Forward And Futures Market

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Forward And Futures Market as PDF for free.

More details

  • Words: 1,586
  • Pages: 16
Forward and Futures Market ประวัตคิ วามเป็นมาตลาดล่วงหน้า ญี่ปนุ่ เป็นประเทศแรกที่เริ่มใช้ระบบ Forward Markets ตั้งแต่ปี 1697 โดยเริ่มต้นจาก ขุนนางบอกขายข้าวล่วงหน้าก่อนฤดูกาลเก็บเกี่ยวโดยวิธีการออกตั๋วรับสินค้าข้าว พ่อค้าข้าวกลาย เป็นผู้ซื้อตั๋วข้าวเหล่านี้ตามปริมาณที่คาดว่าจะต้องมีไว้ขายในอนาคต การซื้อขายแพร่หลายมากจน ตั๋วข้าวนี้กลายมาเป็นตราสารทางการเงินที่ยอมรับอย่างกว้างขวางว่าเป็น “เงิน” ชนิดหนึ่ง พ่อค้าราย หนึ่งในโอซาก้าจึงตั้งบ้านของตนเองเป็นศูนย์กลางซื้อขายตั๋วข้าวจนกลายมาเป็นตลาด Futures แห่ง แรกของโลก ภายหลังจึงมีการย้ายตลาดกลางแห่งนี้ไปตั้งในเขตโดจิมา (Dojima) และกลายมาเป็น The Dojima Price Market ในปัจจุบัน ตลาดอนุพันธ์ ตลาดอนุพันธ์ โดยทัว่ ไปอาจแบ่งได้เป็น 2 ประเภท ตามลักษณะวิธีการซื้อขาย คือ ตลาด อนุพันธ์ที่มีการซื้อขายโดยตกลงรายละเอียดกันเอง ที่เรียกว่า ตลาด Over the Counter หรือ OTC กับตลาดอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (organized exchange) ความ แตกต่างระหว่างอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายแบบ OTC และอนุพันธ์ในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ (exchange traded derivatives) คือ อนุพันธ์ที่ซื้อขายในตลาดที่จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการนั้น จะมี ลักษณะเป็นสัญญามาตรฐานที่มีข้อกำาหนดแน่นอน เงื่อนไขที่ทำาให้สัญญาเป็นมาตรฐาน ในขณะที่ ข้อกำาหนดต่างๆ ของอนุพันธ์ที่มีการซื้อขายแบบ OTC จะเป็นการต่อรองและตกลงกันเป็นคราวๆ ไปของคู่สัญญา จากการที่อนุพันธ์มีสัญญาที่เป็นมาตรฐาน ทำาให้สามารถแลกเปลี่ยนกันได้ทุก สัญญา ข้อแตกต่างอีกประการหนึ่งคือ ตลาดอนุพนั ธ์ที่มีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการ จะมี การจัดตั้งหน่วยงานที่เรียกว่า สำานักหักบัญชี (clearing house) เป็นตัวกลางเพื่ออำานวยความสะดวก ในการชำาระราคา และรับประกันการปฏิบัติตามภาระผูกพันในสัญญาอนุพันธ์ การที่มีสำานักหัก บัญชีนี้ จะช่วยขจัดความเสี่ยงด้านเครดิตของคู่สัญญา (counterparty risk) ซึ่งอาจเกิดขึ้นได้จากการที่ คู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งไม่สามารถปฏิบัติตามข้อตกลง ในขณะที่การซื้อขายอนุพันธ์ในตลาด OTC จะไม่มีผู้ใดเข้ามาทำาหน้าที่เป็นนายประกันให้แก่คู่สัญญา คูส่ ัญญาจึงต้องแบกรับความเสี่ยงของคู่ สัญญาอีกฝ่ายไว้เองโดยตรง จึงทำาให้การซื้อขายอนุพันธ์ในตลาด OTC ถูกจำากัดเฉพาะคู่สัญญาที่มี ความน่าเชื่อถือเท่านั้น ความหมายของอนุพันธ์ อนุพันธ์ (Derivatives) คือ ตราสารทางการเงินชนิดหนึ่งที่มีลักษณะสำาคัญ คือ มีมูลค่า ขึ้นอยู่กับสินทรัพย์ที่สัญญานั้นอ้างอิงอยู่ และมีอายุจำากัด

ประเภทของอนุพันธ์ 1. ฟิวเจอร์ส (Futures) หมายถึง สัญญาระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่ตกลงราคากัน ณ ปัจจุบนั และจะมีการส่งมอบสินทรัพย์ และชำาระเงินในอนาคตตามราคาที่ได้ตกลงไว้ไม่ว่าราคาในขณะนัน้ จะเป็นเท่าไรก็ตาม และถือว่าทั้งสองฝ่ายมีภาระผูกพันต่อกันต้องปฏิบัติตาม 2. ออปชัน (Options)สิทธิที่ได้รับจากการซื้อตราสารนั้นๆตามที่ได้ตกลงไว้ในสัญญา 3. ฟอร์เวิร์ด (Forward) เป็นสัญญาที่มีลักษณะคล้าย Futures คือเป็นสัญญาที่บุคคล 2 ฝ่าย ตกลงกันเพื่อซื้อขายสินทรัพย์ โดยระบุประเภท จำานวน และราคาซื้อขายกันไว้ ณ วันนี้ และทำาการ ส่งมอบสินค้ากันในอนาคตเช่นเดียวกัน แต่มีข้อแตกต่างที่สำาคัญคือ Futures นัน้ ซื้อขายในตลาดที่ จัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการ หรือซื้อขายใน Exchange ในขณะที่ ฟอร์เวิร์ด นัน้ เป็นการตกลงซื้อขาย กันนอกตลาด 4. สวอป (Swap) ทั้งนี้ อนุพันธ์ ไม่ว่าจะเป็นประเภทใด สามารถมีสินทรัพย์อ้างอิงได้หลายแบบ โดยอาจแบ่ง อนุพันธ์ตามประเภทสินทรัพย์อ้างอิงได้เป็น 2 ประเภท คือ • อนุพันธ์ที่อ้างอิงกับสินค้าโภคภัณฑ์ (Commodities Derivatives) ได้แก่ อนุพน ั ธ์ ที่อ้างอิงกับสินค้าเกษตรต่าง ๆ เช่น ข้าวสาลี ข้าวโพด ขนแกะ ยาง เป็นต้น และอนุพันธ์ที่อ้างอิงกับ สินค้าโภคภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ทองคำา เงิน ทองแดง นำ้ามันดิบ เป็นต้น • อนุพันธ์ทางการเงิน (Financial Derivatives) ได้แก่ อนุพันธ์ที่อา้ งอิงกับ หลักทรัพย์ กลุ่มดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ตราสารหนี้ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราระหว่าง ประเทศ เป็นต้น วัตถุประสงค์ของตลาดอนุพนั ธ์ ปัจจุบัน ตลาดอนุพันธ์มีวัตถุประสงค์ต่างๆ ที่หลากหลายในระบบเศรษฐกิจของโลก โดย มีหน้าที่สำาคัญประการหนึ่งของอนุพันธ์ ได้แก่ การค้นพบราคา (price discovery) ตลาดซื้อขายล่วง หน้าสามารถให้ข้อมูลเกี่ยวกับราคาของสินทรัพย์อ้างอิงผ่านการทำาสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ทำาให้ การทำาสัญญาล่วงหน้าดังกล่าวเป็นการให้ข้อมูลใน 2 ทาง คือ 1. โดยทั่วไปสินทรัพย์ต่างๆ จะถูกทำาการซื้อขายในตลาด ซึ่งราคา ณ ปัจจุบันของสินทรัพย์ จะเรียกว่า spot price แต่สำาหรับในตลาดซื้อขายล่วงหน้านั้น ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงตามที่ระบุไว้ ในสัญญาจะเป็นเสมือนตัวแทนของราคาของสินทรัพย์อ้างอิงนั้นๆ ในอนาคต โดยเฉพาะสินทรัพย์ อ้างอิงที่มีการซื้อขายอยู่ในหลายตลาดในภูมิภาคที่แตกต่างกัน

