บทสรุป การศึกษาวิจัย “การค้าปลีกเพื่อการพัฒนา” การศึกษาวิจัยเรื่อง “การค้าปลีกเพื่อการพัฒนา” เป็นการวิจัยเชิงสำา รวจเฉพาะสามธุรกิจ ค้ า ปลี ก คื อ ร้ า นขายยา ร้ า นขายวั ส ดุ ก่ อ สร้ า ง และร้ า นขายผลิ ต ภั ณ ฑ์ ส มุ น ไพร โดยสำา รวจ ครอบคลุมทุกภาคของประเทศไทยและกรุงเทพมหานคร ขนาดของกลุ่มตัวอย่างมีทั้งหมด 800 ตัวอย่าง โดยการสุ่มตัวอย่างตามจุดประสงค์ (Purposive Sampling) ทำา การหาข้อมูลปฐมภูมิ จากการสัมภาษณ์โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ โดยมีวัตถุประสงค์คือ ต้องการสำารวจสภาวะ ธุรกิจค้าปลีก สำา รวจโครงสร้าง วิเคราะห์ SWOT ศึกษาการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่าง ธุร กิ จ (Cluster) ศึ ก ษาปัญ หาและอุ ปสรรค ความต้ อ งการพั ฒ นาตนเอง และความต้ อ งการ สนับสนุนจากภาครัฐของธุรกิจทั้งสามประเภท ผลการวิจัยพบว่า ทั้งสามธุรกิจมีลักษณะร้านค้าที่คล้ายๆ กันคือ ตั้งในทำา เลที่ติดถนนใหญ่ ไม่มีเครื่องปรับ อากาศ เปิดโล่ง เปิดร้านวันละ 9 – 12 ชั่วโมง และเปิดดำาเนินการมานานกว่า 10 ปี ยกเว้นร้าน ขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรที่เปิดดำาเนินการมาเพียงไม่เกิน 3 ปี ยอดขายภายใน 3 ปีที่ผ่านมาส่วน ใหญ่เพิ่มขึ้นไม่เกินร้อยละ 5 แต่ร้านขายยายอดขายลดลงประมาณปีละร้อยละ 5 กำาไรของธุรกิจ เพิ่มลดในทิศทางเดียวกันกับยอดขาย ยอดขายต่อวันในร้านวัสดุก่อสร้างวันละ 9,000 บาทขึ้นไป ร้านขายยาและร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรประมาณวันละ 1,000 – 3,000 บาท สินทรัพย์ของทั้ง สามธุรกิจจะคงเดิมในช่วงระยะเวลา 3 ปีที่ผ่านมา ด้านโครงสร้างการจัดการทุกธุรกิจจะเป็นเจ้าของ คนเดียว มีลูกจ้างประมาณ 1 – 3 คน ยกเว้นร้านขายยาส่วนใหญ่จะไม่มีลูกจ้าง หน้าที่ทางธุรกิจ ทีส่ ำาคัญที่สุดคือ การจัดการการเงิน สำา หรับผลกระทบจากสภาวะแวดล้อมทางธุรกิ จที่เปลี่ยนแปลงไปพบว่า ต้นทุน การซื้อ สินค้าเข้าร้านมีผลมากที่สุด ยกเว้นธุรกิจร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรได้รับผลกระทบจากปัจจัย ทางการตลาดมากที่สุด จึงต้องมีการปรับตัวด้านการตลาด ส่วนอีกสองธุรกิจต้องมีการปรับตัวด้าน การเงินมากที่สุด การวิเคราะห์ SWOT พบว่า ทั้งสามธุรกิจมีจุดแข็งเรื่องการดูแลเอาใจใส่ลูกค้า มีจุดอ่อน เรื่องการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต มีโอกาสจากชุมชนละแวกใกล้เคียง และมีภัยคุกคามจาก ร้านค้าปลีกสมัยใหม่ ส่วนสภาพการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจพบว่า มีการเชื่อมโยง กับแหล่งวัตถุดิบหรือผู้ผลิตเป็นหลัก ปัญหาและอุปสรรคในการประกอบธุรกิจทั้งสามประเภทคือ ต้นทุนสินค้าที่สูง และร้านค้าเหล่านี้ต้องการพัฒนาตนเองด้านเทคโนโลยีการค้าปลีกเป็นสำา คัญ ส่วนการสนับสนุนจากภาครัฐที่ร้านค้าปลีกมุ่งหวังนั้น ขอแต่เพียงรณรงค์ให้สังคมเกิดกระแสนิยม ไทยให้ได้ผลมากกว่าที่เป็นอยู่
2
จากผลการศึกษาคณะผู้วิจัยมีข้อเสนอแนะผู้เกี่ยวข้องในประเด็นต่างๆเพื่อพัฒนาร้านค้า ปลีกดังต่อไปนี้ 1. พยายามลดต้นทุนในการดำาเนินงาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งต้นทุนสินค้า โดยอาจรวมกลุ่ม หรือขอกำาลังสนับสนุนจากรัฐ โดยรัฐควรเป็นแกนกลางในการสนับสนุนให้มีการรวมกลุ่มและเชื่อม โยงระหว่างธุรกิจที่เกี่ยวข้องเพื่อให้ได้ต้นทุนที่ตำ่า และสมาชิกทุกฝ่ายมีประโยชน์ร่วมกัน 2. รักษาจุดแข็งของตนเอง เรื่องการดูแลเอาใจใส่ลูกค้าไว้ให้มั่นเพื่อความได้เปรียบในการ แข่งขันกับร้านค้าสมัยใหม่ 3. รัฐควรสนับสนุนร้านค้าปลีกเหล่านี้ โดยใช้เทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ซอฟแวร์ต่างๆ ทางการบัญชี และการบริหารสินค้าคงคลัง 4. รัฐควรรณรงค์ให้เกิดกระแสนิยมไทยให้มาก และได้ผลมากกว่าที่เป็นอยู่ อย่างไรก็ตามการช่วยเหลือตนเอง การพึ่งพาตนเองเป็นสิ่งสำาคัญ ธุรกิจค้าปลีกเหล่านี้จะ ต้องพัฒนาโดยการศึกษาหาความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับการค้าปลีกที่เปลี่ยนแปลงและพัฒนาอยู่ตลอด เวลาเพื่อปรับใช้กับกิจการของตนเองเท่าที่จะเป็นไปได้
3
ประเด็นปัญหาในการวิจัย 1. สภาวะตลาดและแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีก ประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จาก 2.
3. 4. 5.
6. 7.
สมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ดังกล่าวข้างต้นเป็นอย่างไรในปัจจุบัน โครงสร้าง การจัดการของธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ดังกล่าวในประเทศไทย เป็นแบบใด มีการเปลี่ยนแปลงจากสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปหรือไม่เพียงใด จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้า ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เป็นอย่างไรบ้าง ลักษณะของการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงธุรกิจ (Cluster) ประเภท ร้านขายยา ร้านค้า ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง มีหรือไม่อย่างไร ปัญหาและอุปสรรคของร้านค้าปลีก ประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพร และร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ในปัจจุบันมีอะไรบ้าง ธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เหล่านี้ต้องการที่จะพัฒนาตนเองอย่างไร ธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เหล่านี้ต้องการให้ภาครัฐเข้าไปสนับสนุนทางด้านใดบ้างและสนับสนุนอย่างไร
4
วัตถุประสงค์ในการวิจัย 1. เพื่อสำารวจสภาวะธุรกิจประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุ 2.
3.
4.
5. 6. 7.
ก่อสร้าง ในปัจจุบัน เพื่อสำารวจโครงสร้าง การจัดการที่เปลี่ยนแปลงไปของธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง อันเนื่องมาจากสภาพแวดล้อมที่ เปลี่ยนแปลงไป เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ของธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ดังกล่าว ในประเทศไทย เพื่อศึกษาสภาพการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ (Cluster) ของธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ในประเทศไทย ทัง้ ในแนวดิ่งและแนวนอน เพื่อศึกษาปัญหาและอุปสรรค ของร้านค้าปลีกประเภท ร้านขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์ จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง ดังกล่าวในปัจจุบัน เพื่อสำารวจความต้องการพัฒนาตนเอง ของธุรกิจค้าปลีกประเภทร้านขายยา ร้านค้า ผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง เหล่านี้ เพื่อสำารวจความต้องการที่จะให้ภาครัฐเข้าไปสนับสนุน ในธุรกิจค้าปลีกประเภท ร้าน ขายยา ร้านค้าผลิตภัณฑ์จากสมุนไพรและร้านค้าวัสดุก่อสร้าง
5
ตัวแปรอิสระ
ตัวแปรตาม
ชนิดร้านค้าปลีก
สภาวะธุรกิจ
ข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้ประกอบการ ประเภทกิจการ
ด้านปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่หลัก ในการบริหารธุรกิจ ได้แก่ การตลาด การผลิต การเงิน การบริหารงาน บุคคล การดำาเนินงานทั่วไป จุดอ่อน จุดแข็ง โอกาส และภัยคุกคาม
ขนาดกิจการ พื้นที่ทางภูมิศาสตร์
สภาพการรวมกลุ่มและเชื่อมโยง ระหว่างธุรกิจ ปัญหาและอุปสรรค ความต้องการพัฒนาตนเอง การสนับสนุนของรัฐ
ภาพที่ 1:
กรอบแนวคิดในการวิจัย
6
ขอบเขตการวิจัย 1. ขอบเขตด้านประชากร ประชากรในการศึกษาเป็นการนำาร่องครั้งนี้คือธุรกิจค้าปลีก ประเภทร้านขายยา ร้านจำาหน่ายวัสดุก่อสร้าง และร้านจำาหน่ายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ในประเทศไทยโดยเลือกสุ่มเป็น จังหวัดในแต่ละภาค
2. ขอบเขตด้านเนื้อหา
Value Chain Analysis Support Activities
Firm Infrastructure Human Resource Management Technology Development Procurement Inbound Operations Outbound Marketing Service Logistics Logistics and Sales
Profit Margin
Primary Activities
ภาพที่ 2: ห่วงโซ่คุณค่า ขอบเขตด้านเนื้อหา ผู้วิจัยจะทำาการศึกษาตามกรอบแนวคิดเรื่องห่วงโซ่คุณค่าของธุรกิจดังภาพ ข้างต้น ซึ่งจะเน้นใน 2 กิจกรรม กิจกรรมแรกคือ กิจกรรมหลัก ซึ่งประกอบด้วย 1) การจัดหาวัตถุดิบเข้ามายังธุรกิจ (Inbound Logistics) 2) การดำาเนินงาน เช่นการจัดสินค้า การจำาแนกสินค้า เป็นต้น 3) การจัดส่งสินค้าไปยังลูกค้า (Outbound Logistics) 4) การ ตลาดและการขาย 5) การบริการ กิจกรรมที่ 2 คือกิจกรรมสนับสนุน ประกอบด้วย 1) โครงสร้างพื้นฐาน 2) การจัดการ บุคลากร 3) การใช้และพัฒนาเทคโนโลยี 4) การจัดซื้อ
7
2.1 ด้านปัจจัยพื้นฐานเกี่ยวกับหน้าที่หลักในการบริหารธุรกิจได้แก่ การตลาด การผลิต การเงิน การบริหารงานบุคคล การดำาเนินงานทั่วไป 2.2 ปัญหาและอุปสรรคของธุรกิจค้าปลีก ในปัจจุบัน โดยศึกษาตัวแปรดังภาพต่อไปนี้ Societal Environment Economic Sociocultural Task Environment Forces Forces (Industry) Suppliers Shareholders Internal Creditors Special Environment Interest Structure Customers Groups Culture Resources Competitors Communities Employees / Governments Labor Unions Trade Associations Technological Political - Legal Forces Forces
ภาพที่ 3: สภาพแวดล้อมธุรกิจ 2.3 ความต้องการพัฒนาตนเองในอนาคตของธุรกิจค้าปลีก 2.4 ความต้องการให้ภาครัฐเข้าไปช่วยเหลือ
8
3. ขอบเขตด้านเวลา การศึกษาครั้งนี้ใช้เวลา 6 เดือน นับตั้งแต่เดือนกันยายน 2546 – กุมภาพันธ์ 2547 ผลที่คาดว่าจะได้รับ 1. ธุรกิจค้าปลีกกลุ่มเป้าหมายจะได้แนวทางปรับปรุงประสิทธิภาพในการประกอบธุรกิจของ ธุรกิจค้าปลีกข้างต้นอย่างถูกทิศทาง 2. สามารถเสนอแนะแนวนโยบายในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีก เป้าหมายให้กับภาครัฐอย่างเป็นรูป ธรรม 3. จะได้แนวทางกำาหนดยุทธ์ศาสตร์และมาตรการทั้งในเชิงรุกและเชิงรับ ในการส่งเสริมการ ดำาเนินธุรกิจได้อย่างมั่นคงและตรงกับสภาพปัญหาที่แท้จริง 4. เพื่อหาแนวทางที่จะร่วมมือกันระหว่างภาครัฐและภาคเอกชนในการพัฒนาธุรกิจค้าปลีกของ ไทยให้ยั่งยืน ในทิศทางที่เติบโต
