Fluid

  • May 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Fluid as PDF for free.

More details

  • Words: 2,160
  • Pages: 13
การใหสารน้ําและการรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแร (Fluid and electrolyte therapy) สุรศักดิ์ เสาแกว ภบ., Pharm.D. สํานักวิชาเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยนเรศวร วิทยาเขตสารสนเทศพะเยา

วัตถุประสงคการเรียนรู 1. ทราบและสามารอธิบายภาวะสมดุลของน้ําและเกลือแรในภาวะปกติได 2. ทราบหลักการการใหสารน้ําทดแทนและสามารถนําไปประยุกตทางคลินิกได 3. ทราบหลักการการรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแรและสามารถนําไปประยุกตทางคลินิกได บทนํา การใหของเหลวเขาเสนเลือดมีความสําคัญมากในการรักษาและชวยชีวิตผูปวย ของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสน เลือดกันอยูในขณะนี้มีมากมายหลายชนิด จําเปนที่จะตองเลือกใชใหถูกตองตามขอบงชี้และวัตถุประสงคซึ่งมีอยูมากมาย หลายประการ ถาเลือกชนิดของของเหลวนํามาใชไดถูกตองก็จะเปนประโยชนอยางมาก สามารถชวยชีวิตผูปวยได ในทางตรงขาม ถาเลือกใชไมถูกตองและ/หรือไมตรงตามขอบงชี้ก็อาจทําอันตรายผูปวยจนถึงแกชีวิตได ภาวะสมดุลของน้ําและเกลือแรในภาวะปกติ รางกายของมนุษยมีน้ําเปนสวนประกอบมากที่สุด ในผูใหญมีน้ําเปนสวนประกอบของ รางกายถึงรอยละ 61.2 โดยน้ําหนักนอกนั้นเปนโปรตีน ไขมัน คารโบไฮเดรต และเกลือแร รอยละ16.8, 13.6, 1.0 และ 7.4 ตามลําดับ ฉะนั้นจะ เห็นไดวาน้ําเปนสวนประกอบที่สําคัญมาก ถาเปรียบเทียบเปรียบเทียบการขาดน้ํากับการขาดอาหาร มนุษยจะทนตอการ ขาดอาหารไดมากกวาการขาดน้ํา นั่นคือการขาดน้ําจะทําใหคนตายกอนการขาดอาหาร น้ําที่มีอยูในรางกายรอยละ 61.2 หรือประมาณรอยละ 60 นั้นแบงออกไดเปน 2 ประเภท 1. น้ําที่อยูภายในเซลล (intracellular fluid) มีรอยละ 40 หรือ ประมาณ 400 มิลลิลิตร/กิโลกรัม น้ําหนักตัว 2. น้ําที่อยูภายนอกเซลล (extracellular fluid) มีอยูประมาณรอยละ 20 หรือประมาณ 200 มิลลิลิตร/กิโลกรัม น้ําหนักตัว ซึ่งอยูในที่ 2 แหงคือ 2.1 น้ําที่อยูภายในเสนเลือด (intravascular fluid) มีอยูประมาณรอยละ 5 หรือประมาณ 70 มิลลิลิตร/ กิโลกรัมน้ําหนักตัว 2.2 น้ําที่อยูภายนอกเสนเลือด อยูระหวางเซลลในเนื้อเยื่อตางๆ (interstitial fluid) มีอยูประมาณ รอยละ 15 หรือประมาณ 130 มิลลิลิตร/กิโลกรัมน้ําหนักตัว น้ําที่อยูภายนอกเซลลเปนตัวสําคัญในการควบคุมสมดุลของน้ําและเกลือแรตางๆ โดยเปนตัวเคลื่อนที่ เขาทดแทนการสูญเสียน้ํา พลาสมา และเกลือแร ฉะนั้น ของเหลวที่จะนํามาทดแทนหรือชดเชยการสูญเสียน้ําของ รางกายจึงควรจะมีสวนประกอบที่ใกลเคียงกับน้ําที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด จึงจะเปนตัวทดแทนหรือชดเชยที่ดีได สําหรับของเหลวที่จะนํามาใชเพื่อชดเชยการสูญเสียโลหิต นอกจากการที่ควรจะมีคุณสมบัติดังกลาวนั้นแลว ยังควรที่จะมี คุณสมบัติใกลเคียงกับพลาสมามากที่สุด เพื่อที่จะคงอยูภายในเสนเลือดใหนานพอสมควร ทั้งนี้เพื่อชดเชยปริมาตรของ เลือดที่เสียไป และอยูภายในเสนเลือดไดนานพอที่จะกูสถานการณของการเสียเลือดไวได ของเหลวที่นํามาใหเขาเสนเลือดในปจจุบันมีมากมายหลายชนิด แบงออกเปน 4 ประเภท ไดแก คริสตอลลอยด คอลลอยล เลือด และอื่นๆ รายละเอียดดังกลาวตอไป

สําหรับเกลือแรนั้น เปนองคประกอบที่สําคัญ โดยสวนใหญภายนอกเซลลจะมีโซเดียม (Na) และคลอไรด (Cl) และในเซลลจะมีโพแทสเซียม (K) (ตาราง 1) โดยมีไตทําหนาที่ควบคุมความสมดุลของน้ําและเกลือแรในรางกาย เพื่อให รางกายดํารงชีพไดอยางปกติ ดังนั้นในแตละวันเราจึงควรไดรับน้ําและเกลือแรตามปริมาณที่รางกายตองการ (ตาราง 2, 3) ตาราง 1 ความเขมขนของเกลือแรในเซลลและนอกเซลล Electrolyte Sodium Potassium Chloride Bicarbonate Magnesium Calcium Phosphate

Concentration (mEq/L) Intracellular Fluid (ICF) Extracellular Fluid (ECF) 10 142 140 4 2 103 8 25 35 3 3 5 95 2

ตาราง 2 ปริมาณน้ําที่รางกายตองการตอวัน (เฉลี่ย 30-40 ml/kg/day) Weight (kg) Requirement over 24 hour (ml) First 10 kg 100 ml/kg 10-20 kg 1000 ml + 50 ml/kg/24 hr for each kg over 10 kg >20 kg 1500 ml + 20 ml/kg/24 hr for each kg over 20 kg ตาราง 3 ปริมาณเกลือที่รางกายตองการตอวัน Electrolyte Daily requirement + Na 3-4 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal + K 2-3 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal Cl 2-4 mEq/kg or 25-40 mEq/1000 kcal 2+ Ca 1-2.5 mEq/kg or 10-35 mEq/1000 kcal 2+ Mg 0.2-0.5 mEq/kg or 3-10 mEq/1000 kcal 3PO4 2 mmol/kg or 35 mmol/1000 kcal

Minimum (per 24 hr) 70 mEq 25 mEq 70 mEq 0.2-0.3 mEq/kg Varies 20 mmol

Maximum (per 24 hr) 100-150 mEq 80-120 mEq 100-150 mEq 9-35 mEq 8-16 mEq 15-30 mmol

