Pre Project Report Final

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Pre Project Report Final as PDF for free.

More details

  • Words: 3,818
  • Pages: 56
รายงานโครงการหมายเลข COE2007-01

ระบบตอบรับอัตโนมัติ เพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา

โดย นายธนวัฒน์ กันพานิชย์ นายวิทวัฒน์ วะสุรี

รหัส 473040581-3 รหัส 473040613-6

รายงานนี้เป็นรายงานงานโครงการของนักศึกษาชั้นปีที่ 4 ซึ่งเสนอเป็นส่วนหนึ่งใน หลักสูตรวิศวกรรมศาสตร์บันฑิต

ภาควิชาวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น

Project Report No. COE2007-01

Interactive Voice Response System for Students' Grades Notification

By Mr Thanawat Kanpanit Mr Wittawat Wasuree

I.D. 473040581-3 I.D. 473040613-6

This is the report of fourth year project assignment submitted in partial fulfillment of the requirement for the Degree of Bachelor of Engineering

Department of Computer Engineering Faculty of Engineering Khon Kaen University

เรื่อง

ระบบตอบรับอัตโนมัติ เพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา โดย

นายธนวัฒน์ กันพานิชย์ นายวิทวัฒน์ วะสุรี

รหัส 473040581-3 รหัส 473040613-6

อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ....................................... (ผศ.ดร. กานดา สายแก้ว) อาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการ 1. ........................................ (ผศ. พิเชษฐ เชี่ยวธนะกุล) 2. ........................................ (ผศ. วิโรจน์ ทวีปวรเดช)

ประเมินผล ณ วันที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2550

1

กิตติกรรมประกาศ โครงการนี้สามารถดำาเนินงานได้ด้วยความกรุณายิ่งจากผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. กานดา สายแก้ว อาจารย์ที่ปรึกษาโครงการ ที่ช่วยติดต่อประสานงานกับทางศูนย์คอมพิวเตอร์และสำานักทะเบียน มหาวิทยาลัยขอนแก่น ในการขอข้อมูล ความคิดเห็น และการสนับสนุน เพื่อให้โครงการนี้สามารถนำาไป ใช้งานได้จริง และให้คำาปรึกษา แนะนำา สนับสนุน แก้ไขข้อบกพร่องต่างๆ และช่วยเหลือดูแลด้วยความ เอาใจใส่อย่างยิ่งในช่วงระยะเวลาที่ศึกษาและทำาโครงการ ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ พิเชษฐ เชี่ยวธนะกุล ผู้ชว่ ยศาสตราจารย์ วิโรจน์ ทวีปวรเดช อาจารย์ผู้ร่วมประเมินโครงการ ทีก่ รุณาให้คำาปรึกษา แนะนำาข้อคิดที่เป็นประโยชน์ ขอขอบพระคุณผู้ช่วยศาสตราจารย์ บุญฤทธิ์ กู้เกียรติกุล ที่ให้ความ อนุเคราะห์ใช้งาน Oracle database server เพื่อใช้ในการสร้างฐานข้อมูลจำาลองของฝั่งสำานักทะเบียน และอาจารย์ทุกท่านที่ให้คำาปรึกษาและชี้แนะตลอดมา ขอขอบคุณศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ที่ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงสร้างของระบบ โทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น วิธีการเชื่อมต่อ PBX กับ IP PBX ให้สามารถทำางานร่วมกันได้ และให้ คำาแนะนำาในการนำาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาไปติดตั้งเพื่อให้สามารถใช้งาน ได้จริง ขอบคุณสำานักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ทีใ่ ห้ข้อมูลเกี่ยวกับโครงการที่จะทำาระบบ Call Center เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสารทั่วไปเกี่ยวกับงานสำานักทะเบียน และให้คำาแนะนำาในแนวทางการนำาระบบ ตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาไปใช้งานได้จริง ตลอดจนจะให้ความช่วยเหลือในส่วน ของโครงสร้างของฐานข้อมูลและข้อมูลที่เกี่ยวกับเฉพาะวิชาที่เปิดสอน พร้อมทั้งเกรดนักศึกษาบางคนโดย ไม่ระบุรหัสนักศึกษามาให้เพื่อใช้ในการจำาลองระบบให้สามารถใช้งานได้ก่อน

2

บทคัดย่อ โครงการนี้เป็นการพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนนักศึกษา โดยระบบนี้จะเพิ่ม ช่องทางในการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษานอกเหนือจากการแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ ซึ่งจะช่วยลดการ ทำางานที่เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ของสำานักทะเบียนในส่วนของการตรวจสอบผลการเรียน อีกทั้งยังอำานวย ความสะดวกแก่นักศึกษาในการตรวจสอบผลการเรียน เพราะนักศึกษาเพียงแค่โทรศัพท์เข้ามาที่ระบบ ตอบรับอัตโนมัติ ระบบตอบรับอัตโนมัติก็จะทำาการแจ้งผลการเรียนของภาคการศึกษาล่าสุดในแต่ละ รายวิชาและผลการเรียนเฉลี่ยผ่านทางโทรศัพท์ โดยไม่จำาเป็นต้องเสียเวลาเข้ามาดูที่เว็บไซต์ของสำานัก ทะเบียน ในการพัฒนาโครงการนี้ได้นำาเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี (Voice over IP : VoIP) มาทำางานร่วมกับเทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) และ เทคโนโลยีเว็บเซอร์วสิ (Web Services) โดยพัฒนาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Respond : IVR) บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายไอพี (IP Telephony) ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ IP PBX ที่เป็นโอ เพนซอร์ส คือ Asterisk ทีม่ ีอินเตอร์เฟสสำาหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ที่รองรับภาษาต่างๆ เช่น Perl, Python, PHP, Ruby และ C เป็นต้น และใช้เว็บเซอร์วิสในการร้องขอข้อมูล ผลการเรียนจากฐานข้อมูลในฝั่งของสำานักทะเบียนมาเก็บที่ฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ และใช้โปรแกรมสังเคราะห์เสียงพูดในการแปลงข้อมูลผลการเรียนเป็นเสียง เพื่อส่งไปให้กับนักศึกษาที่ โทรศัพท์เข้ามาฟังโดยไม่ต้องใช้คนอัดเสียงเก็บไว้

3

Abstract This project is to develop an Interactive Voice Response System for Students' Grades Notification. By doing this, it will help to increase a channel for inquiry the Student Grade Result, which has only one channel, through using web-site. It also will help to reduce workload for inquiry the Student Grade Result of Web Server of Khon Kaen University Registration Office. And it also increate the facility of checking grade because student just calls to the Interactive Voice Response System. Then, system will tell latest semester grade of each course, GPA, through using telephone unnecessary using Khon Kaen University Registration Office's website. In this project, we have applied VoIP with Web Services Technologies and Text-toSpeech Synthesis: TTS together. They are developed to Interactive Voice Respond System base on IP Telephony System using on open source software IP PBX call Asterisk that has the interface to add new application, Asterisk Gateway Interface (AGI). AGI also support several languages programming such as Perl, Python, PHP, Ruby, and C. Interactive Voice Respond System use Web Services to get information from Registration Office's database for store it at the Interactive Voice Respond System's database. Using TTS to convert text of information about student's grade to speech for return to a student who call to system that not provide record before.

4

สารบัญ กิตติกรรมประกาศ บทคัดย่อ Abstract สารบัญ สารบัญรูปภาพ สารบัญตาราง บทที่ 1 บทนำา 1.1. ความสำาคัญและที่มาของโครงการ 1.2. วัตถุประสงค์ของโครงการ 1.3. ขอบเขตของโครงการ 1.4. แผนการดำาเนินงาน 1.5. ผลที่คาดว่าจะได้รับ บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1. ทฤษฏีที่เกี่ยวข้อง 2.1.1.เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี 2.1.2.เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด 2.1.3.เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส 2.1.4.Asterisk 2.2. งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.2.1.การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา 2.2.2.การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผา่ นเครือข่ายอินเทอร์เน็ต บทที่ 3 การออกแบบ 3.1. วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้ 3.1.1.ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.1.2.สำานักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.2. กำาหนดโครงสร้างของระบบ 3.3. การจำาลองระบบ 3.4. เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา 3.4.1.ฮาร์ดแวร์ที่ใช้

ก ข ค ง ฉ ซ 1 1 1 2 2 3 4 4 4 5 5 6 8 8 10 12 12 12 13 14 14 15 15

5 3.4.2.ซอฟต์แวร์ที่ใช้ 3.5. การออกแบบระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.5.1.ขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.5.2.ฟังก์ชันการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.6. การออกแบบฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.6.1.ER-Diagram ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.6.2.Database Layout ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.6.3.รายละเอียดตารางในฐานข้อมูล 3.7. การออกแบบเว็บเซอร์วิสเพื่อดึงข้อมูลในฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน บทที่ 4 บทสรุปและข้อเสนอแนะ 4.1. บทสรุปการดำาเนินงาน 4.2. ปัญหาที่พบในการดำาเนินงาน 4.3. ข้อเสนอแนะ 4.4. แนวทางในการประยุกต์และพัฒนาต่อไป ภาคผนวก ก การติดตั้งและการใช้งาน trixbox 2.2.4 ก.1. การติดตั้ง trixbox 2.2.4 ก.2. การใช้งาน trixbox 2.2.4 ภาคผนวก ข การติดตั้งและการใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows ข.1. การติดตั้ง X-Lite 3.0 for Windows ข.2. การใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows บรรณานุกรม

16 17 17 17 20 20 20 21 21 24 24 24 25 25 26 27 29 34 34 37 41

6

สารบัญรูปภาพ รูปที่ 2.1 ระบบเครือข่ายแบบ Packet-Switched IP Network รูปที่ 2.2 มาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนาเว็บเซอร์วสิ รูปที่ 2.3 ขั้นตอนการทำางานของระบบฟังข่าวอัตโนมัติ รูปที่ 3.1 โครงสร้างของระบบโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น รูปที่ 3.2 โครงสร้างของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเรียนสำาหรับนักศึกษา รูปที่ 3.3 การจำาลองระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเรียนสำาหรับนักศึกษา รูปที่ 3.4 ขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา รูปที่ 3.5 ขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา (ต่อ) รูปที่ 3.6 ER-Diagram ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ รูปที่ 3.7 Database Layout ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ รูปที่ ก.1 เริ่มติดตั้ง trixbox 2.2.4 รูปที่ ก.2 ตั้งค่า Keyboard Type รูปที่ ก.3 ตั้งค่า Time Zone รูปที่ ก.4 ตั้งค่า Root Password รูปที่ ก.5 trixbox 2.2.4 ขณะติดตั้ง รูปที่ ก.6 หน้าต่างของ trixbox 2.2.4 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา รูปที่ ก.7 ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.2.4 รูปที่ ก.8 กำาหนด IP address ให้กับ trixbox 2.2.4 รูปที่ ก.9 คำาสั่ง help-trixbox รูปที่ ก.10 เข้าสู่ Admin GUI รูปที่ ก.11 หน้าของ FreePBX configuration GUI รูปที่ ก.12 หน้า module admin ของ FreePBX รูปที่ ก.13 หน้า extensions ของ FreePBX รูปที่ ก.14 หน้าของ Add SIP Extension ของ FreePBX รูปที่ ก.15 ยืนการตั้งค่า SIP Extension รูปที่ ข.1 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows รูปที่ ข.2 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ) รูปที่ ข.3 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ) รูปที่ ข.4 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

