล กระทบอย่างชัดเจนต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม นอกจากนี้ Equator Principles ยังได้ถูกใช้กับการให้คำปรึกษาทางการเงินอีกด้วย โดยให้ผู้กู้ ตระหนักถึงประโยชน์ของการทำโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมและสังคม และจะเป็นข้อได้ เปรียบในการขอกู้ต่อไปด้วย 1.2 กฎ/ข้อปฎิบัติมีทั้งหมด 10 ข้อ จะให้กู้แก่โครงการที่ทำตามกฎทั้ง 9 ข้้อเท่านั้น 1. การตรวจสอบและการแยกประเภท - โครงการที่ขอเงินกู้จะถูกแยกประเภทตามความ รุนแรงของผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมโดยแบ่งเป็น 3 ระดับคือ A=โครงการที่ส่งผลกระทบ มาก B= โครงการที่ส่งผลกระทบปานกลาง และ C=โครงการที่ส่งผลกระทบน้อยหรือ ไม่มีเลย

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series 2.

3.

4.

5.

6.

7.

8.

9.

10.

การประเมินทางสังคมและสิ่งแวดล้อม - สำหรับโครงการที่ขอกู้ที่อยู่ในระดับ A และ B จะต้องดำเนินการประเมินผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม รวมถึงมาตรการลด และ จัดการผลกระทบเหล่านั้น มาตรฐานสังคมและสิ่งแวดล้อม โครงการกู้เงินจะต้องผ่านเกณฑ์มาตรฐาน เช่น มาตรฐานสังคมและสิ่งแวดล้อม แรงงาน มลพิษ ความปลอดภัย และวัฒนธรรม และจะ ต้องสอดคล้องกับกฎหมายสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ แผนการปฎิบัติการและระบบการจัดการ - โครงการขอกู้ที่อยู่ในระดับ A และ B จะต้องมี แผนปฎิบัติการในการจัดการกับมลพิษ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากโครงการตามที่ได้ ประเมินออกมาแล้ว และจะต้องให้ลำดับการแก้ไขปัญหาให้เหมาะสม การปรึกษาและการเปิดเผยข้อมูล - รัฐบาล ผู้ขอกู้ และผู้เชี่ยวชาญในเรื่องนั้นๆจะต้อง ปรึกษาหารือกันในเรื่องผลกระทบของโครงการต่อชุมชน โดยคำนึงถึงโครงสร้าง และ วัฒนธรรมของชุมชนที่ได้รับผลกระทบ นอกจากนี้โครงการขอกู้จะต้องเปิดเผยข้อมูล แก่สาธารณะชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการนั้นๆ การรับคำร้องทุกข์ - โครงการขอกู้ที่สร้างผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมในกลุ่ม A และ B จะ ต้องตกลงกับชุมชนและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโครงการเกี่ยวกับขั้นตอนการร้องทุกข์ ในช่วงการดำเนินการก่อสร้างโครงการ และจะต้องแก้ไขอย่างโปร่งใส ทันท่วงที และ เหมาะสมกับวัฒนธรรมของชุมชนนั้นๆ การตรวจสอบที่เป็นอิสระจากองค์กรอื่น - จะต้องมีองค์กรอิสระที่ไม่ขึ้นต่อผู้ขอกู้ที่มี ความชำนาญเกี่ยวกับผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อม เป็นผู้ประเมินผลกระทบของ โครงการให้สอดคล้องกับ Equator Principles สัญญาหรือข้อตกลง ผู้ขอกู้จะต้องทำสัญญาสังคมและสิ่งแวดล้อมที่สอดคล้องกับ กฎหมายสังคมและสิ่งแวดล้อมของประเทศนั้นๆ หากผู้ขอกู้ไม่สามารถทำตามสัญญา ได้ EPFIs (Equator Principles Financial Institutions หรือ สถาบันการเงินที่ใช้ Equator Principles ) มีสิทธิ์ที่จะยกเลิกสัญญาหรือใช้วิธีที่เหมาะสม ผู้ควบคุมที่เป็นอิสระและรายงานที่โปร่งใส - ตลอดระยะเวลาการกู้ จะต้องมีการนัดผู้ ประเมินผลกระทบทางสังคมและสิ่งแวดล้อมที่เป็นอิสระ เพื่อควบคุมการการทำงานให้ เป็นไปตามสัญญาที่ผู้กู้ทำไว้ เป็นข้อที่ทาง EPFIs ต้องทำคือ รายงานของ EPFIs - EPFIs ที่ใช้ Equator Principles จะต้องรายงานให้ประชาชนทราบอย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งเกี่ยวกับ ขั้นตอนการดำเนิน การ และผลสำเร็จของการใช้ Equator Principles

1.3 สมาชิก • กว่า 67 สถาบันการเงินจาก 27 ประเทศทั่วโลกที่ใช้ Equator Principles สถาบันการเงิน เหล่านี้ได้แก่ Bank of America, Bank of Tokyo-Mitsubishi, Credit-Suisse, HSBC, Nordea, Scotiabank, Standard Charted Bank, and Wells Fargo etc. • 31ตุลาคม 2551, Industrial Bank Co.,Ltd (IB) เป็นสถาบันการเงินแห่งแรกในประเทศจีนที่ ได้ประกาศใช้ the “Equator Principles” .ในปี 2550 และ2551, IB ได้รับรางวัล “Emerging markets sustainable bank of the year” ในขณะเดียวกัน IB คงอันดับหนึ่งใน 100 ธนาคาร จีนในเรื่องผลตอบแทนเฉลี่ยต่อต้นทุน (average return on capital) นอกจากนี้ IB ยัง ต้องการส่งเสริมให้สถาบันการเงินในประเทศจีนปล่อยกู้อย่างมีความรับผิดชอบต่อสังตมและ สิ่งแวดล้อมด้วย

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series 2. The Principles for Responsible Investment (PRI) เกิดจากการที่นักลงทุนสถาบันมีความเชื่อว่าการให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัท ภิบาล environmental, social, and corporate governance (ESG) มีผลกระทบต่อผลประกอบ การลงทุน 2.1 กฎ/ข้อปฎิบัติ 1. คำนึงถึงเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ในการประเมินและการตัดสิน ใจการลงทุน • รวมเรื่อง ESG ในนโยบายการลงทุน • สนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ประเมินความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และ บรรษัทภิบาล (ESG) • ประเมินความสามารถของผู้จัดการการลงทุนภายในและภายนอกองค์กรในการคำนึงถึง ESG ในการตัดสินใจการลงทุน • ให้ผู้บริการการลงทุน เช่น นักวิเคราะห์ทางการเงิน ที่ปรึกษา ผู้ซื้อขายหลักทรัพย์ บริษัท วิจัย และบริษัท เรตติ้ง รวม ESG ในการวิเคราะห์ วิจัยใหม่ๆ • สนับสนุนให้ภาคการศึกษาทำการวิจัยในเรื่องนี้ • สนับสนุน training สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยวกับการลงทุน 2. รวมเรื่องสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล ในนโยบายความเป็นเจ้าของ (ownership policies) • พัฒนาและเปิดเผย ownership policy ที่สอดคล้องกับ PRI • มีการใช้สิทธิ์ออกเสียง (voting rights) และควบคุมให้สอดคล้องกับนโยบายการออกเสียง • สนับสนุนการพัฒนานโยบาย กฎ และมาตรฐานต่างๆ เช่น การปกป้องสิทธิ์ของผู้ถือหุ้น • จัดทำรายงานการลงทุนที่เข้าไปมีส่วนเกี่ยงข้องกับ ESG 3. มีการเปิดเผยข้อมูลการลงทุนที่คำนึงถึงสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล (ESG) ที่ เหมาะสม จั • ดทำรายงานเรื่อง ESG ที่มีมาตรฐาน • รวมเรื่อง ESG ในรายงานการเงินประจำปี • ขอข้อมูลจากบริษัทที่ใช้หลักการแบบเดียวกันกับ PRI 4. สนับสนุนการใช้ PRI ให้แพร่หลายในกลุ่มธุรกิจการลงทุน จั • ดทำข้อบังคับการลงทุน วิธีการควบคุมการทำงาน ดัชนีวัดประสิทธิภาพของการลงทุน • ติดต่อประสานงานกับผู้ให้บริการการลงทุน และติดตามผู้ให้บริการการลงทุนที่ไม่สามา รถปฎิบัติตามกฎ PRI • สนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้เป็นมาตรฐานวัดการมีส่วนร่วมต่อสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรษัทภิบาล 5. ทำงานร่วมกันในเครือข่ายเพื่อยกระดับประสิทธิภาพในการใช้ PRI • สนับสนุนและร่วมมือในเครือข่ายและแหล่งข้อมูลอื่นๆเพื่อแบ่งปันเครื่องมือ ทรัพยากรที่มี อยู่ และใช้รายงานเหล่านี้เป็นแหล่งความรู้ • ค้นคว้าเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ ESG ใหม่ๆ • พัฒนาและสนับสนุนการร่วมมือกันอย่างสร้างสรรค์ 6. รายงานเกี่ยวกับกิจกรรมและความก้าวหน้าของการใช้ PRI • เปิดเผยข้อมูล • เปิดเผยกิจกรรมที่แสดงความเป็นเจ้าของร่วม เช่น การมีสิทธิ์ออกเสียง