2. ราคาของสินทรัพย์อ้างอิงตามสัญญาซื้อขายล่วงหน้านั้น จะเป็นตัวป้องกันความเสี่ยง ของราคาของสินทรัพย์อ้างอิงที่อาจจะเปลี่ยนแปลงในอนาคต ประโยชน์ของอนุพันธ์ การทำาธุรกรรมซื้อขายอนุพันธ์ มีวัตถุประสงค์ต่างๆ ทั้งที่เพื่อการลงทุน การจัดการเงิน ลงทุน และการควบคุมความเสี่ยงต่างๆ โดยอาจกล่าวได้ว่าตลาดอนุพันธ์มีบทบาทสำาคัญในการ ดำารงซึ่งความมีเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ โดยสามารถนำามาใช้ในการบริหารความเสี่ยงที่ต้องเผชิญ ในต่างประเทศ อนุพันธ์โดยส่วนใหญ่ จะใช้อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาของสินค้าหรือสินทรัพย์ทางการ เงินต่างๆ ที่มีความสำาคัญต่อเศรษฐกิจ ไม่ว่าจะเป็น ดัชนีราคาหลักทรัพย์ อัตราดอกเบี้ย ราคา พันธบัตร อัตราแลกเปลี่ยน ราคานำ้ามัน เป็นต้น โดยในภาคการผลิต ผูผ้ ลิตสามารถใช้อนุพันธ์ที่ อ้างอิงกับสินค้าต่างๆ ในการควบคุมราคาต้นทุนสินค้าทั้งทางด้านต้นทุนราคาวัตถุดิบและต้นทุน ด้านการผลิต สามารถใช้ควบคุมราคาจัดจำาหน่ายสินค้ารวมถึงสามารถควบคุมปัจจัยเสี่ยงต่างๆ ภายนอก เช่น ควบคุมราคาอัตราแลกเปลี่ยน เป็นต้น ผลก็คือ บริษัทและห้างร้านต่างๆสามารถจะ ทำานาย คาดคะเนหรือควบคุมผลกำาไรของบริษัทได้อย่างแม่นยำามากขึ้น สำาหรับในภาคการเงิน ผูล้ งทุนหรือผู้ที่ประกอบธุรกิจในตลาดทุนที่ต้องเผชิญความเสี่ยง ต่างๆ ก็สามารถใช้การซื้อขายอนุพันธ์ในการบริหารความเสี่ยง ไม่ว่าจะเป็นความเสี่ยงจากอัตรา ดอกเบี้ย ความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยน และความเสี่ยงที่เกิดจากการลงทุนในตลาดตราสาร ทำาให้ สามารถบริหารความเสี่ยงได้อย่างมีประสิทธิภาพ ประโยชน์ของตลาดอนุพันธ์อีกประการหนึ่ง คือ เป็นตลาดเพื่อการลงทุน อนุพันธ์ทางการ เงินนั้น สามารถนำามาซื้อขายเพื่อทำากำาไรจากการเปลี่ยนแปลงของราคา หรือทำากำาไรทิศทางการขึ้น ลงของตัวแปรทางการเงินต่างๆได้ สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟอร์เวิรด์ ลักษณะของสัญญาฟอว์เวิร์ด เริ่มต้นจากคำานิยามของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟอร์เวิร์ด หรือสัญญาฟอร์เวิร์ด (forward contract) คือ ข้อตกลงระหว่างผู้ซื้อและผู้ขาย โดยผู้ซื้อสัญญาว่าจะซื้อสินค้า และผู้ขายสัญญาว่าจะ ขายสินค้ากันในอนาคตด้วยราคาที่ได้ตกลงกันในปัจจุบัน ลักษณะที่สำาคัญของสัญญาฟอร์เวิร์ด คือ อาจมีการตกลงกันจากทั้งสองฝ่ายของคู่สัญญาที่ ตกลงทำาสัญญาว่าจะต้องชำาระเงินประกัน ซึ่งจะเป็นการลดความเสี่ยงจากการผิดนัดชำาระเงินของคู่ สัญญาได้ และจุดที่สำาคัญอีกจุดหนึ่งของสัญญาฟอร์เวิร์ด คือ ณ ตอนเริ่มต้นของการทำาสัญญา ไม่มี การแลกเปลี่ยนเงินระหว่างกัน

การส่งมอบและการปิดฐานะในสัญญาฟอร์เวิร์ด เมื่อสัญญาฟอร์เวิร์ดหมดอายุลง มีข้อตกลงที่เป็นไปได้เพียงสองอย่างที่ใช้ในการชำาระราคา อย่างแรก ได้แก่ การส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง (physical delivery) โดยผู้ซื้อล่วงหน้าสัญญาฟอร์เวิร์ด จะจ่ายเงินให้กับผู้ขายล่วงหน้าตามราคาที่ได้ตกลงกันไว้ล่วงหน้า และผูข้ ายล่วงหน้าจะนำาสินทรัพย์ อ้างอิงภายใต้สัญญามาส่งมอบให้กับผู้ที่ซื้อล่วงหน้า อย่างที่สองได้แก่ การชำาระราคาด้วยเงินสด (cash settlement) ซึ่งเป็นการจ่ายเงินส่วนต่างตามสัญญาในวันส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง อย่างไรก็ตาม โดยทั่วไปแล้วการชำาระราคาด้วยเงินสด ถูกนำามาใช้มากในสถานการณ์ที่ไม่ สามารถส่งมอบสินทรัพย์ภายใต้สัญญาได้จริง ตัวอย่างเช่น ในกรณีของสัญญาซื้อขายล่วงหน้าบน ดัชนีของตลาดหลักทรัพย์ ซึ่งดัชนีถูกสร้างจากหลักทรัพย์ทุกตัวที่ซื้อขายอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ ดัง นัน้ การส่งมอบจริงจึงกระทำาได้อย่างลำาบาก บางครั้งสัญญาซื้อขายล่วงหน้าที่มีการชำาระราคาด้วย เงินสด จึงถูกเรียกว่า NDFs หรือ Nondeliverable forwards โดยเฉพาะกับสัญญาซื้อขายล่วงหน้า ของอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ ความเสี่ยงในการผิดนัดชำาระของสัญญาฟอร์เวิรด์ ส่วนสำาคัญของสัญญาฟอร์เวิร์ดที่ควรได้รับการคำานึงถึงคือ ความเสี่ยงของการผิดสัญญา (default risk) ไม่ว่าจะเป็นสัญญาแบบมีการส่งมอบจริงหรือชำาระราคาด้วยเงินสด ความเสี่ยงนี้ยังคง มีอยู่ เช่น ในกรณีที่ผู้ขายล่วงหน้าไม่สามารถส่งมอบสินทรัพย์ภายใต้สัญญาได้ หรือในกรณีที่ผู้ที่จะ ต้องชำาระเงินส่วนต่างไม่สามารถชำาระเงินส่วนต่างนั้นได้ การยกเลิกสัญญาฟอร์เวิร์ด สัญญาฟอร์เวิร์ดถูกสร้างขึ้นมาโดยมีหลักพื้นฐานว่า คูส่ ัญญาจะถือสัญญาจนถึงวันหมดอายุ โดยเมื่อถึงวันหมดอายุแล้วอาจจะมีการชำาระราคาแทนการส่งมอบสินทรัพย์ภายใต้สัญญาจริง อย่างไรก็ตาม ยังมีวิธีการที่จะสามารถพ้นจากพันธะผูกพันของสัญญาก่อนที่สัญญาจะหมดอายุได้ โดย ผู้ซื้อสามารถสร้างสัญญาฟอร์เวิร์ดตัวใหม่ขึ้นมาที่มีวันหมดอายุเท่ากับสัญญาแรก รวมทั้งมี สินทรัพย์อ้างอิงภายใต้สัญญาเดียวกัน โดยเปลี่ยนตัวเองจากผู้ซื้อเป็นผู้ขาย แต่ราคาซื้อขายล่วง หน้าที่ตกลงกันในสัญญาอาจจะต่างออกไปจากสัญญาแรก และส่วนต่างของราคาจากสองสัญญาจะ เป็นจำานวนเงินทีต้องจ่าย และจากการกระทำาเช่นนี้ พันธะสัญญาในการซื้อขายล่วงหน้าครั้งแรกจะ หมดไป เพราะว่าผู้ซื้อสินค้าในสัญญาแรกจะกลายเป็นผู้ขายในสัญญาที่สองในวันหมดอายุเท่ากัน สัญญาซื้อขายล่วงหน้าฟิวเจอร์ส

