Dna Replication

  • May 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Dna Replication as PDF for free.

More details

  • Words: 3,004
  • Pages: 27
พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

1

บทที่ 3 การจําลองดีเอ็นเอ (DNA replication) คํานํา การจําลองดีเอ็นเอในแตละโครโมโซม (chromosome) เกิดขึ้นในระยะเอสเฟต (S phase หรือ synthesis phase) ของระยะอินเทอรเฟต (interphase) ในกระบวนการแบงเซลลแบบไมโตซีส (mitosis) และไมโอซีส (meiosis) ทําให 1 โครโมโซมมี 2 ซีสเตอรโครมาติด (sisterchromatid) ซึ่งแตละโคร มาติดประกอบดวยดีเอ็นเอ 1 โมเลกุล ในป ค.ศ. 1953 Watson และ Crick ไดตั้งสมมติฐานเกีย่ วกับการ จําลองดีเอ็นเอสายคู (double helix) วามีการจําลองเปนแบบกึ่งอนุรักษ (semiconservative DNA replication) คือดีเอ็นเอสายคูมีการแยกออกจากกันเปนดีเอ็นเอสายเดีย่ ว (single strand DNA) 2 สาย ซึ่งแตละสายทําหนาที่เปนสายแมแบบ (template strand) ของดีเอ็นเอสายใหม (daughter strand) ที่มี ลําดับคูสมกัน (base complementary) กับดีเอ็นเอสายแมแบบทุกประการ เมื่อสิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ จะได ดีเอ็นเอ 2 สาย ที่แตละโมเลกุลของดีเอ็นเอประกอบดวยดีเอ็นเอสายแมแบบ 1 สาย พันเกลียวกับ ดีเอ็นเอสายใหมอีก 1 สาย ดังมีรายงานการทดลองของ Mesclson และ Stahl (1958) คือทําการทดลอง โดยเลี้ยง E. coli ในอาหารที่มีธาตุไนโตรเจนกัมตรังสี (15N) โดยใช 15(NH4)2SO4 ซึ่งเปนองคประกอบ หลักของไนโตจีนัสเบส (nitrogenous base) เพื่อใหดีเอ็นเอของ E. coli ถูกติดฉลาก (label) ดวย 15N ทําใหได ดีเอ็นเอที่มีน้ําหนักมากคือ 15N/15N (heavy DNA) จากนั้นนําแบคทีเรียที่มีดีเอ็นเอชนิด 15 15 N/ N ดังกลาวไปเลี้ยงในอาหารที่มี 14N แลวปลอยใหเกิดการจําลองดีเอ็นเอผานไป 1 รุน (generation) จึงทําการสกัดดีเอ็นเอจากแบคทีเรีย จากนั้นนํามาปนเหวีย่ งใน CsCl gradient ไดแถบดี เอ็นเอ 1 แถบ คือแถบที่มีน้ําหนักที่ 15N /14N (hybrid DNA) แลวเมื่อมีการจําลองดีเอ็นเอในรุนที่ 2 ได แถบดีเอ็นเอ 2 แถบ ที่มีน้ําหนักอยูระหวาง 15N /14N กับแถบที่มีน้ําหนักเบา 14N /14N (light DNA) อยู ดานบน จากนัน้ เมื่อมีการจําลองดีเอ็นเอในรุนที่ 3 พบวาจะไดดีเอ็นเอที่น้ําหนักเบา 14N /14N เพิ่มมาก ขึ้น ซึ่งเห็นเปนแถบหนา จึงยืนยันไดวาการจําลองดีเอ็นเอของสิ่งมีชีวิตเปนแบบกึ่งอนุรักษ (รูปที่ 3.1)

รูปแบบของการจําลองดีเอ็นเอ (DNA replication mode) แบงไดเปน 3 รูปแบบ คือ 1. การจําลองดีเอ็นเอแบบทีตา (Theta mode of DNA replication) 2. การจําลองดีเอ็นเอแบบซิกมา (Rolling circle or sigma mode of DNA replication)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