ขอบงชี้ของการใหของของเหลวเขาเสนเลือด ขอบงชี้หรือวัตถุประสงคของการใหของเหลวเขาเสนเลือดที่สําคัญมี 5 ประการ ดังตอไปนี้ 1. ใชเปนทางนํายาเขาสูรางกาย มีบอยครั้งที่เราใหของเหลวเขาเสนเลือดอยางชาๆ ทั้งนี้เพื่อวัตถุประสงคใหมี เข็มคาไวในเสนเลือดดํา เมื่อตองการจะฉีดยาเขาเสนเลือดใหผูปวยจะไดไมจําเปนตองแทงเข็มเขาเสนเลือดทุกครั้งเพราะ สามารถฉีดยาเขาทางเข็มที่คาเสนเลือดไวนั้นไดทุกเวลาที่ตองการเรียกวิธีการนี้วา เพื่อเปดเสนเลือด (KVO = keep vein opened) ของเหลวที่ใชมักจะใชน้ํายาพวก 5% Dextrose in 1/2 N.S.S. น้ํายาที่ใหเขาเสนนั้นมีความมุงหมายเพื่อปองกัน ไมใหเกิดเลือดแข็งตัวอยูภายในเสนเลือดเทานั้น เราจึงใหของเหลวในอัตราที่ชาที่สุด และเพื่อปองกันไมใหผูปวยไดรับแร ธาตุตางๆ เกินกวาที่รางกายตองการดวย 2. เพื่อรักษาระดับน้ําและเกลือแรของรางกาย (maintenance fluid) ซึ่งบางทีเรียกวาเปน การบําบัดรักษา ค้ําจุน ทั้งนี้โดยมีวัตถุประสงคเพื่อชดเชยจํานวนน้ําและแรธาตุที่สูญเสียไปประจําวัน ( insensible loss) ตามปกติอัน ไดแก การหายใจ เหงื่อ ปสสาวะ อุจจาระ รวมทั้งการงดน้ําและอาหารกอนผาตัดดวย ทั้งนี้ไมรวมถึงน้ําที่เสียไป ในทางที่ผิดปกติทุกวิถีทาง เชน การอาเจียน ทองเดิน น้ําที่ดูดออกจากกระเพาะอาหารชองทองหรือชองปอด ฯลฯ ของเหลวที่ใชในกรณีนี้มักใชพวกคริสตอลลอยด เชน 5 %Dextrose in Water, 5%Dextrose in 1/2 N.S.S., 5 % Dextrose in Lactate – Ringer’s Solution โดยคํานวณจํานวนน้ําที่รางกายสูญเสียตามปกติ ดังกลาวนั้นตอวัน ประมาณวันละ 2 - 3 ลิตร แลวใหน้ําจํานวนนั้นเขาเสนเลือดตลอด 24 ชั่วโมง เชน ใหหยดในอัตรา 120 มิลลิลิตร/ ชั่วโมง ดังนั้นใน 24 ชั่วโมงผูปวยจะไดรับน้ําทางเสนเลือดเกือบ 3,000 มิลลิลิตรตอวัน 3. เพื่อทดแทนและเสริมสรางน้ําและเกลือแรที่สูญเสียไป (replacement fluid) ทั้งนี้เพื่อการแกไขหรือ รักษาการสูญเสียของน้ําและเกลือแรของรางกายตามปกติตามขอ 2 รวมกับการสูญเสียน้ําจากรางกายโดยความผิดปกติ ดวย เชน มีไขสูง บาดแผลไฟไหม น้ํารอนลวก อุบัติเหตุ ทองเดิน อาเจียน ฯลฯ ของเหลวที่นํามาใชทดแทนหรือ ชดเชยการสูญเสียน้ําของรางกายในกรณีเชนนี้ ควรจะตองมีสวนประกอบที่ใกลเคียงกับน้ําที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด ดังที่กลาวมาแลว สารละลายที่ใชในกรณีนี้มีหลายชนิด เชน 5% Dextrose in Water, 5% Dextrose in N.S.S., Ringer’s Sol., Lactated Ringer’s Sol., Acetated Ringer’s Sol. , Plasma Substitutes, or Blood Plasma ฯลฯ การใหของเหลวเขาเสนเลือดในกรณีนี้บางทีเรียกวา การบําบัดรักษาทดแทน ทั้งนี้เพื่อแกภาวะการขาดน้ํา (dehydration) ในภาวะการณนี้ปริมาตรของน้ํานอกเซลลลดลงเมื่อเทียบสวนของปริมาตรของน้ําภายในเซลล ภาวะการ ขาดน้ํามีไดหลายชนิด isotonic dehydration เปนการสูญเสียน้ําและเกลือแรที่ไดสัดสวนกันพบประมาณรอยละ 70 การสูญเสียเกลือแรมากแตเสียน้ํานอยเรียกวา hypotonic dehydration พบไดประมาณรอยละ 8 ภาวะการขาดน้ํานี้ เปนอันตรายอยางยิ่งโดยเฉพาะในเด็ก จําเปนอยางยิ่งที่จะตองรีบทดแทนของเหลวที่สูญเสียจากรางกายโดยเร็วที่สุด 4. เพื่อใหสารอาหาร (nutrition supplement) มีผูปวยจํานวนไมนอยที่ไดรับอาหารไมเพียงพอ เนื่องจากกิน อาหารไมได หรือถูกหามกินอาหาร ซึ่งมักจะไดรับแตน้ําเกลือ ทําใหรางกายหรือสุขภาพทั่วๆ ไป ทรุดลงเร็วกวาที่ควร จะเปน ฟนตัวไดชา เนื่องจากการเสริมสรางซอมแซมรางกายทําไดไมเต็มที่ ภูมิตานทานโรคลดลง ทําใหเกิดโรค แทรกซอนไดงายขึ้น กลายเปนผูปวยเรื้อรัง เสียเวลาเสียเงินในการรักษามากขึ้น เสียเศรษฐกิจทุกฝาย ทั้งทางตรงและ ทางออม และอาจจะตองเสียชีวิตไปอยางนาเสียดาย ผูปวยที่ขาดอาหารอีกพวกหนึ่งคือผูปวยเปนโรคเรื้อรัง เชน มะเร็ง ทองเดินเรื้อรัง ฯลฯ ผูปวยที่กลาวมาแลวเหลานั้น จะอยูในภาวะโภชนาการที่ไมดีหรือขาดอาหาร ป 1968 ไดเริ่มมีการเปดศักราชใหมของโภชนบําบัด Dudrick และคณะไดแสดงใหเห็นวาสามารถเลี้ยงเด็กซึ่งมี ลําไสสั้นมากจนไมสามารถรับประทานอาหารทางปากได ใหมีชีวิตรอดและเจริญเติบโตไดอยางปกติ โดยการใหอาหาร ทุกชนิดทางเสนเลือดดําเพียงทางเดียว จึงไดมีการศึกษาถึงการใหอาหารโดยวิธีนี้อยางกวางขวาง สารอาหารที่ใหทางหลอดเลือดดํานั้น จําเปนตองคํานวณใหพอเหมาะกับความตองการของรางกายของแตละคน ซึ่งประกอบดวย พลังงาน โปรตีน ไขมันและกรดไขมันจําเปน วิตะมินและเกลือแรตางๆ

