เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ (1) ที่มาและความสำาคัญของปัญหา 1. บทบาทของการสื่อสารมวลชนในสังคมไทยปัจจุบัน คณะกรรมการราชบัญฑิตยสถาน แยกความหมายของ "การสื่อสารมวลชน" ดังต่อไปนี้ (1) สือ่ มวลชน (Mass Media) หมายถึงตัวสือ่ ชนิดของสื่อที่ใช้ทำาหน้าที่ติดต่ออาทิ หนังสือพิมพ์ วิทยุ โทรทัศน์ ดาวเทียม โทรศัพท์ โทรเลข ภาพยนตร์ (2) สือ่ สารมวลชน (Mass Communication) ก็คอื วิธกี ารทีใ่ ช้ในการติดต่อหรือถ่ายทอดข่าวสารไปสูม่ วลชน (3) นักสื่อมวลชน คือตัวบุคคลผูท้ ำาหน้าที่ในการติดต่อหรือหาข้อมูลข่าวสาร ในด้าน ความสัมพันธ์ของการสื่อสาร (มวลชน) กับวัฒนธรรม [1] ชัยรัตน์ คำานวณ กล่าวว่า "วัฒนธรรม คือสิ่งที่กำาหนดบทบาทในการสื่อสาร" ในขณะที่ "การสื่อสารก็คือ สิ่งที่กำาหนดแนวทางและมีบทบาทในการ ถ่ายทอดวัฒนธรรม" ทำาให้ "วัฒนธรรม" และ "การสื่อสาร" มีความหมายที่สัมพันธ์กันเป็นเหตุเป็นผลซึ่งกัน และกัน ในท้องถิ่นใดก็ย่อมมีลักษณะของการสื่อสารเป็นการเฉพาะ ทั้งภาษาพูดและภาษาเขียนที่ไม่เหมือนท้อง ถิ่นอื่น ๆ และต่างก็มีรูปแบบของวัฒนธรรมเป็นเอกลักษณ์เฉพาะของตนเองด้วย และดูเหมือนว่าจะเกิดขึ้นมา พร้อมกับการกำาเนิดของชุมชนหรือสัตว์สังคมแรกของโลกเลยทีเดียว หน้าที่ของการสือ่ สารในสังคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการใหญ่ (1) สำารวจสิ่งแวดล้อม (2) สร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในสังคม (3) ทำาหน้าที่ถ่ายทอดมรดกสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง จะเห็นได้ว่า หน้าที่ในข้อ 3 นั้นไม่เพียงแต่เป็นหน้าที่โดยธรรมชาติที่มีมาคู่กับสังคมเดิม หากแต่ยังเป็น หน้าที่หลักหรือภารกิจสำาคัญของการสื่อสารมวลชนในปัจจุบันด้วย และไม่เพียงแต่ผู้ทำาหน้าที่สื่อสารจะต้อง เข้าใจวิธีในการสือ่ ความหมายต่อกันเท่านั้น แต่หากว่าผู้ที่เป็นคนกลางในการทำาหน้าที่ติดต่อจำาต้องมีจิตสำานึกที่ ดีด้วย จิตสำานึกที่ดีทำาให้เกิดความรับผิดชอบขึ้นมา และความรับผิดชอบนี้เองที่ทำาให้การสื่อสารสมบูรณ์และมี คุณค่าเป็นการสือ่ สารที่สร้างสรรค์เกิดขึ้นในสังคมใดสังคมนั้นมีแต่ความเจริญ ดังนั้น "การสื่อสารมวลชน" จึงเป็นหัวใจของการพัฒนาสังคม ที่จำาเป็นต้องมีองค์ประกอบครบสาม ประการคือ หนึ่ง มีเสรีภาพในการสื่อสาร สอง มีจิตสำานึกที่ดีในการเป็นผู้ถ่ายทอด และ ประการสุดท้าย ก็คือ 1
ทีม่ า : หนังสือ สนท. 60 สมาคมหนังสือพิมพ์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ , 2544.
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
1
ต้องมีความรับผิดชอบ และ "นักสื่อสารมวลชน" ต้องเป็นบุคคลที่มีจิตวิญญาณ มีความรู้สึกนึกคิด และมีความ รับผิดชอบต่อผลงานที่ได้สอื่ สารออกไปไม่ว่าจะด้วยการสือ่ สารแบบใดก็ตาม จึงจะได้รับการยอมว่า คือบุคคลที่ เป็นนักข่าว นักจัดรายการวิทยุ โทรทัศน์ นักหนังสือพิมพ์ ผู้ประกาศข่าว หรือบุคคลอื่นใดที่ทำาหน้าที่ในการ ประสานการถ่ายทอดหรือติดต่อสื่อสารเพื่อเผยแพร่ข่าวสารไปยังมวลชนกลุ่มกว้าง ในปัจจุบัน สือ่ ทุกชนิดมีความสำาคัญไม่ยิ่งหย่อนไปกว่ากันเลย ส่วนที่ว่าสื่อใดจะมีอิทธิพลมากหรือน้อย เป็นที่นิยมของสังคมนั้นๆ แต่สำาหรับสังคมไทยแล้ว "การอ่านหนังสือพิมพ์กลายเป็นวัฒนธรรมที่ดีของคนทั้ง โลกไปแล้ว" นอกจากนี้ สือ่ สารมวลชนยังมีบทบาทต่อการเมือง เศรษฐกิจ การศึกษา วัฒนธรรม และด้านบันเทิง และ มีบทบาทต่อชีวิตและสิ่งแวดล้อม เสมือนเป็นองค์ประกอบหนึ่งของวิถีชีวิตมนุษย์ 2. ประเด็นปัญหาที่เกี่ยวกับสื่อมวลชน สือ่ มวลชน เป็นองค์กรทางสังคม ที่อยู่กึ่งกลางระหว่างรัฐ กับประชาชน ดังนั้น จึงเกิดประเด็นปัญหาที่ เกี่ยวกับสือ่ มวลชนว่า แท้จริงแล้วสือ่ เป็นองค์กรสาธารณะ ที่อยู่ในสายตาของคนทุกคน เลีย้ งชีพอยู่ด้วยความ ศรัทธา ความเชื่อถือของประชาชน ผ่านการขายข้อมูลข่าวสาร ซึ่งจะต้องรับผิดชอบอะไร ต่อใคร และหรือสือ่ ควรมีขอบเขตของเสรีภาพแค่ไหน และปัจจุบันสือ่ ได้รับอิสรภาพเพียงใด ภาพที่ 1 แผนภูมิแสดง ตำาแหน่งจุดยืนของสื่อ และสื่อมวลชน ท่ามกลางการใช้สิทธิโต้แย้งที่ผดิ ตรรกะ ของ 2 ฝ่าย (กรณีเหตุการณ์การชุมนุมประท้วงขับไล่-สนับสนุนรัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร เมื่อเดือน ก.พ.-มี.ค. 2549)
แผนภูมิดังกล่าว เป็นกรณีศึกษาในช่วงวิกฤติทางการเมือง ของรัฐบาลยุค พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร จะเห็น ว่า สถาบันพระมหากษัตริย์ ได้รับการถูกเชือ่ มโยงจากกลุ่ม หรือฝ่ายต่างๆ ทั้งในยามสงบ และในยามปกติ กล่าว คือ ในยามปกติ ก็ใช้เป็นช่องทางในการขายโฆษณาแฝง โดยใช้ข้อความ "ทรงพระเจริญ" หรือ ข้อความอื่นใด ในการใช้ข้อความเพื่อสื่อให้เห็นว่า เจ้าของสื่อเป็นผู้มีความจงรักภักดี นั้นเป็นสิ่งที่ดีไและด้กระทำาติดต่อ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
2
กันมาจนเป็นประเพณี แต่ก็แฝงด้วยธุรกิจค้าขาย ก็ยังดูไม่น่าเกลียด และบางครั้งก็ดูดี ที่อาศัยพระบารมีของ พระเจ้าอยู่หัวไปเป็นช่องทางประกอบวิชาชีพ ซึง่ ประชาชนในสังคมยอมรับได้ แต่ถา้ วิเคราะห์ให้ลุ่มลึกแล้ว มัน ได้กลายเป็นวัฒนธรรมแห่งการอ้างความชอบธรรมของผู้เป็นเจ้าของสื่อในการโฆษณา ซึ่งผูอ้ ่านจะคิดหรือ สำาเเหนียกในพระบรมราโชวาทของพระเจ้าอยู่หัวมากน้อยเพียงไร โดยอ้างคำาว่า รักในหลวง แต่แท้จริงแล้ว ฝ่าย ที่ดอ้ ยอำานาจทางการเมือง กลับเป็นฝ่ายที่เชื่อฟังคำาสั่งในพระราชดำารัสมากว่าฝ่ายที่ใช้อำานาจรัฐ เพราะการแสวง ผลประโยชน์ (ที่มากมายมหาศาล) ด้วยวิธีไม่ชอบธรรมนั้น ทำาให้ดูเหมือนขัดกับกระแสพระราชดำารัส ส่วนในยามวิกฤติ ต่างก็ใช้เป็นข้ออ้างเพื่อสนับสนุนการกระทำาของฝ่ายตน เพือ่ ให้เกิดความชอบธรรม โดยไม่ดูที่เนื้อหาสาระของการกระทำา ว่าถูกต้องตามคลองธรรมหรือไม่ แต่ก็ได้ดึงฟ้าสูงให้ตำ่าลงมาแล้ว แต่ถา้ มองอีกมุมหนึ่งที่ต่างออกไป นับเป็นความโชคดีของประเทศไทย ที่ยามวิกฤติของบ้านเมือง ก็ยังมีสถาบันพระ มหากษัตริย์ ทีเ่ ป็นที่พึ่งให้แต่ละฝ่ายเกิดความมั่นใจ แต่ผลร้ายกลับไปตกที่พระเจ้าอยู่หัว กลายเป็นความไม่ เหมาะสม รบกวนเบื้องพระยุคลบาทไป สรุปว่า สือ่ ในฐานะองค์กรที่อยู่ทา่ มกลางกลุ่มคนตั้งแต่ 2 ฝ่ายขึ้นไป แม้ในยามปกติหรือไม่ปกติก็ตาม การกำาหนดบทบาท ท่าที ต่างๆ ของสื่อว่า จะอยู่ฝั่งใดฝั่งหนึ่ง ย่อมไม่พ้นข้อพันธะกรณีที่สังคมจะเรียกขาน หรือ ให้ความไว้วางใจ สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งประชาชน เรียกว่า “สื่อสร้างสรรมวลชน” เพราะเอือ้ ประโยชน์มหาชน สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งนายทุน เรียกว่า “สื่อวังวนโลกียะ” เพราะเอือ้ ต่อทุนนิยม-บริโภคนิยม สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งนักการเมือง (แกงค์การเมือง) เรียกว่า “สื่อสาระศาสตรา” เพราะถูกใช้เป็นเครื่องมือแสวง ประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องของนักการเมือง สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งนักวิชาการ เรียกว่า “สื่อสารกัลยาณชน” เพื่อมุ่งนำาเสนอสาระที่เป็นเหตุ เป็นผล มีหลักฐาน อ้างอิงที่พิสูจน์ได้ และเป็นจริง สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งศีลธรรม ฝัง่ เทพ และพระเจ้า เรียกว่า “สื่อแดนคนโลกุตระ” เพราะมุ่งนำาเสนอหลักธรรมปฏิบัติ ให้คนพ้นทุกข์พ้นปัญหาชีวิต สือ่ ทีอ่ ยู่ฝั่งไสยศาสตร์ เรียกว่า “สื่ออสาระโลกันต์” เพราะไม่ชอบและไม่ยุ่งการเมือง รวมทั้งเรื่องความขัด แย้ง มุ่งเสนอเรื่องภูติผี เรื่องลามก เรื่องตลกไร้สาระ 3. องค์กรสื่อ และ ความน่าเชื่อถือ ความน่าเชื่อถือของประชาชนที่มีต่อสื่อ นับว่าเป็นทุนอย่างหนึ่งของความเป็นสื่อสารมวลชน เพราะหาก ประชาชนไม่ไว้วางใจ หรือขาดความเชื่อถือ ข้อมูลข่าวสารใดๆ ที่นำาเสนอต่อประชาชน ก็ไม่ได้รับความเชื่อถือ ถ้าหนังสือพิมพ์ ก็คือกระดาษเปื้อนหมึก ถ้าเป็นวิทยุกระจายเสียง ก็คือคนบ้าเสียสติ ถ้าเป็นโทรทัศน์ ก็คือนัก มายากล ถ้าเป็นสื่อบุคคล ก็คือ คนลวงโลก ดีๆ นี่เอง (ความจริง "ไม่ดี") และถ้าไม่รีบเร่งแก้ไข ปรับเปลี่ยน กระบวนทัศน์ ปรับเปลี่ยนบทบาทท่าที ก็จะมีเวลาแสดงบนบรรณพิภพน้อยลงไปทุกที เท่ากับว่าได้กลืนกิน ต้นทุนของตนเองลงไปทุกวันๆ ดังนั้น สือ่ จะต้องรีบจัดสรรบทบาทหน้าที่ของตน ให้มีคุณค่าโดยอาศัยเกณฑ์ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
3
องค์กรข่าว เป็นตัวชี้วัดว่าควรจะทำาหน้าที่ให้อยู่ในระดับใด องค์กรข่าว มี 5 ระดับ คือ (นิพนธ์ นาคสมภพ: 2549) (1) ระดับการชวนเชื่อ Propaganda นับเป็นองค์กรข่าวที่ได้รับการไว้วางใจตำ่าสุด เพราะมุ่งรับใช้ อำานาจของนักการเมืองมากเกินไป หรือมุ่งผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของสือ่ มากเกินไป แต่กลับละเลย ประชาชน โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อทีส่ ่งผลเสือ่ มเสียต่อวินัยทางศีลธรรม วินัยทางการเงิน และวินัยทาง สังคม ของประชาชน (วินัยทางศีลธรรมเสือ่ มเสีย ทำาให้เกิดอาชญากรรม วินัยทางการเงินเสื่อมเสีย ทำาให้ เศรษฐกิจตกตำ่า วินัยทางสังคมเสื่อมเสีย ทำาให้คนฉลาดกลายเป็นคนโง่ในการทำาดี และทำาให้คนโง่กลายเป็นคน ฉลาดในการทำาเลว) (2) ระดับการบริการข่าวสาร หรือ News & Information service (News Center) ซึ่ง 2 ระดับนี้จัด เป็นการสื่อสารของเอกชน หรือ Private communication มุ่งเสนอข่าวสารทั่วไป บางครั้งทำาให้ขาดการคัดเลือก คุณค่าทางจริยธรรมไปบ้าง เพราะมุ่งเรื่องการค้าเป็นหลัก (3) ระดับมาตรฐาน Standard มีความเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมสูง มี ส่วนในการสร้างสรรสังคม ไม่มุ่งเพื่อการค้าอย่างบ้าคลั่ง (4) ระดับวิชาชีพ หรือ Professionalism มีความเป็นสถาบันที่รับผิดชอบต่อสังคมถึงระดับคุณธรรม ศีล ธรรม มีความกล้าหาญทางคุณธรรมสูง มีอำานาจมีอิสระเสรีภาพ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง (5) ระดับประโยชน์สาธารณะ หรือ Public service (Social) เป็นสถาบันสื่อที่มีคุณค่าสูงสุดของสังคม ประชาชนทุกภาคส่วนให้การยอมรับ ทุกคำาทุกประโยค มีคุณค่าแห่งความน่าเชือ่ ถือ หนักแน่น มีความเป็น วิชาการสูง ซึง่ 3 ระดับหลังนี้ จัดเป็นการสื่อสารมวลชน (Mass communication) และจัดเป็นองค์กรข่าวที่ได้รับความ ไว้วางใจสูงสุด
(2) วัตถุประสงค์ของการศึกษา 1. เพือ่ ศึกษาสถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่าง อำานาจรัฐ กับเสรีภาพของสื่อ และระหว่างจรรยาบรรณ ของสื่อ กับ ความรับผิดชอบต่อสังคม 2. ต้องการทราบบทบาทของสือ่ ในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน 3. เพือ่ เสนอบรรทัดฐานใหม่ในการกำาหนดขอบเขตเสรีภาพในการกระจายข่าวสารของสื่อ ใน ท่ามกลางวิกฤติของสังคม 4. เพือ่ ค้นหาดุลยภาพในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน และการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง ผ่านสื่อสารมวลชน ที่ไม่ก่อให้เกิดความรุนแรง
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
4
รายงานการศึกษาฉบับนี้ มีแนวทางการศึกษาดังแผนภูมิต่อไปนี้ สถานการณ์ อิสรภาพ และ บทบาทใหม่ การมีส่วนร่วมทางการเมือง ---> ---> ---> บทบาท หน้าที่ ความรับผิดชอบ ของสือ่ ภาคประชาชนผ่านสือ่ มวลชน บทบาทหน้าที่ของสื่อ และสื่อมวลชน ในสังคมไทยปัจจุบัน เป็นปัจจัยหนึ่งและมีส่วนในการกำาหนด ภาระความรับผิดชอบต่อสังคม และอิสระภาพจากการครอบงำาของอำานาจทางการเมือง ทั้งนี้จะได้ศึกษาว่ามี ปัจจัยแทรกใดบ้างที่เป็นปัญหาต่อความมีอสิ รภาพของสือ่ และการเรียกร้องให้สื่อมีความรับผิดชอบต่อสังคม ด้วย ซึ่งจากการสืบค้นข้อเท็จจริงจะนำาไปสู่การนำาเสนอบทบาทใหม่ของสื่อ ให้เป็นบรรทัดฐานของสังคมในยุค โลกาภิวัฒน์ เพือ่ วางรากฐานให้เป็นองค์กรสือ่ ที่มีประสิทธิภาพ หรือเป็นองค์กรสื่อระดับสาธารณะ (Public Service) พร้อมที่จะเป็นเวทีกลางในการสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
(3) ความคาดหมายที่จะได้รับจากการศึกษา 1. บทบาทความรับผิดชอบของสื่อ และสื่อมวลชน ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคม 2. เสนอบรรทัดฐานใหม่ต่ออำานาจรัฐ ในการให้อสิ ระภาพการกระจายข่าวสารของสือ่ ท่ามกลางวิกฤติ ของสังคม และในการกำาหนดบทบาทความรับผิดชอบของสื่อเอง แม้ในยามสังคมสงบสุข
(4) แหล่งข้อมูลอ้างอิง ข้อมูลจากเอกสาร (Documentary Study) 1. แนวคิด ทฤษฎีทางการสื่อสาร ที่นำามาประกอบการวิเคราะห์ในรายงานฉบับนี้ 1.1 แนวคิดเรื่องสื่อสารมวลชนผลของการสื่อสาร (Effect Approacth) การเป็นผู้นำาทางความคิด (Opinion Leader) หลักการปฏิบัติหน้าในฐานะผูเ้ ปิดปิดประตูข่าว (Gatekeeper) การกำาหนดวาระของสือ่ (Agenda Setting) แนวคิดนี้เป็นแนวคิดที่มีทิศทางการใช้อำานาจควบคุม สือ่ จากด้านบน (อำานาจรัฐ) สู่ด้านล่าง (สือ่ ) แบบจำาลอง A dependency model of mass-media effect ของ Rokeach & DeFleur (1976)
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
5
Ag enda S etti ng t heory | T he Ag enda-setti ng f uncti on o f m ass -m edia เกิดจากแนวคิดของ McCombs & Show D.L. (1972) มัลคอล์ม แม็คคอมส์ และ โดนัลด์ โชว์ มุ่งวิเคราะห์ หน้าที่ และผลของการสื่อสาร (จัดอยู่ในกลุ่ม Effect Approach)
Topic/issue
Select by Mass comm.
