Keplerian Orbits

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Keplerian Orbits as PDF for free.

More details

  • Words: 1,979
  • Pages: 8
สมการว งโ คจรข องดาวเครา ะห์ ภายใ ต้แร งดึ งดูดร ะหว ่าง มวล การศึกษาวงโคจรของดาวเคระห์ในระบบสุริยะของเรา - ที่มา ปัญหาการหาวงโคจรของดาวเคราะห์ในระบบสุริยะจักรวาลของเรานั้น มีมาตั้งแต่สมัยโบราณนับ ตั้งแต่เริ่มมีการสังเกตและบันทึกตำาแหน่งของดาวเคราะห์ที่มองเห็นได้ด้วยตาเปล่า ได้แก่ ดาวพุธ ดาวศุกร์ ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และดาวเสาร์ คำา ว่าดาวเคราะห์ในภาษาอังกฤษคือ planet นั้นมีรากศัพท์ใน ความหมายว่า “นักเดินทาง” คือมีการเปลี่ยนตำาแหน่งเมื่อเทียบกับดาวอื่นๆ ทีไ่ กลออกไป (fixed stars) ใน สมัยโบราณเชื่อกันตาม Ptolemy ว่าดาวเคราะห์ทั้งหมด รวมถึงดาวอาทิตย์และดวงจันทร์ต่างก็โคจรรอบ โลกเป็นรูปวงกลม แต่ทฤษฎีนี้ไม่สามารถอธิบายลักษณะการเคลื่อนที่ย้อนกลับ (retrograde motion) ของ ดาวเคราะห์บางดวง เช่น ดาวอังคาร ดาวพฤหัสบดี และ ดาวเสาร์ได้ และยังไม่สามารถอธิบายว่าเหตุใดจึง ไม่เกิดเหตุการณ์นี้กับดาวพุธและดาวศุกร์ ในช่วงกลางคริสตศตวรรษที่ 14 – 15 ในช่วงฟื้นฟูศิลปวิทยาการ (Renaissance) ได้เกิดทฤษฎี ใหม่ขึ้นโดย Nicolas Copernicus โดยกล่าวว่า ดาวเคราะห์ทั้งหลายรวมถึงโลกนั้นโคจรรอบดวงอาทิตย์ ไม่ใช่ในทางกลับกัน แต่ก็ยังเชื่อว่าวงโคจรเป็นวงกลมอยู่ (ชาวตะวันตกในสมัยนั้นยังเชื่อว่าเทหวัตถุเหล่านี้ อยู่ในสวรรค์ คือเป็น heavenly bodies ดังนั้นวงโคจรที่เป็นรูปวงกลมซึ่งเชื่อกันว่ามีความสมบูรณ์มากที่สุด จึงเหมาะสม ทั้งหมดนี้เป็นความเชื่อที่ผิดดังที่จะได้เห็นจากหลักฐานในสมัยหลังๆ และ การคำานวณที่เรา กำาลังจะศึกษาในโครงงานนี้) ความก้าวหน้าอย่างแท้จริงมาถึงเมื่อ Tyco Brahe นักดาราศาสตร์ และ Johannes Kepler นัก คณิตศาสตร์ ได้ทำา การศึก ษาการเคลื่ อนที่ ของ “นั กเดินทาง” เหล่านี้ โดย Tyco Brahe ได้ลงทุนสร้าง อุปกรณ์ทางดาราศาสตร์ขนาดใหญ่โตเทียบกับที่ใช้กันมา (Quadrant ขนาดรัศมี 6 เมตรซึ่งมีความผิด พลาดไม่เกินความกว้างของเข็มเย็บผ้าเมื่อมองจากระยะสุดแขน ) ทำาให้ได้ข้อมูลที่ถูกต้อง และ Tyco ได้ทิ้ง ข้อมูลเหล่านี้ไว้ให้ Kepler วิเคราะห์ ผลจากการศึกษาทำาให้สรุปกฎการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์ได้ 3 ข้อ โดยใช้เฉพาะข้อมูลเท่านั้น แต่ยังไม่มีเหตุผลว่าทำาไมจึงเป็นเช่นนี้ กฎทั้งสามคือ 1. กฎแห่งวงรี วงโคจรของดาวเคราะห์เป็นวงรีที่มีดวงอาทิตย์เป็นจุดโฟกัสจุดหนึ่ง 2. กฎแห่งพื้นที่ เส้นตรงที่ต่อระหว่างดวงอาทิตย์กับดาวเคราะห์จะกวาดพื้นที่ได้เท่ากันในเวลาเท่ากัน กฎนี้แสดงว่าเมื่อดาวเคราะห์อยู่ใกล้ดวงอาทิตย์ มันจะโคจรเร็วกว่าเมื่ออยู่ไกลจากดวงอาทิตย์ 3. กฎฮาร์โมนิก กำาลังสองของคาบของการโคจรของดาวเคราะห์เป็นสัดส่วนโดยตรงกับกำาลังสามของ กึ่งแกนยาว (รัศมีเฉลี่ย) ของวงโคจร การให้เหตุผลว่าทำาไมดาวเคราะห์เหล่านี้จึงโคจรโดยมีระเบียบแบบแผนดังกล่าวกำากับนั้น ได้รับ การอธิบายโดย Sir Isaac Newton ในเวลาต่อมา (โดยการรบเร้าของ Edmund Halley ผู้ค้นพบดาวหาง