แหลงที่มาของพลังงานสวนใหญเปนพวกคารโบไฮเดรต ที่นิยมกันคือ กลูโคสเขมขน 50% ในระยะหลังนี้มี การใชไขมันเปนสารใหพลังงานทางเสนเลือดดวย การใหโปรตีนใหเพียงพอนั้น เพื่อปองกันไมใหมีการลดลงของโปรตีนในรางกาย เพื่อเสริมสรางซอมแซมสวนที่ สึกหรอ เพื่อใหมีการสมดุลของไนโตรเจนที่ดี รวมทั้งเพื่อใหมีการเจริญเติบโตของรางกายไดอยางปกติ โปรตีนที่ นํามาใชในกรณีนี้เปน amino acid ที่เปนสารสังเคราะห เนื่องจากรางกายนําไปใชไดทันที น้ํายา amino acid ที่ใชกัน อยูในปจจุบันมี 2 ชนิด ชนิดหนึ่งประกอบดวย essential amino acid เทานั้น อีกชนิดหนึ่งมีทั้ง essential amino acid และ non essential amino acid รวมอยูดวยกันในขวดเดียว อัตราสวนที่พอเหมาะควรจะมี essential amino acid ไมต่ํากวา 40 % ของ amino acid ทั้งหมด ไขมัน เปนสารอาหารที่สําคัญอีกชนิดหนึ่งที่ผูปวยควรจะตองไดรับโดยการใหทางเสนเลือดดํา เนื่องจากให กําลังงานที่เขมขน ผูปวยจะไดรับแคลอรี่มากโดยไดน้ํานอย และยังชวยลดโอกาสที่จะเกิดภาวะแทรกซอน เนื่องจากการ ใหกลูโคสที่มีความเขมขนสูง ทั้งยังมี osmolarity ต่ําดวย นอกจากนั้นยังมีกรดไขมันจําเปน (essential fatty acid) ผสมอยูดวย ไขมันที่นํามาใชในกรณีนี้เปน 10 % fat emulsion การใหไขมันเขาเสนเลือดดําเริ่มใชกันในประเทศไทย ประมาณ 7 ปมาแลว เกลือแรและวิตะมิน เปนสารอาหารที่จําเปนสําหรับทําใหการเผาผลาญภายในรางกาย (metabolism) เปนไป อยางปกติ การใหคารโบไฮเดรตและโปรตีนมากๆ อาจเปนไปอยางปกติ การใหคารโบไฮเดรตและโปรตีนมากๆ อาจเปน เหตุใหขาดเกลือแรและวิตะมินอยางเฉียบพลัน ถาไมมีการเสริมเกลือแรและวิตะมินใหดวย เกลือแรที่สําคัญ ไดแก อีเลคโทรไลท คือ แคลเซียม ฟอสฟอรัส แมกนีเซียม โครเมียม เหล็ก ฯลฯ ควรจะไดรับการเสริมใหเปนประจําเมื่อ สามารถทําได วิตะมินรวม รวมทั้งวิตะมินเค วิตะมินบี 12 และ โฟลิกแอซิด ก็จําเปนที่จะตองใหอยางเพียงพอตาม ความจําเปนของรางกาย ความตองการน้ําสําหรับผูใหญตามปกติมีปริมาณใกลเคียงกับปริมาณแคลอรี่ที่ไดรับ คือ ประมาณ 30 – 50 มิลลิลิตร/ กิโลกรัม น้ําหนักตัว/วัน ในเด็กตองการประมาณ 50-90 มิลลิลิตร/ กิโลกรัม – น้ําหนักตัว/วัน ปริมาณของน้ํานี้ เพิ่มขึ้นหรือลดลง ขึ้นอยูกับความตองการน้ําของผูปวย สภาวะของระบบไหลเวียนโลหิตและหัวใจของผูปวยในขณะนั้น 5. เพื่อชดเชยการเสียเลือด (Blood supplement) อันตรายจากการเสียเลือดที่ทําใหถึงแกความตายในอันดับ แรก คือ การขาดปริมาณของเลือด (hypovolemia) ไมใชการขาดเม็ดเลือดแดงหรือ เม็ดเลือดแดงมีจํานวนลดต่ํากวาที่ รางกายตองการ ฉะนั้นการชดเชยปริมาณของเลือดที่ขาดไปจึงเปนเรื่องที่จะตองกระทําทันทีในอันดับแรก การที่จะใช ของเหลวอะไรมาชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไปนั้นขึ้นอยูกับปริมาตรของเลือดที่เสียไปเปนสําคัญ โดยใช vital signs ซึ่งประกอบดวย ชีพจร การหายใจ และ ความดันโลหิต เปนมาตรการของการวัดในเบื้องตน ถาสามารถวัดความดัน โลหิต เปนมาตรการของการวัดในเบื้องตน ถาสามารถวัดความดันของโลหิตดําสวนกลาง (central venous pressure) ได ดวย ก็จะเปนการวัดปริมาตรของเลือดที่เสียไปได แนนอนขึ้น นั่นก็คือ ทําใหเราทราบวาเกิดชองวางหรือเนื้อที่วางภายใน ระบบไหลเวียนโลหิต (intravascular space) มากนอยหรือใหญโตแคไหนเราก็ตองชดเชยปริมาตรของเลือดที่ขาดไปนั้น ดวยของของเหลวชนิดตางๆ อาจเปนคริสตอลลอยด, คอลลอยด, และ/ หรือ เลือด ทั้งนี้แลวแตปริมาตรของเลือดที่เสียไป นั้นมากหรือนอย รายละเอียดจะไดอธิบายในอันดับตอไป ชนิดของของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสนเลือด ของเหลวที่นํามาใชใหเขาเสนเลือดมีมากมายหลายชนิด แบงออกเปนประเภทตางๆ ดังนี้ 1. คริสตอลลอยด 2. คอลลอยด 3. เลือด 4. อื่นๆ

คริสตอลลอยด (Crystalloids) คริสตอลลอยดเปนน้ํายาที่ประกอบดวยโมเลกุลของสารละลายอยูในน้ํา หรือในน้ํายาเดกซโตรส หรืออาจ เรียกวา “สารละลายเกลือแร” ก็ได ป 1960 Shaire ไดศึกษาพบวา ในขณะผาตัดผูปวยจะเสียน้ําที่อยูภายนอกเซลลอยางชัดเจน เขาไดแนะนํา ใหชดเชยการเสียน้ํานั้นทันทีดวยน้ํายาคริสตอลลอยด ซึ่งเปนสารละลายเกลือแร เชน น้ําเกลือ น้ํายาริงเกอร และถือ ปฏิบัติกันเรื่อยมาจนกระทั่งทุกวันนี้ จะเห็นวาผูปวยจะไดรับน้ําเกลือนอรมอลหรือน้ํายาเกลือแรอื่นๆ ตลอดเวลาในขณะ ผาตัดเพื่อชวยรักษาความดันโลหิตเอาไวใหคงที่อาจเพิ่มจํานวนหรือความเร็วของการใหของเหลวนั้นเพื่อแกการลดต่ําลง ของความดันโลหิต ในการใหสารละลายเกลือแรเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไปนั้น จะตองใชของเหลวประเภทนี้ จํานวนถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือดที่เสียไปจึงจะดึงความดันโลหิตใหสูงขึ้นมาเทากับกอนที่จะเสียเลือดไป แพทย ยังใหน้ําเกลือหรือน้ํายาเกลือแรอื่นๆ หลังผาตัดตอไปอีกวันละประมาณ 2,000 – 3,000 มิลลิลิตร จนกวาผูปวยจะกิน อาหารหรือดื่มน้ําได น้ํายาคริสตอลลอยดแบงออกเปน 3 ประเภท 1. Isotonic Crystalloids เปนน้ํายาที่มีเกลือแรตางๆ ละลายอยูโดยมีความเขมขนที่ใกลเคียงกับน้ํายาของรางกาย มากที่สุด สารละลายเกลือแรชนิดนี้หาไดงายและมีราคาถูก สามารถใหเขาเสนเลือดดําไดในอัตราเร็วมากๆ เนื่องจากมี ความเหนียวความหนืดนอยมาก จึงสามารถที่จะใชแกไขการลดปริมาตรของเลือดไดอยางรวดเร็วไมทําใหเกิดการแพ ถาน้ํายานั้นสะอาดและปราศจากจากไพโรเจน จึงใชกันอยางกวางขวางมาก แตผลเสียของการใหน้ํายาประเภทนี้เขา เสนเลือดก็มีมากมายดังจะกลาวตอไป ตัวอยางของสารละลายเกลือแรชนิดนี้ไดแก 5% Dextrose in Water, Normal Saline, 5% Dextrose in N.S.S., Ringer’s Sol., Lactated Ringer’s Sol., Acetated Ringer’s Sol. 2. Hypertonic Crystalloids เปนน้ํายาที่มีเกลือแรตางๆ ละลายอยูในความเขมขนมากกวาที่มีอยูในรางกาย ตามปกติ น้ํายาประเภทนี้มีที่ใชนอยกวาประเภทแรก มีขอบงชี้พิเศษบางประการเทานั้นที่จําเปนตองใชน้ํายาประเภทนี้ ตัวอยางของน้ํายาประเภทนี้ไดแก 10% Dextrose in Water, 3% Sodium Chloride Sol., 5% Sodium Chloride Sol. 3. Hypotonic Crystalloids เชน 1/4, 1/3, 1/2 of N.S.S. เปนน้ํายาเกลือแรที่มีความเขมขนของเกลือแรต่ํากวาที่ ละลายอยูภายในน้ําของรางกาย ปจจุบันนิยมใชกันมากกวาประเภทอื่น เนื่องจากใหปริมาณของโซเดียม และคลอไรด ไมมากนัก มักใชเปนสารละลายกับกลูโคสเพื่อใหกับผูปวยในการรักษาหรือทดแทนเกลือแรและพลังงานดังกลาวมาแลว ผลของการใหน้ํายาคริสตอลลอยด คริสตอลลอยดที่อยูในรางกายนั้น สวนใหญเปนน้ําที่อยูนอกเสนเลือด กระจายอยูในชองวางของเนื้อเยื่ออยู ระหวางเซลล (Interstitial space) การใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดจะไปทดแทนปริมาตรภายในเสนเลือดที่ลดลงได อยางฉับพลันทันที เนื่องจากใหไดงาย มีความเหนียว ความหนืดนอย แตน้ํายาประเภทนี้จะอยูภายในการไหลเวียน โลหิตไดไมเกิน 2 ชั่วโมง และจะตองใชปริมาตรถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือดที่เสียไป จึงจะกูใหความดันเลือด ที่ลดลงนั้นกลับคืนเทาปกติ นี่คือผลเสียประการแรกของการใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของ เลือดที่เสียไป ผลเสียที่เกิดตามมา คือ การที่ใหสารละลายประเภทนี้เขาเสนเลือดจํานวนมากเขาๆ น้ํายานี้อยูภายในเสนเลือด ไดเพียง 2 ชั่วโมง ก็ไหลซึมออกไปจากเสนเลือด ไปอยูภายในเนื้อเยื่อตางๆ นอกเสนเลือด (Interstitial space) ทําให เนื้อเยื่อนอกเสนเลือดทั้งรางกายบวมน้ํา และจะบวมมากขึ้นๆ เรื่อยๆ ถายังใหน้ํายาประเภทนี้เขาเสนเลือดอยูเรื่อยๆ ผลเสียที่เกิดตามตอมาจากรางกายบวมน้ําที่สําคัญมีอีกหลายประการคือ