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series • • • •

เปิดเผยสิ่งที่จำเป็นสำหรับผู้ให้บริการการลงทุนเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ PRI รายงานความเคลื่อนไหวและความสำเร็จของ PRI ประเมินผลที่ได้รับจาก PRI ใช้ประโยชน์จากรายงานเพื่อกระตุ้นให้กลุ่มอื่นเห็นความสำคัญของสิ่งแวดล้อม สังคม และบรรัทภิบาล ในการลงทุนต่างๆ

2.2 สมาชิกแบ่งเป็น 3 กลุ่ม 1. เจ้าของสินทรัพย์ 2. ผู้จัดการการลงทุน - Banco, Boston Trust, HSBC Group Investment Businesses Limited, ING Investment Management, JPMorgan Asset Management, Mitsui Asset Trust and Banking, Nordea, Societe Generale Asset Management, etc. 3. ผู้เชี่ยวชาญ - CSR Asia, Eco Eye, Green Invest, etc. 2.3 ตารางเปรียบเทียบหลักการของ Equator principles และ PRI ประเด็น

Equator Principles

การตรวจสอบและการแยกประเภท



การประเมินผลกระทบต่อสังคมและสิ่ง แวดล้อม มาตรการลด และจัดการกับผลก ระทบ



■ ■

การประเมินผู้จัดการการลงทุน เรื่องการคำนึงถึงผลกระทบต่อสังคมและสิ่ง แวดล้อมในการตัดสินใจลงทุน กำหนดมาตรฐานทางสังคมและสิ่งแวดล้อม ที่สอดคล้องกับกฎหมายของแต่ละประเทศ



แผนการปฎิบัติการและระบบการจัดการกับ ผลกระทบที่เกิดขึ้น



การร่วมมือกันเป็นเครือข่ายรวมทั้งผู้ เชี่ยวชาญด้านต่างๆ partners suppliers subcontractors เพื่อยกระดับประสิทธิภาพ และแลกเปลี่ยนข้อมูล



การรับคำร้องทุกข์จากผู้ที่ได้รับผล กระทบ ทางสังคมและสิ่งแวดล้อม



การตรวจสอบที่เป็นอิสระจากองค์กรอื่น



ChangeFusion Institute

PRI





Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series ประเด็น

Equator Principles

PRI

ทำสัญญาหรือข้อตกลงและพัฒนาอย่างเป็น ระบบ





การเปิดเผยข้อมูล และจัดทำรายงานประจำ ปี





การประเมินความสำเร็จ





สนับสนุนการพัฒนาเครื่องมือที่ใช้ในการ ประเมินความรับผิดชอบต่อสังคม สิ่ง แวดล้อม รวมเรื่องบรรษัทภิบาล (corporate governance) และ ownership policy ที่ สอดคล้องกับหลักการ



สนับสนุนการทำวิจัย และบทวิเคราะห์ใหม่ๆ



การ training สำหรับผู้ที่ประกอบอาชีพเกี่ยว กับการลงทุน





3. UNEP FI (United Nations Environment Programme Finance Initiatives) เกิดขึ้นจากการรวมตัวกันของ United Nations Environment Programme และ สถาบันการเงิน โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มการตระหนักถึงความสัมพันธ์ระหว่างสังคมและสิ่งแวดล้อม ผลประกอบ การ และความยั่งยืน สถาบันการเงินเหล่านี้ไม่ได้สนใจเพียงผลกำไรแต่ใส่ใจเรื่องสังคม เช่น การ ศึกษา การพัฒนาสังคม และสุขภาพอนามัย 3.1 หน้าที่ของUNEP FI • ทำวิจัยที่สามารถนำมาใช้ได้จริง ทำประกาศ และจัดการประชุมเกี่ยวกับการจัดสรรเงินทุน อย่างสร้างสรรค์ (Finance Initiative) โดยคำนึงถึงผลกระทบทางสิ่งแวดล้อมและสังคม 3.2 กฎ/ข้อปฎิบัติ 1. การยึดมั่นกับการพัฒนาที่ยั่งยืน 1.1. การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นพื้นฐานของการบริหารจัดการที่ดี 1.2. การพัฒนาที่ยั่งยืนจะสามารถเกิดขึ้นได้เมื่อมีการร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและ ภาคธุรกิจซึ่งจะทำให้เกิดการใช้ต้นทุนและทรัพยากรที่มีประสิทธิภาพมากที่สุด 1.3. สถาบันการเงินเป็นสถาบันที่สนับสนุนการพัฒนาอย่างยั่งยืนที่สำคัญสถาบันหนึ่ง ในระบบเศรษฐกิจ 1.4. การพัฒนาที่ยั่งยืนเป็นสิ่งที่สถาบันการเงินต้องยึดมั่นและเป็นส่วนหนึ่งของการเป็น good corporate citizenship 2. การจัดการกับสิ่งแวดล้อมและสถาบันการเงิน