4 6 11 12 14 15 18 19 20 20 27 27 28 28 28 29 29 30 30 31 31 31 32 32 33 34 34 35 35

7 รูปที่ ข.5 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ) รูปที่ ข.6 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ) รูปที่ ข.7 หน้าต่างของโปรแกรม X-Lite v3.0 for Windows รูปที่ ข.8 ปุ่ม show menu รูปที่ ข.9 หน้าต่างของ SIP Account รูปที่ ข.10 หน้าต่างของ Properties of Account รูปที่ ข.11 หน้าต่างของ SIP Account รูปที่ ข.12 ชื่อ account ของเราที่ทำาการ register ไป รูปที่ ข.13 หน้าต่างเตือนว่ามีคนโทรเข้ามา

35 36 36 37 37 38 39 39 40

8

สารบัญตาราง ตารางที่ 1.1 ตารางที่ 3.1 ตารางที่ 3.2 ตารางที่ 3.3

ระยะเวลาและแผนการดำาเนินงาน ตาราง student ใช้เก็บข้อมูลของนักศึกษา ตาราง course ใช้เก็บข้อมูลของรายวิชาที่มีอยู่ ตาราง grade ใช้เก็บข้อมูลเกรดที่ได้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา

2 21 21 21

1

บทที่ 1 บทนํา 1.1.ความสําคัญและที่มาของโครงการ ในการตรวจสอบผลการเรียนของนักศึกษาในช่วงประกาศผลการเรียน นักศึกษาจะใช้เว็บเบราว์ เซอร์เปิดดูที่เว็บไซต์ของสำานักทะเบียนเพื่อเข้าไปตรวจสอบผลการเรียนของตนเอง ซึ่งเมื่อนักศึกษาเข้าไป ตรวจสอบผลการเรียนที่เว็บไซต์ของสำานักทะเบียนเป็นจำานวนมาก จะทำาให้ที่เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ของ สำานักทะเบียนทำางานหนักจนไม่สามารถใช้งานได้ ดังนั้น การนำาระบบตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Respond : IVR) เพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามาใช้งานจะช่วยลดการทำางานที่เซิร์ฟเวอร์ของ เว็บไซต์ของสำานักทะเบียนในส่วนของการตรวจสอบผลการเรียนลงได้ อีกทั้งยังอำานวยสะดวกแก่นักศึกษา ในการตรวจสอบผลการเรียน เพราะนักศึกษาเพียงแค่โทรศัพท์เข้ามาที่ระบบตอบรับอัตโนมัติ ระบบตอบ รับอัตโนมัติก็จะทำาการแจ้งผลการเรียนของภาคการศึกษาล่าสุดในแต่ละรายวิชาและผลการเรียนเฉลี่ยผ่าน ทางโทรศัพท์ โดยไม่จำาเป็นต้องเสียเวลาเข้ามาดูที่เว็บไซต์ของสำานักทะเบียน ระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาที่จะทำาการพัฒนาขึ้นมานี้ จะใช้ เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี (Voice over IP : VoIP) มาทำางานร่วมกับเทคโนโลยีการ สังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) และเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส (Web Services) เนื่องจากเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพีเป็นเทคโนโลยีใหม่ที่เริ่มใช้กันโดยแพร่หลาย ข้อดีของเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี คือ การให้บริการบนเครือข่ายที่รวมการให้ บริการเสียงและข้อมูลไว้ด้วยกันไม่แยกกันเหมือนในปัจจุบัน ทำาให้สามารถเกิดการประยุกต์ใช้งานแบบ ใหม่ๆ ซึ่งระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษานี้จะใช้โทรศัพท์เพื่อเข้าถึงข้อมูลผลการ เรียนของนักศึกษาแล้วอ่านออกมาเป็นเสียงพูดโดยใช้เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด และมีการใช้ เทคโนโลยีเว็บเซอร์วสิ เพื่อให้การรับส่งข้อมูลผลการเรียนของนักศึกษาเป็นไปอย่างอัตโนมัติและเป็นข้อมูล ทีใ่ หม่ล่าสุดเสมอ

1.2.วัตถุประสงค์ของโครงการ 1. 2. 3.

ให้นักศึกษาสามารถโทรศัพท์เข้ามาฟังผลการเรียนของตนเองที่ระบบตอบรับอัตโนมัติได้ ลดการทำางานที่เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ของสำานักทะเบียนในส่วนของการตรวจสอบผลการ เรียนลงได้ นำาเทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี มาทำางานร่วมกับเทคโนโลยีการ สังเคราะห์เสียงพูดและเทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส

2

1.3.ขอบเขตของโครงการ 1. 2.

สามารถใช้งานได้กับระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตเท่านั้น สามารถโทรศัพท์เข้าฟังผลการเรียนได้เป็นภาษาไทยและอังกฤษเท่านั้น

1.4.แผนการดําเนินงาน 1. ศึกษาค้นคว้าข้อมูล โดยศึกษางานวิจัยและพัฒนาที่เกี่ยวข้อง เครื่องมือทีใ่ ช้ในการพัฒนา และศึกษาฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน 2. ออกแบบระบบ ซึ่งมี 3 ส่วนหลักๆ คือ 1.1.ระบบตอบรับอัตโนมัติ (Interactive Voice Respond : IVR) ใช้ในการตอบรับการ ทำางานเมื่อมีนักศึกษาโทรศัพท์เข้ามาที่ระบบ และมีการร้องขอข้อมูลผลการเรียนจาก ฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ 1.2.เว็บเซอร์วิส (Web Services) ใช้ในการร้องข้อมูลผลการเรียนจากฐานข้อมูลในฝั่ง ของสำานักทะเบียนมาเก็บที่ฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ ซึ่งจะมีการส่ง ข้อมูลร้องขอและตอบกลับในรูปแบบของเอกสารเอกซ์เอ็มแอล (eXtensible Markup Language : XML) 1.3.สังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) ใช้ในการแปลงข้อมูลผลการ เรียนเป็นข้อมูลเสียงแล้วส่งให้ผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาฟัง 3. พัฒนาระบบ 4. ทดสอบและปรับปรุงระบบ 5. จัดทำารายงานและคู่มือการใช้งาน จากแผนการดำาเนินงานข้างต้นสามารถแสดงผลได้ดังตารางที่ 1.1 ตารางที่ 1.1 ระยะเวลาและแผนการดำาเนินงาน 2550 2551 ลำาดับ แผนงาน ส.ค ต.ค ธ.ค ม.ค มิ.ย. ก.ค. ก.ย. พ.ย. ก.พ. . . . . 1 ศึกษาค้นคว้าข้อมูล 2 ออกแบบระบบ 3 พัฒนาระบบ 4 ทดสอบและปรับปรุงระบบ 5 จัดทำารายงานและคู่มือการใช้งาน

3

1.5.ผลที่คาดว่าจะได้รับ ให้นักศึกษาสามารถทราบผลการเรียนโดยใช้โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต และช่วยลดการ ทำางานที่เซิร์ฟเวอร์ของเว็บไซต์ของสำานักทะเบียนในส่วนของการตรวจสอบผลการเรียนลงได้

4

บทที่ 2 ทฤษฏีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง 2.1.ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง

ทฤษฎีที่เกี่ยวข้องมีดังต่อไปนี้ คือ เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี เทคโนโลยี การสังเคราะห์เสียงพูด เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส และ Asterisk 2.1.1.เทคโนโลยีการสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี การสื่อสารด้วยเสียงผ่านเครือข่ายไอพี (Voice over IP : VoIP) คือ การที่นำาสัญญาณเสียงมาผสม รวมเข้ากับสัญญาณข้อมูล เพื่อให้สามารถส่งผ่านไปบนระบบเครือข่ายด้วยอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล (Internet Protocol : IP) [1] ซึ่งปกติจะใช้ไอพีในการส่งสัญญาณข้อมูลเท่านั้น ซึ่งเป็นระบบที่แปลง สัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณแอนะล็อก (Analog) มาเป็นสัญญาณเสียงในรูปของสัญญาณดิจิตอล (Digital) คือ นำาข้อมูลเสียงมาบีบอัดและบรรจุลงเป็นแพ็กเก็ตไอพี แล้วส่งไปโดยมีเราเตอร์ (Router) ที่ เป็นตัวรับสัญญาณแพ็กเก็ตและแก้ปัญหาบางอย่างให้ เช่น การบีบอัดสัญญาณเสียงให้มีขนาดเล็กลง การแก้ปัญหาเมื่อมีบางแพ็กเก็ตสูญหายหรือล่าช้า (Delay) การสื่อสารผ่านทางเครือข่ายไอพีต้องมีเรา เตอร์ (Router) ทีท่ ำาหน้าที่พิเศษเพื่อประกันคุณภาพช่องสัญญาณไอพี (Quality of Service : QoS) เพื่อให้ ข้อมูลไปถึงปลายทางหรือกลับมาได้อย่างถูกต้อง และอาจมีการให้สิทธิพิเศษก่อนแพ็กเก็ตไอพีอื่น เพื่อ การให้บริการที่ทำาให้เสียงมีคุณภาพ นอกจากนั้น VoIP ยังเป็นการส่งข้อมูลเสียงแบบ 2 ทางบนระบบเครือ ข่ายแบบ Packet-Switched IP Network ซึ่งข้อมูลนี้จะถูกส่งผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ตสาธารณะเพื่อ สื่อสารระหว่าง VoIP ด้วยกันโดยที่ยังคงความเป็นส่วนตัวไว้ได้ [2]

รูปที่ 2.1 ระบบเครือข่ายแบบ Packet-Switched IP Network [2]

