Cpu

  • October 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Cpu as PDF for free.

More details

  • Words: 6,335
  • Pages: 23
22

ระเบิดศึก ยุค Intel Pentium Classic กับ AMD 5x86 และ AMD K5 [ 11 Apr. 1999 ] Intel Pentium ( Classic )

เพ่ ือแก้ปัญหาการอ้างช่ ือรุ่นของ CPU ในการขาย CPU เลียนแบบจากทาง AMD และ Cyrix ทาง Intel จึงตัดสินใจจดลิขสิทธิช์่ือ CPU ของตน แต่ ช่ ือท่ีเป็ นตัวเลขนัน ้ ไม่สามารถจดทะเบียนลิขสิทธิไ์ด้ จึงได้ทำาการเปล่ียนช่ ือ CPU ใน generation ท่ี 5 ของตนเป็ น Pentium ( Pentium มีรากศัพท์มาจาก Penta ท่ีแปลว่า 5 ) ซ่ ึงต่อมา ก็เรียกว่า Pentium Classic และพร้อมๆ กันนัน ้ เอง ก็ได้เกิด slogan ของ Intel ซ่ ึงจะติดมาพร้อมๆกับ CPU ของตนว่า "Intel Inside" เพ่ ือสร้างความมัน ่ ใจให้แก่ ลูกค้าของตน ว่าได้ CPU ของตน ( Intel ) แน่ๆ ทาง Intel ได้ประกาศตัว CPU Intel Pentium ในปี 1993 โดยเพ่ิม Cache ภายใน หรือ L1 Cache เป็ น 2 เท่าจากรุ่น 486 คือ จาก 8 K เป็ น 16 K แต่แบ่งหน้าท่ีการทำางานของ Cache เป็ น 2 ส่วน คือ เป็ น Data Cache ใช้สำาหรับเก็บข้อมูลท่ีจะใช้ประมวลผล มี ขนาด 8 K และ อีกส่วนหน่งึ เป็ น Instruction Cache ซ่ ึงใช้เก็บคำาสัง่ต่างๆ ท่ีจะใช้ในการประมวลผล อีก 8 K ในส่วนของทรานซิสเตอร์ภายใน ก็เพ่ิมจาก 486 ซ่ ึงมีประมาณ 1.2 ล้านตัว ไปเป็ น 3.1 ล้านตัว และ ในส่วนของการประมวลผล ก็เปล่ียน จากเดิมมาเป็ น 32 Bit แต่ในส่วนของ FPU นัน ้ ใช้ 64 Bit ดังนัน ้ pin ตรง interface ท่ีใช้ ก็ต้องรองรับการส่ง/รับ ข้อมูลขนาด 64 Bit ด้วย ทำาให้ต้องเปล่ียน Interface ด้วย ทำาให้ CPU Intel Pentium ไม่สามารถใช้บน Mainboard ของ 486 ได้ เรียก Interface นี้ ว่า SPGA ซ่ึงมีจำานวนช่องขาสำาหรับใส่ pin ทัง้หมด 296 ขา หรือ ท่ีเราเรียกกันจนติดปากว่าเป็ น Socket 7 นัน ่ เอง และ ไฟเลีย ้ งของ CPU ก็เปล่ียนมาเป็ น 5 Volt ใน Pentium รุ่นแรกๆ ( Pentium 60 และ Pentium 66 ) แต่ต่อมา 3.3 Volt เพราะการใช้ไฟท่ี 5 Volt นัน ้ ทำาให้ความร้อนท่ีเกิดขึ้นสูงมาก จึงได้ลดไฟเลีย ้ งลง รวมถึงเปล่ียนมาใช้ system bus ท่ี 50 , 60 และ 66 MHz ด้วย CPU Intel Pentium นี ไ้ด้เพ่ิมArchitecture เข้าไปใหม่ท่ีเรียกว่า "super-scalar" ซ่ ึงก็ทำาให้ประสิทธิภาพโดยรวมเพ่ิมขึ้นมาจาก 486 มาก โดยเฉพาะประสิทธิภาพในด้านการประมวลผลเลขจำานวนเต็ม ท่ีเพ่ิมขึ้นเป็ นเท่าตัวเลยทีเดียว เรามาดูลักษณะเด่นๆ ของ Intel Pentium กันดีกว่า

23

• • • • • • • • • • • • • •

เป็ น Superscalar Architecture Dynamic Branch Prediction ( เก่ียวกับการทำานายผลการคำานวนล่วงหน้า ) สำาหรับหน่วยประมวลผลเลขจำานวนเต็มเป็ น Pipeline ( 2 Pipeline ) หน่วยประมวลผลเลขทศนิยม ก็เป็ น Pipeline ( 1 Pipeline ) Improved Instruction Execution Time แบ่ง Cache ออกเป็ น 8 K สำาหรับข้อมูล และ อีก 8 K สำาหรับ คำาสัง่ ในส่วนของ Cache ข้อมูล จะเป็ น Cache แบบ WriteBack 64-Bit Data Bus Bus Cycle Pipelining Address Parity Internal Parity Checking Functional Redundancy Checking Execution Tracing สนับสนุนการทำางานแบบ Symmetric MuliProcessing หรือ SMP ทำาให้สามารถใช้ Dual CPU ช่วยกันประมวลผลได้

แต่อย่างไรก็ตาม ในช่วงท่ี Pentium วางตลาดไม่นาน ก็มีข่าวท่ีทำาให้ทาง Intel ต้องสะอึก นัน ้ ก็คือในช่วงปลายปี ( ประมาลเดือน พฤศจิกายน ) 1994 ( พ.ศ. 2537 ) มีการพบ Bug หรือข้อผิดพลาดในการคำานวนเลขทศนิยม ซ่ ึงเกิดขึน ้ กับการหาร จนเป็ นข่าว และทำาให้ผู้ซ้ือเกิดความลังเลอยู่พอสมควร ทำาให้ Intel ต้องเร่งแก้ปัญหานี แ ้ ละออกแถลงการณ ทาง Intel ก็ยินดีเปล่ียน CPU ท่ีมีปัญหานัน ้ ให้ ( รุ่นท่ีมีปัญหาคือรุ่นแรกๆ ได้แก่ Pentium 60 และ Pentium 66 )

AMD 5x86 และ AMD K5 สำาหรับ AMD นัน ้ เม่ ือแยกตัวออกมาจาก Intel และ ผลิต CPU เลียนแบบ CPU ของ Intel โดยใช้ Microcode ของ Intel ซ่ึง ก็ผลิตมาจนถึงรุ่น AMD 5x86 ซ่ ึงก็เป็ น CPU ท่ีมีความเร็วมากถึง 133 MHz ใช้ตัวคูณท่ี 4 ( 33x4 ) ทำาให้ประสิทธิภาพโดย ทัว่ๆไป นัน ้ ใกล้เคียงกับ ระดับ Intel Penium 75 เลยทีเดียว แต่โดยสถาปั ตยกรรมภายในแล้ว ก็เหมือนๆกับ 486DX นัน ่ เอง เพราะ ไม่ใช่ Superscalar Design เพียงแต่ มันเพ่ิมความเร็วขึ้นมาเท่านัน ้ เอง แต่ก็มีบ้างสำาหรับบางคำาสัง่ ท่ีมน ั สามารถทำางานได้ เสร็จภายใน 1 รอบสัญญาณนาฬิกา

24

AMD 5x86 นัน ้ มี Cache ภายใน หรือ L1 Cache ขนาด 16 K และ เป็ นแบบ Write Back เป็ น CPU แบบ 32 Bit และ ใช้ความกว้างของเส้นทางข้อมูล 32 Bit รวมถึงสามารถอ้างตำาแหน่งได้ 32 Bit ด้วย โดยราคานัน ้ ก็ถูกมากๆ และ คิดคุณภาพต่อราคา ก็จัดว่าคุ้มค่ามากๆ โดยใช้ Pin และ Mainboard แบบ 486 ได้

และ ต่อมา ทาง AMD ก็ได้หันมาผลิต CPU ท่ีเป็ นของตัวเองบ้าง โดยทำาการออกแบบสถาปั ตยกรรมภายในใหม่เองทัง้หมด และ เปล่ียนช่ ือ CPU ของตน ซ่ ึงจัดว่าเป็ น Generation ท่ี 5 เสียใหม่ว่า AMD K5 ซ่ ึงในช่วงแรกๆ ก็ยังคงเรียกว่า AMD 5k86 เพ่ ือ มิให้ผู้ใช้เกิดการสับสน และ เปรียบเทียบรุ่นของ CPU ไม่ถูก โดยสถาปั ตยกรรมของ AMD K5 นัน ้ ได้ spec ต่างๆ เป็ นเท่าตัวของ Intel Pentium และได้มีการใช้ P-Rating ( หรือ PR ) เป็ นตัววัดประสิทธิภาพ เทียบกับ CPU ของ Intel Pentium ซ่ ึงประสิทธิภาพของ AMD K5 นัน ้ ก็จด ั ได้ว่าดีเย่ียมทีเดียว เพียงแต่ รุ่นนีอ ้ อกมาช้า และขาดการโปรโมทท่ด ี ี ทำาให้ไม่ได้รับการนิยมเท่าท่ค ี วร ทัง้ๆ ท่ีความสามารถนัน ้ ก็เทียบเท่ากับ Intel Pentium ( จะมีก็แต่ในส่วนของ FPU ท่ียังคงตามหลังอยู่ ) และ ราคานัน ้ ก็ถูกกว่า Intel Pentium อยู่พอสมควรเช่นกัน เรามาดูลักษณะเด่นๆ ของ AMD K5 บ้างดีกว่า o o o o o o o o o o o o o

4-issue core with full out-of-order execution and completion แบ่ง L1 Cache เป็ นสองส่วน คือ 8 K สำาหรับ Cache ข้อมูล และ อีก 16 K สำาหรับ Cache คำาสัง่ ในส่วนของ Cache ข้อมูล จะเป็ น Cache แบบ WriteBack Dynamic, block-oriented branch prediction with speculative execution 5-stage RISC-like pipeline 6 parallel functional units High-performance FPU Validated software compatibility Static clock control with AMD-patented Digital Phase Lock Loop (DLL) circuitry 64-bit Pentium-compatible และใช้ Socket 7 เช่นเดียวกับ Pentium ใช้ System Bus เป็ น 60 และ 66 MHz Compatibility with existing 586-class systems and supporting designs ใช้ไฟเลีย ้ ง CPU 3.52 MHz

ผมจะขอกล่าวถึง NextGen 5x86 สักนิดหน่ ึง เพราะ บริษัทนี ถ ้ ูกAMD เข้าซ้ือ และ รวมเทคโนโลยี เข้าเป็ น CPU ในยุคใหม่ ใน

25 ช่วงเวลาถัดมา โดย CPU ของ NextGen ในสมัยนัน ้ คือ 5x86 มีคุณสมบัติท่ีดูแล้วน่าสนใจมากๆ เลยทีเดียว แต่ก็มีข้อด้อยท่ีน่า เสียดายใช่น้อยเช่นกัน มาดูลักษณะเด่นๆของ Nx586 กันดีกว่า o o o o o

Superscalar Execution มี 2 Pipeline และสามารถจัดการกับคำาสัง่แบบไม่เรียงลำาดับได้ แบ่ง Cache ระดับ 1 ออกเป็ น ส่วนข้อมูล และ ส่วนคำาสัง่ Branch Prediction 64-bit bus

ซ่ึงดูๆแล้ว ก็เหมือนๆ กับ ทัง้ Pentium และ AMD K5 เลย แต่ยังครับ ยังมีอยู่ 2 จุด ท่ีเป็ นจุดเด่น และ น่าสนใจของ Nx586 o

RISC86 Microarchitecture จากพ้ืนฐานการทำางานของ RISC นัน ้ จะเร็วและ มีประสิทธิภาพโดยรวม สูงกว่าแบบ CISC ดังนัน ้ การเพ่ิมประสิทธิภาพให้กับ CPU ตระกูล x86 ซ่ ึงเป็ น CISC ก็โดยการ แปลงคำาสัง่ของ RISC มาใช้บน CISC ซ่ ึงก็เรียกว่าเป็ น RISC86 ซ่ ึงผลท่ีได้ก็คือ

1. 2. 3. 4.

o

ได้ประสิทธิภาพแบบ RISC สำาหรับคำาสัง่ของ x86 ท่ีเป็ น CISC หน่วยการทำางาน หรือ Execution Unit ก็จะมีขนาดเล็กลง หน่วยการทำางานจะมีประสิทธิภาพดีขึ้น

ง่ายต่อการเพ่ิมหน่วยการทำางานในภายภาคหน้า ซ่ ึงนอกจากจะทำาให้มีประสิทธิภาพสูงในช่วงนัน ้ แล้ว ยังเผ่ ือ สำาหรับอนาคตต่อไปได้อีกด้วย