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series คาดการณ์และป้องกันผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม ไม่ขัดแย้งกับกฎหมายสิ่งแวดล้อมของชุมชน ประเทศ และสากล และจะพิจารณา สิ่งแวดล้อมในการดำเนินการ การจัดการกับสินทรัพย์ และทุกๆการตัดสินใจของ สถาบันการเงิน 2.3. การประเมินและการจัดการกับความเสี่ยงต่อสิ่งแวดล้อม (environmental risks) เป็นส่วนหนึ่งของการบริหารความเสี่ยง (risk management) ของสถาบันการเงิน ทั้งกิจการภายในและภายนอกประเทศ 2.4. ทำ best practices ในการจัดการสิ่งแวดล้อม เช่น การใช้พลังงานอย่างมี ประสิทธิภาพ การรีไซเคิลและลดของเสียและมลพิษ และจะร่วมมือทางธุรกิจกับ partners, suppliers, subcontractors ที่มีมาตรฐานสิ่งแวดล้อมที่สูง 2.5. ปรับเปลี่ยนเนื้อหา กฎข้อบังคับ และงานวิจัยใหม่ๆ ให้ทันต่อการพัฒนาการจัดการ สิ่งแวดล้อม และสนับสนุนให้สถาบันการเงินปรับใช้งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.6. ทำการประเมินผลการทำงานเปรียบเทียบกับเป้าหมายที่ตั้งไว้ และรวบรวมเป็น รายงานเป็นระยะๆ 2.7. สนับสนุนให้สถาบันการเงินพัฒนาผลิตภัณฑ์ที่มีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม 3. การสร้างความตระหนักและการติดต่อสื่อสารกับประชาชน (Public awareness and communication) 3.1. ให้สถาบันการเงินเผยแพร่รายงานเกี่ยวกับนโยบายสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับขั้นตอน การดำเนินการจัดการกับผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมเป็นระยะ 3.2. แบ่งปันข้อมูลกับลูกค้าเพื่อที่ลูกค้าจะได้พัฒนาความสามารถในการลดความเสี่ยง ต่อสิ่งแวดล้อมและสนับสนุนการพัฒนาที่ยั่งยืน 3.3. เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการจัดการกับสิ่งแวดล้อมให้ผู้ที่เกี่ยวข้อง รวมถึงผู้ถือหุ้น ลูกจ้าง ลูกค้า รัฐบาล และประชาชน 3.4. ให้ UNEP ช่วยเหลือสถาบันการเงินในการพัฒนาหลักการและจุดมุ่งหมาย โดย ช่วยให้ข้อมูลเกี่ยวกับการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3.5. ส่งเสริมสถาบันการเงินอื่นเข้าร่วมเป็นสมาชิก และจะแบ่งปันประสบการณ์และ ความรู้เพื่อที่จะพัฒนา best practices 3.6. ร่วมกับ U N E P ในการประเมินผลสำเร็จของการจัดการกับสิ่งแวดล้อม และ ปรับปรุงให้เหมาะสม 2.1. 2.2.

3.3 โครงการที่เกี่ยวข้อง • Climate change (carbon finance) หมายความถึงการเปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศในระยะ ยาว โดยโลกร้อนขึ้นเรื่อยๆ ในระยะเวลา40 ปีที่ผ่านมาโลกร้อนขึ้นประมาณ 0.2-0.3% สาเหตุของโลกร้อนก็มาจากกิจกรรมต่างๆของมนุษย์ที่ทำให้ Green House Gas (GHG) เพิ่มขึ้น เช่นการเผาไหม้เชื้อเพลิง อุตสาหกรรมต่าง และ ปุ๋ยเคมี • A carbon footprint เป็นตัววัดผลกระทบของกิจกรรมของมนุษย์ต่อการสร้าง GHG โดย ใช้ปริมาณก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เป็นตัววัด • Insurances หาผลิตภัณฑ์ บริการ การลงทุน การดำเนินการที่สร้างสรรค์และเป็นมิตรต่อสิ่ง แวดล้อม • Investment พิจารณาสังคม และสิ่งแวดล้อมในการลงทุนโครงการต่างๆ • P r o p e r t y การพัฒนาโครงสร้างอาคารใหม่และอาคารเก่า เพื่อลดการปล่อยก๊าซ คาร์บอนไดออกไซด์ มลพิษ และการใช้พลังงานอย่างคุ้มค่า

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series • Sustainability Management and Reporting พัฒนา Global reporting initiative (GRI) และ ทำ business case ที่ยั่งยืน 3.4 สมาชิก • 170 สถาบันการเงิน - ธนาคารพาณิชย์ ประกันภัย กองทุนรวม โดยเฉพาะในยุโรปและ เอเชีย ได้แก่ ญี่ปุ่น เกาหลีใต้ สาธารณะรัฐประชาชนจีน อินเดีย และออสเตรเลีย สำหรับ ประเทศไทยมีเพียง 2 สถาบันการเงินที่เป็นสมาชิกของ UNEP FI ซึ่งก็คือ กรุงเทพประกันภัย และ TISCO Financial Group

4. The UNEP FI Insurance Working Group (IWG) เป็นองค์กรที่จัดจั้งขึ้นเมื่อปี 2549 ซึ่งเกิดจากการร่วมมือกันของบริษัทประกันทั่วโลกและสถาบัน การศึกษาที่เข้ามาช่วยทำการวิจัยเรื่องความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อมสังคม และการจัดการในกล ยุทธหลักของธุรกิจเพื่อเพิ่มมูลค่าของบริษัทในระยะยาว 4.1 แนวทาง • ส่งเสริม best practicesในเรื่องความยั่งยืน • พัฒนาความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับความเสี่ยงและโอกาสในการสร้างความรับผิดชอบต่อ สิ่งแวดล้อมและสังคมกับการพัฒนาผลิตภัณฑ์และบริการของธุรกิจประกันภัยทั่วโลก • ส่งเสริมการทำประกันที่ยั่งยืน (sustainable insurance) • เห็นความสำคัญของธุรกิจประกันภัยที่ีมีส่วนสำคัญในการพัฒนาอย่างยั่งยืน โดยอาศัยการ ร่วมมือกันขององค์กรเศรษฐกิจอื่นๆกับลูกค้าประกัน 4.2 สมาชิก • Allianz, HSBC, Interamerican, Insurance Australia Group(IAG), Lloyd’s of London, Folksam, Norwich Union, Tokio Marine Nichido Fire Insurance, etc. • Fox school of business, University of Cambridge, University of Oxford, etc.