การบวมน้ําของปอด เกิดขึ้นพรอมๆ กับเนื้อเยื่อทั่วไปบวมน้ําน้ําในเนื้อเยื่อของปอดบวมน้ําก็เบียดถุงลมใหเล็ก ลง และยังมีน้ําซึมเขาไปอยูภายในถุงลมอีกดวย จากการทดลองใหน้ําเกลือเพียง 1,000 มิลลิลิตรแกคนปกติที่แข็งแรงดี ก็จะทําใหสามารถลดปริมาตรของการหายใจของปอดลงไปไดแลว ฉะนั้นการใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดจํานวน มากทําใหเกิดการบวมน้ําของปอด (pulmonary edema) การหายใจก็ลดลงจนถึงหายใจไมได ทําใหผูปวยถึงแกกรรมได เนื้อเยื่อทั่วไปขาดออกซิเจน (Tissue anoxia) การบวมน้ําของเนื้อเยื่อทั่วรางกายนั้นน้ําจะแทรกอยูระหวาง เซลลของเสนเลือดฝอย ทําใหเสนเลือดฝอยอยูหางจากเนื้อเยื่อทั่วไปมากขึ้น ประกอบกับความดันภายในเนื้อเยื่อก็เพิ่มขั้น เนื่องจากการบวมน้ํา กดลงบนผนังของเสนเลือดฝอย ทําใหการไหลเวียนในเสนเลือดฝอยไมดี การถายเทออกซิเจนจาก เลือดไปยังเนื้อเยื่อทั่วไปก็เลวลง ทําใหเนื้อเยื่อทั่วไปไดรับออกซิเจนนอยลงจนถึงขาดออกซิเจนไดถาอาการบวมน้ํานั้นมี มากขึ้นๆ เรื่อยๆ แผลหายยากและติดเชื้อไดงาย ถาผูปวยมีแผล แผลนั้นก็จะบวมน้ํา เนื้อเยื่อของแผลก็ไดรับออกซิเจน นอยลงดังกลาวมาแลว และยังทําใหการสรางเสนใยคอลลาเจน (Collagen fiber) ลดลงดวยแผลจึงติดเชื้อไดงายดวย เลือดแข็งตัวเร็วขึ้น การที่ใหน้ําเกลือเขาเสนจํานวนมาก มีผลทําใหเลือดแข็งตัว (coagulation) ไดเร็วขึ้น อาจเกิดกอนเลือดขึ้นในหลอดเลือดดํา ไปอุดตันหลอดเลือดดําที่อยูลึกๆ ได โรคแทรกอื่นๆ ทั่วๆ ไปของการใหของเหลวเขาเสนเลือดก็อาจเกิดขึ้นได เชน การติดเชื้อ เสนเลือดดําอักเสบ ฯลฯ แนนอนการแกปญหาเรื่องการเสียเลือดในขณะผาตัด จะตองทําการแกไขใหเร็วที่สุดที่จะเร็วได การใหน้ํายา คริสตอลลอยดนั้นสามารถกระทําไดงาย รวดเร็ว และประหยัดที่สุด แตไมควรใหจํานวนมากเพราะทําใหเกิดผลเสีย ตามมามากมายดังกลาวมาแลว ถาจําเปนที่จะตองใหของเหลวเขาเสนเลือดจํานวนมาก จะตองคิดแลววาควรจะให ของเหลวชนิดใดตอไป หลังจากการที่ใชน้ํายาคริสตอลลอยดขวดแรกนําไปแลว จึงจะทําใหผูปวยปลอดภัยที่สุด น้ํายา คอลลอยดควรจะเปนของเหลวที่เหมาะสมที่สุดที่จะนํามาใชในอันดับตอไป คอลลอยด (Colloids) คอลลอยด เปนน้ํายาที่มีสวนประกอบเปนสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญละลายอยูในน้ํา รวมกับโมเลกุลของสาร อื่นๆ ในความเขมขนตางๆ Starling รายงานเมื่อป 1896 วา ถาเติม gelatin ซึ่งเปน colloid ลงไปในน้ําใหเขาเสนเลือดแทนน้ําเกลือ นอรมอล จะทําใหน้ํายาเจลาตินนั้นอยูในกระแสเลือดไดนานกวาน้ําเกลือ เจลาตินเปนโปรตีนชนิดหนึ่งของสัตวที่เลี้ยงลูก ดวยนม มีน้ําหนักโมเลกุล 100,000 – 200,000 แตพบวามันมีฤทธิ์ขางเคียงและทําใหเกิดอันตรายไดมาก ป 1916 Baylis ใช gum arabic 6% เติมลงไปในน้ําเกลือนอรมอลเรียกวา 6 % gum saline ใชเปนน้ํายาชดเชย ปริมาตรของเลือด ใชอยางกวางขวางในระยะสงครามโลกครั้งที่ 1 แตพบวามีฤทธิ์ขางเคียงที่ไมตองการอยางรุนแรงมาก จนถึงช็อคแลวตายได ในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 มีการใชน้ํายาคอลลอยดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดกันมาก ป 1940 Weese & Hecht แหงประเทศเยอรมันนี้ไดสังเคราะหสารคอลลอยดขึ้นไดชนิดหนึ่งคือ Polyvinylpyrrolidone (PVP) ทําเปนน้ํายาให เขาเสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป PVP มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 50,000 ตอมามีการคนควาดัดแปลงให มีน้ําหนักโมเลกุลต่ําลงเปน 25,000, 17,550 และ 12,600 Dextran เปนคอลลอยดอีกชนิดหนึ่ง Gronwall & Ingelmann แหงประเทศสวีเดนไดนําเอามาใชทําน้ํายาใหเขา เสนเลือดเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือด ใชแพรหลายในระยะสงครามโลกครั้งที่ 2 เชนเดียวกัน สารนี้มีน้ําหนักโมเลกุล 70,000 -75,000 ตอมาไดมีการคนควาทําใหน้ําหนักโมเลกุลลดลงเปนประมาณ 40,000