On-chip L2 Cache Controller Nx586 นัน ้ จะมีตัวควบคุมการทำางานของ L2 Cache ( ท่ีอยู่บน Mainboard ) อยู่ในตัว CPU เองเลย ทำาให้สามารถควบคุมการทำางานให้ได้ประสิทธิภาพมาก กว่าการท่จี ะให้ตัวควบคุมบน Mainboard เป็ นตัวควบคุม ซ่ ึงแน่นอน การทำางานของ L2 Cache ก็จะทำางานด้วยความเร็วท่ีเท่าๆกับความเร็วของ CPU เลย ซ่ึงก็จะ ทำาให้ได้ประสิทธิภาพสูงขึ้นอีก

ดูแล้วน่าจะมีประสิทธิภาพสูง และ เป็ นคู่แข่งท่น ี ่ากลัวมากสำาหรับ Intel Pentium เลยนะครับ แต่ Nx586 นัน ้ มีข้อด้อยท่ท ี ำาให้ ความเด่นของมันลดลงไปเลย ก็คือ 1.ใช้ Socket ท่ีต่างจาก Pentium และ K5 อีกทัง้ยังใช้ไฟเลีย ้ ง 4 Volt ด้วย ทำาให้ต้องออกแบบ Mainboard มาเฉพาะ ตัวเลย 2.ไม่สนับสนุนการทำางานเชิงทศนิยม ทำาให้ไม่ compatible กับ คำาสัง่เก่าๆ บางคำาสัง่ของ 486 DX และ ประสิทธิภาพด้าน นีด ้ อ ้ ยลงไปถนัดตา ซ่ึงจุดนีห ้ ล่ะครับ ท่ท ี ำาให้มันไม่เด่น ไม่ดังนัก แต่ มันก็เป็ นเทคโนโลยี ท่ี AMD นำาไปใช้ในการพัฒนา CPU ของตนต่อไป รายละเอียดเพิ่มเติม •

Write Back กับ Write Through เป็ นวิธีการเขียนข้อมูลกลับลง ท่ีหน่วยความจำาหลัก โดยท่ี Write Throught นัน ้ เม่ ือมีการเขียนข้อมูลลงบน Cache แล้ว ก็จะทำาการเขียน ข้อมูลลงบน หน่วยความจำาหลักด้วย ทันที ซ่ ึงก็จะเสียเวลาในการเข้าถึงหน่วยความจำาหลักอยู่มาก ( เม่ ือเทียบกับการเข้าถึงหน่วยความจำา Cache ) แต่ Write Back นัน ้ จะต่างกัน โดย Write Back นัน ้ จะเก็บข้อมูลบน Cache ให้นานท่ีสุด เม่ ือมีการ Idle หรือ ต้องการใช้ เน้ือท่ีบน Cache ในการเก็บข้อมูล อ่ ืน จึงจะทำาการเขียนข้อมูลนัน ้ ๆ ลงบน หน่วยความจำาหลัก ซ่ ึงก็ช่วยลดเวลาลงอีกมากเลยทีเดียว •

PR ( P-Rating ) P-Rating นัน ้ เป็ นมาตรในการวัดประสิทธิภาพของ CPU ท่ีง่ายต่อความเข้าใจ ซ่ ึงเกิดจากความร่วมมือในการกำาหนดมาตรฐานร่วม กันระหว่าง AMD, Cyrix, IBM และ SGS Thomson โดยใช้โปรแกรม Winstone เป็ นตัวทดสอบประสิทธิภาพ ( ในสมัยนัน ้ ใช้ Winstone 96 )

26 ทำาไมต้องเป็ น P-Rating? ก็เพราะว่า เม่ ือ Intel ตัดสินใจจดลิขสิทธิช์่ือ Pentium แล้ว AMD, Cyrix และ เจ้าอ่ ืนๆ ก็ไม่สามารถจะใช้ช่ือ Pentium ได้ ซ่ึง แต่รุ่น 286, 386 หรือแม้แต่ 486 ท่ีผ่านมา ไม่ว่าจะของ Intel , AMD , Cyrix หรือเจ้าไหนๆ ก็ใช้ช่ือนีไ้ด้ แต่เม่ ือเกิดเหตุการณ์ นีข้น ึ้ ก็อาจสร้างความงุนงงแก่ผู้ซ้ือ ว่ารุ่นใหม่ๆ ของ AMD, Cyrix นัน ้ จะเอาไปเทียบรุ่นกับ Pentium ท่ีเท่าไร จึงเกิดมาตรฐานนี้ ขึน ้ มา การทดสอบประสิทธิภาพเพ่ ือหาค่า PR นัน ้ ก็ทำาโดยใช้ CPU Intel Pentium วัดประสิทธิภาพด้วย Winstone ในระดับต่างๆ จากนัน ้ จึงเอา CPU Intel Pentium ออก แล้ว เอา AMD K5 ( หรือ อ่ ืนๆ ) ใส่ลงไปแทน แล้ว วัดประสิทธิภาพเปรียบเทียบกัน โดยท่ีอุปกรณ์อ่ืนๆ ยังคงเหมือนเดิม ต่างกันท่ี CPU เท่านัน ้ ถ้า AMD K5 นัน ้ มี P-Rating เป็ น 100 ( PR 100 ) นัน ่ ก็หมายความว่า CPU ตัวนัน ้ มีประสิทธิภาพท่ีเทียบเท่า หรือ เหนือ กว่า CPU ของ Intel Pentium ท่ีความเร็ว 100 MHz หรือ AMD K5 PR 133 ก็หมายความว่า มีประสิทธิภาพในระดับ เดียวกันหรือมากกว่า Intel Pentium 133 MHz นัน ่ เอง แต่อย่างไรก็ตาม "PR" นัน ้ ก็ไม่ใช่เป็ นตัวบอกความเร็วท่ีแท้จริงของ ความเร็วของ CPU ดังท่ีได้เห็นแล้วจากตัวอย่างข้างต้นของ AMD ปั จจุบันนี ก ้ ็เหลือแต่CPU ของ IBM และ Cyrix เท่านัน ้ ท่ียังคงใช้ PR เป็ นตัวบอกรุ่นความเร็วของ CPU ของตน •

Pipelining คือการแบ่งหน้าท่ีการทำางานของ CPU เพ่ ือเพ่ิมประสิทธิภาพในการทำางาน โดยแบ่งคร่าวๆ เป็ น 5 ขัน ้ ตอน คือ o o o o o

Instruction Fetch หรือ ภาครับคำาสัง่ จะทำาหน้าท่ีรับคำาสัง่ใหม่ๆ ทัง้จากหน่วยความจำาหลัก หรือจากใน Instruction Cache เข้ามา เพ่ ือส่งต่อให้ภาคต่อไปจัดการต่อ Instruction Decode หรือ ภาคการแปลคำาสัง่ คือ จะทำาหน้าท่ีแยกแยะคำาสัง่ต่างๆ ของ CISC ซ่ ึงในตอนท่ีแล้ว เรา ทราบแล้วว่า CISC นัน ้ ในแต่ละคำาสัง่ จะมีขนาดท่ีไม่แน่นอน ตรงส่วนนีก ้ ็จะทำาการซอยคำาสัง่นัน ้ เป็ นคำาสัง่ย่อยๆ ให้มี ความยาวเท่าๆกัน ในลักษณะเช่นเดียวกับ RISC เรียกคำาสัง่ย่อยๆ นัน ้ ว่า Micro Operation Get Operands หรือ ภาครับข้อมูล คือ รับข้อมูลท่จี ะใช้ในการประมวลผลเข้ามาเก็บไว้ เช่นจากขัน ้ ตอนท่ี 2 เรารู้ว่าจะใช้ การ "บวก" ก็ต้องรับค่าท่ีจะใช้ในการบวก มาด้วยอีก 2 ค่า บางทีขัน ้ ตอนนี ก ้ ็ถูกรวมเข้ากับขัน ้ ตอนท่ี2 Execute หรือ ภาคประมวลผล เป็ นขัน ้ ตอนท่ท ี ำาการประมวลผลตามคำาสัง่และ operand ท่ีได้รับมาจากขัน ้ ท่ี 2 และ 3 ซ่ึง ถ้าให้ขัน ้ ท่ี 2 เป็ นการถอดรหัสว่าเป็ นการบวก ขัน ้ ท่ี 3 รับค่าท่ีจะบวก ขัน ้ นี้ ( ขัน ้ ท่ี 4 ) ก็จะทำาการบวกให้ได้ผลลัพธ์ ออกมา Write Result หรือ ภาคการเขียนข้อมูลกลับ เม่ ือทำาการประมวลผลเสร็จสิน ้ ผลลัพธ์ท่ีได้ก็จะนำาไปเก็บไว้ใน register หรือ ใน Data Cache ซ่ ึงบางที ขัน ้ ตอนนี ก ้ ็ถูกมองรวมไว้กับขัน ้ ท่4 ี

ดังจะเห็นได้ว่า เม่ ือ CPU ได้รับ คำาสัง่เข้ามาแล้ว ก็จะทำาการแปลงหรือถอดรหัสให้เป็ นคำาสัง่ท่ี CPU เข้าใจ แล้วจึงทำางานตามคำาสัง่ นัน ้ ๆ ซ่ึงในขณะท่ท ี ำางานแต่ละคำาสัง่นัน ้ ก็ต้องรอให้ทำาครบทุกขัน ้ ตอนเสียก่อน จึงจะรับคำาสัง่ใหม่ๆ เข้ามาได้ การทำางานแบบ Pipelining นัน ้ ก็จะช่วยใช้ช่วงเวลาให้คุ้มค่า ให้ CPU ทำางานได้เต็มประสิทธิภาพย่ิงขึ้น โดยในขณะท่ีรับคำาสัง่เข้ามาก็จะทำาการส่ง ต่อให้ ภาคแปลคำาสัง่ เม่ ือส่งต่อให้ แล้ว ก็ทำาการรับคำาสัง่ถัดไปทันที และ เม่ ือ ภาคแปลคำาสัง่ได้รับคำาสัง่ ก็จะทำาการแปล และ แยกแยะคำาสัง่ แล้วส่งต่อให้ภาครับข้อมูลต่อไป เป็ นทอดๆ ซ่ ึงทำาให้สามารถทำางานได้หลายๆ คำาสัง่ในขณะเวลาเดียวกัน การทำางาน แบบ Pipeline นี ก ้ ็ช่วยเพ่ิมประสิทธิภาพของCPU ได้อีกมากมายเลยทีเดียว Super Scalar อีกวิธห ี น่ึงสำาหรับเพ่ิมประสิทธิภาพของ CPU นัน ่ ก็คือ การให้ CPU นัน ้ สามารถทำางานหลายๆ คำาสัง่ได้พร้อมๆกัน ใน 1 สัญญาณนาฬิกา หรือมีหลายๆ Pipeline ทำาให้สามารถทำางานได้หลายๆ คำาสัง่พร้อมๆ กันได้ เร่ ืองของ Pipeline และ SuperScalar สามารถอ่านรายละเอียดเพ่ิมเติมได้ท่ี Pipeline and SuperScalar ครับ

<< Prev : Page 1

Next : Page 3 >>

27

ช่วงต้นยุคที่ 6 ( ของ CPU ) Intel Pentium Pro ( P64C )

[ 11 June 1999 ]

ในราวๆ เดือนพฤศจิกายน ปี ค.ศ. 1995 Intel ก็ได้เปิดตัว CPU ในยุคที่ 6 ของตน โดยมี CodeName ว่า "P6" ซึง่ พัฒนาและปรับปรุงการทำางานเพิ่มเติมขึ้นมาอีก พอ สมควรจาก Pentium Classic แต่ได้มีการย้าย Cache ภายนอก ( หรือ Cache ระดับ 2 , L2 Cache ) ซึ่งปกติแล้วจะวางอยู่บน Mainboard มาไว้ที่ แผ่น Silicon เดียวกันกับ CPU เลย ( แต่ไม่ได้อยู่ ภายใน CPU ) เพื่อเพิ่มความเร็วในการทำางานของ L2 Cache และ การเพิ่มความเร็วในการเข้าถึง และดึง ข้อมูลจากใน Cache ... แต่ก็ด้วยเหตุที่ต้องรวมเอา Cache เข้าไปด้วยนี้เอง ทำาให้ราคาของ CPU นั้นสูงเอามากๆ Intel ได้เปลี่ยนแนวคิดของตัวเอง โดยหันมาใช้การประมวลผลแบบ RISC ใน CPU ของตนบ้าง ด้วยการดัดแปลงชุดคำาสั่งสำาหรับ x86 ของตนให้เป็น ชุดคำาสั่ง ของ RISC ที่เล็ก กว่า เร็วกว่า และ ง่ายกว่าเดิม เรียกว่าเป็นชุดคำาสั่ง RISC86 Pentium Pro มี ชุด Pipeline 3 ชุด ซึ่งมากกว่า Pentium Classic ซึง่ มีเพียง 2 ชุด และมีการแยกขั้นตอนการทำางานออกเป็นถึง 14 ขั้นตอน และยังสนับสนุนการ ทำางานแบบคาดเดาคำาสั่งที่จะต้องเรียกใช้ล่วงหน้าได้ ซึ่งเรียกว่า Speculative Execution แต่ Intel เรียกการทำางานนี้ว่าเป็น Dynamic Execution อีกสิง่ หนึ่งที่เปลี่ยนไป ก็คือ Interface ทีใ่ ช้ ซึ่งจากเดิมใช้บน Socket 7 ก็หันมาใช้ที่ Socket 8 แทน ทำาให้ไม่สามารถใช้งานได้กับ Mainboard ของ Pentium Classic แน่นอน จะใช้รุ่นนี้ ก็ต้องซื้อ Mainboard ใหม่ด้วย สิง่ ที่น่าแปลกใจ สำาหรับ Pentium Pro อย่างหนึง่ ก็คือ ขนาดของ Cache ภายใน หรือ Cache ระดับ 1 ที่ยังคงมีเพียง 16 K เท่านั้น เท่าๆ กับ Pentium Classic เลย แต่กช็ ดเชยจุดด้อยตรงนี้ด้วย Cache ระดับ 2 ที่มีขนาดใหญ่ และมีให้เลือกหลายรุ่น คือรุ่นที่มี Cache ระดับ 2 ขนาด 256 KB, 512 KB หรือ 1 MB และ ทำางานด้วยความเร็วเดียวกับ CPU เพราะอยู่บน Silicon เดียวกัน Pentium Pro นี้ โดยมากจะถูกนำามาใช้เป็น Server มากกว่าที่จะเป็น Desktop PC เพราะ มันสนับสนุนการทำางานแบบ SMP หรือ Symmetric MultiProcessing ซึง่ ทำาให้ใช้ CPU ได้ หลายตัว บน Mainboard ตัวเดียวกันได้ ทำาให้ช่วยเพิ่มเสถียรภาพในการทำางาน สนับสนุนเรื่องของ Fault Tolerant ด้วย เมื่อ CPU ตัวใดตัวหนึ่งเสียหาย อีกตัวหนึง่ ก็จะทำางานแทนที่ได้ และยังช่วยสนับสนุนการประมวลผลแบบขนานอีกด้วย