นิยามศัพท์เชิงปฏิบัติการ ธุรกิจร้านค้าปลีกยา ธุรกิจร้านค้าปลีกวัสดุก่อสร้าง แบบดั้งเดิม
หมายถึง
ร้านขายยาแผนปัจจุบันของไทยรูปแบบ ดั้งเดิมทีไ่ ม่ได้อยู่ในบริเวณห้างสรรพสินค้า หมายถึง ร้านค้าวัสดุก่อสร้างของไทย รูป
ที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณ ห้างสรรพสินค้า ธุรกิจร้านค้าปลีกผลิตภัณฑ์สมุนไพร หมายถึง ร้านค้าหรือแผงหรือบู๊ธ ซึ่งขาย ผลิตภัณฑ์ แปรรูปสมุนไพรไทยที่ไม่ได้อยู่ในบริเวณ ห้างสรรพสินค้า
9
ประชากร ประชากรทีศ่ ึกษาในที่นี้คือ ผูป้ ระกอบการร้านค้าปลีกแบบดั้งเดิมในธุรกิจร้านขาย ยา ธุรกิจขายวัสดุก่อสร้างและธุรกิจขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรในประเทศไทย โดยสุ่มตัวอย่างเป็น จังหวัดทุกภาค การกำาหนดกลุ่มตัวอย่างและขนาดตัวอย่าง การเลือกตัวอย่างในการศึกษาครั้งนี้จะกำาหนดในพื้นที่เป้าหมาย 5 ภาคใน ประเทศไทยและกรุงเทพมหานครและกำาหนดขนาดตัวอย่างจำานวน 750 ตัวอย่าง ดังนี้ ภาค เหนือ
จังหวัด 1. เชียงใหม่ 2. พิษณุโลก
ขนาดตัวอย่าง รวม 150 ราย
ใต้
1. สงขลา 2. สุราษฏร์ธานี
รวม 150 ราย
ตะวันออกเฉียงเหนือ
1. อุดรธานี 2. นครราชสีมา
รวม 150 ราย
กลางและตะวันออก
1. ชลบุรี 2. อยุธยา
รวม 150 ราย
กรุงเทพและปริมณฑล ทั้งหมด
รวม 200 ราย รวม 800 ราย
10
ตัวแปรที่ศึกษา ตัวแปรอิสระ ได้แก่ ข้อมูลการประกอบการ มีดังนี้ 1. ชนิดของร้านค้าปลีก 2. ข้อมูลส่วนบุคคลของผู้ประกอบการ 3. ประเภทกิจการ 4. ขนาดกิจการ 5. พื้นที่ทางภูมิศาสตร์ ตัวแปรตาม 1. สภาวะธุรกิจและแนวโน้มของธุรกิจค้าปลีกข้างต้น 2. ระดับการปรับตัวและพัฒนาจำาแนกตามปัจจัยต่างๆ 3. จุดอ่อน และจุดแข็งของธุรกิจ 4. โอกาส และภัยคุกคามของธุรกิจ 5. ระดับปัญหาและอุปสรรค 6. สภาพการรวมกลุ่มและเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจ 7. ความต้องการพัฒนาตนเอง 8. ความต้องการช่วยเหลือจากรัฐบาล
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ผู้วิจัยได้สร้างเครื่องมือเพื่อใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถาม เพื่อให้สามารถ นำาผลการวิเคราะห์ไปใช้ตอบวัตถุประสงค์การวิจัยที่ตั้งไว้ โดยออกแบบเครื่องมือให้ครอบคลุม ตัวแปรอิสระและตัวแปรตามดังเสนอข้างต้น ในการออกแบบเครื่องมือ ผู้วิจัยได้ออกแบบไว้ 3 ประเภทคือ 1. แบบให้เลือกตอบ (Check list) 2. แบบแสดงระดับความคิดเห็นเป็น Rating scales 3. แบบคำาถามปลายเปิด หมายเหตุ (ตัวอย่างแบบสอบถามให้ดู ภาคผนวก)
11
การเก็บรวบรวมข้อมูล คณะผู้วิจัยจัดแบ่งทีมงาน เพื่อแบ่งงานกันตามพื้นที่ ๆ ได้กำาหนดไว้ในตัวอย่าง เพื่อสำารวจ ข้อมูลผู้ประกอบการ โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือและอาศัยข้อมูลทุติยภูมิเป็นแผนที่ชี้ทิศทาง สถานที่ประกอบการในจังหวัดต่าง ๆ
การวิเคราะห์ข้อมูล 1. ใช้สถิติเชิงพรรณนากับการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงพรรณนา โดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าความถี่ 2. ใช้สถิติเชิงอนุมานกับการทดสอบสมมติฐานได้แก่ ค่า F-test สำาหรับทดสอบค่าความแตกต่าง ระหว่างธุรกิจ 3 กลุ่ม ณ ระดับนัยสำาคัญ .05
12
ผลการศึกษา การศึกษาวิจัยเรื่อง “โครงการค้าปลีกเพื่อการพัฒนา” ในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิง สำารวจและเน้นสำารวจในสามธุรกิจ ธุรกิจค้าปลีกสำาคัญ คือ ร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านขาย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร และ ร้านขายยา โดยสำารวจครอบคลุมทุกภาค ใช้ตัวอย่างทั้งหมด 800 ตัวอย่าง ซึ่งจำาแนกได้ดังนี้ กรุงเทพและปริมณฑลมี 200 ตัวอย่าง ภาคกลางและภาคตะวันออกมี 150 ตัวอย่าง ภาคใต้มี 150 ตัวอย่าง ภาคเหนือมี 150 ตัวอย่าง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี 150 ตัวอย่าง ตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้จำาแนกเป็นร้านขายวัสดุก่อสร้าง 304 ร้านค้า(คิดเป็นร้อยละ 38.00) ร้านขายยา 312 ร้านค้า (คิดเป็นร้อยละ 39.00) และร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร 184 ร้าน (คิดเป็นร้อยละ 23.00 ) ผลการศึกษาที่ค้นพบจำาแนกตามประเภทธุรกิจ ร้านขายวัสดุก่อสร้าง ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุในช่วง 36-55 ปี การศึกษาอยู่ในระดับ มัธยม และปริญญาตรีจำานวนใกล้เคียงกัน มีขนาดของร้านค้า 2 คูหา มากที่สุด และส่วนใหญ่อยู่ ติดถนนใหญ่ ลักษณะไม่มีแอร์ เปิดโล่ง เปิดดำาเนินการเป็นเวลา 9-12 ชัว่ โมงต่อวัน มีลูกจ้าง ประมาณ 1-3 คน เปิดดำาเนินการมาแล้วนานกว่า 10 ปี สภาวะธุรกิจของร้านขายวัสดุก่อสร้าง ยอดขาย การเปลี่ยนแปลงของยอดขายในรอบ 3 ปีที่ผา่ นมา มีทั้งเพิ่มขึ้น (49.01%) คงเดิม ( 26.32%) และลดลง( 24.67%) ส่วนใหญ่ยอดขายจะเพิ่มขึ้นแต่สว่ นมากเพิ่มไม่เกิน 5 %มี ยอดขายต่อวันที่มากกว่า 9,000 บาท มากที่สุด รองลงมาคือ 3,001 – 5,000 บาท ต่อวัน กำาไร การเปลี่ยนแปลงของกำาไรในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีทั้งเพิ่มขึ้น (45.07%) คงเดิม (27.63%) และลดลง (27.30%) ส่วนใหญ่กำาไรจะเพิ่มขึ้น แต่ส่วนมากเพิ่มไม่เกิน 5% เช่น เดียวกันกับยอดขาย สินทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์มีทั้งเพิ่มขึ้น คงเดิมและลดลง ส่วนใหญ่จะ คงเดิม
13