5 2.1.2.เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด การสังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) คือ เทคโนโลยีที่สามารถสร้างเสียงคำา พูดใดๆ ได้ตามความต้องการ ซึ่งในการใช้งานส่วนใหญ่จะต้องใช้งานร่วมกับเทคโนโลยีด้านการประมวล ผลภาษา (Language Processing Technology) ทำาให้ได้เทคโนโลยีการสังเคราะห์เสียงพูด (Text-toSpeech Synthesis: TTS) ทีส่ ามารถนำาไปประยุกต์ใช้กับข้อความภาษาไทย เพื่อหาวิธีอ่านข้อความแล้ว แปลงข้อความจากตัวหนังสือภาษาไทยให้เป็นเสียงพูดภาษาไทย ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทย คุณภาพสูงสามารถสังเคราะห์เสียงพูดภาษาไทยได้ทุกคำา เนื่องจากมีสว่ นวิเคราะห์คำาอ่านที่สามารถ วิเคราะห์ได้แม้แต่คำาที่ไม่เคยปรากฏในพจนานุกรม นอกจากนี้ผู้ใช้สามารถเพิ่มคำาเฉพาะเช่นชื่อบุคคล พร้อมทั้งกำาหนดคำาอ่านได้อย่างอิสระ เพื่อให้ซอฟต์แวร์สามารถแปลงข้อความมาเป็นเสียงพูดได้ตรงกับ ความต้องการของผู้ใช้ นอกจากนี้ยังสามารถสร้างเป็นซอฟต์แวร์ไลบรารีที่สะดวกสำาหรับผู้นำาไปพัฒนาต่อ [4] ในประเทศไทย ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติได้พัฒนาซอฟต์แวร์สังเคราะห์ เสียงพูดชื่อว่า วาจา (Vaja) [3] 2.1.3.เทคโนโลยีเว็บเซอร์วิส [5] เว็บเซอร์วิส (Web Services) คือ ซอฟต์แวร์แอปพลิเคชันที่สามารถติดต่อสื่อสารโดยตรงกับ ซอฟต์แวร์อีกตัวหนึ่งผ่านระบบเครือข่าย (Network) ข้อมูลที่ตดิ ต่อระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการอยู่ในรูป แบบภาษาเอกซ์เอ็มแอล (eXtensible Markup Language : XML) ซึ่งเป็นมาตรฐานในการแลกเปลี่ยน ข้อมูลบนอินเทอร์เน็ตการติดต่อระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการผ่านทางอินเทอร์เน็ตโปรโตคอล เช่น โปรโตคอล HTTP การแลกเปลี่ยนข้อมูลโดยใช้เว็บเซอร์วิสนี้จะเป็นไปอย่างอัตโนมัติไม่ว่าแอปพลิเคชันนั้น จะพัฒนาด้วยภาษาใด บนระบบปฏิบัติการใดหรืออุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์แบบไหน ซึ่งมาตรฐานที่ใช้ใน การพัฒนาเว็บเซอร์วิส ได้แก่ 1. SOAP (Simple Object Access Protocol) เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อกำาหนดการส่ง ข้อมูลระหว่างผูใ้ ห้และรับบริการ ทำาให้สามารถเรียกใช้งานคอมโพเนนต์ข้ามเครื่อง ข้ามแพลตฟอร์ม และข้ามภาษาได้ เช่น asp.net, c#, php, perl, java, python, delphi สามารถติดสื่อสารเข้าใจกันได้ โปรโตคอลนี้ทำางานร่วมกับโปรโตคอล HTTP และรูปแบบข้อความที่สื่อสารกันด้วยภาษาเอกซ์เอ็มแอล (XML) 2. WSDL (Web Services Description Language) มาตรฐานที่ใช้เพื่อกำาหนดรูปแบบ ของการอธิบายการเรียกใช้เว็บเซอร์วิส ซึ่งเป็นภาษาที่อยู่ในความดูแลของ W3C (World Wide Web Consortium)

6 3. UDDI (Universal Description and Discovery Integration) เป็นมาตรฐานที่ใช้เพื่อ การประกาศและค้นหาเว็บเซอร์วสิ เพื่อให้ผู้ใช้บริการสามารถค้นหาเว็บเซอร์วิสได้ โดยง่าย

รูปที่ 2.2 มาตรฐานที่ใช้ในการพัฒนาเว็บเซอร์วสิ [6] 2.1.4.Asterisk [7] Asterisk คือ ซอฟต์แวร์ที่ทำาหน้าที่เป็น PBX (Private Branch eXchange) ที่เป็นโอเพนซอร์ส สำาหรับจัดการกับระบบโทรศัพท์บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ต สามารถทำาได้บนระบบปฏิบัติการ Linux และ UNIX และสามารถเชื่อมต่อกันบน PSTN และ VoIP แบบ real-time ได้ [8] ซึ่งสามารถทำากิจกรรมทาง โทรศัพท์ได้หลายอย่างในเครือข่ายได้ เช่น - เชื่อมต่อกับสำานักงานในสถานะต่างๆบน VoIP - สามารถส่ง Voicemail ให้กับพนักงานทุกคนได้ - สร้างแอปพลิเคชันทางเสียงสำาหรับติดต่อกับระบบที่คุณต้องการ - สร้างช่องทางการเข้าถึงบริษัทได้โดยผ่านทาง VPN จากที่ไหนก็ได้ Asterisk ได้รวมการทำางานหลายอย่างที่ใช้บ่อยในระบบส่งข้อความด้วย คือ - เสียงเพลงรอคิว สามารถเล่นไฟล์มีเดียได้หลายไฟล์รวมถึงไฟล์นามสกุล MP3 - จัดการเรื่องการเรียงคิวเพื่อรับสาย - ระบบอ่านออกเสียง - ระบบจดจำาเสียง - สามารถเชื่อมต่อกับโทรศัพท์พื้นฐานได้ - Channels การเชื่อมต่อโทรศัพท์เข้ากับ PBX

7 Channel ของ Asterisk เป็นตัวประสานการเชื่อมต่อแบบต่างๆเข้ากับโปรโตคอลของ VoIP คือ SIP, IAX, MGCP และ H.323 และเชื่อมต่อฮาร์ดแวร์กับ PSTN คือ Zaptel, ISDN, BRI และ PRI โทรศัพท์และโปรแกรมโทรศัพท์ที่ต่อเข้ากับ Channel จะต้องมีการลงทะเบียนหรือเข้าสู่ระบบเพื่อให้ทราบ ว่าสถานะของปลายทางว่าสามารถเข้าถึงได้หรือไม่ นอกจากนี้การลงทะเบียน Channel สำาหรับสายนอกที่ ต้องการเชื่อมต่อเข้ากับเซิร์ฟเวอร์ VoIP อื่นผ่านเครือข่าย SIP แบบฟรีหรือเสียค่าบริการ Asterisk รองรับโปรโตคอลหลายตัวสำาหรับ VoIP ทั้งโปรโตคอลสัญญาณที่เหมือน H.323 และ โปรโตคอลที่เอาไว้ส่งข้อมูลแบบมีเดียเหมือน RTP แต่ละ Channel รองรับมากกว่าหนึ่งโปรโตคอล ไฟล์ มีเดียที่ส่งจาก alaw/ulaw ไปที่ GSM และ ILBC จะถูกเข้ารหัสด้วย algorithm ที่แตกต่างกัน 1. SIP (Session Initiation Protocol) เป็นโปรโตคอลสำาหรับสร้าง ปรับปรุง และปิดการทำางานของ session ทัง้ แบบกลุ่มและ แบบเดี่ยว ซึ่ง session นัน้ ประกอบด้วย Internet telephone calls, multimedia distribution และ multimedia ในส่วนของ session จะเก็บข้อมูลของกลุ่มคนที่มีสว่ นเกี่ยวข้องกัน สามารถที่จะเห็นข้อมูลใน ลักษณะเดี่ยวกันได้ SIP สร้างมาเพื่อใช้กับอุปกรณ์ที่เรียกว่า proxy server เพื่อช่วยค้นหาเส้นทางที่จะไป ถึงตำาแหน่งของผู้ใช้ ใช้ตรวจสอบสิทธิ์และกำาหนดสิทธิ์ผู้ใช้สำาหรับให้บริการ อนุญาตให้ผู้ใช้แจ้งการ เปลี่ยนแปลงตำาแหน่งปัจจุบัน โครงสร้างของ SIP คล้ายกับ HTTP มาก โดยหนึ่งข้อความจะประกอบด้วย header และ body โดยในส่วนของ body สำาหรับโทรศัพท์จะถูกระบุใน SDP (Session Description Protocol) ใช้ UTF-8 ในการ encode ใช้ port 5060 สำาหรับ UDP และ TCP รองรับคุณสมบัติพื้นฐานของโทรศัพท์ผ่าน อินเทอร์เน็ต และสามารถเพิ่มฟังก์ชันการทำางานเข้าไปในโปรโตคอล ลักษณะเด่น SIP ที่เป็นเหตุผลของการเลือกเป็น protocol สำาหรับ VoIP คือ - Name Translation and User Location ซึ่งเป็นข้อมูลที่ทำาให้สามารถโทรหาสาย ปลายทางได้ไม่ว่าคู่สายปลายทางจะอยู่ทไี่ ด - Feature Negotiation ระหว่างสนทนาจะอนุญาตให้บุคคลที่เกี่ยวข้องเข้าร่วมสนทนา ได้ไม่จำากัดจำานวน นอกจากนี้สามารถยกเลิกการสนทนาของสายนั้นๆ ได้เช่นกัน - Call feature changes สามารถกำาหนดลักษณะเพิ่มเติมเข้าไปให้กับผู้ใช้ในกรณีที่ จำาเป็นระหว่างการสนทนา เช่น ระหว่างการสนทนาต้องการฟังก์ชันการทำางานแบบ วีดีโอโปรโตคอลนี้สามารถจัดการได้ - Media negotiation ในการสนทนาที่ต้องใช้ทั้งภาพและเสียง SIP จะอนุญาตให้เลือก codec ทีเ่ หมาะสมระหว่างอุปกรณ์ที่แตกต่างกัน 2. IAX (Inter-Asterisk eXchange)

8 สร้างมาเพื่อติดต่อกับ Asterisk server ตัวอื่น ผ่าน port 4569 สำาหรับช่องสัญญาณและ RTP คุณสมบัติเด่นของ IAX คือ สามารถรวมข้อมูลให้เป็นก้อนกลุ่มเดียวก่อนทำาการส่ง ทำาให้ลดแบนด์ วิดท์ในกรณีที่ต้องการส่งข้อมูลแต่ละช่องสัญญาณพร้อมๆกัน การรวมข้อมูลนั้นให้เสมือนเป็น datagram ที่มี Header เพียงอันเดียว ทำาให้ลดจำานวน Header ลง สิ่งทีต่ ามมาก็คือ ลดพลังงานในการประมวลผล ทำาให้ความร้อนของเครื่องนั้นไม่สูงมาก นอกจากนี้ช่วยให้โปรโตคอลนับจำานวนช่องสัญญาณที่อยู่ระหว่าง จุดสองจุดได้ง่ายในกรณีที่มีช่องสัญญาณจำานวนมาก ในส่วนของความปลอดภัย IAX มีวิธีในการตรวจสอบสิทธิ์ผู้ใช้ 3 วิธี คือ plain text, MD5 hashing และ RSA Key exchange จะเห็นว่าไม่ได้เข้ารหัส Header หรือ เส้นทาง ระหว่างจุดสองจุดเลย วิธีแก้อาจจะใช้เทคโนโลยี VPN (Virtual Private Network) เข้ามาช่วย ซึ่งเป็นการเข้ารหัสข้อมูลก่อนที่จะ ส่งไปยังปลายทางทำาให้มีความปลอดภัยมากขึ้น