X1 X2 Xn
[][][][][][][][][][][][] [][] [][][][][][]
Awareness & Attention of Public
X1 2
X
Xn
ลิพพ์มันน์ (Lippmann, W. (Public opinion Journal, 1922) กล่าวว่า "สือ่ มวลชนมีบทบาทในการสร้าง ภาพต่างๆ ในหัวสมองของคนเรา" โคเฮ็น (Cohen, B.C. : 1963) กล่าวว่า สิง่ ที่สื่อต้องทำาต่อประชาชน คือ What to think about (เรือ่ งอะไร ที่ควรคิด) แนวคิดนี้เป็นอุปสรรคต่อการมีอิสรภาพของสื่อ มองสือ่ เป็นเครื่องมือของการใช้อำานาจ เพือ่ ใช้กระทำาต่อ ประชาชนผู้อยู่ภายใต้การปกครอง หรือ มองประชาชนเป็นเครื่องจักรกล (Homo Machanicus) ที่ต้องใส่ข้อมูล (Input data) เข้าไป เพื่อให้แสดงผลอย่างใดอย่างหนึ่งในการตอบสนอง
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
6
1.2 แนวคิดเรื่องอรรถประโยชน์ของผู้รับสาร (Uses and Gratificaiton Approach)
ทฤษ ฎี ความโ น้มเอี ยง (Co-Ori entati on t heory )
พัฒนามาจากการสื่อสารภายในบุคคล มาเป็นการสือ่ สารระหว่างบุคคล และเมื่อแทนค่า A และ B ด้วย กลุ่มคน หรือมหาชน ทำาให้เกิดทฤษฎีทางการสื่อสารอีกหลายทฤษฎีในกลุ่มทฤษฎีการสื่อสารมวลชน โดยมอง ว่า ประชาชนผู้รับสารมีอิทธิพลต่อการเสนอข่าวสารอย่างไร ส่งผลให้สื่อและสื่อสารมวลชน จำาต้องกำาหนด บทบาท ภารกิจของตนเพื่อตอบสนองความต้องการของประชาชนผู้รับสาร
ทฤษ ฎี โคร งสร้ าง หน้า ที ่ (Struct ural F uncti onalist Ap proach) หน้าที่รับผิดชอบ
ทฤษฎีนี้พัฒนาและต่อยอดมาจากทฤษฎีความโน้มเอียง โดยกล่าวว่าถ้าต้องทำาหน้าที่เพื่อสนองต่อ ประชาชนผู้รับสารว่าประชาชนต้องการอะไร จึงเป็นปัจจัยทำาให้เกิดการกำาหนดบทบาทของตัวสื่ออย่างเป็น ธรรม โดยสรุป โครงสร้างหน้าที่มีพัฒนาการมาตลอด ดังนี้ นักการสื่อสารมวลชน Laswell (1948)
Wright (1960)
Schramm (1964)
Kaviya (2005)
Sudin (2006)
Surveillance
Surveillance
Watchman
Verify
Virify
Correlation Transmission of social heritage
Correlation Transmission of social heritage
Forum
Information
Information
Teacher
Education
Education
Warning
Warning
Entertainment Self Protection ทำาให้เกิดการจำาแนกภารกิจของสือ่ มวลชนได้ดังนี้ 1. ภารกิจหรือหน้าที่พื้นฐานที่มีต่อสังคม (Principle functions of mass media for society) (1) ด้านสารสนเทศ (Information) ในเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สภาพ เงือ่ นไข สถานการณ์ของ โลก และสังคม ความเกี่ยวข้องเชื่อมโยงของอำานาจต่างๆ การเผยแพร่นวัตกรรม คุณภาพชีวิต (2) ด้านความสัมพันธ์เกี่ยวโยงในสังคม (Correlation) โดยการอธิบาย ตีความ เสนอแนะ วิจารร์ ในเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานการณ์ ข่าวสารต่างๆ ให้การสนับสนุนต่อองค์การต่างๆ ภายใต้ 7 รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
บรรทัดฐานและศีลธรรมของสังคม มีการอบรมศีลธรรมอันดี เป็นตัวเชือ่ มร้อยกิจกรรมต่างๆ ในสังคม ชุมชน สร้างความสามัคคี สร้างประชามติ จัดลำาดับความสำาคัญทางชนชั้น และสถานการณ์ต่างๆ (3) ด้านความต่อเนื่อง (Continuty) ทางวัฒนธรรม ให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่าง และพัฒนาวัฒนธรรมใหม่ที่ดี ส่งเสริมการรักษาค่านิยมที่ดี (4) ด้านความบันเทิง (Entertainment) ความสนุกสนาน เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆ (5) ด้านการเคลื่อนไหวผลักดันทางวัฒนธรรม (Mobilization) โดยการณรงค์ในรูปแบบต่างๆ 2. บทบาทหน้าที่ที่มีต่อการเป็น "ทนายหน้าหอ" (1) สารสนเทศ (Informational Technology) ให้สาระเกี่ยวกับจุดมุ่งหมาย และเกี่ยวกับกิจกรรม ขององค์กรต่างๆ ให้สาระเกี่ยวกับเหตุการณ์ และสถานการณ์ภายนอกที่เกี่ยวข้อง จัดลำาดับความสำาคัญ ก่อนหลัง ตามผลประโยชน์ของผูเ้ ป็น "ทนายหน้าหอ" ให้สาระและเรียกร้องด้านการโฆษณา และให้การ ศึกษาและการณรงค์ด้านข่าวสาร (2) การตีความ ได้แก่ ตีความด้านสาระ เหตุการณ์ ให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของผู้ประกอบ สาร (ทนายหน้าหอ) สร้างความคิดเห็น ประชาสัมพันธ์ สร้างภาพลักษณ์ วิพากษ์วิจารย์คู่แข่งขัน (3) การแสดงออก แสดงออกในเรื่องเกี่ยวกับความเชื่อ ค่านิยม อุดมการณ์และหลักการต่างๆ ช่วย พัฒนาจิตสำานึกของการเป็นเข้าเจ้าขององค์กรทางสังคม (4) การผลักให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม ด้วยการกระตุ้นความสนใจ กระตุ้นให้เกิดการเขข้า ไปมีส่วนร่วมของภาคประชาชนทั้งในด้านการสนับสนุนและคัดค้าน จัดดำาเนินการกิจกรรมต่างๆ ให้แก่ สมาชิก พยายามโน้มน้าวใจให้เกิดการเปลี่ยนแปลง (Agenda) การหาเงินทุน การสร้างอิทธิพลต่อผู้ บริโภคทางสือ่ โฆษณา 3. บทบาทหน้าที่ที่มีต่อภารกิจของตนเอง คือภารกิจด้านสารสนเทศ ด้านการตีวาม ด้านการแสดงออกทางวัฒนธรรม และการพัฒนาทาง วัฒนธรรม ด้านความบันเทิง และด้านการผลักดันให้เกิดการเคลื่อนไหวทางสังคม 4. บทบาทหน้าที่ที่มีต่อปัจเจกชน คือภารกิจที่ต้องตอบสนองให้ประชาชนในด้านการได้รับข่าวสาร สารสนเทศ การเพิ่มศักยภาพ แรงเสริม รูปแบบพฤติกรรม ในความเป็นส่วนตัว การติดต่อสัมพันธ์จนเกิดการรวมตัวกันในสังคม และการได้รับความ บันเทิง
ทฤษ ฎี การเ ข้ามี ส่ วนร ่วม อย ่า งเป็น ประ ชาธ ิ ปไ ตย (Democrati c-Part icip at ion M edia T heory) ทฤษฎีนี้ กำาหนดแนวคิดว่า สือ่ มวลชนควรทำาตนให้เป็นประโยชน์ต่อพลเมือง ซึ่งเป็นผู้รับสาร ส่วนใหญ่ ของประเทศ ไม่ใช่เพื่อองค์กรสื่อสารมวลชน และไม่ใช่เพื่อผู้ประกอบวิชาชีพสือ่ สารมวลชน ที่สำาคัญไม่ใช่เพื่อ ผูอ้ ุปถัมภ์ต่อสือ่ มวลชน รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
8
องค์กรและเนื้อหาของสือ่ มวลชนที่นำาเสนอออกไป ไม่ควรอยู่ภายใต้การควบคุมทางการเมือง ไม่เห็น ด้วยกับการบริหารประเทศแบบรวมอำานาจเข้าสู่ส่วนกลาง แต่เน้นการกระจายอำานาจไปยังองค์กรส่วนท้องถิ่น โดยต้องการให้ประชาชนในท้องถิ่นมีโอกาสเข้าถึงสื่อสารมวลชนให้มากกว่าทีเ่ ป็นอยู่ Mcquail กล่าวว่า องค์กรสื่อมวลชนมีลักษณะคล้ายพ่อปกครองลูกมากเกินไป หรือคล้ายอภิชนมากเกิน ไป หรือกล่าวว่าใกล้ชิดกับผู้มีอำานาจมากเกินไป จนสะท้อนแต่ความคิดเห็นของผู้มอี ำานาจ หรืออย่างดีที่สุดก็ สะท้อนรสนิยมทั่วไป มากกว่าจะสะท้อนความต้องการที่แท้จริงของประชาชนระดับล่างซึ่งเป็นประชากรส่วน ใหญ่ของประเทศ ดังนั้น การนำาเสนอด้านเนื้อหาสาระ และข่าวสาร จึงมุ่งให้ความสำาคัญต่อคุณค่า ความเสียสละ ของ ประชาชน เพราะการเสียสละ เป็นปัจจัยสำาคัญให้เกิดความสามัคคีทั้งในระดับองค์กรและระดับชาติ 1.3 แนวคิดเรื่องปทัสถานของสื่อในการปฏิบัติหน้าที่ภายใต้บรรทัดฐานของสังคม
การใช ้อำา นาจ หร ือ อำาน าจน ิยม (Aut horitari anism ) ผูม้ ีอำานาจจะใช้สอื่ มวลชนเป็นพาหนะนำาสาร ข้อมูลเพื่อการครอบงำาสังคม และเพือ่ ครอบครองอำานาจ โดยกล่าวว่า หนังสือพิมพ์ต้องไม่มีบทบาทหน้าที่เป็นผู้ทำาลายรัฐบาล (The press must de-function as government underminer) สือ่ จะต้องถูกตรวจสอบ (Censorship) โดยเจ้าหน้าที่รัฐ นักปรัชญาที่ยึดมั่นใน อุดมการณ์แนวทางนี้ ได้แก่ Plato, Machiavelli, Hobbes, Hegel
การ เรีย กร้องอ ิ สระ เสร ีภ าพ หร ือ อิ สระ ภาพ นิ ยม (Libertarianism ) แนวคิดนี้เกิดจากแรงกดดันของแนวคิดแรก ที่ต้องการจะให้หลุดพ้นจากการครอบงำาทางการเมือง โดย อ้างสิทธิมนุษยชนเป็นความชอบธรรม เสรีภาพของหนังสือพิมพ์มิใช่เพียงเครื่องมือขงอการแสดงออกของ บุคคลเท่านั้น แต่ยังเป็นเครือ่ งแสวงหาสัจจะของสังคม เป็นตลาดเสรีของความคิดอ่าน (Free market of ideas) แต่แนวคิดก็มีจุดอ่อนตรงที่ ขอบเขตของเสรีภาพควรจะมีอยูเ่ ท่าใด ถ้ามีเสรีภาพกินขอบเขตไปถึงความีอภิสิทธิ์ (Privileged function) ซึง่ กลายเป็นอำานาจที่เหนือกว่าบุคคลธรรมดา
ความรั บผิ ดชอ บต่อ สั ง คม (Social R esp ons ibi lity) เป็นแนวคิดที่เรียกร้องความสุดโต่งของ 2 แนวคิดแรก ที่ว่าสือ่ ต้องมีเสรีภาพตามแนวคิดอิสรภาพนิยม แต่ขณะเดียวกันก็ต้องมีความรับผิดชอบต่อสังคมควบคู่กันไปด้วย ทำาให้เกิดบทสรุปในการกำาหนดบทบาทของ สือ่ ไปพร้อมๆ กับกำาหนดหน้าที่ของประชาชนด้วย ดังนี้ (1) ต้องมีการพัฒนาสาธารณชน ในการเข้าไปจัดการการบริหารการเสนอข่าว เพือ่ ให้สื่อมีความรับผิด ชอบต่อสังคมด้วย (2) ต้องมีการพัฒนาตัวสื่อเองด้วย ให้มีคุณภาพ คุณธรรม 2. หลักกฎหมาย ที่นำามาอ้างอิง 2.1 การควบคุมสือ่ โดยรัฐ เช่น รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540 พระราช รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
9
บัญญัติเกี่ยวกับสือ่ สารมวลชน เช่น พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 พระราชบัญญัติ วิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ พ.ศ.2530 พระราชบัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำากับ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 2.2 การควบคุมสือ่ โดยวิชาชีพและจรรยาบรรณ เช่น ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพ หนังสือพิมพ์ สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. 2541 หลักจริยธรรมของการสือ่ สาร 2.3 การใช้สิทธิเสรีภาพและการคุ้มครอง ในการแสดงความคิดเห็นของประชาชน ตามพระราช บัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษญชนแห่งชาติ พ.ศ.2542
(5) ผลการวิเคราะห์ข้อมูล ก. สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างอำานาจรัฐ กับ สื่อ/สื่อสารมวลชน/สื่อมวลชน และประชาชน 1. สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสือ่ 1.1 ด้านอิสระภาพ และเสรีภาพ "ถ้ามองในด้านตัวสื่อเองแล้ว สือ่ ใช้ทรัพยากรมหาศาลของโลก อาทิ พลังงานไฟฟ้า ป่าไม้ แร่ธาติ จน กลายเป็นส่วนหนึ่งของการกินอนาคตโลก แต่สื่อโดยรวมก็ยังไม่สามารถปฏิบัติภารกิจทางวิชาชีพได้อย่างมี ประสิทธิภาพเท่าที่ควร… "อิสรภาพสำาคัญกว่าเสรีภาพ เพราะเสรีภาพมักอยู่ในกรอบที่ผู้อื่นกำาหนด… แต่อิส ภาพคือ อาณาจักรของเราที่ไม่มีใครล่วงลำ้าได้" ในประเทศเผด็จการ อำานาจนิยม หรือเบ็ดเสร็จนิยม เสรีภาพของสือ่ มวลชน หมาถยึงเสรีภาพเพื่อรายงาน และเสนอความิคดเห็นที่เป็นประโยชน์เชิงสาธารณะ (Public insterist) ต่อสังคม และเว้นการเสนอสิ่งเร้าอารมณ์ ความรู้สึก (sensationalism) ที่เป็นความต้องการของปุถุชน แต่ในประเทศเสรีนิยมอย่างเช่น ประเทศไทย เสรีภาพของสือ่ มวลชน หมายถึง เสรีภาพจาก (Freedom from) การควบุคมของรัฐหรือรัฐบาล เป็นเสรีภาพที่จะ เสนออะไรก้ได้ ตราบเท่าที่ไม่ผิดกฎหมาย หรือละเมิดจริยธรรมทางวิชาชีพ อิสรภาพจึงมีความสำาคัญกว่าเสรีภาพ เพราะอิสรภาพเท่านั้นที่จะนำาไปสูเ่ สรีภาพที่มีความหมายสูค่า ต่อ ตนเอง ต่อเพือ่ นมนุษย์ ต่อสังคม และต่อโลก" (ตอนหนึ่งของบทนำาในหนังสือ วารสารศาสตร์ใหม่, สมควร กวียะ. วารสารศาสตร์ใหม่ EARTH Journalism. (กรุงเทพมหานคร: บ้านหนังสือโกสินทร์, 2549)) พระราชบัญญัติ คณะกรรมการสิทธิมนุษญชนแห่งชาติ พ.ศ.2542 ในมาตรา 3 ได้ให้ความหมายของ " สิทธิมนุษยชน" หมายความว่า ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ เสรีภาพและความเสมอภาค ของบุคคล ที่ได้รับการ รับรอง หรือคุ้มครองตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย หรือตามกฎหมายไทย หรือตามสนธิสัญญาที่ ประเทศไทย มีพันธกรณี ที่จะต้องปฏิบัติตาม ดังนั้นสิทธิของมนุษยชน ก็เป็นสิทธิพื้นฐานของมนุษยทุกคนที่ควรจะได้รับการคุ้มจากรัฐ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