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series 5. บทบาทและหน้าที่ขององค์กรกำกับดูแลระบบการเงินและสถาบันการเงิน 5.1 รัฐบาลออสเตรเลีย (Australian Government) รัฐบาลออสเตรเลียได้รับมอบหมายให้รับผิดชอบ ออก และควบคุมกฎข้อบังคับในเรื่อง “consumer credit” ที่ไม่เพียงแต่เป็นการปกป้องผู้บริโภคเท่านั้น แต่ให้เป็นโครงสร้างสำหรับธุรกิจ เพื่อให้เกิด การพัฒนาที่ยั่งยืนของ consumer credit market ทั้งนี้รัฐบาลออสเตรเลียได้ให้ความสำคัญกับ RL เป็นอย่างมากโดยในวันที่ 27 เมษายน ได้ออกร่าง The National Consumer Credit Protection Bill 2009 เพื่อให้เป็นเกณฑ์มาตรฐานเดียวกันทั้งประเทศที่เน้นหนักในเรื่องของ RL เป้าหมาย • ปกป้องสิทธิ์ของผู้บริโภคโดยที่ผู้ให้กู้จะต้องจัดหาผลิตภัณฑ์ทางการเงินที่เหมาะสมแก่ผู้กู้และให้ ประเมินความสามารถในการชำระคืนหนี้ของผู้กู้ด้วย • ยกเลิกระบบแบบ red tape และลดภาระของธุรกิจ รวมถึงการลดความซับซ้อนของกฎหมายของ แต่ละรัฐโดยรวมให้เป็นกฎหมายระดับชาติอันเดียว • ประกาศให้มีการใช้ the Australian Credit Licence (ACL) ทั่วประเทศ The Australian Credit Licence (ACL) ออกโดย the Australian Securities and Investments Commission (ASIC)ซึ่งเป็นผู้มีอำนาจกำกับตรวจสอบระบบเครดิตของประเทศ ผู้ที่ได้รับใบ อนุญาตปล่อยกู้ (ACL)นี้เท่านั้นจึงจะสามารถ ปล่อยกู้ และเก็บเงินกู้ภายใต้สัญญาที่ทำไว้ และ สามารถเป็น เสมือนโบรคเกอร์ ตัวกลาง หรือผู้ให้คำปรึกษา แก่ลูกค้าเกี่ยวกับสินเชื่อประเภทต่างๆได้ โดยใบอนุญาตฉบับนี้จะออกให้แก่ผู้ให้กู้ได้ ก็ต่อเมื่อผู้ให้กู้ผ่านเกณฑ์การพิจารณาของ ASIC ซึ่ง จะเน้นในเรื่องการปกป้องผู้บริโภคในทุกๆครั้งที่มีการขอกู้ รวมทั้งมีเงินทุนพร้อมทั้งบุคคลากรที่ เพียงพอ หากเมื่อใดผู้ที่ได้รับใบอนุญาตไปแล้วไม่ปฎิบัติตามกฎข้อบังคับ ก็สามารถถูกเพิกถอน สิทธิ์ได้ทันที ซึ่งระบบดังกล่าวจะเริ่มใช้ในวันที่ 1 มกราคม ปี 2010 หากไม่มีระบบ ACL นี้ เมื่อผู้ขอกู้ไปขอกู้เงินเพื่อกิจกรรมต่างๆกับ finance/mortgage broker ผู้ขอ กู้จะไม่สามารถทราบถึงขีดความสามารถในการปล่อยกู้ หรือผลประโยชน์ทับซ้อน ในการเสนอให้ เงินกู้ในรูปแบบอื่นแทนที่จะเป็นอันที่ให้ผลประโยชน์สูงสุด และเหมาะกับผู้กู้มากที่สุด นอกจากนี้ finance/mortgage broker ก็อาจส่งเรื่องขอกู้ผ่าน intermediaries หรือส่งเรื่องไปยังผู้ให้กู้โดยตรง โดยไปทำให้ intermediaries หรือผู้ให้กู้ เกิดความสับสนในข้อมูล เช่น ผู้กู้ชั้นต่ำกว่ามาตรฐาน (subprime borrower) อาจได้รับอนุมัติเงินกู้ เนื่องจากข้อมูลที่บิดเบือน หรือถูกทำให้เกิดการกระ จายความเสี่ยง ซึ่งนี่เป็นสาเหตุของวิกฤต Subprime ในปัจจุบัน แต่ในระบบ ACL นี้ broker จะต้องได้รับใบอนุญาตนี้ ส่วน intermediaries หรือ lender อาจจะได้ รับใบอนุญาตนี้หรือหากไม่ได้รับในอนุญาตก็ต้องทำงานให้แก่ผู้ที่ได้รับใบอนุญาต นี้จึงเป็นการ ลดความเสี่ยงต่อการเกิดวิกฤตทางการเงินที่เกิดจากกระบวนการกู้เงินที่ไม่มีความรับผิดชอบ เนื่องจาก broker และ lender จะถูกกำกับดูแลเรื่องการให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (RL) อย่างเข้ม งวดโดย ASIC

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series

ที่มา: http://www.treasury.gov.au/consumercredit/content/legislation.asp

5.2 ธนาคารกลางสหรัฐ (The Fed) จากวิกฤต subprime ที่เกิดขึ้นที่สหรัฐอเมริกา ซึ่งเป็นผลมาจากการให้สินเชื่ออย่างไม่รับผิดชอบ ในธุรกิจสถาบันการเงินและอสังหาริมทรัพย์ ทำให้ธนาคารกลางสหรัฐให้ความสำคัญและแก้ไข ปรับปรุงกฎเกณฑ์ต่างๆเกี่ยวกับการให้สินเชื่อเพื่อซื้ออสังหาริมทรัพย์ (mortgage loans)อย่างรับ ผิดชอบ เพื่อให้สอดคล้องกับการแก้ไขปัญหาปัจจุบัน H.R. 1728 Mortgage Reform and Anti-Predatory Lending Act of 2009 เป็นร่างกฎหมายที่ได้ ผ่านการลงมติเห็นชอบโดย the U.S. House of Representatives ที่ได้รับการปรับปรุงแก้ไขจาก the Truth in Lending Act โดยในร่าง H.R. 1728 ได้แต่งตั้งให้คณะกรรมการของ the Federal Reserve มีหน้าที่ร่วมกับหน่วยงานอื่นที่ทำหน้าที่กำกับระบบการเงิน ในการกำหนดกฎเกณฑ์ ข้อ บังคับต่างๆ และกำกับการใช้ H.R.1728 ภายใต้ร่างกฎหมาย H.R. 1728 ได้มีการเพิ่มเติมในเรื่องการจำนองสินทรัพย์ (consumer m o r t g a g e p r a c t i c e s ) โดยกำหนดเกณฑ์ขั้นต่ำสำหรับการให้ลูกค้ากู้เงินโดยการรับจำนอง สินทรัพย์ (consumer mortgage loans) และสร้างภูมิคุ้มกันให้แก่ผู้กู้และนักลงทุน นอกจากนี้ยัง ครอบคลุมถึงการกำกับดูแล Appraisal Management Companies (AMCs) มีการควบคุม คุณภาพสินเชื่อ ผู้กู้ และผู้ให้กู้ รวมถึงการห้ามอนุมัติ subprime loan ตราบใดที่ไม่มีการเขียน รายงานการประเมินไว้ (appraisal report) และยังสนับสนุนการให้คำปรึกษาและความช่วยเหลือ ด้านกฎหมายแก่เจ้าบ้าน และจะให้มีการก่อตั้ง an Office of Housing Counseling สิ่งเหล่านี้ล้วน แล้วแต่เป็นการกำกับดูแลเพื่อให้เกิดการให้สินเชื่อบ้านอย่างรับผิดชอบ

