Alien Moon Jun 27

  • June 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Alien Moon Jun 27 as PDF for free.

More details

  • Words: 1,402
  • Pages: 31
Alien Moon รายชื่อตัวละคร บรรยาย เจฟฟ์ ไมเคิล โรเบิร์ต เบรทท์ อแมนดา ทอม ชาย1

ชาย 40 ปี ชาย 70 ปี ชาย 50 ปี ชาย 45 ปี ชาย 40 ปี หญิง 45 ปี ชาย 60 ปี ชาย 40 ปี

1

บรรยาย

ในเงาของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะคือโลกที่มีปฏิกิริยาเคมีที่พุ่ง พล่าน และแปลกประหลาด

เจฟฟ์

ผมคิดว่าสิ่งที่น่าแปลกใจที่สุดคือความแตกต่างกันอย่างมากใน ระบบสุริยะนี้

บรรยาย

พวกมันคือดวงจันทร์ที่โคจรรอบดาวเคราะห์ต่างๆในระบบสุริยะนี้ ดวงจันทร์ที่ครั้งหนึ่งที่ยังไม่เคยรู้จัก ในครั้งนี้ มันกำาลังถูกสำารวจด้วย วิธีการทางดาราศาสตร์ที่ก้าวหน้าสุดๆ

ไมเคิล

ที่น่าประหลาดใจคือพวกมันไม่เหมือนกับพระจันทร์ของโลกเรา ดวง จันทร์กลุ่มย่อยระบบสุริยะของเราก็เป็นสิ่งที่น่าสนใจ

บรรยาย

มีอะไรที่คอยเราอยู่ณ.ดวงจันทร์เหล่านี้กันแน่ ?

***************Title*************** บรรยาย

นอกระบบสุริยะของเราเป็นสถานที่ที่ใช้เป็นฉากนิยายวิทยาศาสตร์ มาตลอด และด้วยความก้าวหน้าของกล้องโทรทัศน์สมัยใหม่และ ยานสำารวจบังคับทางไกล กลับทำาให้ดวงจันทร์ในระบบสุริยะของเรา น่าสนใจมากขึ้น

โรเบิร์ต

บางดวงหมุนตามดาวแม่ บางดวงหมุนไปตรงกันข้าม มีคาบวงโคจร ต่างกัน สวนกันไปมา

2

บรรยาย

เกือบครึ่งศตวรรษที่เป็นที่เชื่อกันว่าระบบสุริยะ มีดวงจันทร์เพียง สามสิบสองดวง เมื่อเรียงตามลำาดับขนาด เริ่มจากดวงจันทร์แกนิมิด ของดาวพฤหัสที่มีขนาดใหญ่กว่าดาวพุธ.. จนถึงดวงจันทร์ที่เหมือน กับดาวเคราะห์น้อยของดาวอังคารอย่างโฟโบ้และดีโมส

บรรยาย

จำานวนของดวงจันทร์พุ่งสูงขึ้น เฉพาะปีสองพันเจ็ด นักวิทยาศาสตร์ พบดวงจันทร์ถึงยี่สิบดวงโคจรรอบดาวพฤหัส หนึ่งดวงรอบดาวเสาร์ และอีกสามดวงรอบดาวเนปจูน

เบรทท์

จะเกิดอะไรขึ้นเมื่อกล้องดูดาวกลายเป็นระบบดิจิตอลหมด.. เหมือน กับกล้องดิจิตอลที่เราใช้กันอยู่ทุกวันนี้..

บรรยาย

เป็นการยากสำาหรับนักดาราศาสตร์ที่จะหาจำานวนของดวงจันทร์ ทั้งหมดที่มีอยู่ในระบบสุริยะ…. เมื่อกล้องโทรทัศน์มีความไวและ กำาลังขยายมากขึ้น ….ทำาให้ค้นพบดวงจันทร์มากขึ้นด้วย

บรรยาย

ดวงจันทร์แบ่งเป็นสองกลุ่มด้วยกัน พวกแรกคือพวกที่มีวงโคจรเกือบ เป็นวงกลม บริเวณเส้นศูนย์สูตรของดาวเคราะห์ เรียกว่า เร็กกูล่าร์ มูน ……พวกนี้เกิดจากการรวมตัวของก๊าซรอบๆดาวเคราะห์ เป็นก ระบวนการการรวมตัวขึ้นมา

อแมนดา

ตัวอย่างที่คลาสสิคของดวงจันทร์แบบนี้คือกลุ่มกาลิเลียน ของดาว พฤหัส ได้แก่ ไอโอ ยูโรป้า แกนิมิด และคาลิสโต้ …..สสารต่างๆที่มา จากดาวพฤหัส รวมตัวกันเป็นดวงจันทร์พวกนี้

3

บรรยาย

ดวงจันทร์ที่มีวงโคจรยืดออกไปและทำามุมเอียงกับเส้นศูนย์สูตรของ ดาวเคราะห์เรียกว่า อีเร็กกูล่าร์มูน ส่วนใหญ่แล้ว พวกนี้มีวงโคจร สวนทางกับดาวเคราะห์แม่ มันจะหมุนตามเข็มนาฬิกาถ้าดาวแม่ หมุนรอบตัวเองทวนเข็ม

บรรยาย

ฟีบี้ส์ คืออีเร็กกูล่าร์ มูน ที่เพิ่งถูกค้นพบในวงโคจรของดาวเสาร์เป็น ตัวอย่างที่ดี.. มันเริ่มต้นจากการเป็นดาวเคราะห์น้อยโคจรรอบดวง อาทิตย์ ซึ่งถูกดึงจากแรงโน้มถ่วงมหาศาลของดาวเสาร์

บรรยาย

ไม่ว่าจะเป็นดวงจันทร์แบบใด มันต้องมาอยู่ในบริเวณที่เป็น แรงดึงดูดของดาวเคราะห์แม่ ขอบเขตของแรงดึงดูดนี้ รู้กันในชื่อของ ฮิลล์ สเฟียร์

บรรยาย

ปรากฏการณ์นี้ เรียกตามชื่อของ จอร์จ วิลเลี่ยม ฮิลล์ นัก ดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ในกลางศตวรรษที่สิบแปด

เบรทท์

ฮิลล์ สเฟียร์เป็นบริเวณรอบๆดาวเคราะห์ที่เคลื่อนที่ไปพร้อมๆกับ ดาวเคราะห์ ซึ่งแรงดึงดูดของตัวดาวเคราะห์มีผลมากกว่าแรงดึงดูด ของดวงอาทิตย์

บรรยาย

แต่ดวงจันทร์ของดาวอังคาร ดีโมส และ โฟโบส กลับมีลักษณะที่ต่าง ออกไปภายใต้ฮิลล์ เสฟียร์

4

ทอม

ถ้าดาวเคราะห์หมุนรอบตัวเองเร็วกว่า คาบโคจรของดวงจันทร์ อย่างดีโมส แรงดึงดูดของดาวทั้งสองจะลดลงจนทำาให้ดีโมสมีวง โคจรขยายใหญ่ขึ้น ตรงกันข้ามกับโฟโบส ที่มีคาบการโคจรเร็วกว่า ดาวอังคาร

บรรยาย

ดวงจันทร์ทั้งสองนี้ ถูกค้นพบโดย แอสเพธ ฮอลล์ นักดาราศาสตร์ ชาวอเมริกัน ในปีพันแปดร้อยเจ็ดสิบเจ็ด ชื่อโฟโบส คือชื่อของ เทพเจ้าแห่งความกลัว และดีโมส เทพเจ้าแห่งหายนะของกรีก

บรรยาย

ทอม ดักซ์บิวรี่ ได้เป็นผู้ถ่ายภาพดวงจันทร์ทั้งสองในปฏิบัติการมาริเนอร์ไนน์ ปีพันเก้าร้อยเจ็ดสิบเอ็ด

ทอม

มันเป็นคืนที่หนาวและฝนตก มืด ในขณะที่ผมหมุนภาพไปทางด้าน ข้าง มันดูเหมือนเป็นรูปหัวกะโหลก มันดูน่ากลัวครับ

บรรยาย

โฟโบสอยู่ในวงเวียนแห่งหายนะ มันมีวงโคจรที่สามพันเจ็ดร้อยไมล์ จากพื้นดาวอังคาร เป็นระยะที่ใกล้ที่สุดของดวงจันทร์ทั้งหมดใน ระบบสุริยะ ถ้าดวงจันทร์ของโลกเราอยู่ใกล้แบบโฟโบส เราจะเห็น มันใหญ่กว่าปกติถึงยี่สิบเท่า