2.2.งานวิจัยที่เกี่ยวข้อง งานวิจัยที่เกี่ยวข้องจะแบ่งออกเป็น 2 หัวข้อ คือ การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา และการพัฒนา โปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2.2.1.การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา การแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาในสถาบันการศึกษาต่างๆ ส่วนมากมักจะแจ้งผ่านทางเว็บไซต์ เนื่องจากมีความสะดวกรวดเร็วในการรับข้อมูลและง่ายในการพัฒนาแอปพลิเคชัน โดยใช้เว็บเบราว์เซอร์ บนเครื่องคอมพิวเตอร์ที่มีการเชื่อมต่อกับอินเทอร์เน็ตเปิดดูที่เว็บไซต์ แต่ในปัจจุบันมีการใช้งานอุปกรณ์ สื่อสารที่เป็นแบบไร้สายมากขึ้น เช่น โทรศัพท์มือถือ และ PDA (Personal Digital Assistant) เป็นต้น ซึ่ง เป็นอุปกรณ์ที่มีขนาดที่เล็กลงและมีความสะดวกสบายในการพกพา ทำาให้มีการพัฒนาแอปพลิเคชัน สำาหรับการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาผ่านทางอุปกรณ์สื่อสารไร้สายเหล่านี้ เพื่อให้สามารถรับข้อมูลได้ อย่างรวดเร็วและสะดวกสบายมากยิ่งขึ้น เทคโนโลยีบนอุปกรณ์สื่อสารไร้สายที่นำามาใช้ในการพัฒนาแอป พลิเคชันสำาหรับการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามีดังนี้ คือ WAP, SMS และ IVR 2.2.1.1.WAP (Wireless Application Protocol) [9] เป็นโปรโตคอลสำาหรับอุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่พกพาได้ เช่น โทรศัพท์มือถือ และ PDA (Personal Digital Assistant) เป็นต้น เพื่อให้สามารถเข้าสู่เครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ WAP มี โครงสร้างคล้ายคลึงกับระบบอินเทอร์เน็ตมากแต่ได้รับการออกแบบเพื่อให้เหมาะสมกับการใช้งานในเครือ ข่ายไร้สายที่มีความเร็วตำ่าในอินเทอร์เน็ต ภาษาที่ใช้สำาหรับแสดงผลสำาหรับเบราว์เซอร์ คือ HTML จึงไม่

9 เหมาะสมกับการแสดงข้อมูลทางหน้าจอบนอุปกรณ์พกพาที่มักมีขนาดเล็กและมีแบนด์วิดท์จำากัด จึงมีการ พัฒนาภาษาขึ้นมาใหม่เรียกว่า WML (Wireless Markup Language) ข้อดีของ WAP คือ เพิ่มความสะดวกในการติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตโดยการใช้ อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่พกพาได้ และสามารถพัฒนาโปรแกรมเป็นไปได้ง่ายและรวดเร็ว เนื่องจากใช้ ภาษา WML (Wireless Markup Language) ซึ่งมีรูปแบบเป็นไปตามมาตรฐาน XML (eXtensible Markup Language) ทีค่ ุ้นเคยกันดี ส่วนข้อเสียของ WAP คือ ติดต่อกับเครือข่ายอินเทอร์เน็ตได้ช้าและรับ ข้อมูลจากอินเทอร์เน็ตจำานวนมากในครั้งเดียวไม่ได้ เนื่องจากใช้อุปกรณ์สื่อสารแบบไร้สายที่พกพาได้ใน การเข้าถึงเครือข่ายอินเทอร์เน็ตซึ่งเข้าถึงด้วยความเร็วที่ตำ่าและมีหน่วยความจำาที่จำากัด อีกทั้งยังมีค่าใช้ จ่ายในการเข้าใช้งานที่สูง โดยคิดค่าบริการเป็นจำานวนนาทีที่ใช้งาน ตัวอย่างที่มีการนำา WAP มาใช้ในการแจ้งผลการเรียน เช่น มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา สามารถตรวจสอบผลการเรียนทางโทรศัพท์มือถือได้ที่ http://admin.src.ku.ac.th/wap/ [10] และมหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่ สามารถตรวจสอบผลการเรียนทางโทรศัพท์มือถือได้ที่ http://academic.cmru.ac.th/wap [11] เป็นต้น 2.2.1.2.SMS (Short Message Service) [12] เป็นบริการส่งข้อความสั้นๆผ่านทางโทรศัพท์มือถือ ลักษณะการใช้งานจะคล้ายกับการส่ง อีเมล แต่จะสามารถส่งข้อความได้ไม่เกิน 160 ตัวอักษร จุดเด่นของบริการ SMS คือ สามารถส่งไปยังผู้รับ โดยไม่ต้องกังวลว่าพื้นที่ของผู้รับจะมีสัญญาณหรือไม่ในขณะนั้น หากทางปลายทางไม่มีสัญญาณระบบ SMS นีจ้ ะเก็บข้อมูลไว้จนกว่าปลายทางมีสัญญาณทางระบบจึงจะทำาการส่งข้อมูลไปในทันที นอกจากนี้ แล้ว SMS ยังสามารถส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำากัดอีกด้วย ข้อดีของ SMS คือ รับส่งข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์มือถือ เช่น การ แจ้งเตือนภัยต่างๆ เป็นต้น และส่งข้อความที่ได้รับมาต่อไปยังหมายเลขอื่นๆได้อย่างไม่จำากัด ส่วนข้อเสีย ของ SMS คือ ขีดจำากัดในการส่งข้อมูลแต่ละครั้ง โดยส่งได้ครั้งละไม่เกิน 160 ตัวอักษร และมีค่าใช้จ่ายใน การส่งข้อมูล โดยคิดค่าบริการต่อจำานวนข้อความที่ส่ง ตัวอย่างที่มีการนำา SMS มาใช้ในการแจ้งผลการเรียน เช่น มหาวิทยาลัยรามคำาแหง โดย เรียกบริการนีว้ ่า “ซิมราม” ซึ่งปิดบริการให้นักศึกษาสามารถใช้บริการทางการศึกษาผ่านทาง SMS เช่น ลง ทะเบียนเรียน แจ้งตารางสอบและห้องสอบ แจ้งผลสอบ และแจ้งข่าวสารของทางมหาวิทยาลัย โดยใช้ บริการผ่านทางเครือข่าย AIS เท่านั้น [13] และมหาวิทยาลัยราชภัฏกำาแพงเพชร เป็นระบบตรวจสอบผล การเรียนด้วยระบบ SMS โดยสามารถให้บริการผ่านเครือข่ายทั้ง AIS, DTAC, Orange [14] เป็นต้น 2.2.1.3.IVR (Interactive Voice Respond) [15]

10 ระบบตอบรับอัตโนมัตทิ างโทรศัพท์ คือ กระบวนการขอใช้บริการผ่านทางหมายเลข โทรศัพท์ ซึ่งประกอบด้วย 3 ส่วนหลัก คือ - ลูกค้า (Customer) คือ ผู้ขอใช้บริการ IVR - ผู้ควบคุมการให้บริการ (Operator) เช่น AIS, DTAC, Orange เป็นต้น - ผู้ให้บริการ (Content Provider) หรือ CP คือ ผู้ที่เปิดให้ใช้บริการ IVR ตัวอย่าง เช่น การสมัครเพื่อรับข้อมูลการดูดวงผ่าน SMS โดยกด *411122233 แล้วกด โทรออกในการสมัครใช้บริการ เมื่อผูใ้ ช้กดหมายเลข IVR (*411122233 ตามตัวอย่าง) Operator ก็จะได้ รับข้อความ IVR นี้ แล้วดูว่าหมายถึงบริการอะไร เป็นของ CP เจ้าไหน ก่อนส่งต่อไปให้ CP เจ้านั้น เรื่อง ของการหักเงิน Operator จะเป็นผู้จดั การเองว่าบริการของ CP ที่ได้รับมามีคา่ บริการเท่าไร ตามที่ Operator กับ CP ตกลงกันไว้ ข้อดีของ IVR คือ เข้าถึงข้อมูลได้อย่างรวดเร็วผ่านทางโทรศัพท์ และสะดวกสบายแก่ผู้ใช้ งานเนื่องจากรับข้อมูลโดยใช้เสียง ส่วนข้อเสียของ IVR คือ ใช้เวลานานในการรับข้อมูลเนื่องจากเป็นข้อมูล เสียง และมีค่าใช้จ่ายในการเข้าใช้งานตามค่าบริการของแต่ละ Operator ตัวอย่างที่มีการนำา IVR มาใช้ในการแจ้งผลการเรียน เช่น มหาวิทยาลัยรามคำาแหง นักศึกษาสามารถโทรศัพท์มายังหมายเลข 0-2310-6000 และ 0-2310-6100 แล้วจะเข้าสู่ “ระบบสอบถาม ข้อมูลทางโทรศัพท์ มหาวิทยาลัยรามคำาแหง” ซึ่งมีการให้บริการต่างๆผ่านทางระบบตอบรับอัตโนมัติ ได้แก่ ข่าวประชาสัมพันธ์และบริการทั่วไป ข้อมูลนักศึกษา ข้อมูลการลงทะเบียนเรียน [16] และ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี นำามาตอบรับเรื่องการประกาศเกรด ผลสอบ และประกาศ ข้อมูลข่าวสารต่างๆที่เกี่ยวข้องกับนักศึกษา ซึ่งเราสามารถโทรมาฟังได้ที่เบอร์ 0-2470-8333 หรือเบอร์ ภายในกดเบอร์ 8333 [17] เป็นต้น 2.2.2.การพัฒนาโปรแกรมประยุกต์บนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ [18] ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ (NewsTalk) เป็นงานวิจัยศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และ คอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ที่ประสานเทคโนโลยีโทรศัพท์พื้นฐาน (Public Switch Telephone Network : PSTN) โทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต (Voice over IP : VoIP) อินเทอร์เน็ต (Internet) และการสังเคราะห์เสียงพูด (Text-to-Speech Synthesis : TTS) เพื่อเป็นบริการทีใ่ ห้ข้อมูลข่าวสารแก่ผู้ใช้ งานโทรศัพท์ไม่ว่าจะอยู่ห่างไกลเพียงใดก็สามารถติดตามข้อมูลข่าวสารได้ตลอดเวลาโดยไม่ต้องอ่านข่าว เอง ภายในระบบเป็นการทำางานร่วมกันระหว่างซอฟต์แวร์ IP PBX และโปรแกรมสังเคราะห์เสียงทั้งภาษา ไทยและภาษาอังกฤษโดยทำาการพัฒนาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติบนระบบโทรศัพท์ผ่านเครือข่าย

