New Paradigm Of Political Communication In Thailand

  • July 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View New Paradigm Of Political Communication In Thailand as PDF for free.

More details

  • Words: 2,044
  • Pages: 29
รายงานการศึกษา

กระบวนทัศน์ ใหม่การสื่อสารทางการเมืองไทย

โดย นายสุระชัย ชูผกา เลขทะบียน 5007300030

2

เสนอ

รศ.ดร. สุรัตน์ เมธีกุล

รายงานนี เ้ ป็ นส่วนหนึ่ งของการศึกษาวิชาการสื่อสาร และความคิดทางการเมือง (วส.811)

ภาคการศึกษาที่ 2 ปี การศึกษา 2550

กระบวนทัศน์ ใหม่การสื่อสารทางการเมืองไทย ความนำ า ในช่วงทศวรรษที่ผ่านการมองการสื่อสารทางการเมืองได้รับ ความสำาคัญมากขึ้นเพราะการเปลี่ยนแปลงโฉมหน้ าการเมืองไทย ภายหลังการได้มาซึ่งรัฐธรรมนูญฉบับพ.ศ. 2540 ที่เริ่มเปิ ดพื้นที่ ให้ภาคประชาชนได้เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในด้านต่างๆ เพิ่มเติมมากขึ้นโดยตรง อาทิ การเข้าชื่อถอดถอนนั กการเมือง การร่วมกันเสนอกฎหมาย ตลอดจนการเปิ ดแนวทางในการ

3

ปฏิรูประบบการสื่อสารมวลชนของไทยที่เปลี่ยนให้คลื่นความถี่ ทัง้ หลายที่อยู่ในมือหน่ วยงานภาครัฐสลัดสู่ความเป็ นสมบัติ ประชาชนจนสามารถเกิดการจัดสรรใหม่ให้กับภาคชุมชน และ ภาคสาธารณะ พร้อมๆ กันไปการแข่งขันช่วงชิงพื้นที่ทางการเมืองของ นั กการเมืองก็มีความเข้มข้นมาตลอดทศวรรษนั บตัง้ แต่การใช้รูป แบบการสื่อสารทางการตลาดมานำ าการแสวงหาฉันทามติจาก ประชาชนในห้วงเวลาของการเลือกตัง้ ระดับต่างๆ ของเหล่า บรรดาพรรคการเมือง ขณะเดียวกันการขยับขับเคลื่อนของภาค ประชาชนในการปกป้ องทรัพยากรและสิทธิชุมชนและการรณรงค์ ที่ธำารงไว้ซ่ ึงประชาธิปไตยของประชาชนก็ล้วนให้ความสำาคัญกับ กลยุทธ์การสื่อสารให้ระบบการเมืองต้องตระหนั กและหันมาให้ ความสำาคัญโดยมีส่ ือมวลชนเป็ นแนวร่วมสำาคัญ กระบวนทัศน์(Paradigm) ในมองการสื่อสารทางการเมือง ทศวรรษที่ผ่านไม่ว่าจะมองจากทางส่วนของนั กการเมือง หรือนั ก เคลื่อนไหวภาคประชาชนก็ยังคงวนเวียนอยู่กับรูปแบบการ สื่อสารที่พึงพาสื่อมวลชนที่มีความยึดโยงกับระบบทุนนิ ยมอย่าง แนบแน่ นเพื่อเชื่อมโยงให้ได้รับเสียงสนั บสนุนทางภาคสังคม การเมือง ขณะที่ประชาชนเองแม้มีช่องทางสื่อสารไปสู่ระบบ การเมืองผ่านสื่อมวลชนกระแสหลัก ผ่านอินเตอร์ หรือผ่านช่อง ทางต่างๆ ก็ล้วนทำาการสื่อสารในฐานะปั จเจกชนซึ่งเป็ นเรื่องไร้ พลังอย่างเด่นชัดในฐานะตัวเดียวคนเดียว

4

หากแต่นี้ต่อไปกระบวนทัศน์ หรือกรอบแห่งความคิดคำานึ ง และการให้ความสำาคัญกับการสื่อสารทางการเมืองจะเปลี่ยนไปทัง้ ในด้านของผู้ส่งสาร(Sender) ของภาคประชาชนและช่องทาง สำาหรับภาคประชาชน (channel)จะเปลี่ยนไปอย่างสิ้นเชิงด้วย ทิศทางใหม่ของการเกิดขึ้นของสื่อภาคสาธารณะและสื่อภาค ชุมชนท้องถิ่นที่จะดำารงอยู่นอกเหนื อเงื่อนไขของระบบทุนนิ ยม พร้อมๆ กับตัวแสดงใหม่ในสังคมการเมืองของกำาเนิ ดสภาองค์กร ชุมชนตัง้ แต่ระดับท้องถิ่นจนถึงระดับชาติ

Identity in Modern Thai Politic : ความเป็ นตัวตนหลังยุค สมัยใหม่ในการเมืองไทย ช่วงเวลาที่ผ่านมาสังคมไทยได้ลิ้มรสและเดินทางเข้าสู่ สภาวะของสังคมสมัยใหม่ (Modernization) ทีผ ่ ู้คนในสังคมล้วน ต้องถูกผูกโยงเข้ากับสังกัดในองค์กรหรือสถาบันทางการเมืองที่มี ความเป็ นระบบชัดเจน พร้อมไปกับการสลายสิ่งยึดโยงใน วัฒนธรรมร่วม(collective culture) ดัง้ เดิม เข้าสู่ภาวะปั จเจกชน นิ ยม (Individualism) ที่อยู่ท่ามกลางระบบทุนนิ ยมอันมีหลักคิด บนพื้นฐานกำาไร ขาดทุน ที่เห็นเป็ นรูปธรรมเข้าแทนที่

5

สภาวการณ์เช่นนี้ได้ถูกตอกยำ้าชัดเจนพร้อมกับกำาเนิ ดของ พรรคไทยรักไทย และระบอบทักษิณ ที่นำาพาให้การเมืองไทยไป สู่เรื่องรูปแบบของการแลกเปลี่ยนผลประโยชน์(Transactional Model) เต็มตัวด้วยนโยบายประชานิ ยมและการตลาดนำ า การเมือง ทำาให้ผู้คนคิดคำานึ งถึงการแลกเปลี่ยนความเป็ นตัวเอง กับการมีส่วนร่วมทางการเมืองเป็ นสำาคัญเฉกเช่นเดียวกับระบบ คิดในเชิงธุรกิจ ความมีอัตตลักษณ์ของความเป็ นพลเมืองเริ่มสูญ ลอยหาย ภาวะเช่นนี้การแพร่ระบาดตัง้ แต่หัวไร่ปลายนา ถึง รัฐสภาไทย อย่างไรก็ตามการเมืองไทยใช่ว่าจะเป็ นไปในทิศทางเดียว หากแต่มีพลวัตรในหลายด้านเช่นกันที่เข้ามามีอิทธิพลต่ออัต ตลักษณ์ ดังในหนั งสือ“ประชาสังคม”

1

ของอาจารย์ธีรยุทธ บุญ

มี ได้กล่าวถึงอัตตลักษณ์ของผู้คนในสังคมปั จจุบันอันเป็ นแบบ หลังยุคจารีต (Post conventional identity) ว่ามี 3 ลักษณะ สำาคัญคือ 1. บุคคลมีเสรีและมีความเท่าเทียมกันในทางกฎหมายแพ่ง อันหมายถึงสิทธิในการได้เป็ นเจ้าของทรัพย์สินของตน 2. การเป็ นตัวตนหรือบุคคลที่มีเสรีภาพในเชิงจริยธรรม คุณธรรม อันถือว่าตัวคนมีส่วนที่จะเลือกเชื่อ เลือก นั บถือศาสนาใดก็ได้ 3. การเป็ นบุคคลที่มีสิทธิตัดสินใจในเรื่องอำานาจได้อย่างเสรี ภายใต้ระบอบประชาธิปไตย 1

ธีรยุทธ บุญมี. ประชาสังคม. กรุงเทพฯ สายธาร พ.ศ. 2547 น.195.

6

สามลักษณะนี้อาจารย์ธีรยุทธเรียกว่าเป็ นอัตตลักษณ์ของ การเป็ นมนุษย์ในยุคสมัยใหม่ ซึ่งตามสภาพความเป็ นจริง การมี อัตตลักษณ์ การมีเสรีภาพ ความเท่าเทียมกันในด้านต่างๆ บุคคล หนึ่ งๆ ทีอ ่ ยู่ในสังคมมิสามารถกำาหนดหรือกระทำาด้วยตนเองได้ อย่างตรงไปตรงมา หากแต่ว่าชีวิตในความมีอัตตลักษณ์นัน ้ ล้วน ถูกกำาหนดจากฐานทางอำานาจที่สังคมมอบหมาย แบ่งปั นให้เป็ น สำาคัญ จากที่กล่าวมาสองลักษณะแรกประชาชนไทยมีและได้รับ การยอมรับจากรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยตัง้ แต่ฉบับ ปี พ.ศ. 2540 และฉบับปั จจุบัน อันเป็ นกฎหมายสูงสุดของ ประเทศแล้ว แต่ในลักษณะทีส ่ ามในเรื่องการเป็ นบุคคลที่มีสิทธิ ตัดสินใจในเรื่องอำานาจได้อย่างเสรีภายใต้ระบอบประชาธิปไตย นั น ้ ยังเป็ นพื้นส่วนที่มีข้อขัดแย้งไม่น้อย เพราะในห้วงเวลาที่ผ่าน มานั กการเมืองเป็ นผู้กำาหนดให้ด้วยการเปิ ดพื้นที่ให้เลือกว่าจะอยู่ กับใคร พรรคไหน ซีกใด หากอยู่กับพรรคหนึ่ งจะได้รับสิ่งหนึ่ ง หากเลือกอีกพรรคหนึ่ งจะได้รับอีกสิ่งหนึ่ ง ขัว ้ หรือคู่ตรงข้ามถูก นิ ยามผ่านนั กการเมือง รัฐบาล และคนนอก ลักษณะเช่นนี้จึงยาก ที่ผู้คนในสังคมจะกำาหนดความเป็ นไปของตัวเองด้วยรากเหง้า ของตน เหมือนกับที่ Jurgen Habermas ได้อรรถาธิบายไว้ว่า การ ก่อรูปของอัตตลักษณ์ หรือความเป็ นตัวตนของผู้คนกลุ่มต่างๆ นั น ้ ล้วนต้องกระทำาผ่านการยอมรับซึ่งกันและกันของผู้คน ภายในกลุ่มสังคมนั น ้ ๆ หรือที่เรียกว่า (mutual recognition) ซึ่ง

7

ถูกยึดโยงอยู่ในขอบเขตของโครงสร้างอำานาจในแต่ละยุคสมัย ด้วยที่มีส่วนสำาคัญในการกำาหนดการรับรู้และจำากัดขอบเขต อำานาจให้กับแต่ละผู้คนในสังคม ซึ่งในยุคสมัยใหม่ล้วนมีผู้มี ตำาแหน่ งในสถาบันทางการเมืองของแต่ละสังคมเป็ นผู้กำาหนดทัง้ สิ้น ปั จจุบันคนในสังคมไทยได้ถูกกำาหนดให้มีตัวตนทางการ เมืองแบบแบ่งฝั กแบ่งฝ่ ายเป็ นที่เรียบร้อยแล้ว ดังประโยคที่ได้ ยินบ่อยๆ เช่น “คนเหนือ คนอีสานรักทักษิณ คนใต้รักประ ชาธิปปั ตย์ คนกรุงเทพฯไม่เอาทักษิณ” คำากล่าวเหล่านี้ได้กลาย เป็ นความคิดแบบเหมารวม(Stereotype) ทีล ่ ้วนถูกนิ ยามของ จากคนนอกที่กระทำาผ่านสื่อมวลชนจนกลายเป็ นความเชื่อหลัก ของความรู้สึกทางการเมืองของคนส่วนใหญ่ ประชาชนในชุมชน ไม่มีพ้ ืนที่ที่จะนิ ยามจุดยืนทางการเมืองด้วยตัวเองเพื่อให้นักการ เมืองหรือพรรคการเมืองฟั ง ประชาชนแบบปั จเจกไม่สามารถ เรียกร้องในเรื่องความสามัคคีไม่มีแบ่งพรรคแบ่งพวกได้อีกต่อไป แม้แต่ในครอบครัว อำานาจในการนิ ยามตนเองยังหาไม่ได้ ความเป็ นชุมชนสูญ สลาย นั กการเมืองครอบนำ าผู้คนผ่านการใช้อำานาจส่วนกลางสัง่ การผ่านระบบเครื่อข่ายพวกพ้องที่ผ่านการต่อรองผลประโยชน์ แล้ว ขณะทีส ่ ่ ือมวลชนกลายเป็ นสื่อทุนนิ ยมที่ต้องทำาหน้ าที่ให้ตัว เองอยู่รอดก็พร้อมน้ อยที่จะเป็ นแนวร่วมฟื้ นฟูชุมชนสังคมหรือ แม้แต่จะให้ความสำาคัญกับอำานาจในคนในสังคม หากแต่กลับหัน ไปให้ความสำาคัญกับคนที่มีอำานาจในระบบสังคมการเมืองเป็ น

8

สำาคัญ ความเห็นอกเห็นใจของสื่อมวลชนที่มีต่อชุมชนพื้นถิ่นดู เหมือนจะเหลือพื้นที่น้อยเต็มที หากมีแต่พ้ ืนที่ถวิลให้และใส่ใจ ชุมชนนั กลงทุนชัน ้ สูงเสียสำาคัญ New Actor- New Sender : อำานาจใหม่ผูส่งสารใหม่ทางการ เมือง จากทีไ่ ด้กล่าวมาข้างต้นดูเหมือนภาคประชาชนได้ถูกทำาให้ ต้องนิ ยามตัวเองตามความเป็ นไปในการต่อสู้ของตัวแสดง ทางการเมืองของเหล่าบรรดาพรรคการเมืองและองค์กรทางการ เมืองในระบบเป็ นสำาคัญ แม้กระนั น ้ ก็ตามอำานาจของฝ่ าย การเมืองเหล่านั น ้ ก็หาใช่ว่าจะครอบงำาผู้คนในสังคมได้แบบชนิ ด จากบนสู่ล่าง(Top down) เพราะเมื่อพิจารณาถึงลักษณะของ อำานาจของผู้คนในสังคมให้ชัดเจนแล้วจะพบว่า มันไม่ได้เป็ นเช่น นั น ้ ทัง้ หมดเพราะอำานาจสามารถมีและมาได้จากหลายทิศทาง โดยปกติมักคิดถึงอำานาจในการสัง่ การ หรือำานาจทางการ เศรษฐกิจการเมืองในการมีอิทธิพลเหนื อผู้อ่ ืน แต่ในอีกด้านหนึ่ ง อำานาจนั บว่ามีความสลับซับซ้อนดังที่ Michel Foucault ชี้ให้ 2

เห็นว่า อำานาจมีมาได้หลายรูปแบบ อาทิ ขณะทีน ่ ายจ้างมีอำานาจ ทางเศรษฐกิจในการจ้างงานคนงานให้ทำาการผลิตให้ นายจ้างก็มี อำานาจทางการเมืองในการควบคุมวินัยของคนงานในการทำางาน ได้ด้วย ทัง้ นี้อำานาจยุคใหม่ไม่ได้ข้ ึนกับการคุมพื้นที่แต่เพียงอย่าง เดียว หากยังมีมิติที่มองไม่เห็นอยู่มากมาย เพราะอำานาจคือสิ่งที่ 2

Michel Foucoult. Power The essential works of Foucault,1954-1984. New York. The New Press 2000. pp.131-132.