ทอม

คาบการโคจรของมันมีเวลาเป็นชั่วโมง ไม่ได้เป็นวัน และตอนดวง จันทร์เต็มดวง มันจะใหญ่เต็มท้องฟ้า

เจฟฟ์

ในเวลานำ้าขึ้นนำ้าลง ซึ่งจะเป็นสิบเป็นร้อยฟุตในแต่ละครั้ง ถ้าเป็น ดวงจันทร์ของโลก มันจะพุ่งเข้าชนโลกแน่ๆ

5

บรรยาย

ลักษณะที่ล่อแหลมของโฟโบสนี้ เกิดจากกระบวนการความเร่งสู่ ศูนย์กลาง การที่มันมีคาบวงโคจรที่เร็วกว่าการหมุนรอบตัวของดาว อังคาร ทำาให้พื้นผิวของดาวอังคารถูกดูดให้นูนขึ้น และแรงดึงดูด ของดาวอังคาร จะทำาให้โฟโบสเข้าใกล้พื้นผิวของดาวอังคารขึ้น เรื่อยๆ

บรรยาย

แรงดึงดูดของดาวอังคารกับโฟโบส คล้ายกับการขว้างลูกบอลที่ผูก เชือกติดกับเสา

บรรยาย

ดาวเคราะห ์เปรียบเหมือนกับเสา เชือกเส้นนี้เหมือนกับแรงดึงดูดที่ คอยยึดให้ดวงจันทร์ยังอยู่ในวงโคจร

ทอม

ที่เราเห็น คือแรงดึงดูดจะดึงเอาดวงจันทร์เข้ามาใกล้ คาบวงโคจรจะ เร็วขึ้นเรื่อยๆ จนกระทั้งชนกับเสาในที่สุด นี่คือสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับโฟ โบส คาบการหมุนของโฟโบสเร็วกว่าของดาวอังคาร ปฏิกริยา แรงดึงดูดของทั้งสองจะทำาให้โฟโบสเข้าใกล้มากขึ้น และคาบวง โคจรเร็วขึ้น โฟโบสจะหายไป เพราะการชนดาวอังคารภายในอีกห้า สิบล้านปี

ทอม

ในทางตรงข้าม ดีโมส ที่อยู่ไกลออกไป มีคาบวงโคจรช้ากว่าของดาว อังคาร เมือนกับที่เชือกนี้ค่อยๆคลายออก และสิ่งที่เราเห็นคือดีโมส จะมีระยะห่างออกไปเรื่อยๆจากดาวอังคาร และในที่สุดมันก็จะถูก ดึงออกไปจากวงโคจรของดาวอังคารด้วยแรงดึงดูดของดวงอาทิตย์ ซึ่งจะทำาให้ดาวอังคารไม่มีดวงจันทร์อีกต่อไป

6

บรรยาย

บนดาวอังคาร โฟโบสจะขึ้นทางทิศตะวันตก และตกทางทิศตะวัน ออก เพราะมันวิ่งนำาการหมุนรอบตัวของดาวอังคาร

เบรทท์

แทนที่ดาวเคราะห์จะหมุนตัวไปพร้อมกันเหมือนกับดวงจันทร์ของ โลกหรือของดาวเคราะห์อื่นๆ ซึ่งจะทำาให้มันขึ้นทางตะวันออก และ ตกทางตะวันตก มันกลับเคลื่อนที่เร็วกว่าดาวเคราะห์แม่ จึงทำาให้ เห็นมันขึ้นทางขอบฟ้าตะวันตก และตกทางขอบฟ้าตะวันออก

บรรยาย

ในอีกห้าสิบล้านปี ก่อนที่โฟโบสจะหายไป โฟโบสอาจจะพิสูจน์ถึง ประโยชน์ของตัวมันในการเป็นส่วนหนึ่งของการตั้งถิ่นฐานบนดาว อังคาร นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ อาร์เธอร์ ซี คล๊าก ได้เขียนไว้ใน หนังสือของเขาเล่มหนึ่ง เรื่อง เดอะ แซนด์ ออฟ มารส์ ถึงแม้ว่าเรา จะไม่มีเหตุผลอะไรที่จะตั้งรกรากบนโฟโบส แต่ระยะห่างของโฟโบ สกับดาวอังคารนั้นใกล้พอที่จะใช้เป็นสถานีเชื่อมต่อได้

ทอม

เมื่อดูจากเรื่องแรงโน้มถ่วงแล้ว การไปยังโฟโบสง่ายกว่าที่จะต้องเจอ กับแรงโน้มถ่วงของดาวอังคารในการลงสู่พื้นผิวของดาว

บรรยาย

จากกาลิเลโอ ไปจนถึงสแตนลี่ย์ คิวบริค ดาวเคราะห์ขนาดยักษ์ที่ โคจรอยู่รอบนอกเหล่านี้ กระตุ้นจินตนาการของเราด้วยขนาด มโหฬารของมัน แต่ในความเป็นจริง การทำาอย่างนั้นคือการฆ่าตัว ตายนั่นเอง แรงดึงดูดมหาศาลของมันจะบดขยี้ทุกอย่างที่เข้ามาใน ชั้นบรรยากาศของดาว

บรรยาย

แต่ดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ยักษ์พวกนั้นกลับกลายเป็นสิ่งที่น่า เข้าไปสำารวจ หรือแม้กระทั้งตั้งถิ่นฐานได้ด้วยซำ้า 7

บรรยาย

เหล่าบริวารของดาวพฤหัส จะเป็นโลกที่หฤโหดที่ไม่สามารถมีสิ่งมี ชีวิตอยู่ได้? หรือจะกลายเป็นสถานที่ปลอดภัยสำาหรับมนุษย์ในยุค ต่อไปใช้ในการสำารวจดวงดาวอื่นๆในอนาคต

****** break ****** บรรยาย

เมื่อไม่นานมานี้ เรารู้เรื่องของดวงจันทร์ของดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ น้อยมาก พวกมันถูกรัศมีของดาวแม่ของมันเองกลบจนหมด

บรรยาย

กล้องโทรทัศน์สมัยใหม่และยานสำารวจที่ควบคุมจากระยะไกล เผย ให้เห็นถึง กลุ่มดวงจันทร์ที่มีรูปร่างหลากหลาย ตั้งแต่แบบที่เหมือน กับดาวเคราะห์ทั่วไป จนถึงพวกที่มีรูปร่างประหลาดที่มีเส้นผ่า ศูนย์กลางไม่ถึงสามสิบไมล์

บรรยาย

ดาวพฤหัส ซึ่งเป็นดาวเคราะห์ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มีดวงจันทร์ เป็นบริวารมากที่สุด เมื่อสี่พันห้าล้านปีที่แล้ว การก่อตัวของดาว เริ่ม จากกลุ่มก๊าซขนาดใหญ่ ยุบตัวลงมา

บรรยาย

กระบวนการนี้เป็นการรวมตัวที่ทำาให้เกิดโจเวี่ยน ซิสเต็ม ขึ้นมา ขณะ ที่ก๊าซเกือบทั้งหมดหมุนวนอยู่ ซึ่งทำาให้สสารต่างๆรวมตัวกันกลาย เป็นดาวพฤหัส มีสสารปริมาณน้อยๆ รวมตัวกันเองภายในวงโคจร ของดาวพฤหัส การรวมตัวของดาวเล็กๆเหล่านี้ กลายเป็น เร็กกูล่าร์ มูน ของดาวพฤหัส นั่นคือ ไอโอ ยูโรป้า แกนิมิด และคาลิสโต้

8

บรรยาย

เมื่อดาวพฤหัสค่อยๆก่อตัวขึ้น แรงดึงดูดมหาศาลของมันเริ่มดูดเอา เศษเล็กเศษน้อยที่เหลือจากการก่อตัวของระบบสุริยะในยุคแรกเข้า มา

เบรทท์

ดาวเคราะห์ขนาดยักษ์รวมตัวจากกลุ่มก๊าซที่หนาแน่น โดยมีเศษชิ้น ส่วนที่เหลืออยู่ในระบบสุริยะในตอนนั้นรวมเข้ามาในวงโคจรของมัน

บรรยาย

จำานวนดวงจันทร์ของดาวพฤหัสมีตั้งแต่หกสิบ ถึงสองร้อยดวง ขึน้ อยู่กับว่าใครเป็นคนนับ….. แต่ทแี่ น่ๆว่าถ้าคุณสามารถจะอยู่ที่ขอบ ของชั้นบรรยากาศของดาวพฤหัสได้ คุณจะเห็นดวงจันทร์ของมัน ลอยไปมาอย่างน่าตื่นใจ