11 อินเทอร์เน็ต ซึ่งใช้ซอฟต์แวร์ IP PBX ทีเ่ ป็นโอเพนซอร์ส คือ Asterisk ที่สามารถติดตั้งบน PC ทัว่ ไปได้โดย ไม่ต้องอาศัยฮาร์ดแวร์แบบพิเศษ เพียงแค่มีการ์ดสำาหรับคู่สายแบบ E1/T1 ก็สามารถเชื่อมต่อกับระบบ โทรศัพท์พื้นฐานได้ ทำาให้สามารถนำามาทดแทนอุปกรณ์ PBX และ IVR แบบดั้งเดิมในราคาที่ตำ่าลงมา นอกจานี้ Asterisk ยังมีอินเตอร์เฟสสำาหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ที่ รองรับภาษาต่างๆ เช่น Perl, Python, PHP, Ruby, C เป็นต้น ขั้นตอนการทำางานของระบบฟังข่าวอัตโนมัติ มีดังต่อไปนี้ 1. ผู้ใช้งานโทรศัพท์เข้ามาที่ระบบโดยสามารถจากระบบโทรศัพท์พื้นฐาน โทรศัพท์ เคลื่อนที่ หรือโทรศัพท์ผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต 2. Asterisk ตอบรับการทำางานและเรียกใช้โปรแกรม NewsTalk 3. ระบบ NewsTalk ดึงข้อมูลข่าวจากอินเทอร์เน็ต 4. ระบบ NewsTalk ตรวจสอบแยกประเภทข้อความที่เป็นภาษาไทยและภาษาอังกฤษ แล้วสังเคราะห์ข้อความข่าวเป็นข้อความเสียง 5. ส่งข้อความเสียงแสดงให้ผู้โทรเข้ามาฟัง

รูปที่ 2. 3 ขั้นตอนการทำางานของระบบฟังข่าวอัตโนมัติ [18]

12

บทที่ 3 การออกแบบระบบ 3.1.วิเคราะห์ความต้องการของผู้ใช้

โครงงานนี้ได้สัมภาษณ์ผใู้ ช้งานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งในที่นี้ คือ ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น และ สำานักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น 3.1.1.ศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ทางศูนย์คอมพิวเตอร์ได้นำา VoIP เพื่อจะมาใช้ในการเชื่อมต่อกับ PBX ของศูนย์คอมพิวเตอร์ไปยัง PBX ของวิทยาเขตหนองคาย ปัญหาของการนำา VoIP มาใช้งานตอนนี้ คือ เรื่องการใช้พลังงานของเครื่อง IP PBX ยังไม่มีความเสถียร และเมื่อระบบเครือข่ายมีการเปลี่ยนแปลง ตัว IP PBX จะไม่เปลี่ยนแปลงตาม ระบบเครือข่ายที่เปลี่ยนไป IP PBX ของศูนย์คอมพิวเตอร์ทำางานบนระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ และซอฟต์แวร์ที่ทำาหน้าเป็น PBX คือ Soft Phone ซึ่งเป็นซอฟต์แวร์ลิขสิทธิ์

รูปที่ 3.1 โครงสร้างของระบบโทรศัพท์ในมหาวิทยาลัยขอนแก่น ข้อแนะนำาในการนำาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาที่จะทำาการพัฒนามา เชื่อมต่อกับ PBX คือ ทำาการตั้ง IP PBX บนเครื่องพีซีที่เป็นเครื่องเซิร์ฟเวอร์และระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อ แจ้งผลการเรียนของนักศึกษาบนเครื่องเซิร์ฟเวอร์นี้ แล้วนำามาเชื่อมต่อเข้ากับ PBX ของศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยใช้การ์ดที่ใช้ในการเชื่อมต่อ PBX กับ IP PBX เข้าด้วยกันเพื่อให้ PSTN สามารถติดต่อกับ VoIP ได้

13 และจะต้องมีการปรับเปลี่ยน Auto Attendant บน PBX ของศูนย์คอมพิวเตอร์เพื่อให้สามารถเข้าถึงระบบ ตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาที่ทำาการพัฒนาบน IP PBX ได้ ปัญหาในการที่จะนำาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามาเชื่อมต่อเข้ากับ ศูนย์คอมพิวเตอร์ คือ ทางศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่เหลือหมายเลขที่ทั้งเป็น PSTN และ VoIP ให้ใช้งาน จึงไม่ สามารถทำาการเชื่อมต่อเข้ากับ IP PBX ที่จะสร้างขึ้นได้ แนวทางการแก้ไข คือ ให้จำาลองระบบขึ้นมาเพื่อทดสอบให้เห็นว่าสามารถใช้ VoIP ในการพัฒนา ระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาได้ขึ้นมาก่อน 3.1.2.สํานักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น ปัจจุบันการแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามีเพียงช่องทางเดียวคือผ่านทางเว็บไซต์ของสำานัก ทะเบียน ทางสำานักทะเบียนก็มีความต้องการที่จะเพิ่มช่องทางในการแจ้งผลการเรียนโดยวิธีอื่น คือ ใช้วิธี การส่ง SMS เพื่อแจ้งผลการเรียนโดยจะทำาการสร้าง SMS Gateway ของสำานักทะเบียนเองสำาหรับส่ง ข้อความตอบกลับไปยังผูใ้ ช้งาน และอีกวิธีหนึ่งที่นักศึกษาได้เสนอไปคือแจ้งผลผ่านทางโทรศัพท์โดยใช้ VoIP ซึ่งทางสำานักทะเบียนก็ให้ความสนใจกับโครงการนี้ เนื่องจากทางสำานักทะเบียนกำาลังมีโครงการที่จะสร้างระบบ Call Center เพื่อแจ้งข้อมูลข่าวสาร ทัว่ ไปเกี่ยวกับงานสำานักทะเบียนเพื่อให้บริการแก่นักศึกษาสามารถสอบถามข้อมูลมาทีส่ ำานักทะเบียน โดยตรง ซึ่งในการสร้างระบบนี้ขึ้นมาทางสำานักทะเบียนจะต้องซื้อ PBX ตัวใหม่แล้วทำาการวางระบบว่าจะ สามารถจะรองรับสายจากภายนอกที่โทรเข้ามาพร้อมกันได้ครั้งละเท่าไหร รวมถึงสายภายในของ มหาวิทยาลัยด้วย การแบ่งสายเพื่อใช้ในการทำาส่วนของ Call Center เช่น สอบถามการรับนักศึกษาใหม่ การแจ้งผลการเรียน แจ้งกำาหนดการลงทะเบียน เป็นต้น ปัญหาในการที่จะนำาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษามาไว้ที่สำานัก ทะเบียนคือ เนื่องจากสำานักทะเบียนยังไม่มีตัว PBX เป็นของหน่วยงานเองตัวเอง จึงทำาให้ไม่สามารถ สนับสนุนโครงการแจ้งผลการเรียนผ่านโทรศัพท์โดยใช้ VoIP ได้ และไม่มีงบสนับสนุนเพื่อซื้อการ์ดที่ใช้ใน การเชื่อมต่อระหว่าง PBX กับ IP PBX ซึ่งมีราคาแพง รวมถึงการขอหมายเลขใหม่สำาหรับรอบรับระบบ ตอบรับอัตโนมัตินี้โดยเฉพาะก็มีค่าใช้จ่ายที่แพงมาก แนวทางการแก้ไขคือ มีการจำาลองระบบขึ้นมาเพื่อทดสอบให้เห็นว่าสามารถใช้ VoIP ในการ พัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษาได้ โดยทางสำานักทะเบียนจะให้ความช่วย เหลือในส่วนของโครงสร้างของฐานข้อมูลและข้อมูลที่เกี่ยวกับเฉพาะวิชาที่เปิดสอน พร้อมทั้งเกรด นักศึกษาบางคนโดยไม่ระบุชื่อนักศึกษามาให้เพื่อใช้ในการจำาลองระบบให้สามารถใช้งานได้ก่อน

14

3.2.กําหนดโครงสร้างของระบบ โครงสร้างโดยรวมของระบบจะแบ่งออกเป็น 2 ฝั่งคือ ฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติและฝั่งของสำานัก ทะเบียน เมื่อผู้ใช้โทรเข้าไปที่ระบบจะมี IVR เป็นตัวจัดการในเรื่องการตรวจสอบผู้ใช้, รับคำาร้องขอข้อมูล จากผูใ้ ช้และส่งคำาร้องขอข้อมูลนัน้ ไปยังฐานข้อมูลฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ เมื่อพบข้อมูลที่ตรงตามความ ต้องการข้อมูลนั้นจะถูกส่งไปแปลงเป็นเสียงพูดและส่งให้ผู้ใช้ได้ฟัง แต่ถา้ ไม่พบข้อมูลฐานข้อมูลจะสร้าง SOAP request ไปยังเว็บเซอร์วิสเพื่อให้เว็บเซอร์วิสนี้ดึงข้อมูลทีต่ ้องการมาจากฐานข้อมูลของฝั่งสำานัก ทะเบียน เมื่อได้ข้อมูลที่ต้องการก็ส่งข้อมูลกลับไปเว็บเซอร์วิสและเว็บเซอร์วสิ ก็จะสร้าง SOAP response กลับมายังฐานข้อมูลของฝั่งระบบตอบอัตโนมัติและจัดเก็บข้อมูลนัน้ ลงฐานข้อมูลของฝั่งระบบตอบรับ อัตโนมัติ จากนั้นส่งไปแปลงเป็นเสียงเพื่อให้ผู้ใช้ได้รับฟัง ในกรณีที่เว็บเซอร์วิสส่งคำาร้องขอไปสืบค้นหา ข้อมูลในฐานข้อมูลของฝั่งสำานักทะเบียนแล้วไม่พบ เว็บเซอร์วิสก็จะทำาการสร้าง SOAP response กลับ มาเช่นกัน แต่เป็น SOAP response ทีแ่ จ้งว่าไม่พบข้อมูลที่สืบค้น

รูปที่ 3.2 โครงสร้างของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเรียนสำาหรับนักศึกษา

3.3.การจําลองระบบ ระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษานี้แบ่งออกเป็น 3 ส่วนดังนี้ 1. เซิร์ฟเวอร์ฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ ประกอบด้วย Asterisk, ฐานข้อมูลฝั่งระบบตอบรับ อัตโนมัติ และโปรแกรมสังเคราะห์เสียง เหตุผลที่รวม 3 อย่างนี้เข้าด้วยกันเพราะเป็นส่วน ทีต่ ิดต่อกับผู้ใช้โดยตรง ซึ่งรายละเอียดของแต่ละโปรแกรมมีดังนี้ 1.1.Asterisk เป็นโปรแกรม IVR สำาหรับตอบรับโทรศัพท์จากผู้ใช้และควบคุมขั้นตอนการ ทำางานของระบบ

15

2.

3.