Intel Pentium MMX ( P55C )

28

ในช่วงต้นปี ค.ศ. 1997 Intel ก็ได้เปิดตัวเทคโนโลยีใหม่ของตน คือ MMX หรือ MultiMedia eXtension ขึ้นมา โดยมีจุดประสงค์ เพื่อให้ช่วยเพิ่มความ สามารถในด้าน Multimedia เพราะในปัจจุบันนี้ Computer และงานด้าน Multimedia แทบจะแยกกันไม่ออกแล้ว ด้วยเหตุนี้เอง ทาง Intel จึงได้รวมชุด คำาสั่ง MMX เข้ามาใน CPU ตระกูล Pentium ของตนด้วย เพื่อเป็นจุดขายใหม่ และ สร้าง มาตรฐานใหม่ของตนขึ้นมา มาดูกันดีกว่าครับ ว่า Pentium MMX หรือ P55C นี้ มีอะไรเปลี่ยนแปลงไปจาก Pentium Classic หรือ P54C บ้าง อันดับแรกเลย คือชุดคำาสั่ง MMX ไงละครับ อันนี้ของแน่อยู่แล้ว :-) ต่อมาคือขนาดของ Cache ภายใน ที่เพิ่มขึ้นมาเป็นเท่าตัวจากเดิม ซึ่งมี Data Cache 8 K และ Instruction Cache 8 K ก็ถกู เพิ่มอีกเท่าตัวเป็น Data Cache 16 K และ Instruction Cache 16 K ในส่วนที่เปลี่ยนแปลงอีกอย่าง ก็คือ เรื่องของ ไฟเลี้ยง ซึ่ง Pentium Classic นั้น ใช้ไฟเลี้ยง 3.3 Volt แต่ Pentium MMX นั้น จะใช้ไฟเลี้ยงเป็น 2.8 Volt ที่ CPU core แต่ ในส่วนของ CPU I/O ยังคงเป็น 3.3 V. ในรายละเอียดปลีกย่อยของสถาปัตยกรรมภายใน ก็ได้มีการนำาเอาเทคโนโลยีบางส่วนจาก Pentium Pro ซึ่งจัดเป็น CPU ในยุคที่ 6 ของ Intel ( P6 ) ที่เปิดตัว ออกมาก่อนหน้านี้ไม่นานนัก ได้แก่ ความสามารถในเชิงของ Branch Target Buffer หรือ BTB ซึง่ เกี่ยวข้องกับการทำานายผลการคำานวนล่วงหน้า ... ช่วยเพิ่ม ความเร็วในการประมวลผลได้อีกทางหนึ่ง นอกจากนี้ยังมีการพัฒนา / ปรับปรุง ในเชิงของ Return Address Prediction อีกด้วย อีกทั้งยังสามารถทำาการถอดรหัส และแยกการทำางานออกเป็น 2 Pipe พร้อมๆกันได้ เป็น Pipe จำานวนเต็ม และ MMX ซึ่งสามารถทำางานไปพร้อมๆกันได้เลย สรุปรายละเอียด ของ CPU Intel Pentium MMX o o o o o o o o o o o

มีตงั้ แต่รุ่นความเร็ว 166 MHz ถึง 233 MHz ใช้เทคโนโลยี ขนาด 0.35 micron Cache ระดับ 1 มีขนาดเป็นเท่าตัวของ Pentium Classic คือเป็น 32 K Die Size มีขนาด 141 ตารางมิลลิเมตร เพิ่มจำานวนของการ Write Buffer จาก 2 เป็น 4 นำาเทคโนโลยีเรื่อง Branch Prodiction ( Branch Target Buffer ) จาก Pentium Pro มาใช้ พัฒนาเรื่อง Return Stack ซึง่ แรกเริ่มเดิมทีนั้นมีใน Cyrix/IBM 6x86 เพิ่ม step การทำางานของ U และ V Pipeline อีก 1 step พัฒนาเกี่ยวกับการทำางานแบบขนานของ Pipeline U และ V ชุดคำาสั่ง MMX ใช้ไฟเลี้ยงใน CPU core 2.8 V แต่ ใช้สำาหรับ CPU I/O เป็น 3.3 V.

Pentium MMX นี้ ยังคงเป็น CPU ในรุ่นที่ 5 ของ Intel จะจัดเป็นรุ่นที่ 5.1 ก็คงได้ ถึงแม้จะออกมาทีหลัง Pentium Pro ซึง่ จัดเป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของ Intel ก็ตามแต่

AMD K6

29

ในวันที่ 2 เมษายน ปี ค.ศ. 1997 ทาง AMD เอง ก็ได้ทำาการเปิดตัว CPU ในรุ่นที่ 6 ของตนขึ้นมาบ้าง เพื่อหมายจะมาแข่งกับ Intel Pentium MMX นั่นก็คือ AMD K6 ยังคงจำาเรื่องของ NextGen ได้ไหมครับ บริษัทนี้ถูก AMD ซื้อและทำาการรวมเทคโนโลยีเข้ามาด้วย ซึ่งในขณะที่ซื้อนั้น ทาง NextGen ก็ได้ออกแบบ CPU ในรุ่นที่ 6 ของตน ไว้แล้ว คือ Nx686 ซึง่ AMD ก็เลยได้ถือโครงสร้างที่น่าสนใจของ Nx686 มารวมเข้ากับ เทคโนโลยีของตน และ เพิ่มชุดคำาสั่ง MMX ของตนเองเข้าไปด้วย ทำาให้ได้ K6 ออกมา MMX ของ AMD K6 นั้น ถึงแม้จะมีจำานวนชุดคำาสั่งเท่าๆ กัน มีคำาสั่งเหมือนๆกันกับ Intel แต่กระบวนการทำางานก็แตกต่างกันไป เพราะ ถ้าทำาในกระบวนการเดียวกัน ก็จะถือ เป็นการล่วงละเมิดลิขสิทธิ์ของ Intel ซึ่งได้จดไว้ก่อนแล้ว แต่อย่างไรก็ตาม MMX ของ AMD ก็ใช้งานได้กับทุก Application ที่สนับสนุนการทำางานของ Intel MMX และให้ประสิทธิภาพที่ได้ผล พอๆ กัน ถึงดีกว่าด้วยซำ้า สำาหรับ บางงาน ( AMD เรียก MMX ของตนว่าเป็น MMX enhanced )

สำาหรับในรุ่นแรกนั้น AMD ได้เปิดตัวที่ความเร็ว 166, 200 และ 233 MHz ซึ่งมี transistor ภายใน 8.8 ล้านตัว และใช้เทคโนโลยี ขนาด 0.35 micron และ ต่อมาก็ได้เปิดตัว รุ่นความเร็วที่ระดับ 266 และ 300 MHz แล้วก็ได้หันมาใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 micon ด้วย ซึ่งในช่วงนั้นเอง ก็ได้ทำาการตัดราคา CPU ของตนลงอีก ด้วย เพื่อหมายจะแข่งกับ Intel Pentium MMX ( คงไม่หวังจะแข่งกับ Pentium Pro ละครับ เพราะ เน้นตลาดคนละด้านกัน ) สิง่ ที่ AMD K6 มีเพิ่มเติมเหนือไปกว่า Intel Pentium MMX ที่เห็นได้ชัดๆ ก็คือ ขนาดของ Cache ภายใน หรือ Cache ระดับ 1 ( L1 Cache ) ซึง่ จะมี ขนาดเป็นเท่าตัวของ Intel Pentium MMX ซึง่ ก็คือ มี Data Cache 32 K และ Intruction Cache 32 K แต่สงิ่ ที่ทำาให้ AMD K6 ไม่เหนือไปกว่า Intel Pentium MMX อย่างสมบูรณ์ นั่นก็คือ เรื่องของ การคำานวนเชิงทศนิยม เพราะยังคงทำาได้ช้ากว่า ณ ที่ CPU ความเร็วเท่าๆกัน ซึง่ ในขณะนั้น เกมส์ 3 มิติ ( 3D ) กำาลังเป็นที่แพร่หลาย และเป็นที่ทราบกันว่า การคำานวนเชิง 3 มิตินั้นต้องใช้ การคำานวนเชิงทศนิยมอย่างหนัก ตรงจุดนี้เอง ที่ทำาให้ Intel Pentium MMX ยังคงเหนือกว่า ( ณ ที่ความเร็วของ CPU เท่าๆกันนะ ) แต่ด้วยปัจจัยของราคา ซึง่ ในขณะนั้นราคาของ AMD K6 300 MHz นั้นพอๆกัน หรือแพงกว่าเพียงเล็กน้อย กับ Intel Pentium MMX 233 MHz และด้วยความ สามารถในการคำานวนเชิงทศนิยมของ K6 300 MHz นั้น ก็เทียบได้กับ Intel Pentium MMX 233 MHz ด้วย แต่ด้วยความเร็วด้านอื่นๆ ทีเ่ หนือกว่า ก็เลยเป็นจุดที่ ชดเชยกันได้ อย่างล้นเหลือ ... มาดู สรุปรายละเอียดของ AMD K6 กันดีกว่านะครับ o o o

มีความเร็วตั้งแต่ 166MHz ถึง 300MHz ใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 และ/หรือ 0.35 micron จัดเป็น CPU ในรุ่นที่ 6 ของ AMD

30 o

o

เป็น RISC86 CPU ซึง่ มีสถาปัตยกรรมดังนี้  มี 7 หน่วยประมวลผลแบบขนาน  สามารถถอดรหัสของ x86 ไปยัง RISC86 ได้ทีละหลายๆคำาสั่ง  สามารถทำานายผลการประมวลผลล่วงหน้าได้ 2 ระดับ ( Branch Prediction )  สามารถคาดเดาคำาสั่งทีจ่ ะต้องทำางานล่วงหน้าได้ ( Speculative Execution )  สนับสนุนการทำางานแบบ Out-Of-Order Execution ( เป็น Feature ที่ใช้ใน Pipeline )  สนับสนุนการทำางานแบบ Data Forwarding ( เป็น Feature ที่ใช้ใน Pipeline ) มีชุดคำาสั่งเพิ่มเติมเพื่อจัดการกับด้าน MultiMedia ซึง่ ก็คือชุดคำาสั่ง MMX นั่นเอง

จริงๆ แล้วในขณะที่ทาง AMD เปิดตัว K6 ได้ไม่นาน Intel ก็ได้เปิดตัว Intel Pentium II ขึ้นมาแข่ง หมายจะกลบรัศมีของ K6 ด้วย ซึง่ ความจริง ก็ควรจะจัดเปรียบเทียบ K6 กับ Pentium II แต่ด้วยสถาปัตยกรรมแล้ว ก็เลยขอเปรียบเทียบ K6 กับ Pentium MMX แทน ก็แล้วกันนะครับ ... อาจเป็นการไม่แฟร์สำาหรับ Pentium MMX สักหน่อย เพราะยังคงเป็น CPU ในรุ่นที่ 5 แต่ AMD K6 เป็นรุ่นที่ 6 แล้ว ตารางเปรียบเทียบ สรุปความสามารถด้านต่างๆ ระหว่าง Intel Pentium MMX , Intel Pentium Pro และ AMD K6

Processor Feature

AMD K6

Pentium Pro

Pentium MMX

RISC core Superscalar Speculative execution Out of order execution Data forwarding Register renaming Simple x86 decoders Sophisticated x86 decoders Long x86 decoders Vector x86 decoders Execution Pipelines Branch prediction Advanced 2 level branch prediction Branch history table entries Branch target cache entries Branch prediction accuracy MMX technology High performance FPU L1 instruction and data cache Industry compatible SMM Latency ( ยิ่งน้อยยิ่งดี )