โครงสร้างทางการจัดการของร้านขายวัสดุก่อสร้าง โครงสร้างทางการจัดการของร้านขายวัสดุก่อสร้างส่วนใหญ่จะมีลักษณะเจ้าของคนเดียว หน้าที่หลักทางธุรกิจ ( Business functions) ทีส่ ำาคัญมากที่สุดคือ หน้าที่ทางด้านการ เงิน รองลงมาคือการบริหารงานบุคคล และการตลาดตามลำาดับ ส่วนหน้าที่ทางด้านการผลิตมี น้อยที่สุด ในการจัดการร้านค้า ส่วนใหญ่เจ้าของทำาการบริหารงานเอง การถูกกระทบจาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านค้าวัสดุก่อสร้างจะถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมโดยเฉลี่ยภาพรวมในระดับ ปานกลาง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบธุรกิจเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ 1. ด้านต้นทุนการซื้อสินค้าเข้าร้าน (กระทบมาก) 2. ด้านการตลาด 3. ด้านความหลากหลายของสินค้าในท้องตลาด 4. ด้านความทันสมัยของร้านค้าที่สู้ร้านค้าสมัยใหม่ไม่ได้ 5. ด้านสายป่านเงินทุนที่ยาวกว่าของคู่แข่ง 6. ด้านการนำาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการบริหารร้านค้า 7. ด้านความสะดวกของทำาเลที่ตั้ง 8. ด้านความเป็นมืออาชีพ 9. ด้านการยึดครองใจผู้บริโภค 10. ด้านภาพลักษณ์ การปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ระดับการปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการของร้านวัสดุก่อสร้างอันเนื่องมาจากสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้านวัสดุก่อสร้างมีระดับการปรับตัวและพัฒนาในด้านต่างๆ เรียงตามลำาดับจากมากไป หาน้อยมีดังนี้คือ 1. การปรับตัวทางด้านการบริหารเงิน 2. การปรับตัวทางด้านการบริหารตลาด 3. การปรับตัวทางด้านการบริหารงานบุคคล 4. การปรับตัวทางด้านการจัดการข้อมูลข่าวสาร
14
การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของร้านวัสดุก่อสร้าง การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า จุดแข็ง ของร้านวัสดุก่อสร้างเรียงตามลำาดับจากมากไปหา น้อยมีดังนี้คือ 1. การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า 2. ร้านค้าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในละแวกนั้น 3. การจัดซื้อ 4. การมีสิ่งอำานวยความสะดวก / อุปกรณ์ในร้าน 5. การขนส่ง 6. การสั่งงานภายในร้าน 7. การเงิน 8. คุณภาพของพนักงาน 9. ความเป็นระบบของงาน 10. การบริหารต้นทุน 11. การจัดการสต๊อกสินค้า 12. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของตนเอง จากคำาถามปลายเปิดยังพบจุดแข็งอีกเรื่องหนึ่งคือ การมีสัมพันธภาพที่ดีกับผู้รับ เหมา จุดอ่อน ของร้านขายวัสดุก่อสร้าง เรียงตามลำาดับมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. ด้านการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต 2. ด้านการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ 3. ด้านวิธีการบริหารสมัยใหม่ อย่างไรก็ตามผลการวิเคราะห์ว่า จุดแข็งและจุดอ่อนของร้านค้าวัสดุก่อสร้างที่นำาเสนอ อยู่ในระดับน้อย การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของร้านวัสดุก่อสร้าง จากการวิเคราะห์ร้านค้าปลีกประเภทขายวัสดุก่อสร้างในภาพรวมจะพบปัจจัยที่เป็น อุปสรรค (ภัยคุกคาม) มากกว่าปัจจัยที่เป็นโอกาส ดังมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ โอกาส ร้านขายวัสดุก่อสร้างมีผลกระทบจากปัจจัยที่เป็นโอกาสเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อย มีดังนี้คือ 1. มีชุมชนละแวกใกล้เคียง
15
2. การสนับสนุนจากรัฐบาล 3. สมาคมการค้าปลีก/ชมรม ให้ความช่วยเหลือ อุปสรรค (ภัยคุกคาม) ร้านขายวัสดุก่อสร้างมีผลกระทบจากปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือภัยคุกคาม อยู่หลายปัจจัยเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ 1. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกสมัยใหม่ 2. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกดั้งเดิม 3. อุปสรรคจากลุ่มพ่อค้าคนกลาง 4. อุปสรรคจากกฎหมาย / กฎเกณฑ์ของรัฐบาล 5. อุปสรรคจากภาวะการเมืองของไทย 6. อุปสรรคจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 7. อุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 8. อุปสรรคจากเจ้าหนี้ / สถาบันการเงิน 9. อุปสรรคจากสภาพสังคมและค่านิยม 10. อุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค จากการศึกษาโดยภาพรวมของโอกาส อยู่ในระดับน้อยในขณะที่ภาพรวมของ อุปสรรคอยู่ในระดับปานกลาง สภาพการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจของร้านขายวัสดุก่อสร้าง ร้านขายวัสดุก่อสร้างมีระดับการเชื่อมโยงหรือการรวมกลุ่มกันในระดับปานกลางมีดังนี้คือ 1. มีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิต 2. มีการเชื่อมโยงกับแหล่งวัตถุดิบ 3. มีการเชื่อมโยงกับกิจการอื่น 4. มีการรวมกลุ่มกับผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกัน กิจการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับร้านวัสดุก่อสร้าง (จากคำาถามปลายเปิด) เรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ 1. บริษัทรับเหมา / ผู้รับเหมา 2. หมู่บ้านจัดสรร 3. โรงงานผลิตวัสดุก่อสร้าง 4. ร้านค้าเหล็กต่าง ๆ 5. กิจการค้าไม้แปรรูป 6. ร้านค้าส่ง 7. ผู้ขาย ปูน หิน ทราย
16