10
สิทธิและเสรีภาพของประชาชน เป็นพื้นฐานในการปกครองในระบอบประชาธิปไตย ในรัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 ได้บัญญัติเกี่ยวกับสิทธิและเสรีภาพของประชาชนไว้ว่า มาตรา ๔ ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และเสรีภาพของบุคคล ย่อมได้รบั ความคุม้ ครอง สิทธิ หมายถึง หน้าที่ที่จะต้องกระทำาหรือละเว้นการกระทำาทีม่ ตี ่อผู้อื่น เสรีภาพ หมายถึง อำานาจที่มีอยู่ เหนือตัวเองของมนุษย์ ทีจ่ ะกระทำาสิ่งใดๆ หรือละเว้นไม่กระทำาสิ่งใดๆ ตราบเท่าที่ไม่ไปละเมิดผู้อื่น มาตรา ๒๖ การใช้อำานาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำานึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิ และ เสรีภาพตามบทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญนี้ มาตรา ๒๘ บุคคลย่อมอ้างศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์หรือใช้สทิ ธิและเสรีภาพของตนได้เท่าที่ไม่ละเมิด สิทธิและเสรีภาพของบุคคลอื่น ไม่เป็นปฏิปักษ์ต่อรัฐธรรมนูญ หรือไม่ขดั ต่อศีลธรรมอันดีของประชาชน บุคคลซึ่งถูกละเมิดสิทธิหรือเสรีภาพที่รัฐธรรมนูญนี้รบั รองไว้ สามารถยกบทบัญญัตแิ ห่งรัฐธรรมนูญนี้ เพื่อใช้สิทธิทางศาลหรือยกขึ้นเป็นข้อต่อสู้คดีในศาลได้
จะเห็นว่า รัฐธรรมนูญ ได้ให้ความสำาคัญของศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ การใช้อำานาจที่ไม่ชอบธรรม ข่มเหงรังแกย่อมเป็นความผิด เช่น มาตรา 31 ที่บัญญัติไว้ว่า "บุคคลย่อมมีสิทธิและเสรีภาพในชีวิตและร่างกาย การทรมาน ทารุณกรรม หรือการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุษยธรรม จะกระทำามิได้ แต่การ ลงโทษประหารชีวิตตามที่กฎหมายบัญญัติ ไม่ถือว่าเป็นการลงโทษด้วยวิธีการโหดร้ายหรือไร้มนุ ษยธรรมตาม ความในวรรคนี้ การจับ คุมขัง ตรวจค้นตัวบุคคล หรือการกระทำาใดอันกระทบต่อสิทธิ และเสรีภาพตามวรรคหนึ่ง จะ กระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย" หากรัฐบาลกระทำาลงไป เท่ากับเป็นการละเมิดหลักสิทธิมนุษยชน ดังเช่น กรณีการฆ่าหมู่ ในสามจังหวัด ภาคใต้ และการฆ่าตัดสอนกรณีการปราบปรามผู้ค้ายาเสพติด หากบุคคลมีฐานะเป็นสือ่ มวลชน ความรับผิดชอบย่อมแตกต่างจากบุคคลธรรม คือต้องมีความรับผิดชอบ สูงขึ้น เพราะอิสรเสรีภาพที่สังคมมอบให้นั้นมากกว่าบุคคละรรม ดังนั้น ย่อมต้องมีกฎหมายคุ้มครองเพิ่มเติม ดัง ในมาตรา 39 ดังนี้ "มาตรา ๓๙ บุคคลย่อมมีเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การเขียน การพิมพ์ การโฆษณา และการสือ่ ความหมายโดยวิธอี ื่น การจำากัดเสรีภาพตามวรรคหนึ่งจะกระทำามิได้ เว้นแต่โดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย เฉพาะเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ เพื่อคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ เกียรติยศ ชือ่ เสียง สิทธิในครอบครัวหรือ ความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคลอื่น เพือ่ รักษาความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน หรือ เพือ่ ป้องกันหรือระงับความเสื่อมทรามทางจิตใจหรือสุขภาพของประชาชน การสั่งปิดโรงพิมพ์ สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือสถานีวิทยุโทรทัศน์ เพื่อลิดรอนเสรีภาพตามมาตรา นี้ จะกระทำามิได้ การให้นำาข่าวหรือบทความไปให้เจ้าหน้าที่ตรวจก่อนนำาไปโฆษณาในหนังสือพิมพ์ สิง่ พิมพ์ วิทยุ กระจายเสียง หรือวิทยุโทรทัศน์ จะกระทำามิได้ เว้นแต่จะกระทำาในระหว่างเวลาที่ประเทศอยู่ในภาว รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
11
การณ์สงคราม หรือการรบ แต่ทั้งนี้จะต้องกระทำาโดยอาศัยอำานาจตามบทบัญญั ติแห่งกฎหมายซึ่งได้ตรา ขึ้นตามความในวรรคสอง เจ้าของกิจการหนังสือพิมพ์หรือสือ่ มวลชนอื่นต้องเป็นบุคคลสัญชาติไทย ทั้งนี้ ตามที่กฎหมาย บัญญัติ การให้เงินหรือทรัพย์สนิ อย่างอืน่ อุดหนุนหนังสือพิมพ์หรือสือ่ มวลชนอืน่ ของเอกชน รัฐจะกระทำามิได้" นอกจากสื่อจะได้รับสิทธิเสรีภาพตามรัฐธรรมนูญแล้ว (วรรแรก) สือ่ เองยังจะต้องรับผิดชอบต่อการ ละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือไปกระทบต่อความมั่นคงของรัฐ (วรรคสอง) และรัฐก็จะต้องให้ความคุ้มครอง สือ่ ไม่ใช้อำานาจไปรังแกสื่อ กฏหมายก็ได้ห้ามไว้เช่นกัน (วรรคสาม) แต่สอื่ เองก็ต้องรู้กาลแห่ง สถานการณ์บ้านเมืองในยามวิกฤติด้วย ที่จะนำาเสนอข่าวสารอย่างไร กฏหมายได้ให้อำานาจรัฐในการ ตรวจสอบสือ่ ในยามวิกฤติ แต่ในยามปกติจะกระทำามิได้ (วรรคสี่) แต่ถ้าปล่อยให้เสรีภาพของสือ่ ตกไปอยู่แก่คนต่างชาติ ก็นับว่าเป็นอันตราย กฎหมายจึงห้ามคนต่าง ชาติมาเป็นเจ้าของสื่อสารมวลชน (วรรคห้า) กรณีรัฐบาลของ พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ได้ขายสิทธิ์การ ครอบครองดาวเทียมให้แก่สิงคโปร์นั้น จะเข้าข่ายการละเมิดรัฐธรรมนูญมาตรานี้หรือไม่ เป็นสิ่งที่ควร พิจารณา วรรคสุดท้าย เป็นประเด็นสำาคัญในเรื่องของอิสรภาพของสือ่ เพราะถ้าปล่อยให้มีการละเมิดตาม มาตรา วรรคสุดท้ายนี้ เท่ากับเป็นการครอบงำาสือ่ เกือบหมดสิ้น ไม่หลงเหลืออิสรภาพใดๆ ไว้เลย 1.2 ด้านความรับผิดชอบ ด้านความรับผิดชอบของสือ่ มวลชน หรืออาจกล่าวได้ว่า คือหน้าที่ของสื่อนั่นเอง ที่จะต้องปฏิบัติตา มกฏหมาย ได้แก่ 1.2.1 รับผิดชอบต่อองค์พระมหากษัตริย์ และรัฐทายาท ตอลดจนผูส้ ำาเร็จราชการแทนพระองค์ การเสนอข่าวเพือ่ ประโยชน์สาธารณะใดๆ ต้องไม่ไปละเมิดต่อพระมหากษัตริย์ ดังปรากฏในประมวลกฏ หมายอาญา มาตรา 112 ดังนี้ "มาตรา 112 ผู้ใดหมิ่นประสาท ดูหมิ่น หรือแสดงความอาฆาตมาดร้ายพระมหากษัตริย์ พระราชินี รัชทายาท หรือผูส้ ำาเร็จราชการแทนพระองค์ ต้องระวางโทษจำาคุก ตั้งแต่สามปีถึงห้าปี" 1.2.2 รับผิดชอบต่อความมั่นคงของรัฐ มาตรา 116 ประมวลกฎหมายอาญา "ผู้ใดกระทำาความผิดให้ปรากฏแก่ประชาชน อ้นมิใช่เป็นการกระทำา ภายในความมุ่งหมายแห่งรัฐธรรมนูญ หรือมิใช่เพื่อแสดงความคิดเห็น หรือติชมโดยสุจริต ถ้าได้กระทำาอย่างใด อย่างหนึ่งดังจะกล่าวต่อไปนี้ (1) เพือ่ ให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในกฎหมายแผ่นดินหรือรัฐบาล โดยใช้กำาลังข่มขืนใจ หรือใช้กำาลัง ประทุษร้าย (2) เพือ่ ให้เกิดความปั่นป่วน หรือกระด้างกระเดื่องในหมู่ประชาชนถึงชนาดที่ จะก่อความไม่สงบ ขึ้นในราชอาณาจักร (3) เพือ่ ให้ประชาชนล่วงละเมิดตามกฎหมายแผ่นดิน ต้องระวางโทษจำากุกไม่เกินเจ็ดปี" รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
12
1.2.3 รับผิดชอบต่อศาสนาและตัวหรือสัญลักษณ์แทนพระศาสดา มาตรา 206 "ผู้ใดกระทำาด้วยประการใดๆ แก่วัตถุหรือสถานอันเป็นที่เคารพในทางศาสนาของหมู่ชนใด อันเป็นการเหยียดหยามศาสนานั้น ต้องระวางโทษ…" 1.2.4 รับผิดชอบต่อหน้าที่อันชอบของพนักงานของรัฐ เช่น ไม่ดูหมิ่นเจ้าพนักงานซึ่งกระทำาตามหน้าที่ ไม่กระทำาการอันเป็นการดูหมิ่นศาลหรือผู้พิพากษา 1.3 ด้านจริยธรรม จรรยาบรรณ เป็นมุมมองจากภายในของตัวสื่อเอง หากสื่อไม่เอาตัวเองไปผูกพันกับธุรกิจมากเกินไป การสุ่มเสี่ยง ต่อการละเมิดจรรยาบรรณ ก็มีความเป็นได้สูง เพราะถ้าความโลภเข้าครอบงำา ก็จะลืมเรื่องจรรยาบรรณ ไปทันที สถานบันศาสนา สถานบันครู สถาบันพยาบาล-สาธารณสุข สถาบันยุตธิ รรม และสถาบันสื่อ เป็น สถาบันที่ต้องมีจรรยาบรรณรองรับ เพราะเป็นเรื่องความรับผิดชอบภายใน ที่ประชาชนไม่อาจไปก้าว ล่วงได้ หากสถานบันดังกล่าวไม่ใส่ใจและเข้มงวดกับคุณค่าความดีงามของตนเสียแล้ว สังคมก็จะมีแต่ ความเดือดร้อน ดังนั้นสื่อจะต้องมีความรับผิดชอบต่อจริยธรรมของตน และนำาไปสู่การรักษาความเป็นกลางของสือ่ ด้วยเหตุผลที่ว่า คนดีย่อมยืนข้างคนดี คนเลวย่อมยืนข้างคนดี สังคมขาดแคลนคนเลว ไม่เป็นไร แต่ถ้า ขาดคนดี ก็อยู่ไม่ได้ ดังนั้น หากสื่อไม่ยืนอยู่ข้างใดเลย (คืออยู่เฉยๆ เสนอแต่เรื่องผี เรือ่ ง ไสยศาสตร์ ไม่ สนใจความเป็นอยู่ ความเป็นไปของสังคมเลย) คนดีก็ไม่เอาด้วย คนเลวก็เฉยๆ ที่เป็นเช่นนี้เพราะสือ่ เอง ไม่มีจริยธรรมในตนเอง จรรยาบรรณ ของวิชาชีพสื่อมวลชน (1) พึงตระหนักในความรับผิดชอบต่อทุกเรื่องที่ออกทางสือ่ มวลชน (2) พึงเสนอข่าวตามที่มีหลักฐาน ถ้าหากภายหลังพบว่าผิดพลาด พึงแก้ข่าวด้วยความรับผิดชอบ (3) พึงเสนอความรู้รอบตัว ที่มีคุณประโยชน์ต่อคนจำานวนมาก ทั้งนี้ โดยพิจารณาจากเหตุผล มิใช่ อนุโลมตามความต้องการของมวลชนแต่เพียงอย่างเดียว (4) พึงเสนอความบันเทิงที่ไม่เป็นพิษเป็นภัย ถ้าจำาเป็น พึงแยกประเภทของผูช้ มและประกาศให้ทราบ (5) พึงสนองเป้าหมายของสังคม โดยสนับสนุนการธำารงชาติ ศาสนา สถาบับกษัตริย์ และระบอบประชา ชาธิปไตย (6) พึงสุจริตต่อหน้าที่ โดยไม่ยอมรับอามิสสินจ้าง ที่บิดเบือนเจตนารมณ์ของตนเอง (7) พึงงดเว้นอบายมุขต่างๆ อันจะนำาไปสู่การเสียอิสรภาพในการประกอบอาชีพ (8) พึงงดเว้นการใช้สื่อมวลชนเพื่อการกลั่นแกล้งหรือแก้แค้น (9) ไม่พึงให้สื่อมวลชน เป็นเครื่องมือของผู้ใดผู้หนึ่งที่มีเป้าหมายมิชอบ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
13