ที่ได้รับขนานนามตามชื่อของเขา เพื่อนเป็นส่วนหนึ่งของหนังสือ Principia ของ Newton ที่เป็นต้นแบบ ของฟิสิกส์เชิงทฤษฎีมาอีกกว่า 300 ปี) เนื้อหาที่เราจะทำาการศึกษาก็คือ การหาวงโคจรของดาวเคราะห์โดยวิธีการทางคณิตศาสตร์ ซึ่งจะ ได้ผลลัพธ์เดียวกับ Newton แต่ว่าเราจะพิจารณาวิธีอื่นๆ ที่พัฒนาขึ้นภายหลัง เพื่อเป็นการเปิดโลกทัศน์ใน การแก้ปัญหา และนำาวิธีการไปประยุกต์ใช้กับปัญหาอืน่ ๆ อย่างไรก็ดี จะกล่าวถึงประวัตติ ่ออีกเล็กน้อยก่อน ที่จะเริ่มเนื้อหาส่วนที่เป็นคณิตศาสตร์ หลังจากเวลา 300 ปีผ่านไป ได้มีแบบจำา ลองใหม่โ ดย Albert Einstein ซึ่งให้ภาพลัก ษณ์ ของ แรงดึงดูดว่าเป็นการบิดเบี้ยวของกาล -อวกาศ (space-time) และวัตถุใดๆ จะพยายามไปตามเส้นทางที่สั้น ที่สุดในกาล-อวกาศนั้น เรียกเส้นทางสั้นสุดนั้นว่า geodesic ซึ่งในกรณีที่พื้นเรียบนั้น geodesic ก็จะเป็น เส้นตรงอย่างที่คาดกันไว้ แต่ว่าหากกาล-อวกาศมีการยุบตัวลงเนื่องจากการมีอยู่ของมวล ก็จะทำา ให้เส้น geodesic ดังกล่าวกลายเป็นเส้นโค้ง เช่น วงกลม วงรี พาราโบลา หรือ ไฮเปอร์โบลา ทำาให้เห็นเป็นวงโคจร นอกจากนี้ทฤษฎีสัมพัทธภาพทั่วไปยังทำานายการส่ายควงของตัววงโคจรทำาให้วงโคจรแทนที่จะกลับมาปิด ที่เดิม ก็กลายเป็นค่อยๆ หมุนไปเป็นรูปกลีบดอกไม้แทน นอกจากนี้ ผลจากการศึกษาทางควอนตัมฟิสิกส์ได้แสดงได้ให้เห็นว่า จริงๆ แล้ว จักรวาลของเรามี ลักษณะเป็นขั้นๆ ไม่ต่อเนื่อง (discreteness) ในหลายๆ ลักษณะ ซึ่งผลตามมาอย่างหนึ่งก็คือ จริงๆ แล้ววง โคจรของดาวเคราะห์นั้นไม่ได้มีได้ทุกระยะห่างจากดวงอาทิตย์ แต่ว่าจะมีวงโคจรที่เสถียร เช่นเดียวกับ อิเล็กตรอนในอะตอม (แนวคิดของ allowed orbit นี้ก็มาจากภายในอะตอมนี้เอง) แต่ว่าเนื่องจากขนาด อันใหญ่โตของวงโคจร ทำาให้แต่ละขั้นที่เป็นไปได้นั้นห่างกันมากจนบอกได้ยากมาก แลเหมือนกับว่ามีความ ต่อเนื่อง สิ่งที่น่าตกใจที่สุดเกี่ยวกับวงโคจรของดาวเคราะห์นั้นปรากฎขึ้นในครึ่งหลังของคริสศตวรรษที่ 20 นี้เอง โดยการศึกษาโดยใช้คอมพิวเตอร์ช่วยคำานวณอย่างละเอียด ชี้ให้เห็นว่าระบบของวัตถุที่เคลื่อนที่ภาย ใต้แรงดึงดูดระหว่างมวลนี้ มีลักษณะยุ่งเหยิง (chaotic) ในแง่ที่ว่าไม่สามารถทำานายได้อย่างชัดเจนว่าจะ เกิดอะไรขึ้น หรือว่า อยู่ดีๆ ดาวเคราะห์จ ะบังเอิ ญใกล้กันเข้ามาชนพุ่งเข้าหากันในที่สุดได้หรือไม่ การ เปลี่ยนตำา แหน่งเพียงเล็กน้อยของดาวเคราะห์ดวงหนึ่งอาจส่งผลให้ทั้งระบบเข้าสู่สภาพเสียสมดุลย์ก็ได้ เรียกปรากฎการณ์นี้ว่า butterfly effect (จากความเชื่อที่ว่าการที่ผีเสื้อกระพือปีกในซีกโลกหนึ่ง ก็อาจจะ ทำา ให้เกิดพายุในอีกซีกโลกได้ เนื่องจากลักษณะภูมิอากาศของโลกเองก็มีลักษณะยุ่งเหยิงเช่นเดียวกัน) นอกจากนี้ ก่อนหน้านี้เมื่อร้อยหรือสองร้อยปีก่อนยังมีการพิสูจน์ไปแล้วว่าปัญหาการเคลื่อนของแรงดึงดูด ระหว่างมวลของระบบวัตถุ 3 ชิ้น (Three-body problem) ก็ทำาให้เกิดลักษณะยุ่งเหยิงแล้วในกรณีทั่วๆ ไป นั่นคือต่อให้มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ดีแค่ไหน แต่ในทางทฤษฎีเราก็ถูกจำากัดการทำานายของเราจากขีดจำากัด ของความแม่นยำาในการวัดของเราเอง (ทั้งคุณภาพของเครื่องมือ และ จากหลักความไม่แน่นอนของไฮเซน เบิร์ก) ทำาให้ไม่สามารถทำานายได้ 100% อีกต่อไปถึงสภาพของระบบสุริยะในอนาคต