8. การประมูลงาน โครงการต่าง ๆ ของราชการ เช่น โครงการบ้านพัก 9. ช่างประเภทต่าง ๆ เช่น เฟอร์นิเจอร์ เหล็กดัด ไฟฟ้า 10. ผู้ผลิตกระเบื้องสุขภัณฑ์ 11. ส่วนราชการ 12. ผู้ผลิตคอนกรีต 13. โรงงานผลิตเม็ดพลาสติก 14. กิจการไฟฟ้า 15. ร้านวัสดุก่อสร้างด้วยกัน 16. สมาคมผู้รับเหมา 17. โครงการรับเหมาก่อสร้างอาคารพาณิชย์ 18. ผู้ขายท่อ PVC 19. ผู้ขายสี 20. ร้านขายเฟอร์นิเจอร์ 21. ผู้ผลิตกันสาด 22. ผู้ผลิตเหล็กดัด 23. ผู้ตกแต่งภายใน 24. ร้านทำาโครงเหล็ก 25. บริษัทขนส่ง 26. ผู้ผลิตสุขภัณฑ์ในห้องนำ้า 27. โครงการต่าง ๆ 28. การแลกซื้อสินค้า ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายวัสดุก่อสร้าง ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายวัสดุก่อสร้างเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. ต้นทุนสินค้าที่สูง 2. ความทันสมัย / เทคโนโลยี 3. การโฆษณา / ประชาสัมพันธ์ 4. เงินทุน 5. ความหลากหลายของสินค้า 6. ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินค้าของผู้บริโภคสมัยใหม่ 7. การจัดวางสินค้า 8. ความรู้เรื่องการตลาดค้าปลีกยังมีน้อย
17
9. การบริการลูกค้า จากคำาถามปลายเปิดยังพบอีกว่าอุปสรรคของร้านขายวัสดุก่อสร้างยังมีอีกคือ 1. วัตถุดิบขึ้นราคา 2. ค่าขนส่งขึ้นราคา 3. เศรษฐกิจ / กำาลังซื้อของลูกค้าขึ้นอยู่กับผลผลิตของชาวบ้าน ทำาให้กลายเป็นสินค้า ตามฤดูกาลตามไปด้วย โดยเฉพาะในเขตต่างจังหวัด 4. คู่แข่งมีมากขึ้น 5. มีการขายตัดราคา 6. การเสียภาษีร้านค้าสูง 7. กระแสสังคมที่คนนิยมกู้เงินซื้อมอเตอร์ไซด์และมือถือมากกว่าซ่อมบ้านปลูกบ้าน 8. ร้านใหญ่ตามโฮมโปรมีของแถมชิ้นใหญ่ เช่น เฟอร์นิเจอร์ 9. การติดตั้งไฟจราจรทำาให้รถไม่สามารถเข้าถึงร้านได้ ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายวัสดุก่อสร้าง ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายวัสดุก่อสร้างเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยมี ดังนี้ คือ 1. เสริมความรู้ทางด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 2. เสริมความรู้ทางด้านการตลาดค้าปลีก 3. เสริมความรู้ทางด้านการจัดการการเงิน 4. เสริมความรู้ทางด้านการบริการ ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือของร้านขายวัสดุก่อสร้างเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยมี ดังนี้คือ 1. ให้รัฐช่วยสร้างแรงสนับสนุนทางกระแสสังคมให้หันมาสนับสนุนร้านค้าปลีกไทย 2. ให้รัฐส่งเสริมด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ ให้แก่ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 3. จัดอบรมด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 4. ช่วยเหลือด้านเงินทุน 5. จัดอบรมด้านการตลาดค้าปลีก 6. จัดอบรมด้านการเงิน 7. จัดอบรมด้านการบริการ
18
ผลการศึกษา ร้านขายยา ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศชาย อายุอยู่ในช่วง 36-45 ปี มากที่สุด การศึกษา ส่วนใหญ่อยู่ในระดับปริญญาตรี มีขนาดของร้านค้า 1 คูหา / แผง มากที่สุด และส่วนใหญ่อยู่ติด ถนนใหญ่ ลักษณะไม่มีแอร์ เปิดโล่ง เปิดดำาเนินการเป็นเวลา 9-12 ชั่วโมงต่อวัน ไม่มีลูกจ้าง ส่วนใหญ่เปิดดำาเนินการมาเป็นระยะเวลามากกว่า 10 ปี สภาวะธุรกิจของร้านขายยา ยอดขาย การเปลี่ยนแปลงของยอดขายในรอบ 3 ปีที่ผา่ นมา ส่วนมากยอดขายจะลด ลงแต่สว่ นมากลดลงไม่เกิน 5 % มียอดขายต่อวันที่ประมาณ 1,001 - 3,000 บาท มากที่สุด รอง ลงมาคือ 3,001 - 5,000 บาท ต่อวัน กำาไร การเปลี่ยนแปลงของกำาไรในรอบ 3 ปีที่ผ่านมา ส่วนใหญ่กำาไรจะลดลง แต่ส่วน มากลดลงไม่เกิน 5% เช่นเดียวกันกับยอดขาย สินทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์ ส่วนใหญ่จะคงเดิม โครงสร้างทางการจัดการของร้านขายยา โครงสร้างทางการจัดการของร้านขายยาส่วนใหญ่จะมีลักษณะเจ้าของคนเดียว หน้าที่หลักทางธุรกิจ ( Business functions) ที่มีมากที่สุดคือ หน้าที่ทางด้านการเงิน รองลงมาคือการตลาด และการบริหารงานบุคคล ตามลำาดับ ส่วนหน้าที่ทางด้านการผลิตมีน้อย ที่สุดสำาหรับเรื่องการจัดการร้านค้าส่วนใหญ่เจ้าของทำาการบริหารงานเอง การถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของร้านขายยา ร้านขายยาจะถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมโดยเฉลี่ยภาพรวมในระดับ ปานกลาง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบธุรกิจเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ 1. ด้านต้นทุนการซื้อสินค้าเข้าร้าน (กระทบมาก) 2. ด้านการตลาด 3. ด้านความหลากหลายของสินค้าในท้องตลาด 4. ด้านความทันสมัยของร้านค้าที่สู้ร้านค้าสมัยใหม่ไม่ได้ 5. ด้านสายป่านเงินทุนที่ยาวกว่าของคู่แข่ง 6. ด้านความสะดวกของทำาเลที่ตั้ง 7. ด้านการยึดครองใจผู้บริโภค 8. ด้านความเป็นมืออาชีพ 9. ด้านภาพลักษณ์ 10. ด้านการนำาระบบเทคโนโลยีที่ทันสมัยมาช่วยในการบริหารร้านค้า
19
การปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ระดับการปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการของร้านขายยาอันเนื่องมาจากสภาพ แวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้านขายยามีระดับการปรับตัวและพัฒนาในด้านต่างๆ เรียงตามลำาดับจากมากไปหา น้อยมีดังนี้คือ 1. การปรับตัวทางด้านการบริหารเงิน 2. การปรับตัวทางด้านการบริหารตลาด 3. การปรับตัวทางด้านการจัดการข้อมูลข่าวสาร 4. การดำาเนินงานทั่วไป 5. การปรับตัวทางด้านการบริหารงานบุคคล การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของร้านขายยา การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า จุดแข็ง ของร้านขายยาโดยภาพรวมเรียงตามลำาดับจากมาก ไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า 2. ร้านค้าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในละแวกนั้น 3. การจัดซื้อ 4. การมีสิ่งอำานวยความสะดวก / อุปกรณ์ในร้าน 5. การสั่งงานภายในร้าน 6. คุณภาพของพนักงาน 7. ความเป็นระบบของงาน 8. การเงิน 9. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของตนเอง 10. การขนส่ง 11. การบริหารต้นทุน 12. การจัดการสต๊อกสินค้า จุดอ่อน ของร้านขายยาโดยภาพรวม เรียงตามลำาดับมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. ด้านการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต 2. ด้านการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ 3. ด้านวิธีการบริหารสมัยใหม่ จากการศึกษาพบว่าจุดแข็งและจุดอ่อนดังกล่าวอยู่ในระดับน้อย