อแมนด้า

มันคงจะเยี่ยมไปเลยถ้าได้เห็นดวงจันทร์พวกนั้น คุณจะเห็นไอโอ ลอยผ่านมาบ่อยมาก ทุกๆสองครั้งที่เห็นไอโอ ก็จะเห็นยูโรป้าหนึ่ง ครั้ง และทุกๆสี่ครั้งของไอโอ คุณจะเห็นแกนิมิด

บรรยาย

หนึ่งในโจเวียนซิสเต็มของดาวพฤหัส ถูกสร้างขึ้นมาจากมวลของ ดาวพฤหัสเอง มันเป็นดวงจันทร์ที่มีการระเบิดจากข้างในออกมาข้าง นอกตลอดเวลา

บรรยาย

กุมภาพันธ์ ปีสองพันเจ็ด ยานนิวฮอไรซัน ที่มีจุดมุ่งหมายไปที่พลูโต ได้ปรับทิศของกล้องไปยังไอโอ มันมีขนาดใกล้เคียงกับดวงจันทร์ ของโลก วงโคจรอยู่ห่างจากดาวพฤหัสสองแสนหกหมื่นสามพันไมล์ สิ่งที่ทำาให้ไอโอ ต่างจากดวงจันทร์อื่นๆในโจเวี่ยนซิสเต็ม…คือ ภูเขาไฟที่มีเต็มพื้นผิวดาว

9

บรรยาย

นิว ฮอไรซัน ได้ถ่ายภาพแสดงรายละเอียดของลาวาที่ไหลไปทั่วพื้น ผิวของไอโอ และยังมีภาพของฝุ่นภูเขาไฟซึ่งพุ่งขึ้นสูงจากพื้นผิวของ ดวงจันทร์ถึงสองร้อยไมล์

บรรยาย

เช่นเดียวกับดวงจันทร์อื่นของดาวพฤหัส ซึ่งชื่อของมันถูกตั้งตามชื่อ ของคนรักของเทพจูปิเตอร์จากตำานานเทพยาดาของชาวโรมัน มัน ถูกค้นพบโดยกาลิเลโอในปีพันหกร้อยสิบ รูปถ่ายรูปแรกจากยานไพโอเนียร์หนึ่งในปีพันเก้าร้อยเจ็ดสิบสี่ และอีกครั้งโดยวอยเอเจอร์หนึ่ง ในปีพันเก้าร้อยเจ็ดสิบเก้า สิ่งที่เกิดขึ้นบนไอโอ ทำาให้นัก วิทยาศาสตร์สงสัยและให้ความสนใจกับมันมาตลอดหลายสิบปี

ไมเคิล

ที่ไอโอ มันปล่อยสสารออกมาหนึ่งตันทุกๆวินาที ทุกๆวัน มันเป็นสิ่ง ที่น่าอัศจรรย์มาก

อแมนดา

ฉันอยากไปไอโอซักวัน ถึงแม้ว่ามันจะอันตราย ร้อน และเต็มไปด้วย กำามะถันก็ตาม

บรรยาย

ไอโอเล็กเกินไปที่แกนของมันจะมีการหลอมเหลวอยู่ตลอดเวลา ..จะ ต้องมีกระบวนการบางอย่างที่ทำาให้เกิดความร้อนขึ้นแบบนี้

โรเบิร์ต

ภายในไอโอเป็นสสารที่หลอมเหลวเพราะมันถูกบีบอย่างรุนแรงจาก ดาวพฤหัส

10

บรรยาย

กระบวนการการเกิดความร้อนที่เกิดจากแรงดึงดูดนี้เรียกว่า ไทดัล ฮีทติ้ง แรงดึงดูดมหาศาลของดาวพฤหัสก่อให้เกิดแรงเสียดสีภายใน แกนของไอโอ… เหมือนกับนักปั้นดินเผาที่นวดดินเหนียว ..ดาว พฤหัสก็กำาลังสร้างผลงานชั้นเลิศของมันอยู่เช่นกัน

โรเบิร์ต

เมื่อดวงจันทร์รับ ไทดัล ฮีทติ้ง มันจะอ่อนตัวลง และสามารถเปลี่ยน รูปทรงได้ตามแรงดึงดูดของดาวเคราะห์แม่ ราวกับดินเหนียว พื้นผิว ของดวงจันทร์ที่เย็นจะฉีกออกเมื่อดึงส่วนที่เป็นเหมือนดินเหนียว ออก และรวมตัวกันกับพื้นผิวส่วนอื่นด้วยการนวดจากแรงดึงดูดของ ดาวเคราะห์แม่

บรรยาย

เร็กกูล่าร์มูนส่วนใหญ่มีวงโคจรเป็นวงกลม …ในการสร้างไทดัล ฮีท ติ้ง ดวงจันทร์ต้องมีวงโคจรเป็นลักษณะวงรี เมื่อระยะห่างจากดาว เคราะห์แม่เปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วในช่วงพัฒนาการ สิ่งเดียวที่จะ ทำาให้เกิดวงโคจรประหลาดคือแรงดึงดูดที่เกิดจากดวงจันทร์ดวงอื่น

โรเบิร์ต

เมื่อดวงจันทร์มีวงโคจรที่แปลกออกไป เป็นแบบไม่ใช่วงกลม เมื่อมัน เข้าใกล้ดาวเคราะห์แม่ มันถูกบีบด้วยดาวเคราะห์แม่ไปพร้อมๆกับที่ ถูกดึงด้วยดาวเคราะห์ดวงอื่นด้วย

บรรยาย

วงโคจรของไอโอมีความสอดคล้องกับดวงจันทร์ข้างเคียงด้วย ทั้งยูโร ป้าและแกนิมิด เมื่อดาวพฤหัสและไอโอกำาลังสร้างสมดุลย์ของ แรงดึงดูดซึ่งกันและกัน ยูโรป้า และแกนิมิด กลับดึงไอโอไปใน ทิศทางตรงกันข้าม ดาวพฤหัสก็คอยดึงไอโอกลับไป ทั้งหมดนี้ทำาให้ เกิดแรงเสียดทานและบีบเค้นอยู่ตลอดเวลา

11

บรรยาย

ไทดัล ฮีทติ้ง ของไอโอทำาให้เกิดผลข้างเคียงจากภูเขาไฟของมันเอง กลุ่มก๊าซที่เกิดจากไอโอ กลายเป็นวัตถุที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ มัน เป็นกลุ่มก๊าซที่มีขนาดถึงห้าร้อยเท่าของดาวพฤหัส

บรรยาย

ปีพันเก้าร้อยเก้าสิบ ศาสตราจารย์ไมเคิล เมนดิลโล่ และทีมงานของ มหาวิทยาลัยบอสตัน ค้นพบกลุ่มเมฆขนาดยักษ์ แผ่ขยายจากด้าน หนึ่งของดาวพฤหัสไปอีกด้านหนึ่ง ..รูปถ่ายของมันใช้ในการค้นหา แหล่งกำาเนิด และกลไกที่ทำาให้มันขยายตัว

ไมเคิล

ไอโอมีขนาดเล็ก มันจึงไม่มีชั้นบรรยากาศมากนัก แต่ภูเขาไฟก็ ปล่อยสสารออกมาอยู่ตลอดเวลาซึ่งถือว่าเป็นชั้นบรรยากาศของมัน แต่คุณอาจจะถามว่า แล้วทำาไมชั้นบรรยากาศของมันไม่หนาแน่น เท่าที่ควร คำาตอบคือสสารทั้งหลายหลุดออกจากแรงดึงดูดของมัน

บรรยาย

โซเดียมคือธาตุหลัก แม้ว่ามันเป็นเพียงห้าเปอร์เซนต์ของสสาร ทั้งหมดที่ไอโอปลดปล่อยออกมา มันลอยอยู่เหนือพื้นผิวของดวง จันทร์และสะท้อนแสงออกมาเป็นสีเหลือง ซึ่งจริงๆแล้ว โซเดียมคือ ส่วนประกอบทั่วไปที่ใช้ในการสร้างหลอดไฟแสงสีเหลืองตามถนน ทั่วไป

บรรยาย

โมเลกุลของโซเดียมและก๊าซชนิดถูกระดมยิงจากแสงของดวง อาทิตย์ และอีเล็คตรอนจากแรงแม่เหล็กมหาศาลของดาวพฤหัส อีเล็คตรอนและโปรตอนของมันหลุดออกมากลายเป็นประจุอิอ้อน ตอนนี้ ในรูปแบบที่เป็นพลาสม่า ประจุอิอ้อนเหล่านี้ลอยไปตามชั้น สนามแม่เหล็กของดาวพฤหัส… ความเร็วของมันเพิ่มขึ้นอย่าง รวดเร็วเพราะสนามแม่เหล็ก…… 12