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series 6. การลงทุนในชุมชน (community investment) การลงทุ น ในชุ ม ชนเป็ น หนึ ่ ง ในการมี ส ่ ว นร่ ว มในสั ง คมแต่ ม ั ก เป็ น ไปในรู ป ของการช่ ว ยเหลื อ ทางการเงินสำหรับการลงทุนในชุมชนหรือการลงทุนเพื่อช่วยเหลือสังคมมีความหมายครอบคลุม ถึงแผนการลงทุนซึ่งมีจุดประสงค์หลักในการช่วยพัฒนาหรือกระจายความเจริญไปสู่ชุมชนไม่ว่า จะเป็นแผนการลงทุนเพื่อการพัฒนาในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาหรือประเทศพัฒนาแล้ว นอกจาก นั้นยังรวมถึงการลงทุนในธุรกิจเพื่อสังคมหรือสิ่งแวดล้อม หรือที่เรียกว่า Social or Environmental enterprises การลงทุนในชุมชนในยุโรปหรืออเมริกาได้รับการพัฒนาให้เป็นระบบที่ค่อนข้างชัดเจนซึ่งแทบจะ เรียกได้ว่าเป็นอีกตลาดหนึ่งที่ได้รับความสนใจทั้งจากนักลงทุนทั่วไป นักลงทุนสถาบัน หรือแม้แต่ ประชาชนที่หวังผลตอบแทนทางสังคมนอกเหนือไปจากผลตอบแทนทางกำไรและยังเป็นการช่วย เหลือชุมชนที่ยังเข้าไม่ถึงสถาบันการเงินโดยทั่วไปดังนั้นการลงทุนในชุมชนจึงเป็นอีกช่องทางหนึ่ง ที่ทำให้ชุมชนเหล่านี้ได้เข้าถึงเครดิต แหล่งเงินทุน รวมถึงผลิตภัณฑ์ทางการเงินอื่นๆที่ธนาคารไม่ ต้องการเสนอให้กับบุคคลหรือองค์กรที่ถือว่าอยู่ในกลุ่มเสี่ยงของการเป็นหนี้เสีย ที่ผ่านมาการลงทุนในชุมชนทำให้องค์กรชุมชนมีความเข้มแข็งมากขึ้น บางแห่งสามารถกระจาย เงินและเครดิตต่อไปยังผู้มีรายได้น้อยหรือส่งต่อทุนเพื่อสนับสนุนธุรกิจขนาดย่อมรวมถึงการ บริการต่างๆในชุมชน ไม่ว่าจะเป็นสถาบันรับเลี้ยงเด็กหรือคนชรา การเคหะสำหรับผู้มีรายได้น้อย หรือสถาบัอนามัยต่างๆ ซึ่งล้วนแต่เป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของประชาชนอีก ด้วย การลงทุนเพื่อสังคมเป็นหนึ่งในเสาหลักสำคัญของ Socially Responsible Investment (หรือการ ลงทุนที่มีความรับผิดชอบต่อสังคม) ซึ่งมีมูลค่ารวมของทรัพย์สินสูงขึ้นอย่างรวดเร็วในช่วงสอง สามปีที่ผ่านมา ในยุโรปและสหรัฐมีมูลค่าทรัพย์สิน (SRI asset) รวมกว่า 3.3 ล้านล้านดอลล่าร์ สหรัฐ นอกจากนี้การลงทุนในชุมชนยังเป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่ได้นำไปใช้อย่างแพร่หลายในการ ทำ CSR หรือ ความรับผิดชอบต่อสังคมของภาคธุรกิจบริษัทสามารถลงทุนโดยตรงในโครงการ เพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อม หรือลงใน financial institution หรือ intermediaries ต่างๆที่ตั้งขึ้นเพื่อ จุดประสงค์นี้โดยเฉพาะ ธนาคารเพื่อการพัฒนาชุมชน (Community Development Banks) หรือ Community Development Credit Union เป็นสถาบันการเงินที่ปล่อยเครดิตหรือให้ทุนแก่ชุมชนที่มีรายได้น้อย สถาบันการเงินลักษณะนี้มักอยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ และรัฐก็ค้ำประกันผลิตภัณฑ์ทางการ เงินต่างๆของธนาคาร เช่น Community Development Loan Fund ก็เป็นหนึ่งในแหล่งเงินทุนหรือ แหล่งเงินกู้แก่โครงการที่ก่อให้เกิดผลดีต่อ ชุมชนโดยไม่หวังผลกำไร ซึ่ง Loan Fund ลักษณะนี้ มักดำเนินการโดยเอกชนและไม่ได้อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐ ดังนั้นนอกจากการปล่อยกู้ แล้ว กองทุนยังมักให้การสนับสนุนในด้านอื่นๆด้วย เพื่อให้เงินกู้ที่ปล่อยออกไปเกิดประโยชน์สูงสุด กองทุนประเภทนี้ยังอาจร่วมมือกับสถาบันการเงิน เพื่อการพัฒนาในประเทศที่กำลังพัฒนาเพื่อกระจายเงินจากประเทศที่พัฒนาแล้วไปช่วยเหลือผู้มี รายได้น้อยหรือธุรกิจขนาดเล็กในทวีปอื่นๆ และนอกจาก Loan Fund แล้วยังมีกองทุนในลักษณะ ของ Community Development Venture Capital Funds ซึ่งลงทุนในรูปของ equity หรือ equitylike investment กับธุรกิจใหม่หรือธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดกลาง ที่มีศักยภาพในการขยายได้สูง และสามารถก่อให้เกิดการสร้างงานและการกระจายรายได้ในชุมชน ในภาพรวมยังมี Community Development Pooled Funds ซึ่งรวมเงินจากสถาบันการเงินเพื่อชุมชนต่างๆที่กล่าวมาแล้วนั้นใน

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series การกระจายความเสี่ยง นอกจากนี้ Social Enterprise ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่มักดำเนินการคล้าย กับธุรกิจแต่มีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างงานให้กับชุมชนในขณะเดียวกันก็ระดมทุน (raise fund)เพื่อ ทำงานหรือโครงการเพื่อสังคมต่างๆ เงินหมุนเวียนที่อยู่ในสถาบันการเงินต่างๆที่กล่าวมานั้นมีการเจริญเติบโตอย่างต่อเนื่องและมี มูลค่าสูงขึ้นเรื่อยๆ ตามรายงานจาก Social Investment Forumหนึ่งในสถาบันการลงทุนเพื่อ สังคมที่ได้รับการยอมรับอย่างสูงในสหรัฐได้รวมมูลค่าของการลงทุนในชุมชนสูงถึง 25.8 พันล้าน ดอลล่าร์หรือประมาณเก้าแสนกว่าล้านบาทในปี 2007

ในสหรัฐอเมริกามีกฎหมายที่ทำให้ตัวเลขการลงทุนในชุมชนเพิ่มขึ้นอย่างเป็นระบบ กฎหมายดัง กล่าวเรียกว่า “กฎหมายการลงทุนกลับสู่ชุมชน (community reinvestment act)” ซึ่งมีเนื้อหาหลัก เกี่ยวกับการให้หน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงิน เช่น ธนาคารกลางสหรัฐ (federal reserve banks) สนับสนุนให้ธนาคารและสถาบันการเงินมีบริการฝากเงิน (saving) ในการลงทุนกลับไปสู่ ชุมชนที่ตนเองมีสาขาอยู่ผ่านการปล่อยสินเชื่อไปยังโครงการพัฒนาชุมชนต่างๆทั้งนี้ยังจะต้องคง ระเบียบและแนวทางการปล่อยสินเชื่อที่มีถูกต้องและมีความรับผิดชอบ ไม่ใช่โครงการที่มีความ เสี่ยงสูง โดยกิจกรรมการปล่อยกู้ไปยังชุมชนนั้นจะเน้นไปยังการสนับสนุนกลุ่มประชากรที่มีรายได้ ต่ำในชุมชน ซึ่งหน่วยงานกำกับดูแลสถาบันการเงินจะใช้ข้อมูลการดำเนินงานลงทุนกลับไปยัง ชุมชนของธนาคารและสถาบันการเงินในการพิจารณาประเด็นต่างๆที่เกี่ยวกับการขยายกิจการ เช่น การเพิ่มสาขา การควบรวมกิจการ ฯลฯ 6.1 โครงการที่ได้รับการสนับสนุนในการลงทุนในชุมชน มีการลงทุนในชุมชนกับโครงการต่างๆหลากหลายโครงการ ไม่ว่าจะเป็นโครงการที่อยู่อาศัย ธุรกิจขนาดเล็กหรือขนาดย่อม สิ่งอำนวยความสะดวกในชุมชน โครงการช่วยเหลือชนกลุ่มน้อยห รือผู้อพยพ หรือโครงการรักษาสิ่งแวดล้อมต่างๆ โครงการที่ได้รับความนิยมมากที่สุดคือ โครงการเพื่อบ้านและที่อยู่อาศัยสำหรับครอบครัวที่มีรายได้น้อย ซึ่งมีมูลค่ารวมการให้กู้มากกว่า 60 เปอร์เซ็นต์ของเงินปล่อยกู้ทั้งหมด โดยแบ่งเป็นการให้กู้ทั้งกับ Housing Developer ที่จัดทำบ้าน หรือบ้านเช่าสำหรับคนจน หรือปล่อยกู้โดยตรงกับผู้ซื้อบ้าน นอกจากโครงการบ้านและที่อยู่อาศัย แล้ว โครงการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กซึ่งรวมตั้งแต่สถานรับเลี้ยงคนชราหรือเด็กเล็กจนไปถึงร้าน ซ่อมคอมพิวเตอร์หรือเครื่องใช้ไฟฟ้าโครงการช่วยเหลือธุรกิจขนาดเล็กนี้นอกจากจะให้ความ ช่วยเหลือด้านการเงินแล้ว ยังการให้ความช่วยเหลือด้านความสามารถหรือเทคนิคต่างๆ ซึ่งเป็น โ ค ร ง ก า ร ท ี ่ ม ี ค ว า ม ส ำ ค ั ญ อ ย ่ า ง ม า ก ไ ม ่