หลังสงครามโลกครั้งที่ 2 ไดมีผูนําเอาเจลาตินกลับมาใชใหม โดยมีการคนควาดัดแปลงแกไขเสียใหม เรียกวา modified gelatin ซึ่งเปนคอลลอยดที่มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 23,000 – 35,000 น้ํายาพวกนี้ที่นํามาใชกันมี 3 ประเภท คือ 1. Polygeline ผลิตภัณฑของ Behring/ Hoechst ซึ่งคนพบโดย Schmidt Thome และคณะ ไดแก Haemaccel 2. Oxypolygelatin คนพบโดย Campbell และคณะ เชน Gelifundol ของ Biotest ของ Hausmann ป 1983 J.G. Williams และคณะ ศัลยแพทยแหงราชนาวีอังกฤษไดรายงานวา ในการรักษาทหารบาดเจ็บใน สนามรบสงครามเกาะฟอลคแลนด ประมาณ 500 คน ภายหลังจากเจาะเลือดจากผูปวยเพื่อเอาไปทํา cross matching แลวเขาเริ่มให compound sodium lactate sol. (Ringer- Lactate solution) 1,000 มิลลิลิตร ทันทีเพื่อชดเชยการเสีย เลือดของทหารที่บาดเจ็บแลวให polygeline 500 มิลลิลิตรตาม ถามีความจําเปนเขาจะใหของเหลวทั้ง 2 ชนิดนี้ซ้ําไดอีก ในรายที่จําเปนจะตองใหเลือดเมี่อมีขอบงชี้และสามารถที่จะหาไดในขณะนั้น เขาก็จะใหเลือดตามไปทันทีหลังจากที่ให ของเหลวทั้ง 2 ชนิดไปแลว การทํา cross matching ตามปกติใชเวลาประมาณ 2 ชั่วโมง สําหรับผูปวยบาดแผลไฟไหม เขาใหของเหลวเขาเสนเลือดจํานวน 120 มิลลิลิตร/ 1 % ของบาดแผลไฟไหมที่คํานวณได ในเวลา 24 ชั่วโมงนับตั้งแตเริ่ม ถูกไฟไหม ไมใชเริ่มนับเวลาเมื่อผูปวยมาถึงโรงพยาบาลเมื่อคํานวณจํานวนของเหลว ที่จะใหเขาเสนเลือดไดเทาไรแลว เขาให Ringer- Lactate sol. และ polygeline ในอัตราสวนเทาๆ กัน บาดแผลไฟไหมมากกวา 15 % จึงตองใหของเหลว เขาเสนเลือด ถาต่ํากวานั้นไมตองใหนอกจากคริสตอลลอยดและคอลลอยด ทั้ง 2 ชนิดดังกลาวมาแลวนั้น เขาไมไดใช อยางอื่นอะไรอีกเลย M.D.Jowitt และ R.J.Knigh วิสัญญีแพทย ไดรายงานเมื่อป 1983 เกี่ยวกับประสบการณที่ไดรับจากการที่ไปเปน แพทยสนามในสงครามเกาะฟอลคแลนด ของเหลวที่เหมาะสมที่สุดที่จะเลือกใชเพื่อการชวยชีวิตในปจจุบันทันดวน คือ Hartmann’s sol. (Ringer- Lactate sol. หรือ compound sodium lactate sol.), N.S.S. และ Haemaccel เหตุที่เขา เลือกใช Haemaccel เพราะวาไมทําใหเกิดมีการแพที่รุนแรง ไมมีปญหาเกี่ยวกับการไหลเวียนและการแข็งตัวของเลือด เคยมีบางรายที่เขาให Haemaccel มากกวา 1,000 มิลลิลิตร เขาเคยให Haemaccel 1,000 มิลลิลิตร เขาเสนเลือดดําหมด ในเวลาไมถึง 5 นาทีแกผูปวยหลายประเภท เชน ผูปวยช็อคไดรับความเย็นจัดมาก เกิดภาวะ acidosis และผูปวยที่เสีย เลือดจํานวนมากหลายราย ทําใหสามารถชวยผูปวยใหพนสภาวะที่จะถึงแกชีวิตปริมาตรการไหลเวียนของเลือดกลับสู สภาวะปกติ สภาวะทางชีวเคมีของรางกายคงที่ดี Haemaccel กระตุนใหมีการหลั่ง histamine ออกมาบาง คุณสมบัติที่ดีของน้ํายาคอลลอยด น้ํายาคอลลอยดที่นํามาใหเขาเสนเลือดดวยความปลอดภัย ควรจะมีคุณสมบัติที่ดีอยางนอยที่สุดดังตอไปนี้ 1. รูปรางลักษณะและน้ําหนักโมเลกุล ของสารคอลลอยดที่ละลายอยูในน้ํายาหรือของเหลวที่นํามาใหเขาเสน เลือดนั้น มีผลทางออสโมซิส (osmotic effect) ที่พอเหมาะ ซึ่งจะไมทําใหปริมาตรของเลือดเปลี่ยนแปลงไปจากปกติ 2.น้ํายาคอลลอยดนั้นมีความดันออนโคติค (oncotic pressure) เทากับหรือใกลเคียงกับ ความดันออนโคติคของ พลาสมา 3.มีความหนืด (viscosity) เทากับหรือใกลเคียงกับความหนืดของพลาสมา สารคอลลอยดนั้นไมควรจะเปนสิ่งแปลกปลอมสําหรับรางกายคือไมเปนแอนติเจน (antigeniticy) และไมควร ทําใหเกิดปฏิกิริยาอิมมูน (immunological reaction) 5.สารคอลลอยดนั้นควรจะอยูในกระแสเลือดเปนเวลานานพอสมควร และไมควรจะรบกวนการทํางานของอวัยวะ ตางๆ ถึงแมวาจะใหน้ํายาคอลลอยดนี้ซ้ําอีกหลายครั้งก็ตาม 6.สารคอลลอยดควรจะถูกขับออกจากรางกายโดยการเผาผลาญ (metalbolism) และ/ หรือโดยการขับถาย ไม ควรจะสะสมอยูในรางกายเปนเวลายาวนาน

7.สารคอลลอยดนั้นไมควรรบกวนการหยุดของเลือด การแข็งตัวของเลือด และ หนาที่ของเกร็ดเลือด การ เปลี่ยนแปลงในเรื่องดังกลาวนั้นไมควรจะมากไปกวาอัตราสวนของการเจือจางของเลือด 8.น้ํายาคอลลอยดไมควรจะทําใหหนาที่ของไต และ การขับปสสาวะ เสื่อมไป 9.น้ํายาคอลลอยดนั้นจะไมทําใหปริมาณของเลือดที่สงออกจากหัวใจ (cardiac output) นั้นลดลง 10.น้ํายาคอลลอยดนั้น ควรจะมีค วามคงทนหรือมี อ ายุ ย าว ไมเสียงา ย เก็บ เอาไว ใ ชไ ดน านและคงตัวเป น ของเหลวอยูในทุกอุณหภูมิ น้ํา ยาคอลลอยดมีห ลายชนิดดัง ไดก ล า วมาแลว สํา หรับ ในประเทศไทยปจ จุบั น นี้ เทา ที่ใ ชกั นอยูม ากมี 2 ประเภท คือ dextran (ที่มีในตลาดเปนผลิตภัณฑของหลายบริษัท) และ polygeline (Haemaccel) DEXTRAN เปนสารสังเคราะห long chain polysaccharides มี 2 ชนิดคือ 10 % sol. of Dextran 40 และ 6 % sol. of Dextran 70 ซึ่งเปนน้ํายาที่เปน isotonic กับ N.S.S. หรือ 5 % sol. Dextrose Dextran 40 และ 70 ตางกันที่น้ําหนัก โมเลกุล dextran 40 มีคาน้ําหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ยเทากับ 40,000 ในขณะที่ dextran 70 มีคาน้ําหนักโมเลกุลโดยเฉลี่ย เทากับ 70,000 เมื่อใหของเหลวชนิดนี้เขาเสนเลือด จะทําใหปริมาตรของพลาสมาเพิ่มขึ้น เนื่องจากมีความดันออสโมติคสูงกวา ของน้ําภายนอกเสนเลือดและของเลือด ฉะนั้นจึงดูดน้ําจากเนื้อเยื่อภายนอกเสนเลือดเขามาในเสนเลือด Dextran 40 จะ เพิ่มปริมาตรของน้ําเหลืองไดมากกวา Dextran 70 เพราะมีสาร dextran ถึง 10% ซึ่งมากกวากันจึงมีความเขมขนของสาร dextran ในเลือดมากกวาการให Dextran 70 ในปริมาตรเทาๆ กัน Dextran 40 ขับถายทางไตไดเร็วมากเพราะมีน้ําหนักโมเลกุลใกลกับระดับการกั้นน้ําของไต (renal threshold) ฉะนั้นจึงมีคาครี่งชีวิตในเลือด (effective half life) ประมาณ 6 ชั่วโมง ซึ่งกําลังพอเหมาะหรือเหมาะสมกับที่ใชในการรักษา ผูปวย สําหรับ Dextran 70 มีคาครึ่งชีวิตประมาณ 12 ชั่วโมง Dextran ขับถายทางปสสาวะ 50- 70 % สวนที่เหลือจะถูกเผาผลาญ (metabilized) dextran ที่มีโมเลกุลใหญสวน หนึ่งจะถูกพาไปโดย reticulo-endothelial cells Dextran 40 จะไปลดแอนติเจนเกี่ยวของกับ factor 8 (VIII R : Ag) ซึ่งมีผลไปลดการเกาะตัวกันของเกร็ดเลือด (platelet aggregation) จึงขัดขวางไมใหเกิดกอนเลือดที่จะปดแผล (hemostatic plug) dextran ที่ยิ่งมีน้ําหนักโมเลกุล มากเทาไร ก็จะยิ่งขัดขวางการแข็งตัวของเลือดมากขึ้นเทานั้นจากคุณสมบัติขอนี้ จึงไดนําเอา dextran มาใชปองกันการ อุดตันของเสนเลือดดําสวนปลาย (distant venous thrombosis) และการอุดตันของเสนเลือดแดงในการผาตัดปลูกเสน เลือดแดง (arterial graft) ถาให dextran ตั้งแต 1.5 กรัม/ กิโลกรัม น้ําหนักตัวขึ้นไป จะเริ่มมีการขัดขวางการแข็งตัวของเลือด การให dextran เขาเสนเลือด จะกระตุนใหมีการหลั่ง histamine เหมือนกับ Haemaccel แต dextran ทําให เกิดการแพที่รุนแรงมากกวาถึงขนาดเปน anaphylactoid reactions ซึ่งไมไดเกิดขึ้นเพราะ histamine, dextran ที่ยิ่งมี น้ําหนักโมเลกุลมาก ก็จะยิ่งทําใหการแพมากขึ้น