2

3. การจําลองดีเอ็นเอแบบตัววาย (Y-shaped mode of DNA replication)

รูปที่ 3.1 การจําลองดีเอ็นเอเปนแบบกึ่งอนุรักษ (semiconservative DNA replication) ในการทดลองของ Mesclson และ Stahl (ที่มา : Hartl และ Jones, 1998) I. การจําลองดีเอ็นแบบทีตา (Theta mode of DNA replication) Cairna (1963) รายงานวา การจําลองดีเอ็นรูปวงแหวนปลายปดของ E. coli เปนแบบ theta mode กลาวคือ ที่ตําแหนง oriC ของดีเอ็นเอวงแหวนเกลียวคูจะแยกเปนดีเอ็นเอสายเดี่ยวโดยไมมีการ ตัดสายดีเอ็นเอวงแหวนใหเปดออก เรียกจุดแยกบนดีเอ็นเอนี้วา bubble โดยบริเวณ oriC จะมีเพียง 1 จุดบนดีเอ็นเอวงแหวน (ring DNA) ของ E. coli จากนั้นมีการการจําลองดีเอ็นแบบสองทิศทาง

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

3

(bidirectional replication) (รูปที่ 3.2) ไปตามเสนดีเอ็นเอของ E. coli ซึ่งทําหนาที่เปนดีเอ็นเอแมแบบ เมื่อการจําลองดีเอ็นดําเนินไปครึ่งกระบวนการ จะเห็นดีเอ็นเอวงแหวนมีรูปรางคลาย theta (θ) และเมื่อ สิ้นสุดกระบวนการการจําลองดีเอ็น จะไดดีเอ็นเอวงแหวน 2 โมเลกุล ซึ่งแตละโมเลกุลประกอบดวย ดีเอ็นเอ 2 สาย สายหนึ่งเปนสายแมแบบ และอีกสายหนึ่งเปนสายใหม (รูปที่ 3.3) หมายเหตุ จุด oriC ประกอบดวยเบสจํานวน 245 คูเบส (base pairs) โดยมีลําดับเบสจํานวน 9-13 เบส เรียงซ้ําๆ กัน ที่เรียกวา repeating sequences of 9 and 13 bases (9 mers และ 13 mers)

รูปที่ 3.2 การจําลองดีเอ็นแบบสองทิศทาง ของโปรคารีโอตและยูคารีโอต (ที่มา : Russell, 1991)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

4

รูปที่ 3.3 การจําลองดีเอ็นแบบ theta mode ของ E. coli (ที่มา : http://bioweb.wku.edu/courses/biol22000/14Topoisomerase/images/F12-18.JPG, 2547)

II. การจําลองดีเอ็นแบบซิกมา (Rolling circle or sigma mode of replication) (รูปที่ 3.4) เปนการจําลองดีเอ็นเอแบบทิศทางเดียว (unidirectional replication) พบในเอฟแฟกเตอร (F-factor) ของแบคทีเรีย และไวรัสบางชนิด เชน bacteriophage, λ phage และ φ X 174 phage ซึ่งมี ขั้นตอนการจําลองตัวเองดังนี้ 1. สายใดสายหนึ่งของดีเอ็นเอเกลียวคูของวงแหวนดีเอ็นเอถูกตัดที่พันธะฟอสเฟอรไดเอส เทอร (phosphodiester bond) เกิดรอยขาด (nick) ทําใหเกิดปลาย 3/OH และปลาย 5/PO4 อิสระขึ้น 2. บริเวณจุดขาดที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอจะทําหนาที่เปนไพรเมอร (primer) สําหรับเอนไซม ดีเอ็นเอโพลีเมอรเรส (DNA polymerase) เพื่อสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมใหยาวออกไปโดยใชดีเอ็นเอ อีกสายหนึ่งทีไ่ มไดถูกตัดซึง่ อยูในรูปวงแหวนสายเดีย่ วเปนแมแบบ 3. ขณะปลาย 3/OH ที่มีการสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมไปรอบๆ สายดีเอ็นเอวงแหวนสาย เดี่ยวที่ทําหนาที่เปนแมแบบ ก็จะดันใหปลาย 5/PO4 ที่อยูบริเวณรอยขาดคลายตัวออกจากวงแหวนไป เรื่อยๆ หลุดมาเปนดีเอ็นเอสายเดี่ยว (linear single strand DNA) ซึ่งจะถูกใชเปนแมแบบในการ สังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมขึ้นมาอีก 1 สาย โดยดีเอ็นเอสายใหมที่สงั เคราะหขึ้นจะเปนดีเอ็นเอทอน สั้นๆ ที่เรียกวา Okasaki fragment เนื่องจากทิศทางการสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมเปนแบบ 5/ → 3/ ดังนั้นทุกครั้งที่ดีเอ็นเอสายแมแบบที่มีปลาย 5/PO4 ถูกดันออกมาก็จะมีไพเมอรตวั ใหมเขาเกาะแลวเริ่ม กระบวนการสังเคราะหดีเอ็นสายใหมขึ้น จึงทําใหไดดีเอ็นเอสายใหมเปนทอนสั้นๆ 4. เมื่อการจําลองดีเอ็นดําเนินไปไดประมาณครึ่งกระบวนการ จะเห็นดีเอ็นเอวงแหวนมีรูปราง คลายกับ sigma (σ)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