Yes / 6 issue

Yes / 5 issue Yes

No

Yes Yes Yes Yes 2 1 1 6

No No No No 1 1 2

2 1 5 Yes Yes

8,192 16 95% Yes 32K + 32K 2 clock

No 256

512 0 90% No Yes 8K + 8K Yes 5-7 clock

75-80% Yes 16K + 16K 2 clock

รายละเอียดเพิ่มเติม •

MMX MMX เทคโนโลยีนั้น เป็นชุดคำาสั่งภายใน CPU ที่เพิ่มเข้ามาอีก 57 คำาสั่ง เพื่อจัดการกับงานในมัลติมีเดีย โดยเพิ่มประสิทธิภาพของโปรแกรมทำางานเกี่ยวกับระบบเสียง (Audio) ภาพกราฟิก 2 มิติ ( 2D ) ภาพกราฟิก 3 มิติ ( 3D ) ,ภาพเคลื่อนไหวต่างๆ และรวมไปถึงระบบการวิเคราะห์และจดจำาเสียงพูด ( Voice Recognition ) และการสื่อสาร ผ่านโมเด็ม โดย MMX นี้ เป็นชุดคำาสั่ง ที่ใช้สถาปัตยกรรมแบบ SIMD กล่าวคือ สามารถประมวลผลด้วยคำาสั่งเดียวกัน แต่ใช้ชุดข้อมูลต่างกันได้ พร้อมๆ กัน ( SIMD : Single Instrunction Multiple Data stream ) เรียกว่าเป็นการประมวลผลแบบขนาน หรือ Parallel Processing

31

เรื่องของ SIMD นี้ สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่ สถาปัตยกรรมแบบ SIMD ครับ เทคโนโลยีนี้ ทาง Intel เองก็ได้พยายามผลักดันให้ผู้ผลิต Software และ Hardware ต่างๆ ให้สร้าง Application และ Driver ที่ช่วยสนับสนุนการทำางานของ MMX เพื่อจะได้ใช้ประโยชน์ในจุดนี้อย่างเต็มที่ แต่ในความเป็นจริง จนถึง ณ ปัจจุบันนี้ ก็มีผู้ผลิต Software เพียงไม่กี่เจ้าเท่านั้นที่ออกแบบมาเพื่อ MMX อาจกล่าวได้ว่า เป็นเทคโนโลยีที่ไม่สำาคัญเท่าไรนัก ... แต่จำาเป็นต้องมี เพราะเหมือนกับเป็น Standard สำาหรับ CPU ในขณะนี้ไปเสียแล้ว ( หลังจาก Intel ประกาศเปิดตัว MMX บริษัทผู้ผลิต CPU อื่นๆ ก็หันมาจับ MMX ใส่ CPU ของตนตามไปด้วย ทั้ง AMD , Cyrix และแม้แต่น้องใหม่ๆ อย่าง IDT หรือ RISE ก็จับเจ้า MMX นี้ใส่ลง ใน CPU ของตนด้วย ) จำาเป็นไหม? สำาหรับ MMX กับงานด้าน Business สำาหรับผม คิดว่าไม่จำาเป็น เพราะแทบจะไม่ช่วยอะไรเลย เว้นเสียแต่งานด้าน Presentation ซึง่ จำาเป็นต้องใช้ Multimedia มาสนับสนุนด้วย สำาหรับ Software ที่สนับสนุน MMX นี้ ที่เห็นเด่นชัดเลย ก็มี Adobe Photoshop ซึง่ มี Patch ให้ upgrade ใช้คำาสั่ง MMX ได้ ทำาให้การทำางานในบางด้าน ทำาได้เร็วขึ้นอย่างเห็นได้ชัด •

Speculative Execution ( หรือที่ Intel เรียก Dynamic Execution ) เป็นกระบวนการทำางานเมื่อทำางานคำาสั่งใดๆ เสร็จเพียงครึ่งทางก่อน แล้วรอดูว่ามีคำาสั่งไหน ที่ต้องการใช้ในขั้นต่อไป และเรียกใช้มันก่อน ( เป็นกระบวนการของ Out-Of-Order Execution ) ทำาให้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพในการทำางานขึ้นอีกระดับ



Out-Of-Order Execution

32

ตารางสรุปเปรียบเทียบ Spec ต่าง

Processor Features

Performance Benefits

Process Technology (micron) Die size (mm2)

Smaller die size=lower cost

Clock speed (MHz)

Faster clock speed generally means faster processing and apps launching

AMDK6®-2 with Pentium®II 3DNow!™ technology

Celeron

0.25

0.25

0.25

81

131

131 or 155

300 333 350/366/38 0 400 450 475

300 333 350 400 450

300/300A 333 366 400 433 466 500

L1 cache

Built-in feature that helps the CPU retrieve even faster

64K Yes

32K Yes

32K Yes

L2 cache Support

Augments L1 cache, making data retrieval even faster

Yes

Yes

No 266/300 MHz Yes 300A/333M Hz

Processor bus (max bus speed)

Moves data between CPU and memory

Super 7™ 100MHz Socket7 66MHz

Slot 1 100MHz 66MHz

Slot 1,Socket 370 66MHz

MMX™ Technology

Enhances multimedia applications and runs other apps 10% faster

Yes

Yes

Yes

3DNow!™ Technology

Enables superior visual and multmedia experience

Yes

No

No

100 MHz Bus Support

Moves data between the CPU and the main memory. L2 cache can't improve performance without a fast bus to move the data. Faster bus eliminates the data bottleneck

Yes

Yes, but only at 350MHz and above

No

Accelerated Graphics Port Support

Speeds up 3D graphics

Yes

Yes

Yes

X86 compatibility

Standard industry architecture, essential for running standard PC applications

Yes

Yes

Yes

รายละเอียดเพิ่มเติม •

3DNow! 3DNow! นั้น เป็นชุดคำาสั่งใหม่ ที่ทาง AMD เป็นผู้คิดค้น และ พัฒนา โดยจะมีคำาสั่งใหม่ๆ ที่เพิ่มเติมเข้ามาอีก คำาสัง่ ที่ใช้งานในแบบ SIMD ( Single Instruction

33

Intel Pentium III ( Katmai )

Empire Strike Back! [ 07 August 1999 ]

Intel ตอบโต้ AMD กลับ ด้วยการชิงเปิดตัว Pentium III ออกมาก่อนหน้า AMD K6-III โดยได้เปลี่ยนแปลงกำาหนดการ ให้ออกเร็วขึ้น และ ได้สร้างความผิดหวังพอ สมควรกับ การเร่งออกจนเกินไปในครั้งนี้ เพราะอะไร? ก่อนหน้านี้ Intel ได้ประกาศว่า Pentium III นั้น จะใช้เทคโนโลยีขนาด 0.18 Micron ใช้ไฟเลี้ยง 1.8 Volt และ มี Cache ระดับ 1 ขนาด 64 K ด้วย แต่เมื่อถึงเวลาจริงๆ นั้นปรากฏว่า ยังคงเป็น เทคโนโลยีขนาด 0.25 Micron ใช้ไฟเลี้ยง 2.0 Volt และ ยังคงมี Cache ระดับ 1 เพียง 32 K เช่นเดียวกับ Pentium II เลย จากข้อมูลหลายๆแหล่ง กล่าวว่า Pentium III นั้นใช้ สถาปัตยกรรมแกนหลัก ( Core ) เดียวกันกับ Pentium II นั่นก็คือใช้ Deschute Core เช่นเดิม เพียงแต่ ได้เพิ่มเติมประสิทธิภาพอย่างอื่นเข้าไปแทน อาทิ SSE และ Processor Serial Number ( เรียก Core ใหม่นี้ว่า Katmai Core ) ซึ่ง หากตัดความสามารถ ทัง้ 2 อย่างนี้ออกแล้วละก็ .. Pentium III ก็ไม่ต่างจาก Pentium II เลยทีเดียว ปัญหาหนึง่ ที่น่าจะเกิดขึ้นกับ Pentium III หนักกว่า Pentium II นั้นก็คือเรื่องปัญหาด้านความร้อน เนื่องจาก Pentium III นั้น มีจำานวนทรานซิสเตอร์อัดแน่นอยู่ภายใน CPU กว่า 9.5 ล้านตัว ซึ่งมากกว่า Pentium II ถึง 2 ล้านตัว และ อัดกันอยู่บนแผ่นเวเฟอร์ ขนาด 0.25 Micron ผลก็คือ ความร้อนที่เกิดขึ้นกับตัว CPU นั้น สูงกว่า Pentium II แน่นอน สรุปสถาปัตยกรรมโดยคร่าวๆของ Pentium III o o o o o o o o o

ใช้เทคโนโลยีการผลิต ขนาด 0.25 Micron Katmai Core นั้น พัฒนาขึ้นมาจาก Deschute Core โดยการเพิ่มชุดคำาสั่ง SSE Interface ที่ใช้ต่อเข้ากับ Mainboard เป็น Slot-1 Cache ระดับ 1 ขนาด 32 K แบ่งเป็น Cache ข้อมูล 16 K และ Cache คำาสั่ง 16 K โดยมีการเข้าถึงได้ 4 ทาง ( 4-Way Associative ) Cache ระดับ 2 อยู่บน PCB เดียวกันกับ CPU ใน SECC2 เดียวกัน โดยมีขนาด 512 K และทำางานที่ความเร็วเพียงครึ่งหนึ่งของความเร็ว CPU ใช้ไฟเลี้ยง CPU Core 2.0 Volt ชุดคำาสั่ง พิเศษสำาหรับช่วยจัดการงานด้าน Multimedia, Internet และ Graphics 3D อีก 70 คำาสั่ง ( SSE ) Processor Serial Number ซึ่งเป็นลักษณะเฉพาะของ CPU Pentium III แต่ละตัว ใช้ FSB 100 MHz และ ยังคงมีการล็อคค่าตัวคูณสัญญาณนาฬิกา ( Multiplier Lock )

34 อย่างไรก็ตาม Intel มีแผนการจะวางตลาด Pentium III ตัวใหม่ทใี่ ช้ Core ใหม่ ที่มี CodeName ว่า Coppermine ในราวปลายๆปี 1999 นี้ โดยคาดว่า Coppermine นี้ จะใช้ FSB ที่ 133 MHz รวมถึงใช้เทคโนโลยีแบบ 0.18 Micron และเริ่ม ต้นที่ความเร็ว 600 MHz

Intel Pentium III Xeon

เหมือนกับเป็นผลรวมของ Pentium II Xeon บวกกับความสามารถใหม่ของ Pentium III คือ SSE และ Processor Serial Number ดังนั้นโดย สถาปัตยกรรมหลักแล้ว ก็ยงั คงพื้นฐานเดิมของ Pentium II Xeon เช่นเดิม เพราะฉะนั้น ความสามารถใหม่ๆ ที่เด่นๆ ก็มีเพียง o o o o o o

Internet Streaming SIMD Extension ทีช่ ่วยให้สามารถแสดงข้อมูลที่เต็มไปด้วยสื่อต่างๆ ได้อย่างรวดเร็ว และเสริมให้แอพพลิเคชั่นประเภท Streaming Media และ Application ที่ต้องใช้พื้นที่ในหน่วยความจำาสูงๆ สามารถทำางานได้ดียิ่งขึ้น สามารถ ทำางานร่วมกันกับแพลตฟอร์มของเวิร์กสเตชั่น และเซิร์ฟเวอร์ที่ใช้ Pentium II โปรเซสเซอร์ ได้ เข้ากันได้กับระบบปฏิบัติการต่างๆ ทั้งบนไมโครซอฟต์ Windows NT หรือระบบ UNIX ได้ มีให้เลือกขนาดของ Cache ระดับ 2 ได้หลายแบบ กล่าวคือ รุ่น 500 MHz นั้นมี ขนาดของ Cache ระดับ 2 ให้เลือกถึง 3 รุ่น คือ 512 KB, 1 MB หรือ 2 MB และแบบความจุ 512 KB สำาหรับรุ่น 550 MHz ยังคงความสามารถต่างๆ ที่มีใน Pentium II Xeon เดิม เช่น ECC, SMB และ FRC ซึ่งจำาเป็นอย่างมากสำาหรับ WorkStation หรือ Server คุณสมบัติ Processor Serial Number

และก็เช่นกันกับ Pentium II Xeon นั่นก็คือ CPU ตัวนี้ เหมาะกับการใช้เป็น Server และ / หรือ WorkStation เท่านั้น ไม่เหมาะกับ Home User ทั่วๆ ไป แน่นอนครับ ทั้งด้วยประสิทธิภาพที่เกินความจำาเป็น และ ราคาที่สูงเกินอาจเอื้อม

AMD K6-III 3DNow! ( SharpTooth )

