ระบบนิเวศปะการัง

  • Uploaded by: kokkok
  • 0
  • 0
  • December 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View ระบบนิเวศปะการัง as PDF for free.

More details

  • Words: 601
  • Pages: 7
ระบบนิเวศ “ปะการัง” ปะการัง

ระบบนิเวศ “ปะการัง” ปะการัง เป็นสิ่งมีชีวิตชนิดหนึ่งจัดอยู่ในประเภทสัตว์ทะเลที่ไม่มีกระดูกสันหลัง ปะการังมี มากมายหลายชนิดมีทั้งปะการังแข็ง ปะการังอ่อน หลากสีสันและหลากหลายรูปร่างเช่นปะการังเขากวาง ปะการังดอกเห็ด และอีกมากมาย ปะการังอยู่ได้เฉพาะเขตร้อนและใกล้เขตร้อนที่อุณหภูมิของนำ้าไม่ตำ่ากว่า 18 องศาเซลเซียส ดังนั้นประเทศในเขตหนาวจึงไม่มีปะการัง ดังที่แสดงในภาพที่ 1 ซึ่งเป็นภาพแสดงแนว ปะการังที่พบอยู่ตามส่วนต่างๆของโลก

ภาพที่ 1 แสดงแนวปะการั ง ตามส่ ว นต่ า งๆของโลก

แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง เป็นแนวปะการังที่พบมากที่สุดในพื้นที่ทะเลแถบเอเชียอาคเนย์ (เอเชีย ตะวันออกเฉียงใต้) ซึ่งมีมากถึง 30% ของแนวปะการังประเภทนีข้ องโลก บริเวณที่พบทั่วไปก็คือเกาะขนาด เล็กและขนาดกลางซึ่งกระจัดกระจายอยู่ในท้องทะเลประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีแนวปะการังมาก ที่สุดคือประเทศอินโดนิิเชีย เนื่องจากเป็นประเทศที่มีความยาวของแนวชายฝั่งทะเลรวมกันถึง 81,000 กิโลเมตร ปะการังส่วนใหญ่พบในบริเวณชายฝั่งทางใต้และหมู่เกาะทางตะวันออกประเทศฟิลิปปินส์ เป็น อีกประเทศหนึ่งที่มีความอุดมสมบูรณ์ของแนวปะการัง เนื่องจากมีชายฝั่งทะเลที่ยาวรวมกันถึง 18,000 กิโลเมตร และจะพบแนวปะการังทั่วไปตามแนวชายฝั่งของเกาะต่างๆ

