English For Specific Purposes

  • November 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View English For Specific Purposes as PDF for free.

More details

  • Words: 471
  • Pages: 4
English for Specific Purposes: Tailoring Courses to Student Need and to the Outside World ภาษาอังกฤษสำาหรับจุดมุ่งหมายเฉพาะ : การออกแบบหลักสูตรการเรียนรู้ให้สอดคล้องกับความ ต้องการของนักเรียนและโลกภายนอก

What is ESP? อะไรคือความหมายของภาษาอังกฤษสำาหรับจุดมุ่งหมายเฉพาะ ESP (English for Specific Purposes) คือการขับเคลื่อนการเรียนภาษาอังกฤษบนพื้น ฐานของปัญหาที่ต้องพิสูจน์ว่าทุกรูปแบบของการสอนภาษาควรจะต้องออกแบบให้ถูกต้องเหมาะสม เป็นการ เฉพาะให้ตรงกับความต้องการใช้ภาษาของผู้เรียน รวมถึงความเหมาะสมต่อวัฒนธรรมในสังคมด้วย ผู้ที่เข้ามาเรียนรู้ภาษาอังกฤษโครงการ ESP ซึง่ ก็มีปริมาณเพิ่มมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจจะมีจุดมุ่งหมายที่แตกต่างกัน เช่น เพื่อความก้าวหน้าทางด้านการเรียนต่อ, อาชีพ รายได้, ธุรกิจ หรือแม้แต่เป็นผู้อพยพ เป็นต้น ESP Categories (การจำาแนกประเภทของ ESP) เราพอที่จะจำาแนกประเภทของการเรียนภาษาอังกฤษโดยมีจุดมุ่งหมายเฉพาะได้ตามรูปแบบของ แผนผังดังนี้ English for Specific Purposes English for Academic Purposes (EAP) English for Science English for Business English for Medical English for And Technology (EST) and Economics (EBE) Purposes (EMP) the Law (ELP) (Academic) (Academic) (Academic) (Academic)

English for Occupational Purposes (EOP) English for Professional Purposes (EPP)

Vocational ESL (VESL)

English for English for Pre-employment Occupational Cluster Workplace Medical Business VESL Specific VESL VESL VESL Purposes (EMP) Purposes (EBP)

Central ESP Components องค์ประกอบโดยรวมของ ESP ประกอบด้วย 1. มุ่งเน้นไปที่ความต้องการของผู้เรียน โดยไม่มีการเสียเวลา 2. มีความเกี่ยวข้องกับผู้เรียน 3. ประสบความสำาเร็จกับการเรียนที่มีส่วนร่วม 4. ได้ผลที่มีค่ากว่าการเรียนภาษาอังกฤษทั่วไป( General English) คำาจำากัดความของ ESP จำาเป็นต้องแยกระหว่างคุณลักษณะที่สมบูรณ์คงที่ 4 ประการกับคุณลักษณะ ที่เปลี่ยนแปลงได้ 2 ประการ คือ 1. คุณลักษณะที่สมบูรณ์คงที่ ประกอบด้วย 1.1 การออกแบบการเรียนรู้ต้องสอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียน 1.2 เกี่ยวข้องกับเนื้อหาที่มุ่งไปสู่เฉพาะเรื่อง 1.3 ความเหมาะสมของภาษาต่อการจัดกิจกรรมในรูปประโยค , คำา , ข้อความ , ความหมาย และ การวิเคราะห์ข้อความจะต้องอยู่เป็นศูนย์กลาง 1.4 ตรงกันข้ามกับการเรียนภาษาอังกฤษทั่วไป(General English) 2. คุณลักษณะที่เปลี่ยนแปลงได้ ประกอบด้วย 2.1 เข้มงวด จำากัดต่อการเรียนทักษะการใช้ภาษา เช่น ทักษะการอ่านโดยเฉพาะ 2.2 ไม่สอนตามวิธีการที่ตกลงใจไว้ล่วงหน้า Issues Addressed in ESP program planning ประเด็นที่จะพูดถึงในการวางแผนการสอน ESP program มีองค์ประกอบที่จะต้องพิจารณา คือ 1. ผู้มสี ่วนได้เสีย , ผู้ลงทุน ( Stakeholder) อาจเป็นรัฐบาล ผู้ประกอบการ สถาบันการศึกษาหรือ แม้แต่ตัวนักเรียนเอง เป็นผู้ผลักดันกำาหนดให้เกิดการเรียนรู้ ESP program เพื่อตอบสนองความต้องการ ของโลกใน ทุก ๆ ด้าน ทั้งในแง่มมุ ของอาชีพ ธุรกิจ การเมือง การศึกษา ทั้งในปัจจุบันและก็อนาคต 2. การเตรียมให้มีครูผู้สอนพร้อม (Available Teachers) เป็นประเด็นที่สำาคัญในการพิจารณา วางแผน ESP program ว่ามีครูผู้สอนพร้อมและเพียงพอหรือยัง เพราะครูเป็นผู้ที่มีอิทธิพลต่อรูปแบบของ หลักสูตร ESP ครูต้องเป็นผู้รู้และเข้าใจเกี่ยวกับวิชาเฉพาะด้านนั้น ๆ อย่างชัดเจน สามารถถ่ายทอดเพื่อที่จะ ตอบสนองความต้องการที่จะพัฒนาของนักเรียนได้ 3. ประเด็นของการเรียนในสถานการณ์จริง (Authenticity Issues) เนื่องจาก ESP เป็นหลักสูตร พิเศษเฉพาะด้านไม่เหมือนกับการเรียนภาษาอังกฤษทัว่ ไป ดังนั้นความพยายามที่จะทำาให้เกิดผลสำาเร็จสูงสุดใน ด้านภาษา กลยุทธ์ และสถานการณ์จริง จึงถูกนำามาใช้ในการออกแบบหลักสูตรเพื่อนักเรียนจะได้ทำาการฝึกเรียน ในสถานการณ์จริง 4. การตัดสินใจเลือกหลักสูตร (Curricular Decisions) ในการตัดสินใจเลือก หลักสูตร ESP practitioners ได้รับอิทธิพลจากแนวโน้มของภาษาศาสตร์ประยุกต์ และการสอน ESL / EFL