(10) พึงส่งเสริมให้อำานาจทุกฝ่ายตามรัฐธรรมนูญ มีเสถียรภาพในการปฏิบัติหน้าที่ของตน ตามกฎหมาย 2. สถานการณ์ความสัมพันธ์ระหว่างสื่อกับประชาชน 2.1 ด้านความรับผิดชอบ 2.1.1 ความรับผิดชอบต่อสังคม และวัฒนธรรม หน้าที่ของการสือ่ สารในสังคมมีอยู่ด้วยกัน 3 ประการใหญ่ (1) สำารวจสิ่งแวดล้อม (2) สร้างความสัมพันธ์ร่วมกันในสังคม (3) ทำาหน้าที่ถ่ายทอดมรดกสังคมจากคนรุ่นหนึ่งไปสู่คนอีกรุ่นหนึ่ง 2.1.2 สือ่ มวลชนกับบทบาทต่อการส่งเสริมวัฒนธรรม (1) เป็นผู้ประสานงานที่ดีให้กับภาครัฐ การประสานงานก็คือ การเสนอตัวเองเข้าไปรับ ใช้สังคม ซึ่งทาง ฝ่ายรัฐเองแม้จะมีเจ้าหน้าที่หรือผูเ้ ชี่ยวชาญจำานวนหนึ่ง ก็ยังไม่เพียงพอต่อการรณรงค์ส่งเสริมวัฒนธรรมไทยให้ เป็นไปตามความมุ่งหมาย จำาเป็นที่สื่อมวลชนทุกประเภททีอ่ ยู่มาช่วย ดังนั้น การประสานงานหรือการให้ความ ร่วมมือกับรัฐบาล จึงเป็นหัวใจสำาคัญในการรณรงค์เพื่อส่งเสริมวัฒนธรรมไทย (2) ช่วยชี้นำาในทางที่ถูกต้อง หน้าที่นี้สำาคัญเพราะในบางสิ่งบางประการนั้นรัฐบาลไม่สามารถยื่นมือ เข้าไปได้เต็มที่ ยกตัวอย่างวัฒนธรรมในการบริโภคของคนไทยทีเ่ ปลี่ยนแปลงไปไม่ว่าจะในสังคมเมืองหรือ สังคมชนบทก็ตาม …เช่น คนอีสานติดการบริโภคผงชูรสกันมาก หรือชอบกินปลาดิบ รัฐบาลไม่สามารถออก กฎหมายมาห้ามการบริโภคผงชูรส หรือห้ามการบริโภคปลาดิบได้ แต่สื่อมวลชนสามารถทำาได้โดยการชี้นำา อย่างนี้สอื่ มวลชนทำาได้ (3) เป็นตัวอย่างที่ดีของสังคม สือ่ สารมวลชนมีอิทธิพลมากในการโน้มน้าวคนกลุ่มใหญ่ให้คล้อยตาม หรือเห็นดีงาม ข้อนีจ้ ะยกมาให้เป็นรูปธรรมชัดเจน เช่นเรือ่ งการใช้ภาษาพูดหรือภาษาเขียนทีน่ บั ว่าจะวิบตั เิ พิม่ ขึน้ (4) ร่วมกันคัดค้านพฤติกรรมของคนในสังคมที่ไม่ถูกต้อง หากสือ่ มวลชนไม่เป็นผู้ริเริ่มคัดค้านความไม่ ถูกต้องที่แทรกซึมเข้ามาในวัฒนธรรมไทย หรือเพียงแต่วางเฉย ก็เท่ากับสนับสนุนแล้ว จึงต้องออกมาคัดค้าน อย่างจริงจัง (5) ต้องไม่ให้อิทธิพลการค้าเหนือสำานึกรับผิดชอบ ทุกวันนี้วัฒนธรรมในการครองเรือนได้เปลี่ยนไป พร้อมกับวัฒนธรรมในการแต่งกาย หรือความเป็นอยู่ทั่วไปของคนไทย สื่อมวลชนมีส่วนเผยแพร่ภาพ หรือข้อ เขียนอันเป็นตัวอย่างที่ไม่ดีเหล่านีอ้ อกไปในสังคม (6) เป็นผู้บุกเบิกรูปแบบการสื่อสารเพือ่ ถ่ายทอดวัฒนธรรม เพราะสื่อสารมวลชนที่เอกชนมีอยู่นั้นมี ความได้เปรียบในรูปแบบที่ดำาเนินการอยู่ มีเครือ่ งมือ มีสอื่ ต่างๆ หลายชิ้น และมีบุคลากรจำานวนมาก 2.2 ด้านการมีส่วนร่วม 2.2.1 ภารกิจหรือหน้าทีพ่ นื้ ฐานทีม่ ตี อ่ สังคม (Principle functions of mass media for society) รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
14
(1) ด้านสารสนเทศ (Information) ในเรื่องที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สภาพ เงื่อนไข สถานการณ์ของโลก และสังคม ความเกี่ยวข้องเชือ่ มโยงของอำานาจต่างๆ การเผยแพร่นวัตกรรม คุณภาพชีวิต (2) ด้านความสัมพันธ์เกี่ยวโยงในสังคม (Correlation) โดยการอธิบาย ตีความ เสนอแนะ วิจารร์ ในเรื่อง ที่เกี่ยวกับเหตุการณ์ สถานการณ์ ข่าวสารต่างๆ ให้การสนับสนุนต่อองค์การต่างๆ ภายใต้บรรทัดฐานและศีล ธรรมของสังคม มีการอบรมศีลธรรมอันดี เป็นตัวเชื่อมร้อยกิจกรรมต่างๆ ในสังคม ชุมชน สร้างความสามัคคี สร้างประชามติ จัดลำาดับความสำาคัญทางชนชั้น และสถานการณ์ต่างๆ (3) ด้านความต่อเนื่อง (Continuty) ทางวัฒนธรรม ให้เกิดการยอมรับวัฒนธรรมย่อยที่แตกต่าง และ พัฒนาวัฒนธรรมใหม่ที่ดี ส่งเสริมการรักษาค่านิยมที่ดี (4) ด้านความบันเทิง (Entertainment) ความสนุกสนาน เป็นการผ่อนคลายความตึงเครียดต่างๆ (5) ด้านการเคลือ่ นไหวผลักดันทางวัฒนธรรม (Mobilization) โดยการณรงค์ในรูปแบบต่างๆ 2.3 ด้านการกำาหนดประเด็นข่าวสาร องค์กรข่าว มี 5 ระดับ คือ (นิพนธ์ นาคสมภพ: 2549) (1) ระดับการชวนเชื่อ Propaganda นับเป็นองค์กรข่าวที่ได้รับการไว้วางใจตำ่าสุด เพราะมุ่งรับใช้ อำานาจของนักการเมืองมากเกินไป หรือมุ่งผลประโยชน์ของผู้เป็นเจ้าของสือ่ มากเกินไป แต่กลับละเลย ประชาชน โดยเฉพาะการโฆษณาชวนเชื่อทีส่ ่งผลเสือ่ มเสียต่อวินัยทางศีลธรรม วินัยทางการเงิน และวินัยทาง สังคม ของประชาชน (วินัยทางศีลธรรมเสือ่ มเสีย ทำาให้เกิดอาชญากรรม วินัยทางการเงินเสื่อมเสีย ทำาให้ เศรษฐกิจตกตำ่า วินัยทางสังคมเสื่อมเสีย ทำาให้คนฉลาดกลายเป็นคนโง่ในการทำาดี และทำาให้คนโง่กลายเป็นคน ฉลาดในการทำาเลว) (2) ระดับการบริการข่าวสาร หรือ News & Information service (News Center) ซึ่ง 2 ระดับนี้จัด เป็นการสื่อสารของเอกชน หรือ Private communication มุ่งเสนอข่าวสารทั่วไป บางครั้งทำาให้ขาดการคัดเลือก คุณค่าทางจริยธรรมไปบ้าง เพราะมุ่งเรื่องการค้าเป็นหลัก (3) ระดับมาตรฐาน Standard มีความเป็นองค์กรที่รับผิดชอบต่อกฎหมาย รับผิดชอบต่อสังคมสูง มี ส่วนในการสร้างสรรสังคม ไม่มุ่งเพื่อการค้าอย่างบ้าคลั่ง (4) ระดับวิชาชีพ หรือ Professionalism มีความเป็นสถาบันที่รับผิดชอบต่อสังคมถึงระดับคุณธรรม ศีล ธรรม มีความกล้าหาญทางคุณธรรมสูง มีอำานาจมีอิสระเสรีภาพ ทั้งทางด้านเศรษฐกิจ และการเมือง (5) ระดับประโยชน์สาธารณะ หรือ Public service (Social) เป็นสถาบันสื่อที่มีคุณค่าสูงสุดของสังคม ประชาชนทุกภาคส่วนให้การยอมรับ ทุกคำาทุกประโยค มีคุณค่าแห่งความน่าเชือ่ ถือ หนักแน่น มีความเป็น วิชาการสูง บทบาทของสือ่ ในการกำาหนดประเด็นข่าวสาร ควรดำารงตนในฐานะเป็นองค์กรข่าวสาร ให้ได้ระดับ มาตรฐาน หรือวิชาชีพขึ้นไป จึงจะทำาให้บทบาทในการกำาหนดประเด็นข่าวสารของสื่อ (Media Agenda) มี ความเป็นธรรม และเป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ ไม่ไปรับใช้หรือเอนเอียงไปเป็นประโยชน์ต่อข้างใดข้างหนึ่ง รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
15
ข. บทบาทของสื่อในการส่งเสริมการมีส่วนร่วมของภาคประชาชน บทบาทของสือ่ ในด้านการเมือง และการมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน สือ่ ต้องปรับพื้นฐาน ความเข้าใจทางการเมืองเสียก่อนว่าขณะนี้ ประเทศไทยมีรูปแบบการปกครองที่เป็นประชาธิปไตยแปรรูป การศึกษาในประเด็นนี้ ต้องพิจารณา ปัจจัยต่อไปนี้ร่วมด้วย คือ (1) การกระตุ้นความสำานึกและความรับผิดชอบทางการเมือง (2) สือ่ กลางในการแสดงความคิดเห็นทางการเมือง เศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม (3) การพัฒนาความร่วมมือและการตรวจสอบบทบาทหน้าที่ซึ่งกันและกันระหว่างสื่อกับประชาชน ระหว่าง ระบอบประชาธิไตย ทั้ง 2 แบบ คือ ประชาธิปไตยเชิงปริมาณ (Mob Democracy) หรือ ประชาธิปไตย แบบนับหัว และ ประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ (Mass Democracy) [2] ซึง่ ทั้ง 2 แบบ ต่างก็ยึดเอา ประชาชนเป็นศูนย์กลาง แต่มีความแตกต่างกันในเนื้อหาสาระ และการปฏิบัติ ดังนั้น การยึดเอาประชาชนเป็น ศูนย์กลาง จึงเป็นหลักเกณฑ์สำาคัญของในการตัดสิน "ความเป็นกลาง" มีการตีดความอีกว่าประชาชนคือคนกลุ่มใด ใช้หลักปริมาณ หรือหลักคุณภาพมาเป็นตัวชี้วัด แค่ไหน เพียงใด สิทธิและเสรีภาพมีขอบเขตอยู่เท่าใด เพราะเมื่อมีขอ้ ขัดแย้งกันเกิดขึ้น ก็จะเกิดคู่กรณีสองฝ่าย ซึง่ ต่าง ฝ่ายก็เรียกร้องหาความเป็นธรรมให้แก่ฝ่ายตน ประชาชนที่อยู่ข้างปริมาณ ก็จะอ้างเอามวลและปริมาณมาสร้าง ความชอบธรรม (พวกมากลากไป) ส่วนประชาชนที่อยู่ข้างคุณภาพ ก็จะอ้างเอาคุณภาพ ฐานะ ชนชั้น (นัก วิชาการ นักธุรกิจ นักปราชญ์) มาสร้างความชอบธรรม เพือ่ ชี้ให้เห็นว่าประชาธิปไตยทั้ง 2 แบบ มีลักษณะและคุณสมบัติที่แตกต่างกัน จะเป็นข้อมูลในการ ตัดสิน "ความเป็นกลาง" ได้ถูกต้องยิ่งขึ้น ตามตารางต่อไปนี้
เปรียบเทียบลักษณะและคุณสมบัตขิ องระบอบประชาธิปไตย 2 แบบ ลักษณะ คุณสมบัติ
ประชาธิปไตยเชิงปริมาณ (Mob Democracy)
ประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ (Mass Democracy)
2
ประชาธิปไตยเชิงปริมาณ เป็นประชาธิปไตยที่ถือเกณฑ์ฝูงชน (Mobillization) หรือปริมาณเป็นหลัก ซึง่ ไม่สนใจในคุณค่า ปัญญาหรือธรรมะ ส่วนประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ ปริมาณอาจไม่เป็นสาระสำาคัญ แต่ให้ความสำาคัญกับมวลของคุณภาพ (mass) เป็นเป้าหมายหลัก ปริมาณถ้ามีได้ถือเป็นความสมบูรณ์ของระบอบ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
16
(1) คุณสมบัติ (Specificaiton)
- ประมุขของรัฐ อาจเป็น พระมหากษัตริย์ - ประมุขของรัฐ คือ ผู้ทรงธรรม หรือ ประธานาธิบดี (ธรรมราชา) - ยอมรับอำานาจรัฐ ที่มาจากการเลือกตั้ง
- ได้อำานาจรัฐ มาจากการเลือกตัง้ หรือแต่งตัง้
- ใช้องค์กรอิสระ และสือ่ เป็นเครื่องมือ ของรัฐ ในการโน้มน้าว (Agenda) และ แผยแพร่ประชาสัมพันธ์ (Public relations) ผลงานของรัฐ
- ให้เสรีภาพแก่องค์กรอิสระและสือ่ มวลชน เพราะรัฐคือตัวแทนของประชาชน โดย ประชาชน เพื่อประชาชน ประชาชนจึงมี ความรู้สึกเป็นเจ้าของ
- ผู้นำา คือ ผู้ใช้อำานาจของประชาชน
- ผูน้ ำา คือ ผู้รับใช้ประชาชน เสียงประชาชนคือเสียงสวรรค์
- มีกฎหมาย เป็นเครื่องมือ ในการบังคับ ใช้อำานาจ
- กฎหมายที่ไม่ชอบธรรม อาจถูกโต้แย้งด้วย วิธีการ "อาริยะขัดขืน"
- ผลประโยชน์ สำาคัญกว่า หิริ โอตตัปปะ
- หิริ โอตตัปปะ สำาคัญกว่า ผลประโยชน์
- ใช้หลักนิติศาสตร์ เป็นเกณฑ์ตัดสินและ แก้ปัญหา
- ใช้หลักนิติศาสตร์ + รัฐศาสตร์ เป็นเกณฑ์ ติดสินและแก้ปัญหา
- ระบบทุน เป็นทุนอภิสิทธิ์ ทุนผูกขาด ทุนอิงอำานาจรัฐ (ทุนหน้าเหลี่ยม หรือ Robber baron) [3] .โดยมีเป้าหมายเพื่อ เป็นทุนใหญ่ มีสภาพเป็นปลาใหญ่กิน ปลาเล็ก แสวงกำาไรโดยไม่สนใจเรื่อง จริยธรรม
- ระบบทุน เป็นทุนก้าวหน้า (Advance capital) ที่มีการจัดสรรอำานาจ (Power sharing) และความมั่งคั่ง (Wealth sharihg) แบบมีส่วนร่วม เติบโตด้วยเทคโนโลยี และการบริหารจัดการ ภายใต้หลักบรรษัท ธรรมภิบาล (Corporate Governance) ที่ สังคมตรวจสอบได้
เสียงประชาชนคือสิทธิอนั ชอบธรรมของผูน้ ำา
3
เจ้าของทุนมักใช้เล่เหลี่ยม กลโกงต่างๆ และอำานาจที่ไม่ชอบธรรมเป็นเครื่องมือในการพัฒนาทุน หรือที่ รศ.ดร.ณรงค์ เพ็ชร ประเสริฐ เรียกว่า ทุนสามานย์ คำาว่า Robber baron มาจากคำาเรียกของนักเศรษฐศาสตร์ ชือ่ Heibroner (1968) แปลว่า ขุนนาง โจร เพราะเป็นการครอบงำาตลาดทุนด้วยการทำาลายคู่แข่งขัน และเอาเปรียบประชาชนคนส่วนใหญ่ โดยใช้อำานาจรัฐสร้างข้อ บังคับเพื่อประโยชน์ของนายทุนใหญ่ โปรดดู ณรงค์ เพชรประเสริฐ. ฅนชั้นกลางไทยในกระแสทุนนิยม. (กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์ มหาวิทยาลัย, 2548), หน้า 11-22. รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
17
(2) คุณค่า (Value) ลักษณะ คุณสมบัติ
(3) เนือ้ หาสาระ (Content)
- มวลและปริมาณ คือตัวชี้วัดความสำาเร็จ มีการใช้กลฉ้อฉลเพื่อให้ได้ปริมาณตาม เกณฑ์ (ต้นทุน = ต้นทุน+กำาไร) ประชาธิปไตยเชิงปริมาณ (Mob Democracy)
- คุณภาพ เป็นตัวชี้วัดความสำาเร็จ (ต้นทุน) หากมีปริมาณด้วย ถือว่าเป็นความงดงาม (กำาไร) ประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ (Mass Democracy)
- ทุนทางสังคมต่อหน่วย ตำ่า เพราะนับเอา ปริมาณเท่านั้น การใช้ ปัญญา+สร้างสรรค์ ไม่มีผลต่อสิทธิตาม กฎหมาย (คนคือ เครื่องจักรกล ไม่ต้อง คิด ขยันและปฏิบัติตามกฎหมายก็พอ)
- ทุนทางสังคมต่อหน่วย สูง เพราะต้องใช้ ปัญญา+อารมณ์+ความสุ่มเสี่ยงต่อการสูญ เสียงสวัสดิภาพ ซึง่ นับค่าเป็นเงินหรือเป็น ตัวเลขไม่ได้
- ศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ถูกริดรอน
- เคารพในศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์
- ประเมินคนจากความรู้ กำาลัง และ ปริมาณ (Competency Knowledge & Capacity)
- ประเมินคนจากความสามารถทาง ปัญญา และสร้างสรร (Competency Skill & Intellegence)
- ปฏิเสธพลังมวลชนที่คัดค้าน (กฎหมู่) ยอมรับพลังมวลชนที่สนับสนุน