1.2.ฐานข้อมูลฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ มีไว้สำารองข้อมูลเกรดของผูใ้ ช้แต่ละคนเพื่อลด จำานวนความครั้งในการติดต่อกับฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน ฐานข้อมูลนี้จะสามารถ เปลี่ยนแปลงได้ใน 2 กรณีคือ สั่งให้มีการอัปเดตข้อมูลจากผู้ดูแลระบบด้วยคำาสั่งบางคำา สั่งหรือตั้งเวลาในการอัปเดตข้อมูล 1.3.โปรแกรมสังเคราะห์เสียง เป็นตัวแปลงจากข้อมูลที่รับมาจากฐานข้อมูลให้เป็นเสียง และส่งให้กับผู้ใช้ได้รับฟัง เซิร์ฟเวอร์ของเว็บเซอร์วิส ซึ่งจะเป็นตัวรับคำาร้องขออัปเดตข้อมูลจากฐานข้อมูลฝั่งระบบ ตอบรับอัตโนมัตใิ นรูปของ SOAP request จากนั้นแปลงคำาร้องนี้ให้เป็นภาษา SQL และ ส่งคำาร้องต่อไปยังฐานข้อมูลในฝั่งของสำานักทะเบียน เมื่อได้รับข้อมูลจากฐานข้อมูลแล้ว เว็บเซอร์วิสจะทำาการแปลงข้อมูลที่ได้ให้อยู่ในรูปของ SOAP response เพื่อส่งกลับไปยัง ฐานข้อมูลฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยเว็บเซอร์วิสจะใช้เทคโนโลยี NuSOAP ในการ สร้างเว็บเซอร์วิสและเรียกใช้งานเว็บเซอร์วิสแบบ SOAP เซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน จะใช้ในการเก็บข้อมูลผลการเรียนของฐานข้อมูล ในฝั่งของสำานักทะเบียน

รูปที่ 3.3 การจำาลองระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อรายงานผลการเรียนสำาหรับนักศึกษา

3.4.เครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนา เป็นการกำาหนดเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนาจากระบบที่ได้จำาลองขึ้นมา มีทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์ และซอฟต์แวร์ ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้ 3.4.1.ฮาร์ดแวร์ที่ใช้ 1. เครื่องคอมพิวเตอร์ จำานวน 3 เครื่อง - หน่วยความจำา 1 GB - ฮาร์ดดิสก์ 120 GB

16 3.4.2.ซอฟต์แวร์ที่ใช้ 1. Asterisk 1.2.22 (Open Source) [19] ซอฟต์แวร์ IP PBX ทีเ่ ป็นโอเพนซอร์ส ที่มีอินเตอร์เฟสสำาหรับเพิ่มแอปพลิเคชัน คือ Asterisk Gateway Interface (AGI) ที่รองรับภาษาต่างๆ เช่น Perl, Python, PHP, Ruby, C 2. FreePBX 2.2.3 (Open Source) [20] ซอฟต์แวร์ที่ใช้ในการตั้งค่าต่างๆให้กับ Asterisk และใช้จัดการระบบ IP PBX ซึ่งมีรูปแบบ เป็น GUI 3. CentOS 4.5 (Open Source) [21] ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ที่ใช้ในการทำาเซิร์ฟเวอร์เว็บเซอร์วิส และเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลในฝั่ง ของสำานักทะเบียน 4. TrixBox 2.2.3 (Open Source) [22] ซอฟต์แวร์ที่มีการติดตั้ง Asterisk และ FreePBX ลงบน CentOS ทีเ่ ป็นระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์เรียบร้อยแล้ว 5. Microsoft Windows XP Professional SP2 ระบบปฏิบัติการที่ใช้ในการพัฒนาระบบ 6. Apache 2.0.52 (Open Source) [23] เว็บเซิร์ฟเวอร์ที่รองรับภาษา PHP และใช้งาน SSL (Secure Sockets Layer) ได้ 7. PHP 4.3.11 (Open Source) [24] ภาษาที่ใช้ในการพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติ และสร้างเว็บเซอร์วิสและเรียกใช้งาน เว็บเซอร์วิส 8. NuSOAP 0.7.2 (Open Source) [25] ชุดไลบรารีที่ใช้สำาหรับพัฒนาและเรียกใชงานเว็บเซอร์วิสในรูปแบบของ SOAP ซึ่งเป็น ภาษา PHP 9. Vaja TTS v.3.1 Engine [3, 31] ชุดไลบรารีที่ใช้สำาหรับแปลงข้อความเป็นเสียงพูดที่เป็นภาษาไทย พัฒนาโดย NECTEC 10. Festival 1.4.2 (Open Source) [26] ชุดไลบรารีที่ใช้สำาหรับแปลงข้อความเป็นเสียงพูดที่เป็นภาษาอังกฤษ 11. Oracle Database 10g Release 2 (10.2.0.1.0) for Linux x86 [27] ฐานข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในฝั่งของสำานักทะเบียน 12. MySQL 4.1.20 (Open Source) [28] ฐานข้อมูลที่ใช้ในการเก็บข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ

17 13. Macromedia Dreamweaver 8 ชุดเครื่องมือช่วยในการพัฒนาแอปพลิเคชันภาษา PHP 14. X-Lite 3.0 for Window [29] ซอฟต์แวร์โทรศัพท์ (Softphone) ใช้ในการทดสอบโทรศัพท์เข้าไปที่ระบบตอบรับอัตโนมัติ

3.5.การออกแบบระบบตอบรับอัตโนมัติ การออกแบบระบบตอบรับอัตโนมัติประกอบด้วย การออกแบบขั้นตอนการทำางานของระบบตอบ รับอัตโนมัติ และการกำาหนดฟังก์ชันการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ ดังนี้ 3.5.1.ขั้นตอนการทํางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ เป็นการกำาหนดขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติเมื่อมีนักศึกษาโทรศัพท์เข้ามาฟังผล การเรียนที่ระบบตอบรับอัตโนมัติ ซึ่งขั้นตอนการทำางานเป็นไปดังรูปที่ 3.4 และ 3.5 3.5.2.ฟังก์ชันการทํางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 1. Input Specification - หมายเลขเพื่อเลือกหัวข้อการรับฟังจากปุ่มโทรศัพท์ - หมายเลขประจำาตัวนักศึกษาจากปุ่มโทรศัพท์ - หมายเลขรหัสผ่านจากปุ่มโทรศัพท์ - หมายเลขปีการศึกษาตามด้วยภาคเรียนจากปุ่มโทรศัพท์ 2. Output Specification - การอ่านผลการเรียนแต่ละวิชาในภาคเรียนนั้นเป็นเสียงผ่านโทรศัพท์ - การอ่านผลการเรียนเฉลี่ยเป็นเสียงผ่านโทรศัพท์ - การอ่านผลการเรียนเฉลี่ยสะสมเป็นเสียงผ่านโทรศัพท์ 3. Functional Specification - การรับข้อมูลที่ป้อนจากปุ่มโทรศัพท์ - การตรวจสอบบุคคลเพื่อเข้าใช้งานระบบตอบรับอัตโนมัติ - การร้องขอข้อมูลผลการเรียนจากเว็บเซอร์วิส - การดึงข้อมูลผลการเรียนจากฐานข้อมูลโดยใช้เว็บเซอร์วิส - การแปลงข้อมูลผลการเรียนเป็นข้อมูลเสียงโดยเรียกใช้เว็บเซอร์วิสของ VAJA - การส่งไฟล์เสียงที่สังเคราะห์แล้วให้กับผู้ที่โทรศัพท์เข้ามาฟัง

18

รูปที่ 3.4 ขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา

19

รูปที่ 3.5 ขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติเพื่อแจ้งผลการเรียนของนักศึกษา(ต่อ)

20 3.6.การออกแบบฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ เป็นฐานข้อมูลที่จะใช้เก็บข้อมูลเกรดของนักศึกษาเพื่อทำาเป็นระบบตอบรับอัตโนมัติ โดยจะมีการ ติดต่อกับฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน เพื่อจะช่วยลดการทำางานเซิร์ฟเวอร์ฐานข้อมูลของสำานักทะเบียน โดยใช้ฐานข้อมูลชื่อว่า stdgrade 3.6.1.ER-Diagram ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ

รูปที่ 3.6 ER-Diagram ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ 3.6.2.Database Layout ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ

รูปที่ 3.7 Database Layout ของฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ

21 3.6.3.รายละเอียดตารางในฐานข้อมูล ตารางที่ 3.1 ตาราง student ใช้เก็บข้อมูลของนักศึกษา Field Type Key student_id CHAR(11) PK student_name_en VARCHAR(255) student_name_th VARCHAR(255) student_birthday DATETIME ตารางที่ 3.2 ตาราง course ใช้เก็บข้อมูลของรายวิชาที่มีอยู่ Field Type Key course_id CHAR(6) PK course_name_en VARCHAR(255) course_name_th VARCHAR(255) course_type CHAR(2) course_credit INTEGER ตารางที่ 3.3 ตาราง grade Field student_id course_id grade_semester grade_academic_year grade_letter garde_release

Description รหัสนักศึกษา ชื่อนักศึกษา (ภาษาอังกฤษ) ชื่อนักศึกษา (ภาษาไทย) วันเดือนปีเกิดของนักศึกษา Description รหัสรายวิชา ชื่อรายวิชา (ภาษาอังกฤษ) ชื่อรายวิชา (ภาษาไทย) ระบบเกรด จำานวนหน่วยกิต

ใช้เก็บข้อมูลเกรดทีไ่ ด้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา Type Key Description CHAR(11) PK, FK รหัสนักศึกษา CHAR(6) PK, FK รหัสรายวิชา CHAR(1) PK ภาคการศึกษา CHAR(4) PK ปีการศึกษา CHAR(2) เกรดที่ได้ DATETIME วันเวลาที่เกรดออก

3.7.การออกแบบเว็บเซอร์วิสเพื่อดึงข้อมูลในฐานข้อมูลของสํานักทะเบียน เว็บเซอร์วิสที่ทำาการออกแบบประกอบด้วย 3 เมธอด ดังนี้ 1. get_student เป็นเมธอดร้องขอข้อมูลเกี่ยวกับนักศึกษาได้แก่ ชื่อภาษาไทย ภาษาอังกฤษ รหัสนักศึกษา วันเดือนปีเกิด โดยจะทำาการร้องขอหลังจากเปิดภาคเรียนเป็นเวลา 1 เดือนเพื่อ ได้ข้อมูลที่จะไม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก ซึ่งระบบจะร้องขอเพียงรายละเอียดของนักศึกษาใหม่ ในแต่ละปีเท่านั้น

22 ตัวอย่างของเอกสาร XML ที่เป็นข้อมูลของนักศึกษา <students> <student> 473040613-6 <english>Mr.Wittawat Wasuree นายวิทวัฒน์ วะสุรี 28-10-2528

2. get_course เป็นเมธอดร้องขอรายละเอียดของรายวิชาที่เปิดทั้งหมด ได้แก่ รหัสวิชา ชื่อวิชา ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ หน่วยกิต โดยจะทำาการร้องขอข้อมูลเหล่านี้หลังจากเปิดภาคเรียน เป็นเวลา 1 เดือนเพื่อได้ข้อมูลทีไ่ ม่มีการเปลี่ยนแปลงอีก เงื่อนไขในการร้องขอจะส่งรหัสของ แต่ละรายวิชาที่มีอยู่ในฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัตไิ ปตรวจสอบกับฐานข้อมูล ฝั่งสำานักทะเบียนเพื่อหารหัสวิชาที่ไม่ตรงกัน จากนั้นนำาข้อมูลของรายวิชาเหล่านั้นมาอัปเด ตลงฐานข้อมูลฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ ตัวอย่างของเอกสาร XML ที่เป็นข้อมูลของรายวิชาที่มีอยู่ 178498 <english>computer engineering pre-project การเตรียมงานโครงการวิศวกรรมคอมพิวเตอร์ SU 1

23


3. get_grade เป็นเมธอดร้องขอเกรดของนักศึกษาแต่ละคนข้อมูลที่จะได้รับคือ รหัสนักศึกษา รหัสวิชา ผลเกรด ภาคการเรียน ปีการศึกษา เวลาที่เกรดออก เงื่อนไขที่ใช้ตรวจสอบก่อน ทำาการร้องขอคือ ทำาการเรียกเปรียบเทียบเวลาเกรดออกของแต่ละฐานข้อมูล ถ้าเวลาเกรด ออกของฐานข้อมูลมากกว่าแสดงว่ามีการเปลี่ยนแปลงจึงทำาการร้องขอรายวิชาที่เปลี่ยนแปลง นัน้ มาอัปเดตลงฐานข้อมูลในฝั่งของระบบตอบรับอัตโนมัติ ตัวอย่างของเอกสาร XML ที่ข้อมูลเกรดที่ได้ในแต่ละรายวิชาของนักศึกษา <student>473040613-6 178498 <semester>1 2550 A 28-10-2550 17:59:59 . . .