โดยทั่ว ๆ ไปมาเป็นเวลาหลายปี เมื่อนำามาสัมพันธ์กับเด็กนักเรียน ผ่านการเปลี่ยนแปลงรูปแบบวิธีการสอนจาก Grammar-based ไปเป็น Communicative ไปสู่ Process-based และ Genre-based Curricula แต่อย่างไรก็ตามแนวโน้มของการเรียนปัจจุบัน เป็นความรับผิดชอบพื้นฐานของ ESP Practitioners ทีจ่ ะเป็นบริบทแวดล้อมและต่อความอ่อนไหวของเด็กนักเรียน จุดมุ่งหมายของหลักสูตร ESP ใด ๆ จึงต้องมุ่งไปหาภาษาศาสตร์เฉพาะด้านและความต้องการฝึกของนักเรียนซึ่งพวกเขาเตรียมสำาหรับ การระบุชี้ชัดในบริบทของภาษาอังกฤษระดับกลาง ไม่ควรมีเนื้อหา, ข้อความคำาพูด, งาน หรือกิจกรรมที่อยู่นอก เหนือความต้องการของนักเรียน และ ความต้องการที่มีต่อบริบทที่เป็นเป้าหมาย 5. การประเมินผล (Assessment) การประเมินผลต้องมีความเหมาะสมกับเนื้อหาที่สอน การประเมินผล /การ สอบจะทำาให้เราสรุปได้ว่าผู้เข้ารับการสอบมีความสามารถใช้ภาษาเฉพาะด้านได้ดีมากน้อยอย่างไร เพราะ การสอบเกี่ยวกับการเรียนภาษาเฉพาะด้าน เป็นการสอบที่มีเนื้อหาการสอบ และ วิธีกรที่มาจากการวิเคราะห์ คุณลักษณะของสถานการณ์การใช้ภาษาเฉพาะด้านนั้น ๆ Preparing an ESP Curriculum การเตรียมหลักสูตร ESP หลักสูตร ESP แม้จะมีหลาย ๆ ส่วนคล้ายกับหลักสูตรภาษาอังกฤษทั่วไปหรือบางอย่างอาจจะมีอยู่ใน หลักสูตร Content-Based แต่ก็มีข้อแตกต่างกับวิธีการสอนอื่น ๆ อยู่ และ เป็นเรื่องจำาเป็นที่จะต้องทำาเพื่อ เตรียมหลักสูตร เช่น Needs Assessment ประเมินความต้องการของผูเ้ รียน เช่นอยากจะเรียนอะไร หรือ เรียน อย่างไร การประเมินความต้องการอาจจะทำาได้โดยวิธีดังต่อไปนี้ 1. ใช้แบบสอบถามและแบบสำารวจ 2. การสัมภาษณ์ทั้งผู้เชี่ยวชาญ , นักเรียน , ผูเ้ กี่ยวข้อง 3. การสังเกตและวิเคราะห์ 4. ใช้เครื่องมือวัดความสามารถและสไตล์การเรียนของนักเรียน 5. รูปแบบของการทำางาน เช่น การทำางานเป็นกลุ่มเป็นทีม 6. คำาพูดหรือข้อเขียนสะท้อนมาจากนักเรียนหรือผู้ควบคุมดูแล เมื่อเรารู้ความต้องการ เราก็สามารถสร้างจุดประสงค์ในการเรียนและสร้างชิ้นงาน หรือ วิธีการสำาหรับ วัดผลตัวโปรแกรมหรือตัวนักเรียนและพัฒนาความก้าวหน้าของหลักสูตรได้ Relating to Content ความเกี่ยวข้องต่อเนื้อหาเมื่อเป็นหนทางการเข้าถึงการเรียนรู้ ดังนั้น ผู้ สอนต้องประเมินต่อเนื่องไปเพื่อจะหาว่าเนื้อหาชนิดไหนจะเป็นศูนย์กลางการเรียน เนื้อหาถูกใช้และมีคุณค่า อย่างไร รวมถึงความสัมพันธ์ระหว่างคำาศัพท์กับความคิดรวบยอดด้วย นอกจากนี้การเลือกเนื้อหาจะต้องเป็น เนื้อหาที่สร้างแรงจูงใจให้เด็กนักเรียนด้วย เพราะเป็นปัจจัยจำาเป็นที่สำาคัญอีกประการหนึ่ง ต่อการประสบความ สำาเร็จในการออกแบบหลักสูตร Identifying and Analyzing Essential Language and Discourses การระบุชี้ชัดและการวิเคราะห์ความจำาเป็นของภาษาและข้อความคำาพูด