- ยอมรับฟังทั้งข้อเสนอ และข้อวิพากษ์ของ พลังมวลชน แล้วยุติด้วยวิถีทางแห่งธรรม
- มององคาพยพของสังคมเป็นแบบจักร กล (Machanicism) วัดมูลค่า (Static value) เชิงวัตถุ และปริมาณ
- ชีวิตคือองค์รวม (Holisitc) มีสุขภาวะ 4 ด้าน เป็นองค์ประกอบ (กาย จิต อารมณ์ สังคม)
- ใช้กติกา และสถานการณ์ต่างๆ ในการ สร้างความชอบธรรม
- ใช้จริยธรรม และวิกฤติต่างๆ ในการสร้าง โอกาสให้เกิดความชอบธรรม
- การมีสว่ นร่วมทางการเมืองของประชาชน - การมีส่วนร่วมทางการเมืองของประชาชน คือ การปฏิบัติตามกฎหมาย คือ การเคารพกฎหมาย และตรวจสอบ อำานาจรัฐได้ - องค์ประกอบของสังคม คือ คน กฎหมาย - องค์ประกอบของสังคม คือ สังขารธรรม เงิน อำานาจ วัตถุ ปริมาณ (วัตถุ, พืช, สัตว์, คน-มนุษย์, เทพ, ธรรม) - มุ่งตอบสนองความต้องการส่วนเกิน เพื่อผลประโยชน์ทางการค้า ตาม แนวทางทุนนิยม-บริโภคนิยม
- มุ่งลดการตอบสนองความต้องการส่วน เกิน เพือ่ นำาพาสังคมไปสู่ความสมดุลย์ ตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง
- แสวงกำาไร บนความหิวกระหาย และ กิเลส ตัณหา ของคน
- "นำ้าใจ" คือ กำาไรส่วนเกิน ที่จะผันไปเป็น ทุนในรอบต่อไป
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
18
ลักษณะ คุณสมบัติ
ประชาธิปไตยเชิงปริมาณ (Mob Democracy)
ประชาธิปไตยเชิงคุณภาพ (Mass Democracy)
- การจัดอำานาจและผลประโยชน์ (Power sharing) ตกแก่ กลุ่มทุนใหญ่ ที่แอบอิง รัฐ และให้ความสำาคัญกับหุ้นส่วนทาง อำานาจ (Authoritarian partnership) มากกว่าหุ้นส่วนทางสังคม ( Social partnership)
- การจัดอำานาจและผลประโยชน์ (Power sharing) กระจายไปยังกลุ่มคนชั้นกลาง อย่างเท่าเทียม หรือไม่แตกต่างกันมาก ส่ง เสริมความเท่าเทียมกัน ระหว่าง Authoritarian partnership กับ Social partnership
(4) - ใช้หลักคณาภิบาล เป็นหน่วยนับในการ บริบท (Context) วางแผนงาน และประเมินค่า
- ใช้หลักประโยชน์ ประหยัด จริยธรรม เป็น ฐานคิดในแผนงาน และการประเมินค่า
- ชนชั้นปกครองใช้ Autoritarian principle - มีการใช้ Autoritarian principle และ เป็นเครื่องมือง ผูถ้ ูกปกครองใช้ Libertarian principle อย่างสมเหตุสมผล [4] Libertarian principle เป็นเครื่องมือ - สะสมความขัดแย้ง ไปสู่การเรียกร้อง ความเป็นธรรม
- ยอมรับความขัดแย้งทีพ่ อเหมาะ เป็นความ แตกต่างทีง่ ดงาม ตามธรรมชาติ
- ใช้นโยบายประชานิยม และระบบอุปถัมภ์ - ใช้นโยบายเศรษฐกิจพึ่งตน ชุมชนเข้มแข็ง ในการสร้างความมั่นคงของรัฐบาล หรือ ในการสร้างความมั่นคงแก่รัฐ และ Investment through the poor Investment for the poor (5) - สือ่ คือกระบอกเสียงของรัฐ ในการ ประชาสัมพันธ์ ให้ประชาชนใช้สิทธิ การสือ่ สาร (Communication) ตามกฎหมายและตามกติกา
4
- เสรีภาพของสื่อ คือ สาระสำาคัญของการมี ส่วนร่วมทางการเมืองของภาคประชาชน
- สนับสนุนสื่อที่รับใช้ผู้มีอำานาจ (สือ่ อ่อนแอ)
- ส่งเสริมจรรยาบรรณของสือ่ (สือ่ เข้มแข็ง)
- สือ่ สาร+รัฐชน = สือ่ สารเพือ่ ผูใ้ ช้อำานาจรัฐ
- สือ่ สาร+มวลชน = สือ่ สารเพือ่ มวลชน
รองศาสตราจารย์ ดร.ณรงค์ เพชรประเสริฐ เห็นว่า เอกภาพจากทุกภาคส่วน (The unity of partnership) จะสร้างความเป็น
ปึกแผ่นทางอำานาจ (Autoritarianism) และความเป็นหุ้นส่วนทางสังคม (Social partnership) รัฐมีปัจจัยคือ ทุน อาวุธ กองกำาลัง และข้อมูลข่าวสาร ในขณะทีค่ นชัน้ กลาง มีปจั จัยทางด้าน ปัญญาความารู้ และการบริหารจัดการ ยังคงเหลือปัจจัยด้าน "พลัง ประชาชน" ทีจ่ ะถูกดึงจากทัง้ สองฝ่าย แต่ฝ่ายรัฐที่กมุ อำานาจจากนายทุน ซึง่ มีทุนสูงกว่า จะใช้เงินซื้อประชาชนเป็นพวกผ่าน นโยบายอุปภัมภ์ต่างๆ เพื่อสร้างม่านบังตาอย่าให้คนจนมองเห็น เปิดโอกาสในการรวบอำานาจ และทุจริตคอรัปชั่น แต่คนชั้น กลางรู้เท่าทันพฤติกรรมเหล่านี้ โปรดดู ณรงค์ เพชรประเสริฐ. เพิ่งอ้าง. หน้า 190. รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
19
ความชอบธรรมในการใช้สิทธิ และเสรีภาพของประชาชน ภายใต้ข้อกำาหนดของรัฐธรรมนูญ เท่านั้น ยัง ไม่พอที่จะตัดสินว่าฝ่ายใดเป็นธรรม หรือไม่เป็นธรรม องค์ประกอบที่จะนำามาพิจารณาวิเคราะห์โดยใช้ทฤษฎี ระบบความเป็นกลาง ประกอบด้วย (1) ประชาชน (2) รัฐบาล (3) สือ่ สารมวลชน และสื่อมวลชน (3) สิทธิ เสรีภาพ และอำานาจ สือ่ มีความเข้าใจด้านกฎหมายเท่านั้นไม่พอ จำาเป็นต้องเข้าใจด้านรัฐศาสตร์ด้วย จึงจะจัดสรรบทบาท หน้าที่ของตนเพื่อสร้างการมีส่วนร่วมทางการเมือง หรือเรือ่ งอื่นๆได้ดี
ค. บรรทัดฐานใหม่ในการกำาหนดขอบเขตเสรีภาพในการกระจายข่าวสารของสื่อ ในท่ามกลางวิกฤติของสังคม 1. ความชอบธรรมในการเสนอข่าวสาร และสิทธิการรับรู้ข่าวสาร 1.1 การควบคุมสือ่ ของภาครัฐ (สือ่ รัฐ สือ่ เอกชน) รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๔๐ "มาตรา ๔๑ พนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนที่ประกอบกิจการหนังสือพิมพ์ วิทยุกระจายเสียง หรือวิทยุ โทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นภายใต้ข้อจำากัดตามรัฐธรรมนูญ โดยไม่ตกอยู่ ภายใต้อาณัติของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ หรือเจ้าของกิจการนั้น แต่ต้องไม่ขัดต่อจรรยา บรรณแห่งการประกอบวิชาชีพ ข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ หรือรัฐวิสาหกิจ ในกิจการวิทยุ กระจายเสียงหรือวิทยุโทรทัศน์ ย่อมมีเสรีภาพเช่นเดียวกับพนักงานหรือลูกจ้างของเอกชนตามวรรคหนึ่ง" จากบทบัญญัติ ในมาตรา 41 จะเห็นว่ารัฐไม่อาจจะไปริดรอนสิทธิในการเสนอข่าวสารอย่างชอบธรรม ของสื่อมวลชน โดยคุ้มครองไปถึงข้าราชการ พนักงาน หรือลูกจ้างทั้งของรัฐและเอกชน มาตรา ๔๐ คลื่นความถี่ที่ใช้ในการส่งวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และวิทยุโทรคมนาคม เป็น ทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ ให้มีองค์กรของรัฐที่เป็นอิสระทำาหน้าที่จัดสรรคลื่นความถี่ตามวรรคหนึ่ง และกำากับดูแลการประกอบ กิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม ทั้งนี้ ตามที่กฎหมายบัญญัติ การดำาเนินการตามวรรคสองต้องคำานึงถึงประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ทั้งในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรี อย่างเป็นธรรม การกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ โดยสื่อมวลชน รัฐธรรมนูญได้เปิดโอกาสให้ประชาใช้อย่างเท่าเทียม เพราะเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพื่อประโยชน์สาธารณะ จึงทำาให้เกิดการจัดสรรคลื่นความถี่ตาม พระราช บัญญัติ องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำากับกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคม พ.ศ. 2543 ระบุว่า มาตรา 23 ให้ กสช. มีอำานาจหน้าที่ดังต่อไปนี้ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
20
(1) กำาหนดนโยบายและจัดทำาแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์และแผนความถี่วิทยุให้ สอดคล้องกับบทบัญญัตขิ องรัฐธรรมนูญ แผนแม่บทการบริหารคลืน่ ความถี่ และตารางกำาหนดคลืน่ ความถีแ่ ห่งชาติ (2) กำาหนดลักษณะและประเภทของกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (3) พิจารณาอนุญาตและกำากับดูแลการใช้คลื่นความถี่เพื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ (4) พิจารณาอนุญาตและกำากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (5) กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับการอนุญาต เงื่อนไข หรือค่าธรรมเนียมการอนุญาตตาม (3) และ (4) รวมทั้งการกำากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (6) ติดตามตรวจสอบและให้คำาปรึกษาแนะนำาการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน (7) กำาหนดมาตรฐานและลักษณะพึงประสงค์ทางด้านเทคนิคของอุปกรณ์ที่ใช้ในการประกอบกิจการ กระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (8) กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและ กิจการโทรทัศน์ (9) กำาหนดโครงสร้างอัตราค่าธรรมเนียมและอัตราค่าบริการในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ รวมทั้งอัตราการเชื่อมต่อโครงข่ายในการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ให้เป็นธรรมต่อผู้ใช้ บริการและผู้ให้บริการโดยคำานึงถึงประโยชน์สาธารณะเป็นสำาคัญ (10) กำากับดูแลการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์เพื่อให้ผู้ใช้บริการได้รับบริการที่มี คุณภาพและประสิทธิภาพ รวมถึงการกำาหนดหลักเกณฑ์การรับคำาร้องเรียนและพิจารณาคำาร้องเรียนของผู้ใช้ บริการที่รวดเร็ว ถูกต้องและเป็นธรรม (11) กำาหนดมาตรการเพือ่ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชนโดยคำานึงถึงเกียรติยศ ชือ่ เสียง สิทธิใน ครอบครัวหรือความเป็นอยู่ส่วนตัวของบุคคล ความสงบเรียบร้อยและศีลธรรมอันดีของประชาชน อันเนื่องมา จากการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (12) กำาหนดมาตรการเพือ่ คุ้มครองสิทธิเสรีภาพและส่งเสริมการปฏิบัติตามจรรยาบรรณในการปฏิบัติ หน้าที่โดยชอบของบุคลากรในกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (13) กำาหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการคุ้มครองและการกำาหนดสิทธิในการประกอบกิจการกระจาย เสียงและกิจการโทรทัศน์ (14) ส่งเสริมสนับสนุนการวิจัยและพัฒนากิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์อย่างต่อเนื่อง (15) ออกระเบียบเกี่ยวกับการจัดตั้งองค์กร การบริหารงานบุคคล การงบประมาณการเงินและทรัพย์สิน และการดำาเนินงานอื่นของสำานักงาน กสช. (16) อนุมัติงบประมาณรายจ่ายของสำานักงาน กสช. รวมทั้งเงินที่จะจัดสรรเข้ากองทุนตามมาตรา 27 (17) จัดทำารายงานผลการดำาเนินงานของ กสช. เสนอต่อคณะรัฐมนตรี สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
21