จะเห็นว่าจากความพยายามที่จะเข้าใจการเคลื่อนที่ของเทหวัตถุที่เรารู้จักมาแต่โบราณเหล่านี้ ทำาให้เราได้เปิดโลกทัศน์และพัฒนาความเข้าใจในโลกรอบตัวของเราในระดับรากฐานขึ้นอย่างมากมาย กฎการเคลื่อนที่ของ Newton ตามที่เราทราบกันแล้ว Newton ได้เสนอกฎการเคลื่อนที่ไว้สามข้อ สรุปได้ง่ายๆ ดังนี้ 1. วัตถุที่อยู่นิ่ง ถ้าไม่มีแรงกระทำาก็จะอยู่นิ่งต่อไป 2. วัตถุที่อยู่นิ่ง ถ้ามีแรงมากระทำา จะทำาให้เกิดความเร่งแปรผันตรงกับ “มวล” ของวัตถุนั้น 3. ทุกๆ แรงกระทำา จะมีแรงกระทำาในทิศตรงข้ามกลับมาโดยมีขนาดเท่ากัน กฎที่จะมีความสำาคัญกับเราในการศึกษาครั้งนี้ก็คือกฎข้อที่สอง ซึ่งสามารถเขียนในทางคณิตศาสตร์ได้ว่า F  ma

โดยที่

a m

2

dv d x  dt dt 2

คือความเร่งของวัตถุ

คือมวลของวัตถุ (ถือว่าคงที่ เนื่องจากพิจารณาความเร็ว v = c )

การวิเคราะห์โดยใช้เวกเตอร์ การพิจารณาการเคลื่อนที่แบบดังกล่าว เป็นการสะดวกที่จะกำาหนดเวกเตอร์ฐานที่เราจะทำา งาน ด้วยเป็นเวกเตอร์ออกจากศูนย์กลาง และ เวกเตอร์ตั้งฉากกับเวกเตอร์แรก ซึ่งจะเรียกว่า uˆr และ uˆ ตาม ลำาดับ มีสมการดังนี้ uˆr  iˆ cos t  ˆj sin t uˆ  iˆ sin t  ˆj cos t