บริเวณเกาะแถบชายฝั่งทะเลอันดามันของประเทศไทยส่วนใหญ่จะเป็นเกาะที่มีสภาพแวดล้อมที่ เหมาะสมต่อการเกิดและเจริญเติบโตของปะการัง ส่วนบริเวณอ่าวไทยนั้นมีข้อจำากัดของการเจริญเติบโต ของปะการังค่อนข้างสูง แนวปะการังที่พบในประเทศไทย ความสวยงามใต้ท้องทะเลไทย ไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าที่อื่นๆใดในโลก สร้างชื่อเสียงจนติด อันดับ 1 ใน 10 ของโลก ซึ่งแนวปะการังที่พบมีอยู่ทั้งแถบทะเลอันดามันและด้านอ่าวไทย ความงามและ ลักษณะสัณฐานใต้ทะเลแตกต่างกันออกไปในแต่ละพื้นที่ แสดงได้ดังตารางที่ 1 ที่ตั้งและจังหวัดที่พบแนวปะการัง บริเวณที่พบแนวปะการัง 1. ฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนบน จังหวัดชลบุรี เกาะครก เกาะสาก เกาะล้าน เกาะแสมสาร เกาะแรด เกาะคราม ฯลฯ จังหวัดระยอง เกาะเสม็ด จังหวัดตราด หมู่เกาะมัน หมู่เกาะช้าง เกาะกูด หมู่เกาะรัง จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ อ่าวประจวบ อ่าวมะนาว เกาะจาน เกาะทะลุ 2. ฝั่งทะเลอ่าวไทยตอนล่าง จังหวัดชุมพร เกาะเต่า เกาะนางยวน และหมู่เกาะขนาดเล็ก จังหวัดสุราษฎร์ธานี หมู่เกาะอ่างทอง เกาะพงัน เกาะสมุย เกาะแตน 3. ฝั่งทะเลอันดามันตอนบน จังหวัดระนอง หมู่เกาะกำานุ้ย จังหวัดพังงา หมู่เกาะสุรินทร์ เกาะตาชัย หมู่เกาะสิมิลัน จังหวัดภูเก็ต หาดไนยาง อ่าวบางเทา หาดกมลา อ่าวป่าตอง หาดกะตะ-กะรน หาดไนหาน เกาะไม้ท่อน เกาะราชา ฯลฯ 4. ฝั่งทะเลอันดามันตอนล่าง จังหวัดกระบี่ หาดนพรัตน์ธารา หมู่เกาะพีพี เกาะด้ามหอก เกาะด้ามขวาน เกาะไผ่ เกาะยูง เกาะห้อง เกาะแดง เกาะปอตะ เกาะรอกนอก เกาะรอกใน เกาะไง จังหวัดตรัง เกาะกระดาน เกาะมุกข์ จังหวัดสตูล หมู่เกาะตะรุเตา เกาะกลาง เกาะไข่ เกาะอาดัง เกาะราวี เกาะหลีเป๊ะ เกาะ มาดอง เกาะบุโหลน เกาะลิดี ฯลฯ ตารางที่ 1 แสดงระบบนิเวศปะการังในประเทศไทย

ปะการังเป็นทรัพยากรธรรมชาติทางทะเลที่สำาคัญ เป็นที่อยู่อาศัยของพืชและสัตว์นำ้า เป็นแหล่ง อาหารเพื่อการเจริญเติบโต เป็นแหล่งเพราะพันธุ์และวางไข่ เป็นแหล่งหลบภัยของสัตว์นำ้าต่างๆ ดังนัน้ ปะการังจึงเป็นเหมือนผู้ผลิตและเป็นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิตในทะเล ปะการัง (Coral) เมื่ออยู่รวมกันในบริเวณหนึ่งเราเรียกว่าแนวปะการัง (Reef) ก็เหมือนกับต้นไม้ เมื่อ อยู่ต้นเดียวเราเรียกต้นไม้ เมื่อมีอยู่รวมกันมากๆ เราเรียกว่าป่า ดังนั้นแนวปะการังก็เปรียบเสมือนเป็นป่าแห่ง ท้องทะเล ประเภทของแนวปะการัง แบ่งออกเป็น 3 ประเภท คือ 1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่ง เป็นแนวปะการังนำ้าตื้นอยู่ใกล้ชายฝั่ง ได้แก่ - ปะการังแนวลาดชัน เป็นแนวปะการังที่ อยู่ติดทะเลลึก เติบโตได้ดี เพราะมีสภาพ แวดล้อมที่เหมาะสม ทั้งระดับความลึก ความ เค็ม และความใสของนำ้าทะเล - แนวปะการังพื้นราบ เป็นแนวปะการังที่ อยู่ติดกับชายฝั่ง มีปะการังเติบโตอยู่ไม่กี่ชนิด เนื่องจากเป็นเขตนำ้าตื้นเมื่อนำ้าลดลงปะการัง ได้รับแสงแดดมากเกินไป ความไม่คงที่ของ นำ้าทะเลจึงไม่เหมาะสมต่อการเจริญเติบโต ภาพที่ 2 แนวปะการั ง บริ เ วณชายฝั่ ง ของปะการัง 2. แนวปะการังแบบกำาแพง มีลักษณะเช่นเดียวกับแนวปะการังบริเวณ ชายฝั่งต่างกันที่แนวปะการังแบบกำาแพงจะอยู่หา่ งจากชายฝั่งออกมา มากกว่าและปกติจะมีร่องนำ้าที่ลึกและกว้างคัน่ อยู่ระหว่างแนวปะการังกับ บริเวณชายฝั่งในบริเวณที่เป็นร่องนำ้าลึกนั้นก็เป็นที่ๆ มีปะการังเจริญ เติบโตอยู่ด้วย แนวปะการังแบบกำาแพงที่ใหญ่ที่สุดในโลกคือเกรท แบริ เออร์ รีฟ (Great Barrier Reef) อยู่ทางตะวันออกของประเทศออสเตรเลีย มีความยาว 1,370 ไมล์ 3. แนวปะการังแบบเกาะ เป็นแนวปะการังที่อยู่ในน่านนำ้าทะเลลึกไกลจาก ภาพที่ 3 แนวปะการั ง แบบกำา แพง นำ้า บางครั้งมีลักษณะเป็นเกาะเล็กๆ ที่เกิดจากโครงสร้างหินปูนของปะการัง เกาะประเภทนี้จะมีหาดทรายที่ สวยและขาวสะอาดเพราะเป็นทรายที่เกิดจากการสลายตัวของโครงสร้างหินปูนของปะการัง