สัญญาฟิวเจอร์ส (futures contract) เป็นสัญญาซื้อขายล่วงหน้าชนิดหนึ่งเหมือนกับสัญญา ฟอร์เวิร์ด กล่าวคือ สัญญาฟิวเจอร์สเป็นข้อตกลงระหว่างคู่สัญญาสองฝ่ายที่จะซื้อขายสินค้าหรือ สินทรัพย์ชนิดใดชนิดหนึ่ง (เรียกว่า สินทรัพย์อา้ งอิง) โดยมีกำาหนดวันส่งมอบและชำาระเงินที่เวลา ในอนาคต แต่จะกำาหนดราคาและจำานวนให้คงที่ในวันทำาสัญญา ในการซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์ส ผู้ ซื้อสัญญาฟิวเจอร์สจะมีฐานะซื้อ (long position) ส่วนผู้ขายสัญญาฟิวเจอร์สจะมีฐานะขาย (short position) ในวันส่งมอบนัน้ ผูท้ ี่มีฐานะซื้อมีภาระผูกพันทีจ่ ะต้องชำาระเงินค่าสินทรัพย์อ้างอิง ใน ขณะที่ผู้ขายมีภาระผูกพันที่จะต้องส่งมอบสินทรัพย์อ้างอิง สัญญาฟิวเจอร์สมีลักษณะที่สำาคัญแตกต่างไปจากสัญญาฟอร์เวิร์ด ดังนี้ 1. การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สทำากันในตลาดที่ถูกจัดตั้งขึ้นมาอย่างเป็นทางการ เรียกว่า ตลาดฟิวเจอร์ส (futures market) 2. สัญญาฟิวเจอร์สเป็นสัญญามาตรฐาน ตลาดกลางเป็นผู้ออกแบบสัญญาโดยกำาหนดองค์ ประกอบต่างๆ ของสัญญาให้คงที่ มีเพียงราคาและจำานวนสัญญาเท่านั้นที่ผู้ซื้อและผู้ขายสามารถต่อ รองกันได้ 3. สัญญาฟิวเจอร์สมีตลาดรอง ดังนั้น นักลงทุนสามารถซื้อขายสัญญาที่ถูกทำาขึ้นในอดีตได้ ทำาให้การปิดฐานะคงค้างในสัญญาทำาได้สะดวก 4. การซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สไม่มีความเสี่ยงจากการผิดนัดของคู่สัญญา (default free) นัก ลงทุนที่ซื้อขายสัญญาฟิวเจอร์สจะได้รับการรับรองจากสำานักหักบัญชีว่าจะไม่ถูกคู่สัญญาอีกฝ่าย บิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตามภาระของสัญญา ลักษณะของสัญญาฟิวเจอร์ส ตลาดกลางจะเป็นผู้กำาหนดเงื่อนไขของสัญญาฟิวเจอร์สให้เป็นเงื่อนไขมาตรฐาน ดังนี้ 1. สินค้าอ้างอิงและคุณภาพขั้นตำ่า (Minimum Grade) ตลาดฯ จะประสบความสำาเร็จถ้ามีผู้ซื้อขายมากพอและสินค้าอ้างอิงที่ดีจะดึงดูดผู้ใช้ได้มาก ลักษณะของสินค้าอ้างอิงที่ดีจะต้องประกอบด้วย 1.1) จำานวนผู้ผลิตและผู้ใช้มจี ำานวนมาก ไม่มีการผูกขาด ราคาจะถูกกำาหนดตาม กลไกตลาด 1.2) ราคามีความผันผวนสูง เกิดความเสี่ยงด้านราคา จำาเป็นต้องป้องกันความเสี่ยง จึงมาทำา hedging ในตลาดฟิวเจอร์ส 1.3) สภาวะของตลาดสป๊อต กำาหนดทิศทางของตลาดฟิวเจอร์ศ จำาเป็นต้องมี ระบบข้อมูลของตลาดสป๊อตที่ดีพอเพื่อประกอบการตัดสินใจ

1.4) ต้องได้รับการยอมรับและเข้าร่วมกิจกรรมจากนักเก็งกำาไร ซึ่งจะทำาหน้าที่รับ ภาระความเสี่ยงแลกกับเงินกำาไร ช่วยในการเสริมสภาพคล่องและจับคู่กับ hedgers 1.5) ต้องจัดชั้นคุณภาพได้ เพื่อทำาให้ระบบการส่งมอบมีความชัดเจน ปลอดจากข้อ พิพาทต่างๆ 1.6) มาตรการแทรกแซงตลาดของรัฐบาลต้องไม่มีผลกระทบต่อราคาฟิวเจอร์ส 2. ขนาดของสัญญา (The Contract Size) ปริมาณส่งมอบต่อหนึ่งสัญญา ต้องมีขนาดเหมาะสม ถ้าใหญ่เกินไปจะไม่สะดวกสำาหรับผู้ ใช้ประกันความเสี่ยงที่มีปริมาณสป๊อตให้คุ้มครองเล็กกว่า แต่ถ้าเล็กเกินไปก็จะมีต้นทุนค่านายหน้า สูงเกินไป 3. วิธีการส่งมอบ (Delivery Arrangement) โดยระบุสถานที่ส่งมอบ ในบางกรณีอาจมีสถานที่ส่งมอบมากกว่าหนึ่งแห่ง และมีการปรับ ราคาค่าขนส่งที่แตกต่างกัน 4. ช่วงเวลาส่งมอบ (Delivery Month) หมายถึง ช่วงเวลาตั้งแต่วนั แรกที่เริ่มส่งมอบได้ จนถึงวันสุดท้ายที่ต้องส่งมอบให้เสร็จสิ้น ของฟิวเจอร์สแต่ละชนิด ตลาดฯ จะกำาหนดเดือนส่งมอบตามวงจรการผลิตและการบริโภคของ แต่ละโภคภัณฑ์ เช่น ฤดูเก็บเกี่ยว นอกจากนี้ ตลาดฯ จะกำาหนดเดือนส่งมอบที่ไกลที่สุดที่ตลาดฯ จะทำาการซื้อขายได้ และวันแรกและวันสุดท้ายของการซื้อขายสัญญาแต่ละเดือน 5. หน่วยราคาซื้อขาย (Price Quotes) คือ ราคาต่อหน่วยนำ้าหนักที่ใช้ซื้อขายในตลาดฯ จะต้องง่ายต่อการจดจำา เช่น กรณีสัญญา ฟิวเจอร์สนำ้ามันดิบของตลาด NYME คือ $/barrel เป็นต้น 6. ช่วงเคลื่อนไหวของราคาประจำาวัน (Daily Price Movement Limits) จะถูกกำาหนดเพื่อป้องกันการปั่นราคาของกลุ่มนักเก็งกำาไร 7. จำานวนสัญญาสูงสุดต่อราย (Position Limits) สำาหรับบัญชีนักเก็งกำาไร ทั้งนี้เพื่อป้องกันการพยายามปั่นตลาดฯ การส่งมอบ (Delivery) ตลาดฯ จะเป็นผู้กำาหนด delivery period ที่ต้องส่งมอบให้เสร็จ โดยผู้ขายมีสิทธิที่จะเลือก ส่งมอบจริงโดยแจ้งให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าทราบ และออกหนังสือแจ้งความจำานง (A notice of intention to delivery) ถึงสำานักหักบัญชีตลาดฯ ซึ่งจะมีรายละเอียดในเรื่องของจำานวนสัญญา คลัง สินค้าที่ใช้เก็บสินค้า และคุณภาพของสินค้า

บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำากัด (มหาชน) (Thailand Futures Exchange: TFEX) ภาพรวมตลาดอนุพันธ์ บริษัท ตลาดอนุพันธ์ (ประเทศไทย) จำากัด (มหาชน) เป็นบริษัทย่อยของตลาดหลักทรัพย์ แห่งประเทศไทย จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 17 พฤษภาคม 2547 เพื่อดำาเนินการเป็นศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อ ขายล่วงหน้า ตามพระราชบัญญัติสัญญาซื้อขายล่วงหน้า พ.ศ. 2546 และได้รับใบอนุญาตการเป็น ศูนย์ซื้อขายสัญญาซื้อขายล่วงหน้าจากสำานักงานคณะกรรมการ ก.ล.ต. เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2548 บมจ. ตลาดอนุพันธ์ มีเป้าหมายหลักของการดำาเนินธุรกิจ ดังนี้ 1. เพื่อเป็นศูนย์กลางการซื้อขายตราสารที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ ทำาให้ผู้ลงทุน และผู้ประกอบการในธุรกิจที่เกี่ยวข้องสามารถใช้เป็นเครื่องมือบริหารความเสี่ยงในการบริหารเงิน ลงทุนและธุรกิจได้อย่างมีประสิทธิภาพ 2. เพื่อเป็นทางเลือกของการลงทุน ภายใต้ระบบซื้อขายที่มีความยุติธรรม โปร่งใส มีสภาพ คล่อง และมั่นใจในระบบการซื้อขายและการชำาระราคา 3. เพื่อให้ผู้ลงทุนมีแหล่งข้อมูลที่สะท้อนความคาดหวังของผู้ที่อยู่ในตลาดที่มีต่อราคา สินทรัพย์ในอนาคต ส่งผลให้ผู้ลงทุนและผู้ประกอบการสามารถวางแผนการดำาเนินงานได้อย่างมี ประสิทธิภาพ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ มุ่งมั่นที่จะพัฒนาตลาดการซื้อขายอนุพันธ์แห่งนี้ให้มีสภาพคล่อง มี ความหลากหลายของสินค้า ประเภทของสมาชิกและจำานวนผู้ซื้อขาย และมีการดำาเนินงานอย่างมี ประสิทธิภาพ รวมถึงการมีระบบการซื้อขายและชำาระราคาที่ทันสมัยได้มาตรฐานสากล เพื่อให้ผู้ ร่วมตลาดและผู้ลงทุนใช้บริการได้อย่างมีความเชื่อมั่น และมีความน่าเชื่อถือ ทั้งนี้ การพัฒนาตลาด อนุพันธ์ในประเทศไทย จะก่อให้เกิดประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในตลาดทุนไทย และมีส่วนช่วยพัฒนา ระบบเศรษฐกิจโดยรวม ตลอดจนเพิ่มศักยภาพการแข่งขันของประเทศในระดับสากล สินค้า ประเภทสินค้าที่สามารถจัดให้มีการซื้อขายได้ที่ บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ ได้แก่ ฟิวเจอร์ส (Futures) ออปชัน (Options) และออปชันบนสัญญาฟิวเจอร์ส (Options on Futures) ของสินทรัพย์ อ้างอิงประเภทต่าง ๆ ดังนี้ • อ้างอิงกับตราสารทุน ได้แก่ ดัชนีราคาหลักทรัพย์ หลักทรัพย์ • อ้างอิงกับตราสารหนี้ ได้แก่ พันธบัตรรัฐบาล อัตราดอกเบี้ย • อ้างอิงกับราคาหรือดัชนีราคาอื่นๆได้แก่ ทองคำา นำ้ามันดิบ อัตราแลกเปลี่ยน

บมจ. ตลาดอนุพันธ์ฯ จะเปิดซื้อขายฟิวเจอร์สของดัชนี SET50 (SET50 Index Futures) เป็นลำาดับแรก และต่อไปจะจัดให้มีการซื้อขายฟิวเจอร์สของสินค้าอ้างอิงในกลุ่มพันธบัตรรัฐบาล (Bond Futures) หรือ อัตราดอกเบี้ย (Interest Rate Futures) สำาหรับฟิวเจอร์สและออปชันของสินค้า อ้างอิงประเภทอื่นๆนั้น จะได้ดำาเนินการในลำาดับถัดไป กลไกการซื้อขาย การซื้อขายอนุพันธ์มีขั้นตอนหรือกระบวนการซื้อขายที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ทำาการสั่งซื้อหรือขายฟิวเจอร์สผ่าน โบรกเกอร์ ซึ่งโบรกเกอร์นี้ต้องเป็นของตลาดอนุพันธ์ เมื่อผู้ลงทุนส่งคำาสั่งซื้อขายผ่านโบรกเกอร์ แล้ว โบรกเกอร์จะส่งคำาสั่งซื้อขายมายังระบบซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ ตลาดอนุพันธ์ ซึ่งจะทำา หน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจับคู่คำาสั่งซื้อขายด้วยระบบอิเลกทรอนิกส์ ระบบและวิธีการซื้อขาย บมจ.ตลาดอนุพันธ์ฯ ได้กำาหนดวิธีการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ด้วยวิธี Automatic Order Matching (AOM) ซึ่งเป็นวิธีการซื้อขายที่ผู้ซื้อและผู้ขายส่งการเสนอซื้อและเสนอขายด้วยระบบ คอมพิวเตอร์ผ่านเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ การจับคู่ซื้อขายภายใต้ระบบ Automatic Order Matching นี้ สามารถแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ 1. Continuous Order Matching เป็นการจับคู่ซื้อขายในช่วงเวลาซื้อขายปกติ โดยที่ระบบ ซื้อขายจะทำาการเรียงลำาดับและจับคู่คำาสั่งซื้อขายให้โดยอัตโนมัติด้วยหลักการราคาและ เวลาที่ดีที่สุด (Price and Time Priority) รายงานผลให้สมาชิกทราบในทันที 2. Call Market เป็นระบบจับคู่ซื้อขายที่ใช้ในในช่วง Pre-open เพื่อคำานวณหาราคาเปิด โดยระบบจะจับคู่ซื้อขายในคราวเดียว ณ ราคาเดียวที่ก่อให้เกิดปริมาณการซื้อขายมากที่สุด นอกจากนี้ ยังมีการซื้อขายด้วยวิธี Block Trading Transaction ซึ่งเป็นซื้อขายที่เปิดโอกาส ให้สมาชิกผู้ซื้อและสมาชิกผู้ขายที่ประสงค์จะทำารายการซื้อขายรายใหญ่สามารถทำาได้โดยให้ สมาชิกบันทึกรายละเอียดของรายการซื้อขายเข้ามายังระบบการซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ ทั้งนี้ การ ซื้อขายรายการดังกล่าวต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และวิธีการที่ตลาดอนุพันธ์กำาหนด ซึ่ง ในระยะแรกของการดำาเนินการ ตลาดอนุพันธ์จะยังไม่เปิดให้ทำาการซื้อขายด้วยวิธีนี้ ขั้นตอนการซื้อขาย