AMD หมายจะตอกยำ้าความเจ็บชำ้าให้กับ Intel ซึ่งได้เคยสร้างไว้แล้ว เมื่อคราว K6-2 ดังนั้น มาคราวนี้ AMD ได้รับประสปการณ์เรื่องความเร็ว Cache ระดับ 2 มาจาก Celeron ก็เลยตัดสินใจ รวม Cache ระดับ 2 เข้าไปใน CPU ด้วย โดยเพิ่มให้มขี นาดเป็น 2 เท่าของ Celeron คือ มีขนาดถึง 256 K และ ทำางานด้วย ความเร็วเท่าๆ กับ CPU เลยทีเดียว และ ยังคงใช้กับ Mainboard Socket 7 ที่มี Cache บน Mainboard อีกด้วย ก็เลยทำาให้มันมอง Cache บน Mainboard นั้น เป็น Cache ระดับ 3 ไปโดยปริยาย CPU ตัวใหม่นี้ เดิมที AMD จะให้ชื่อ K6-3 และ มี Code Name ว่า SharpTooth แต่ต่อมา ภายหลังจากที่ทาง Intel ประกาศตัว Pentium III และ ทาง AMD เองก็หมายจะให้ CPU ตัวใหม่นี้ของตนเป็นคู่แข่งกับ Pentium III ก็เลยเปลี่ยนชื่อ K6-3 นี้เล็กน้อย มาเป็น K6-III แทน

35 o

o

o o o

ด้านสถาปัตยกรรมแบบ SuperScalar  มีหน่วยประมวลผลที่สามารถทำางานได้พร้อมๆ กันถึง 10 หน่วย  Branch Prediction 2 ระดับ  Speculative Execution  Out-Of-Order Execution แบบเต็มรูปแบบ  Register Renaming และ Data Forwarding  ทำางานด้วยชุดคำาสัง่ RISC86 ได้ถึง 6 ชุดคำาสั่ง ต่อ 1 สัญญาณนาฬิกา สถาปัตยกรรมแบบ Tri-Level Cache ( Cache 3 ระดับ )  Cache ภายใน มีขนาดโดยรวมมากถึง 320 KB  Cache ระดับ 1 ขนาด 64 KB แบ่งเป็น Cache ข้อมูล 32 KB ( เป็น Write-Back Dual-Port ) และ Cache ชุดคำาสั่งอีก 32 KB  มีการเข้าถึง Cache ระดับ 1 ได้ 2 ทางพร้อมๆกัน ( 2 Way -Associative )  Cache ระดับ 2 ฝังอยู่ใน Silicon ชิ้นเดียวกับ CPU ขนาด 256 KB ( Write-Back )  มีการเข้าถึง Cache ระดับ 2 ได้ 4 ทางพร้อมๆกัน ( 4 Way -Associative )  มอง Cache บน Mainboard เป็น Cache ภายนอก ( Cache ระดับ 3 ) ใช้เทคโนโลยี 3DNow! ( 21 ชุดคำาสั่ง SIMD FPU ) Package เป็น Ceramic Pin Grid Array ( CPGA ) ซึ่งมี 321 ขา เพื่อใช้กับ Interface แบบ Socket 7 ( Super 7 ) มีทรานซิสเตอร์ 21.3 ล้านทรานซิสเตอร์ บน Die Size ขนาด 118 ตารางมิลลิเมตร และใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 Micron 5 Layer-Metal Silicon

ด้วยประสิทธิภาพที่ดีพอๆ กันในการใช้งานทั่วๆไป และ มีข้อเด่นข้อด้อย ต่างกัน ซึ่งเมื่อจะมองๆ ไป ก็น่าจะชดเชยส่วนด้อยกันไปได้ และ ราคานั้น AMD ก็ยังคงถูกกว่า Pentium III ณ ระดับความเร็วเท่าๆ กัน ... งานนี้ก็เลยดูเหมือนว่า K6-III จะยำ้าแค้นได้สำาเร็จ ... แต่ ในความเป็นจริง กลับไม่เป็นเช่นนั้น เพราะเมื่อ Intel ประกาศ เปิดตัว Pentium III ก็ได้เปิดตัว SSE และ สร้างภาพลักษณ์ให้กับ Internet SSE อย่างมาก เพื่อให้ ผูใ้ ช้ฝงั ใจว่า หากจะเล่น Internet ให้เร็วๆ แล้ว ก็ต้องใช้ Pentium III ซึ่งเรื่องนี้ ทาง Intel ทุ่มทุนในการโปรโมทเป็นอย่างมาก อีกทั้ง Intel ได้ทำาการหั่นราคา CPU Pentium III ของตน ลงอย่างรวดเร็ว ดังนั้น ผลลัพธ์ ก็เหมือนกับว่า ทาง Intel นั้น เป็น จักรพรรดิ ที่กลับมาทวงบัลลังก์คืน ด้วยขุมกำาลังอันมหาศาลเลยทีเดียว ... แล้ว Intel จะทวงบัลลังก์คืนได้ไหม? หรือว่า เป็นแค่เพียงการดิ้นรนเฮือกสุดท้าย หรือ AMD มีการเตรียมการโต้ตอบอย่างไร ? กาลเวลาจะเป็นผู้ให้คำาตอบนี้ได้อย่างดีที่สุด

ตารางสรุปเปรียบเทียบ Spec ต่าง

36 Processor Features

Performance Benefits

Process Technology (micron)

AMD-K6®-III with 3DNow!™ technology

Pentium®III

0.25

0.25

Die size (mm2)

Smaller die size=lower cost

118

140

Clock speed (MHz)

Faster clock speed generally means faster processing and apps launching

400 450

450 500 550

Total System cache (max)

Larger cache typically improves overall performance

2368 KB

544 KB

*Internal cache

Built-in feature that helps the CPU access data and instructions even faster

320 KB

32 KB

L2 cache support

Augments L1 cache, making data and instruction access even faster

256 KB (full speed)

512 KB (half speed)

L3 cache support

Provides additional system cache improving overall performance

Yes (up to 2 MB)

No

Processor bus (max bus speed)

Moves data between CPU and main memory

100MHz

100MHz

MMX™ Technology

Improves quality and performance of integer-based multimedia applications

Yes

Yes

Advanced Floating Point Multimedia Technology

Enables superior visual and multmedia experience

Yes 3DNow! technology

Yes Streaming SIMD Extensions

Accelerated Graphics Port Support

Speeds up 3D graphics

Yes

Yes

X86 compatibility

Standard industry architecture, essential for running standard PC applications

Yes

Yes

รายละเอียดเพิ่มเติม •

SSE : Streaming SIMD Extension เป็นชุดคำาสั่งแบบ SIMD ที่ทาง Intel เพิ่มเข้าไปใน CPU ของตน ซึ่งก็เหมือนกับ MMX และ 3DNow! ( ของ AMD ) เพียงแต่ MMX นั้น เป็น SIMD สำาหรับ การประมวลผลเลขจำานวนเต็ม แต่ SSE นั้น เน้นด้าน ทศนิยมเป็นหลัก และ ยังใช้งานได้กว้างขวางกว่า 3DNow! ของ AMD อีก เพราะไม่ได้จำากัดแค่ Application ด้าน 3D เท่านั้น SSE นั้น เป็นชุดคำาสั่ง 70 คำาสั่ง ที่มีคำาสั่งในการประมวลผลเชิงทศนิยม อยู่ 50 คำาสั่ง ... เป็น ชุดคำาสัง่ MMX ใหม่ ซึ่ง Compat กับ MMX เดิม 57 คำาสั่ง อีก 12 คำา สัง่ และ เป็นชุดคำาสั่งที่จัดการเกี่ยวกับ Cache อีก 8 คำาสั่ง อ่านเพิ่มเติมได้ ที่บทความเรื่อง FPU Power : ประสิทธิภาพในการประมวลผลเชิงทศนิยม ครับ



PSN : Processor Serial Number เป็น Feature ใหม่ ที่ทาง Intel เพิ่มเติมเข้าไปให้กับ CPU Pentium III ของตน โดยแต่เดิมนั้น ใช้ข้อมูลขนาด 32 Bit เท่านั้น ในระบุชนิด ของ CPU แต่ใน Pentium III นั้น จะมี chip PROM ( Programable ROM ) ขนาด 96 Bit ฝังอยู่ใน Pentium III เลย โดยจะมีการจัดเก็บรหัสข้อมูลของ CPU แต่ละตัวที่ไม่ซำ้ากันเลย ( เป็น Uniqe Number ) ขนาด 64 Bit และจะทำางานโดยการเรียกผ่านชุดคำาสั่ง CPU_ID เพื่อให้ใช้งาน PSN ได้ PSN นั้น ทาง Intel อ้างว่า มีไว้ เพื่อให้ผู้ดูแลระบบขององค์การ สามารถใช้ PSN ในการติดตามข้อมูลเกี่ยวกับ เครื่อง Computer ที่ต่ออยู่กับ Network ทัง้ ในด้าน ตำาแหน่งที่ตั้งของเครื่อง, Configuration, Application ทีใ่ ช้งานต่างๆ และ อื่นๆ ได้ อีกเหตุผลหนึ่งก็คือ เรื่องของ Internet Security ซึ่ง Intel มองถึงเรื่องของ E-Commerce โดย PSN นั้นจะช่วยป้องกันการ Access เข้าไปใช้งาน จากผู้ที่ ไม่มีสิทธิ โดยผู้ใช้สามารถลงทะเบียน PSN ของเครื่องที่ใช้ติดต่อกับเว็ปไซท์ที่ใช้บริการ E-Commerce นั้นๆ แล้ว เมื่อมีการ Access เข้าไปเพื่อจะติดต่อธุรกิจ ก็อาจมีการให้

37 ใส่ login และ password จากนั้น ระบบก็จะส่ง PSN ไปให้กับผู้ให้บริการด้วย เพื่อเป็นการยืนยันอีกทางหนึ่ง •

Tri-Level Cache สำาหรับ AMD K6-III นั้น ได้มีการนำาเอา Cache ระดับ 2 เข้ามาไว้ในตัว CPU เลย เป็น Cache ภายในที่ทำางานด้วยความเร็ว เท่ากับ ความเร็วของ CPU และมอง Cache ภายนอกที่อยู่บน Mainboard ซึ่งทำางานด้วยความเร็วเท่าๆกับ System Bus เป็น Cache ระดับ 3 ซึ่ง ผลที่ได้นั้นก็จะช่วยลดการเกิด Cache Miss ลง และ ยังทำาให้ CPU ดึงข้อมูลที่ต้องการใช้งานได้ง่ายขึ้นอีกด้วย ประสิทธิภาพโดยรวมก็ดีขึ้น และ กับงานที่มีการเรียกใช้งาน Cache มากๆ เช่นพวก Presentation หรือ Office Application ต่างๆ ก็จะยิ่งเห็นผลของ Tri-Level Cache ได้มากขึ้น อ่านเพิ่มเติมได้ ที่บทความเรื่อง Cache ครับ

ทิ้งทวนศตวรรษที่ 20 [ 12 November 1999 ] Intel Pentium !!! ( Coppermine )

38

Intel ได้ปล่อยตัว CPU Pentium !!! รุ่นใหม่ ที่เรียกว่า Pentium !!! Coppermine การปรับปรุงสถาปัตยกรรมภายในอีกไม่ใช่น้อย เพื่อเป็นการแก้ตัวจากการที่รีบปล่อย Pentium !!! Katm มากเกินไป จนทำาให้ Katmai ที่ออกมา ผิดจาก Spec ที่เคยกล่าวไว้บ้างพอสมควร

จุดเด่นต่างๆ ของ Pentium !!! ทีใ่ ช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.18 ไมครอน ( หรือ Coppermin Core ) ก็มีดังนี้ o o o o o o o o

ลดขนาดของช่องทางการเชื่อมต่อระหว่างทรานซิสเตอร์ภายในให้น้อยลง ทำาให้ติดต่อกันได้เร็วขึ้น ใช้ Fluorine-Doped SiO2 ( SiOF ) เป็นขั้วไฟฟ้า Dielectric ทำาให้มีควา การทำางานที่ดีขึ้น มีชั้นโลหะมากขึ้น สำาหรับส่งผ่านข้อมูลจำานวนมากๆ ช่วยส่งผลให้ Interface ของ Cache 2 ที่อยู่บน CPU สามารถทำางานด้วยความเร็วเดียวกันกับ CPU ทำางานด้วยศักย์ไฟฟ้าตำ่าลง คือลดลงมาอยู่ในระดับ 1.1 - 1.7 Volt กินไฟตำ่า ( ใช้พลังงานไฟฟ้าตำ่า ) ทำาให้เกิดความร้อนน้อย ขนาดของแผ่น Die ลดลงจาก 128 ตารางมิลลิเมตร ( Katmai Core ) เหลือเพียง ตารางมิลลิเมตร แต่บรรจุทรานซิสเตอร์ได้มากขึ้นเป็น 28.1 ล้านตัว มี Cache ระดับ 2 ที่อยู่บนตัว CPU ขนาด 256 KB ( Integrated On-Die Cache ) 6 Metal Layer Process