ปะการังมีมากมายหลายชนิดกว่า 700 ชนิดทั่วโลก สำาหรับประเทศไทยมีปะการังประมาณ 350 ชนิด ชนิดของ ภาพที่ 4 แนวปะการั ง แบบเกาะ ปะการังแบ่งตามลักษณะภายนอกได้ดังนี้ 1. ปะการังเขากวาง มีลักษณะคล้ายเขากวาง บริเวณกิ่งจะมีตุ่ม โดยรอบ ตุ่มเหล่านี้คือที่อยู่ของตัวปะการัง 2. ปะการังแบบแผ่นแบนราบ มีลักษณะคล้ายโต๊ะบางครั้งอาจ กันเป็นชั้น 3. ปะการังแบบหุ้มห่อ มีลักษณะแผ่ขยายหุ้มฐานพื้นที่ปะการังติดอยู่ 4. ปะการังแบบเป็นก้อน มีลักษณะเป็นก้อนต้นคล้ายก้อนหิน 5. ปะการังแบบกิ่งก้อน มีลักษณะการรวมกันเป็นกระจุกค่อนข้างแน่น แต่ไม่ติดเป็นก้อนเดียวกัน 6. ปะการังแบบเป็นแผ่น มีลักษณะซ้อนๆ กันเป็นกระจุก คล้ายใบไม้หรือผัก 7. ปะการังแบบเห็ด มีลักษณะการแผ่ออกคล้ายดอกเห็ด 8. ปะการังสีนำ้าเงิน มีสีนำ้าเงินอยู่ในเนื้อของหินปูน