อย่างน้อยปีละหนึ่งครั้งและให้เผยแพร่ต่อสาธารณชนด้วย (18) เสนอความเห็นหรือให้คำาแนะนำาต่อคณะรัฐมนตรีเกี่ยวกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ทั้งภายในประเทศและระหว่างประเทศ รวมทั้งการให้มีกฎหมาย หรือแก้ไขปรับปรุงหรือยกเลิกกฎหมายที่ เกี่ยวข้องกับกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ (19) ปฏิบัติการอื่นใดตามที่กำาหนดไว้ในพระราชบัญญัตินี้หรือกฎหมายอื่นซึ่งกำาหนดให้เป็นอำานาจ หน้าที่ของ กสช.เพื่อประโยชน์ในการดำาเนินการตามอำานาจหน้าที่ตามวรรคหนึ่ง ให้ กสช. มีอำานาจออก ระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำาสั่ง หรือข้อกำาหนดบรรดาระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำาสั่ง หรือข้อกำาหนดใด ๆ ที่ใช้บังคับเป็นการทั่วไป เมือ่ ได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษาแล้วให้ใช้บังคับได้การดำาเนินการตาม (2) (3) (4) (5) (6) (7) (8) (9) (10) (11) (12) และ (13) นอกจากที่บัญญัติไว้โดยเฉพาะในพระราชบัญญัตินี้แล้ว ต้องเป็นไป ตามกฎหมายว่าด้วยการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ และการอนุญาตให้ใช้คลื่นดังกล่าวต้องอยู่ในเงื่อนไข ม.25 ด้วย มาตรา 25 การอนุญาตให้ใช้คลื่นความถีเ่ พื่อกิจการวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ต้องคำานึงถึง ประโยชน์สูงสุดของประชาชนในระดับชาติและระดับท้องถิ่น ในด้านการศึกษา วัฒนธรรม ความมั่นคงของรัฐ และประโยชน์สาธารณะอื่น รวมทั้งการแข่งขันโดยเสรีอย่างเป็นธรรม และต้องดำาเนินการในลักษณะที่มีการก ระจายการใช้ประโยชน์โดยทั่วถึงในกิจการด้านต่าง ๆ ให้เหมาะสมแก่การเป็นทรัพยากรสื่อสารของชาติเพือ่ ประโยชน์สาธารณะ 1.2 สิทธิในการรับรู้ข้อมูลข่าวสารของราชการ พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 ระบุว่าประชาชนและสื่อมีสิทธิที่จะรับรู้ข้อมูล ข่าวสารของทางราชการได้ "มาตรา 9 ภายใต้บังคับมาตรา 14 และมาตรา 15 หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีข้อมูลข่าวสารของราชการ อย่างน้อยดังต่อไปนี้ ไว้ให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ ทั้งนี้ ตามหลักเกณฑ์และวิธีการที่คณะกรรมการกำาหนด" และข้อมูลข่าวสารที่จะขอดูได้ต้องเป็นข้อมูลข่าวสาร ได้ดังต่อไปนี้ (1) ผลการพิจารณาหรือคำาวินิจฉัยที่มีผลโดยตรงต่อเอกชน รวมทั้งความเห็นแย้งและคำาสั่งที่เกี่ยวข้อง ในการพิจารณาวินิจฉัย ดังกล่าว (2) นโยบายหรือการตีความที่ไม่เข้าข่ายต้องลงพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษาตามมาตรา ๗ (๔) (3) แผนงาน โครงการ และงบประมาณรายจ่ายประจำาปีของปีที่กำาลังดำาเนินการ (4) คู่มือหรือคำาสั่งเกี่ยวกับวิธีปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐซึ่งมีผลกระทบถึงสิทธิหน้าที่ของเอกชน (5) สิง่ พิมพ์ที่ได้มีการอ้างอิงถึงตามมาตรา ๗ วรรคสอง (6) สัญญาสัมปทาน สัญญาที่มีลักษณะเป็นการผูกขาดตัดตอนหรือสัญญาร่วมทุนกับเอกชนในการจัด ทำาบริการสาธารณะ (7) มติคณะรัฐมนตรี หรือมติคณะกรรมการที่แต่งตั้งโดยกฎหมาย หรือโดยมติคณะรัฐมนตรี ทั้งนี้ ให้ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
22
ระบุรายชื่อรายงาน ทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำามาใช้ในการพิจารณาไว้ด้วย (8) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำาหนด ข้อมูลข่าวสารที่จัดให้ประชาชนเข้าตรวจดูได้ตาม วรรคหนึ่ง ถ้ามีส่วนที่ต้องห้ามมิให้เปิดเผยตามมาตรา ๑๔ หรือมาตรา ๑๕ อยู่ด้วย ให้ลบหรือตัดทอนหรือทำา โดยประการอื่นใดที่ไม่เป็นการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารส่วนนั้น และข้อมูลข่าวที่จะดูได้นั้น ต้องเป็นข้อมูลที่ลงตีพิมพ์ในหนังสือราชกิจจานุเบกษา มาตรา 7 หน่วยงานของรัฐต้องส่งข้อมูลข่าวสารของราชการอย่างน้อยดังต่อไปนีล้ งพิมพ์ในราชกิจจานุเบกษา (1) โครงสร้างและการจัดองค์กรในการดำาเนินงาน (2) สรุปอำานาจหน้าที่ที่สำาคัญและวิธีการดำาเนินงาน (3) สถานที่ติดต่อเพื่อขอรับข้อมูลข่าวสารหรือคำาแนะนำาในการติดต่อกับหน่วยงานของรัฐ (4) กฎ มติคณะรัฐมนตรี ข้อบังคับ คำาสั่ง หนังสือเวียน ระเบียบ แบบแผน นโยบาย หรือการตีความ ทั้งนี้ เฉพาะที่จัดให้มีขึ้น โดยมีสภาพอย่างกฎ เพื่อให้มีผลเป็นการทั่วไปต่อเอกชนที่เกี่ยวข้อง (5) ข้อมูลข่าวสารอื่นตามที่คณะกรรมการกำาหนด ข้อมูลข่าวสารใดที่ได้มีการจัดพิมพ์เพื่อให้แพร่หลายตามจำานวนพอสมควรแล้ว ถ้ามีการลงพิมพ์ในราชกิจจา นุเบกษาโดยอ้างอิง ถึงสิ่งพิมพ์นั้นก็ให้ถอื ว่าเป็นการปฏิบัติตามบทบัญญัติวรรคหนึ่ง แล้วให้หน่วยงานของรัฐ รวบรวมและจัดให้มีข้อมูลข่าวสารตามวรรคหนึ่ง ไว้เผยแพร่เพื่อขายหรือจำาหน่ายจ่ายแจก ณ ทีท่ ำาการ ของ หน่วยงานของรัฐแห่งนั้นตามที่เห็นสมควร แต่อย่างไรก็ตาม ก็มีข้อมุลบางอย่างที่ไม่สามารถเปิดให้สื่อมวลชนรู้ได้ มาตรา 14 ข้อมูลข่าวสารของราชการทีอ่ าจก่อให้เกิดความเสียหายต่อสถาบันพระมหากษัตริยจ์ ะเปิดเผยมิได มาตรา ๑๕ ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีลักษณะอย่างหนึ่งอย่างใดดังต่อไปนี้ หน่วยงานของรัฐหรือเจ้า หน้าที่ของรัฐอาจมีคำาสั่ง มิให้เปิดเผยก็ได้ โดยคำานึงถึงการปฏิบัติหน้าที่ตามกฎหมายของหน่วยงานของรัฐ ประโยชน์สาธารณะ และประโยชน์ของเอกชนที่เกี่ยวข้องประกอบกัน (1) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ หรือความมั่นคงในทางเศรษฐกิจ หรือการคลังของประเทศ (2) การเปิดเผยจะทำาให้การบังคับใช้กฎหมายเสือ่ มประสิทธิภาพ หรือไม่อาจสำาเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ ไม่ว่าจะเกี่ยวกับการฟ้องคดี การป้องกัน การปราบปราม การทดสอบ การตรวจสอบ หรือการรู้แหล่งที่มาของ ข้อมูลข่าวสารหรือไม่ก็ตาม (3) ความเห็นหรือคำาแนะนำาภายในหน่วยงานของรัฐในการดำาเนินการเรื่องหนึ่งเรื่องใด แต่ทั้งนี้ไม่รวม ถึงรายงานทางวิชาการ รายงานข้อเท็จจริง หรือข้อมูลข่าวสารที่นำามาใช้ ในการทำาความเห็นหรือคำาแนะนำา ภายในดังกล่าว (4) การเปิดเผยจะก่อให้เกิดอันตรายต่อชีวิตหรือความปลอดภัยของบุคคลหนึ่งบุคคลใด รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
23
(5) รายงานการแพทย์หรือข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคลซึ่งการเปิดเผยจะเป็นการรุกลำ้าสิทธิส่วนบุคคลโดย ไม่สมควร (6) ข้อมูลข่าวสารของราชการที่มีกฎหมายคุ้มครองมิให้เปิดเผย หรือข้อมูลข่าวสารที่มีผู้ให้มาโดยไม่ ประสงค์ให้ทางราชการ นำาไปเปิดเผยต่อผู้อื่น (7) กรณีอื่นตามที่กำาหนดในพระราชกฤษฎีกา 3. จริยธรรมและการควบคุมกันเองของสือ่ สารมวลชน การควบกันเองของสื่อสารมวลชน เป็นไปตามข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ สภา การหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.2541 ส่วนเรื่องของจริยธรรมเป็นเรื่องใหญ่ของสื่อ เพราะเป็นปณิธานในใจที่ ไม่มีใครบังคับได้นอกจาก "ความสำานึก" (หิริ โอตัปปะ) ซึง่ ต้องได้รับการ "ปลูกฝัง" มิใช่ได้มาจากบทบัญญัติ ของกฎหมาย หรือตำารา หรือแค่ความรู้สึก
หลักจริยธรรม (Ethics Principle) คำาว่า Ethics เป็นความหมายที่ใช้ในหลักปรัชญา ในที่นี้หมายถึง จริยศาสตร์ พจนานุกรม ราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. 2525 ได้ให้ความหมายจริยศาสตร์ว่า คือ ปรัชญาสาขาหนึ่งว่าด้วยความประพฤติ และ การครองชีวิต ว่าอะไรดี อะไรชั่ว อะไรถูก อะไรผิด หรืออะไรควร อะไรไม่ควร ดังนั้น จริยธรรม ก็คือ กฎ เกณฑ์ความประพฤติของมนุษย์ซึ่งเกิดขึ้นจากธรรมชาติของมนุษย์เอง ได้แก่ ความเป็นผู้มีปัญญาและเหตุผล หรือปรีชาญาณ ทำ าให้มนุษย์มีมโนธรรมและรู้จักไตร่ตรองแยกแยะ ความดี - ความชั่ว, ถูก - ผิด, ควร - ไม่ควร เป็นการควบคุมตัวเอง และควบคุมกันเองในสังคม 1. หลักจริยธรรมสากล หรือ ระบบจริยธรรม มีความเชื่อว่า [5] (1) ธรรมชาติของมนุษย์ มีทั้งดีและเลว ดี ควรส่งเสริม เลว ควรละเลิก หรือล้มล้าง (2) อุดมคติหรือความดีสูงสุดมีจริง เป็นได้จริง ในมนุษย์ (3) วิถี แห่งการดำาเนินชีวิตที่เหมาะควร และไม่เหมาะควร สามารถนำาพาชีวิตไปสู่จุดหมายสูงสุดหรืออุดมคติได้ (4) เหตุจูงใจที่ทำาให้มนุษย์ตั้งใจละชั่ว ประพฤติดี เพราะต้องการดำารงชีวิตเป็นปกติสุขในสังคม (เพื่อรักษา ประโยชน์ตน) เพราะเคารพเชื่อมั่นในศีล และกฏกติกาของสังคม จนเป็นนิสัย (เพือ่ สร้างประโยชน์ท่าน) และ เพราะมีนำ้าใจ และความรักผู้อื่น 2. หลักว่าด้วยความจริงแท้ (Objectivity) ความจริงที่แท้จริง หรือความจริงที่วัดค่าได้ ทั้งโดยรูปธรรม วัตถุธรรม และ กายกรรม วจีกรรม มี 5 ข้อ คือ (1) การไม่ฝักใฝ่ฝา่ ยใด (Impartiality) (2) ปราศจากข้อขัดแย้ง ทางผลประโยชน์ (Absence of Conflict of Interest) (3) สร้างโอกาสให้เกิดการปฎิเสธ (Opportinuty of Denial) (4) ละเว้นการลำาเอียงต่อผู้ใกล้ชิด (Aviodance of Cronyism) (5) ละเว้นการแก้แค้น ประชดประชัน (Aviodance of Vengeance) [6] 5
พระเมธีธรรมาภรณ์ (2534:77) เสนอทรรศนะว่า จริยธรรมไม่แยกเด็ดขาดจากศีลธรรม แต่กม็ ี ความหมายกว้างกว่าศีลธรรม ศีล ธรรมเป็นหลักคำาสอนศาสนาที่ว่าด้วยความประพฤติชอบ อันวางรากฐานอยู่บนหลักคำาสอนของศาสนาปรัชญาและ ขนบธรรมเนียมประเพณี จริยธรรมจึงเป็น ระบบอันมีศีลธรรม เป็นส่วนประกอบสำาคัญ ทีม่ า:
http://www.duangden.com/Ethics.html
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
24
3. หลักว่าด้วยความซื่อสัตย์ (Honesty) คุณค่าในความเป็นมนุษย์ข้อหนึ่ง วัดกันด้วยคุณธรรมความ ซือ่ สัตย์ แบ่งได้ 3 ระดับ หรือ 3 ส. ได้แก่ ระดับ "ส-สัจจะ" มีค่าในความเป็นมนุษย์สูงสุด ระดับ "ส-(ซือ่ ) สัตย์" ก็นับว่าเป็นมนุษย์ ส่วนระดับ "ส-สัตว์" มีคุณค่าน้อยที่สุด หรือไม่มีเลย เพราะไม่ต่างอะไรจากสัตว์ ความซื่อสัตย์แสดงออกได้ทางกาย วาจา และทางใจ ถ้าแสดงออกทางกาย ด้วยการประพฤติดี ทั้งต่อ ตนเอง ต่อคนใกล้ชิด ต่อบุคคลที่สาม ต่อมวลมหาชน แม้ต่อคนที่เราเกลียดชัง จะสูงส่งหรือตำ่าต้อย ขึ้นอยู่กับ ระดับความซือ่ สัตย์ดังที่กล่าวไปแล้ว ถ้าแสดงออกทางวาจา ก็เป็นคนวาจาสัจจ์ หรือวาจาสัตย์ หรือวาจาสัตว์ สุด แล้วแต่จะเป็นไป ส่วนความซื่อสัตย์ทางจิตใจ วัดกันที่มีความเข้าใจ และรู้คุณค่าของสังขารธรรมทั้ง 6 ระดับ คือ วัตถุ-สิง่ แวดล้อม, พืช, สัตว์, คน-มนุษย์, เทพ, ธรรม อย่างเข้าใจ และรู้คุณค่า 4. ความจริง (Truth) หรือหลักนิยามแห่งความจริง (ญาณวิทยา) จริยธรรมต้องประกอบด้วยความจริง 5 ประการ คือ (1) ดี (2) ถูกต้อง (3) เป็นประโยชน์ (4) ทำาให้พ้นทุกข์ หรือแก้ปัญหาได้ (5) เป็นไปได้ 5. จริยธรรมนำาความรู้ เป็นหลักที่สร้างความชอบธรรมให้แก่ผู้รู้ คือคนเราควรจะดีก่อนแล้วจึงเป็นคน เก่ง เพราะคนเก่ง แต่ขาดความดีนั้นอันตรายมาก "ดีก่อนเก่ง แล้วจึงเก่งด้วยดี"
หลักนานาสังวาส "นานาสังวาส" คือพฤติการณ์หนึ่งของพระสงฆ์ในพระพุทธศาสนา ที่แยกกันทำาสังฆกรรม ซึง่ ไม่ถือว่า เป็นความผิด และไม่เป็นสังฆเภทแต่อย่างใด เพราะพระพุทธเจ้าอนุญาตให้กระทำาได้ ความหมายง่ายๆ ก็คือ สงฆ์ทั้งสองฝ่ายยังคงเป็นพุทธร่วมกัน แต่มี "ความแตกต่างกัน (นานา)" ยังไม่ถึงขั้น "แตกแยกกัน (เภท) เป็น นิกาย" ซึง่ มี "กรรม" ต่างกัน มี "อุเทศ" ต่างกัน มี "ศีล" ไม่เสมอสมานกัน ถึงขั้น ร่วมกันยากแล้ว เพราะต่างก็มี ความเชื่อ (ศรัทธา) และความเห็น (ปัญญา) ตามสิทธิมนุษยชน ไม่เหมือนกัน จริงๆ [7] พระไตรปิฎก เล่ม 5 ข้อ 240 ระบุไว้ว่า การทำานานาสังวาส กระทำาได้เพียง 2 วิธี คือ (1) ภิกษุทำาตนเป็น นานาสังวาสด้วยตน และ (2) สงฆ์พร้อมเพรียงกันยกภิกษุนั้น (เป็นนานาสังวาส) การนำาหลักนานาสังวาส มาใช้ประกอบพิจารณาความเป็นกลาง เพราะนานาสังวาส สามารถยุติเหตุการณ์ ที่ขัดแย้งกัน มิให้แตกสามัคคี หรือทะเลาะ ตบตีกัน แต่เป็นหลักการที่ให้สิทธิและอิสรภาพ แก่กันและกัน กล่าว 6