24

บทที่ 4 ข้อสรุปและข้อเสนอแนะ 4.1.บทสรุปการดําเนินงาน ช่วงแรกของการดำาเนินงานได้ศึกษารูปแบบการแจ้งผลการเรียนให้นักศึกษาได้ทราบของแต่ละ มหาวิทยาลัยและเทคโนโลยีที่นำามาใช้ เช่น WAP, SMS, IVR เป็นต้น ซึ่งแต่ละเทคโนโลยีก็มีข้อดีข้อเสีย แตกต่างกันไป เนื่องจากโครงการนี้เป็นการนำาเทคโนโลยี VoIP มาใช้เป็นหลักเราจึงทำาการศึกษาการนำา เทคโนโลยีนี้มาใช้จริงรวมทั้งปัญหาและอุปสรรคของหน่วยงานต่างๆ โดยเฉพาะศูนย์คอมพิวเตอร์และ สำานักทะเบียนซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับโครงงานนี้ จากนั้นศึกษาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการทำางานของ VoIP คือ Asterisk, Channels การเชื่อมต่อโทรศัพท์เข้ากับ PBX เมื่อทราบความต้องการของระบบแล้วจึง ทำาการออกแบบฐานข้อมูลในฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ ในช่วงที่สองได้ทำาหนังสือขอฐานข้อมูลผลการเรียนของสำานักทะเบียนมหาวิทยาลัยขอนแก่น และ ทำาหนังสือขออุปกรณ์สวิตซ์ที่รองรับ Qos สำาหรับ VoIP ของศูนย์คอมพิวเตอร์มหาวิทยาลัยขอนแก่น ระหว่างทำาเรื่องได้ทำาการทดลองเรียกใช้วาจาเว็บเซอร์วิส และทดลองสร้างเว็บเซอร์วิสเซิร์ฟเวอร์ที่ไปร้องขอ ข้อมูลจากฐานข้อมูลในฝั่งของสำานักทะเบียนซึ่งเป็น Oracle Database จากนั้นทำาการติดตั้งโปรแกรมที่ ต้องเกี่ยวข้องกับการพัฒนาโครงการ เช่น trixbox, X-Lite , Oracle Database เมื่อได้ฐานข้อมูลของสำา ทะเบียนจึงทำาการออกฐานข้อมูลของฝั่งระบบตอบรับอัตโนมัติ เมื่อทราบอินพุตและเอาท์พุตของระบบ แล้วจึงทำาการออกแบบขั้นตอนการทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ 4.2.ปัญหาที่พบในการดําเนินงาน เพื่อที่จะทำาให้ระบบนี้ใช้งานได้จริงเราจึงได้ไปขอคำาปรึกษาจากสำานักทะเบียน จึงทำาให้ทราบ ปัญหาว่าทางสำานักทะเบียนไม่มีตู้ PBX เป็นของตัวเอง และทางศูนย์คอมพิวเตอร์ไม่มีเบอร์โทรศัพท์เหลือ ที่จะให้ทำาการทดสอบระบบนี้ ทางสำานักทะเบียนก็ได้เสนอแนวทางแก้ไข คือ ให้ทำาระบบนี้เป็นระบบ จำาลองก่อน และทางสำานักทะเบียนจะสนับสนุนในเรื่องของโครงสร้างของฐานข้อมูลที่เกี่ยวข้อง และระบบ นี้อาจจะได้นำาไปใช้จริงเมื่อทุกอย่างพร้อม จากนั้นได้ทดลองเรียกใช้วาจาเว็บเซอร์วิสพบว่ามีความไม่ เสถียรของวาจาเว็บเซอร์วิสที่ถูกเรียก เนื่องจากในการเรียกใช้แต่ละครั้งอาจจะผลลัพธ์กลับมาเป็นชื่อไฟล์ แต่ไม่มีตัวไฟล์นั้นจริงหรือไม่ได้ผลลัพธ์กลับมาเลย แต่มีบางครั้งทีไ่ ด้ผลลัพธ์กลับมาทั้งชื่อไฟล์และตัวไฟล์ ด้วย และติดตั้งโปรแกรมที่เกี่ยวข้องและทดลองใช้ปรากฏว่าไม่สามารถติดตั้ง Oracle Database 10g Release 2 (10.2.0.1.0) for Linux x86 ลงบนระบบที่จำาลองได้ เนื่องจากต้องติดตั้งบนระบบปฏิบัติการ ลีนุกซ์ Redhat หรือ SuSE เท่านั้น ซึ่งระบบที่จำาลองไว้ระบบปฏิบัติการลีนุกซ์ CentOS

25

4.3.ข้อเสนอแนะ หลังจากทำาการศึกษาข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับโครงการอย่างครอบคลุมและครบถ้วนแล้ว และมีปัญหา บางข้อที่ต้องแก้ไข ขั้นตอนต่อไปเป็นการพัฒนาระบบและแก้ปัญหาที่พบ ระยะที่ 1 ติดต่อ ผศ.บุญฤทธิ์ กู้เกียรติกุล เพื่อขอใช้งาน Oracle Database Server ในการสร้าง ฐานข้อมูลฝั่งสำานักทะเบียน และส่งอีเมลไปสอบถามถึงปัญหาที่วาจาเว็บเซอร์วิสทำางานได้ไม่สมบูรณ์ไป ยังหน่วยปฏิบัติการวิจัยวิทยาการมนุษยภาษา ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ ระยะที่ 2 ตรวจสอบซอฟต์แวร์ที่จะใช้ในการพัฒนาระบบ จากนัน้ เริ่มพัฒนาเว็บเซอร์วิสที่ใช้ใน การร้องขอข้อมูลและเริ่มพัฒนาระบบตอบรับอัตโนมัติตามที่ได้ออกแบบไว้

4.4.แนวทางในการประยุกต์และพัฒนาต่อไป ขั้นตอนต่อไปจะทำาการพัฒนาระบบตามทีไ่ ด้ออกแบบไว้ทั้งในส่วนของเว็บเซอร์วิสและขั้นตอนการ ทำางานของระบบตอบรับอัตโนมัติ และออกแบบการทำางานที่มีการนำาเทคโนโลยี VoIP มาทำางานร่วมกับ เว็บเซอร์วิสและเทคโนโลยีการสังเคราะห์ด้วยเสียง เพื่อให้ใช้งานได้และมีประสิทธิภาพมากที่สุด

26

ภาคผนวก

27

ภาคผนวก ก การติดตั้งและการใช้งาน trixbox 2.2.4 ก.1.การติดตั้ง trixbox 2.2.4 [30] ข้อควรระวัง ในการติดตั้งโดยใช้ ISO นี้ จะทำาการฟอร์แมทเครื่องคอมพิวเตอร์และลบข้อมูลใน ฮาร์ดดิสก์ออกทั้งหมด

1.ดาวน์โหลด trixbox 2.2.4 จาก http://www.trixbox.org/downloads ซึ่งจะได้เป็นไฟล์ trixbox -2.2.4.iso ซึ่งเป็นไฟล์ ISO ออกมา แล้วเขียนไฟล์ ISO ลงแผ่นซีดี

2.เริ่มติดตั้ง trixbox 2.2.4 โดยบูทเครื่องจากแผ่นซีดี แล้วกด ENTER เพื่อทำาการติดตั้ง

รูปที่ ก.1 เริ่มติดตั้ง trixbox 2.2.4

3.ตั้งค่า Keyboard Type

28

รูปที่ ก.2 ตั้งค่า Keyboard Type

4.ตั้งค่า Time Zone

รูปที่ ก.3 ตั้งค่า Time Zone

5.ตั้งค่า Root Password ทีใ่ ช้ในการล็อกอินเข้าสู่ระบบบน Linux command line

รูปที่ ก.4 ตั้งค่า Root Password

6.รอจนกระทั่งติดตั้งจนเสร็จสิ้น โดยจะมีการรีบูทเครื่อง 2 ครั้ง จากนั้นก็สามารถใช้งาน trixbox 2.2.4 ได้

29

รูปที่ ก.5 trixbox 2.2.4 ขณะติดตั้ง

7.หน้าต่างของ trixbox 2.2.4 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา

รูปที่ ก.6 หน้าต่างของ trixbox 2.2.4 เมื่อบูทเครื่องขึ้นมา ก.2.การใช้งาน trixbox 2.2.4 [30]

1.ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.2.4 โดยใช้ username เป็น root และ password ตามที่เราได้กำาหนด ไว้ในระหว่างการติดตั้ง

30

รูปที่ ก.7 ล็อกอินเข้าสู่ trixbox 2.2.4

2.เมื่อล็อกอินเข้าสู่ระบบเรียบร้อยแล้ว จะปรากฏ IP address ที่ได้จากตัว DHCP server เรา สามารถกำาหนด IP address ให้กับระบบโดยใช้คำาสั่ง netconfig และเมื่อต้องการกำาหนดค่า ของ IP address ใหม่ให้ทำาการรีบูทระบบโดยใช้คำาสั่ง reboot

รูปที่ ก.8 กำาหนด IP address ให้กับ trixbox 2.2.4

3.เราสามารถดูคำาสั่งทั้งหมดที่ใช้ในการกำาหนดค่าให้กับ trixbox 2.2.4 โดยใช้คำาสั่ง helptrixbox

31

รูปที่ ก.9 คำาสั่ง help-trixbox

4.เข้าโปรแกรมเว็บเบราว์เซอร์แล้วไปที่ URL หรือ IP Address ของเครื่องทีไ่ ด้ทำาการติดตั้ง trixbox 2.2.4 ไว้

5.คลิ๊กที่ User mode switch เพื่อไปที่หน้าของ Admin GUI ให้ทำาการล็อกอินโดยใช้ user เป็น maint และ pass เป็น password

รูปที่ ก.10 เข้าสู่ Admin GUI

6.คลิ๊กที่ Asterisk -> FreePBX เพื่อไปที่หน้าของ FreePBX configuration GUI

32

รูปที่ ก.11 หน้าของ FreePBX configuration GUI

7.คลิ๊กที่ tools -> module admin ดู module ที่เราสามารถ install ได้และทำาการ install module ทีเ่ ราต้องการ