เทคโนโลยีใหม่ๆ ที่เป็นอาวุธลับอีก 2 ชิน้ ที่ทาง Intel กล่าวว่า จะช่วยให้ Pentium !!! ทีใ่ ช้ เทคโนโลย 0.18 ไมครอนนี้ ให้ประสิทธิภาพเหนือกว่า Katmai Core เดิม ในทุกๆด้าน ถึง 20% เมื่อเทียบกันท ของสัญญาณนาฬิกาที่เท่ากันที่ 600 MHz ก็คือ Advanced Transfer Cache ( ATC ) Advanced System Buffering ( ASB ) ซึ่งจากเทคโนโลยีใหม่ที่เพิ่มขึ้นมาอีก Intel ก็ได้อ้างว่า มันจะทำาให้ Pentium !!! ทีใ่ ช้ Coppermine Core มีประสิทธิภาพที่เหนือ Katmai Core อยู่ถงึ 20% นอกจากนี้ ทาง Intel ยังได้เผยบรรจุภัณฑ์แบบใหม่ของ Pentium !!! คือ FC-PGA หรือ Flip-Chip Pin Grid Array ซึง่ สามารถใช้ Plug เข้ากลับ Socket แบบ 370 pin ได้อีกด้วย โดยให้ความเห็นว่า เป็นการลดขนาดของ CPU เพื่อให้ต่อๆไป ผู้ผลิต PC สามารถออกแบบ Case หรือเครื่อง คอมพิวเตอร์ให้มีรูปทรงกระทัดรัด หรือ แปลกใหม่ได้ง่ายขึ้น จากการที่ CPU Pentium !!! รุ่นใหม่ที่เปิดตัวขึ้นมานี้ บางรุ่น ก็มีระดับความเร็วที่เท่ากับรุ่นเดิม ( Katmai ) ซึ่งก็อาจสร้างความสับสนให้กับทั้งผู้ซื้อ และ ผู้ ขายได้ ดังนั้นทาง Intel จึงได้กำาหนดให้ใช้ตัวอักษร E และ B กำากับไว้หลังตัวเลขแสดงความเร็วเพื่อบ่งบอกถึงคุณสมบัติเหล่านี้ ดังนี้ o o

ตัวอักษร E หมายถึง CPU Pentium !!! ทีใ่ ช้เทคโนโลยีในการผลิตแบบ 0.18 ไมครอน และมี Cache ระดับ 2 อยู่บน Die เดียวกันกับ CPU ทำางานด้วยความเร็วเท่ากันกับ CPU ( ซึ่งก็รวมถึงมี Advance Transfer Cache ด้วย ) ตัวอักษร B หมายถึง CPU Pentium !!! รุ่นที่ใช้ FSB เป็น 133 MHz

เพราะฉะนั้นรุ่นที่มีทั้งตัว E และ ตัว B ก็จะหมายถึง CPU Pentium !!! Coppermine ทีใ่ ช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 0.18 มี On-Die Full Speed L2 Cache และใช้ FSB 133 MHz ส่วนรุ่นที่มีความเร็วมากกว่า 650 MHz ขึ้นไป จะใช้การผลิตแบบ 0.18 ไมครอน มี On-Die Full Speed L2 Cache และมี FSB 133 MHz ทั้งหมด ดังนั้นจึงไม่จำาเป็น ต้องมีตัวอักษร E หรือ B กำากับไว้

AMD Athlon ( K7 )

39

ความพยายามของ AMD ที่พยายามจะหนีให้พ้นจากเรื่องทีถ่ ูกมองว่ามีเทคโนโลยีตามหลัง Intel อยู่เสมอ ดูเหม ถึงจุดสิ้นสุดแล้ว เมื่อทาง AMD ได้เปิดตัว CPU ตระกูลใหม่ สายพันธุ์ที่ 7 ของตน ที่ชื่อว่า Athlon คราบสถาปัตยกรรมเดิมที่มีมาจนถึงรุ่นที่ 6 จนหมดสิ้น เหลือไว้เพียงชุดคำาสั่ง 3DNow! เท่านั้น ที่ยงั คงมีอยู่ แต การปรับปรุง และเพิ่มเติมชุดคำาสั่งนี้ใหม่ เรียกว่า เป็น Enhance 3DNow! โดยสถาปัตยกรรมหลักคร่าวๆ Athlon เป็นดังนี้ o

o

o o o o

เป็น Superpipeline 9 สาย  เป็นส่วนของหน่วยประมวลผลทางทศนิยม ที่เป็นแบบ Out-Of-Order Superscalar 3 สาย  เป็นส่วนของหน่วยประมวลผลเลขจำานวนเต็ม ที่เป็นแบบ Out-Of-Order Superscalar 3 สาย  เป็นส่วนของหน่วยคำานวนหาตำาแหน่งสำาหรับการประมวลผลอีก 3 สาย ชุดคำาสั่ง Enhanced 3DNow! ที่รวมเอาชุดคำาสั่งเดิม 21 คำาสั่ง และอีก 19 จัดการด้าน Cache และ ช่วยในการประมวลผลเลขจำานวนเต็ม และอีก 5 คำาสั่งสำาหรับการประมว ด้าน DSP ( Digital Singal Processing ) ใช้ Alpha EV6 Bus ที่ความเร็ว 200 MHz โดย EV6 Bus นีใ้ ช้เทคโนโลยี ( Double Data Rate ) ทำาให้ มีความเร็ว MHz สูงกว่า FSB อยู่เท่าตัว Cache ระดับ 1 ขนาด 128 K และมี Cache ระดับ 2 อยู่ใน Package CPU ( แต่ไม่ได้อยู่บน Die เดียวกัน ) ใช้ Interface แบบ Slot A ในการ Plug เข้ากับ Mainboard แผ่น Die มีขนาด 184 ตารางมิลลิเมตร ใช้เทคโนโลยีขนาด 0.25 ไมครอน และมีจำานวน Transistor 22 ล้านตัว

o ใช้เทคโนโลยีการผลิตแบบ 6 Metal Layer AMD Athlon เป็น CPU ในรุ่นที่ 7 ของ AMD ซึ่งนับเป็นเจ้าแรก ที่เข้าสู่ยุคที่ 7 เพราะแม้ว่า Intel จะมี Pentium !!! Coppermine ออก มา แต่ก็ยังจัดว่าเป็นรุ่นที่ 6 อยู่ เรื่อง FPU ของ AMD ที่เคยด้อยกว่า Intel เพราะทาง AMD นั้นใช้ Low Latency FPU ในรุ่นก่อนๆ มารุ่นใหม่นี้ ทาง AMD ก็ได้หันมาใช้แบบ Pipeline แล้ว และได้ใช้ Pipeline สำาหรับประมวลผลด้านทศนิยมถึง 3 สาย รวมถึงการเพิ่มขนาดของ Cache ระดับ 1 ถึง 128K เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพ อีกด้วย

นอกจากนี้ ทาง AMD ยังได้เปิดโรงงานผลิตแห่งใหม่ที่ Dresden เป็น Fab 30 ( Fab = Fabrication เป็นลักษณะของโรงง และ ผลิต ส่วนเลข 30 หมายถึง AMD ได้ก่อตั้งมาเป็นเวลา 30 ได้หมายถึงว่าเป็นโรงงานผลิตสาขาที่ 30 แต่อย่างใด ) ในไตรมาสสุดท้าย 1999 เพื่อ ใช้เป็นที่ผลิต และ พัฒนา Copper Athlon ถึงการค้นคว้าวิจัยในวงจรอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องอีกด้วย

Fab 30 ที่ Dresden นี้ ตั้งอยู่บนพื้นที่ขนาด 75 เอเคอร์ ที่ทางเหนือของ Dresden ในรัฐ Saxony ประเทศเยอรมณี โดยจะใช้เป็นโรงงานผลิตหลัก สำาหรับ AMD Athlon ทีใ่ ช้เทคโนโลยี HiP6L หรือก็คือเทคโนโลยี Copper ขนาด 0.18 ไมครอน ภายใต้ ข้อตกลงร่วมกับทาง Motorola และคาด ว่าจะเริ่มทำาการผลิต Copper Athlon เพื่อส่งออกสู่ท้องตลาด ในช่วงครึง่ หลังของปี 2000

เปรียบเทียบเทคโนโลยี 3DNow! ตัวใหม่ที่ใช้กับ Athlon กับ ชุดคำาสั่ง Intel SSE

40

Functionality

SIMD floating point functionality

Enhanced 3DNow!

SSE

21

50

Conclusion สำาหรับเรื่องนี้ ทาง AMD อ้างว่า ตนนั้นเป็นผู้ริเริ่ม SIMD FPU เป็นเจ้าแรก โดยเทคโนโลยีด้านนี้ของทาง AMD และ Intel ต่างก็สนับสนุน การประมวลผลด้านทศนิยมทีละ 4 คำาสั่ง ต่อสัญญาณนาฬิกา และต่าง ก็สามารถทำาได้ถึงระดับ 2.4 GFlops ที่ระดับความเร็ว 600 MHz เท่าๆกัน ใ่ นด้านของชุดคำาสั่ง AMD จะใช้ชุดคำาสั่งที่น้อยกว่า และ เรียบง่าย กว่า ( เป็นลักษณะของ RISC ) แต่การทำางานที่สลับซับซ้อน ก็จำา ต้องเขียน Code สำาหรับการ Optimize เอาเอง ส่วนทาง Intel จะใช้ชุดคำาสั่งที่มากกว่า และ สลับซับซ้อนกว่า ( เป็น ลักษณะของ CISC ) ซึ่ง ในการเรียกใช้งานจะทำาได้ง่ายกว่า แต่ใน การทำางานอาจจะต้องเสียเวลาในการรอถึง 2 สัญญาณนาฬิกา เพราะจำา ต้องใช้การควบคุมของ MMX เข้ามาเกี่ยวข้องด้วย

MMX (integer) augmentation and data movement

19

20

ทัง้ คู่ ต่างก็มีชุดคำาสั่งสำาหรับการจัดการ Cache และ ชุดควบคุม Streaming Control โดยทาง AMD ได้เพิ่มชุดคำาสั่ง เข้ามาจาก 3DNow! เดิมอีก 19 คำาสั่ง ส่วนทาง Intel SSE นั้นมีอยู่ 20 คำาสั่ง โดย 12 คำาสั่ง จะทำางานร่วมกับชุดคำา สัง่ MMX เดิม และอีก 8 คำาสั่ง จะช่วยในการจัดการของ Cache

DSP communicatio n extensions

5

ไม่มี

เป็นชุดคำาสั่งใหม่ของทาง AMD ทีใ่ ช้สถาปัตยกรรม SIMD การประมวลผลด้าน DSP ( Digital Signal Processing ) สำาหรับใช้กับ Soft Modem , Soft ADSL , การคำานวนทางคณิตศาสตร์ที่ซับซ้อน , MP3 และ Dolby Digital

จำานวนชุดคำาสัง่ใหม่ ทัง้หมด

45

70

-

หมายเหตุ ตารางนี้ ใช้ข้อมูลอ้างอิงกับทาง AMD แต่ได้มีการแก้ไขและเพิ่มเติมข้อมูลในส่วนของทาง Intel ใหม่แล้ว AMD พลาดท่าไปมากกับการเปิดตัว Athlon ซึง่ หมายจะยำ้าแค้นให้กับทาง Intel แต่ไม่เป็นดังคาด เพราะแม้จะมีการเปิดตัว Athlon ไปตั้งแต่กลางๆ ปีแล้ว มี CPU ขายแล้ว แต่กลับไม่มี Mainboard ให้ใช้ ที่มีออกมา ก็กลับมีปัญหาจนต้องเรียกกลับคืน และกว่าจะมี Mainboard มารองรับมากขึ้นก็ปาเข้าไป ช่วง ไตรมาสสุดท้ายของปีซะแล้ว ... แถมยังประสบปัญหาจากการที่ไต้หวันเกิดแผ่นดินไหวอีกด้วย ทำาให้งานนี้ AMD เจ็บตัวอยู่ไม่น้อย แต่ก็ใช่ว่า จะเจ็บเป็นอยู่อย่างเดียว เพราะอย่างไร ประสิทธิภาพของ Athlon ที่ออกมา ความเร็วเป็น MHz ที่ออกมาข่ม Intel เป็นระยะๆ และ ราคาของ Athlon ทีถ่ ูกกว่า Intel Pentium !!! ที่ระดับความเร็วเท่าๆ กัน ก็สร้างความกดดันให้กับ Intel บ้าง ไม่ใช่น้อยๆ ... ยังไงก็นับว่า "Athlon นี้เป็นอาวุธชิ้นสุดท้ายของ AMD ทีใ่ ช้อัด Intel Pentium !!! ทิ้งทวน อำาลาศตวรรษที่ 20 " รวมถึง Fab 30 ที่เพิ่งเปิดตัว โดยทาง AMD หมายจะใช้เป็นกองกำาลังหลักในปี 2000 สำาหรับการพัฒนา และ ผลิต Athlon ทีใ่ ช้ทองแดงในการเชื่อมต่อ ( Copper Interconnect ) กับ CPU ความเร็วในระดับ GHz ก็นับเป็น " ความหวังใหม่ของทาง AMD ในศตวรรษที่ 21" Intel เอง ก็พลาดท่ากับการที่เปิดตัว Coppermine แล้ว แต่กลับไม่มีสินค้ามาวางขาย อีกทัง้ ยังประสบปัญหาในด้าน Chipset ตัวใหม่ๆ ที่หมายจะเอา มาใช้ กับ Pentium !!! Coppermine ทำาให้ทาง Intel ก็ประสบปัญหาไม่แพ้ทาง AMD เช่นกัน ... ก็ดูเหมือนว่าทาง Intel จะยอมรับว่าประสิทธิภาพ ของ Pentium !!! ( Katmai ) นั้นจะแพ้ Athlon ที่ระดับความเร็ว MHz เท่าๆ กัน ในหลายๆด้าน ดังนั้น "Pentium !!! Coppermin นี่ก็คือ อาวุธชิ้นสุดท้าย ของทาง Intel ทีจ่ ะใช้ต่อกรกับทางหมายจะเอามาโต้กลับ AMD Athlon คืน" ละครับ รวมถึง Chipset ใหม่ๆ ที่จะเอามาใช้กับ Pentium !!! Coppermine ซึง่ จะรวมเอา เทคโนโลยีใหม่ๆ ความสามารถใหม่ๆ เช่นการรองรับ RAMBUS , AGP 4X