9

เราติดตัง้ ให้กับสิ่งต่างๆ ในสถานการณ์ที่สลับซับซ้อนของการ ต่อสู้ช่วงชิงยุทธศาสตร์ในสังคม และอำานาจยังเป็ นเหมือน โครงสร้างอย่างหนึ่ งที่เปิ ดทางให้ผู้คนเข้าไปสวมบทบาทในฐานะ ผู้กระทำาและผู้ถูกกระทำา เช่น เป็ นหมอ เป็ นคนไข้ เป็ นครู เป็ น ทหาร สังคมไทยกำำลังเปิ ดโครงสร้ำงใหม่ที่ให้ประชำชนได้ สถำปนำอำำนำจของตนขึน ้ ต่อกรกับอำำนำจทำงกำรเมืองใน ระบบ นั น ้ คือกำรถือกำำเนิ ดของพระรำชบัญญัติสภำองค์กร ชุมชน พ.ศ. 2551 ตามข้อกำาหนดของกฎหมายฉบับนี้กำาหนดให้มีสภาองค์กร ชุมชนตำาบล จังหวัด และระดับสมัชชาองค์กรชุมชนชาติ โดยมี ตัวแทนของประชาชนในทุกชุมชนที่ไม่สังกัดพรรคการเมืองและ ไม่มีส่วนในการช่วยหาเสียง และไม่มีตำาแหน่ งทางการเมืองไม่ว่า จะเป็ นระดับชาติหรือในท้องถิ่น เพื่อทำาหน้ าที่แสดงความต้องการ ของประชาชนในเรื่องต่างๆ ต่อหน่ วยงานที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะใน ระดับท้องถิ่นหรือระดับชาติ ตลอดจนร่วมกันดูแลรักษาความเป็ น ไปของชุมชน ร่วมตรวจสอบและให้ข้อคิดเห็นเสนอแนะแก่ องค์กรภาครัฐที่เกี่ยวข้อง อีกทัง้ เข้ามีส่วนร่วมในการทำาแผน พัฒนาชุมชนและจังหวัดของตน นอกจากนั น ้ สภาองค์กรชุมชนตำาบลและจังหวัด ร่วม มีหน้ าที่ในการจัดให้มีเวทีปรึกษาหารือกันของประชาชนเพื่อส่ง เสริมการมีส่วนร่วมของประชาชนในการให้ความคิดเห็นต่อการ ดำาเนิ นโครงการหรือกิจกรรมขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น หรือหน่ วยงานของรัฐหรือเอกชนที่มีผล คุณภาพชีวิตของ

10

ประชาชนในชุมชน ทัง้ นี้ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นหรือหน่ วย งานของรัฐมีหน้ าที่ต้อง สนั บสนุนเงินอุดหนุนค่าใช้จ่าย และให้ ความร่วมมือกับสภาองค์กรชุมชนด้วยมิฉะนั น ้ จะเท่ากับเป็ นการ ละเมิดต่ออำานาจกฎหมายฉบับนี้ ทัง้ นี้สภาองค์กรชุมชนได้ถูกกำาหนดให้เกิดขึ้นอย่างเป็ นรูป ธรรมโดยมีสถาบันพัฒนาองค์กรชุมชน(องค์การมหาชน) ทำา หน้ าที่ ส่งเสริมและสนั บสนุนให้มีการจัดตัง้ และพัฒนากิจการของ สภาองค์กรชุมชนตำาบล รวบรวมข้อมูล ศึกษา วิจย ั และพัฒนา เกี่ยวกับงานของสภาองค์กรชุมชนตำาบลและติดตามและประเมิน ผลการปฏิบัติจัดตัง้ และดำาเนิ นการของสภาองค์กรชุมชนและผล การประชุมเสนอต่อที่ประชุมสภาองค์กรชุมชนตำาบลระดับชาติ และรัฐมนตรีเพื่อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีอย่างน้ อยปี ละหนึ่ งครัง้ จากแนวทางที่ชัดเจนดังกล่าวจึงเท่ากับว่า ประเทศไทย กำาลังจะมีองค์กรภาคประชาชนใหม่ที่ทำาหน้ าที่เปรียบเสมือนผู้ส่ง สารทางการเมืองใหม่ (New sender) ที่มีความเป็ นสถาบันอย่าง ชัดเจนแยกตัวออกจากความเป็ นการเมือง (Non political organization) อันเป็ นการเปิ ดพื้นที่ให้ประชาชนได้เข้ามาร่วมกัน ทำาการสื่อสารแสดงความต้องการและทำาการกำากับควบคุมการ ดำาเนิ นงานขององค์กรปกครองและหน่ วยงานภาครัฐที่เคยมี อำานาจเหนื อชุมชน ลักษณะเช่นนี้จึงถือเป็ นการให้อำานาจใหม่ใน การนิ ยามตนเองกับภาคประชาชนในชุมชน การไหลเวียนของ ข่าวสารในสังคมไทยจะไม่ได้เป็ นแบบบนลงล่างเท่านั น ้ หากแต่จะ ไหลขึ้น(Bottom up)เข้าไปในระบบการเมืองในอีกทางหนึ่ ง

11

พระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนจึงถือเป็ นหนึ่ งในการ แปลงความเป็ นอิสระของประชาชนที่มีอยู่เดิมให้กลายเป็ นอำานาจ แบบทีย ่ ศ สันติสมบัติ เรียกว่า อำานาจทางสังคมการเมือง ซึ่ง 3

หมายถึงสิ่งที่เกิดขึ้นจากความพยายามในการค้นหามาตราการใน ์ ิทธิที่อิสระในตนเองหากแต่ การควบคุมบังคับผู้อ่ ืนมิใช่สิ่งศึกดิส เป็ นความสามารถในการควบคุมบงการและมีอิทธิพลเหนื อ ทรัพยากรมนุษย์ เงิน ทีด ่ ิน ปั จจัยการผลิต อำานาจนี้จึงมีความ ชอบธรรมในรูปแบบและระดับที่แตกต่างกันออกไปในสังคม วัฒนธรรมต่างๆ ซึ่งเป็ นที่ยอมรับของแต่ละสังคมเพื่อใช้ในการ จัดระเบียบและควบคุมบังคับพฤติกรรมของสมาชิกในสังคม อัน เป็ นอำานาจที่มาพร้อมกับตำาแหน่ งหน้ าที่ที่ชัดเจนมิใช่ในฐานะตัว บุคคล ในระบบการเมือง เพราะเสียงประชาชนสามารถควบคุม การดำาเนิ นงานของภาครัฐโดยไม่ต้องอาศัยระบบการเลือกตัง้ อีก ต่อไป ลักษณะเช่นนี้จึงเป็ นโอกาสของภาคประชาชนจะได้ก่อรูป ความอัตตลักษณ์(Identity) ของตัวเองด้วยตัวเองเสียที ซึ่งถือได้ ว่ากฎหมายพระราชบัญญัติองค์กรชุมชนนี้เป็ นการสร้างความ หมายใหม่ การนิ ยามอำานาจใหม่ ทีส ่ ามารถเรียกขานว่าเป็ นวาท กรรม (Discursivity) ชุดใหม่ดังเช่นที่ฟูโกได้นิยามไว้ ซึ่งจะ 4

เป็ นกรอบกำากับความเชื่อ ความรู้ วิธีคิด ที่แสดงผ่านข้อกำาหนด 3

ยศ สันติสมบัติ. อำานาจ บุคลิกภาพ และผู้นำาการเมืองไทย. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2 สำานั กพิมพ์ นำ าไท. น.184-186. 4

มิแช็ล ฟ้โกต์. ร่างกายใตูบงการ. The Chapter “Les corps dociles” from surveiller et punir แปลโดย ทองกร โภคธรรม. กรุงเทพฯ โครงการจัดพิมพ์คบ, 2547. น.10.

