Risk 5

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Risk 5 as PDF for free.

More details

  • Words: 922
  • Pages: 7
การบงชี้และการประเมินความเสี่ยง (ตอน 5) สุรชัย วิวัจนสิรินทร* โสภณ สาริมาน** ดร. วศิน มหัตนิรันดรกุล***

เราไดพูดถึงเครื่องมือที่จะนํามาใชในการประเมินความเสี่ยงและแผนงานบริหารจัดการความ เสี่ ย งมาแล ว 5 ตั ว ในตอนนี้ เรามาศึ ก ษาถึ งเครื่ อ งมื อ ตั ว สุ ด ท ายกั น ต อ คื อ Hazard and Operability Study (Hazop) ซึ่งเปนวิธีการศึกษาและชี้บงอันตรายและความไมมีประสิทธิภาพของระบบหรือ กระบวนการ หากเราจะศึกษาโดยใชวิธี Hazop กับระบบการไหลเวียนโลหิตของรางกายมนุษย เรา ก็สามารถทําได ยกตัวอยางเชน ศึกษาในเรื่องความดัน โลหิต ซึ่งโดยปกติคนเรามีความดันปกติ ประมาณ 80-120 มิลลิเมตรปรอท ซึ่งถือวาเปนคามาตรฐาน หรือคาที่ออกแบบมาสําหรับมนุษย สิ่ง ที่จะตองศึกษาก็คือ หากความดันโลหิตสูงเกินไปหรือความดันโลหิตต่ําเกินไปจากคามาตรฐาน จะ เกิดอะไรขึ้น มีสาเหตุมาจากอะไร มีผลกระทบอยางไร เรามีมาตรการปองกันอยางไร และมีสิ่งใดที่ จะตองทําเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยงของอันตรายที่เกิดจากความดันโลหิตสูงหรือต่ําเกินไป ในโรง งานอุตสาหกรรมหรือในกระบวนการผลิต ก็นํา Hazop Study ไปใชในการศึกษา เพื่อวิเคราะหและ ชี้บงอันตรายไดทั้งกระบวนการแบบตอเนื่องหรือเรียกวา Continuous Process และกระบวนการที่ ไมตอเนื่อง หรือเรียกวา Batch Process การศึกษาโดยวิธี Hazop Study นี้ ตองอาศัยกลุมคนที่มีความชํานาญ และมีประสบการณใน สาขาที่เกี่ยวของหลายดาน เพื่อใชความรู ความสามารถ และประสบการณของทุกคนมาคนหาสิ่งที่ ผิดปกติหรือเบี่ยงเบน สาเหตุ ผลกระทบ มาตรการปองกัน และขอเสนอแนะตางๆ ยกตัวอยางใน เรื่องเกี่ยวกับความดันโลหิตสูงก็จําเปนจะตองมีหมอที่มีความรูในเรื่องระบบการทํางานของรางกาย มนุษย หมอโรคหัวใจ หมอเกี่ยวกับสมอง มาระดมสมอง เพื่อทําการชี้บงอันตรายที่ทําใหเกิดปญหา ตอรางกาย เปนตน Hazop Study ใชไดกับโรงงานที่สรางใหม หรือโรงงานที่เดินเครื่องใชงานแลว โดยการศึกษาวิเคราะหสิ่งที่ผิดปกติหรือเบี่ยงเบนของคุณสมบัติ ปริมาณ หรือกิจกรรม ที่เกิดขึ้นใน กระบวนการ เปรียบเทียบถึงคาที่ออกแบบไว โดยใชคําชี้นํา (Guide Word) เปนตัวแสดงการเบี่ยง เบนของคุณสมบัติ ปริมาณ หรือกิจกรรม ที่เกิดขึ้นในทิศทางใดทิศทางหนึ่ง เชน ไมมีอัตราการไหล ของของไหลในทอ ซึ่งเบี่ยงเบนจากการออกแบบ เพราะการออกแบบตองการใหมีของไหลที่ไหล ในทอ หรือมีอัตราการไหลแตอัตราการไหลมากเกินไปหรือนอยเกินไป สิ่งตางๆ ที่เบี่ยงเบนไปนี้ เราก็จะนํามาศึกษาเปนกรณีไปวา สาเหตุเกิดจากอะไร เกิดอะไรขึ้น มีผลกระทบอยางไร จะปองกัน หรือลดอันตรายตอระบบหรือกระบวนการไดอยางไร

* ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

คําชี้นํา (Guide Word) ที่ใชโดยทั่วไป มีดังตอไปนี้ 1. “ไม” เชน ไมมีการไหล ไมมีความดัน 2. “มากกวา หรือ สูงกวา” เชน อัตราการไหลสูงกวาที่ออกแบบ ความดันสูงกวาที่ออกแบบ อุณหภูมิสูงกวาที่ออกแบบ 3. “นอยกวา หรือ ต่ํากวา” เชน อัตราการไหลต่ํากวาที่ออกแบบ ความดันต่ํากวาที่ออกแบบ อุณหภูมิต่ํากวาที่ออกแบบ 4. “การยอนกลับ” เชน การไหลยอนกลับ ความดันยอนกลับ นอกจากคําชี้นําหลักๆ ขางตนแลว ยังมีปจจัยอื่นๆ ที่นํามาพิจารณาการเบี่ยงเบนในกระบวน การและมีผลตออันตรายที่จะเกิดขึ้น เชน - การมีสวนประกอบของวัตถุดิบเปลี่ยนไป มีสวนประกอบบางชนิดมากไปหรือนอยไป - การที่มีสภาวะที่แตกตางไปจากสภาวะที่ไดออกแบบไว เชน การทดสอบเครื่องและเริ่ม เดินเครื่อง การหยุดเครื่อง การซอมบํารุง เปนตน ซึ่งสภาวะเหลานี้ แตกตางจากสภาวะที่ ได ออกแบบไว โดยปกติ ส ภาวะที่ ออกแบบจะเป น สภาวะที่ เดิ น เครื่องปกติ (Normal Operation) ทั้ งสองกรณี ก็ จ ะมี ผ ลทํ าให คุ ณ สมบั ติ ปริม าณ ในกระบวนการเปลี่ ย นไป ซึ่ งต อ งนํ ามา พิจารณาอันตรายที่อาจจะเกิดขึ้นดวย มีคําถามวา เราจะใช Hazop Study เมื่อไรดี มีการนํา Hazop Study ไปใชกับทุกขั้นตอนของ การสรางโรงงานใหม หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงปรับปรุงในโรงงานที่เดินเครื่องใชงานแลว โดยมี จุดประสงคในแตละขั้นตอน ดังจะกลาวตอไปนี้ 1. เมื่อเริ่มดําเนินการโครงการในชวงของการออกแบบ เพื่อระบุมาตรการดานความปลอด ภัยและสิ่งแวดลอม ทบทวนการออกแบบการไหลของของไหลในกระบวนการ ทบทวน การออกแบบระบบทอและเครื่องมือวัด 2. ในระหวางการกอสรางและทดสอบการเริ่มเดินเครื่อง มีจุดประสงคเพื่อตรวจสอบการ ดัดแปลง ปรับปรุง ระบบตรวจสอบ ความถูกตอง ของคูมือที่ใชในการทดสอบการเริ่ม เดินเครื่องจักรอุปกรณ และการเดินเครื่องจักรอุปกรณปกติ 3. ใชตรวจสอบระบบหรือกระบวนการในกรณีที่เกิดเหตุการณ เกือบเกิดอุบัติเหตุ หรือ เกิด อุบัติเหตุบ อยครั้ง หรือเมื่อตรวจพบวามีแนวโนมที่จะเกิดความไมปลอดภัยในระบบ หรือกระบวนการจากผลของการตรวจประเมินดานความปลอดภัย 4. ใชตรวจสอบระบบหรือกระบวนการในกรณีที่มีความประสงคที่จะไมปฏิบัติตามมาตร ฐานหรือ Code of Practice ที่กําหนด * ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

เราไดทราบแนวคิดของ Hazop การนําไปใชงาน และความจําเปนที่จะตองนําไปใชงานแลว คราวนี้เรามาดูตัวอยางการนําไปใชงาน ซึ่งจะขอยกตัวอยางเฉพาะที่นําไปใชกับกระบวนการแบบ ตอเนื่อง (Continuous Process) สมมุติมีการสงสารเคมีชนิดหนึ่งจากถังเก็บ (Storage Tank) ไปใชงานตามจุดตางๆ ภายใน โรงงาน ปมที่ใชเปน Positive Displacement มีระบบและอุปกรณ ดังรูป