รูปที่ ก.12 หน้า module admin ของ FreePBX

8.คลิ๊กที่ setup -> extensions แล้วทำาการเลือก Device เป็น Generic SIP Device เพื่อ ทำาการเพิ่ม extension ใหม่ จากนั้นก็ทำาการกด Submit

รูปที่ ก.13 หน้า extensions ของ FreePBX

9.ทีห่ น้าของ Add SIP Extension ให้ใส่ค่าของ extension number ในช่องของ User Extension (เช่น 200) ใส่คา่ ของ Display Name (เช่น Tom) และใส่ค่าของ secret (เช่น

33 abc123) เป็นอย่างน้อย เมื่อตั้งค่าเสร็จแล้วให้กดที่ปุ่ม Submit

รูปที่ ก.14 หน้าของ Add SIP Extension ของ FreePBX

10.เมื่อทำาการ Submit แล้วให้กดแท่งสีแดงที่อยู่ด้านบนเพื่อเป็นการยืนการตั้งค่า

รูปที่ ก.15 ยืนการตั้งค่า SIP Extension

34

ภาคผนวก ข การติดตั้งและการใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows ข.1.การติดตั้ง X-Lite 3.0 for Windows [29]

1.ดาวน์โหลด X-Lite v3.0 for Windows จาก http://www.counterpath.com/xlitedownload. html ซึ่งจะได้ไฟล์ชื่อ X-Lite_Win32_1011s_41150.exe ดับเบิ้ลคลิกที่ไฟล์เพื่อทำาการติดตั้ง

2.เริ่มติดตั้ง X-Lite v3.0 สำาหรับ Windows

รูปที่ ข.1 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows

รูปที่ ข.2 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

35

รูปที่ ข.3 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

รูปที่ ข.4 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

รูปที่ ข.5 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

36

รูปที่ ข.6 การติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows (ต่อ)

3.เมื่อทำาการติดตั้ง X-Lite v3.0 for Windows เสร็จ หน้าต่างของโปรแกรมเป็นดังรูป

รูปที่ ข.7 หน้าต่างของโปรแกรม X-Lite v3.0 for Windows

37 ข.2.การใช้งาน X-Lite 3.0 for Windows [29]

1.ไปที่ปุ่ม show menu แล้วเลือกที่ SIP Account Settings...

รูปที่ ข.8 ปุ่ม show menu

2.เมื่อขึ้นหน้าต่างของ SIP Account ขึ้นให้เลือกที่ปุ่ม add...

38

รูปที่ ข.9 หน้าต่างของ SIP Account

3.เมื่อขึ้นหน้าต่างของ Properties of Account ก็ทำาการกำาหนดค่าต่างๆเข้าไปดังนี้ เมื่อทำาการ ตั้งค่าเสร็จให้กดปุ่ม OK Display Name: ชื่อที่จะแสดงเมื่อมีการโทรออก User Name: Account ทีใ่ ช้ในการ register Password: Password ทีใ่ ช้ในการ register Authorization user name: เบอร์ทใี่ ช้ในการโทรเข้า (ชื่อเดียวกับ User Name) Domain: ชื่อที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ Domain Proxy: ที่อยู่ของเซิร์ฟเวอร์ที่จะทำาการโทรเข้าไปยังเครื่องเป้าหมาย

39

รูปที่ ข.10 หน้าต่างของ Properties of Account

4.เมื่อทำาการตั้งค่าเสร็จ หน้าต่างของ SIP Account ก็จะมีค่าที่เรากำาหนดไว้ กดที่ปุ่ม close เพื่อทำาการ register ไปยังเซิร์ฟเวอร์

40

รูปที่ ข.11 หน้าต่างของ SIP Account

5.ถ้าทำาการ register สำาเร็จ บนหน้าจอของโปรแกรมก็จะขึ้นชื่อ account ของเราทีท่ ำาการ register ไป

รูปที่ ข.12 ชื่อ account ของเราทีท่ ำาการ register ไป

41

6.ทำาการทดสอบโดยกดเบอร์เพื่อโทรมาที่เครื่องตัวเอง ตรง taskbar ก็จะปรากฏหน้าต่างว่ามี คนโทรเข้ามา แสดงโปรแกรมสามารถใช้งานได้แล้ว

รูปที่ ข.13 หน้าต่างเตือนว่ามีคนโทรเข้ามา

42

บรรณานุกรม [1] นางสาวทิพวรรณ เกียรติสิน และคณะ. Voice over IP (VoIP) [ออนไลน์] 22 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 26 มิถุนายน 2007]. จาก http://www.kmutt.ac.th/gmi/2005/mambo/images/stories/VoIP.pdf [2] สมิทธิชัย ไชยวงศ์, รังสิมา เกียรติยุทธชาติ. Voice over IP (VoIP) คืออะไร [ออนไลน์] 6 เมษายน 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://www.vcharkarn.com/include/article/showarticle.php?Aid=17875&page=2 [3] งานวิจัยเทคโนโลยีเสียงพูด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. วาจา – ข้อความสู่เสียงพูด (Vaja TTS) [ออนไลน์] 8 พฤษภาคม 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://vaja.nectec.or.th/VajaTTS_Th.html [4] วิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี. ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด [ออนไลน์] 1 กันยายน 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://th.wikipedia.org/wiki/ซอฟต์แวร์สังเคราะห์เสียงพูด [5] ผศ. ดร. กานดา รุณนะพงศา. XML and Web Services [ออนไลน์] 22 พฤษภาคม 2550 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://gear.kku.ac.th/~krunapon/xmlws [6] นายปโยธร เวชกามา, นางสาว จิตราภรณ์ แก้วกิ่ง. เว็บ 2.0 ซอฟต์แวร์เพื่อบริการช่วยเหลือและ สนับสนุนลูกค้า [ออนไลน์] 1 กันยายน 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://campus.en.kku.ac.th/project/2006/coe2006-09/pre-FinalReport2006-09.doc [7] randulo. Asterisk Introduction [online] 2007 Jul 12 [Cited 2007 Jul 23]. Available from: http://www.voip-info.org/wiki/view/Asterisk+Introduction [8] gaiz. Asterisk [ออนไลน์] 27 กุมภาพันธ์ 2549 [อ้างเมื่อ 23 กรกฎาคม 2550]. จาก http://gaiz.exteen.com/20070227/asterisk# [9] มหาวิทยาลัยราชภัฎนครสวรรค์. WAP คืออะไร [ออนไลน์] 24 ตุลาคม 2544 [อ้างเมื่อ 5 กรกฎาคม 2550]. จาก URL: http://www.nsru.ac.th/oldnsru/data/wap/WAP%20 คืออะไร.html [10]ฝ่ายการศึกษา มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตศรีราชา. ตรวจสอบผลการเรียนผ่านโทรศัพท์ มือถือ [ออนไลน์] 9 กุมภาพันธ์ 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://reg.admin.src.ku.ac.th/ [11]สำานักส่งเสริมวิชาการ มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่. คูม่ ือการใช้งานการตรวจสอบผลการเรียน ผ่าน wap ของสํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน [ออนไลน์] 28 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://academic.cmru.ac.th/telephone/

43 [12]วรมล ดำารงศิลป์สกุล. SMS ช่วยชีวิต...นาทีวิกฤตของคุณได้ [ออนไลน์] 24 สิงหาคม 2548 [อ้าง เมื่อ 28 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.guruict.com/mambo/index.php?option=com_content&task=view&id=29&Itemid=44 [13]ระบบลงทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคำาแหง. ฟรี! อัปเดตทุกข่าวการศึกษา [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://smsgateway.gable.com/RUAIS/regis.jsp [14]มหาวิทยาลัยราชภัฏกำาแพงเพชร. การตรวจสอบผลการเรียนด้วยระบบ SMS ผ่านโทรศัพท์มือ ถือ [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.ksoftsystem.com/kpru/manual.php [15][email protected]. ระบบ IVR ทํางานยังไง? [ออนไลน์] 13 มิถุนายน 2550 [อ้าง เมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.pantip.com/tech/php/print_topic.php?topic=DP1871663 [16]ระบบลงทะเบียนผ่านอินเทอร์เน็ต มหาวิทยาลัยรามคำาแหง. ขั้นตอนการลงทะเบียนเรียนทาง โทรศัพท์ [ออนไลน์] 24 กรกฎาคม 2546 [อ้างเมื่อ 30 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.ru.ac.th/news-temp/tele_regis.htm [17]สำานักคอมพิวเตอร์ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี. มาทําความรู้จักกับระบบ IVR กัน ดีกว่า [ออนไลน์] 18 มกราคม 2545 [อ้างเมื่อ 26 มิถุนายน 2550]. จาก http://www.kmutt.ac.th/organization/Center/news/2545/news49.html [18]ดร. กุลวดี ศรีพานิชกุลชัย และคณะ. ระบบฟังข่าวอัตโนมัติ [ออนไลน์] 20 มีนาคม 2549 [อ้างเมื่อ 20 กรกฎาคม 2550]. จาก http://wiki.nectec.or.th/ngiwiki/pub/Project/NetTalkPublic/Final_NewsTalk-FullPaperinThai19032007.pdf [19]Diguim. Asterisk [online] 2007 Jun 14 [Cited 2007 Jun 19]. Available from: http://www.asterisk.org/ [20]Atengo. FreePBX [online] 2007 Jul 8 [Cited 2007 Jul 23]. Available from: http://www.freepbx.org/ [21]CentOS. CentOS The Community ENTerprise Operating System [online] 2007 Jun 4 [Cited 2007 Jun 4]. Available from: http://www.centos.org/ [22]Fonality and trixbox. What is trixbox? [online] 2007 Jun 19 [Cited 2007 Jun 19]. Available from: http://www.trixbox.org/

44 [23]The Apache Software Foundation. Apache HTTP Server Project [online] 2007 Aug 6 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://httpd.apache.org/ [24]The PHP Group. What is PHP? [online] 2007 Aug 6 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://www.php.net/ [25]Scott Nichol. Simple Object Access Protocol [online] 2004 May 10 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://www.scottnichol.com/soap.htm [26]Alan W Black. Festival and Speech Synthesis at CMU [online] 2001 Sep 24 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://www.speech.cs.cmu.edu/festival/ [27]Oracle. Oracle Database [online] 2007 Aug 16 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://www.oracle.com/database/index.html [28]MySQL AB. MySQL The world's most popular open source database [online] 2007 Aug 16 [Cited 2007 Aug 17]. Available from: http://www.mysql.org/ [29]CounterPath Solutions Inc. X-Lite [online] 2007 Jun 18 [Cited 2007 Jun 19]. Available from: http://www.counterpath.com/xlite-overview.html [30]Fonality and trixbox. trixbox quick install guide [online] 2007 Sep 10 [Cited 2007 Sep 10]. Available from: http://forge.trixbox.org/gf/project/trixbox2/wiki/?section=project&ref_id=4&pagename=trixbo x+quick+install+guide, 10 September 2007 [31]งานวิจัยเทคโนโลยีเสียงพูด ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ. VAJA Web service [online] 2007 Jul 10 [Cited 2007 Sep 3]. Available from: http://vaja.nectec.or.th/ws/vaja-webservice.html

Related Documents