ตั้งแต่โปรแกรม ESP ถูกพิจารณาว่าเป็นภาษาศาสตร์ประยุกต์ ผูจ้ ัดการเรียนรู้ต้องอาศัยแนวโน้มนี้เพื่อ วิเคราะห์จุดมุ่งหมายของหลักสูตร, ตัวภาษาและประเภทคำาพูดของสถานการณ์ตามเป้าหมาย ซึ่งนักเรียนจะต้อง เรียนอยู่ด้วยหรือทำางานด้วยโดยได้ศึกษาถึงตัวภาษาประเภทคำาพูดจากสาขาอาชีพ หรือการใช้เทคโนโลยีต่าง ๆ เพื่อหาแนวโน้มและทิศทางของการใช้ภาษาและนำามากำาหนดเป็นรูปแบบวิธีเรียน Program Models รูปแบบของโปรแกรมการเรียน ขอบข่ายของหลักสูตรและโปรแกรม ESP กว้างขวางมาก เพราะครอบคลุมถึงความต้องการ ทักษะการใช้ภาษาและกระบวนการ แต่สิ่งที่แสดงถึงความชัดเจนของรูปแบบโปรแกรม ESL ได้ดีก็คือเกณฑ์ ของ VESL ซึ่งระบุได้ดังนี้ Preemployment VESL โปรแกรมสำาหรับผู้ที่ยังไม่ได้ทำางาน จะปรับปรุงมาจากการเรียน ภาษาอังกฤษทั่วไป ซึ่งเนื้อหาอาจจะมุ่งเน้นที่การเตรียมความพร้อมที่จะก้าวไปสู่การทำางานเป็นการฝึกการทำา หน้าที่ด้านต่าง ๆ ของงาน หรืออาจจะเป็นความเตรียมเพื่อการสัมภาษณ์เข้าทำางาน และ ทักษะการทำางานเบื้องต้น Occupation-Specific VESL โปรแกรมสำาหรับผู้ที่ทำางานในสาขาเฉพาะด้าน เนื้อหาจะเกี่ยวข้องกับงานแต่ละงานโดยเฉพาะอาจจะสอนได้ในลักษณะของการเตรียมความพร้อม หรือ ควบคู่ไป โปรแกรมวิชาชีพ Cluster VESL โปรแกรมการสอนเป็นกลุ่ม เป็นชั้นเรียนที่มีนักเรียนจากหลายสาขาอาชีพมาเรียน รวมกัน แต่ภายหลังนักเรียนแต่ละคนจะต้องทำางานและสอบประเมินผลในวิชาชีพของตน Workplace VESL โปรแกรมการสอนในสถานที่ทำางาน กรณีนี้จะใช้กับทักษะและเนื้อหาของ สถานที่ทำางานเฉพาะนายจ้างมักจะจ่ายค่าเรียนบางส่วน หรือ ทั้งหมดให้ คนงานจะได้รับอนุญาตให้ไปเรียน ระหว่างช่วงวันทำางาน ESP and the Future ในอนาคต ESP อาจจะรวบรวมการเรียนรู้ในประเภทต่าง ๆ เพิ่มมากขึ้น โดยเฉพาะกับการเรียนที่บ้าน หรือในที่ทำางานและในชุมชน มันอาจจะนำาไปสู่การพัฒนาหลักสูตรที่ดีขึ้นเป็นการเรียนโดยผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง หรือ มีผู้สอนเป็นทีมงานให้ความรู้ โดยเฉพาะในสาขา VESL และ Professional Programs อาจ จะมีความเกี่ยวพันเพิ่มมากขึ้นระหว่าง ESP กับการพัฒนาเศรษฐกิจและการสร้างชาติ อย่างไรก็ตามทิศทางของ ESP จะยังคงมีศูนย์กลางอยู่ที่การสอน ESL และ EFL ในทั่วทุกมุมโลก

สรุปเนื้อหาบทเรียนโดย นายสุวัฒน์ อินทจักร โรงเรียนเมืองสุราษฎร์ธานี

Related Documents