41 และ UDMA/66 ทีจ่ ะช่วยทำาให้ Pentium !!! Coppermine แสดงประสิทธิภาพได้อย่างเต็มที่ ก็นับว่าเป็น "ความหวังใหม่ของ Intel ที่จะช่วย เสริมฐานบัลลังก์ให้มั่นคงกว่าเดิม" เช่นเดียวกันครับ

รายละเอียดเพิ่มเติม •

Advanced Transfer Cache ( ATC ) เทคโนโลยีนี้เป็นเทคโนโลยีของการนำาเอา Cache ระดับ 2 ขนาด 256 KB มาฝังไว้ในตัว CPU เลย ( Integrated On-Die 256 KB L2 Cache ) และได้ขยายความกว้างของระบบบัสที่ใช้ในการติดต่อกับ Cache ระดับ 2 ทีจ่ ากเดิมใช้เพียง 64 Bit มาเป็น 288 Bit ( 256 Bit Data + 32 Bit ECC ) นอกจากนั้นยังได้เปลี่ยนเทคนิคการเข้าถึงข้อมูลแบบสุ่มของ Cache จาก 4 ทาง เป็น 8 ทาง ( 8 - Way Associative ) และ ยังมีช่วงจังหวะรอในการ รับส่งข้อมูลตำ่า ( Low Latency ) ทำาให้มคี วามเร็วในการทำางานของ Cache เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า เมื่อเทียบกับความเร็วในการส่ง ผ่านข้อมูลของ Katmai Core สรุปจุดเด่นของ ATC ได้ดังนี้ o มีขนาด 256K บน Die เดียวกันกับ CPU ทำางานด้วยความเร็วเท่าๆ กับ CPU o มีการเข้าถึงแบบสุ่มได้ 8 ทาง ( 8-Way Set Associative, 1024 sets , 32 Byte line + 4 Byte ECC , 36 Bit Physical Address ) o มีความเร็วในการทำางานของ Cache เพิ่มขึ้นอย่างน้อย 4 เท่า เมื่อเทียบกับ Katmai Core o มีความกว้างของระบบบัสที่ใช้ในการติดต่อรับส่งข้อมูลกับ Cache ระดับ 2 ขนาด 288 Bit ( เป็นข้อมูล 256 Bit และ เป็น การตรวจสอบความ ผิดพลาด หรือ ECC 32 Bit ) o มี Back-To-Back Throughtput 2 ช่วงสัญญาณนาฬิกา



Advanced System Buffering ( ASB ) เทคโนโลยีใหม่อีกประการหนึง่ เป็นเทคโนโลยี ที่มีการเพิ่มขนาดของ Buffer ( หรือที่พักข้อมูล ) ให้มีจำานวนมากขึ้น โดยทาง Intel ได้กล่าวว่า ปริมาณที่เพิ่มขึ้นนี้ ได้ ทำาการทดสอบแล้วว่า เป็นขนาดที่สมดุล และช่วยให้ใช้ประโยชน์ของ FSB 133 MHz ได้อย่างเต็มที่แล้ว ซึง่ เทคโนโลยีนี้ ช่วยทำาให้หน่วยประมวลผลกลาง หรือ CPU สามารถเข้าถึงหน่วยความจำาหลัก หรือ Main Memory ได้เร็วขึ้น ASB นี้จะช่วยลดปัญหาคอขวด ( Bottleneck ) ให้ลดน้อยลง โดยการเพิ่มขนาดของ Fill Buffer จาก 4 เป็น 6 หน่วย ทำาให้การทำางานของ Cache ด้าน Concurrent Non-Blocking Data เพิ่มขึ้นอีก 50% และ เพิ่มขนาดของ Bus Queue Entry จาก 4 ไปเป็น 8 หน่วย ทำาให้มีการ ทำางานประสานกัน ระหว่าง Outstanding Memory กับระบบบัส มากขึ้น นอกจากนี้ ยังได้เพิ่มขนาดของ Writeback Buffer จาก 1 เป็น 4 อีก ด้วย ซึ่งทำาให้ลดการ Block ระหว่างขั้นตอน Cache Replacement ลง ละยังทำาให้เวลาในการ Deallocation ในการ Fill Buffer เร็วขึ้นอีก ด้วย

แนวโน้มในศตวรรษหน้า

42 [ Post : 12 November 1999 ]

แนวโน้มในอนาคตอันใกล้นี้ ทั้งคู่ ต่างก็เตรียมตัวที่จะฟาดฟันกันอีกครัง้ ด้วย CPU ระดับ 64 Bit โดยในขณะนี้ทาง Intel ก็ได้ประกาศตัว CPU ระดับ 64 Bit ออกมาแล้ว โดยให้ชื่อว่า Itanium ( หรือชื่อเดิมคือ Merced ) โดยได้เปลี่ยนแปลงโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมภายในใหม่เกือบทั้งหมด .. ในขณะที่ทาง AMD ก็ได้เปิดตัว Sledgehammer ( หรือรู้จักกันในนาม K8 ) ที่เป็นสถาปัตยกรรมแบบ 64 Bit เช่นกัน ... แต่ยงั คงยึดหลักสถาปัตยกรรม x86 เดิม ก่อนที่จะเข้าสู่ CPU ระดับ 64 Bit นี้ ทาง Intel ก็จะทิ้งทวน CPU ระดับ 32 Bit ( IA32 ) ตัวรุ่นสุดท้าย ที่มีชื่อว่า Willamette โดยให้ฉายากัน ภายในว่า "Athlon Killer" หรือ "เพชรฆาต Athlon" ซึง่ ก่อนหน้านี้ ตาม Roadmap ของ Intel เจ้า Willamette นี้ ควรจะต้องเปิดตัวในราว ไตรมาสที่ 3 ของปี 2000 แต่ไปๆ มาๆ ทาง Intel ก็จำาต้องเลื่อนกำาหนดการ ให้เข้ามาอีก จนมีข่าวลือกันว่า ปลายๆ ปีนี้ คงได้มีการเปิดตัว Willamette แน่ๆ ... ดูเหมือนว่าทาง Intel เองก็ลนลานอยู่ไม่น้อยเหมือนกันนะครับ สำาหรับการเปิดตัว Athlon ของ AMD มาดูทางด้าน CPU ระดับ 64 Bit ( IA64 ) ของ Intel กันบ้าง ... ยักษ์ใหญ่ ผู้ครองตลาดมานาน ได้วางแผนไว้แล้ว ว่าจะออก CPU Itanium ในราวๆ กลางปี 2000 โดยจะทำาการ เปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมภายในของ CPU นี้ ใหม่หมด จนแทบไม่เหลือคราบของ x86 อีกเลย ... โดยเฉพาะในส่วนของชุดคำาสั่งต่างๆ ที่มกี ารเปลี่ยนแปลงไปใช้ ชุดคำาสั่ง EPIC ซึง่ ทาง Intel ได้ให้ความเห็นเกี่ยวกับชุดคำาสั่ง EPIC นี้ว่า เป็นชุดคำาสั่งที่ออกแบบมาเพื่อ ผู้ออกแบบ ระบบ hardware โดยจะช่วยทำาให้เข้าถึง hardware ได้ง่าย และ มีสมรรถภาพเหนือกว่า สถาปัตยกรรมเดิม x86 อยู่มาก ... รวมถึงประสิทธิ ภาพที่ได้นั้น ก็จะมากกว่าเดิมอีกด้วย ... โดยทาง Intel ก็ได้ยกตัวอย่างเพิ่มเติมว่า ชุดคำาสั่ง EPIC นีจ้ ะสามารถทำางานได้ทีละ 6 คำาสั่ง ในช่วง สัญญาณนาฬิการอบเดียว ซึ่งมากกว่า ความเร็วของ Pentium III 32 Bit ในปัจจุบัน ที่ทำางานได้เพียงแค่ 1.5 ถึง 2 คำาสั่ง ในช่วงเวลาเท่ากัน ในด้านของสถาปัตยกรรมบ้าง ... Itanium นี้จะเป็น CPU ทีใ่ ช้สถาปัตยกรรม IA-64 ซึง่ เป็นสถาปัตยกรรมแบบ 64 Bit ที่สนับสนุนทั้ง MMX และ SSE อย่างเต็มที่ รวมไปถึงยังสนับสนุน การทำางานแบบ 32 Bit ของ IA-32 อีกด้วย โดยเจ้า Itanium นี้ นอกจากจะมี Cache ระดับ 2 บนเวเฟอร์ เดียวกันกับ CPU แล้ว ยังจะมี Off-Chip Cache ระดับ 3 ที่รองรับได้มากถึง 4 M อีกด้วย ( IMHO, Off-Chip Cache นี้ น่าจะเป็นเหมือนกับ Cache ระดับ 2 ที่มีอยู่ใน Pentium II หรือ Pentium III รุ่น ปัจจุบัน คืออยู่ใน Package เดียวกันกับ CPU แต่ไม่ได้อยู่ใน Chip CPU ) ก็ต้องยอมรับว่า Intel ใจเด็ดมาก ... เพราะเมื่อเปลี่ยนสถาปัตยกรรมใหม่ Software ทีใ่ ช้ ก็ต้องเขียนใหม่ เพื่อให้รองรับกับสถาปัตยกรรมใหม่นี้ ไม่ว่าจะเป็น OS เช่น ต้องทำา 64 Bit Linux หรือ 64 Bit Windows เพื่อใช้สำาหรับ Itanium ( EPIC ) ... หรือแม้แต่ Application ต่างๆ ก็จำาเป็นต้อง เขียนใหม่ ให้สามารถใช้งานได้บน Itanium นี้ จริงๆ เหตุการณ์ทำานองนี้ Intel เองก็เคยทำามาแล้ว เมื่อคราวที่เปลี่ยนสถาปัตยกรรมจาก 486 ไปสู่ Pentium ... ซึง่ ในตอนนั้น Intel ยังคงใช้พื้นฐาน สถาปัตยกรรมจากทาง x86 อยู่ไม่ใช่น้อยๆ ก็เลยไม่มีปัญหาหนักเท่ากับคราวนี้ ... ในด้านตลาดระดับกลาง และระดับล่าง Intel ก็ยังคงใช้ Celeron เป็นตัวบุกตลาดด้านนี้เช่นเดิม และคาดว่า จะมีการใส่ Technology SSE เข้า ใน Celeron อีกทัง้ ยังมีข่าวลือต่างๆ เกี่ยวกับ Celeron III อีกด้วย ทางด้าน AMD Sledgehammer นั้น ก็มีแนวทางการพัฒนาที่แตกต่างไปอย่าง Intel Itanium อย่างสิ้นเชิง เพราะ AMD นั้น ยังคงใช้โครงสร้างหลัก จาก x86 เดิม เพียงแต่ได้ทำาการแก้ไข ปรับปรุงในบางส่วน แล้วเรียกสถาปัตยกรรมใหม่นี้ว่า x86-64 เกี่ยวกับเรื่องนี้ ทาง AMD ได้ให้ความเห็นว่า ในบางเวลา หรือ ในการใช้งานบางอย่างนั้น ก็ไม่จำาเป็นที่จะต้องใช้การประมวลผลแบบ 64 Bit เสมอไป เช่นงานด้าน Word Processing หรือ การปรับแต่ง/แก้ไข ภาพ เป็นต้น ดังนั้น ทาง AMD จึงยังคงให้ความสำาคัญกับสถาปัตยกรรมเดิมคือ x86 อยู่ และยังให้ความเห็นเพิ่ม เติมว่า ทาง Intel Itanium นั้น ก็ยังคงต้องใช้การจำาลอง Mode การประมวลผลแบบ 32 Bit อยู่ดี เพื่อให้ใช้ได้กับ Application ที่ไม่ได้ออกแบบมา สำาหรับ 64 Bit ... โดยทาง AMD ก็ได้กล่าวอีกว่า ผู้พัฒนา Application นั้น ก็คงไม่อยากเสียเวลาแก้ไขโปรแกรมให้ใช้งานแบบ 64 Bit นักหละ เพราะ ผลต่างของประสิทธิภาพที่ได้เพิ่มขึ้น ก็ไม่ได้มากมายนัก ไม่คุ้มกับการเสียเวลา สิง่ หนึ่ง ที่น่าสนใจ ก็คือ ประสิทธิภาพใน Mode จำาลองการประมวลผลแบบ 32 Bit ของ Itanium นี้ จะเป็นอย่างไร? ... ดีกว่า หรือว่า แย่กว่า การประมวล ผล แบบ 32 Bit ของ Pentium III รุ่นปัจจุบัน ... และเมื่อเทียบกับรุ่น Coppermine ล่ะ? จะเป็นอย่างไร ... คำาถามนี้ ทาง Intel ได้ให้ความเห็นว่า จุด มุง่ หมาย หรือ ตลาดของ CPU ทั้ง 2 รุ่นนี้ ต่างกัน .. การออกแบบอะไรๆ ก็ต่างกัน ดังนั้น จะให้เอามาเปรียบเทียบกัน ก็คงเป็นไปไม่ได้ ... ในตลาดระดับกลาง และระดับล่าง ... ทาง AMD ก็จะยังคงใช้ K6-2 และ K6-III เป็นคู่หัวหอก ในการถล่มตลาดระดับนี้ โดยจะมี K6-2+ ซึ่งเป็น CPU K6-2 เดิม แต่มีการเปลี่ยนแปลงสถาปัตยกรรมภายในบ้างอีกเล็กน้อย และมีข่าวออกมาบ้าง ว่า AMD จะยุติสายการผลิต K6-III แล้วหัวมา ใช้หัวหอกตัวเดียว คือ K62+ แทน เพราะ K6-2+ นั้นก็จะมี On-Die Cache เช่นเดียวกับ K6-III แล้ว แถมยังใช้เทคโนโลยีการผลิตขนาด 0.18 ไมครอน อีกด้วย ซึง่ ก็คาดว่า จะ เริ่มเข้าบุกตลาดในราวๆ ต้นปี 2000