ถังสารเคมี 1,000 ลิตร

หมายเหตุ

D PSV

PSV

PSV A

Pump A/B

B

PCV

C

Plant

- สารเคมีสามารถติดไฟได - A,B,C,D คือ Block Valve - FCV คือ Control Valve ควบคุมจากหองควบคุม - PSV คือ Safety Valve หากความดันในระบบเกิน จะเปดสงสารเคมีกลับถัง

ขั้นตอนในการทํา Hazop Study ขั้นตอนที่ 1 จัดตั้งทีมงาน ซึ่งประกอบดวย 1. หัวหนาทีม รับผิดชอบในการนําและควบคุมการประชุม ตรวจสอบ อนุมัติ ราย งาน และขอมูลที่จะนํามาใชในการประชุม ขอมูลเหลานี้ไดแก แบบทางวิศวกรรม ตางๆ คุณสมบัติของสารเคมี ขอกําหนดในการออกแบบ รายละเอียดของอุปกรณ ขั้นตอนการปฏิบัติงาน และขอมูลดานความปลอดภัย เปนตน หัวหนาทีมนี้จะตองมีความเขาใจกระบวนการในภาพรวม มีความสนใจในราย ละเอียด และมีความไวตอความรูสึกคน เพื่อที่จะสามารถกระตุน และควบคุมการ ระดมความคิดเห็นใหบรรลุวัตถุประสงคของการประชุมได 2. ตัวแทนหนวยงานผลิต เปนผูมีความรูและประสบการณในการผลิต และเปนผูที่จะ ตองดูแล ควบคุม การใชงานระบบและอุปกรณ 3. ตัวแทนหน วยงานดานเทคนิค เปน ผูมี ความรูในเรื่องกระบวนการผลิต มีความ เชี่ยวชาญดานเทคนิค เพื่อเปนหลักในการคนหาสาเหตุ และผลกระทบที่เกิดขึ้น จากการเบี่ยงเบน * ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

4. ตัวแทนหนวยงานดานความปลอดภัย เปนผูใหความเห็นดานการใชอุปกรณความ ปลอดภัย การชี้บงพื้นที่อันตราย และใหความเห็นในดานความปลอดภัย ขั้นตอนที่ 2 เป น ขั้น ตอนการประชุมของที ม เพื่ อชี้บงอั น ตราย โดยทีมจะตองเลือกตําแหน งใน กระบวนการ นํ ามาพิ จารณาทีละ Line ในตัวอยางจะเลือก Line จากถังสารเคมีผาน Pump ผาน FCV สงสารเคมีไปที่โรงงาน นํามาศึกษาโดยวิธี Hazop หากมีหลาย Line จะตองทําใหครบทุก Line ทีมจะตองทําความเขาใจขอมูลทั้งหมด รวมถึงขั้นตอนการปฏิบัติงานในสภาวะตางๆ โดยการอธิบาย อภิปราย และแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนมีความเขาใจชัดเจนดีแลวจึง เริ่มพิจารณาสิ่งที่เบี่ยงเบนจากการออกแบบทีละประเด็น โดยใชคําชี้นํา (Guide Word) เปนตัวชวยแสดงการเบี่ยงเบน เริ่มจาก กรณีที่ 1 ไมมีการไหล หรือมีอัตราการไหล ในทอสงนอยเกินไป สาเหตุที่ 1 อาจจะมาจากการที่ Block Valve A หรือ B หรือ C ถูกปดลง ทําใหไมสามารถสงสารเคมีได ผลกระทบ มาตรการปองกัน ที่ใชอยูคือมีวิธีการปฏิบัติงานใหกับพนักงานเดินเครื่องชัดเจน ขอเสนอแนะ ในกรณีนี้ไมตองมีขอเสนอแนะเพิ่มเติม หากในกรณี ที่ 1 นี้มีหลายสาเหตุ จะตองศึกษาใหครบทุกสาเหตุ เชน ในกรณี ที่ 1 มี สาเหตุที่ทําใหไมมีการไหลหรือมีอัตราการไหลนอย เกิดจากทอแตก เนื่องจากการสั่นสะเทือนที่ บริเวณดานดูดเขาของปม ผลกระทบที่ตามมา ทําใหไมสามารถสงสารเคมี และสารเคมีเกิดการรั่ว ไหลบริเวณดานดูดของปม ในกรณีนี้สมมุติใหมีมาตรการปองกันอยูแลว คือมี Bund กั้นรอบถังและ ปม ทําใหสารเคมีที่รั่วไหลออกมาไมกระจายไปที่อื่น สําหรับขอแนะนําเพิ่มเติมที่ไดจากการระดม สมอง อาจจะตองติดตั้ง Pressure Switch เพื่อติดตามความดันทางดานออกของปม เพื่อหยุดปม ปอง กันไมใหปมเสียหาย และสงสัญญาณเตือนพนักงานเดินเครื่องใหมาแกไขใหทันทวงที ในขั้นตอนถัดไป ทีมก็นําตัวชี้นําอื่นๆ มาพิจารณา เชนเดียวกับกรณีที่ 1 ซึ่งอาจจะเปน กรณีอัตราการไหลมากเกินไป อัตราการไหลนอยเกินไป ความดันมากเกินไป ความดันนอยเกินไป นํามาหาสาเหตุ ผลกระทบ พิจารณามาตรการปองกัน และขอเสนอแนะเพิ่มเติม เพื่อลดความเสี่ยง จนครบทุกคําชี้นํา (Guide Word) ถึง ณ จุดนี้ ทีมไดศึกษาและชี้บงอันตรายของทอที่กําหนดแลว ขั้น ตอนตอไปก็ใหเลือกตําแหนงอื่นในแบบนํามาพิจารณา ในที่นี้อาจจะนํา Line จาก PSV กลับถัง มา * ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

