เรียนรู้จากประสบการณ์ของประเทศฟินแลนด์ สรุปความจาก Policy Development and Reform Principles of Basic and Secondary Education in Finland since 1968 by Erkki Aho Kari Pitkanen and Pasi Sahlberg The World Bank
เมื่อต้นเดือนธันวาคม 2544 นักการศึกษาฟินแลนด์ต้องตื่นตะลึงกับรายงานของ OECD the Organization for Economic Co-operation and Development ที่ประกาศว่านักเรียนของ ฟินแลนด์ มีระดับการอ่านสูงที่สุด อีกทั้งโรงเรียนยังมีความเหลื่อมลำ้าในคุณภาพน้อยที่สุด ด้วยมีช่องว่าระหว่าง นักเรียนที่คะแนนสูงที่สุด และตำ่าที่สุดแคบมากกว่าประเทศใดๆ หลังจากนั้นไม่นานประเทศฟินแลนด์ก็มีโอกาสได้ต้อนรับ “คณะผู้แสวงหาความรู้”ผู้หลั่งไหลมาจาก ทุกสารทิศเพื่อค้นหาเคล็ดลับที่ทำาให้ประเทศเล็กๆที่ไม่เคยมีชื่อเสียงโด่งดังในเรื่องคุณภาพการศึกษาและลงทุน เพื่อการศึกษาไม่ได้มากมายนัก สามารถก้าวลำ้านำาหน้าประเทศอื่นๆที่ได้ทุ่มเทเพื่อการศึกษามาช้านาน แท้จริงแล้ว คนที่รู้จักประเทสฟินแลนด์จะเข้าใจได้ดีว่ามีปัจจัยที่เกื้อหนุนคุรภาพการศึกษาหลาย ประการเริ่มจากครูที่ได้รับการพัฒนาเป็นอย่างดี จนถึงวัฒนธรรมที่ส่งเสริมการอ่าน ปัจจัยหนึ่งที่คนมักมองข้าม และเป็นปัจจัยที่ประเทศอื่นสามารถนำาไปปฏิบัติได้ นั่นคือ คุรภาพทีเ่ กิดขึ้นในวันนี้เป็นผลพวงจากการปฏิรูปการ ศึกษาเมื่อสี่สิบปีที่ผ่านมา แม้ว่ากระบวนการในครั้งนั้นจะถูกวิพากษ์วจิ ารณ์ และกลายเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ในปัจจุบันกลับเป็นที่ยอมรับกันแล้วว่าการตัดสินใจเชิงนโยบายในช่วงปี 2513 ได้ชว่ ยแก้จุดอ่อนและพัฒนา ระบบโรงเรียนให้ได้มาตรฐานจนเป็นที่กล่าวขวัญกันทุกวันนี้ หากวิเคราะห์การพัฒนาของประเทศฟินแลนด์จะพบว่าช่วงปี 2503-2513 เป็นระยะเวลาของการ เปลี่ยนแปลงจากสังคมเกษตรกรรมสู่สังคมสังคมนิยมในรูปแบบของสแกนดิเนเวีย ระบบการศึกษาได้รับการยก เครื่องครั้งใหญ่เพื่อเป็นเครื่องมือในการเปลี่ยนแปลงครั้งใหญ่ นี้ โดยใช้ยุทธศาสตร์ Comprehensive School Reform หรือการปฏิรุปในทุกมิติ ตั้งแต่ หลักสูตร ตำาราเรียน โครงสร้างเวฃงินเดือน จนถึงระบบ บริหาร การผลิตและพัฒนาครูได้รับการพัฒนาโดยมีเป้าหมายที่จะยกระดบคุณวุฒิของครูจากวิทยาลัยครูเป็นการ ศึกษาระกับมหาวิทยาลัย มีการลงทุนเพิม่ ในเรื่องการศึกษาผู้ใหญ่และการอุดมศึกษา การยกเครื่องโรงสร้างการ ศึกษาไม่เพียงแต่ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในวงการศึกษา แต่ยังขับเคลื่อนฟินแลนด์ไปผ่านสังคม อุตสาหกรรมสู่สังคมข่าวสารข้อมูล ในช่วงทศวรรษ 2523 -2533 ฟินแลนด์ได้ผลักดันการปฏิรูปอย่างต่อเนื่อง ด้วยการปรับโครงสร้าง และเตรียมพร้อมที่จะเผชิญความท้าทายใหม่ๆที่เกิดขึ้นจากการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจ การแข่งขันกับนานา ประเทศ และวิวัฒนาการทางเทคโนโลยีการสื่อสาร ในช่วงเวลานี้ ประเทศฟินแลนด์ต้องปรับตัวเพื่อเป็นส่วนหนึ่ง ของสหภาพยุโรป ในช่วงปี 2543 ฟินแลนด์ประสบภาวะเศรษฐกิจตกตำ่า