บรรยาย

เหมือนกับการกระโดดขึ้นม้าหมุน

ไมเคิล

เส้นสนามแม่เหล็กก็คือเสาพวกนี้ และอะตอมของโซเดียมก็ถูกดึง เข้าไปพร้อมกับอีเล็คตรอน

ไมเคิล

และตอนนี้ผมอยู่ในพลาสม่าของดาวพฤหัส พร้อมๆกับอิอ้อนและอี เล็คตรอนที่ถูกดึงเข้ามาก่อนหน้านั้น..ประจุอิอ้อน และอีเล็คตรอน รวมตัวกับประจุอิอ้อนที่เป็นกลาง ซึ่งมีอยู่ไม่จำากัดในสนามแม่เหล็ก และทำาให้มันมีความเร็วมากขึ้น ซึ่งเร็วพอที่จะหลุดออกจาก แรงดึงดูดของดาวพฤหัสได้….. และมันก็ได้ก่อตัวเป็นกลุ่มเมฆอยู่ใน ระบบสุริยะ

บรรยาย

ถ้าเราสามารถเห็นเนบิวล่านี้ด้วยตาเปล่า มันจะมีความสว่างเท่ากับ ดวงจันทร์สิบสองดวงในตอนกลางคืน

บรรยาย

มันมีขนาดใหญ่มาก จนถ้าจะดูมัน ไมเคิลและทีมงานต้องสร้าง กล้องโทรทัศน์เฉพาะขึ้นมา

ไมเคิล

เราตัดสินใจว่าเราจะใช้กล้องโทรทัศน์ขนาดเล็กในการส่องดูวัตถุ ขนาดใหญ่

บรรยาย

ในปีพันเก้าร้อยเก้าสิบเอ็ด มันดูเป็นกล้องโทรทัศน์ธรรมดาๆ แต่ กล้องถ่ายรูปของมันมีความซับซ้อนมาก และในตอนนั้น มันถือว่า เป็นกล้องดิจิตอลในยุคแรก

13

ไมเคิล

เมื่อเราได้รูปของมันมาหลายๆรูปแล้ว คุณสามารถทำาอะไรก็ได้กับ รูปเหล่านั้น

บรรยาย

ไมเคิลและทีมรู้ว่ามีโซเดียมอยู่ในเนบิวล่านั่น โซเดียมก็มีอยู่ใน บรรยากาศของโลก

บรรยาย

พวกเขาถ่ายภาพบรรยากาศของโลก เทียบกับของดาวพฤหัสเพื่อหา รูปแบบของเนบิวล่าออกมา

ไมเคิล

มันทำาได้ยากมากครับ ถ้าคุณมีรูปเป็นเพียงกระดาษแค่สองใบ แต่ ตอนนี้เรามีกล้องดิจิตอล ซึง่ เป็นการเปลี่ยนแปลงการประมวลผล ของภาพได้อย่างสิ้นเชิง

บรรยาย

แม้ว่าไอโอจะมีความน่าประทับใจทางวิทยาศาสตร์และเป็นจุด หมายที่สวยงาม สภาพแวดล้อมของมันกลับเป็นตัวขัดขวางการ สำารวจ การส่งยานสำารวจที่ไม่มีคนไปที่นั่นมีความยากลำาบาก มาก…. แต่ยังมีดวงจันทร์ดวงอื่นของดาวพฤหัสที่ไม่เพียงแต่ให้ มนุษย์สามารถสำารวจได้ ตัวมันอาจจะมีชีวิตนอกโลกอาศัยอยู่ได้ ด้วย

โรเบิร์ต

ยูโรป้าเป็นเทหวัตุอีกชิ้นหนึ่งในระบบสุริยะที่น่าทึ่งและยากจะเข้าใจ มันไม่เหมือนที่แห่งใดๆในระบบสุริยะนี้เลย แม้กระทั่งโลกก็ตาม

อแมนดา

พื้นผิวของมันที่เห็นเป็นรอยแตกนั้น เป็นรอยแตกที่ไม่เป็นระเบียบ และบางทีก็ดูเหมือนกับเป็นภูเขานำ้าแข็ง

14

บรรยาย

ยูโรป้าเป็นดวงจันทร์….. ที่อาจมีความเป็นไปได้ที่จะมีชีวิตเกิดขึ้นที่ นั่นด้วย

**** break ***** บรรยาย

ยูโรป้าโคจรห่างจากพื้นผิวของดาวพฤหัสอยู่สี่แสนไมล์ เป็นระยะ สองเท่าของไอโอ ตัวมันเองก็ถูกบีบด้วยแรงโน้มถ่วงเหมือนกับไอโอ เช่นกัน

บรรยาย

ดาวพฤหัสมีบทบาทมากที่สุด มวลของมันก่อให้เกิดแรงโน้มถ่วงที่ คอยดึงยูโรป้าเข้าหาตัวอยู่ตลอดเวลา แรงโน้มถ่วงของตัวยูโรป้าเอง คอยต้านทานแรงดึงจากดาวพฤหัสอยู่ตลอดจนกลายเป็นดาวคู่ลอย อยู่เป็นระยะหลายแสนไมล์เหนือพื้นผิวของดาวพฤหัส

บรรยาย

แต่ว่าไม่ใช่แค่ดาวพฤหัสเท่านั้นที่มีผลต่อยูโรป้า ไอโอ และแกนิมิด ต่างก็คอยดึงยูโรป้าไปในทิศทางต่างๆกัน มันเป็นรูปแบบเดียวกัน ที่ เกิดกับไอโอ

บรรยาย

อย่างไรก็ตาม ผลลัพธ์ที่ได้ของยูโรป้า แตกต่างสิ้นเชิงกับไอโอ พื้นผิว ของยูโรป้าเย็นจัดถึงลบห้าร้อยห้าสิบฟาเรนไฮท์ในบางจุด แต่ก็มี บางส่วนที่มีความร้อน และสิ่งที่อยู่บนพื้นผิวในบริเวณนั้นทำาให้ดวง จันทร์นี่มีความน่าตื่นเต้น….

บรรยาย

นั่นคือนำ้า…นำ้าที่ไหลขึ้นมาจากมหาสมุทรใต้พิภพ ถึงบริเวณพื้นผิว ของยูโรป้า เหมือนกับนำ้าแข็งที่ถูกขัดผิวหน้าใหม่แบบที่เห็นในลาน สเก็ตนำ้าแข็งทั่วไป 15

โรเบิร์ต

มหาสมุทรของยูโรป้าค่อนข้างตื้น …อยู่ลึกลงไปในพื้นผิวประมาณ สิบถึงสิบห้าไมล์

บรรยาย

นำ้า คือแหล่งกำาเนิดชีวิต ซึ่งมันจะเป็นเช่นเดียวกันกับยูโรป้าหรือไม่?

โรเบิร์ต

ดาวที่เต็มไปด้วยนำ้าแข็งเป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทั่วไปในเอกภพ โลกต่าง หากที่ถือว่าเป็นลักษณะที่หายาก แต่ดาวที่เป็นนำ้าแข็งน่าจะมีเต็มไป หมด

บรรยาย

เดือนกุมภาพันธ์ปีสองพันเจ็ด ยานนิวฮอไรซัน ขณะมีเป้าหมายไปที่ ดาวพลูโต กับด้านนอกของระบบสุริยะ ได้เข้าใกล้ยูโรป้า และส่ง ภาพที่น่าตื่นเต้นของมันกลับมา

บรรยาย

ภาพที่เห็นคือลวดลายทางภูมิศาสตร์ที่ถูกตั้งชื่อว่าเป็น “ครอป เซอเคิล” เหมือนกับที่เกิดขึ้นบนโลกของเรา

เจฟฟ์

พวกมันมีขนาดใหญ่มาก ถ้าคุณพยายามจะเดินทางผ่านเซอเคิล เหล่านี้ คุณจะค่อยๆเคลื่อนที่ลาดลงไปตำ่ากว่าพื้นผิวประมาณสอง ถึงสามร้อยฟุต และค่อยๆกลับขึ้นมา

บรรยาย

ครอป เซอเคิล ของยูโรป้า เทียบกับของบนโลกที่เราได้เคยเห็นใน บริเวณชานเมืองซึ่งกลายเป็นเพียงจุดเล็กๆ เพราะบนยูโรป้ามีขนาด เส้นผ่าศูนย์กลางสองถึงสามพันไมล์