ประโยชนของ Dextran ที่ใชในการรักษา (clinical uses) ขึ้นอยูกับคุณสมบัติ 3 ประการของ Dextran ดังตอไปนี้คือ 1.จํา นวนของโมเลกุล จะเปน ตัวชี้บง คุณสมบัติท างออสโมซิส และการขยายปริม าตรของพลาสมาในการ ไหลเวียนเลือด 10 % Dextran 40 จํานวน 500 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มปริมาตรของพลาสมาไดประมาณ 630 มิลลิลิตร สวน 6 % Dextran 70 จํานวน 500 มิลลิลิตร สามารถเพิ่มปริมาตรพลาสมาไดประมาณ 540 มิลลิลิตร เนื่องจากมีจํานวน โมเลกุลนอยกวา ทั้งนี้เกิดขึ้นเพราะ dextran ดูดน้ําจาก extravascular fluid เขามาเพิ่ม intravascular space คุณสมบัติของ dextran ดังกลาวจึงเรียกน้ํายาชนิดนี้วาเปน สารขยายปริมาตรพลาสมา (plasma volume expander) 2.ขนาดของโมเลกุล จะมีอิทธิพลตอการขับปสสาวะของไตและการคงตัวอยูในการไหลเวียนเลือดไดนานแค ไหน Dextran 40 ขับถายทางปสสาวะไดรวดเร็วมากดังกลาวมาแลว ฉะนั้นจึงมีคาครึ่งชีวิตที่อยูในกระแสเลือดประมาณ 6 ชั่วโมง ซึ่งเปนเวลาที่เหมาะสมที่ใชในการรักษา 3.ลักษณะโครงสรางของโมเลกุล ของ dextran จะมีผลอยางชัดเจนตอความเหนียวของเกล็ดเลือด (platelet adhesiveness) และการแข็งตัวของเลือด จากคุณสมบัติดังกลาวแลว จึงไดนําเอา Dextran มาใชในทางคลินิกเพื่อการรักษาดังนี้ 1. ชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป ผลจากการที่เปนสารขยายปริมาตรพลาสมาดังกลาวมาแลว แตตอง ระมัดระวังอยางมาก เนื่องจากมันดูดน้ําจากเนื้อเยื่อนอกเสนเลือดเขามาในเสนเลือด ถาให dextran เขาเสนเลือดจํานวน มาก ทําใหเนื้อเยื่อภายนอกเสนเลือดนั้นขาดน้ํา (dehydration) โดยเฉพาะอยางยิ่งเนื้อเยื่อของไต ถาขาดน้ําจะทําให หนาที่ของไตเสื่ อมลง การขับปสสาวะเลวลง โดยเฉพาะอยางยิ่งในผูปวยช็อคที่เกิดจากการขาดปริมาตรของเลือด เนื้อเยื่อทั่วไปของรางกายขาดน้ํา ไตก็ขาดน้ําดวย เมื่อไดรับ dextran เขาไปไตจะขาดน้ํามากขึ้น จนอาจจะถึง tubular necrosis ทําใหไตวายได 2. ทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และเพิ่มปริมาตรของเลือดใน capillary bed เนื่องจากของเหลวที่ให เขาเสนเลือดนั้นไปเจือจางเลือด ทําใหความหนืดของเลือดลดลง และยังทําใหการเกาะตัวกันของเซลลของเลือดลดลงอีก โดยเฉพาะอยางยิ่งเมี่อเลือดไหลชาๆ 3. ปองกันการเกิดกอนเลือดขึ้นในกระแสเลือด เนื่องจากคุณสมบัติของ dextran ที่ขัดขวางการแข็งตัวของ เลือด จึงใชคุณสมบัติขอนี้มาใชใหเปนประโยชนในการปองกันไมใหเกิดกอนเลือดขึ้นในกระแสเลือดในผูปวยที่ไดรับการ ผาตัดจะมีอันตรายเสี่ยงตอการเกิดกอนเลือดขึ้นและไปอุดเสนเลือดดําของเขาไดถึง 40- 50 % และในการผาตัดทั่วๆ ไป โอกาสที่จะเกิดกอนเลือดขึ้นไปในเสนเลือดดําไดมีถึง 10 % dextran สามารถลดการเกิดกอนเลือดในเสนเลือดดําไดถึง 50% อันตรายของการใช Dextran ที่สําคัญ อันตรายของการใช dextran ที่สําคัญคือการแพซี่งอาจจะรุนแรงถึงกับหัวใจหยุดและถึงแกกรรมได ไดมีรายงาน แนะนําใหใช hapten กอนที่จะให dextran เพื่อปองกัน anaphylactoid reactions แตก็มีรายงานวามีผูปวยรายหนึ่งที่ถึง แกกรรมเพราะ hapten