12

ทางกฎหมายนี้ที่เป็ นแหล่งอ้างอิงให้ประชาชนในการคงความมี อำานาจในการนิ ยามความเป็ นตัวตนของประชาชนได้แทนที่การ ถูกกระทำาจากระบบการเมืองแต่เพียงฝ่ ายเดียวเหมือนเช่นที่เป็ น มา

New Public Sphere - New Channel : พืน ้ ที่สาธารณะใหม่ ช่องทางสื่อสารใหม่ ในสังคมประชาธิปไตยนั น ้ ต้องการ พลเมือง(Citizen) ทีม ่ ี ความรอบรู้ สามารถตัดสินปั ญหาทางการเมืองด้วยวิจารญาณของ ตนเอง สื่อมวลชนโดยแท้จริงต้องมีหน้ าที่ต้องเปิ ดพื้นที่สาธารณะ ให้เป็ นช่องทางแก่ประชาชน ผู้นำาทางสังคม ได้รับรู้และแลก เปลี่ยนเรียนรู้ (well informed) ซึ่งกันและกัน เกี่ยวกับความเป็ น ไปทางการเมือง เรื่องสาธารณะ ทัง้ ในระดับที่ใกล้ตัวและไกลตัว ออกไป อันจะส่งผลให้ประชาชนได้มีโอกาสก้าวเข้ามาเป็ น

13

พลเมืองโดยสามารถนำ าข้อมูลเหล่านั น ้ ไปอภิปรายโต้แย้ง ตัดสิน ใจต่อไป

5

แต่ในสภาพความจริงของสังคมไทยพบว่า สื่อมวลชนทัง้ หลายได้อท ุ ิศพื้นที่ให้กับผู้นำาทางเศรษฐกิจ การเมือง และสังคม ที่มีตำาแหน่ งอย่างเป็ นทางการหรือผู้ที่มีสถานภาพทางสังคมเด่น ชัดได้บอกกล่าวเรื่องราว ความคิดเห็นของตนที่ต้องการส่งสารไป ยังประชาชนเป็ นสำาคัญ มากกว่าที่จะเปิ ดพื้นที่ให้กับคนกลุ่มต่างๆ ได้แสดงเรื่องราวทัศนคติ มุมมอง ความคิด และความเคลื่อนไหว ของภาคพลเมือง ชุมชน สังคม ที่มีต่อเรื่องราวสาธารณะ ซึ่ง เท่ากับว่า สื่อมวลชนได้กลายเป็ นเครื่องมือของชนชัน ้ นำ าในทาง เศรษฐกิจ การเมือง ในการสื่อสารกับประชาชนทางเดียวเป็ น สำาคัญไม่ได้เป็ นพื้นทีท ่ ี่ก่อให้เกิดการไหลเวียนในการสื่อสาร(flow of communication) แม้กระทัง่ ปั จจุบัน หนั งสือพิมพ์ วิทยุ และโทรทัศน์ ก็ได้ เข้าสู่ยุคแห่งการทำาให้เป็ นธุรกิจมากยิ่งขึ้น (commercialization) หนั งสือพิมพ์มุ่งแสวงหากำาไร นำ าเสนอข่าวสารต่างๆ โดยยอด จำานวนผู้อ่านอย่างมาก เพื่อนำ าไปสู่การขายพื้นที่โฆษณาในราคาที่ สูงขึ้นเพื่อความอยู่รอดในการประกอบกิจการ และการเติบโตใน ทางธุรกิจ ขณะเดียวกัน วิทยุและโทรทัศน์ ภายใต้ความเป็ น 5

วิภา อุตมฉันท์. หลักคิดและบทเรียนจากนานาประเทศ. ห้างหุ้นส่วนจำากัด ไอคอน

พริ้นติ้ง. พิมพ์ครัง้ ที่ 2 เมษายน 2546. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.pp156-160.

14

เจ้าของโดยรัฐ ก็เริ่มหันมาให้สัมปทาน และเปิ ดให้ภาคธุรกิจเข้า มาร่วมผลิตกันอย่างกว้างขวาง สิ่งที่ตามก็คือ ผู้รับสาร ได้ถูก แปรเปลี่ยนไปเป็ นผู้บริโภคในสายตาของสื่อมวลชน แทนที่ความ เป็ น พลเมือง ของผู้รับสารที่สมควรได้รับข่าวสารข้อมูลสาธารณะ เพื่อนำ าไปสู่การคิด ถกเถียง แลกเปลี่ยนเรียนรู้ เพื่อจะนำ าไปสู่การ สะท้อนสาธารณมติจากประชาชน จากที่กล่าวจะเห็นได้ว่า ทีผ ่ ่านมาสังคมไทยยังไร้ซ้ ึงสิ่งที่ เจอร์เกน ฮาเบอร์มาส (Jurgen Habermas) เรียกว่า พื้นที่ สาธารณะ (Public Sphere) (Outhwaite, 1998, pp.207-208) 6

ที่ให้มี่ความสำาคัญในเชิงพื้นที่สาธารณะของการติดต่อสื่อสาร และ การไหลเวียนของข้อมูลข่าวสาร (flow of communication)ที่ เกี่ยวข้องกับเรื่องราวสาธารณะอันนำ าไปสู่การรับรู้และเรียนของ ประชาชนที่สามารถได้ก้าวเข้ามาเป็ นพลเมือง (citizen) ผู้มีความ สนใจและมุ่งมัน ่ ในการเข้าไปมีส่วนร่วมในเรื่องของชีวิต สาธารณะ (Public life) ไม่ใช่ดำารงชีวิตอยู่แบบผู้ถูกกระทำาจาก ภายนอก หรือใช้ชีวิตไปในฐานะผู้บริโภค (consumer) ลักษณะดังกล่าวของพื้นที่สาธารณะจึงมีเป็ นเรื่องที่สัมพันธ์ กับสื่อมวลชนโดยตรง กล่าวคือ สื่อมวลชนเป็ นตัวสำาคัญที่จะช่วย ให้พลเมืองได้เรียนร้้โลก ถกเถียง และตอบสนองต่อความ เปลี่ยนแปลง เข้าถึงการตัดสินใจ และมีการกระทำาที่มี ประสิทธิภาพ โดยหลักในระบบประชาธิปไตย สื่อมวลชน (Mass Media)เป็ นเครืองมือสำาคัญในการสื่อสารของคนกลุ่มต่างๆ จาก 6

William Outhwaite. Jurgen Hambermas. Key Sociological Thinkers. Edited by Rob Stones. 1998. Macmillan Press Ltd. London. pp.207-208.