พิจารณา ศึกษา ซึ่งขั้นตอนจะทําเชนเดียวกับขั้นตอนที่ 2 ทุกประการ เมื่อทําจนครบทุก Line แลว ก็ มาถึงการสรุปผลการศึกษา วิเคราะห ขั้นตอนที่ 3 การสรุปผลศึกษาวิเคราะห อาจทําเปนรูปตารางแสดงสิ่งที่เบี่ยงเบน ผลกระทบ มาตร การปองกัน และขอเสนอแนะของทุก Line และทุกกรณี เพื่อสะดวกในการวิเคราะห และนําไปประเมินความเสี่ยงในเรื่องของโอกาส ความรุนแรง เพื่อชี้บงระดับของความ เสี่ยง กําหนดแผนการควบคุมความเสี่ยง หรือแผนลดความเสี่ยงตอไป หรือหากความ เสี่ยงอยูในระดับสูงมาก อาจจําเปนตองหยุดดําเนินธุรกิจ ปรับปรุง แกไข เพื่อลดความ เสี่ยงทันที จะเห็ น ว าขั้ น ตอนในการทํ า Hazop Study นั้ น ไม ย าก จุ ด สํ าคั ญ อยู ที่ ว า ข อ มู ล ที่ เรานํ ามา ประกอบการศึกษา มีรายละเอียดครบถวนหรือไม และทีมงานมีขีดความสามารถเพียงพอหรือไม หากมีครบถวน การทํา Hazop Study ก็ไมใชเรื่องยากเกินไป และไมจําเปนจะตองนําเขาที่ปรึกษา ชาวตางชาติใหเสียดุลการคา เหมือนเปนอยูทุกวันนี้ ตารางที่ 1 Hazop Guide Word Hazop Guide Word ไม (None) มากกวา (More)

ความบกพรองหรือผิดปกติในการทํางาน (Operating Deviation) - ไมมีการไหล (No Flow) - ไหลยอนกลับ (Reverse Flow) - ไมเกิดปฏิกิริยา (No Reaction) - อัตราการไหลเพิ่มขึ้น (Increase Flow) - ความดันเพิ่มขึ้น (Increase Pressure) - อุณหภูมิเพิ่มขึ้น (Increase Temperature) - อัตราการเกิดปฏิกิริยาเพิ่มขึ้น (Increase Reaction Rate) - ระดับเพิ่มขึ้น - pH เพิ่มขึ้น - ความเขมขนเพิ่มขึ้น - สวนผสมเพิ่มขึ้น - คาควบคุม (Control Parameter) อื่นๆ เพิ่มขึ้น