POLYGELINE Polygeline เปนสารสังเคราะหที่เปนสารประกอบของ urea และ polypeptides โดยการดัดแปลงมาจากเจลาติน ที่เรียกวา modified gelatin หรือ degraded gelatin เปนผลิตภัณฑของ Behring/Hoechst ชื่อ Haemaccel ซึ่งมี 3.5% ละลายอยูในน้ํายาอีเลคโทรไลท สารนี้มีน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย 35,000 โมเลกุล ของสารนี้มีขนาดตั้งแต 5,000 ถึง 50,000 ฉะนั้นโมเลกุลที่มีขนาดเล็กจะกระจายไปยังเนื้อเยื่อทั่วรางกายไดอยางรวดเร็ว ภายใน 1 ชั่วโมงน้ํายานี้จะกระจาย ไปทั่วรางกายและยังมีสวนใหญยังคงอยูในกระแสเลือด ทั้งนี้เนื่องจากน้ํายานี้เปน isotonic ซึ่งตางกับ dextran จึงไมดึง น้ําจากภายนอกเขามาใน การไหลเวียนเลือด สาร polygeline ที่มีโมเลกุลเล็กจะกระจายไป และขับถายออกทางไตไดอยางรวดเร็ว สวนที่มีน้ําหนักโมเลกุล มากก็จะคงอยูในกระแสเลือดไดนานและขับถายชากวา ถาใหน้ํายานี้เขาเสนเลือดอยางเร็วๆ 500 มิลลิลิตร จะทําใหปริมาตรภายในการไหลเวียนเลือดเพิ่มขึ้น 350 มิลลิลิตร นั้นก็คือ ประมาณ 150 มิลลิลิตร ไดมซึมออกไปอยูในเนื้อเยื่อนอกการไหลเวียนเลือด ซึ่งตรงกันขามกับ dextran ที่ดึงน้ําจากเนื้อเยื่อภายนอกเขามาในกระแสเลือด สารนี้มีคาครึ่งชีวิตในเลือด 4-6 ชั่วโมง ประมาณ 85% ของสารนี้ถูกขับออกทางปสสาวะ (ในจํานวนนี้ 30% ถูก ขับออกหลังจากที่เริ่มใหน้ํายานี้เขาเสนเลือดแลว 2 ชั่วโมง และขับออกไปอีก 45% เมื่อครบ 12 ชั่วโมง) อีก 10% ถูกขับ ออกทางอุจจาระ และอีกประมาณ 3% ถูกเผาผลาญ (metalbolized) ในรายที่มีไตลมเหลวอยางรุนแรง คาครึ่งชีวิตของ สารนี้เพิ่มขึ้นเปน 6-16 ชั่วโมง สารนี้ยังถูกขับออกจากรางกายไดโดยทางอุจจาระ และโดยการเผาผลาญ จึงไมมีเหลือ ตกคางอยูในรางกาย คอลลอยดชนิดนี้ไมรบกวนการแข็งตัวของเลือด และไมทําลายระบบการทําลาย fibrin ของรางกาย (fibrinolytic system) ฉะนั้นจึงใหจํานวนมากไดโดยไมมีขอหามหรืออันตรายใดๆ คุณสมบัติที่ดีอีกประการหนึ่งของ polygeline คือไม รบกวนการหาหมูเลือดและ cross matching ปฏิกิริยาการแพสารคอลลอยดชนิดนี้เกิดขึ้นจากการที่มี histamine หลั่งออกมามากขึ้นจึงมีอาการแพที่ผิวหนัง เทานั้น ไมไดเกิดมีปฏิกิริยาทางอิมมูน (immunological reation) จึงไมพบวามี anaphylactoid reactions ประโยชนของ Polygeline ที่ใชในการรักษา ขอบงชี้ที่สําคัญของการใช polygeline มี 3 ประการ ดังนี้ 1. ปริมาตรของเลือดลดลง (Hypovolemia) Polygeline จะเปนประโยชนในการใชชดเชยปริมาตรของเลือดที่เสียไป ใชกันมากในการที่ผูปวยเสียเลือดไป ประมาณ 20-40 % ของปริมาตรของเลือดทั้งหมด (ประมาณ 1,000 - 2,000 มิลลิลิตร ในผูใหญ) การให polygeline 500 มิลลิลิตรในผูใหญจะทําใหฮีโมโกลบินลดลง 1 กรัม% (ฮีมาโตคริท ลดลง 3%) ฉะนั้นในผูปวยที่มีฮีโมโกลบินในเกณฑ ปกติมากอนสามารถที่จะให polygeline ไดถึง 1,000- 1,500 มิลลิลิตร กอนที่จะมีความจําเปนจะตองใหเลือด ในปจจุบัน พบวาผูปวยทนการเสียเลือดไดถึงขนาดฮีโมโกลบิน ลดลงถึง 8-10 กรัม% (ฮีมาโตคริทลดลงถึง 24-30 % ) ผูปวยยังไม มีอันตรายถึงแกชีวิต ฉะนั้นในการใชคอลลอยดประเภทนี้ควรจะวัดฮีโมโกลบินและฮีโมคริทเพื่อเฝาระวังการเปลี่ยนแปลง เพื่อที่จะใชเปนขอชี้บงในการกําหนดปริมาตรของน้ํายาคอลลอยด และบอกไดวา เมื่อไรจึงจําเปนจะตองใหเลือด

2. ปริมาตรของเลือดลดลงโดยการเปรียบเทียบ (Relative Hypovolemia) ในการใหยาสลบ spinal หรือ epidural anesthesia หรือในการใหยาสลบ general anesthesia ในระยะตนใน บางโอกาส intravascular space จะขยายตัวซึ่งทําใหมองดูเหมือนวาปริมาตรของเลือดลดลง ทั้งๆ ที่ตามความเปนจริง แลวปริมาตรของเลือดไมไดลดลงแตเมื่อชองวางภายในระบบการไหลเวียนขยายตัวออก จึงทําใหมองเห็นวาปริมาตรของ เลือดนั้นลดลงไปกวาเดิม ในการใหยาสลบทางไขสันหลัง 2 วิธีนั้น จะทําใหชองวางภายในระบบไหลเวียนเลือดขยายตัว ไดตั้งแต 1 ถึง 5 ชั่วโมง ทั้งนี้ขึ้นอยูกับวาใชยาชาชนิดไหนฉีดเขาไป ยาชานั้นไปยับยั้ง sympathetic nerve นานเทาไร การใช polygeline ใหเขาเสนเลือดจะชวยแกปญหากรณีนี้ไดอยางดี 3. ใชเจือจางเลือด (Hemodilution) ปจจุบันการผาตัดบางชนิด โดยเฉพาะอยางยิ่งการผาตัดเสนเลือดใหญ หรือการผาตัดใหญที่จําเปนตองใชเลือด แตไมตองการรับเลือดจากผูอื่น และผูปวยรายนั้นสามารถคอยเวลาของการผาตัดที่เนิ่นนานออกไปได ศัลยแพทยจะเจาะ เลือดออกจากผูปวยกอนผาตัด 2-3 หนวย แลวให polygeline ทดแทนเลือดที่เจาะออกมา 1,000- 1,500 มิลลิลิตร แลว จึงทําการผาตัด ในระหวางการผาตัดนั้นเขาให polygeline ทดแทนการเสียเลือดขณะผาตัด เขาจะเอาเลือดของผูปวยที่ เจาะออกมาเก็บไวนั้นใหผูปวย ถาผูปวยมีฮีโมโกลบินลดลงจนถึงเกณฑที่จะตองใหเลือด แตถาผูปวยยังมีฮีโมโกลบินที่ยัง ไมต่ําพอเขาก็ยังไมใหเลือด แตจะนําเอาเลือดของผูปวยที่เจาะเก็บเอาไวนั้นมาให ผูปวยเมื่อผาตัดเสร็จเรียบรอยแลว คุณสมบัติของ Polygeline เมื่อพิจารณาถึงคุณสมบัติของ polygeline เปรียบเทียบกับคุณสมบัติที่ดีทั่วๆ ไปของคอลลอยดจะเห็นไดวา polygeline มีคุณสมบัติดังตอไปนี้ 1. โมเลกุลของ polygeline มีขนาดน้ําหนักโมเลกุลอยูระหวาง 5,000- 50,000 แสดงวาขนาดของโมเลกุลของสาร นี้ไมแตกตางกันมากนัก รูปรางของโมเลกุลเปนรูปกลม คุณสมบัติทั้งสองประการนี้คลายกับโมเลกุลของสารที่อยูใน พลาสมามาก ฉะนั้ น จึ ง มี ผ ลทางออสโมซิ ส เหมื อ นกั บ พลาสมาไม ส ะสม และเคลื่ อ นไหวได เ หมื อ นกั บ โมเลกุ ล ของ อัลบูมินในพลาสมาคอลลอยดชนิดนี้มีน้ําหนักโมเลกุลเฉลี่ย 35,000 ซึ่งนับวาต่ําเมื่อใหเขาเสนเลือดจะไปเจือจางเลือดทํา ใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และลดความหนืดของเลือด 2. Pogeline มีความดันออนโคติค (oncotic pressure) เทากับ 350-390 มิลลิลิตรน้ํา สวนความดันออนโคติค ของพลาสมาคือ 330-350 มิลลิลิตรน้ํา ซึ่งนับวาความดันออนโคติคของเหลวทั้งสองชนิดนี้เหมือนกัน (isooncotic) ฉะนั้น เมื่อใหเขาเสนเลือดจะไมทําใหสมดุลระหวางของเหลวภายนอกและภายในเสนเลือดเสียไป เนื้อเยื่อทั่วไปภายนอกเสน เลือดไมขาดน้ํา (dehydration) หนาที่ของเซลลของรางกายทั่วๆ ไป ก็ยังคงเหมือนเดิม ไมเสียไปจึงไมจําเปนที่จะตองให น้ํายาคริสตอลลอยด เพิ่มเติมอีก polygeline จะชวยชดเชยปริมาตรของพลาสมาที่เสียไป แตจะไมขยายปริมาตรของ พลาสมา 3. Polygeline ทําใหความหนืดของเลือดลดลง มีผลทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น 4. ของเหลวชนิดนี้ไมเปนแอนติเจน จึงไมทําใหเกิดปฏิกิริยาอิมมูนไมเกิด anaphylactoid reaction เปนแต เพียงกระตุนใหมีการหลั่ง histamine มากกวาปกติ จึงทําใหเกิดการแพไดเพียงอาการคันของผิวหนัง ไมมีอันตรายถึง แกชีวิต 5. Polygeline มีคาครึ่งชีวิตในเลือดประมาณ 6 ชั่วโมง นับเปนระยะเวลาที่พอเหมาะในการแกไขภาวะการลด ปริมาตรของเลือดอยางกระทันหันเมื่อใหของเหลวชนิดนี้เขาเสนเลือดไปกอน จะทําใหปริมาตรของเลือดในการไหลเวียน สูงขึ้นและคงตัวอยูไดหลายชั่วโมง ใหระยะเวลาที่พอเหมาะที่จะจัดการกับผูปวยใหกลับคืนสูสภาวะปกติ อวัยวะตางๆ ของ รางกายยังไมทันจะเสียหนาที่ไปเพราะการขาดเลือด หรือขาดออกซิเจน