อาจารย์สุภา ศิรมิ านนท์ ได้วางหลักทางจริยธรรมไว้ 3 ข้อ คือหลักว่าด้วยความจริงแท้ หลักว่าด้วยความซื่อสัตย์ และหลักว่า ด้วยความบังควรและไม่บงั ควรซึ่งมนุษย์พึงปฏิบตั ติ ่อมนุษย์. ส่วนการจัดลำาดับความซื่อสัตย์ 3 ส. เป็นส่วนเพิม่ เติมของผู้เขียน โปรดดูรายละเอียดใน สุภา ศิรมิ านนท์, จริยธรรมของหนังสือพิมพ์. (กรุงเทพมหานคร: อัมรินทร์ พรินติง กรป จำากัด, 2530), หน้า 19-44. 7
สมณะโพธิรักษ์ เป็นพระสงฆ์ไทย และเป็นคณะแรก ทีป่ ระกาศแยกหมู่สงฆ์ออกจากการร่วมสังฆกรรม กับสงฆ์หมู่ใหญ่ คือ พระสงฆ์ที่สงั กัดมหาเถรสมาคม และเรียกคณะของตนเองว่า "พระชาวอโศก" ซึ่งเป็นนานาสังวาส กับ พระสงฆ์ในเถรสมาคม ซึ่งการกระทำาดังกล่าว มิใช่สร้างความแตกแยก หรือกระทำาสังฆเภท แต่เพราะมี "กรรม" ต่างกัน มี "อุเทศ" ต่างกัน มี "ศีล" ไม่ เสมอสมานกัน ถึงขั้น ร่วมกันยาก มี "กรรม" ต่างกัน ก็คือ มีการกระทำาแตกต่างกันไปแล้ว เช่น พฤติกรรมต่างกัน พิธีกรรมต่าง กัน กิจกรรมต่างกัน มี "อุเทศ" ต่างกัน คือ คำาสอนคำาอธิบายธรรมะไม่ไปทางเดียวกัน ยกหัวข้อธรรมข้อเดียวกัน แต่อธิบาย ความ หมาย แตกต่างกัน มี "ศีลไม่เสมอสมานกัน" คือ ศีลข้อเดียวกัน แต่ปฏิบตั ิไม่เหมือนกันแล้ว เช่น ศีลข้อที่ว่า ไม่รับเงินทอง ไม่มี เงินทอง ไม่สะสมเงินทอง เป็นของตน ฝ่ายหนึ่งรับอยู่ สะสมอยู่ ใช้อยู่ โดยมีข้ออ้างไปต่างๆ แต่อีก ฝ่ายหนึ่งไม่รบั ไม่สะสม ไม่ ใช้ เป็นต้น รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
25
คือ ให้ประชาชนเป็นผู้เลือกว่า ฝ่ายใดกล่าวเป็นธรรม ประพฤติเป็นธรรม ก็ให้เข้าข้างฝ่ายนั้น ส่วนฝ่ายที่ไม่เป็น ธรรม สุดท้ายประชาชนก็เลิกสนับสนุนไปเอง
หลักปฏิเสธความลำาเอียง หรือ อคติ 4 พระไตรปิฎก เล่ม 21 ข้อ 17 บอกไว้ว่า ความลำาเอียง (อคติ) มีได้ 4 แบบ คือ 1. ลำาเอียงเพราะชอบ หรือ ฉันทาคติ เกิดจากความชอบใจพึงพอใจต่อสิ่งของ หรือบุคคล แม้สิ่งนั้น หรือบุคคลนั้น จะผิดคลองธรรมก็ตาม เข้าลักษณะ "ถูกใจ แต่ไม่ถูกต้อง" 2. ลำาเอียงเพราะชัง หรือ โทสาคติ เกิดจากความไม่ชอบใจต่อสิ่งของ หรือบุคคล แม้สิ่งนั้น หรือบุคคล นั้นจะถูกต้องชอบธรรมก็ตาม เข้าลักษณะ "ดี แต่ ผิด" 3. ลำาเอียงเพราะไม่รู้ หรือ โมหาคติ เกิดจาก ไม่ทราบข้อเท็จจริง ไม่มีสติ ไม่รู้ผิดชอบชั่วดี แยกดีแยก ชั่ว แยกถูกแยกผิดไม่ได้ หลงถึงขนาดเห็นผิดเป็นชั่ว หรือถึงขนาด "เห็นกงจักรเป็นดอกบัว" รวมทั้งไม่มีสติ เป็นบ้า 4. ลำาเอียงเพราะกลัว หรือ ภยาคติ เกิดจาก บุคคลผู้นั้นตกอยู่ในภาวะแห่งความกลัว 5 ประการ คือ (1) อาชีวิตภัย ภัยอันเนื่องด้วยการดำารงชีวิต (ความยากลำาบากในการหาเลี้ยงชีวิต) (2) อสิโลกภัย ภัยคือการติเตียน (ชื่อเสียงไม่ดี กลัวไม่โด่งดัง ไม่มีชื่อเสียง) (3) ปริสสารัชภัย ภัยคือการสะทกส้านในบริษัท (ไม่แกล้วกล้า อาจหาญในชุมชน) (4) มรณภัย ภัยคือความตาย (กลัวไม่มีชีวิต) (5) ทุคติภัย ภัยคือ ทุคติ (กลัวตกตำ่า ไปสู่ที่ ทุกข์รอ้ น เพราะไม่สามารถมีญาณประจักษ์แจ้งถึงความเป็นจริงแห่งความดีที่ตนได้อย่างมั่นใจ) ถ้าปล่อยให้บุคคลที่ตกอยู่ในสภาวะลำาเอียงเช่นนี้ มีฐานะเป็นผู้ตัดสินใจ หรือมีสิทธิ มีอำานาจทางการเมือง หรือให้เป็นผู้นำา ให้คุณให้โทษแก่ผู้คนได้ ก็จะเกิดความไม่เป็นธรรม ทุกข์เดือดร้อนอย่างแน่นอน
หลักจริยธรรม 9 เป็นหลักเกณฑ์ทางศีลธรรม (Moral) คำำว่าศีลธรรม มาจากรากศัพท์ภาษาละติน Moralis แปลว่าหลัก ความประพฤติที่ดีสำ าหรับบุคคลพึงปฏิบัติ ผูม้ ีหรือใช้อำานาจทางการเมืองการปกครอง จะต้องยึดหลักศีลธรรม (มีทศพิธราชธรรม 10) จรรยาบรรณ และ คุณธรรม เป็นแนวปฏิบัติ จรรยาบรรณ หมายถึงประมวลความประพฤติ ทีผ่ ู้ประกอบอาชีพการงานแต่ละอย่างกำ าหนดขึ้น เพือ่ รักษาและส่งเสริมเกียรติคุณชื่อเสียง และฐานะของสมาชิก อาจเขียนเป็นลายลักษณ์อักษรหรือไม่ก็ได้ โดยอาศัย คุณธรรม (Virtue) หมายถึง สภาพคุณงามความดีทางความพฤติและจิตใจ เป็นเครื่องแสดง ยืนยันว่า สภาพใน ลักษณะใดที่เป็นถือว่าเป็นกลางที่ยอมรับได้ เมือ่ ประสบกับทุกข์ปญั หา คือความขัดแย้ง ให้นำาหลักจริยธรรม 9 ข้อนีม้ าประกอบพิจารณา เลือกฝัง่ ทีเ่ ป็นธรรม หรือฝัง่ ไม่เป็นธรรม จากธรรมะ 9 คู่ คือ (1) ดี ชั่ว (2) ถูก ผิด รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
26
(3) จริง เท็จ (4) ประโยชน์ โทษ (5) ศิลป อนาจาร (6) ควร ไม่ควร (7) เที่ยงธรรม ลำาเอียง (8) สาระ ไร้สาระ (9) หมด เหลือ ขอขยายความธรรมะคู่ของ ศิลปะ กับ อนาจาร เพือ่ สร้างความเข้าใจที่ถูกต้องก่อนว่า ภาพหรือสือ่ ใดๆ ที่ผู้ ดู ดูแล้วเกิดกิเลสกาม ราคะ โทสะ โมหะ สิง่ นั้นคือ อนาจาร ภาพหรือสื่อใดๆ ที่ผู้ดู ดูแล้วกิเลสกาม ราคะ โทสะ โมหะ ลดลง สิ่งนัน้ คือ ศิลปะ และ ภาพหรือสื่อใดๆ ที่ผู้ดูแล้ว เกิดสุนทรียารมณ์ และความผาสุก ร่มเย็น สงบ สันติ แต่เข้มแข็ง เป็นพลังที่ก่อให้เกิดการเสียสละ ไม่ยึดมั่นถือมั่น และสลายอัตตา สิง่ นั้นคือ ศิลปะอันอันติมะ (สุดยอดของศิลปะ) คู่ของเที่ยงธรรม กับ ลำาเอียง ใช้หลักปฎิเสธความลำาเอียง หรือ อคติ 4 มาประกอบพิจารณา ธรรมะคู่ของ สาระ กับ ไร้สาระ ให้ดูที่ความหมายของ คน 3 จำาพวก เป็นข้อเปรียบเทียบ คือ (1) คนที่มอง อสาระ ว่าเป็น สาระ คือ คนขยะ (2) คนที่มอง สาระ ว่า ไร้สาระ คือ คนไร้สาระ (3) คนที่มอง อสาระ ว่า ไร้สาระ และมอง สาระ ว่า เป็นสาระ คือ คนมีสาระ …คุณเป็นคนจำาพวกใด? ส่วนคำาว่า หมด เหลือ หมายถึง การอ่านใจของตนเองว่า ยังมีกิเลส อัตตา หรือความลังเลสงสัยอะไร ที่ ค้างอยู่ในจิต และสามารถบอกได้ ยืนยันได้ว่า อะไรที่มันหมด มันสูญ มันตายสนิทแล้วจริง อันไม่กำาเริบไม่ฟื้น มาสร้างความเดือดเนื้อใจให้แก่ตน ถ้ายังไม่หมด ก็ยังคงต้องทำาหน้าที่ในการสะสางกิเลส อัตตาเหล่านั้น ต่อไป อย่าให้ค้างอยู่ในใจ เพราะยิ่งอยู่ในตัวเรานาน มากเท่าใด ก็จะสร้างความเดือดร้อนให้มากและนานขึ้นเท่านั้น ต้องรีบเอาออก อย่าให้เหลือ และนี่คือหน้าที่ และภารกิจของความเป็นมนุษย์ (มนุสโส)
หลักตัดสินใจเชิงคุณธรรม (กุญแจ 5 ดอก) แม่กุญแจ เป็นองค์ประกอบ 5 ประการ ที่จะนำามาเป็นเหตุเป็นปัจจัย หรือเป็นข้อมูล ข้อเท็จจริง ประกอบ การวิเคราะห์พฤติการณ์ใดๆ หรือบุคคลใด ซึ่งเปรียบเสมือนแม่กุญแจ ได้แก่ กุญแจ เจตนา ดูจากสถานการณ์ ผิดกฎหมาย, บาดเจ็บ หรือทรัพย์สินเสียหาย, บันดาลโทสะ ป้องกันตัว เหตุสุดวิสัย, พยาม ผิดแค่ทางวาจา, ไม่เจตนา หรือประมาท กุญแจ ผลกระทบ ดูจากสิ่งที่จะเกิด กระทบต่อสาธารณะ, กระทบต่อบุคคล, กระทบต่อทรัพย์สินหรือ สัตว์, กระทบต่อชือ่ เสียง เกียรติยศ กุญแจ กรรม ดูจากสาเหตุ กระทำาเป็นกลุ่มคณะ หรือทำาเพียงลำาพัง, ทำาเอง หรือจ้างวานให้ผอู้ ื่นกระทำา, ทำาเพราะหลงผิด, ทำาเพราะถูกบังคับหรือสถานการณ์บังคับให้จำานน กุญแจ สำานึก ดูจากจำานวนครัง้ ทีเ่ กิดขึน้ เกิดซำ้าซาก, เกิดสองสามครัง้ , เพิง่ เกิดขึน้ ครัง้ แรก, ยอมรับการเกิดขึน้ กุญแจ ฐานะ ดูจากสถานภาพและ ความน่าเชื่อถือของผู้กระทำา หรือสิ่งที่เกิดขึ้น รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
27
ลูกกุญแจ เป็นกลไกการตัดสินใจ ที่จะนำาไปใช้ในเป็นเครื่องมือ หรือผลักดันให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้ง ในระดับส่วนตัว ระดับสาธารณะ ทั้งในทางกฎหมาย ศีลธรรม ทั้งในยามวิกฤต หรือยามปกติ ทั้งในเชิงคุณภาพ หรือเชิงปริมาณก็ตาม ใช้หลัก ความจำาเป็น 5 ประการ ต่อไปนี้ เป็นตัวตัดสินขั้นสุดท้าย ซึ่งเปรียบเสมือน ลูกกุญแจ (1) ความถี่ของพฤติการณ์ (Frequency Cause) (2) ความรุนแรง (Effect Violence) (3) ผลกระทบ (Impact) (4) ความยากง่ายในการแก้ไข (Interaction Crisis) (5) ประโยชน์สูง ประหยัดสุด (Saving Cost) จุดตัดสินความถูก-ผิด, ชอบธรรม-ไม่ชอบธรรม, เป็นกลาง-ลำาเอียง ของพฤติการณ์ใด หรือบุคคลใด อยู่ ตรงที่ การนำาหลักกุญแจ เจตนา - ผลกระทบ - กรรม - สำานึก - ฐานะ มาพิจารณาและวิเคราะห์ดูว่า ค่อนไปทาง ฝั่งบวกหรือทางฝั่งลบ แล้วเลือกลูกกุญแจ หลักความจำาเป็น 5 ประการ มาพิจารณาประกอบการตัดสินใจว่า พฤติการณ์ใดเกิดถี่ หรือรุนแรง หรือผลกระทบเสียหายมากกว่า หรือง่ายต่อการแก้ไข และถ้าลงมือแล้วเกิด ประโยชน์สูงกว่า ก็ให้เลือกทำาสิ่งนั้นก่อนเป็นลำาดับแรก สื่อกับความเป็นกลาง กระบวนทัศน์หลังสมัยใหม่ (Post Modern paradigm) หรือกระบวนอนาคต เป็นกระบวนทัศน์เชิง คุณภาพ ที่สร้าง "สมดุล-สัมบูรณ์-สุขภาวะ" ให้แก่คนในสังคม กระบวนทัศน์โพสต์โมเดิร์น ให้ความสำาคัญ และเคารพศักดิ์ศรีในความเป็นมนุษย์ มองว่า เห็นคนเป็นคน เห็นมนุษย์เป็นมนุษย์ ที่งดงามด้วยร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และการอยู่ร่วมกันเป็นสังคม ทุกคนมีกิเลส มีความต้องการไม่เหมือนกันและไม่เท่ากัน จึงสร้างปัญหา ต่างๆ ได้ไม่เท่ากัน ดังนั้น สมาชิกของในสังคม ต้องร่วมมือกันแก้ไขปัญหา มิใช่ปล่อยให้เป็นภาระของใครคน ใดคนหนึ่ง ส่งเสริมความดี และป้องปรามความเลว มุ่งขจัดความชั่วร้ายในตัวตน มิใช่ทำาร้ายบุคคล สนองความ ต้องการพื้นฐานมากกว่าความต้องการส่วนเกิน เป็นหนทางแก้ไขปัญหาสังคมที่ถูกต้อง จะเห็นว่า กระบวนทัศน์ เป็นชุดความเชื่อชุดหนึ่งของมนุษย์ ที่ฝังลึกอยู่ในจิตใจของแต่ละคน ซึ่งแตกต่าง กันตามเพศ วัย สิง่ แวดล้อม และการปลูกฝังทางสังคม กระบวนทัศน์นี่เองที่เป็นตัวกำาหนดพฤติกรรมของมนุษย์ มาดูว่ามนุษย์มีพฤติกรรมที่แตกต่างกันอยู่ 3 แบบ คือ แบบยึดมั่นไม่เปลี่ยน แบบเปลี่ยนชั่วคราว และแบบเปลี่ยน ถาวร โดยมีความรู้, เหตุผล, แรงจูงใจ, แรงบีบคั้น, และปัจจัยพื้นฐาน เป็นองค์ประกอบหลัก ที่จะทำาให้กระบวน ทัศน์เปลี่ยนแปลงได้ (Paradigm shift) ถ้ากระบวนทัศน์เปลี่ยน พฤติกรรมก็เปลี่ยนไปด้วย ที่ยึดมั่นไม่เปลี่ยนแปลง เพราะ ความรู้, เหตุผล, แรงจูงใจ, แรงบีบคั้น, ปัจจัยพื้นฐาน มีไม่เพียงพอ ที่ เปลี่ยนชั่วคราว เพราะ ความรู้, เหตุผล, แรงจูงใจ, แรงบีบคั้น, ปัจจัยพื้นฐาน ไม่มีนำ้าหนัก และที่เปลี่ยนถาวร เพราะความรู้, เหตุผล, แรงจูงใจ, แรงบีบคั้น, ปัจจัยพื้นฐาน ได้รับการปลูกฝังจนตกผลึกทางความคิด มีความเข้าใจผิดกันมากในสังคมไทยว่า การวางตัวเป็นกลางคือการอยูเ่ ฉยๆ ใครจะทำาดีทำาเลวอย่างไร ไม่ สนใจไม่เกี่ยวข้อง เพราะเกรงว่าจะไปกระทบผู้อื่น ความเป็นกลางในลักษณะนี้ไม่สร้างสรร ผูท้ ี่รู้ตัวหรือได้รับ การยกว่าเป็นปราชญ์ เป็นคนดี ต้องกล้าหาญที่จะชี้ถูกชี้ผิดและบอกทางเลือกให้แก่สังคม จึงจะเป็นปราชญ์ เป็น รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
28