20
การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของร้านขายยา จากการวิเคราะห์ร้านค้าปลีกประเภทขายยาในภาพรวมจะพบปัจจัยที่เป็นอุปสรรค (ภัยคุกคาม) มากกว่าปัจจัยที่เป็นโอกาส ดังมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ โอกาส โดยภาพรวมร้ายขายยามีผลกระทบจากปัจจัยที่เป็นโอกาสในระดับน้อย ซึ่งปัจจัยที่เป็น โอกาสของร้านขายยาเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. โอกาสจากชุมชนละแวกใกล้เคียง 2. โอกาสจากสมาคมการค้าปลีก/ชมรม 3. โอกาสจากการสนับสนุนของรัฐบาล อุปสรรค (ภัยคุกคาม) โดยภาพรวมร้านขายยามีผลกระทบจากปัจจัยที่เป็นอุปสรรคหรือภัย คุกคามอยู่หลายปัจจัยเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ 1. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกสมัยใหม่ 2. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกดั้งเดิม 3. อุปสรรคจากกฎหมาย / กฎเกณฑ์ของรัฐบาล 4. อุปสรรคจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 5. อุปสรรคจากลุ่มพ่อค้าคนกลาง 6. อุปสรรคจากภาวะการเมืองของไทย 7. อุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี 8. อุปสรรคจากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค 9. อุปสรรคจากเจ้าหนี้ / สถาบันการเงิน 10. อุปสรรคจากสภาพสังคมและค่านิยม โดยระดับของอุปสรรคอยู่ในระดับปานกลางถึงน้อย สภาพการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจของร้านขายยา ร้านขายยามีระดับการเชื่อมโยงหรือการรวมกลุ่มกันในระดับน้อยโดยภาพรวมและ เรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้ 1. มีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิต 2. มีการรวมกลุ่มกับผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกัน 1 3. มีการเชื่อมโยงกับแหล่งวัตถุดิบ 4. มีการเชื่อมโยงกับกิจการอื่น
21
กิจการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับร้านขายยา กิจการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับร้านขายยาเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้คือ 1. บริษัทขายยา ผลิตยา 2. ร้านขายยาด้วยกัน 3. คลินิก โรงพยาบาล 4. ร้านค้าปลีกทั่วๆ ไป 5. ธุรกิจอาหารเสริม 6. ผู้ผลิตวัตถุดิบ 7. ร้านค้าส่ง 8. ร้านขายยาสมุนไพร 9. ร้านขายยาส่ง 10. ส่วนราชการ 11. การอบรมผู้ประกอบการเพื่อต่อรองราคา 12. สถานพยาบาลในโครงการ 30 บาท รักษาทุกโรค 13. บริษัทตัวแทนขายสินค้า 14. สปา ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายยา ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายยาเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. ต้นทุนสินค้าที่สูง 2. ความหลากหลายของสินค้า 3. ความทันสมัย/เทคโนโลยี 4. เงินทุน 5. การโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ 6. ความรู้เรื่องการตลาดค้าปลีกยังมีน้อย 7. ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินค้าของผู้บริโภคสมัยใหม่กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 8. การจัดวางสินค้า 9. การบริการลูกค้า
22
ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายยา ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายยาเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ คือ 1. เสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 2. เสริมความรู้ด้านการตลาดค้าปลีก 3. เสริมความรู้ด้านการจัดการการเงิน 4. เสริมความรู้ด้านการบริการ ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือของร้านขายยาเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. ให้รัฐช่วยสร้างแรงสนับสนุนทางกระแสสังคมให้หันมาสนับสนุนร้านค้าปลีกไทย 2. ให้รัฐส่งเสริมด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 3. จัดอบรมด้านการตลาดค้าปลีก 4. จัดอบรมด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 5. เงินทุน 6. จัดอบรมด้านการเงิน 7. จัดอบรมด้านการบริการ
23