นอยกวา

- อัตราการไหลลดลง (Reduced Flow)

* ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

Hazop Guide Word (Less)

ความบกพรองหรือผิดปกติในการทํางาน (Operating Deviation) - ความดันลดลง (Reduced Pressure) - อุณหภูมิลดลง (Reduced Temperature) - อัตราการเกิดปฏิกิริยาลดลง (Reduced Reaction Rate) - ระดับลดลง - pH ลดลง - ความเขมขนลดลง - สวนผสมลดลง - คาควบคุม (Control Parameter) อื่นๆ ลดลง

ปจจัยอื่นๆ ที่เกี่ยวของ (part of, as well as other)

- การเปลี่ ย นแปลงส ว นผสมของวั ต ถุ ดิ บ (Change of Ratio of -

Material Present) การเปลี่ยนวัตถุดิบ (Different Material Present) สภาวะโรงงานที่แตกตางจากการปฏิบัติอยางปกติ (Different Plant Condition from Normal Operate) การเดินเครื่องจักร (Start Up) การหยุดเครื่องจักร (Shutdown) การปลอยสารเคมี, ความดัน ฯลฯ (Relief) การใชเครื่องมือ (Instrumentation) การเก็บตัวอยาง (Sampling) ความบกพรองของระบบน้ํา, ไฟฟา เปนตน (Utility Failure) การกัดกรอน (Corrosion) การซอมบํารุง (Maintenance) การกัดเซาะ (Erosion) ไฟฟาสถิตย (Grounding9Static)

ทั้งหกเครื่องมือที่ไดกลาวมาทั้งหมดนี้ อันไดแก 1. Checklist 2. What if Analysis 3. Hazard and Operability Study (Hazop) 4. Fault Tree Analysis * ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

5. Failure Mode and Effects Analysis (FMEA) 6. Event Tree Analysis ตางมีขอดีขอดอยของแตละวิธี ซึ่งการเลือกใชก็แลวแตชนิดของกระบวนการและความถนัด ของแตละคน ซึ่งไดกลาวแลวขางตน จะเห็นไดวาการบงชี้ความเสี่ยงที่ดีจะตองใชความรูทั้ง 3 ดาน คือ - ความรูทางกระบวนการ - ความรูทางดานความปลอดภัย - ความรูในเรื่องการใชเครื่องมือขางตน นั่นคือปจจัยของความสําเร็จ ซึ่งเราสามารถนํามาบงชี้ความเสี่ยงในมุมมองอื่นๆ ไดเชนเดียว กัน เชน ความเสี่ยงดานการเงิน ความเสี่ยงดานการผลิต คุณภาพการผลิต หรือดานปญหาสิ่งแวด ลอม ซึ่งขึ้นอยูกับความสามารถในการนําไปใชในมุมมองอื่นๆ ในจุดนี้ผูเขียนก็หวังเปนอยางยิ่งวา จะเปนการจุดประกายความคิดของผูอื่นเพื่อนําไปใช เพื่อทราบถึงปญหาที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต เพื่อ “การปองกัน” เพราะที่พบกับชีวิตจริงหลังจากเปนที่ปรึกษามากวา 50 โรงงาน พบวา เราคุนเคย กับ “การแกไข” มากกวา คือรอปญหาเกิดกอน ซึ่งพบวาจะสูญเสียมากกวากันเยอะ ก็ใหเลือกเอาก็ แลวกันวา จะทํา “Fire Fighting” กันอยูอยางนี้ หรือจะทํา “Fire Prevention” กันดี หรือจะลอมคอก หลังวัวหาย

* ผูจัดการสวนความปลอดภัยและสิ่งแวดลอม บริษัท ปโตรเคมีแหงชาติ จํากัด (มหาชน) ** กรรมการผูจัดการบริษัทแพรคทิแคล ควอลิทิ จํากัด *** วิทยาลัยเทคนิคอุตสาหกรรม สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกลาพระนครเหนือ

Related Documents

Risk 5
November 2019 0
Risk
December 2019 37
Risk
May 2020 24
Risk
November 2019 28
Risk
April 2020 4
Risk
November 2019 18