16

บรรยาย

มันตื้นและมีรูปแบบที่แน่นเกินไปที่จะบอกว่าเกิดมาจากการที่อุกาบาตตกใส่ เพราะดาวเคราะห์น้อยและดาวหางแต่ละดวงมีลักษณะ ไม่เหมือนกัน ครอป เซอเคิล แต่ละที่บนยูโรป้ามีความคล้ายคลึงกัน เกินไป ถึงแม้ว่ายังไม่มีข้อพิสูจน์ แต่ดูเหมือนว่าดาวพฤหัสอาจจะ เป็นสาเหตุที่ทำาให้เกิดสิ่งเหล่านี้ขึ้นมา

บรรยาย

เป็นที่คาดเดากันว่านำ้าแข็งรอบๆยูโรป้า ไม่ได้ติดอยู่กับแกนของตัว ดวงจันทร์เอง แต่มันลอยอยู่บนผิวของมหาสมุทร เป็นผิวนำ้าแข็งทรง กลม

บรรยาย

ส่วนที่เป็นขั้วของดาว อาจถูกทำาให้เป็นรูปร่างโดยดาวพฤหัส และ เมื่อเวลาผ่านไปหลายแสนปี มันค่อยๆเลื่อนลงมาที่บริเวณ เส้นศูนย์สูตร ทำาให้เกิดครอป เซอเคิล ไล่มาจากบรเวิณขั้วโลก ลงมา ที่เส้นศูนย์สูตร

บรรยาย

ถ้าเปลือกของยูโรป้ามีคามคล้ายคลึงกับโครงสร้างพื้นนำ้าแข็งบนโลก นั่นคือมันอยู่ใต้มหาสมุทร…. ซึ่งหมายถึงโอกาสที่จะได้สำารวจมันใน อนาคต

เจฟฟ์

มันหมายถึงว่าจะต้องมีนำ้าแข็งขนาดใหญ่แปดถึงเก้าเท่าอยู่ข้างใต้ นั้น ทำาให้เกิดภูมิประเทศอย่างที่เราเห็นอยู่ในตอนนี้

17

บรรยาย

ทฤษฎีภูเขานำ้าแข็งวางอยู่บนพื้นฐานของความเชื่อที่ว่าพื้นนำ้าด้าน ล่างสามารถถูกดึงผ่านขึ้นมาผ่านเปลือกนำ้าแข็งที่ไม่หนามากได้ ภาพถ่ายรังสีอัลตร้าไวโอเลทด้วยเรดาห์จะคอยบอกว่ายานสำารวจที่ จะจอดลงบนยูโรป้าตรงไหน การสำารวจยูโรป้าในอนาคตจะต้อง ทำาการหาบริเวณที่มีนำ้าเล็ดลอดออกมาจากพื้นผิวเพื่อให้เราดำาลงไป ได้

บรรยาย

ยานสำารวจเหล่านั้นอาจจะเลือกตั้งฐานปฏิบัติการบนแกนิมิด ดวง จันทร์ที่ใหญ่ที่สุดของดาวพฤหัส อย่างโฟโบสที่ใช้ในการสำารวจดาว อังคาร แกนิมิดก็เป็นอย่างเดียวกันในโจเวี่ยนซิสเต็ม …มันมีขนาด ใหญ่กว่าดาวพุธ แรงดึงดูดของมันใกล้เคียงกับโลกมากกว่าดวงจัน ทร์อื่นๆของดาวพฤหัส ถึงแม้ว่าคาบวงโคจรของมันจะเป็นสอดคล้อง กับไอโอ และยูโรป้า มันก็ยังอยู่ห่างจากดาวพฤหัสมากพอที่ก๊าซจาก ดาวพฤหัสจะมีผลกระทบกับตัวมัน

โรเบิร์ต

ที่แกนิมิด คุณพูดได้ว่าเราสามารถจะจอดยานลงบนหลุมขนาดใหญ่ และสร้างโดมขึ้นมาป้องกันตัวจากสิ่งแปลกปลอมที่มาจากโจเวียน ซิสเต็ม มันกลายเป็นที่ๆปลอดภัยที่ไม่เพียงแต่ใช้ศึกษาตัวแกนิมิด ระบบแรงแม่เหล็กของมัน สสารภายในแกน รวมถึงสภาพภูม-ิ ประเทศ แต่ยังรวมถึงระบบของดาวพฤหัสด้วย

บรรยาย

แกนิมิดไม่เพียงแต่เป็นดวงจันทร์ดวงเดียวในระบบสุริยะที่มีสนาม แม่เหล็กเป็นของตัวเอง การที่จะมีลักษณะเฉพาะแบบนี้ได้ แกนิมิด ต้องมีมวลที่มากพอ และมีแกนภายในที่ร้อน ปริมาณมวลของมัน ไม่ใช่สิ่งที่แปลก แต่ความร้อนที่มาจากมัน ยังเป็นปริศนาอยู่

18

บรรยาย

แกนิมิดได้รับผลกระทบจากไทดัล ฟอร์ซทั้งจากไอโอและยูโรป้า แต่ จากการวัดเส้นวงโคจร พบว่ามันกลมพอที่จะไม่โดนแรงดึงและบีบ เหมือนกับดาวรุ่นน้องของมันที่โดนจากดาวพฤหัส

โรเบิร์ต

อาจจะคิดได้ว่าอาจมีบางอย่างเกิดขึ้นกับแกนิมิดในอดีต ที่ทำาให้วง โคจรของมันเปลี่ยนไปเล็กน้อย บางที่อาจเกิดความผิดปกติขึ้นบ้าง และทำาให้เกิดความร้อนขึ้นมาในแกนิมิดทำาให้แกนของมันร้อนขึ้น ยังไม่รู้อย่างแน่ชัดครับ

บรรยาย

ที่เรารู้คือเมื่อยาน นิว ฮอไรซันบินผ่านโจเวียนซิสเต็ม ได้จับภาพที่ สร้างที่น่าอัศจรรย์ที่กระตุ้นความอยากรู้ของเราว่าจะมีอะไรรอคอย เราอยู่ที่ดวงจันทร์ของดาวพฤหัส นักวิทยาศาสตร์เฝ้าคอยเวลาที่จะ มียานสำารวจจอดลงบนดวงจันทร์เหล่านั้น และเริ่มทำาการเปิดเผย ความลับทั้งหลายที่อยู่ในดวงจันทร์เหล่านี้

***** break ***** บรรยาย

ดวงจันทร์นำ้าแข็งอีกดวงหนึ่งโคจรรอบดาวเสาร์ มันมีขนาดเล็กเกิน ไปที่จะมีชั้นบรรยากาศเป็นของตัวเอง แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะ หยุดดึงเอาบรรยากาศของดาวแม่ของมันมา

บรรยาย

เอนเซเลดัส ถึงจะมีขนาดเล็ก ชื่อของมันก็มาจากตำานานเทพเจ้ากรีก เหมือนกัน มันมีวงโคจรที่เป็นวงรีเหมือนกับไอโอและยูโรป้า ไทดัล ฟ อร์ซ ของดาวเสาร์ บีบและนวดดวงจันทร์ดวงน้อยนี้ สร้างความร้อน ขึ้นมาในแกนของมัน

19

บรรยาย

แต่ไม่เหมือนกับไอโอ เพราะมันไม่พ่นสสารหลอมเหลวออกมาเพื่อ ไปรวมกับกลุ่มก๊าซของดาวแม่ มันไม่มีนำ้าไหลขึ้นมาบนพื้นผิวอย่าง ยูโรป้า แต่เอนเซเลดัสกลับพ่นไอนำ้าแข็งไปยังชั้นบรรยากาศของดาว เสาร์

ไมเคิล

เราไม่เรียกมันว่าภูเขาไฟเพราะมันเป็นเหมือนกับบ่อนำ้าพุร้อน มากกว่า ไอนำ้าถูกปล่อยออกมารอบๆดวงจันทร์ และถูกดูดเข้าไปใน ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์เพราะแรงโน้มถ่วงของมัน

บรรยาย

ด้วยความน่าสนใจแบบเดียวกับวงแหวนที่เกิดขึ้นกับไอโอ ไมคิลและ ทีมงานของเขาที่มหาวิทยลัยบอสตันเริ่มตรวจสอบผลกระทบของชั้น บรรยากาศของดาวเสาร์ที่เกิดจากเอเซเลดัส