การซื้อขายอนุพันธ์มีขั้นตอนหรือกระบวนการซื้อขายที่คล้ายกับการซื้อขายหุ้นใน ตลาดหลักทรัพย์ คือ ผู้ลงทุนที่ต้องการซื้อขายในตลาดอนุพันธ์ ทำาการสั่งซื้อหรือขายฟิวเจอร์สผ่าน โบรกเกอร์ ซึ่งโบรกเกอร์นี้ต้องเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ เมื่อผู้ลงทุนส่งคำาสั่ งซื้อขายผ่าน โบรกเกอร์แล้ว โบรกเกอร์จะส่งคำาสั่งซื้อขายมายังระบบซื้อขายของตลาดอนุพันธ์ โดยตลาด อนุพันธ์จะทำาหน้าที่เป็นศูนย์กลางคอยจับคู่คำาสั่งซื้อขายด้วยระบบอิเลกทรอนิกส์ วิธีการจับคู่คำาสั่งซื้อขายฟิวเจอร์ส ใช้วิธีเดียวกับการจับคู่คำาสั่งซื้อขายของตลาดหลักทรัพย์ คือใช้หลัก Price / Time priority โดยผู้ลงทุนจะส่งคำาสั่งซื้อ (Bid) หรือ คำาสั่งขาย (Offer) คำาสั่งทุก รายการจะเข้ามาบันทึกอยู่ในระบบเพื่อรอการจับคู่ สัญญาฟิวเจอร์สจะมีการจับคู่เกิดขึ้นก่อต่อเมื่อ ราคา Bid เท่ากับหรือสูงกว่าราคา Offer โดยผู้ที่ส่ง Bid เข้ามาจะมีฐานะเป็นผู้ซื้อ ผูท้ ี่ส่ง Offer เข้ามา ก็จะมีฐานะเป็นผู้ขาย คำาสั่ง Bid ที่มีราคาสูงกว่าจะได้รับการจับคู่ก่อนคำาสั่ง Bid ที่มีราคาตำ่ากว่า และคำาสั่ง Offer ที่มีราคาตำ่ากว่าจะได้รับการจับคู่ก่อนคำาสั่ง Offer ที่มีราคาสูงว่า ในกรณีที่ราคาสั่ง ซื้อหรือขายมีค่าเท่ากัน คำาสั่งที่ถูกส่งเข้ามาก่อนจะได้รับการจับคู่ก่อน การชำาระราคา เมื่อเกิดการจับคู่แล้ว ระบบซื้อขายจะบันทึกรายการแล้วแจ้งให้โบรกเกอร์ทราบ และ โบรกเกอร์ก็จะยืนยันการซื้อขายไปยังลูกค้าเพื่อให้ลูกค้าทราบผลการซื้อขาย ส่วนในด้านการชำาระ ราคาการซื้อขายนั้น หน่วยงานที่ทำาหน้าที่ชำาระราคารายการซื้อขายที่เกิดขึ้นในตลาดอนุพันธ์ คือ บริษัท สำานักหักบัญชีประเทศไทย จำากัด (Thailand Clearing House: TCH) หน้าที่ของสำานักหักบัญชี คือคิดเงินกำาไรขาดทุนจากการซื้อขายฟิวเจอร์ส และทำาการชำาระ ราคากับโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของสำานักหักบัญชีทุกๆวัน และโบรกเกอร์จะคิดเงินกับผู้ลงทุน อีกต่อหนึ่ง ในการชำาระราคาการซื้อขายนั้น จะมีหน่วยงานที่ทำาหน้าที่เป็นศูนย์กลางในการชำาระราคา รายการซื้อขายที่เกิดขึ้น หน่วยงานนี้ เรียกว่า สำานักหักบัญชี สำาหรับหน่วยงานที่เป็นสำานักหักบัญชี ของตลาด TFEX คือ บริษัทสำานักหักบัญชีประเทศไทย จำากัด (Thailand Clearing House: TCH) สำานักหักบัญชีนี้ จะคอยคิดเงินกำาไรขาดทุนจากการซื้อขายฟิวเจอร์ส และทำาการชำาระราคา กับโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของสำานักหักบัญชีทุกๆวัน และโบรกเกอร์จะคิดเงินกับผู้ลงทุนอีกต่อ หนึ่ง การวางหลักประกัน ในกลไกของตลาดอนุพันธ์ จะมีสำานักหักบัญชีที่เข้าเป็นคู่สัญญาในการซื้อขาย แต่ทั้งนี้ สำานักหักบัญชีจะเข้าเป็นคู่สัญญาเฉพาะกับสมาชิกของสำานักหักบัญชีเท่านั้น ซึ่งผู้ที่มิได้เป็นสมาชิก