คนดีที่มีคุณค่า มิใช่ปล่อยให้ข้อขัดแย้งหรือสถานการณ์ปัญหายืดเยื้อต่อไป รังแต่จะสร้างความเสียหายมากขึ้น ใครก็ตามที่จะทำาหน้าที่ตัดสินคนอื่น ต้องปรับตัวเองให้เป็นกลางเสียก่อน ทั้งฐานะทางสังคม และจิตใจที่ เป็นกลาง บริบททีเ่ กี่ยวข้องกับความเป็นกลาง ประกอบด้วย (1) สถานการณ์ขัดแย้ง (Conflicting cause) (2) ผลกระทบ (Impact) (3) การยกข้อขัดแย้งขึ้นพิจารณา (Protestation) (4) ความยุตธิ รรม (Justice) และ (5) ระเบียบวิธีสู่ความเป็นกลาง (Position of midst method) การยุติข้อขัดแย้งจึงต้องอาศัยกระบวนยุติธรรม หรือความเป็นกลางมาเป็นเครื่องตัดสิน กรอบคิดที่จะนำา มาใช้ในการยุติข้อขัดแย้งทั้งหลายทั้งปวง ได้แก่ ระเบียบวิธีสู่ความเป็นกลาง ประกอบด้วย (1) หลักจริยธรรม สากล (2) หลักนานาสังวาส (3) หลักปฏิเสธความลำาเอียง หรือ อคติ 4 (4) หลักจริยธรรม 9 (5) หลักตัดสินใจ เชิงคุณธรรม (กุญแจ 5 ดอก) และ (6) ความรัก 10 มิติ เป็นปัจจัยนำาเข้า (Input) แล้วนำามาประกอบการวิเคราะห์ ข้อขัดแย้ง หรือประเด็นปัญหา เรียกว่ากระบวนการวิเคราะห์ (Process Analysis) แล้วตัดสินหรือลงความเห็น (Output) ให้เกิดความพึงพอใจ (Satisfaction) การยอมรับ (Attention) การรับรอง (Certification) และเกิด สันติภาพ (Peace) ระดับชี้วัด
Input
Processed Analysis
Output
ระดับที่ 1
-หลักจริยธรรมสากล 1. วิเคราะห์ข้อขัดแย้ง (Conflict) -หลักนานาสังวาส -สถานการณ์ (Conflicting cause) -หลักปฏิเสธความลำาเอียง -ผลกระทบ (Impact) (อคติ 4) -การฟ้องร้อง (Protestation) -หลักจริยธรรม 9 2. วิเคราะห์คุณสมบัติ -หลักตัดสินใจเชิงคุณธรรม -ผูต้ ัดสิน (Justice) (กุญแจ 5 ดอก) -ผู้กล่าวหา (Accuser) -ความรักสิบมิติ -ผูถ้ ูกกล่าวหา (Suspect) -บุคคลที่ 3 (เสียงประชาคม)
ความเป็นธรรม หรือ ความยุตธิ รรม (Justice) -ความพึงพอใจ (Satisfaction) -การยอมรับ (Attention) -การรับรอง (Certification) -ความมัน่ คง สันติสขุ (Peace)
ระดับที่ 2
สถานภาพผู้วิเคราะห์
ปัจจัยประกอบการวิเคราะห์
ผลที่ต้องการ
ผู้ตัดสิน (บุคคล, คณะบุคคล)
1. กระบวนทัศน์ (Paradigm) 2. ข้อมูล Demographic และ Psychographic Blackground [8] 3. ระดับคุณธรรม-จริยธรรม
-ความคิดเห็นเป็นกลาง -พฤติกรรมเป็นกลาง -คำาตัดสิน ชีถ้ ูก ชีผ้ ิด
ผู้กล่าวหา (บุคคล, คณะบุคคล)
เหมือนผู้ตัดสิน
ด้วยข้อมูลจริง
8
Demographic Blackground เป็นข้อมูลทางประชากรศาสตร์ เช่น ถิ่นเกิด ชาติ เผ่าพันธุ์ อาชีพ ตำาแหน่ง การศึกษา เป็นต้น ส่วน Psychographic Blackground เป็นข้อมูลทางจิตภาพ เช่น ชอบ ไม่ชอบ ความคิด วิสัยทัศน์ อุดมการณ์ รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
29
ระดับชี้วัด
ระดับที่ 3
Input
Processed Analysis
Output
ผูถ้ ูกกล่าวหา (บุคคล, คณะบุคคล)
เหมือนผู้ตัดสิน
บุคคลที่ 3 (เสียงของประชาคม)
1. สนับสนุนผู้กล่าวหา 2. สนับสนุนผู้ถูกกล่าวหา 3. ปฏิเสธการกล่าวหา
-สนับสนุนฝ่ายที่เป็นธรรม -ปฏิเสธฝ่ายอธรรม
ผลกระทบต่อเศรษฐกิจ สังคม ศีลธรรม
สถานการณ์ขัดแย้ง / ข้อกล่าวหา
สู่ภาวะปกติ - ปัญหายุติ (เป็นกลาง)
ผิด ต้องได้รับโทษ ไม่ผิด ต้องได้รับการคุ้มครอง
ระดับชี้วัดที่ 1 เป็นการวิเคราะห์ในภาพรวมของประเด็นขัดแย้งต่างๆ ว่าที่สุดแล้วจะเกิดความเป็นธรรม หรือไม่ เพียงใด ส่วนระดับชี้วัดที่ 2 มีความชัดเจนขึ้น เพราะเป็นการวิเคราะห์ที่ตัวบุคคล ว่ามีสถานภาพเหมาะ สมเพียงใด มีค่าความเป็นกลางเพียงพอหรือไม่ที่จะตัดสินความถูกผิด ระดับชี้วัดที่ 3 เป็นคำาตอบสุดท้ายที่จะ บอกแก่สังคมว่า ภาวะเศรษฐกิจ สังคม และศีลธรรม ที่ได้รับผลกระทบจากประเด็นข้อขัดแย้งต่างๆ ได้รับการ แก้ไขสู่ภาวะปกติหรือยัง ความเป็นกลาง คือ ความสมดุลย์ ระหว่าง วัตถุและนาม กายกับจิต เปลืกกับแก่น ปริมาณกับคุณภาพ สัจจะกับสมมุติ ความเป็นกลาง คือ ความชัดเจน โปร่งใส ดุจหงายของที่ควำ่า ทำาที่มืดให้สว่าง ชักของลึกให้ตื้น ตื่นจากความหลับ ความเป็นกลาง คือ การมีสุขภาวะที่สมดุล ทั้งทางร่างกาย จิตใจ อารมณ์ และสังคม ความเป็นกลาง คือ การปรับเปลี่ยนพฤติกรรมจากเลวไปสู่ดี จากการเอาเปรียบไปสู่การเสียสละ จากไร้สาระไปสู่ สาระ ความเป็นกลาง คือ การลดความรุนแรง (Violence) ไปสู่ อหิงสา (Nonviolence) จนเกิด อโหสิ (Peace) ความเป็นกลาง คือ ให้โอกาสคนดีได้มีอำานาจ เพราะ "คนดี" ย่อมสร้าง "ระบบดี" ระบบดี จะส่งเสริมให้คนดี ได้มี โอกาสทำาดีมากขึ้น ในขณะเดียวกันก็ปอ้ งปรามคนเลว ให้ทำาเลวยากขึ้น หรือไม่มีโอกาสทำาเลว เลย ความเป็นกลาง คือ การเดินทางไปสู่ ดี ถูก จริง ประโยชน์ คุณค่า ศิลปะ สาระ เหมาะควร สุญญตา และสุดยอดแห่งความเป็นกลาง คือ การลด ละ เลิก กิเลส ตัณหา อุปาทาน ของตนเองจนหมดเป็นศูนย์ เป็นคุณสมบัติและเป็นคุณค่า เกิดภาวะ "อิสระเสรีภาพ สันติภาพ ภราดรภาพ สมรรถภาพ และ บูรณภาพ" รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
30
ค. บทสรุป 1. บทบาทความรับผิดชอบของสื่อ และสื่อมวลชน ท่ามกลางสถานการณ์ความขัดแย้งทางสังคม 1.1 รับผิดชอบต่อสาธารณะในฐานะที่เป็นองค์ที่รักษาความเป็นกลาง สือ่ ต้องทำาตนเองให้เป็นก ลาง ความเป็นกลางต้องอยูฝ่ ั่งของคนดี คนมีคุณภาพ คุณธรรม (แม้จะด้อยปริมาณ) นั่นคืออยู่ในฝั่งของ ศีลธรรม สือ่ จะทำาได้หรือไม่ขึ้นอยู่กับ พฤติกรรมและวิถีชีวิตของสื่อเอง เช่น รักษาศีล ย่อมเป็นที่พึ่งของ สังคมได้ (คนที่ถอื ศีล 5 คือครูของโลก) 1.2 ตัวสื่อมวลชน ต้อง "เปิดองศาใจ" ให้กว้าง เพื่อรองรับกระแสใจของประชาชน มวลของโมห จริตของผู้คน และพลังอำานาจของเจ้าหน้าที่รัฐที่ไม่ชอบธรรม รู้เขารู้เรา ประเมินความเข้มแข็งของใจ ถ้า พร้อมก็ออกเผชิญหน้า ถ้าไม่พร้อมหยุดก่อน 1.3 ให้การศึกษาความรู้ (Education) เพื่อสร้างกระบวนทัศน์ใหม่ (Postmodern Paradigm) ให้แก่ คนรุ่นใหม่ 2. เสนอบรรทัดฐานใหม่ในการกำาหนดขอบเขตเสรีภาพในการกระจายข่าวสารของสือ่ ในท่ามกลาง วิกฤติของสังคม 2.1 สือ่ ต้องเข้าใจเรื่องกระบวนทัศน์ของสังคม และพยายามปรับกระบวนทัศน์ของตน (Shift paradigm) ให้เป็นกระบวนทัศน์เชิงคุณภาพ (Postmodern paradigm) 2.2 ท่ามกลางกระแสวัฒนธรรมการบริโภค (Consumption) 5.1) การบริโภค “แบบสวาปาม” (Mass consumption) เป็นการบริโภคที่คนระดับนายทุน เป็นผู้กำาหนดให้แก่คนระดับผู้บริโภค สือ่ จะต้องเสนอข้อเท็จจริงผลเสียหายที่จะเกิดขึ้น ถ้าเปิดรับ กระแสวัตถุนิยม-บริโภคนิยมมากเกินไป 5.2) การบริโภค “แบบพอประมาณ” (Fairly good consumption) จะทำาให้มีทรัพยากรเหลือ กินเหลือใช้ หรือมีกินได้อย่างยาวนาน 5.3) การบริโภค “แบบพึ่งพา” (Inhabitable consumption) จะทำาให้เกิดเครือข่ายความเข้ม แข็งของชุมชน เป็นอัตราการก้าวหน้าของเศรษฐกิจพอเพียง 2.3 ระบบบอบการเมืองของประเทศไทย สื่อต้องแยกให้ออกว่าขณะนี้การเมืองของไทย มีความ เป็นประชาธิปไตยหลงเหลือเนื้อแท้อยู่เท่าใด แล้วตีแผ่ให้ประชาชนเข้าใจ 2.4 สือ่ ต้องทำาหน้าที่เตือนภัยอันตราย (Warning) ต่อประชาชน คือ ภัยจากธรรมชาติ และภัยจาก คนในสังคม ตลอดจนภัยอันเนื่องมาจากสุขภาพ สถานีโทรทัศน์จะเป็นผู้บอกบอก รายงาน นำาเสนอข้อ เท็จจริงและทางออกของปัญหาต่างๆ การปฏิบัตธิ รรมถือศีล 5 ก็สร้างภูมิคุ้มกันภัยได้ไม่น้อย เช่น รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
31
ภัยจากอาชญากรรมทางเพศ และโรคเอดส์ เพราะรักษาศีลข้อ 3 ภัยจากอาชญากรรมประทุษร้ายต่อทรัพย์สิน เพราะชาวอโศกจะอบรมขัดเกลา ให้เป็นผู้มักน้อย สันโดษ มีวถิ ีชีวิตเรียบง่าย ไม่สะสม ไม่ฟุ่มเฟือย เป็นการรักษาศีลข้อ 2 ซึ่งเท่ากับตัดวงจรการสือ่ สารการอาชญากรรม (piratical communication) ภัยจากสุขภาวะเสือ่ มโทรม โดยการส่งเสริมอาหารธรรมชาติ อาหารมังสวิรัติ อาหารไร้สารพิษ การรักษา สุขภาพด้วยวิธี 5 อ. (อ.อาหาร, อ.อากาศ, อ.ออกกำาลังกาย, อ.อารมณ์, อ.อิทธิบาท) ภัยจากการทะเลาะวิวาทและการทำาร้ายร่างกาย เพราะรักษาศีลข้อ 1 (ปาณาติปาตา เวรมณี) รักษาศีลข้อ 4 (มุสาวาทา เวรมณี) และรักษาศีลข้อ 5 (สุราเมรยะมัชฌปมาทัฎฐานา เวรมณี) ภัยจากธรรมชาติ เพราะส่งเสริมให้ประชาชนประกอบอาชีพไม่ทำาลายสิ่งแวดล้อม เช่น 3 อาชีพกู้ชาติ คือ กสิกรรมธรรมชาติ หรือกสิกรรมไร้สารพิษ ขยะวิทยา และการทำาปุ๋ยสะอาด หรือปุ๋ยจุลินทรีย์ ตลอดจนการ สร้างสมดุลย์ให้กับธรรมชาติ ภัยจากทุคติ ที่เชื่อว่าชีวิตในอนาคต (ทั้งที่มีชีวิตอยู่ และตายไปแล้ว) จะไม่ผาสุก เพราะวันนี้สร้างสิ่งที่ดี วันหน้าก็คงจะประสบผลดี ตามหลักกรรมนิยม (ทำาดีได้ดี ทำาชั่วได้ชั่ว ทำาดีแล้วไม่ได้ดี เพราะทำาดียังไม่มากพอ) และถ้าหากเกิดประสบภัยต่างๆ ก็จะไม่คิดว่าเป็นการสูญเสียเสียทีเดียว เพราะวิบากกรรมมีจริง โดยที่ผู้รับ เคราะห์ไม่อาจคาดเดาได้ว่าจะเกิด หรือมีภัยมาถึงตัว เวลาใด สถานที่ใด หรือเกิดกับใคร ก็จะเสียใจไม่มาก เพื่อ ให้ทำาใจได้ นับเป็นภาระหน้าที่ของสถานี สรุป ข้อกฏหมายใช่วาจะไม่สำาคัญ แต่ถ้ามนุษย์ไม่มีรากของจริยธรรมแล้ว กฎหมายก็มีไว้เพื่อแก้ปัญหาที่ปลาย เหตุเท่านั้น ดังนั้นสังคม รัฐบาล และประชาชน ต้องให้โอกาสสื่อ ในการบริหาร "อิสรภาพ" + "เสรีภาพ" + "ความรับผิดชอบ" ของสือ่ เอง มิใช่มุ่งแต่ประเด็นการเมืองเพียงอย่างเดียว เพราะสังคมที่ประกอบด้วยคน 7 ประเภท คือ เด็ก คนแก่ คนป่วย คนพิการ คนไร้ความสามารถ คนขี้เกียจ และคนขี้โกง ยังเป็นภาระของสังคม ที่ สือ่ เองจะทนดูไหวหรือ ดังนั้น สือ่ และสื่อสารมวลชน ควรยึดแนวนโยบายกลางๆ ในการนำาเสนอข่าวสารเพื่อ ความสงบสุขของประชาชนส่วนใหญ่ คือ “สุขภาวะ สาระ บันเทิง” สือ่ เองต้องคิดให้เป็น และคิดให้ได้ ว่า “Think Globally but Act Locally and Communicate Humanly” แปลว่า “คิดสูงเสียดฟ้า แต่กระทำาเพื่อ แผ่นดิน สื่อสารด้วยภาษาอย่างคนธรรมดา” หรือจะแปลว่า “ฝันเพื่อคนทั้งโลก แต่กระทำาให้คนทั้งแผ่นดิน ด้วยภาษาถิ่นที่จับใจ”
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
32
บรรณานุกรม ณรงค์ เพ็ชรประเสริฐ. ฅนชั้นกลางไทยในกระแสทุนนิยม. กรุงเทพฯ: จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2548. ประเสริฐ ลิม่ ประเสริฐ. รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2540. พิศิษฐ์ ชวาลาธวัช. กฎหมายและจริยธรรมสื่อสารมวลชน. พิมพ์ครั้งที่ 13. (กรุงเทพมหานคร: โกสินทร์), 2547. ศุภรัศมิ์ ฐิติกุลเจริญ. ทฤษฎีการสื่อสาร. พิมพ์ครั้งที่ 2. (กรุงเทพมหานคร: สำานักพิมพ์มหาวิทยาลัยรามคำาแหง), 2542 สมณะโพธิรักษ์. ความรัก ๑๐ มิติ ฉบับเขียนใหม่. กรุงเทพฯ: บจก.ฟ้าอภัย, 2544.
http://www.asoke.info/02Polity/FhaeParty/NEWS/vol0008mar2004.html
อรศรี งามวิทยาพงศ์. บทความต้นร่างเพื่อการอภิปรายของกลุ่ม "ทิศทางกระบวนทัศน์ไทย”, กรอบความคิดว่า ด้วยกระทัศน์สุขภาพ. Midnight University: new article in June-July. http://www.midnightuniv.org/datamid2001/newpage3.html
รายงานการศึกษา “เสรีภาพและความรับผิดชอบของสื่อ”
33