43

ศึกนี้ไม่จบสิ้นง่ายๆ [ First Post : 07 August 1999 ] [ Update 12 November 1999 ] ด้านการตลาด ทุกวันนี้ การแข่งขันด้านตลาด CPU ของ AMD และ Intel รุนแรงมาก ทั้งแข่งกันด้วย เทคโนโลยี และ ลูกเล่นทางการตลาดมากมาย แต่ด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ นั้น ต้องอาศัยเวลาในการพัฒนาอยูไ่ ม่ใช่น้อยๆ ดังนั้น กลไก การแข่งขัน ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ก็คือ กลไก ในเรื่องของราคา ซึ่งมีการลดราคา หำ้าหั่นกัน อย่างรุนแรงเลยทีเดียว จากการที่ Intel ได้ประกาศหั่นราคา CPU ของตน ทั้ง Pentium II/III และ Celeron ลงอย่างหนัก และประกาศหั่นราคาลงถี่มากๆ ทำาให้ AMD เอง ก็ ต้องหั่นราคาของตนลงด้วย เพราะ ในเมื่อ คุณภาพ ไม่ทิ้งกันมาก แต่หากราคาพอๆ กัน ก็จะทำาให้ผู้ซื้อ ตัดสินใจลำาบาก หรือ หากว่า คุณภาพด้อยกว่า เล็กน้อย แต่ราคาพอๆกัน ผู้ ซื้อ ก็ไม่ลังเลเลย ที่จะซื้อของที่มีคุณภาพสูงกว่า จริงไหมครับ? ดังนั้น เมื่อ Intel ประกาศหั่นราคาลง ทาง AMD ก็จำาเป็นต้องหั่นราคาลงด้วย ไม่ว่าจะเต็มใจ หรือ ไม่เต็มใจก็ตามที ผลที่ตามมานั้นก็คือ ผลกำาไรลดลง จากรายงานทางการตลาดของ AMD ในไตรมาสที่ 2 ของปี 1999 นี้ สิ้นสุดเมื่อวันที่ 30 มิถุนายน ผลปรากฏว่า AMD มียอดขาดทุนสุทธิถงึ 163 ล้าน USD จากยอดขายทั้งหมด 595 ล้าน USD ซึง่ จัดว่าเป็นมูลค่าไม่ใช่น้อยๆ เลยทีเดียว ยิ่งเมื่อเทียบกับเมื่อไตรมาสแรก ที่มียอดขาดทุนเพียงแค่ 65 ล้าน USD เท่านั้น W.J. Sanders ซึ่งเป็นประธาน และ CEO ของ AMD ได้ชแี้ จงให้เห็นว่า เมื่อปีที่ผ่านมา ( 1998 ) AMD สามารถ ทำากำาไรจาก CPU ของตนได้ถงึ ตัว ละ 100 USD เลยทีเดียว แต่แล้วเมื่อมีสงครามการหำ้าหั่นราคากันหนักข้อขึ้น ก็ทำาให้กำาไรจาก CPU ของตนเหลือเพียงตัวละ 78 USD และ ท้ายสุดก็หล่นมาเหลือ เพียง 6 USD เท่านั้น ดังนั้นหากมีสงครามหำ้าหั่นราคากันอย่างหนักต่อไป ก็คงเป็นปัญหากับทาง AMD แน่นอน ... แล้ว ปัญหานี้ไม่เกิดกับ Intel หรือ? เกิดครับ เกิดแน่นอน ... แต่ไม่มีผลกระทบที่หนักเท่ากับ AMD เพราะ Intel นั้นเป็นบริษัท ที่ใหญ่กว่า และ มีโรงงานผลิตที่ ใหญ่ และ มากกว่า ดังนั้นต้นทุนในการผลิต และ การบรรจุ Package ก็น้อยกว่า ถึงแม้ว่า จะได้กำาไรน้อยลง จากสงครามการหั่นราคา แต่ก็ไม่ทำาให้ Intel สูญกำาไรไป เสียทีเดียว เพราะ อย่างไรซะ Intel ก็ยังคงได้กำาไร ในส่วนของ CPU สำาหรับ High-End Computer หรือ Server ในตระกูล Xeon มากกว่า เพราะถึงแม้จะคู่แข่งอย่าง SUN แต่ก็ไม่ได้ก่อสงครามการหั่นราคา เพื่อแย่งตลาดกันรุนแรง เหมือนกับ Low-End Computer ทำาให้ทาง Intel ยังมีกำาไร และ ได้ผลบวกตรงจุดนี้อยู่

ด้านเทคโนโลยี ในด้านเทคโนโลยี ถึงแม้ว่า จะมีการแข่งขันกันช้ากว่าด้านการตลาด แต่ก็ได้มีการบอกถึงแผนงานต่างๆ รวมถึง แผนการออกแบบ CPU เพื่อมาข่มขวัญกันอยู่เป็นระยะๆ มีการ ใช้เทคโนโลยีใหม่ๆ เข้ามา เพื่อใช้เป็นจุดขาย และ เป็นจุดเด่นของ CPU ของตน ทุกวันนี้ AMD ก็ได้แก้คำาครหา ว่าเป็นผู้ตามหลัง Intel ในด้านเทคโนโลยี ได้แล้ว เพราะสามารถสร้าง CPU ของตน ให้ก้าวลำ้านำา Intel ไปบ้างแล้ว แม้ว่าจะติด ปัญหาด้านอื่นๆ ไม่ใช่น้อยๆ ก็ตามที แต่ถ้ามองเฉพาะด้าน CPU แล้ว ก็นับว่า AMD ทำาได้สำาเร็จ โดยเฉพาะด้านการประมวลผลเชิงทศนิยมที่สามารถพัฒนา และ ปรับปรุง ให้ดีขึ้นมา ทัดเทียม หรืออาจจะเหนือกว่า Intel ในบางด้านแล้ว นอกจากนั้น ยังมีแผนงานสำาหรับ CPU รุ่นใหม่ๆ เทคโนโลยีใหม่ๆ และ ระดับความเร็วสูงๆ ออกมาเกทับ ทาง Intel อยู่เป็นระยะๆ ส่วนทางด้าน Intel เอง ก็ไม่ได้น้อยหน้า โดยการชิงเปิดตัว CPU ทีใ่ ช้เทคโนโลยีการผลิต 0.18 ไมครอนก่อนทาง AMD และยังมี เทคโนโลยีใหม่ๆ ออกมาอยู่เสมอ

44 ผลัดกันรุก ผลัดกันรับ ... ผลัดกันเกทับอยู่เป็นระยะๆ ... ด้านเทคโนโลยีนี้ คงหาผู้ชนะกันลำาบาก เพราะผลัดกันแพ้ ผลัดกันชนะอยู่เป็นช่วงๆ ผูแ้ พ้ ผู้ชนะ ก็เป็นแค่ช่วงเวลาหนึ่งๆ เท่านั้น บทสรุป และ ความเห็นส่วนตัว ดูเหมือนว่า ต่างฝ่าย ต่างก็งัดเอาอาวุธใหม่ๆ เข้ามาหำ้าหั่นกันอยู่เป็นระยะๆ นะครับ ดูแล้วไม่น่าจะจบสิ้นกันง่ายๆ ทาง Intel เองนั้น ก็คงจะลำาบากหน่อย เพราะว่าต้องรับมือ หลายทาง ทั้ง ด้านตลาด Desktop PC ที่ต้องรับมือกับทั้ง AMD และ Cyrix ( VIA ) ตลาด Chipset แข่งกับทาง ( VIA และ ALI ) และรวมไป ถึงตลาดเครื่อง Server ที่มีคแู่ ข่งอีกหลายเจ้า ทั้ง SUN และ Compaq ( Alpha ) แต่ในขณะที่ทาง AMD นั้น แม้จะมี Chipset ของตนเองออกมา บ้างแล้ว และ พยายามจะผลักดัน CPU ตัวใหม่ๆ ของตนให้เข้าสู่ตลาด Server ด้วย แต่ก็ยังไม่เน้นหนักไปทางนั้นสักเท่าไร โดยความเห็นส่วนตัว ณ เวลานี้ ความเร็วของ CPU ดูเหมือนจะไม่ค่อยมีผลกับความรู้สึกในการทำางานแล้ว แม้ว่าจะเพิ่มความเร็วกันให้ถึงระดับ 1 GHz ก็ไม่ให้ความรู้สึก ว่าเร็วขึ้นจาก 300 MHz สักเท่าไร เพราะเทคโนโลยีด้านอื่นๆ ยังคงเป็นตัวหน่วงให้ระบบอยู่ อย่างน้อยๆ ก็ Harddisk ละครับ ที่ยังคงเป็นตัวหน่วงความเร็วของ ระบบมาช้านานแล้ว ดังนั้น ถ้าทาง AMD จะหันมาสนใจด้านการตลาดบ้าง หาพันธมิตรทางการค้าเพิ่มเติมบ้าง ก็จะดีกว่านี้ไม่น้อย ... เพราะทุกๆวันนี้ แม้เทคโนโลยีจะ ทัดเทียม หรืออาจจะนำาหน้าทาง Intel ไปบ้างแล้ว แต่ด้านการตลาดยังคงตามหลัง Intel อยู่หลายก้าวเลย ... จะอย่างไรก็ดี แม้ว่าเทคโนโลยีของทุกวันนี้ จะเป็นไปอย่างรวดเร็ว มีการคิดค้นสถาปัตยกรรมใหม่ๆ อยู่เสมอ และ มีการแข่งขันกันทางตลาด อย่างมาก ทั้งเรื่องราคา และ เรื่องการ โฆษณาชวนเชื่อต่างๆ นาๆ เพื่อให้หันมาใช้ CPU รุ่นใหม่ๆ อยู่เสมอ แต่ก็ไม่จำาเป็นเสมอไป ที่เราจะต้อง ตามซื้อ เพื่อไล่ตามให้ทันเทคโนโลยีอยู่เสมอไป ... ทัง้ AMD และ Intel แข่งขันกัน ผลดีนั้นตกอยู่ที่ผู้บริโภค เพราะจะได้ซื้อ CPU คุณภาพดี ให้เหมาะสมกับงานที่ใช้ และ ราคาไม่แพง แต่ก็ต้องขึ้นอยู่กับความเหมาะสมในการเลือก ซื้อ / เลือกใช้ด้วย บทความนี้ คงจะขอจบลงที่ตรงนี้ แต่ สงครามการแข่งขันชิงความเป็นเจ้าตลาดของ AMD และ Intel ยังไม่จบ ยังคงมีอยู่ต่อไปเรื่อยๆ หากว่ามีข้อมูล ทัง้ ด้านการตลาด และ ด้านเทคโนโลยี เข้ามาเพิ่มอีกมาก ก็อาจมีภาค 2 ต่อ ก็เป็นได้ ... แต่อย่างไรซะ ก็อยากฝากข้อคิดไว้สักข้อ ( แม้จะไม่เกี่ยวกับเรื่องนี้สักเท่าไร ) ก็คือ " เราควรจะรู้ให้เท่าทันเทคโนโลยี แต่ ไม่จำาเป็นจะต้อง ทำาตัวตามให้ทันเทคโนโลยีเสมอ ไป " ขอบคุณครับ

Related Documents

Cpu
November 2019 42
Cpu
June 2020 17
Cpu
November 2019 42
Cpu
December 2019 43
Cpu
October 2019 55
Cpu
June 2020 28