ของสำานักหักบัญชี เช่นผู้ลงทุนทั่วไป จะเป็นคู่สัญญาและทำาการชำาระราคาผ่านสมาชิกของสำานัก หักบัญชีอีกทอดหนึ่ง การที่สำานักหักบัญชีเข้าไปเป็นคู่สัญญาในการซื้อขายกับสมาชิก สำานักหักบัญชีจะทำา หน้าที่เป็นผู้รับประกันความเสียหายที่เกิดขึ้นหากคู่สัญญาฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งบิดพลิ้วไม่ปฏิบัติตาม สัญญา เพื่อเป็นการลดความเสียหายที่อาจเกิดขึ้นแก่ฐานะทางการเงินของสำานักหักบัญชีจากการ เข้าไปรับความเสี่ยงจากคู่สัญญาดังกล่าว สำานักหักบัญชีจะกำาหนดให้สมาชิกที่ซื้อขายต้องวางเงิน ประกัน (Margin) กับสำานักหักบัญชี และสมาชิกของสำานักหักบัญชีก็จะกำาหนดให้ลูกค้าต้องวางเงิน ประกันไว้กับสมาชิกอีกต่อหนึ่ง นอกจากเงินประกันที่สมาชิกต้องวางไว้กับสำานักหักบัญชีแล้ว สมาชิกที่มีฐานะในตลาด อนุพันธ์ไม่ว่าจะเป็นฐานะซื้อหรือขายในสินค้าตัวใดก็ตาม จะต้องรับรู้กำาไรหรือขาดทุนจากฐานะ ดังกล่าวทุกวันจนกว่าฐานะในสัญญาจะถูกปิด กระบวนการนี้เรียกว่า Mark-to-market โดยทุกสิ้น วันตลาดก็จะกำาหนดราคาปิดสำาหรับอนุพันธ์แต่ละตัว ราคานี้ เรียกว่า Settlement Price จากนั้น สำานักหักบัญชีจะนำาราคา Settlement price นีม้ าคำานวณกำาไรขาดทุนที่เกิดขึ้น แล้วนำากำาไรหรือ ขาดทุนที่เกิดขึ้น โอนเข้า หรือ หักออก จากบัญชีเงินประกันของสมาชิก สำาหรับผู้ลงทุนก็จะทำาการเปิดบัญชีกับโบรกเกอร์ซึ่งเป็นสมาชิกของตลาดอนุพันธ์ และจะ ต้องมีการวางเงินประกันขั้นต้นในบัญชีที่เปิดไว้กับโบรกเกอร์ก่อนส่งคำาสั่งซื้อขายทุกครั้ง ในทุกๆ สิ้นวัน สมาชิกก็จะทำาการคิดกำาไรขาดทุนของผู้ลงทุนแต่ละราย หรือ Mark-to-market เช่นกัน แล้ว นำากำาไรหรือขาดทุนที่เกิดขึ้นรวมกับยอดเงินประกันที่ผู้ลงทุนวางไว้ ทำาให้ผลกำาไรหรือขาดทุนจาก การซื้อขายสะท้อนในบัญชีเงินประกันของผู้ลงทุน และในกรณีที่ผู้ลงทุนเกิดการขาดทุนจนเงิน ประกันตำ่ากว่าระดับที่เงินประกันขั้นตำ่าที่โบรกเกอร์กำาหนดไว้ โบรกเกอร์ก็จะทำาการเรียกเงิน ประกันเพิ่มจากผู้ลงทุน เพื่อให้ยอดเงินประกันโดยรวมกลับมาอยู่ทรี่ ะดับเงินประกันขั้นต้นอีกครั้ง หนึ่ง กระบวนการซื้อขายและชำาระราคาอนุพันธ์

SET50 Index Futures

“SET50 Index Futures” คือฟิวเจอร์สที่มี SET50 Index เป็นสินทรัพย์อ้างอิง “ฟิวเจอร์ส” (Futures) เป็นสัญญาที่เกิดจากการที่ผู้ซื้อและผู้ขายมาตกลงรายละเอียดการซื้อขายกันวันนี้ แต่ ว่าการส่งมอบสินค้าและการจ่ายเงินจะเกิดขึ้นในอนาคต ซึ่งทั้งผู้ซื้อและผู้ขายมีภาระผูกพันกันตาม สัญญา โดยเมื่อถึงเวลาที่ครบกำาหนด ผูซ้ ื้อก็ต้องซื้อและผู้ขายก็ต้องขายสินค้าในราคาและเงื่อนไข ตามที่ได้ตกลงกันไว้ แม้ว่าราคาสินค้าในวันที่ส่งมอบจะแตกต่างจากที่เคยตกลงกันไว้ก็ตาม “ดัชนี SET50” หรือ “SET50 Index” เป็นดัชนีราคาหุ้นที่ใช้แสดงราคาหุ้นสามัญจด ทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย จำานวน 50 หลักทรัพย์ ซึ่งเป็นหลักทรัพย์ที่มีมูลค่า ตามราคาตลาดสูง และสภาพคล่องสูงอย่างสมำ่าเสมอ โดยจะมีการปรับปรุงรายชื่อหลักทรัพย์ที่นำา มาใช้คำานวณ SET50 Index ทุก ๆ 6 เดือน

รายละเอียด สินค้าอ้างอิง

ดัชนี SET50 ทีค่ ำานวณและเผยแพร่โดยตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย

ตัวคูณดัชนี

1,000 บาท

ประเภทของสัญญา

ชำาระราคาเป็นเงินสด

ดัชนีที่ใช้ชำาระราคาเมื่อ ค่าเฉลี่ยของดัชนี SET50 ของวันซื้อขายวันสุดท้ายของสัญญาซื้อขาย ล่วงหน้า โดย สัญญาหมดอายุ คำานวณจากค่าดัชนี SET50 รายนาที ตั้งแต่ค่าดัชนี ณ เวลา 16:01 น. ถึง ค่าดัชนี ณ เวลา 16:30 น. และค่าดัชนีราคาปิดของวันนั้น โดยตัดค่าที่มากที่สุด 3 ค่า และค่าที่ น้อยที่สุด 3 ค่าออก และใช้ค่าทศนิยม 2 ตำาแหน่ง มูลค่าทีใ่ ช้ชำาระราคา

ดัชนีที่ใช้ชำาระราคาคูณด้วยจำานวน 1,000

วิธีการแสดงราคา

0.1 จุด

ช่วงการเปลี่ยนแปลง ไม่เกิน 30% ของราคาที่ใช้ชำาระราคาในวันทำาการก่อนหน้า ของราคาสูงสุดแต่ละวัน

เวลาซื้อขาย

Pre-open:

9:15 - 9:45

Morning session:

9:45 - 12:30

Pre-open:

14:00 - 14:30

Afternoon session:

14:30 - 16:55

การจำากัดฐานะ

10,000 สัญญา โดยคิดจากสัญญาซื้อหรือขายเดือนใดเดือนหนึ่ง และสุทธิจาก สัญญาซื้อและขายทุกเดือนรวมกัน

เดือนที่สัญญาสิ้นสุด อายุ

เดือนมีนาคม มิถุนายน กันยายน และธันวาคม โดยนับไปไม่เกิน 4 ไตรมาส

วันซื้อขายวันสุดท้าย

วันทำาการก่อนวันทำาการสุดท้ายของเดือนที่สัญญาสิ้นสุดอายุ

เวลาปิดซื้อขายของวัน 16:30 น. ซือ้ ขายสุดท้าย

การใช้ประโยชน์จาก SET50 Index Futures SET50 Index Futures มีประโยชน์ต่อผู้ลงทุนในหลายด้าน ผู้ลงทุนสถาบัน เช่น กองทุน รวมและกองทุนสำารองเลี้ยงชีพ สามารถใช้ SET50 Index Futures ในการจัดการความเสี่ยงจากการ เปลี่ยนแปลงของดัชนีหลักทรัพย์ โดยป้องกันผลกระทบจากการที่มูลค่าของพอร์ตการลงทุนปรับ ตัวลดลง นอกจากนี้ ผู้ลงทุนทั่วไปก็ยังสามารถซื้อขาย SET50 Index Futures เพื่อทำากำาไรได้ด้วย เช่นกัน ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (The Agricultural Futures Exchange of Thailand: AFET) ความเป็นมา ความคิดในการตั้งตลาดล่วงหน้าในประเทศไทยมีขึ้นมานานแล้ว เนื่องจากเห็นแบบอย่าง ของตลาดล่วงหน้าในต่างประเทศ ย้อนไปเมื่อปีพ.ศ.2522 รัฐบาลต้องการปกป้องผู้มีรายได้น้อยที่ จะถูกคดโกงจากธุรกิจแชร์ หรือการลงทุนในธุรกิจซื้อขายล่วงหน้าหรือที่รู้จักกันในนาม "คอมมอดิ ตี้" และได้ดำาเนินการร่างพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประกาศคณะปฏิวัติฉบับที่ 58 ขึน้ มาเพื่อ ป้องกันประชาชนถูกฉ้อโกง แต่ปรากฏว่ามีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง และร่างดังกล่าวยังไม่ได้ ผ่านการพิจารณาจากรัฐสภา ในปีพ.ศ.2526 กรมเศรษฐกิจการพาณิชย์ทำาการศึกษาปรับปรุงระบบตลาดสินค้าเกษตร และเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และต่อมาในปีพ.ศ. 2529 กรมการค้าภายใน ได้นำามาศึกษาต่อและเห็นชอบให้มีการจัดตั้งตลาดล่วงหน้าขึ้นเช่นเดียวกัน