ไมเคิล

นำ้าเป็นตัวเร่งในการเกิดการรวมตัวของประจุอิอ้อนและอีเล็คตรอน ครับ

บรรยาย

ก่อนที่จะมียานแคสซินี่ นักวิทยาศาสตร์ใช้ภาพจำาลองทาง คอมพิวเตอร์ในการกำาหนดสภาพรรยากาศรอบๆดาวเสาร์ ….พวก เขาเห็นว่าดาวเสาร์น่าจะมีชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์ที่หนาแน่น มาก แต่ข้อมูลจากยานแคสซินี่กลับบอกว่าดาเสาร์มีชั้นไอโอ โนสเฟียร์เพียงสิบเปอร์เซนต์จากที่คอมพิวเตอร์ประมาณไว้ มันดู เหมือนว่าไอของนำ้าแข็งที่เกิดจากเอเซเลดัสได้ทำาให้ประจุของชั้น บรรยากาศไอโอโนสเฟียร์กลายเป็นกลาง

บรรยาย

นักวิทยาศาสตร์เลยบังเอิญได้เรียนรู้ถึงผลกระทบของนำ้าที่มีต่อ บรรยากาศบนโลก 20

ไมเคิล

นาซ่าได้เริ่มห้องทดลองสกายแลปในปีพันเก้าร้อยเจ็ดสิบสาม มันถูก ส่งขึ้นไปด้วงจรวดเซเทอร์นไฟฟ์ ตอนนั้นยังไม่เคยมีการปล่อยจรวดที่ จะต้องขึ้นไปสูงถึงชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์เลย เครื่องยนต์ขนาด ยักษ์ปล่อยไอนำ้าออกมาเกือบหนึ่งตันต่อวินาที ไอนำ้านั้นมาจาก ระบบขับเคลื่อนของตัวจรวด ทำาให้ชั้นบรรยากาศไอโอโนสเฟียร์หาย ไปเกือบหมดในวันนั้น

บรรยาย

นำ้าที่ถูกปล่อยออกมาหนึ่งตันต่อวินาที ทำาให้เกิดรูที่ชั้นบรรยากาศไอ โอโนสเฟียร์ที่คอยป้องกันโลกจากรังสี ชัน้ บรรยากาศซ่อมแซมตัวเอง ในยี่สิบสี่ชั่วโมง ส่วนที่ดาวเสาร์นั้น เอนเซเลดัสปล่อยไอนำ้าถึงหกตัน ไปที่ชั้นบรรยากาศของดาวเสาร์ ผลกระทบระยะยาวที่เกิดขึ้นนั้น สำาคัญมาก คงไม่ต้องกังวลว่าเอนเซเดลัสจะทำาให้ชั้นบรรยากาศของ ดาวเสาร์หมดไป แต่ด้วยตัวมันที่เล็กนิดเดียว ซึ่งมีเส้นผ่าศูนย์กลาง เพียงสามร้อยไมล์ ทำาให้ได้รับความสนใจจากเหล่านักวิทยาศาสตร์ พอๆกับตัวดาวเสาร์เอง

บรรยาย

ขณะที่เราเตรียมจะสำารวจโฟโบ้และยูโรป้า และศึกษาข้อมูลจากไท ตั้น เอนเซเลดัส และไอโอ ยังมีดวงจันทร์อีกกลุ่มหนึ่งที่กลายเป็นจุด สนใจเช่นเดียวกัน

**** break *****

21

บรรยาย

ก่อนปีพันเก้าร้อยเก้าสิบ นักดาราศาสตร์ส่วนใหญ่ลงความเห็นว่า มีดวงจันทร์เพียงสามสิบสี่ดวงในระบบสุริยะ ส่วนใหญ่คือ เร็กกูล่าร์ มูน อย่างดวงจันทร์ของเรา มีรูปร่างเป็นทรงกลมและโคจรรอบดาว เคราะห์แม่ไปในทิศทางเดียวกัน .. แต่ปรากฏว่าดวงจันทร์แบบอีเร็กกูล่าร์ มูน ต่างหาก ที่มีจำานวนมากกว่า

บรรยาย

อีเร็กกูล่าร์ มูน มีวงโคจรที่ยืดออกไปจากปกติ วงโคจรของมันจะ เอียงและหมุนไปในทิศทางตรงข้ามกับดาวเคราะห์แม่

เจฟฟ์

มันดูเหมือนกับมันฝรั่งบินได้ หรือ เศษของดวงดาว หรือ หินทรง ประหลาด

อแมนดา

เมื่อก่อน การค้นหาพวกมันทำาได้ยากเพราะขนาดที่เล็ก และมันค่อน ข้างจะทึบแสง

บรรยาย

การใช้กล้องดิจิตอลและตัวรับภาพที่มีความไวแสงสูง ได้ทำาให้การ มองพื้นผิวของดวงจันทร์เปลี่ยนไปในช่วงเวลาเพียงสิบปี

บรรยาย

ดร.เบรทท์ แกลดแมน จากมหาวิทยาลัยบริติช โคลัมเบีย ค้นพบอี-เร็ กกูล่าร์ มูน ดวงแรกในปีพันเก้าร้อยเก้าสิบเจ็ด ณ.หอดูดาพาโลม่าร์ ตั้งแต่นั้น ดร.เบรทท์ได้ฉายแสงสองไปยังวัตถุสิบเจ็ดแห่งที่ซ่อนอยู่ใน ระบบสุริยะ

22

เบรทท์

คุณสามารถตรวจจับวัตถุที่อยู่นอกระบบสุริยะได ์้โดยการสังเกตการ เคลื่อนไหของมันเมื่อเทียบกับฉากหลังที่เป็นดาวและแกแลกซี่ ถ้า คุณถ่ายรูปท้องฟ้า และรอซักประมาณชั่วโมงหนึ่ง คุณถ่ายรูปอีกรูป หนึ่ง ดาวต่างๆและแกแลกซี่ยังอยู่กับที่ แต่ระยะของวัตถุที่อยู่ใน ระบบสุริยะจะเคลื่อนที่เมื่อมองเทียบกับภาพถ่ายสองรูป และคุณก็ จะเห็นวัตถุเป้าหมายที่เคลื่อนที่ได้

บรรยาย

วัตถุนั้นอาจะเป็นดาวหางหรือดาวเคราะห์น้อย ถ้ามันโคจรรอบดาว เคราะห์เป็นลักษณะการถอยหลัง มันคืออีเร็กกูล่าร์ มูน

บรรยาย

ความแตกต่างที่สำาคัญอีกอย่างหนึ่งระหว่างเร็กกูล่าร์ มูน และ อีเร็กกูล่าร์มูนคือ อีเร็กกูล่าร์ มูน ถูกจับเข้าวงโครจร นั่นคือมันก่อตัวขึ้น มาอย่างอิสระ ส่วนมากเป็นเศษชิ้นส่วนที่เหลือจากการก่อตัวของ ระบบสุริยะ ฟีบี้ เป็นอีเร็กกูล่าร์ มูน ที่ใหญ่ที่สุดโคจรรอบดาวเสาร์ เป็นตัวอย่างที่ดี

อแมนดา

ฟีบี้โคจรรอบดาวเสาร์ มีวงโคจรไกลมาก วงรีของมันเอียงและรีเล็ก มาก ซึง่ วงโคจรก็เป็นแบบสวนทางกับดาวเคราะห์แม่ ….. ภาพถ่าย จากวอยเอเจอร์บอกว่ามันอาจจะเป็นเพียงแค่ดาวเคราะห์น้อย คน จึงคิดว่ามันเป็นภาพของดาวเคราะห์น้อยเฉยๆ แต่ตอนนี้เรารู้จาก ยานแคสซินี่แล้ว มันเป็นดาวที่เต็มไปด้วยนำ้าแข็ง ซึ่งแน่ว่ามันมันไม่ ได้มาจากแถบดาวเคราะห์น้อย จึงมีความคิดว่าฟีบี้น่าจะมากจาก บริเวณไคเปอร์เบลท์ ซึ่งอยู่ห่างจากระบบสุริยะออกไปมาก

23

บรรยาย

ไคเปอร์เบลท์เป็นกลุ่มของเศษซากที่เหลือจากการก่อตัวของระบบ สุริยะ มันก่อตัวอยู่รอบๆดวงอาทิตย์ใกล้กับดาวพลูโต อย่างไรก็ตาม มีทฤษฎีที่แตกต่างออกไป

เบรทท์

มันดูเหมือนว่าฟีบี้จะมีวงโคจรรอบดวงอาทิตย์อย่างอิสระ และถูก จับเข้ามาโคจรรอบดาวเสาร์ทีหลัง ตรงกันข้ามกับวัตถุอื่นที่อยู่รอบๆ ดาวเสาร์ รวมตัวกันด้วยแรงของดาวเสาร์ หรือถูกผลักออกจาก ระบบสุริยะ