15

ต่างคนต่างอยู่ในชุมชนเพื่อสร้างความสมานฉันท์ (social cohesion)ให้เกิดขึ้นในชุมชนเป็ นสำาคัญ7 เพราะสื่อมวลชนคือ พื้นที่สาธารณะที่สำาคัญ เป็ นพื้นทีท ่ างสังคม (social space) เป็ น พื้นที่เชื่อมประสานระหว่างประชาชนกับประชาชน เป็ นศูนย์กลาง ในนำ า ความคิดเห็นส่วนตัว(private opinion) ไปส่ส ู าธารณ มติ(public opinion) สื่อประเภทใหม่ ช่องทางการสื่อสารใหม่ในสังคมไทย ทิศทางการปฏิรูปสื่อที่ภาคประชาชนและกลุ่มนั กวิชาการได้ เคลื่อนไหวกันมากว่าทศวรรษในท้ายที่สุดก็ได้เปิ ดพื้นที่สาธารณะ ใหม่ด้วยการผลักดันให้มีช่องทางสื่อสารสาธารณะใหม่ ตาม แนวทางของกฎหมายใหม่ที่เริ่มตัง้ แต่ข้อกำาหนดในพระราช บัญญัติองค์กรจัดสรรคลื่นความถี่ พ.ศ. 2543 ที่ระบุให้มีการ จัดสรรคลื่นความถี่ใหม่ที่แยกสื่อทางด้านสาธารณะ สื่อชุมชน ออกจากสื่อธุรกิจ ซึ่งได้รับความชัดเจนตามแนวทางที่กำาหนดใน ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ทีก ่ ำาลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็ววันนี้ ทีเ่ ปิ ดทางให้ ภาคประชาชนสามารถรวมตัวกันเป็ นจัดตัง้ สถานี วิทยุชุมชนได้ โดยอาศัยคลื่นความถี่ในระบบหลักมิใช่แบบที่ลักลอบทำาในช่วงที่ ผ่านมา ขณะเดียวกันการเกิดขึ้นของโทรทัศน์สาธารณะอย่าง ไทยพีบีเอส ก็เป็ นพื้นที่สาธารณะใหม่ และช่องทางการสื่อสาร 7

Jame Curran. “Rethinking the media as a public sphere.” In Perter Dahlgren and Colin Sparks (Eds.) Communication and Citizenship : Journalism and the Public Sphere in the New Media. London: Routledge. 1999. pp38.

16

ใหม่ที่จะเติมให้ความรู้ ข้อคิด ความตระหนั กในเรื่องราว สาธารณะของสังคมได้อย่างอิสระมากขึ้นกว่าที่ผ่านมา ขณะที่ส่ อ ื มวลชนส่วนใหญ่ได้ถูกครอบงำาจากภาครัฐและ ภาคธุรกิจ ขาดความเป็ นอิสระเพียงพอที่จะทำาหน้ าที่เป็ นพื้นที่ สาธารณะให้กับผู้คนในสังคมไทย การกำาเนิ ดขึ้นของทีวีสาธารณะ และการเปิ ดทางใหม่มีส่ ือสาธารณะและสื่อชุมชนอย่างวิทยุชุมชน ได้นัน ้ นับว่าเป็ นการเปิ ดพื้นที่สาธารณะใหม่กับคนในชุมชนสังคม ได้มีโอกาสในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้เรื่องราวต่างๆ ทัง้ นี้เพราะ โทรทัศน์ สาธารณะและวิทยุชุมชนเป็ นการดำาเนิ นการโดยเปิ ดให้ ประชาชนเข้ามีส่วนร่วมได้โดยตรง ปราศจากการครอบงำาจาก ภาครัฐ การดำาเนิ นการต่างๆ ไม่ตกอยู่ภายใต้ข้อบังคับ กฎเกณฑ์ หลักจากองค์กรทางการเมืองอย่างรัฐบาลหรือรัฐสภา นอกจากนั น ้ แล้วยังเป็ นการดำาเนิ นงานที่กำาหนดให้ไม่มี โฆษณา แต่ว่ารัฐมีภาระต้องอุดหนุนนั น ้ หมายความว่า ทัง้ โทรทัศน์ สาธารณะ รวมไปถึงสื่อสาธารณะอื่นและสื่ออย่างวิทยุ ชุมชนมีความเป็ นอิสระจากการครอบงำาของภาคธุรกิจ ทำาให้มี โอกาสสื่อสารนำ าเสนอข้อมูลข่าวสารให้กับประชาชนผู้รับสารใน ฐานะพลเมืองได้อย่างจริงจัง ขณะเดียวกันก็สามารถสื่อสารกับ ประชาชนได้ในฐานะพลเมืองที่มีโอกาสได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ ระหว่างกันให้รู้เท่าทัน ระบบธุรกิจที่มุ่งทำาการครอบงำาประชาชน ได้ไปพร้อมๆ กัน จากลักษณะเด่นของสื่อสาธารณะและสื่อชุมชนดังกล่าวจึงมี ความแตกต่างจากสื่อมวลชนทัว ่ ไปในอดีตที่ผ่านมา ซึ่งสื่อใหม่นี้

17

สามารถเข้ามาเติมเต็มให้กับช่องว่างทางการสื่อสารที่ผ่านระบบ สื่อมวลชนทัว ่ ไปได้อย่างชัดเจน หากพิจารณาจากปั ญหาลักษณะ การผูกขาดหรือการกระจุกตัวของความเป็ นเจ้าของสื่อ โดย เฉพาะสื่อวิทยุโทรทัศน์ ที่ถูกผูกขาดโดยอำานาจรัฐและอำานาจทุน ส่งผลให้เกิดการขาดความหลากหลายทางความคิด อีกทัง้ กลุ่มผู้รับที่ไม่มีอำานาจการซื้อ เช่น คนจน ชนกลุ่ม น้ อย หรือกลุ่มคนที่มีวัฒนธรรมเฉพาะกลุ่ม ไม่อยู่ในกลุ่มเป้ า หมายทางการค้าของอุตสาหกรรมสื่อ ทำาให้พวกเขาจำาต้องรับสื่อ ที่ผลิตขึ้นเพื่อคนอื่น ๆและมีวัตถุประสงค์ในการสื่อสารที่ไม่ตรง กับความต้องการของพวกเขา อันเท่ากับเป็ นการลิดรอนสิทธิการ เข้าถึงข้อมูลข่าวสารและการใช้ส่ ือ (The right to information and access to the media) และยังเป็ นการควบคุมสิทธิเสรีภาพ ในการแสดงออกซึ่งความคิดเห็นทางการเมืองและวัฒนธรรมเชิง โครงสร้างอีกด้วย

8

ดังนั น ้ การเกิดขึ้นของสื่อสาธารณะและสื่ออย่างวิทยุชุมชน จึงเปิ ดโอกาสให้สามารถเข้ามาเป็ นสื่อกลางที่เชื่อมประสานให้ คนในสังคมได้มีโอกาสแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึงกันและกันอย่าง กว้างขวางเท่าเทียมไม่ว่าจะมีเศรษฐสถานะที่แตกต่างกันอย่างไร ก็ตาม อีกทัง้ ยังสามารถเข้ามามีบทบาทสำาคัญในการทำาหน้ าที่ เป็ นตัวกลางระหว่างบุคคลกับสังคม อันจะก่อช่วยให้มนุษย์ได้ 8

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ ์. ระบบวิทยุและโทรทัศน์ไทย : โครงสร้างทางเศรษฐกิจการเมือง

และผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ. พิมพ์ ครัง้ ที่ 2. พ.ศ. 2544” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ.น.18.