อยู่ ซ้อน

สิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่ในแนวปะการัง 1. สาหร่ายเซลเดียว มีความสำาคัญต่อชีวิตในแนวปะการังอื่นๆ เพราะทำาหน้าที่เป็นผู้ผลิตธาตุอาหารเบื้องต้น ดิ้วยการสังเคราะห์แสงจากพลังงานแสงอาทิตย์ สาหร่ายเป็นอาหารแก่สิ่งมีชีวิตอื่นๆ ได้แก่ ตัวปะการัง และ แพลงก์ตอน 2. หญ้าทะเล เจริญเติบโตได้ดีในแนวปะการังที่ราบเรียบ และบริเวณชายฝั่งทะเล หญ้าทะเลเป็นอาหารของ เต่าทะเลพะยูนและปลาบางชนิด นอกจากนี้รากของหญ้าทะเลยังช่วยในการป้องกันการกัดเซาะหน้าดินอีก ด้วย 3. ฟองนำำา เป็นสัตว์นำ้าหลายเซลมีขนาดต่างๆ กัน ทั้งลักษณะและรูปร่างสีสัน บางชนิดเป็นรูปด้วยเป็นก้อน เป็นแผ่นบางๆ และบางชนิดมีสีสันสดสวยงดงามมาก ฟองนำ้าทำาหน้าที่ผลิตสารที่มีคุณค่าให้แก่เพรียง หญ้า ทะเล สัตว์นำ้าอื่นและฟองนำ้าบางชนิดยังเป็นอาหารของมนุษย์ด้วย 4. ปะการังอ่อน ปะการังชนิดนี้ไม่สร้างโครงหินปูนห่อหุ้มตัวแต่จะสร้างโครงหินปูนภายในตัวของมันเอง สามารถสะบัดไหวไปมาตามกระแสนำ้าได้จึงเรียกว่าปะการังอ่อนมีลักษณะเป็นแท่งเรียวเหมือนเขาสัตว์ซึ่ง สามารถโก่งงอได้มีสีสันหลายหลายสวยงามทั้งที่เติบโตเป็นต้น เป็นกอและเป็นแผ่น 5. กัลปังหา เป็นปะการังที่มีหลายสีรูปทรงเรียวยาวและมีกิ่งก้านสาขาแผ่คล้ายต้นไม้ กิ่งก้านหนึ่งของ กัลปังหาอาจมีความยาวตั้งแต่ 2-3 นิ้ว ไปจนถึงความยาวเป็นเมตร

6. ดอกไม้ทะเล เป็นสัตว์กลุ่มเดียวกับปะการังมีรูปร่างทรงกระบอกด้านล่างเป็นฐานยึดติดกับก้อนหิน มี หนวดมีเข็มพิษสิำหรับจับปลาเล็กๆ กินเป็นอาหาร สีสันของดอกไม้ทะเล คือ ปลาการ์ตูนซึ่งนอกจากจะมีสี สวยงามแล้ว ยังมีเมือกกันพิษจากดอกไม้ทะเลหุ้มตัวอยู่ ทำาให้ไม่ได้รับอันตราย 7. หนอนทะเล มีหลายชนิด บางชนิดมีขนาดเล็กอาศัยอยู่ในรอยแตกหรือซอกหินของแนวปะการังมีรูปร่าง สีสันสวยงาม หนอนทะเลเป็นส่วนหนึ่งที่ทำาให้เกิดการแตกสลายของปะการังโดยการขุดโพรงเป็นที่อยู่ อาศัยเศษหินที่ขุดออกมาก็จะกลายเป็นเศษหินหรือทราย 8.