ปีพ.ศ. 2532 กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ร้องขอให้กระทรวงพาณิชย์จัดทำาโครงสร้าง ตลาดซื้อขายล่วงหน้ายางพารา จนกระทั่งปีพ.ศ.2534 กระทรวงพาณิชย์ได้มอบหมายให้กรมการค้า ภายในยกร่างกฎหมายเกี่ยวกับกิจการซื้อขายสินค้าล่วงหน้า คือยกร่างพระราชบัญญัติขึ้นเมื่อ ปีพ.ศ.2535 และได้มีการปรับปรุงร่างหลายครั้งหลายรัฐบาล จนกระทั่งสุดท้ายผ่านความเห็นชอบ ของรัฐสภาและได้นำาขึ้นทูลเกล้าเพื่อลงพระปรมาภิไธยเมื่อวันที่ 15 ตุลาคม พ.ศ.2542 ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) จึงเป็นองค์กรที่ถูกจัดตั้งขึ้นตามพระ ราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าปีพ.ศ. 2542 และเป็นตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าเพียง ตลาดเดียว มีฐานะเป็นนิติบุคคลอิสระ โดยภายใต้การกำากับดูแลของคณะกรรมการตลาดสินค้า เกษตรล่วงหน้า ทำาหน้าที่ในการเป็นศูนย์กลางในการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าภายใต้กฎ ระเบียบที่ชัดเจน และสร้างความเป็นธรรมให้แก่ผู้ซื้อและผู้ขายในตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า และ เพื่อให้การจัดตั้งตลาดที่มีการซื้อขายล่วงหน้าบรรลุวัตถุประสงค์คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2544 ให้นำาเงินจากกองทุนรวมเพื่อช่วยเหลือเกษตรกรจำานวน 600 ล้านบาทเพื่อใช้ใน การจัดตั้งสำานักงานคณะกรรมการกำากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (ก.ส.ล.) และตลาดสินค้า เกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย และได้เริ่มเปิดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้าด้วย เมื่อวันที่ 28 พฤษภาคม 2547 โครงสร้างการกำากับดูแล คณะกรรมการกำากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการ ก.ส.ล.) สำานักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล.

ผู้ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า

คณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า (คณะกรรมการตลาด) ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย

หน่วยงานกำากับดูแล: คณะกรรมการ ก.ส.ล. และอำานาจหน้าที่ พระราชบัญญัติการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า พ.ศ. 2542 กำาหนดให้มีคณะกรรมการ กำากับการซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า หรือเรียกโดยย่อว่า "คณะกรรมการ ก.ส.ล." ซึ่งมีรัฐมนตรี ว่าการกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน และมีกรรมการโดยตำาแหน่งอีก 4 คน ประกอบด้วย ปลัด กระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ปลัดกระทรวงพาณิชย์ และผูว้ ่าการธนาคาร

แห่งประเทศไทย นอกจากนี้ เพื่อให้การดำาเนินงานมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น คณะกรรมการยังประกอบ ด้วยผู้ทรงคุณวุฒิด้านต่างๆที่เกี่ยวข้อง อีก 5 คน ซึ่งแต่งตั้งโดยคณะรัฐมนตรี ได้แก่ ผู้ทรงคุณวุฒิ ด้านกฎหมาย ด้านการพาณิชย์ ด้านการเงิน ด้านการเกษตร และมีเลขาธิการเป็นกรรมการและ เลขานุการ รวมทั้งสิ้น 11 คน คณะกรรมการ ก.ส.ล. มีอำานาจหน้าที่วางนโยบายการส่งเสริมและพัฒนาตลอดจนกำากับ ดูแลการซื้อขายล่วงหน้า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่องกับการซื้อขายล่วงหน้าใน ประเทศไทย กล่าวคือ ในด้านการกำากับดูแล คณะกรรมการ ก.ส.ล. มีอำานาจหน้าที่ในการกำากับดูแลการซื้อขาย ล่วงหน้า และผู้ที่เกี่ยวข้องไม่ว่าจะเป็น ตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้าแห่งประเทศไทย (AFET) ผู้ ประกอบธุรกิจการซื้อขายล่วงหน้า และกลุ่มนักลงทุน ทั้งผู้ป้องกันความเสี่ยงและนักเก็งกำาไร ให้มี มาตรฐานและเป็นธรรม ทั้งนี้ รวมถึงการออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ คำาสั่ง หรือข้อกำาหนด ตามพระราชบัญญัติ และให้ความเห็นชอบระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือคำาสั่งที่เกี่ยวข้อง ที่ออก โดยคณะกรรมการตลาดสินค้าเกษตรล่วงหน้า โดยดำาเนินการผ่านสำานักงานคณะกรรมการ ก.ส.ล. นอกจากนี้ยังมีหน้าที่ในการพัฒนาการซื้อขายล่วงหน้า การประกอบธุรกิจที่เกี่ยวข้องหรือเกี่ยวเนื่อง กับการซื้อขายล่วงหน้า ซึ่งนับได้วา่ เป็นกลไกสำาคัญที่มีส่วนช่วยให้ระบบการซื้อขายสินค้าเกษตร ล่วงหน้าของประเทศไทยมีประสิทธิภาพ มีความเจริญก้าวหน้าอย่างยั่งยืน สินค้าอ้างอิงของ AFET ปัจจุบัน AFET มีสัญญาฟิวเจอร์สเพื่อการซื้อขายดังนี้ วันที่เริ่มซื้อขาย 28 พ.ค. 2547 25 มี.ค. 2548 8 ส.ค. 2548 27 ก.ย. 2549 31 มี.ค. 2549 18 ส.ค. 2549

สินค้าอ้างอิง ยางแผ่นรมควันชั้น 3 (RSS3) แป้งมันสำาปะหลังประเภทสตาร์ช ชัน้ พิเศษ (TS) ข้าวขาว 5% (WR5-M) ยางแท่งเอสทีอาร์ 20 (STR20) นำ้ายางข้น (LATEX) มันสำาปะหลังเส้น (TC)

ระบบการเรียกเก็บเงิน margin (เงินหลักประกัน) การเรียกเก็บเงิน margin มีจุดประสงค์เพื่อป้องกันการ “เบี้ยว” สัญญาจากผู้ซื้อและผู้ขาย เงิน margin จึงทำาหน้าที่เป็นเงินคำ้าประกัน ไม่ใช่เงินมัดจำา เพราะจะต้องวางเงินทั้งกรณีซื้อและขาย และไม่มีการส่งมอบหรือโอนสิทธิครอบครองจนกว่าสัญญาจะหมดอายุ