18

เรียนรู้ความเป็ นตนเอง (Identity)จนสามารถกำาหนดบทบาทและ ตำาแหน่ งของตัวเองที่สัมพันธ์กับสังคมได้โดยรอดพ้นจากเงื้อมมือ ของอำานาจรัฐและอำานาจทุน ตลอดจนช่วยคัดกรองข้อมูลข่าวสาร จากจากสังคมภายนอกเข้าสู่การรับรู้ของคนในชุมชนและส่งสาร บอกกล่าวต่อสังคมภายนอก ภายใต้หลักการของความเป็ นพื้นที่สาธารณะที่ต้องปลอด จากครอบงำาจากรัฐ และระบบตลาด เป็ นพื้นทีข ่ องคนหลากหลาย มีการติดต่อกันสมำ่าเสมอ ผู้เข้าร่วมต้องเป็ นพลเมืองมากกว่าผู้ บริโภค ต้องมีจิตสำานึ กสาธารณะร่วมกัน มีการพูดคุยเรื่อง สาธารณะ (public dialogue) วิทยุชุมชนและโทรทัศน์ สาธารณะ 9

จึงนั บเป็ นพื้นทีส ่ าธารณะใหม่สำาหรับสังคมไทยที่ประชาชน สามารถเข้าถึงเพื่อถ่ายทอดความต้องการของตนสู่สาธารณะ ตลอดจนเป็ นแหล่งคัดกรองข้อมูลข่าวสารที่รัฐหรือทุนจะเข้ามา บิดเบือนได้โดยมิง่ายเหมือนกับที่กระทำาผ่านสื่ออื่น New Paradigm on Thai Political Communication : กระบวนทัศน์ ใหม่การสื่อสารทางการเมืองไทย

9

กาญจนา แก้วเทพ. การสื่อสารกับพื้นที่สาธาราณะ : ทัศนะของ Habermas. มองสื่อ

ใหม่ มองสังคมใหม่. กาญจนา แก้วเทพ. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. บริษท ั เอดิสัน เพรส โพรดักส์ จำากัด นิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 กรุงเทพฯ. น.215.

19

ตลอดช่วงเวลาภายหลังการเปลี่ยนแปลงการเมืองการ ปกครองสู่ระบอบประชาธิปไตยตัง้ แร่พ.ศ. 2475 ปริมณฑลของ ระบบการเมืองถูกผูกขาดโดยตัวแสดงผู้ส่งสารทางการเมืองเพียง พรรคการเมือง นั กการเมือง ผู้ดำารงตำาแหน่ งทางการเมือง หรือ หน่ วยงานทางการที่เกี่ยวข้อง แต่นับตัง้ แต่รัฐธรรมนูญใหม่พ.ศ. 2540 ได้เริ่มเปิ ดพื้นที่ช่องทางการมีส่วนร่วมทางการเมืองจาก ภาคประชาชนเพิ่มมากขึ้นทำาให้ตัวแสดงทางการเมืองอื่น อาทิ กลุ่มองค์กรพัฒนาเอกชน กลุ่มคนในภาคประชาสังคม ได้ออกมา ขับเคลื่อนเข้าร่วมแสดงในปริมณฑลแห่งนี้ในชัว ่ ครัง้ ชัว ่ คราวก่อน สลายหายเข้าตำาแหน่ งแห่งที่ของตนแล้วปล่อยให้การเมืองเป็ น เรื่องของตัวแสดงหน้ าเดิมที่อาศัยพื้นที่ส่ ือมวลชน และเครือข่าย หัวคะแนนเป็ นช่องทางสื่อสารทางการเมืองสู่ภาคประชาชน แต่จากนี้ไปด้วยตัวแสดงใหม่อย่างสภาองค์กรชุมชนใน ระดับตำาบล จังหวัด และชาติ ที่ปราศห้ามนั กการเมืองหรือนั กปก ครองใดๆ เข้าไปยุ่งเกี่ยว เช่นเดียวกับช่องทางสื่อสารอย่างสื่อ โทรทัศน์ สาธารณะและวิทยุชุมชนที่มีโอกาสรอดพ้นเงื้อมมือของ อำานาจทุนและอำานาจรัฐสูง จะเป็ นแก่นแกนให้ประชาชนได้ขยับ จากพื้นที่ความเป็ นผู้บริโภคสู่ความเป็ นพลเมืองซึ่งจะผลักดันให้ ระบบการสื่อสารทางการเมืองของไทยขยับตัวไปสู่ระยะเปลีย ่ น ผ่านเพื่อความเป็ นประชาธิปไตยทีป ่ ระชาชนสามารถดำารงอำานาจ ทางสังคมการเมืองไว้ได้ ดังแผนภาพต่อไปนี้ องค์กรทางการเมือง ได้แก่ พรรคการเมือง รัฐบาล รัฐสภา ราชการ ส่วนกลาง องค์กรปกครองท้องถิ่น

20

ติดตาม ตรวจสอบ

ประชาสัมพันธ์

รับผิดชอบ

วิจารณ์ เรียกร้อง

เสนอมติมหาชน

สื่อมวล

โฆษณาชวนเชื่อ

นำ า

สนับสนุน

สื่อ

ระดมเสียงสนับสนุน

สภา

ชน

สาธารณ

องค์กร

ธุรกิจ สื่อสาร

ติดตามตรวจสอบ



จดหมาย ชุมชน

รายงานข่าว วิเคราะห์

SMS-Email

สื่อชุมชน เข้าร่วม

ให้ข้อมูล

โฆษณา หารายได้

ร่วมรับรู้เรียนรู้

กระตุ้นส่งเสริม

ผู้บริโภค

ที่มา: ปรับปรุงจาก Elements of Political Communication. (McNair: 2006)

พลเมือง ประชาชน

จากแผนภาพดังกล่าว โดยทัว ่ ไปแล้วองค์ประกอบการ สื่อสารทางการเมือง(Elements of Political Communication) ที่ Brian McNair วางกรอบไว้มักถูกมองใน 3 ด้านหลักคือ องค์ กรก ารเมืองต่างๆ ที่เป็ นมีความเป็ นสถาบันชัดเจนในระบบ 10

10

Brian Mc Nair. An Introducation To Political Communication. Fourth edition. London Routhledge 2006. pp6.

21

การเมือง สื่อมวลชน และประชาชน ซึ่งต่างให้ข้อมูลข่าวสาร สื่อสารเพื่อบรรลุวัตถุประสงค์หนึ่ งโดยมีส่ ือมวลชนเป็ นสื่อกลาง อันสำาคัญ และสื่อมวลชนก็สามารถผลิตความคิดเห็น ข้อเสนอ แนะต่างๆ ได้ด้วย ลักษณะเช่นนี้เป็ นสิ่งที่เกิดขึ้นและดำารงอยู่ใน สังคมมาส่วนหนึ่ ง แต่ทว่าที่ผ่านมาองค์กรทางการเมืองมักเลือกทำาการสื่อสาร ผ่านสื่อมวลชนไปยังประชาชนเป็ นสำาคัญเพื่อการระดมเสียง สนั บสนุนหรือประชาสัมพันธ์เรื่องราวที่ต้องการสื่อสารด้วย ขณะ เดียวกันก็ยังมีรูปแบบการสื่อสารที่ไม่เป็ นทางการในลักษณะการ สื่อสารระหว่างบุคคลผ่านระบบเครือข่ายหัวคะแนน หรือตัวแทน จัดตัง้ ในพื้นที่ หาได้มีการสื่อสารผ่านระบบพรรคการเมืองไปยัง ประชาชนแต่อย่างใด ขณะที่โอกาสของภาคประชาชนที่จะทำาการสื่อสาร แสดงออกซึ่งความต้องการของตนเองไปยังองค์กรทางการเมือง รัฐบาลหรือรัฐสภา มักไม่ได้รับความสนใจจากสื่อมวลชน เนื่ องจากข้อจำากัดทางด้านเวลาและพื้นที(่ Time and space) ที่ ถูกตีกรอบจากระบบทุนและกลไกการแข่งขันทางการตลาดและ การโฆษณา สื่อมวลชนเปิ ดพื้นที่ให้อย่างมากก็เป็ นเพียงลง จดหมาย 3-4 ฉบับ หรือแสดงข้อความ เอสเอ็มเอส 10-20 ข้อความ ซึ่งเป็ นเพียงเสียงของคนจำานวนน้ อยนิ ดเมื่อคิดเทียบ กับประชาชนของสังคม ประชาชนจึงถูกตีกรอบจำากัดอยู่ในพื้นที่ ของความเป็ นผู้บริโภคข่าวสารและโฆษณาของสื่อมวลชนเป็ น สำาคัญ มิมีโอกาสแสดงพลังผ่านขึ้นไป