เลือด การใหเลือดแกผูปวยนั้นกระทําตอเมื่อมีความจําเปนจริงๆ เทานั้น โดยจะตองใชความระมัดระวังเปนอยางมาก เนื่องจากพบวามีโรครายหลายโรคที่ถายทอดโดยการใหเลือด เชน โรคเอดส โรคตับอักเสบที่เกิดจากเชื้อไวรัสตับอักเสบ ชนิดบี หรือชนิดนอนเอนอนบี โดยทั่วๆ ไป เราจะใหเลือดแกคนที่มีรางกายปกติแลวเสียเลือด ตอเมื่อคนนั้นเสียเลือด จนฮีโมโกลบินลดต่ําลงถึง 8-10 กรัม% หรือฮีมาโตคริต 24-30 % ผลเสียจากการใหเลือดที่สําคัญมีดังตอไปนี้ 1. นําพาโรคไปสูผูรับ ดังเชนโรคที่กลาวมาแลว และโรคอื่นอีก เชน มาลาเรีย ซิฟลิส 2. อาจใหเลือดผิดหมูทั้ง ABO และ Rh 3. เลือดเปนแอนติเจน จึงทําใหเกิดการสรางภูมิตานทานได 4. เลือดเปนโปรตีนจึงทําใหเกิดการแพ (allergy) ได 5. ถายทอดอิมมูน isohaemagglutinins จากคนที่มีไปยังผูรับที่ไมมีได 6. อาจทําใหเกิดปฏิกิริยาที่ทําใหเม็ดเลือดแตก (hemolytic reaction) ซึ่งเกิดจากการใหเลือด หรือ immunological factor 7. อาจทําใหเกิด isoimmunization อื่นๆ ของเหลวที่นํามาใหเขาเสนเลือดนอกจาก คริสตอลลอยด คอลลอยด และ เลือด แลวยังมีของเหลวอื่นอีกเชน fat emulsion ดังที่ไดกลาวมาแลว สรุป รางกายของมนุษยมีน้ําเปนสวนประกอบที่สําคัญมาก และเปนสวนประกอบที่มีมากที่สุดของรางกายคือ มีถึง ประมาณรอย 60 โดยน้ําหนักน้ําในรางกายแบงออกเปน 2 ประเภท น้ําภายในเซลล และน้ําภายนอกเซลล น้ําภายนอก เซลลมี 2 ชนิด ไดแก น้ําที่อยูภายในเสนเลือด และ น้ําที่อยูภายนอกเสนเลือด น้ําที่อยูภายนอกเซลลเปนตัวสําคัญใน การควบคุม สมดุลของน้ําและเกลือ แร ของเหลวที่จ ะนํา มาทดแทนหรือ ชดเชยการสู ญเสียน้ําของรา งกาย จึงควรมี สวนประกอบใกลเคียงกับน้ํา ที่อยูภายนอกเซลลมากที่สุด ของเหลวที่นํ ามาใชใหเขา เสนเลือดมี 4 ประเภท คือ คริสตอลลอยด คอลลอยด เลือด และอื่นๆ ขอบงชี้ของการใหของเหลวเขาเสนเลือดมี 5 ประการ คือ ใชเปนทางน้ํายาเขาสูรางกาย เพื่อรักษาระดับน้ําและ เกลือแรของรางกาย เพื่อทดแทนและเสริมสรางน้ําและเกลือแรที่สูญเสียไป เพื่อใหสารอาหารและเพื่อชดเชยการเสียเลือด คริสตอลลอยดเปนน้ํายาที่ประกอบดวย โมเลกุลของสารละลายเกลือแรละลายอยูในน้ํา หรือในน้ํายาเดกซโตรส หรืออาจเรียกไดวา “สารละลายเกลือแร” มี 3 ชนิด ไดแก ไอโสโทนิก ไฮเปอรโทนิก และ ไฮโปโทนิก ซึ่งมีที่ใชตางๆ กัน ที่ใชกันมากคือชนิดไอโสโทนิก และไฮโปโทนิก น้ํายาคริสตอลลอยด เมื่อใหเขาเสนเลือดจะอยูในเลือดไดเพียง 2 ชั่วโมง ก็จะออกไปอยูนอกเสนเลือด ไปอยูในเนื้อเยื่อระหวางเซลลหมด และจะตองใหในปริมาตรถึง 3 เทาของปริมาตรของเลือด ที่เสียไปจึงจะกูใหความดันของเลือดกลับมาเทาเดิมได การใหน้ํายาคริสตอลลอยดเขาเสนเลือดในปริมาณมาก จะมี ผลเสียตามมามากมายเริ่มตั้งแตเนื้อเยื่อทั่วไปของรางกายบวมน้ํา การบวมน้ําของปอด เนื้อเยื่อทั่วไปขาดออกซิเจนแผล หายยากและติดเชื้องาย เลือดแข็งตัวเร็วขึ้นและโรคแทรกอื่นๆ คอลลอยด เปนน้ํายาที่มีสวนประกอบเปนสารประกอบที่มีโมเลกุลใหญละลายอยูในน้ํา รวมกับโมเลกุลของสาร ตางๆ ในความเขมขนตางๆ คอลลอยดที่นํามาใหเขาเสนเลือดนั้น เริ่มตนมาตั้งแตการใชเจลาตินเมื่อป 1896 ไดมีการ

ปรับปรุงเรื่อยมาจนถึงปจจุบัน ซึ่งมีน้ํายาคอลลอยดที่ใชกันทั่วไปมี 3 ประเภท คือ Dextran, Polygeline และ Modified Fluid Gelatin คุณสมบัติที่ดีของคอลลอยดมี 10 ประการ Dextran มีคุณสมบัติเฉพาะ 3 ประการ ซึ่งนําเอามาใชเปนประโยชนในการรักษา คือชดเชยปริมาตรของเลือด ที่เสียไป ทําใหการไหลเวียนของเลือดดีขึ้น และปองกันการเกิดกอนเลือดดีขึ้นในกระแสเลือด อันตรายที่สําคัญของ dextran คือ anaphylactoid reaction ซึ่งอาจถึงแกชีวิต Polygeline นํามาใชประโยชนในการรักษาโดยมีขอบงชี้ 3 ประการ ไดแก ปริมาตรของเลือดลดลง ปริมาตรของ เลือดลดลงโดยการเปรียบเทียบและใชเจือจางเลือด การแพคอลลอยดชนิดนี้มีเพียงแคอาการคันทางผิวหนัง ไมทําใหถึงแก ชีวิต เอกสารอางอิง 1. กิติ ตยัคคานนท. การใหของเหลวเพื่อชดเชยปริมาตรของเลือด. สาสนยา. ปที่ 4 ฉบับที่ 3 พฤษภาคม–มิถุนายน 2531. 2. รุงทิวา หมื่นปา. การใหสารน้ําและรักษาภาวะผิดปกติของเกลือแร. ใน: สมชาย สุริยะไกร, นุจรี ประทีปะวณิช, ศิริลักษณ ใจซื่อ, เดนพงศ พัฒนเศรษฐานนท, บรรณาธิการ. คูมือฝกปฏิบัติงานบริบาลทางเภสัชกรรม (ฉบับ พกพา). พิมพครั้งที่ 2. ขอนแกน: คณะเภสัชศาสตร มหาวิทยาลัยขอนแกน; 2547. หนา 207-30.

Related Documents

Fluid
May 2020 33
Fluid
May 2020 36
Brake Fluid
June 2020 14
Fluid Dynamics
October 2019 40
Fluid Mixing.docx
April 2020 19