หอย ได้แก่ หอยเบีย้ หอยสังข์ หอยนางรม หอยมือเสือ หอยเต้าปูน และหอยสังข์แตร โดยหอยสังข์แตร เป็นหอยที่กินปลาดาวมงกุฎหนามซึ่งเป็นศัตรูของปะการังจึงมีความสำาคัญต่อปะการังสูงมาก 9. หมึกทะเล เป็นหอยชนิดที่ไม่มีเปลือก ลำาตัวอ่อนนุ่มมีหนวดสำาหรับจับเหยื่อจำาพวก กุ้ง ปู ปลา เป็นอาหาร หมึกทะเลจะพ่นหมึกสีดำาจากตัวในเวลาที่จะหนีศัตรู หมึกทะเลมี 2 ประเภทใหญ่ๆ คือ หมึกยักษ์และหมึก ธรรมดา ซึ่งได้แก่ หมึกกล้วย หมึกกระดอง 10.กุ้งและปู เช่น ปูปะการัง มีกระดองกว้างถึง 6 นิว้ กระดองมีสีแดงสลับเหลืองอ่อนและสีขาวเป็นปูที่มีก้าม แข็งแรงมาก และใช้เป็นอาวุธสำาหรับจับเหยื่อ กุ้งพยาบาล ลำาตัวมีสีแดงสลบขาว กินตัวพยาธิที่เกาะอยู่ตาม ผิวหนังของปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังเป็นอาหาร จึงเรียกว่ากุ้งพยาบาล กุ้งมังกร เป็นกุ้งขนาดใหญ่ มี ความยาวถึง 2 ฟุตและมีนำ้าหนัก เมื่อโตเต็มที่เกือบถึง 12 กิโลกรัม ตัวมีสนี ำ้าเงินหัวใหญ่มีหนามและมีหนวด อยู่ 2 เส้น หนวดมีความยาวมากกินหนอนทะเล ทากทะเลและปูเป็นอาหาร ปัจจุบันกุ้งมังกรเป็นที่นิยม บริโภคจึงถูกจับขึ้นมาจากท้องทะเลด้วยนำ้าหนักเพียง 1-2 กิโลกรัมทำาให้กุ้งมังกรค่อยๆ สูญพันธุ์ไปจากทะเล อย่างรวดเร็ว 11. ปลาต่างๆ ปลาที่อาศัยอยู่ในแนวปะการังมีทั้งปลาที่เป็นอาหารและปลาประเภทสวยงาม ได้แก่ปลาสิงโต ปลานกแก้ว ปลาการ์ตูน และปลาผีเสื้อ โดยเฉพาะปลาการัง หรือปลาเก๋าปลาชนิดนี้เมื่อโตเต็มที่จะมีลำาตัว ใหญ่มาก มีความยาวถึง 2 เมตรปลานกแก้วนอกจากจะเป็นปลาสวยงามแล้วยังมีปากและขากรรไกรที่แข็ง แรงคล้ายนกแก้วมีฟันหลายแถว กินสาหร่ายและปะการังเป็นอาหาร ปลานกแก้วจะกัดทั้งก้อนปะการังและ จะย่อยเฉพาะตัวปะการัง ส่วนโครงสร้างแข็งนัน้ จะขับถ่ายคายออกมาเป็นเศษละเอียดกลายเป็นเม็ดทราย ละเอียดต่อไป ประโยชน์ของแนวปะการัง 1. แนวปะการังบริเวณชายฝั่งและแนวปะการังแบบกำาแพง ช่วยป้องกันชายฝั่งจากการกัดเซาะของคลื่นและ กระแสนำ้าโดยตรง บริเวณชายฝั่งที่แนวปะการังถูกทำาลายจะถูกกัดเซาะอย่างรุนแรงจากคลื่นลมทะเลในฤดู มรสุม 2. แนวปะการังเป็นแหล่งกำาเนิดทรายให้กับชายหาด ทั้งจากการสึกกร่อนของโครงสร้างหินปูน การ กัดกร่อนโดยสัตว์ทะเลบางชนิดและจากกระแสคลื่น ซึ่งทำาให้หินปูนปะการังแตกละเอียดเป็นเม็ดทรายที่