บรรยาย

ฟีบี้อาจเกิดขึ้นมาจากเศษชิ้นส่วนที่ลอยอยู่รอบๆดาวเสาร์ขณะกำาลัง ก่อตัวขึ้น และเป็นไปได้ว่ามันประกอบด้วยสสารที่ต่างออกไปจา กอีเร็กกูล่าร์มูนที่โคจรรอบดาวพฤหัส ถ้าเป็นในกรณีนี้ นักธรณี ดาราศาสตร์อาจสามารถทำาความเข้าใจและเปรียบเทียบความแตก ต่างของดาวยักษ์ทั้งสองได้

บรรยาย

มีทฤษฎีสามอย่างที่อธิบายถึงความเป็นไปได้ที่ฟีบี้ หรืออีเร็กกูล่าร์มูนอื่นสูญเสียความเป็นอิสระในการเคลื่อนที่ มีสองทฤษฎีบอกว่า มันถูกดึงตัวเขามาด้วยระบบสุริยะในขณะที่กำาลังก่อตัวไปพร้อมๆ กับดาวเคราะห์ที่กำาลังรวมตัวจากกลุ่มก๊าซและชิ้นส่วนเล็กๆ

บรรยาย

ทฤษฎีการดึงดูดด้วยก๊าซหรือก๊าซ แดรก ค่อนข้างจะตรงไปตรงมา ความหนาแน่นของก๊าซหมุนวนรวมกันจนเกิดเป็นดาวเคราะห์ ขณะ ที่ดาวหาง และดาวเคราะห์น้อยแตกกระจายผ่านกลุ่มก๊าซออกมา

24

เบรทท์

เรารู้ว่าดาวเคราะห์ขนาดยักษ์สร้างดวงจันทร์แบบเร็กกูล่าร์มูนของ มันเองจากการรวมตัวของวัตถุรอบๆตัวมัน เหมือนกับเป็นระบบสุริ ยะเล็กๆที่มีดาวเคราะห์ล้อมรอบ ก๊าซและฝุ่นที่อยู่ในบริเวณรอบ นอก กลายเป็นแหล่งที่ดาวเคราะห์น้อยจะรวมตัวกันขึ้นมาอย่าง อิสระ ซึ่งความเร็วของมันลดลงมา และถูกดึงกลับเข้ามา

บรรยาย

ทฤษฎีที่สองคือทฤษฎีที่แรกที่ดัดแปลงออกมา บางทีถูกเรียกว่า ทฤษฎีพูล ดาวน์ ซึ่งแทนที่จะเป็นการที่วัตถุถูกดึงเข้ามาโดยที่ตัวมัน เคลื่อนผ่านกลุ่มก๊าซที่กำาลังรวมตัวกัน ดวงจันทร์ถูกดึงเข้ามาในวง โคจรด้วยแรงโน้มถ่วงที่เพิ่มขึ้นของตัวดาวเคราะห์

บรรยาย

ทฤษฎีทั้งสองสามารถอธิบายสิ่งที่เกิดขึ้นกับดาวเสาร์และดาวพฤหัส ได้ เพราะมันมีส่วนประกอบที่เหมาะสมและขนาดที่ใหญ่โตของพวก มัน ที่สามารถจะลดความเร็วของวัตถุที่ผ่านเข้ามาได้….. แต่ถ้าเป็น ดาวที่เย็นจัดอย่างเนปจูน และยูเรนัสล่ะ?

บรรยาย

เป็นเพราะอุณหภูมิที่เย็นจัดของมัน มันรวมตัวช้ากว่ามากๆ และก็ ยากที่จะเชื่อว่าการรวมตัวของสสารเย็นจัดแบบนี้จะมีมวลมากพอที่ จะดึงวัตถุที่เข้ามาอยู่ใกล้มันได้ …. แต่ดาวเคราะห์ทั้งสองก็ยังมีอีเร็ กกูล่าร์ มูนของตัวเอง จึงมีทฤษฎีการปฏิสัมพันธ์ของดาวสามดวง หรือทรี บอดี้ อินเตอร์แอคชั่น

25

เจฟฟ์

เราพบว่ามีวัตถุหลายๆชิ้นที่จริงๆแล้วมีมากกว่าตัวมันเองเดี่ยวๆ ปกติแล้วพวกมันจะมาเป็นคู่ๆ และยังมีขนาดที่เท่ากัน ทำาให้มันอยู่ ด้วยกันในรูปแบบของทวิสัมพันธ์ คือแทนที่มันจะเป็นดาวใหญ่โคจร รอบๆดาวเล็ก กลับกลายเป็นการโคจรซึ่งกันและกัน โดยมี จุดศูนย์กลางเรียกว่า แบรี่เซนเตอร์

บรรยาย

ระบบดาวคู่เกิดเกิดขึ้นเมื่อมีดาวสองดวงที่มีขนาดเดียวกันอยู่ใกล้ กันพอที่จะเกิดแบรี่เซนเตอร์ ซึ่งป้องกันดาวที่สามที่มีขนาดใหญ่ที่จะ ทำาให้มันแยกจากกัน แต่เมื่อหนึ่งในระบบดาวคู่มีขนาดใหญ่กว่าอีก ดวงหนึ่งมาก ดาวที่มีขนาดใหญ่ดวงที่สามจะมีโอกาสทำาให้ดาวคู่นั้น แยกออกจากกันได้

เจฟฟ์

ดาวที่เล็กกว่าจะมีโอกาสมีวงโคจรที่ใหญ่กว่าและวงโคจรแกว่งไปได้ ไกลกว่าดาวดวงใหญ่

บรรยาย

ซึ่งทำาให้ดาวดวงเล็กที่อยู่ใกล้กับดาวเคราะห์ถูกดูดเข้ามาในขณะที่คู่ ของมันถูกเหวี่ยงออกไปสู่วงโคจรอิสระ

บรรยาย

มีดวงจันทร์อยู่ดวงหนึ่งที่มีลักษณะแบบนี้ ไทรตั้นโคจรรอบเนปจูน สวนทางกับดาวเคราะห์แม่ ซึ่งทำาให้มันกลายเป็นอีเร็กกูล่าร์มูน ยกเว้นแต่ว่าวงโคจรของมันเป็นวงกลม แทนที่จะเป็นวงรี และเกือบ จะอยู่ตรงเส้นศูนย์สูตรของดาวเคราะห์ ซึง่ มันเป็นลักษณะของเร็กกู ล่าร์มูน และมันก็พ่นไอ้นำ้าแข็งออกมา ซึ่งเป็นสิ่งที่บ่งบอกว่ามันเคย หรือยังเป็นดาวที่มีภูเขาไฟที่ไม่สงบอยู่

*** break **** 26

บรรยาย

ก่อนที่ยานวอยเอเจอร์สองจะเดินทางออกจากระบบสุริยะ ดวงจันทร์ ไทรตั้นขอดาวเนปจูนเป็นที่ยอมรับกันว่ามันเป็นเพียงดาวที่เป็นหินที่ มีขนาดเท่ากับดวงจันทร์ของโลกเท่านั้น

บรรยาย

เมื่อยานวอยเอเจอร์ส่งภาพกลับมา เผยให้เห็นถึงภูเขา เส้นกากบาท และรอยแตกของพื้นผิวเหมือนกับมีการเคลื่อนที่ของวัตถุบนนั้น รวม ถึงขั้นบรรยากาศที่หนากว่าที่คิดไว้ นักวิทยาศาสตร์ประหลาดใจ มาก สภาพภูมิประเทศแบบนี้ปกติจะพบได้กับดาวเคราะห์ที่อุ่นและ ใหญ่กว่านี้ หรืออาจจะเกิดกับดวงจันทร์ที่เย็นจัดที่เล็กกว่าดวงจันทร์ ของโลกเล็กน้อย

บรรยาย

วอยเอเจอร์ไม่พบภูเขาไฟที่ประทุอยู่ ในปีพันเก้าร้อยแปดสิบเก้า อย่างไรก็ตาม ยังมีการพ่นไอออกมาจากบ่อก๊าซณ.บริเวณผิวของ ดาวเหมือนกับเอนเซเลดัส

บรรยาย

สิ่งที่น่าประหลาดใจมากเกี่ยวกับไทรตั้น ไม่เพียงแต่ที่มันมี ภูมิประเทศเป็นเอกลักษณ์เฉพาะตัวแล้ว สิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นบนตัวมัน เกิดขึ้นได้ ทั้งที่มันเป็นอีเร็กกูล่าร์ มูน