ผลการศึกษา ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้ตอบแบบสอบถามส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุอยู่ในช่วง 26-35 ปี มากที่สดุ รองลงมาคือ อายุ 36-45 ปี การศึกษาอยู่ในระดับปริญญาตรี มีขนาดของร้านค้า 1 คูหา / แผง มากที่สุด และ ส่วนใหญ่อยู่ติดถนนใหญ่ ใกล้ตลาด ลักษณะไม่มีแอร์ เปิดโล่ง เปิดดำาเนินการ 9-12 ชั่วโมงต่อ วัน มีลูกจ้างประมาณ 1-3 คน และไม่มีลูกจ้างพอ ๆ กัน เปิดดำาเนินการมาเป็นระยะเวลาไม่ เกิน 3 ปี รองลงมาคือ 4-6 ปี สภาวะธุรกิจของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ยอดขาย การเปลี่ยนแปลงของยอดขายในรอบ 3 ปีที่ผา่ นมา มีทั้งเพิ่มขึ้น (49.45%) คงเดิม ( 26.09%) และลดลง( 24.46%) ส่วนใหญ่ยอดขายจะเพิ่มขึ้นแต่สว่ นมากเพิ่มไม่เกิน 5 % ยอดขายต่อวันที่ประมาณ 1,001 - 3,000 บาท มากที่สุด รองลงมาไม่เกิน 1,000 บาท ต่อวัน กำาไร การเปลี่ยนแปลงของกำาไรในรอบ 3 ปีที่ผ่านมามีทั้งเพิ่มขึ้น (45.65%) คงเดิม (26.63%) และลดลง (27.72%) ส่วนใหญ่กำาไรจะเพิ่มขึ้น แต่ส่วนมากเพิ่มไม่เกิน 5% เช่น เดียวกันกับยอดขาย สินทรัพย์ การเปลี่ยนแปลงในสินทรัพย์มีทั้งเพิ่มขึ้น คงเดิมและลดลง ส่วนใหญ่จะ คงเดิม โครงสร้างทางการจัดการของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ส่วนใหญ่เป็นเจ้าของคนเดียว หน้าที่หลักทางธุรกิจ ( Business functions) ทีม่ ีมากที่สุดคือ หน้าที่ทางด้านการเงิน รองลงมาคือการบริหารการตลาด และการผลิต ตลอดจนการบริหารบุคคลตามลำาดับ ในการจัดการร้านค้า ส่วนใหญ่เจ้าของทำาการบริหารงานเอง การถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปในปัจจุบันของร้านขาย ผลิตภัณฑ์สมุนไพร ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรจะถูกกระทบจากสภาพแวดล้อมในระดับ ปานกลาง โดยมีปัจจัยต่าง ๆ ที่กระทบธุรกิจเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยดังนี้ คือ 1. ด้านการตลาด 2. ด้านต้นทุนการซื้อสินค้าเข้าร้าน 3. ด้านความหลากหลายของสินค้าในท้องตลาด 4. ด้านความทันสมัยของร้านค้าที่สู้ร้านค้าสมัยใหม่ไม่ได้ 5. ด้านเงินทุน 6. ด้านเทคโนโลยี 7. ด้านความสะดวกของทำาเลที่ตั้ง
24
8. ด้านความเป็นมืออาชีพ 9. ด้านภาพลักษณ์ 10. ด้านการยึดครองใจผู้บริโภค การปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการเนื่องจากสภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไป ระดับการปรับตัวและพัฒนาทางการจัดการของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรอันเนื่องมาจาก สภาพแวดล้อมที่เปลี่ยนแปลงไปโดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีระดับการปรับตัวและพัฒนาในด้านต่างๆ เรียงตามลำาดับ จากมากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. การปรับตัวทางด้านการบริหารตลาด 2. การปรับตัวทางด้านการบริหารเงิน 3. การปรับตัวทางด้านการจัดการข้อมูลข่าวสาร 4. การดำาเนินงานทั่วไป 5. การปรับตัวทางด้านการบริหารงานบุคคล การวิเคราะห์จุดแข็งและจุดอ่อนของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร การศึกษาวิจัยครั้งนี้พบว่า จุดแข็ง ของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเรียงตามลำาดับจาก มากไปหาน้อยมีดังนี้คือ 1. การดูแลเอาใจใส่ลูกค้าที่มาซื้อสินค้า 2. ร้านค้าเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลายในละแวกนั้น 3. คุณภาพของพนักงาน 4. การมีสิ่งอำานวยความสะดวก / อุปกรณ์ในร้าน 5. ความเป็นระบบของงาน 6. การจัดซื้อ 7. การสั่งงานภายในร้าน 8. การยอมรับการเปลี่ยนแปลงในธุรกิจของตนเอง 9. การเงิน 10. การจัดการสต๊อกสินค้า 11. การบริหารต้นทุน 12. การขนส่ง
25
จุดอ่อน ของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรโดยภาพรวมจัดอยู่ในระดับน้อย เรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ 1. ด้านการใช้ประโยชน์จากอินเตอร์เน็ต 2. ด้านการใช้เทคโนโลยีและคอมพิวเตอร์ 3. ด้านวิธีการบริหารสมัยใหม่ การวิเคราะห์โอกาสและอุปสรรคของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร จากการวิเคราะห์ร้านค้าปลีกประเภทขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรในภาพรวมจะพบปัจจัยที่ เป็นอุปสรรค (ภัยคุกคาม) มากกว่าปัจจัยที่เป็นโอกาส ดังมีรายละเอียดสรุปได้ดังนี้ โอกาส ปัจจัยที่เป็นโอกาสของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ คือ 1. โอกาสจากชุมชนละแวกใกล้เคียง 2. โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค 3. โอกาสจากการสนับสนุนของรัฐบาล 4. โอกาสจากสภาพสังคมและค่านิยม 5. โอกาสจากสมาคมการค้าปลีก/ชมรม 6. โอกาสจากการเปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยี อุปสรรค (ภัยคุกคาม) โดยภาพรวมร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีผลกระทบจากปัจจัยที่เป็น อุปสรรคหรือภัยคุกคามอยู่หลายปัจจัยแต่อยู่ในระดับน้อยและปานกลาง อุปสรรคของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร เรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยได้ดังนี้คือ 1. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกสมัยใหม่ 2. อุปสรรคจากคู่แข่งค้าปลีกดั้งเดิม 3. อุปสรรคจากลุ่มพ่อค้าคนกลาง 4. อุปสรรคจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบัน 5. อุปสรรคจากเจ้าหนี้ / สถาบันการเงิน 6. อุปสรรคจากกฎหมาย / กฎเกณฑ์ของรัฐบาล 7. อุปสรรคจากภาวะการเมืองของไทย
26
สภาพการรวมกลุ่มและการเชื่อมโยงระหว่างธุรกิจของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรมีระดับการเชื่อมโยงหรือการรวมกลุ่มกันในระดับปานกลางมี ดังนี้คือ 1. มีการเชื่อมโยงกับแหล่งวัตถุดิบ 2. มีการเชื่อมโยงกับผู้ผลิต 3. มีการรวมกลุ่มกับผู้ขายสินค้าประเภทเดียวกัน 4. มีการเชื่อมโยงกับกิจการอื่น กิจการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร กิจการอื่น ๆ ที่เชื่อมโยงกับร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเรียงตามลำาดับจากมากไปหาน้อย ดังนี้คือ 1. ร้านเสริมสวย เสริมความงาม 2. ผู้ผลิตวัตถุดิบ 3. กลุ่มร้านสมุนไพร 4. ร้านค้าปลีกทั่วๆ ไป 5. ผู้ผลิตสินค้าด้านการเกษตรเช่น ผัก ผลไม้สด 6. นวดแผนไทย 7. บริษัทขายยา ผลิตยา 8. ธุรกิจอาหารเสริม 9. ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร 10. ธุรกิจหนังสือพิมพ์ 11. คลินิก โรงพยาบาล 12. แหล่งปลูกสมุนไพรของตนเอง 13. MLM 14. ศูนย์เมืองทอง 15. ธกส. 16. สหกรณ์ในโรงพยาบาล 17. สถานออกกำาลังกาย (ฟิตเนต) 18. สมาคมร้านยา 19. ผู้ผลิตเครื่องดื่มชาเขียว 20. ผู้ผลิตสมุนไพร 21. ผู้ผลิตไวน์ผลไม้ ไวน์สมุนไพร