เมื่อ iˆ, ˆj เป็นเวคเตอร์ในแนวแกน x และ y ตามลำาดับ

สังเกตว่า d d uˆr  uˆ , uˆ  uˆr dt dt 2 d d2 2 ˆ ˆ u    u , uˆ   2uˆ r 2 r 2  dt dt กลับมาพิจารณาการเคลื่อนที่ของดาวเคราะห์อีกครั้ง ให้ rr  ruˆ

ดาวเคราะห์หนึ่งๆ จะได้

เป็นเวคเตอร์บอกตำา แหน่งของ

r  d   d  ˆ v  r uˆr  r   u  dt   dt  2 2 r  d 2r  d   ˆ  d   dr   d   ˆ a   2 r u  r  2   r    u 2  dt    dt   dt    dt  dt สังเกตว่าแรงดึงดูดที่ดวงอาทิตย์ (มวล M) กระทำาต่อดาวเคราะห์ (มวล m) นี้ก็คือ r GMm r f   2 uˆr  ma r

ดังนั้นจะได้สมการ 2 2  d 2r GM  d   ˆ  d   dr   d   ˆ  2 r   ur   r 2  2    u   2 uˆr r  dt    dt   dt    dt  dt

นั่นคือ

2  d 2r GM  d   r      2 ..........  * 2 r  dt  dt   2  r d   2  dr   d   0......... **       dt 2  dt   dt 

ก่อนอื่นสมการ (**) สามารถเขียนเป็น

1 d  d  2 dr 0    d  dt  dt  r dt    dt  d   d   d 2 ln     ln r   0  dt   dt   dt

นั่ น คื อ

r2

d dt

d   2 d   ln  r  0 dt   dt  

เป็ น ค่ า คงที่ โดยทั่ ว ไปแล้ ว เราจะพิ จ ารณาว่ า

C  mr 2

d dt

เป็ น ค่ า คงที่ ซึ่ ง เรี ย กว่ า “

โมเมนตัมเชิงมุม” และการที่ค่าโมเมนตัมเชิงมุมนี้คงที่เรียกว่า หลักการอนุรักษ์โมเมนตัมเชิงมุม ซึ่งเป็นจริง สำาหรับทุกๆ แรงเข้าศูนย์กลาง (central force) เมื่อแทนค่า

d C  dt mr 2

ลงใน (*) จะได้ว่า

d 2r C 2 GM  2 3   2 ....  *** 2 dt mr r จะเห็นว่าการแก้สมการหา r ในรูปของ t ของโดยตรงค่อนข้างจะยากและยังไม่ได้

เมื่อมาถึงจุดนี้แล้ว ประโยชน์อีกด้วย เนื่องจากสมการในรูปเชิงขั้วทั่วไปมักจะเขียน r ในรูป θ มากกว่า จึงเป็นการดีที่เราจะ เขียนสมการนี้ใหม่โดยพิจารณา

d2  1   ดังนี้ d 2  r 

 1  dr   2 d 1 r dt   d  1 m dr r  dt     d  r  d dt C dt  C  1    2   m  r  d  d  1  d  m dr  m d 2r        2 dt  d  r   d  d  1  m2 r 2 d 2r dt  C dt  C dt    2    d C C d  d  r   C dt 2  2 2 dt mr mr แทนลงในสมการ (***) 

C2 d 2  1  C2 GM   2  2 2 2  2 3 m r d  r  m r r d 2  1   1  GMm 2      d 2  r   r  C2  1 GMm 2  d 2  1 GMm 2          d 2  r C2  C2   r 1 GMm 2   A cos    B  r C2

เมื่อ A และ B เป็นค่าคงที่ซึ่งเหมาะสม r

เมื่อ T 

C2 GMm 2

1 2

GMm  A cos    B  C2



T 1  TA cos    B 

และ A, B เป็นค่าคงที่

สมการนี้สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นสมการของภาคตัดกรวยทั้ง 4 อย่างคือ วงกลม วงรี พาราโบลา และ ไฮ เปอร์โบลา การวิเคราะห์โดยใช้พิกัดเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Cartesian coordinates) การแก้ปัญหาเดียวกันนี้สามารถพิจารณาโดยใช้มุมมองจากพิกัดเชิงสี่เหลี่ยมมุมฉาก (Cartesian coordinates) แทนการใช้ รู ป เชิ ง ขั้ ว ก็ ไ ด้ และในหลายกรณี ทำา งานได้ ง่ า ยกว่ า เนื่ อ งจากมี ค วามคุ้ น เคย r มากกว่า ในกรณีนี้ให้ P  t    x  t  , y  t   แทนตำาแหน่งของดาวเคราะห์เมื่อเวลาเป็น t