โรเบิร์ต

ดวงจันทร์ขนาดใหญ่ในระบบสุริยะเป็นเร็กกูล่าร์มูน ยกเว้นดวงเดียว คือไทรตั้น ดวงจันทร์ดวงใหญ่ที่สุดของเนปจูน ซึ่งโคจรในทิศตรงกัน ข้าม ดังนั้น ไทรตั้นจึงน่าจะเป็นดาวที่ถูกดึงเข้ามาในวงโคจร

บรรยาย

ดวงจันทร์ที่ถูกดึงมา แต่มีลักษณะเหมือนกับเร็กกูล่าร์มูน? เป็นไปได้ อย่างไรที่ดวงจันทร์ขนาดใหญ่อย่างไทรตั้นจะช้าพอที่จะผ่านเนปจูน โดยแค่ผ่านไปเฉยๆ ไม่ถูกดึงเข้าไปจนชนกับตัวดาวเนปจูนเอง? 27

บรรยาย

คำาตอบนั้น สามารถพบได้ในบ่อนคาสิโน เหมือนกับนักพนันที่แท่น หมุนของรูเล็ต ไทรตั้นและเนปจูนเคยเล่นเกมแห่งโชคชะตามาก่อน

ชาย 1

วางชิพได้ครับ

บรรยาย

ในเกมรูเล็ต คุณสามารถจะพนันได้หลายรูปแบบ แต่ละแบบมีความ เป็นไปได้ที่ต่างกัน และก็เหมือนกับการพนันอื่นที่ความเป็นไปได้ยิ่ง น้อย การตอบแทนก็ยิ่งสูง

บรรยาย

มีความเป็นไปได้อย่างน้อยสามวิธีที่ไทรตั้นจะถูกดึงเข้าไปโคจรรอบ เนปจูน

เจฟฟ์

ทั้งสามทฤษฎีต่างมีความเป็นไปได้ทั้งนั้น แต่ทฤษฎีก๊าซ แดรก หรือ การถูกดึงเข้าไปด้วยกลุ่มก๊าซ เป็นไปได้น้อยสุด เพราะระยะเวลาใน การรวมตัวของก๊าซและฝุ่นขึ้นเป็นดาวเนปจูนที่จะก่อให้เกิดไทรตั้น นั้นสั้นเกินไปในช่วงการก่อตัวของระบบสุริยะ ดังนั้น โอกาสจึงน้อย มาก เหมือนกับการที่ลูกบอลจะตกลงตำาแหน่งศูนย์ของรูเล็ต

เจฟฟ์

ความเป็นไปได้อีกอย่างหนึ่งที่ไทรตั้น ในช่วงเวลาหนึ่งในการรวมตัว ของระบบสุริยะ อาจชนกับดาวเคราะห์ขนาดกลางดวงอื่น ซึ่งทำาให้ เกิดไทรตั้นต้นแบบขึ้นมา และกลายเป็นไทรตั้นในที่สุด ซึ่งเหมือนกับ การพนันเลขหลายๆตัวเป็นจำานวนหนึ่งในสามของกระดานรูเล็ต ดัง นั้น คุณมีโอกาสถึงหนึ่งในสามที่จะชนะ

28

เจฟฟ์

ที่มีโอกาสมากที่สุดคือพนันด้วยเลขคู่ คุณมีโอกาสครึ่งต่อครึ่ง ใน ทฤษฎีระบบดาวคู่ของไทรตั้น เพราะว่ามีความเป็นไปได้ที่วัตถุใน บริเวณไคเปอร์ เบลท์ นับพันที่มีขนาด และอยู่เป็นคู่ๆ ซึ่งอาจจะมี ขนาดใหญ่กว่านี้ด้วยซำ้า ซึ่งเนปจูนสามารถจะดึงเอาอันใดอันหนึ่ง เข้ามาที่ตัวมันได้

บรรยาย

ไม่มีใครรู้อย่างแท้จริงว่าเป็นเบอร์ไหนกันแน่ที่ออกเมื่อตอนที่เนปจูน ดึงเอาไทรตั้นเข้ามาในวงโคจร อย่างไรก็ตาม เมื่อไทรตั้นเข้ามาเป็น บริวารของของเนปจูนในรูปแบบที่ผิดปกติ มันเริ่มทำาลายทุกสิ่งที่อยู่ ขวางหน้ามัน

โรเบิร์ต

ดาวเนปจูนไม่มีดวงจันทร์พวกเร็กกูล่าร์ มูน มากนัก เชื่อกันว่าการ ดึงเอาไทรตั้นเข้ามาเป็นการหยุดการที่ตัวมันจะมีเร็กกูล่าร์ มูนเป็น ของตัวอย่างอย่างที่ดาวเคราะห์ใหญ่ๆมีกัน

บรรยาย

ราวกับไทรตั้นโกรธแค้นที่ถูกทำาให้เสียอิสรภาพ เลยจัดการทำาลาย ดวงจันทร์ที่โชคร้ายดวงอื่นๆของเนปจูนจนหมด แต่เจ้าดาวหัวแข็งนี่ มันมาจากที่ไหนกันแน่?

บรรยาย

ข้อมูลจากวอยเอเจอร์สอง ชี้ให้เห็นถึงความหนาแน่นของมันใกล้ เคียงกับดาวพลูโต ซึ่งเป็นการบอกว่ามันไม่ได้เป็นญาติกับพวกอี-เร็ กกูล่าร์ มูน เลย

บรรยาย

สงสัยกันว่าทั้งพลูโต และไทรตั้น เป็นวัตถุที่มีต้นกำาเนิดจากไคเปอร์ เบลท์

29

โรเบิร์ต

รอบนอกของระบบสุริยะประกอบด้วยเทหวัตถุใหญ่ๆแบบนี้เต็มไป หมด บางชิ้นได้รวมตัวกลายเป็นดาวเคราะห์ขนาดใหญ่ และบางชิ้น ก็หลุดออกไปจากไคเปอร์เบลท์ก็มี

บรรยาย

การชน การรวมตัว และการดึงเข้าหากัน ลดลงไป ซึง่ เมื่อก่อนมัน เป็นส่วนที่มีความหนาแน่นมากในการก่อตัวขึ้นของดวงดาว

เจฟฟ์

ในยุคเริ่มแรกของระบบสุริยะ ไคเปอร์ เบลท์ อาจมีวัตถุขนาดใหญ่ที่ มีมวลมากพอที่รวมตัวกันเป็นโลกได้ถึงห้าสิบใบ ซึ่งในขณะนี้มันมี มวลน้อยกว่าโลกใบเดียว

บรรยาย

สิ่งที่เหลืออยู่ในไคเปอร์เบลท์มีอายุเท่ากับระบบสุริยะ สสารที่ก่อให้ เกิดระบบดาวคู่ เศษซากจากการชนกันของดวงดาว หรือแม้แต่ดวง จันทร์ที่ไม่มีการเปลี่ยนแปลงเลยเป็นเวลาสี่พันล้านปี

เจฟฟ์

มันน่าทึ่งมากที่ดวงจันทร์มีความแตกต่างกันมากเหล่านี้มาจากนอก ระบบสุริยะ เมื่อผมเริ่มทำางานในสถาบันดาราศาสตร์ในปีพันเก้าร้อย หกสิบ เราไม่เคยเห็นดวงจันทร์พวกนี้เลย มันเป็นเพียงแค่จุดเล็กๆ บนกล้องโทรทัศน์ที่เราไม่รู้ว่าคืออะไรกันแน่ ผมคิดว่าสิ่งที่น่าตกใจ ที่สุดคือความหลากหลายที่มีอยู่ในระบบสุริยะนี้ ผมคิดว่ามันจะทำา ให้ทุกๆคนที่อยู่ในยุคนั้นที่งมากๆ

30

บรรยาย

เมื่อเราเดินทางย้อนกลับมาจากรอบนอกที่หนาวเย็นของระบบสุริยะ ถึงโลกอันเป็นบ้านของเรา ความน่าเกรงขามที่มากจากความสง่า งามของเอกภาพและดาวเคราะห์ทั้งหลาย มันคุ้มค่าที่ฉุกคิดและ สังเกตถึงโลกที่อยู่ในเงาพวกมัน ดวงจันทร์เหล่านั้นซึ่งครั้งหนึ่งได้ เก็บงำาเอาเรื่องราวพิศวงที่รอคอยให้ความอยากรู้มนุษย์มาไขความ ลับต่อไป

31

Related Documents

Alien Moon Jun 27
June 2020 6
Alien
April 2020 21
Moon Moon
October 2019 44
Jun
November 2019 31