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series เฉพาะต่อการกระจายรายได้และการสร้างงานในชุมชน เศรษฐกิจโดยรวมของประเทศ

แต่มีผลกระทบต่อการขยายตัวของ

ที่ย่อยลงมากว่าธุรกิจขนาดเล็กคือธุรกิจขนาดย่อมซึ่งก็ได้รับความสนใจจากนักลงทุนจำนวนมาก ความพิเศษของการลงทุนในธุรกิจขนาดย่อมคือการได้ทำให้ความฝันในการเริ่มต้นธุรกิจของ บุคคลที่มีรายได้น้อยเป็นจริง ไม่ว่าจะเป็นแผงขายขนมหรืออาหาร กลุ่มผู้รับเหมาก่อสร้าง หรือ แม้แต่ร้านดอกไม้ ซึ่งเป็นธุรกิจที่มีลูกจ้างได้ไม่เกินห้าคน และต้องการเงินเริ่มต้นไม่มากนักหรือที่ เรียกว่า Microloansในประเทศที่กำลังซึ่งประชากรมากกว่าห้าสิบเปอร์เซ็นต์ของผู้ใช้แรงงานนั้น ถือว่าเป็น Self Employed และต้องการความช่วยเหลือด้านเครดิตหรือเงินทุนในการทำธุรกิจของ ตนเอง แต่มักไม่ได้รับการอนุมัติจากธนาคารทั่วไป ในด้านของโครงการสร้างสิ่งอำนวยความสะดวก สถาบันการศึกษา สถานอนามัยและสถานรับ เลี ้ ย งเด็ ก หรื อ คนชราในชุ ม ชนยากจนหรื อ สั ง คมที ่ ม ี ร ายได้ น ้ อ ยนั บ เป็ น สถานที ่ ท ี ่ ข าดแคลนสิ ่ ง อำนวยความสะดวกที่จำเป็นมากที่สุด ความช่วยเหลือทางการเงินหรือการเข้าไปมีส่วนร่วมอบรบ หรือสร้างบุคลากรในด้านนี้ก่อเป็นประโยชน์อย่างสูงแก่ชุนชนที่ไปใช้บริการทั้งยังเป็นการก่อให้ เกิดรายได้และพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ให้ดีขึ้นอีกด้วย นอกจากนี้โครงการหรือธุรกิจด้านสิ่ง แวดล้อมก็เป็นอีกช่องทางหนึ่งที่ช่วยพัฒนาชุมชน ได้ ไม่ว่าจะเป็นโครงการอนุรักษัป่า การใช้ พื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสม การอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ หรือการใช้พลังงานงานทางเลือก การท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ และการรีไซเคิล (Recycle) เป็นต้น 6.2 กรณีศึกษา โครงการบ้านมั่นคง เพื่อแก้ไขปัญหาชุมชนแออัดริมคลอง ชุมชนบางบัวเป็นชุมชนแออัดที่ตั้งอยู่บริเวณริมคลองบางบัว เขตบางเขน ซึ่งเป็นที่ดินของกรม ธนารักษ์และหลังจากมีการถูกเวนคืนที่ดิน ชาวบ้านที่มาจับจองและสร้างที่อยู่อาศัยอยู่บริเวณนี้ ต้องถอยร่นเข้ามาบุกรุกอยู่บริเวณริมคลองจนกลายเป็นชุมชนแออัด เสื่อมโทร มีทั้งปัญหาขยะน้ำ เน่าเสียและปัญหาการแพร่ระบาดของยาเสพย์ติด ชุมชนบางบัวนี้มีประชากรอาศัยอยู่ทั้งสิ้นจำนวน 229 ครัวเรือน หรือประมาณ 820 คน ส่วนใหญ่มีรายได้น้อย และประกอบอาชีพรับจ้าง ค้าขาย รับราชการหรือรัฐวิสาหกิจ หลังจากที่กรมธนารักษ์ต้องการเวนคืนที่ดิน และทางเขตบางเขนเองก็ต้องการปรับสภาพภูมิทัศน์ ริมคลองให้เป็นระเบียบรวมถึงสร้างถนนเลียบริมคลองบางบัว ซึ่งทำให้ชุมชนบางบัวอาจต้องรื้อ ย้ายไปอยู่ที่อื่น ทางผู้นำชุมชนจึงประชุมกันเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหาที่อยู่อาศัย โดยมี การลงความเห็นว่าชุมชนต้องริเริ่มการระดมเงินออมเพื่อการพัฒนาที่อยู่อาศัย จึงได้ร่วมกันจัด ตั้งกลุ่มออมทรัพย์เพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยขึ้น และมีการทำกิจกรรมต่างๆเพื่อพัฒนาสังคมและสิ่ง แวดล้อมอย่างต่อเนื่องในนาม “เครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมบางบัว” ในปี 2546 สภาพัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.)ได้ริเริ่ม “โครงการบ้านมั่นคง” เพื่อแก้ไขปัญหาความ ไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัยของชาวชุมชนแออัด ซึ่งชุมชนบางบัวเป็นหนึ่งในชุมชนที่ได้เข้าร่วมดำเนิน การพัฒนาที่อยู่อาศัยตามแนวโครงการบ้านมั่นคง หนึ่งในหัวใจสำคัญของโครงการนี้คือการเปิด โอกาสให้ชุมชนได้เข้ามามีส่วนร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมกับกลไกการพัฒนาในท้องถิ่น สำหรับชุมชน บางบัวซึ่งมีปัญหาการเวนคืนและสภาพเสื่อมโทรมของลำคลองเป็นปัญหาใหญ่ แนวทางการแก้ ปัญหาที่สำคัญคือการรื้อสร้างบ้านใหม่ในที่ดินเดิม และขยับบ้านที่รุกล้ำคลองขึ้นมาอยู่บนผืนดิน ทั้งหมด