เมื่อ

r P  t    r  t  cos   t  , r  t  sin   t  

r  t

แทนระยะห่างระหว่างดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ที่เวลา t   t  แทนมุมที่เส้นลากเชื่อมดาวเคราะห์กับดวงอาทิตย์ทำากับแกนเอกของวงโคจร วัดทวนเข็ม

จะได้ว่า

r v  t   r&sin   r&cos  , r&cos   r&sin 





dr & d และจะได้ ,  dt dt r & 2r& & 2r& & r&2 sin   r& a t  & r& r&2 cos   r& & sin  , r& & cos 

ในที่นี้เพื่อความสะดวก เราใช้สัญลักษณ์





r&















2 r & & d  ,  dt 2 dt 2

d เมื่อ & r&

2

(เหตุผลที่เลือกใช้สัญลักษณ์ต่า งกันในสองวิ ธีก็เพื่อให้ผู้อ่า นเกิดความคุ้นเคยกับสัญลักษณ์ทั้งสองแบบ

โดยแบบแรกเป็นของ Leibnitz ส่วนแบบหลังนี้เป็นของ Newton ซึ่งมีความสะดวกในการทำางานต่างกัน) แต่จากกฎของ Newton จะได้ว่า ar  

GM GM  cos  ,  2 sin   2 r r   ดังนั้นจากการเทียบ x-component และ y-component จะได้ว่า 



GM & 2r& r& r&2 cos   r& & sin    2 cos  .....  1  & r 









GM & 2r&  & r& r&2 sin   r& & cos    2 sin  .....  2   r GM & r& r&2   2  1 cos    2  sin  ; r & 2r& r& & 0  2  cos    1 sin  ;









สังเกตว่าสองสมการสุดท้ายนี้ก็คือชุดเดียวกับที่สามารถหาได้จากการวิเคราะห์ด้วยเวคเตอร์นี้เอง การใช้ vector analysis ระดับสูงมาช่วยหาวงโคจร กลั บ มาที่ ก ารใช้ เ วกเตอร์ อี ก ครั้ ง แต่ ค ราวนี้ เ ราจะพิ จ ารณาวิ ธี ใ ช้ เ วกเตอร์ แ บบที่ ไ ม่ ต้ อ งแจง component ออกมาเลย แรกสุด เช่นเดียวกับวิธีอื่นๆ เราจะพิสูจน์ก่อนว่าค่าโมเมนตัมเชิงมุม mr 2

ค่าคงที่ในสนามของแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง (central force field) พิจารณาโมเมนตัมเชิงมุม r r r Lrp

หาอนุพันธ์เทียบกับเวลาจะได้ว่า

r r r dL r dr r dp  p  r  dt dt dt

d dt

มี

r r r dr r r dr r dp r r แต่ว่า p  m ดังนั้น p P ทำาให้พจน์แรกเป็น 0 ส่วน r   r  F  0 เนื่องจากแรงเป็นแรงเข้า dt dt dt r r สู่ศูนย์กลาง ( rr PF ) ดังนั้นจะได้ว่า dL  0 สำา หรับทุกๆ แรงที่เป็นแรงเข้าสู่ศูนย์กลาง นั่นคือ Lr คงที่ dt นอกจากนี้ การที่เวกเตอร์นี้คงที่ยังทำา ให้ได้ว่าวงโคจรทั้งหมดอยู่ในระนาบเดียวในปริภูมิสามมิติ (threedimensional space) อีกด้วย