27
22. การจ้างอาจารย์ไปสอนพิเศษตามสถาบัน 23. การบริการนวด 24. การออกร้าน 1 ตำาบล 1 ผลิตภัณฑ์ 25. ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรแผนปัจจุบัน 26. ร้านอาหาร
ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ปัญหาและอุปสรรคของร้านขายผลิตภัณฑ์สมนุไพรเรียงลำาดับจากมากไปหาน้อยมีดังนี้ คือ 1.ต้นทุนสินค้าที่สูง 2. การโฆษณา/ประชาสัมพันธ์ 3. ความหลากหลายของสินค้า 4. เงินทุน 5. ความทันสมัย/เทคโนโลยี 6 6. ความรู้เรื่องการตลาดค้าปลีกยังมีน้อย 7 7. ความเชื่อมั่นต่อคุณภาพสินค้าของผู้บริโภคสมัยใหม่กับร้านค้าปลีกสมัยใหม่ 8. การจัดวางสินค้า 9. การบริการลูกค้า ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร ความต้องการพัฒนาตนเองของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเรียงตามลำาดับจากมากไปหา น้อยมีดังนี้ คือ 1. เสริมความรู้ด้านการตลาดค้าปลีก 2. เสริมความรู้ด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 3. เสริมความรู้ด้านการบริการ 4. เสริมความรู้ด้านการจัดการการเงิน
28
ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือ ความต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพรเรียงลำาดับจากมากไปหา น้อยมีดังนี้คือ 1. ให้รัฐช่วยสร้างแรงสนับสนุนทางกระแสสังคมให้หันมาสนับสนุนร้านค้าปลีกไทย 2. ให้รัฐส่งเสริมด้านโฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ร้านค้าปลีกขนาดเล็ก 3. เงินทุน 4. จัดอบรมด้านการตลาดค้าปลีก 5. จัดอบรมด้านเทคโนโลยีเกี่ยวกับการค้าปลีก 6. จัดอบรมด้านการบริการ 7. จัดอบรมด้านการเงิน
29
ข้อเสนอแนะจำาแนกตามประเภทธุรกิจ ร้านขายวัสดุก่อสร้าง 1.ปัญหาที่พบคือต้นทุนในการซื้อสิ้นค้าที่สูงกระทบต่อร้านค้าประเภทนี้มากอาจจำาเป็นต้อง มีการรวมกลุ่มร้านค้าในการสร้างอำา นาจต่อรองต่อผู้ขายโดยรัฐเข้าไปช่วยเหลือเป็นแกนนำา และ ควบคุมราคาค่าส่งจากผู้ผลิตด้วยนอกเหนือจากราคาขั้นสุดท้ายโดยกำาหนดช่องว่างระหว่างราคาส่ง กั บ ราคาปลี ก ให้ เ หมาะสมสำา หรั บ สิ น ค้ า จำา เป็ น บางชนิ ด ที่ มี ก ารซื้ อ ขายจำา นวนมากเช่ น เหล็ ก ปูนซีเมนต์และกระเบื้องมุงหลังคา เป็นต้น นอกจากนี้ร้านค้าดังกล่าวยังให้ความสำาคัญต่อปัญหาด้านการเงิน โดยการบริหารการเงินที่ ดีจะเป็นประโยชน์ในการลดต้นทุนได้อีกทางหนึ่งด้วย ผู้บริหารจึงจำาเป็นต้องได้รับความรู้ในเรื่อง การจั ด การการเงิ น อย่ า งครบถ้ วนสมบู ร ณ์ เพราะร้ า นค้ า ประเภทนี้ใ ช้ เ งิ น หมุ น เวี ย นสู ง ในการ ประกอบธุรกิจในขณะที่ได้รับกำาไรต่อหน่วยตำ่าอาศัยยอดขายในปริมาณมากจึงจะอยู่รอด สถาบัน การเงินอาจจำาเป็นต้องช่วยเหลือโดยให้ความรู้และคิดอัตราดอกเบี้ยตำ่ากว่า O.D.โดยทั่วไป นอกจากนี้ร้านค้ายังต้องการพัฒนาตนเองทางด้านเทคโนโลยีและระบบงานเกี่ยวกับการค้า ปลีกให้ทันสมัย และรณรงค์ให้ผู้บริโภคอุดหนุนร้านค้าและสินค้าไทยอย่างต่อเนื่อง ร้านขายยา ในรอบ 3 ปีที่ผ่านมายอดขายลดลงประมาณ 5% และมีปัญหาเกี่ยวกับต้นทุนสินค้าราคา สูง เช่นเดียวกับต้องการพัฒนาตนเองในเรื่องเทคโนโลยีเช่น การบริหารสินค้าคงเหลือ การจัดการ ด้านการเงิน และต้องการให้รัฐสกัดกั้นร้านขายยาระบบฟรานไชส์จากต่างประเทศ หรือควบคุม จำานวนร้านค้าในพื้นที่เพื่อลดความรุนแรงในการแข่งขันและสร้างความเป็นธรรมในการแข่งขันเพื่อ ป้องกันปัญหาการรุกรานร้านค้าแบบดั้งเดิมของร้านขายยาไม่ให้เกิดขึ้นซำ้ารอยเหมือนร้านโชวห่วยที่ กำาลังมีปัญหา (ข้อมูลจาการสัมภาษณ์แบบเจาะลึกและคำาถามปลายเปิด) ซึ่งเป็นสิ่งที่ผู้ประกอบ การร้านขายยาแบบดั้งเดิมหวาดระแวงและกลัวมาก ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร อัตราเจริญเติบโตของตลาดอยู่ในช่วงเจริญเติบโต ส่วนใหญ่ยอดขายเพิ่มขึ้นในช่วง 3 ปีที่ ผ่านมา ต้องการพัฒนาตนเองด้านการตลาดและให้รัฐช่วยเหลือในเรื่องแหล่งวัตถุดิบ เสริมสร้างผู้ ผลิตให้มีมากขึ้นเพื่อรองรับการเจริญเติบโตของผลิตภัณฑ์สมุนไพร ผู้ผลิตที่มีอยู่ในปัจจุบันมักเป็น แบบพื้นบ้าน ไม่แน่นอนในจำานวนผลผลิต การบริหารจัดการไม่เป็นระบบ ทำาให้สินค้าขาดตลาด ในบางฤดูกาล พฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงในการเข้าหาธรรมชาติลดการใช้สารเคมี กลาย
30
เป็นโอกาสของร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร และมีโอกาสเจริญเติบโตอีกมาก ให้รัฐช่วยตอกยำ้าและ สร้างทัศนคติในประโยชน์ของสมุนไพรอย่างต่อเนื่องในรูปแบบต่าง ๆ เช่น การให้ความรู้แก่ผู้บริโภค โดยแผ่นพับ การจัดสัมมนาตามชุมชน ฯลฯ เป็นต้น นอกจากนี้ยังพบว่า โดยภาพรวมของธุรกิจค้าปลีกทั้งสามประเภทมีความกระตืนรือร้นที่จะ ปรับตัวในด้านต่าง ๆ เรียงตามลำาดับความต้องการและความพร้อมในการปรับตัวจากมากไป หาน้อยดังนี้ ร้านค้าวัสดุก่อสร้างและร้านขายยาเหมือนกันคือ 1. ภาคใต้ 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. ภาคเหนือ 4. ภาคกลางและตะวันออก 5. กรุงเทพมหานคร ร้านขายผลิตภัณฑ์สมุนไพร 1. ภาคใต้ 2. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3. กรุงเทพมหานคร 4. ภาคเหนือ 5. ภาคกลางและตะวันออก หากรัฐต้องการพัฒนา สามารถเลือกพื้นที่ได้ตามลำาดับข้างต้น ---------------------------------------