ขาวสะอาด มีการประมาณว่าแร่ธาตุแคลเซียมคาร์บอเนตที่ทับถมในมหาสมุทรนั้น ร้อยละ 50 เกิดจากแนว ปะการัง 3. แนวปะการังเป็นแหล่งอาหารของมนุษย์และยังเป็นที่อยูิ่อาศัยของสัตว์และพืชนานาชนิด ที่อาศัยอยู่เฉพาะ ในแนวปะการัง เช่น เต่าทะเลและสัตว์ไม่มีกระดูกสันหลัง ได้แก่ ปลาหมึก หอย กุ้ง แมงกะพรุน และปลิง ทะเล เป็นต้น 4. แนวปะการังเป็นแหล่งที่มาของวัสดุที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่น ปูนขาว กระเบื้อง และทราย 5. สิ่งมีชีวิตบางชนิดในแนวปะการัง เช่น Sea hare และ Sea fan ผลิตสารพิษเพื่อป้องกันตัวเองนั้น สามารถ นำามาสกัดใช้ทำายา เช่น ยาต่อต้านโรคมะเร็ง ยาต่อต้านจุลชีพและนำ้ายาป้องกันการตกผลึกและแข็งตัว 6. แนวปะการังเป็นเสมือนห้องทดลองทางนิเวศวิทยา ได้มีการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับระบบนิเวศในแนวปะการัง เพิ่มขึ้นอย่างมากของนักสิ่งแวดล้อมและมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ ในอนาคต 7. แนวปะการังจัดเป็นแหล่งท่องเที่ยวใต้ทะเลที่มีความสวยงาม ความหลากหลายของสิ่งมีชีวิตและนำ้าทะเล ที่ใสสะอาด ปะการังจึงเป็นทรัพยากรที่มีคุณค่าต่ออุตสาหกรรมท่องเที่ยวการดำานำ้าและการถ่ายภาพใต้นำ้า 8. ปะการังเป็นสินค้า มีกิจการส่งออกสินค้าปะการัง เปลือกหอย กระดองเต่า และปลาสวยงาม ซึ่งกลายเป็น อุตสาหกรรมหลักในการผลิตเครื่องประดับที่นิยมไปทั่วโลก ปัจจุบันห้ามการส่งออกปะการังและเต่าทะเล อย่างเด็ดขาด การทำาลายปะการัง ปะการังถูกทำาลายและเสื่อมสลายเป็นเหตุให้ระบบนิเวศน์ขาดสมดุลจำาแนกได้ 2 สาเหตุใหญ่ ๆ คือ มนุษย์ มนุษย์ได้จับสัตว์นำ้าในบริเวณแนวปะการังมาใช้ประโยชน์โดยไม่ถูกต้อง เช่น การใช้ระเบิด สารเคมี ลอบ ฉมวก ยิงปลาและสัตว์อื่น ๆ นอกจากนี้คือการทำาเหมืองแร่ การทิ้งของเสีย การท่องเที่ยว และ การทิ้งหรือถอนสมอเรือ ธรรมชาติ ธรรมชาติทำาลายปะการัง ได้แก่ พายุ สัตว์มีชีวิต (เพรียง หอยเม่น ปลานกแก้ว ปลาผีเสื้อ) และสัตว์ที่กินปะการัง (ปลาดาวหนาม หรือดาวมงกุฎหนาม หอยสังข์หนาม) แนวทางการอนุรักษ์ปะการัง 1. ผูกจอดเรือกับทุ่นผูกเรือ และไม่ทิ้งสมอเรือในแนวปะการัง 2. ทำาเครื่องหมายแสดงแนวปะการัง เพื่อมิให้เรือเข้ามาในแนวนั้น 3. กวดขัน สอดส่องมิให้มีการระเบิดปลาโดยเด็ดขาด 4. ห้ามการประมงอวนลาก อวนรุน เข้ามาจับปลาบริเวณชายฝั่งที่มีแนวปะการัง 5. ช่วยกันส่งเสริมให้เห็นคุณค่าของการรักษาธรรมชาติของปะการัง เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจของท้องถิน่ 6. ในฐานะประชาชนในท้องถิ่นจะต้องไม่เก็บหาปะการังขึ้นมาขาย 7. นักท่องเที่ยวและประชาชนทั่วไปต้องไม่ทิ้งขยะและเศษสิ่งของลงท้องทะเล

แหล่งสืบค้น

http://www.dnp.go.th [10 พฤศจิกายน 2551] http://www.nemotour.com/knowledge/coral.htm [10 พฤศจิกายน 2551] www.doi.gov/oia/Firstpginfo/coralreef.html [10 พฤศจิกายน 2551] http://en.wikipedia.org/wiki [10 พฤศจิกายน 2551] http://www.geocities.com/metscience/sea/coral/coral.html [10 พฤศจิกายน 2551] http://home.psu.ac.th/~4823002/coral%20reef1.htm [10 พฤศจิกายน 2551] http://www.talaythai.com/issue/thereef/reef02.html [10 พฤศจิกายน 2551] http://www.dnp.go.th/NPO/Html/Research/Coral_struc/Coral.html [10 พฤศจิกายน 2551]

More Documents from "kokkok"

April 2020 8
April 2020 7
December 2019 6
Atom Model
December 2019 30
April 2020 7
April 2020 6