คราวนี้เราพิจารณาแรงเข้าสู่ศูนย์กลางที่มีลักษณะพิเศษแต่พบได้ทั่วไป คือ แรงที่ขนาดแปรผกผัน กับกำาลังสองของระยะทาง (inverse-square force) อันได้แก่แรงดึงดูดระหว่าง (ที่เรากำาลังพิจารณา ) และ แรงคูลอมป์ (หรือแรงแม่เหล็กไฟฟ้า) สำาหรับแรงเหล่านี้ กฎข้อที่สองของ Newton จะมีลักษณะเป็น เมื่อ

r r r n r

r dv k r m  2 n dt r

เป็นเวกเตอร์หน่วยในทิศทาง rr และ k เป็นค่าคงที่

สังเกตว่า

r r dn r dr d r dr r v   rn   n  r dt dt dt dt

ดังนั้น ต่อไป เราพบว่า

r r r r r  r  dr r dn   dn  r r 2 L  r  p   rn    mv   mr  n   n  r   mr  n   dt   dt   dt  

r r r r r d r r  dv r   r dL  dv r k r r  r  dn r  dn r r  vL   L   v    L  n  L  k  n  n   n n   dt dt  dt mr 2  dt     dt  dt  r r r r r r r r r โดยกฎข้อที่สองของนิวตัน และสองสมการก่อนหน้านี้กับเอกลักษณ์ x   y  z   y  x z   z  x y  r dn r r r เนื่องจาก n n  1 เราจะได้จากการหาอนุพันธ์เทียบเวลาว่า n  0 ดังนั้น dt r r d r dn vL  k dt dt













อินทิเกรตทั้งสมการ จะได้ว่า

r r r r v  L  kn  C r r r r r C เป็นเวกเตอร์คงที่ เราจะเห็นภายหลังว่า C  v  L  kn

เมื่อ ของวงโคจร ขั้นต่อไป พิจารณา

เมื่อ θ คือมุมที่วัดจาก

นี้จะเป็นตัวกำาหนดทิศทางของแกนเอก

r r r r r r L2  L  r  mv   mr  v  L  mr  k  C cos   r r C ไปสู่ r , สมการนี้ทำาให้เราแก้หา r ได้เป็น



r



L2 km A  1   C k  cos  1   cos 

ซึ่งเหมือนกับในกรณีอื่นๆ ก่อนหน้านี้ สมการนี้คือสมการของภาคตัดกรวยที่มีโฟกัสอยู่ที่จุดกำาเนิด วิธีอื่นๆ ในการหาวงโคจร นอกจากวิธีที่ใช้การวิเคราะห์โดยตรงแล้ว ยังมีอีกหลายวิธีที่สามารถทำาให้เราสรุปได้ว่าวงโคจรของ ดาวเคราะห์ภายใต้แรงดึงดูดที่แปรผกผันกับระยะทางกำา ลังสองนั้นจะเป็นรูปภาคตัดกรวย เช่น การแก้ สมการเชิงอนุพันธ์โดยใช้วิธีการพิจารณาพลังงานหรือศักย์เป็นหลัก [Classical Mechanics 3rd ed. – Goldstein, Poole & Safko] และ วิธีเรขาคณิตที่ไม่ต้องใช้คณิตศาสตร์ขั้นสูงเลยแต่การอธิบายค่อนข้าง ยาว จึงไม่ได้นำา มาใส่ไว้ ณ ที่นี้ [Feynman’s Lost lecture: The motion of planets around the sun David L. Goodstein, Judith R. Goodstein]

หนังสืออ้างอิง พรชัย พัชรินทร์ตนะกุล. ดาราศาสตร์และดาราฟิสิกส์เบื้องต้น. กรุงเทพฯ : จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, 2528.

วุทธิพันธุ์ ปรัชญพฤทธิ์. ฟิสิกส์ (กลศาสตร์ : หน่วยของการวัด กฎของการเคลื่อนที่ การเคลื่อนที่ภายใต้ อิทธิพลของแรง ทฤษฎีสัมพัทธภาพ). กรุงเทพฯ : สอวน.. 2547. มงคล ทองสงคราม. เรขาคณิตวิเคราะห์ Analytic Geometry. กรุงเทพฯ : วี. เจ. พริ้นติ้ง, 2543. Frederick W. Byron, Jr. and Robert W. Fuller. Mathematics of classical and quantum physics. United States of America : Dover, 1992. Leon Lederman. The god particle. United States of America : Mariner books, 2006. David L. Goodstein and Judith R. Goodstein. Feynman’s lost lectures : The motion of planets around the sun. United States of America : California Institute of Technology, 1996.

Related Documents

Keplerian Orbits
November 2019 8
Orbits
November 2019 12
Near Circular Orbits
December 2019 11
All Afloat In Orbits
October 2019 13