22

ดังนั น ้ การไหลเวียนของระบบการสื่อสารทางการเมืองของ ไทยจึงเป็ นแบบจากบนลงล่างเกือบทัง้ หมด หากประชาชน ต้องการสื่อสารกับองค์กระในระบบการเมืองสิ่งที่สามารถทำาได้ อย่างมีประสิทธิผลก็คือ การชุมุมประท้วงซึ่งเป็ นการสื่อสารทาง ตรงถึงทัง้ องค์กรทางการเมืองและสื่อมวลชน แต่จากนี้ต่อไปนี้สภาวะการสื่อสารทางการเมืองใหม่ที่มีสภา องค์กรชุมชนและสื่อสาธารณะและสื่อชุมชนใหม่จะเป็ นการเปิ ด เส้นทางการสื่อสารจากล่างขึ้นบนในอีกด้านหนึ่ งซึ่งมีโอกาสจะพา สังคมไทยเปลีย ่ นผ่านสู่ระบบประชาธิปไตยในทิศทางที่มีคุณภาพ มากยิ่งขึ้น การเปลี่ยนผ่านและเงื่อนไขที่จำาเป็ นสำาหรับการรักษา ประชาธิปไตยในแนวคิดของ Gabriel Almond และ Sidney Verba ได้เขียนไว้ใน The Civic Culture เน้ นว่า ระบบสังคม 11

ต้องให้ความสำาคัญกับองค์กรของประชาสังคมและวิถีทาง สาธารณชนทีส ่ ามารถมีอิทธิพลต่อขบวนการทางการเมือง โดยมี กุญแจสำาคัญต่อการพัฒนาประชาธิปไตยคือการดำารงอยู่ของ องค์กรอาสาสมัครต่างๆ ซึ่งสามารถปลุกระดมพลังการเมืองโดย การชี้ให้เห็นถึงผลประโยชน์ ของกลุ่มต่างๆ ในสังคม นอกจากนั น ้ แล้วประชาสังคมยังรวมถึงบทบาทของสื่อสารมวลชนและผู้นำา ทางความคิดอิสระ สิ่งทดสอบถึงความสามารถของสังคมคือความ

11

สุริชัย ศิริไกร. ความลูมเหลวของ 75 ปี ประชาธิปไตยไทย. รัฐศาสตร์สาร ปี ท่ี 29 ฉบับที่ 1(มกราคม-เมษายน 2551) หนู า 274275.

23

สามารถในการยับยัง้ การตัดสินของรัฐบาล ซึ่งจะบังคับให้ผู้ ปกครองต้องเคารพในผลประโยชน์ ของประชาชน ดังนั น ้ ทิศทางใหม่ของการเมืองไทยกำาลังเริ่มต้นขึ้นโดย จากเดิมที่วนเวียนอยู่กับชนชัน ้ กลาง ก็จะขยับตัวสู่สภาองค์กร ชุมชนที่มีความเป็ นกลุ่มเป็ นก้อนปลอดจากการแทรกแซงทาง ตรงของนั กการเมืองหรือองค์กรการเมืองในชาติหรือท้องถิ่น เหมือนเช่นในอดีต การทำาหน้ าที่ของสภาองค์กรชุมชนในระดับ ต่างๆ ทีค ่ อยตรวจสอบและให้ข้อเสนอตลอดจนยื่นข้อเรียกร้อง แสดงความต้องการและเจตจำานงให้องค์กรปกครองท้องถิ่น หน่ วยงานภาครัฐหรือแม้แต่รัฐบาลต้องกระทำานั น ้ เท่ากับเป็ นการ คงอำานาจไว้ในมือประชาชน แม้ว่าจะได้ไปลงคะแนนเลือก นั กการเมืองเข้าไปทำาหน้ าที่ในองค์กรปกครองระดับต่างๆ แล้ว ลักษณะดังกล่าวสอดคล้องกับธรรมชาติมนุษย์ที่หลัก ประชาธิปไตยให้การตอบสนองดังที่ Jean Jacques Rousseau ชี้ว่า มนุษย์ทุกคนมีอิสรเสรีในฐานพลเมือง อำานาจ 12

อธิปไตยยกให้ใครไม่ได้เป็ นของปวงชน รัฐเป็ นผู้ได้รับมอบหมาย จากเจตนารมณ์ส่วนรวมไปทำางานซึ่งมากกว่าไปแค่การทำาสัญญา กัน แม้การเลือกตัง้ กำาหนดเวลา 4 ปี ไว้เหมือนเป็ นดังสัญญา ประชาคม แต่จากนี้ไปประชาชนคนไทยก็ยังมีควบคุมระบบ การเมืองได้โดยตรงโดยไม่ต้องรอให้ครบสัญญาแล้วมาประเมิน กันใหม่ในระบบเลือกตัง้ 12

เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์. หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าดูวยรัฐ รัฐธรรมน้ญ และกฎหมาย. พิมพ์ครัง้ ที่ 3 กรุงเทพฯ วิญญ้ชน. 2550

24

กล่าวได้ว่าสิ่งที่ขาดหายไปกำาลังจะได้รับการเติมเต็มรูป แบบการสื่อสารจากล่างขึ้นบนกำาลังเกิดขึ้นอย่างเป็ นระบบโดย เฉพาะอย่าง การมีพระราชบัญญัติสภาองค์กรชุมชนที่ได้กำาหนด แนวทางให้ภาคประชาชนในชุมชนเข้ามารวมตัวกันเพื่อแลก เปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกันและร่วมกันปกป้ องสิทธิของชุมชนตลอดจน เข้ามามีส่วนร่วมทางการเมืองในฐานะที่ไม่ใช่นักการเมือง แต่ใน ฐานะพลเมือง ทัง้ นี้เพราะพระราชบัญญัติดังกล่าวกำาหนดห้ามมิ ให้ประชาชนที่เข้ามาร่วมกันนั น ้ เป็ นสมาชิกในทางการเมืองและ ต้องไม่เป็ นสมาชิกหรือสังกัดองค์กรปกครองท้องถิ่นหรือองค์กร ราชการ แต่ต้องเป็ นราษฎรเต็มขัน ้ เป็ นสำาคัญ สภาองค์กรชุมชน ทัง้ ในระดับตำาบลและระดับจังหวัดที่มาจากตัวแทนประชาชนใน แต่ละชุมชนนั บเป็ นตัวแสดงใหม่ในกระบวนการสื่อสารทางการ เมือง นอกจากนั น ้ แล้ว ระบบของสื่อสารแบบใหม่ทัง้ จากโทรทัศน์ สาธารณะและคลื่นวิทยุชุมชนที่จะมีการกระจายตัว ส่งผ่านข้อมูล ข่าวสารที่หลากหลายออกไปอย่างกว้างขวางก็จะเป็ นอีกเงื่อนไข หนึ่ งที่ผลักดันให้การสื่อสารทางการเมืองไทยเปลี่ยนไป เหมือน เช่นที่เสกสรร ประเสริฐกุล ชี้ว่า ตัวแปรที่จะทำาให้เกิดพลวัตร 13