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series ในการดำเนินโครงการครั้งนี้ทางชุมชนได้ดำเนินการอย่างเป็นขั้นตอน โดยเริ่มจากการจัด ประชุมชาวบ้านเพื่อประชาสัมพันธ์และสร้างความเข้าใจให้กับชาวบ้านเกี่ยวกับตัวโครงการ และ สนับสนุนให้ชาวบ้านเข้าร่วมเป็นสมาชิกกลุ่มออมทรัพย์ เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการออมเงินเพื่อไป ใช้ในการแก้ปัญหาที่อยู่อาศัยของตน นอกจากนี้ยังมีการจัดเก็บข้อมูลชุมชน เพื่อสำรวจปัญหา ความเดือดร้อน และความต้องการของชุมชน รวมถึงแผนผังพื้นที่ที่ต้องการปรับปรุงรื้อถอน สถานะภาพทางการเงินของชาวบ้าน เพื่อนำไปประกอบแผนการพัฒนา นอกจากนี้ยังได้รับความร่วมมือจากคณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีปทุมเข้ามาช่วย ออกแบบบ้านในลักษณะต่างๆให้ตามที่ชุมชนได้เสนอความต้องการมา นอกจากการสร้างบ้าน ใหม่แล้ว ทางชุมชนยังแบ่งพื้นที่ส่วนหนึ่งไว้เป็นพื้นที่ส่วนกลางสำหรับใช้ในการสร้างสนามเด็กเล่น สร้างศูนย์การเรียนรู้เด็กก่อนวัยเรียน สร้างศาลาอเนกประสงค์ สร้างสถานสงเคราะห์สำหรับผู้สูง อายุที่ไม่มีคนดูแล สร้างศูนย์สุขภาพชุมชนและสวนสาธารณะ รวมทั้งสร้างหอพักสำหรับผู้ที่ไม่มี สิทธิเข้าร่วมโครงการให้เช่าอยู่ในราคาถูก นอกจากนี้ทางชุมชนยังได้ประสานกรมธนารักษ์เพื่อ ขอใช้ประโยชน์จากพื้นที่ดังกล่าวในการปลูกสร้างที่อยู่อาศัย พัฒนาระบบสาธารณูปโภค และ พัฒนาสิ่งแวดล้อมในชุมชน ซึ่งทางกรมธนารักษ์ก็ให้ความร่วมมืออย่างดี มีการอนุมัติให้ชุมชน สามารถดำเนินการได้ และชุมชนก็ได้เจรจาขอเช่าที่จากกรมธนารักษ์เป็นเวลา 30 ปี ในด้านการเงิน ชาวชุมชนบางบัวได้รับการอนุมัติสินเชื่อเพื่อพัฒนาที่อยู่อาศัยจากสถาบันสถาบัน พัฒนาองค์กรชุมชน (พอช.) จำนวน 24 ล้านบาท ซึ่งให้กู้ในอัตราดอกเบี้ยร้อยละ 2 ต่อปี โดยทาง กลุ่มออมทรัพย์จะปล่อยกู้ร้อยละ 5 ต่อปีเพื่อนำส่วนต่างของดอกเบี้ยมาลงในกองทุนสวัสดิการ ชุมชน และเก็บไว้สำรองฉุกเฉิน สำหรับการพัฒนาสาธารณูปโภค ชุมชนบางบัวก็ได้รับงบ สนับสนุนส่วนใหญ่จาก พอช. งบบ้านพักสวัสดิการชุมชน สำนักงานเขตบางเขน สำนักงานเขตบาง เขนและกทม. รวมเป็นจำนวนกว่า 25 ล้านบาท ในการรื้อถอนหรือการก่อสร้างบ้านเรือน ชุมชนก็ได้ร่วมกันตกลงวางแผนแนวทางในการดำเนิน การร่วมกัน การสลับสับเปลี่ยนที่อยู่อาศัยจึงก้าวหน้าไปได้ด้วยดี โดยในการก่อสร้างชุมชนก็ว่า จ้างผู้รับเหมาในชุมชนเองมาเป็นแรงงานก่อสร้าง ซึ่งนอกจากจะได้ราคารับเหมาที่ถูกกว่าราคา ตลาด ยังเป็นการสร้างงานให้กับชุมชนอีกด้วย นอกจากโครงการบ้านมั่นคงซึ่งช่วยแก้ปัญหาความไม่มั่นคงด้านที่อยู่อาศัย ชาวชุมชนบางบัวยัง ได้ทำกินกรรมพัฒนาต่างๆ ควบคู่กันไป ไม่ว่าจะเป็นโครงการกิจกรรมรักษาและฟื้นฟูสภาพ แวดล้อม โดยทางชุมชนได้รวมตัวกันเป็น “ เครือข่ายพัฒนาสิ่งแวดล้อมบางบัว ” มีการจัดตั้ง กองทุนสวัสดิการเพื่อช่วยเหลือสมาชิกในด้านต่างๆ เช่น เงินช่วยเหลือเมื่อคลอดบุตร เจ็บป่วย พิการหรือผู้สูงอายุ รวมทั้งทุนการศึกษา นอกจากนี้กองทุนสวัสดิการยังได้สนับสนุนด้านกิจกรรม ต่างๆของชุมชน เช่น กิจกรรมวันเด็ก กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนาต่าง หรือกิจกรรมอบรม เยาวชนด้านกีฬา มีการรวมกลุ่มอาชีพเพื่อเป็นการสร้างรายได้เสริมให้กับสมาชิกในชุมชน นอกจากนี้ยังมีการรร่วมกันทำกิจกรรมกีฬาต้านยาเสพติด เพื่อส่งเสริมให้เด็กและเยาวชนหันมา สนใจการเล่นกีฬา โครงการบ้านมั่นคงนี้นอกจากจะทำให้ชาวชุมชนบางบัวได้รับหลักประกันด้านสิทธิ โดยเฉพาะ การมีบ้านเป็นของตนเองและมีหลักประกันที่ดินที่มีสัญญาเช่าเป็นระยะเวลา 30 ปี ได้รับความ ปลอดภัย และการตอบสนองต่อความจำเป็นขั้นพื้นฐานต่างๆ ได้รับการส่งเสริมด้านสุขภาพ อนามัย การศึกษา ประกอบกับมีการสร้างรายได้ กรณีบ้านมั่นคงของชุมชนบางบัวเป็นตัวอย่าง ของความสำเร็จในการแก้ไขปัญหาต่างๆของชุมชน โดยตัวชุมชนเอง ที่มีความรัก สามัคคี และ ค ว า ม ต ั ้ ง ใ จ ท ี ่ จ ะ แ ก ้ ไ ข ป ั ญ ห า