1. การคำานวณมูลค่าประจำาวันของฟิวเจอร์ส (mark to market) ในทุกสิ้นวันทำาการ ตลาดฯ และสำานักหักบัญชีจะบังคับให้มีการตีมูลค่าสัญญาของทุกๆ สัญญาตามราคาในตลาดปัจจุบัน โดยใช้ราคาปิดเพื่อการชำาระเงินรายวัน (Daily Settlement Price) ซึ่งเป็นราคาในการตีมูลค่าสัญญา เพื่อนำาผลกำาไรหรือขาดทุนไปปรับยอดบัญชี margin ของนาย หน้าซื้อขายล่วงหน้าและนักลงทุนเจ้าของสัญญาฟิวเจอร์ส ผลของการตีมูลค่าสัญญาจะทำาให้เสมือนมีการชำาระมูลค่าทุกวันแทนที่จะต้องรอจนวันสิ้น สุดสัญญา ยอดเงินกำาไรหรือขาดทุนของทุกวันจะถูกบวกหรือหักออกจากบัญชี margin ซึ่งทำาให้ สัญญาฟิวเจอร์ทุกสัญญามีมูลค่ากลับเป็นศูนย์ และมีราคาใหม่เท่ากับราคาประจำาวันทำาการนั้นๆ 2. มาร์จิ้นชนิดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าจะต้องดำาเนินการเรียกเก็บเงิน margin จากผู้ลงทุน โดยมีมาร์จิ้น ชนิดต่างๆ ดังนี้ 2.1) เมื่อผู้ลงทุนสั่งให้นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าซื้อหรือขายฟิวเจอร์ส ผูล้ งทุนจะ ต้องเปิดบัญชีหลักประกัน (margin account) โดยโอนเงินจำานวนแรกเข้าบัญชีตาที่กำาหนดโดยนาย หน้าซื้อขายล่วงหน้า เรียกว่า หลักประกันเริ่มต้น (initial margin) ทั้งนี้ผู้ลงทุนจะต้องวาง margin ทั้ง ในกรณีซื้อและขายฟิวเจอร์ส 2.2) ในทุกวันทำาการหลังจากปิดตลาดจะมีการทำา mark to market ถ้ามีกำาไรหรือ ขาดทุน เท่ากับ x จะทำาให้เงิน margin ในบัญชีเพิ่มเกินหรือลดลงตำ่ากว่าระดับ initial margin เท่ากับ x โดยในกรณีที่ทำากำาไรผู้ลงทุนสามารถถอนเงินจำานวน x ออกมาจากบัญชี margin ได้ แต่ในกรณีที่ ขาดทุน ส่วนลด x จะถูกนำาไปหักออกจาก initial margin 2.3) เนื่องจากเงิน initial margin จะต้องลดลงทุกครั้งที่มีการขาดทุนจากการตี มูลค่าสัญญาประจำาวัน จึงต้องมีการควบคุมไม่ให้ initial margin ตำ่ากว่าศูนย์ โดยวิธีกำาหนดระดับ หลักประกันคงสภาพ (maintenance margin) ที่ระดับตำ่ากว่า initial margin เพื่อเป็นหลักประกันขั้น ตำ่าประมาณ 75% ของ initial margin 2.4) เมื่อเงินที่คงเหลือในบัญชี margin ลดลงตำ่ากว่าระดับ maintenance margin ผู้ ลงทุนจะได้รับแจ้งเพื่อเรียกเก็บเงิน margin เพิ่ม (margin call) จากนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า ให้นำา เงินข้าบัญชี margin ในจำานวนที่ทำาให้เงินคงเหลือในบัญชีเท่ากับระดับ initial margin เงิน margin ส่วนเพิ่มดังกล่าวเรียกว่า เงินหลักประกันผันแปร (variation margin) 2.5) ถ้าผู้ลงทุนรายใดไม่สามารถนำาเงิน variation margin เข้าบัญชีตามเวลาที่ กำาหนด นายหน้าซื้อขายล่วงหน้าจะทำาการปิดสถานะภาพของผู้ลงทุนโดยวิธี offset กล่าวคือ ทำาการ ขายคืนถ้าเดิมซื้อไว้ หรือทำาการซื้อคืนถ้าเดิมขายไว้ ในเปิดตลาดของวันทำาการถัดไป หลังจากนั้น จะหักยอดขายขาดทุนออกจากบัญชีเงิน margin ของผู้ลงทุนผ่านนายหน้าซื้อขายล่วงหน้า

2.6) ตลาดฯ จะเป็นผู้กำาหนดระดับ initial margin และ maintenance margin ทั้งนี้ นายหน้าแต่ละรายจะสามารถเรียกเก็บ initial margin และ maintenance margin ที่สูงกว่านั้นจากผู้ ลงทุนได้ แต่ห้ามเก็บจำานวนน้อยกว่าเป็นอันขาด 2.7) initial margin จะขึ้นอยู่กับระดับการขึ้นลงของราคา สำาหรับ maintenance margin มักจะเป็นอัตราประมาณ 75% ของระดับ initial margin 3. การเรียกเก็บเงิน margin ระหว่างสำานักหักบัญชี และนายหน้าสมาชิกสำานักหักบัญชี สำานักหักบัญชีมีหน้าที่คอยดูแลด้านการวางเงิน margin การชำาระราคา mark to market ตลอดจนการส่งมอบและชำาระเงินเมื่อสิ้นสุดสัญญา นายหน้าสมาชิกสำานักหักบัญชีทุกรายจะต้องเปิดบัญชี margin กับสำานักหักบัญชี เรียกว่า clearing margin โดยจะมีการตีราคามูลค่าสัญญาทั้งหมดทุกวันหลังตลาดปิด (เหมือนกับกรณีบัญชี margin ของผู้ลงทุน) จากการเคลื่อนไหวของราคาและจำานวนสัญญาที่เปิดอยู่ ถ้าหากมีการขาดทุน สำานักหักบัญชีจะเรียกเก็บเงิน margin จากนายหน้าสมาชิกหักบัญชีนั้นๆ มาเพิ่มให้คงระดับเดิม แต่ ถ้าหากมีกำาไร สำานักหักบัญชีจะโอนเงินกำาไรเข้าบัญชีและยอมให้นายหน้าสมาชิกสำานักหักบัญชี นัน้ ๆ สามารถถอนเงินส่วนกำาไรออกจากบัญชี margin ได้เช่นกัน กล่าวโดยสรุปคือ จะมีแต่ initial margin ไม่มี maintenance margin เหมือนบัญชีผู้ลงทุน สำาหรับนายหน้าอื่นๆ ที่ไม่ใช่สมาชิกสำานักหักบัญชี จะต้องเปิดบัญชี margin กับนายหน้า สมาชิกสำานักหักบัญชีรายใดรายหนึ่งจึงจะสามารถดำาเนินการซื้อขายตามคำาสั่งได้ สำานักหักบัญชี ในการซื้อขายล่วงหน้าจะมีหน่วยงานที่เรียกว่า "สำานักหักบัญชี" (Clearinghouse) เข้ามา เป็นผู้รับประกันการปฏิบัติหน้าที่ ตามสัญญาของคู่สัญญาแต่ละฝ่าย ในทางปฏิบัติแล้ว สำานักหัก บัญชีมีหน้าที่เสมือน ผู้ซื้อของผู้ขาย และผู้ขายของผู้ซื้อ ซึ่งหน้าที่ของสำานักหักบัญชีดังกล่าว จะ ทำาให้ผู้ซื้อหรือขายล่วงหน้า ไม่ต้องกังวลเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ตามสัญญาของคู่สัญญาอีกฝ่าย หนึ่ง บริการเกี่ยวกับการหักบัญชี ประกอบไปด้วย บริการเกี่ยวกับการวางเงินประกัน การปรับฐานะบัญชี เงินประกัน การชำาระราคา การชำาระผลกำาไรขาดทุน การโอนเงิน การล้างฐานะการถือครอง การ ถอนเงินประกัน และการจัดการเกี่ยวกับเอกสารเพื่อการส่งมอบรับมอบ

Related Documents

Forward And Futures Market
November 2019 12
Futures
October 2019 31
Futures
October 2019 42
Futures And Options
April 2020 5
Futures And Forwards
June 2020 13