และการศึกษาเช่นเดียวกับบริการของรับอื่นๆ ถูกตัดงบประมาณเป็นอย่างมาก แต่กลับเป็นโอกาสดีที่จะปรับปรุงประสิทธิภาพในการจัดการศึกษา ตัดสิ่งที่ ฟุ่มเฟือยไม่จำาเป็น และดำารงไว้เฉพาะสิ่งที่คุ้มค่าต่อการลงทุน การศึกษาได้มีส่วนช่วยแก้ปัยหาการว่างงาน และ การเข้าเป็นสมาชิกของกลุ่มสหภาพยุโรป ทำาให้ฟินแลนด์ได้เห็นทางเลือกใหม่ๆ รวมทั้งได้รับการกระตุ้นให้ตื่น ตัวจากความท้าทายจากลุ่มสมาชิก
ในช่วงสองทศวรรษแรก ( 2503-2523) การปฏิรูปของฟินแลนด์ได้เน้นการพัฒนาการศึกษาขั้นพื้น ฐานเก้าปี ในช่วงทศวรรษต่อมาจึงได้เน้นการศึกษาในช่วงมัธยมศึกษาตอนปลาย จากการศึกษาประสบการณ์ในการพัฒนาการศึกษาของฟินแลนด์ในช่วงสี่ทศวรรษที่ผ่านมา ผู้วิจัยได้ สรุปประเด็นหลัก ไว้ 4 ประการดังนี้ 1. การมีโรงเรียนที่ได้มาตรฐานสามารถให้การศึกษาแก่เด็กทุกคนอย่างมีคุณภาพเท่าเทียมกัน และได้ รับงบประมาณจากรับเพื่อให้บริการที่ครอบคลุมไม่เพียงแต่การเรียนการสอนที่มีคุณภาพเท่านั้น แต่ยังให้บริการ แนะแนว บริการด้านสุขภาพ อนามัยและโภชนาการ ตลอดจนการให้บริการการศึกษาพิเศษ หัวใจของความสำาเร็จ จึงอยู่ที่การมีโรงเรียนดีมีคุณภาพสำาหรับเด็กทุกคน 2. การปฏิรูปการศึกษาเป็นกระบวนการที่มีวิวัฒนาการอย่างต่อเนื่อง มิใช่เป็นการปฏิวัติข้ามคืน ตั้งแต่ เริม่ ดำาเนินการ ผู้มสี ่วนได้ส่วนเสียทุกคนยอมรับและเข้าใจว่าไม่มีมาตรการใดที่จะพลิกโฉมการศึกษาให้ไปสู่คุร ภาพได้ในระยะเวลาสั้นๆ อีกทั้งการเปลี่ยนแปลงที่เร่งรัดจะไม่สามารถดำารงอยู่อย่างยั่งยืนได้ โรงเรียนฟินแลนด์ ทุกแห่งจึงต้องเรียนรู้ที่จะเปลี่ยนแปลง และต้องเปลี่ยนแปลงเพื่อจะเรียนรู้ (learn to change and change to learn.) 3. ความสำาเร็จทางการศึกษาเชื่อมโยงอย่างใกล้ชิดทางการเมือง วัฒนธรรมและเศรษฐกิจกับการพัฒนา
ด้านอื่นๆ ปัจจัยที่ส่งผลให้ประเทศฟินแลนด์มเี ศรษฐกิจที่มั่นคง มีองค์กรสาธารณะที่เข้มแข็ง มีการใช้กฎหมาย อย่างเป็นธรรม และมีความเป็นประชาธิปไตย จนเป็นรัฐสวัสดิการที่มีพลังได้กระตุ้นให้เกิดการพัฒนาทาง วิชาการที่แข็งแกร่ง ฉะนั้น การวิเคราะหการศึกษาจึงต้องพิจารณาในบริบทของสภาพทางเศรษฐกิจ สังคมและ การเมือง 4. การมีพื้นฐานทางการเมืองที่เข้มแข็งและมั่นคงได้ช่วยให้การปฏิรูปทางการศึกษามีความยั่งยืน และมี ผู้นำาที่สามารถสานต่องานช่วยให้สามารถวางแผนระยะยาว มีการหลอมรวมพลังไปสู่เป้าหมายร่วมกัน มีความเชื่อ ถือ ยอมรับและสนับสนุนในความเป็นมืออาชีพของผู้นำาทางการศึกษาที่มีความรู้และประสบการณ์สั่งสมมาช้า นานว่าจะส่งผลให้มีการตัดสินใจและทางเลือกที่ดีที่สุด จากการศึกษาประสบการณ์ในรอบ 40 ปีของฟินแลนด์ ได้พบมิติที่ส่งผลให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยื่นใน 7 มิติด้วยกันได้แก่ 1. ความลุ่มลึก โรงเรียนเน้นการพัฒนาอย่างเป็นองค์รวมของนักเรียนที่ครอบคลุมความรู้ ทักษะ ค่า นิยมที่ดีงาม ความคิดสร้างสรรค์ และการเรียนรู้ที่จะอยู่ร่วมกับผู้อื่น โรงเรียนเป็นสถานที่ที่ให้ความสำาคัญแก่การ เรียนรู้และการช่วยเหลือดูแลนักเรียนมากกว่าการทดสอบ และ ความสำาเร็จจะประเมินจากความก้าวหน้าในการ พัฒนา ความเจริญงอกงามของนักเรียนแต่ละคน มากกว่าจะเปรียบเทียบกับมาตรฐานสากล 2. ระยะเวลา นโยบายการศึกษาจะเน้นนโยบายและยุทธศาสตร์ระยะยาว เช่นการเน้นเรื่องโอกาส ทางการศึกษาสำาหรับทุกคน หรือ เน้นการเรียนรู้มากกว่าการสอน การพัฒนาการศึกษาที่เกิดขึ้นจะเน้นการปลูก ฝังหลักการและค่านิยมเหล่านี้ให้ฝังรากลึกในระบบการศึกษามากกว่าจะแสวงหาเป้าหมายระยะสั้น 3. ความกว้างขวางครอบคลุม ผู้นำาทางการศึกษาได้ขยายตัวจากส่วนกลางไปสู่ระดับปฏิบัติการ ความ เป็นผู้นำามิได้จำากัดเฉพาะการบริหารงานวันต่อวัน แต่ได้ส่งเสริมให้ผู้นำาเหล่านี้ได้มีความรับผิดชอบและสิทธิใน การกำาหนดทิศทางการพัฒนาการศึกษา 4. ความเป็นธรรม การขับเคลื่อนเป้าหมายการศึกษาจากการประกันโอกาสทางการศึกษาที่เท่าเทียมกัน ไปสู่ การประกันคุณภาพการศึกษาสำาหรับทุกคนจะสำาเร็จได้ย่อมต้องขึ้นอยู่กับระบบโรงเรียนที่มีความเป็นธรรม ความเป็นธรรมและความเสมอภาคได้เป็นหลักชัยของการศึกษาฟินแลนด์ตั้งแต่ปี 2513 เป็นต้นมา
5. ความหลากหลาย ระบบโรงเรียนของฟินแลนด์วางอยู่บนหลักการของการจัดการศึกษาเพื่อปวงชนที่
ส่งเสริมความหลากหลายในโรงเรียนและห้องเรียน การกำากับดูลการเรียนการสอนไม่ได้ขึ้นอยู่กับการสั่งการเป็น ลายลักษณ์อักษร แต่จะเป็นแนวทางกว้างๆเพื่อส่งเสริมให้มีนวัตกรรมเพื่อรองรับความหลากหลายทางสังคมและ สิ่งแวดล้อม 6. พลังความสามารถ คนหนุ่มสาวที่มีความสามารถและมีความคิดสร้างสรรค์ได้รับแต่งตั้งให้เป็นผู้ บริหารโรงเรียน สำานักงานการศึกษาในพื้นที่ และสำานักงานกลางในกระทรวงศึกษาธิการโดยให้ความสำาคัญแก่ ความรู้ความสามารถมากกว่าประสบการณ์บริหารงานประจำา อีกทั้งมีระบบที่จะพัฒนาผู้นำาเหล่านี้อย่างต่อเนื่อง บนพื้นฐานของงานวิจัย 7. ความสมดุล การพัฒนาการศึกษาได้วางอยู่บนพื้นฐานของความสมดุลระหว่างการแสวงหา นวัตกรรมและการคัดสรรประสบการณ์เดิมที่มีคุณค่า เป็นที่ยอมรับว่ามีแนวทางปฏิบัติที่เป็นเลิศในระบบการ ศึกษาอยู่แล้วพอสมควร มีการยอมรับคุณค่าของประสบการณ์และปรีชาญาณที่ครูได้สั่งสมมา พอๆกับการนำา เสนอแนวทางใหม่ๆที่โรงเรียนอาจไม่คุ้นเคย ผู้ทำางานวิจัยหวังว่าผู้อ่านจะได้เห็นตัวอย่างของประเทศที่ได้พัฒนาระบบการศึกษาอย่างต่อเนื่องและ ตระหนักถึงอันตรายที่อาจเกิดขึ้นจากการหยิบยกบางเรื่องมาดำาเนินการโดยหวังจะขับเคลื่อนการศึกษาไปสู่เป้า หมายที่พึงประสงค์ ตัวอย่างจากประเทศฟินแลนด์ได้แสดงให้เห็นเป็นที่ประจักษ์ว่าความสำาเร็จขึ้นอยู่กับวิสัย ทัศน์เพื่อการศึกษาที่มีระยะยาว ต่อเนื่อง และเป็นที่ยอมรับของทุกฝ่าย ปัจจัยที่ผลักดันให้เกิดความสำาเร็จ ได้แก่ การพัฒนาผู้นำาที่มีความต่อเนื่อง (ในการสืบทอดเจตนารมณ์ของการพัฒนา) และการสร้างสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยง ระหว่างส่วนต่างๆในสังคมเพื่อช่วยกันผลักดันให้เกิดการพัฒนาการศึกษาไปสู่ความเป็นเลิศ