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series อย่างแท้จริง มีแกนนำชุมชนที่เข้มแข็งและพร้อมที่จะรับฟังความคิดเห็นของประชาชน และนำมา ปรับปรุงแก้ไขปัญหาให้ตรงกับความต้องการที่แท้จริงของชุมชน ชุมชนบางบัวจึงเป็นศูนย์การเรียน รู้การแก้ไขปัญหาความไม่มั่นคงในการอยู่อาศัยของชุมชนแออัดในเมือง มีคณะดูงานท้งชาวไทย และต่างชาติที่ให้ความสนใจเข้ามาเรียนรู้ แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับชาวบ้าน 7. กรณีตัวอย่างที่น่าสนใจจากประเทศต่างๆ • บริษัทประกันต้องเปิดเผยข้อมูลความเสี่ยงต่อการเปลี่ยนแปลงของภมิอากาศ (climate change risks) โดยจะมีการเริ่มใช้เมื่อ 1 พฤษภาคม 2553 โดย The National Association of Insurance Commissioners (NAIC) เพื่อให้หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายให้ดูแลเรื่องสิ่งแวดล้อมสามารถ ประเมินความสามารถในการชำระหนี้ของบริษัทประกันภัย และความเสี่ยงของบริษัทต่อการ เปลี่ยนแปลงของภูมิอากาศ เช่น น้ำท่วม ไฟป่า และความแห้งแล้ง ซึ่ง climate change risk ถือ เป็น risk อย่างนึงที่บริษัทต้องบริหารจัดการ • Triodos Bank ก่อตั้งเมื่อปี 1980 ที่ประเทศเนเธอร์แลนด์ ธนาคาร Triodos เป็นธนาคารที่จะให้กู้ แก่องค์กร ธุรกิจ หรือ โครงการที่เพิ่มคุณค่าทางวัฒนธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสังคมและสิ่ง แวดล้อม ด้วยการสนับสนุนเงินให้กู้จากผู้ฝากเงินและนักลงทุนที่ต้องการส่งเสริมความรับผิด ชอบต่อสังคมและการพัฒนาอย่างยั่งยืนโดยฝากเงินในบัญชีต่างๆ เช่น the Earth Saver, Fairtrade Saver, Organic Saver, และ Quaker Social Housing accounts • เมื่อกรกฎาคม 2551สาธารณะรัฐประชาชนจีนได้เริ่มโครงการ “Green Loan” เป็นโครงการที่ ส่งเสริมโครงการที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม โดยจะไม่ทำการอนุมัติเงินกู้ให้กับโครงการที่มี blacklist ในบันทึกผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม ผลของโครงการ “Green Loan” คือสามารถลด มลพิษในขณะเดียวกันก็สามารถลดความเสี่ยงจากหนี้เสียและความเสี่ยงอื่นๆได้อย่างมาก • ถึงแม้ว่า กรุงเทพประกันภัยและ TISCO Financial Group จะเป็นสมาชิกของ UNEP FI แต่ก็ยัง ไม่มีผลิตภัณฑ์หรือบริการที่แสดงความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อมอย่างชัดเจนดังเช่น Green Loan ของประเทศจีน จึงถือเป็นโอกาสอันดีที่สถาบันการเงินของไทยจะพัฒนาการให้กู้ เงินอย่างมีความรับผิดชอบและการออกผลิกภัณฑ์ที่ส่งเสริมสิ่งเหล่านี้อย่างชัดเจน 8. การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending - RL) วิกฤตเศรษฐกิจในปีนี้เกิดจากการปล่อยสินเชื่ออย่างไร้ความรับผิดชอบของสถาบันการเงินที่ ส่งผลให้ประเทศต่างๆทั่วโลก รวมถึงประเทศไทยที่ได้รับผลกระทบและความเสียหายทางเศรษฐกิจ อย่างรุนแรง การให้สินเชื่ออย่างมีความรับผิดชอบ(RL) จึงกำลังเป็นกระแสสำคัญไปทั่วโลกทั้งใน วงการสถาบันการเงินเองและในวงการการกำกับดูแล เช่น ธนาคารกลางสหรัฐฯได้ออกกฎเกณฑ์ เกี่ยว กับ RL เพื่อแก้ปัญหาวิกฤต Subprime ที่กำลังลามไปทั่วโลก สำหรับประเทศไทยภายใต้ภาวะวิกฤตเศรษฐกิจปัจจุบัน มีประชาชนจำนวนมากที่ประสบปัญหาขาด สภาพคล่องทางการเงิน และมีปัญหาในการจ่ายชำระคืนหนี้ ดังนั้นการเตรียมพร้อมรับกับภาวะ เศรษฐกิจที่ถดถอย โดยการจัดทำ RL เพื่อป้องกันปัญหาไปพร้อมๆกับช่วยเหลือประชาชนที่ได้รับ ผล กระทบทางการเงินจึงมีความจำเป็นอย่างมาก

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series 8.1 คำนิยาม การให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ (Responsible Lending - RL) คือ การให้บริการที่รับผิดชอบต่อ ลูกค้า โดยคำนึงถึงความสามารถในการผ่อนชำระคืนของลูกค้า เพื่อป้องกันไม่ให้ประสบภาวะขาด สภาพ คล่อง หรือต้องแบกรับสภาวะทางการเงินมากจนเกินไป อีกทั้งดูแลลูกค้าอย่างมีความรับผิดชอบ ตลอด กระบวนการจัดการสินเชื่อ อาทิเช่น ตรวจสอบประวัติทางการเงินและความสามารถในการชำระ เงิน ของลูกค้าผ่านทาง บริษัท ข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จำกัด และการบริหารจัดการความเสี่ยง ก่อนที่จะ อนุมัติสินเชื่อแก่ลูกค้า 8.2 ผลจากการที่สถาบันการเงินมี RL การที่สถาบันการเงินมี RL ย่อมส่งผลดีต่อทั้งสถาบันการเงินเองและผู้มีส่วนเกี่ยวข้องอื่นๆ ได้แก่ ลูก หนี้ เจ้าหนี้ พนักงาน และประชาชนทั่วไป เช่น 1. ช่วยให้ลูกค้ามีความเข้าใจในเรื่องสินเชื่ออย่างถูกต้อง ได้รับข้อมูลที่ครบถ้วน และได้รับการ ดูแลเมื่อ ประสบปัญหา 2. ช่วยให้สถาบันการเงินสามารถได้รับผลตอบแทนทางเศรษฐกิจคืนมาจากการทำ R L และยัง ทำให้ เกิดการเติบโตทางธุรกิจอย่างยั่งยืน 3. สามารถขยายฐานลูกค้า โดยการดึงดูดลูกค้าที่ีประสบปัญหาทางการเงิน ให้เข้ามารับบริการ ของ สถาบันการเงินมากขึ้นแทนที่จะไปใช้บริการสินเชื่อนอกระบบ (loan shark) ในลักษณะต่างๆ 4. ทำให้สถาบันการเงินและลูกค้าใกล้ชิดกันมากขึ้น รวมถึงการพัฒนาความสัมพันธ์ในทางที่ดี ระหว่างทั้งสองฝ่าย โดยเฉพาะความเชื่อถือไว้ใจซึ่งย่อมส่งผลต่อ brand loyalty และ positioning ทางการตลาด 5. ลดภาวะความเสี่ยงเรื่องหนี้เสียของสถาบันการเงิน โดยการเสริมสร้างความแข็งแรงของลูกค้า ใน การผ่อนชำระหนี้ ผ่านทางการพิจารณาให้สินเชื่ออย่างรับผิดชอบ และคำนึงถึงความสามารถและ เหตุผลที่แท้จริงของการขอกู้ 6. ลดความเสี่ยงและต้นทุนในการดำเนินกิจการทำให้มีความแข็งแรงและมีภูมิต้านทานต่อความ เปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจสูง 7. เป็นการปฎิบัติตามหลักธรรมาภิบาลต่อพนักงานให้มีหน้าที่การงานและฐานะการเงินที่มั่นคง 8. สร้างวัฒนธรรมองค์กรที่มีความรับผิดชอบและมุ่งมั่นสู่กิจการที่ยั่งยืน ให้พนักงานตระหนักถึง หน้าที่ การสร้างประโยชน์ต่อกิจการและสังคมอย่างมั่นคง 9. เกิดความสัมพันธ์ที่สร้างสรรค์กับหน่วยงานกำกับดูแล (regulators) ในฐานะหุ้นส่วนในการ สร้าง ระบบเศรษฐกิจการเงินที่มีคุณธรรมและยั่งยืน

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Responsible Financial Institutions; Key Issue Overview Series

การที่สถาบันการเงินไม่ได้มุ่งหวังในเรื่องผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่ให้ความสำคัญกับผลกระทบ ต่อสังคม โดยเฉพาะในรูปแบบของการให้สินเชื่ออย่างรับผิดซึ่งเป็นจรรยาบรรณในการดำเนิน ธุรกิจที่สำคัญที่สถาบันการเงินควรยึดถือปฎิบัติ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพ ความโปร่งใสในการ ดำเนินงาน ซึ่งย่อมจะทำให้เกิดการเติบโตอย่างยั่งยืน ที่มา • http://www.equator-principles.com/index.shtml • http://www.unepfi.org/ • http://www.syntao.com • http://socialinvesting.about.com • http://www.greenbiz.com/news/2009/02/11/ • http://www.treasury.gov.au/consumercredit/content/legislation.asp • http://www.bot.or.th/ • http://www.responsiblelending.org/

ChangeFusion Institute

Contact Walaiphorn Wajavuth [email protected]

Related Documents