ทางการเมืองไทยในปั จจุบันนอกจากจะอยู่ที่ชนชัน ้ กลางและนั ก ธุรกิจที่จะเป็ นตัวกดดันให้เวทีการเมืองต้องปรับสู่การกระจายอำา นาจแล้ว การเติบโตของสังคมข่าวสารจะทำาให้ความขัดแย้ง ทางการเมืองลดลง เพราะว่าผู้คนมีข้อมูลมากขึ้น 13

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับสังคมในประเทศไทย แง่คิด เกี่ยวกับพลวัตรทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย. ธรรมศาสตร์ 60 ปี

25

การมีส่ ือสาธารณะใหม่และสื่อชุมชนใหม่ตามแนวทางของ ร่างพระราชบัญญัติการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียงและ วิทยุโทรทัศน์ ที่กำาลังจะมีผลบังคับใช้ในเร็ววันนี้ทำาให้เปิ ดช่อง ทางใหม่สำาหรับภาคพลเมือง เปรียบเสมือนพื้นทีส ่ าธารณะใหม่ที่ มีพรมแดนกัน ้ ขวางในการเข้าถึงได้น้อยลง เมื่อเปรียบเทียบกับ สื่อมวลชนทัว ่ ไปที่ถูกยึดโยงกับระบบทุนนิ ยมที่ มีผู้ถือหุ้น เจ้าของโฆษณา และภาวะแห่งการมุ่งแสวงหากำาไรเป็ นเงื่อนไข จำากัดการเข้าถึงหรือการเข้ามีส่วนร่วมเพื่อทำาการสื่อสารเรื่องราว ของพลเมืองด้วยกันหรือการสื่อสารจากพลเมืองสู่องค์กรทางการ เมือง ลักษณะเช่นนี้นับได้ว่าเป็ นโอกาสที่ไม่เพียงจะมีส่วนช่วย ทำาให้ผู้คนในสังคมมีทัง้ บุคคลมีเสรีและมีความเท่าเทียมกันใน ด้านต่างๆ หากแต่จะหนุนนำ าให้ประชาชนร่วมกันสร้างความเป็ น ชุมชนสาธารณะร่วมกันตลอดจน และยังธำารงความเป็ นตัวตน ของตัวเองในการมีสิทธิตัดสินใจในเรื่องอำานาจต่างๆได้อย่างเสรี ภายใต้ระบอบประชาธิปไตยโดยไม่ต้องให้คนจากในระบบ การเมืองมานิ ยามให้ แต่สามารถร่วมกันนิ ยามตามสถานะ พลเมืองโดยมีส่ ืออิสระที่จะยกสถานะสติปัญญา และการรู้เท่าทัน ความเปลี่ยนแปลงและเคลือบแฝงต่างๆ ในทางการเมือง ดังนั น ้ ในการพิจารณาสภาวะการสื่อสารทางการเมืองของ ไทยจึงไม่อาจมองเพียงมิติขององค์กรทางการเมือง สื่อมวลชน และภาคประชาชนเท่านั น ้ หากแต่ต้องพิจารณาตัวแสดงที่เป็ นผู้ เข้ามาทำาการสื่อสารทางการเมืองใหม่อย่างสภาองค์กรชุมชนที่

26

รวมประชาชนขึ้นมาเป็ นกลุ่มก้อน อันทำาให้ผู้ส่งสารหน้ าใหม่ราย นี้มีพลังและอำานาจเต็มในการทำาการสื่อสารทางการเมืองหาได้ เป็ นเพียงปั จเจกชนที่มีอารมณ์ความรู้สึกหลากหลายอีกต่อไป การสื่อสารต่อรองและครอบงำาระหว่างองค์กรทางการเมือง กับสภาองค์กรชุมชนจะเป็ นอีกฉากตอนหนึ่ งของระบบการสื่อสาร ทางการเมืองไทย ขณะเดียวกันบทบาทของสื่อใหม่อย่าง โทรทัศน์ สาธารณะและวิทยุชุมชนที่มีต่อระบบการสื่อสารทางการ เมืองไทยจะเป็ นหัวใจในการขับเคลื่อนพลังภาคประชาชนที่ก้าว เข้ามามีสถานะของความเป็ นพลเมืองซึ่งพึงพิจารณาวิเคราะห์ กว้างออกไปจากบทบาทของสื่อมวลชนที่ปนเปื้ อนระบบธุรกิจเช่น ในอดีตที่ผ่านมา

27

หนั งสืออูางอิง กาญจนา แก้วเทพ. การสื่อสารกับพื้นที่สาธาราณะ : ทัศนะของ Habermas. มองสื่อใหม่ มอง สังคมใหม่. กาญจนา แก้วเทพ. พิมพ์ครัง้ ที่ 1. บริษท ั เอดิ สัน เพรส โพรดักส์ จำากัด นิ เทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2543 กรุงเทพฯ. เกรียงไกร เจริญธนาวัฒน์ . หลักพื้นฐานกฎหมายมหาชน ว่าด้วย รัฐ รัฐธรรมนูญ และกฎหมาย. พิมพ์ครัง้ ที่ 3 กรุงเทพฯ วิญญูชน.2550 ธีรยุทธ บุญมี. ประชาสังคม. กรุงเทพฯ สายธาร พ.ศ. 2547 มิแช็ล ฟูโกต์. ร่างกายใต้บงการ. The Chapter “Les corps dociles” from surveiller et punir แปลโดย ทองกร โภคธรรม. กรุงเทพฯ โครงการจัดพิมพ์ คบ, 2547. ยศ สันติสมบัติ. อำานาจ บุคลิกภาพ และผู้นำาการเมืองไทย. กรุงเทพฯ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2 สำานั กพิมพ์ นำ าไท. วิภา อุตมฉันท์. หลักคิดและบทเรียนจากนานาประเทศ. ห้างหุ้น ส่วนจำากัด ไอคอน พริ้นติ้ง. พิมพ์ครัง้ ที่ 2 เมษายน 2546. ภาควิชาการสื่อสารมวลชน คณะนิ เทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.

28

เสกสรรค์ ประเสริฐกุล. พัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างรัฐ กับสังคมในประเทศไทย แง่คิด เกี่ยวกับพลวัตรทางการเมืองและการพัฒนาประชาธิปไตย. ธรรมศาสตร์ 60 ปี สุริชัย ศิริไกร. ความล้มเหลวของ 75 ปี ประชาธิปไตยไทย. รัฐศาสตร์สาร ปี ที่ 29 ฉบับที่ 1 (มกราคม-เมษายน 2551).

อุบลรัตน์ ศิริยุวศักดิ ์. ระบบวิทยุและโทรทัศน์ ไทย : โครงสร้าง ทางเศรษฐกิจการเมือง และ ผลกระทบต่อสิทธิเสรีภาพ. พิมพ์ครัง้ ที่ 2. พ.ศ. 2544” จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย. กรุงเทพฯ. Curran, Jame. “Rethinking the media as a public sphere.” In Perter Dahlgren and Colin Sparks (Eds.) Communication and Citizenship : Journalism and the Public Sphere in the New Media. London: Routledge. 1999. Foucoult,Michel. Power The essential works of Foucault,1954-1984. New York. The New Press 2000. Mc Nair ,Brian. An Introducation To Political Communication. Fourth edition. London

29

Routhledge 2006. Outhwaite, William. Jurgen Hambermas. Key Sociological Thinkers. Edited by Rob Stones. 1998. Macmillan Press Ltd. London.

Related Documents