5

5. เมื่อสิ้นสุดกระบวนการ การจําลองดีเอ็น จะเกิดเหตุการณ 2 แบบ คือ 5.1 บริเวณปลาย 5/PO4 ของดีเอ็นเอสายเดี่ยวที่ใชเปนแมแบบ อาจถูกตัดออกหรือไมถูกตัด ออกก็ได นั้น กลาวคือถาถูกตัดออกก็จะไดเปนดีเอ็นโมเลกุลใหม แตถาไมถูกตัดออกก็มีการสังเคราะห ดีเอ็นสายใหมตอไปเรื่อยๆ โดยใช ดีเอ็นเอสายเดี่ยวที่มีปลาย 5/PO4 กลาวเปนแมแบบ 5.2 สายดีเอ็นเอที่มีปลาย 3/OH วางอยูนนั้ ยังคงสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมตอไป เพื่อเขาสูการ จําลองดีเอ็นในรอบที่ 2 และเปนเชนนี้ไปเรื่อย เมื่อสิ้นสุดการจําลองสาย DNA ดังกลาวก็ถูกตัดออกจาก ดีเอ็นเอวงแหวน

รูปที่ 3.4 การจําลองดีเอ็นแบบซิกมา (ที่มา : http://bricker.tcnj.edu/tech/le17/rollcir.gif , 2547 และ http://www.sci.sdsu.edu/~smaloy/MicrobialGenetics/topics/phage/roll-circle.GIF, 2547)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

6

III. การจําลองดีเอ็นแบบตัววาย (Y-shaped mode of replication) (รูปที่ 3.5) พบในยูคารีโอต และไวรัสบางชนิดที่มีดีเอ็นเอมีรูปรางเปนเสน (linear DNA) ซึ่งกระบวนการ จําลองดีเอ็นเอนั้นจะมีจุดเริ่มตน (ori) ของการเกิด replication bubble บนสายดีเอ็นเอ โดยในไวรัสนั้น มีจุด ori เพียงจุดเดียว แตยูคารีโอตมีจุด ori หลายจุดบนดีเอ็นเอสายเดียวกัน ซึ่งในแตละ bubble จะมี การจําลองดีเอ็นเอแบบสองทิศทาง และยังคงดําเนินตอไปเรื่อยๆ จนกระทั่งแตละ bubble มาบรรจบกัน กลายเปน bubble ใหญ ซึ่งการเคลื่อนที่ของ bubble ไปสูปลายดีเอ็นเอนั้นทําใหโครงสรางของดีเอ็นเอมี รูปรางเปน อักษร Y shape เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจําลองดีเอ็นเอได ดีเอ็นเอ 2 โมเลกุล แตละโมเลกุล ประกอบดวยสายเดิมหนึ่งสายและสายใหมที่สังเคราะหขึ้นมาอีกหนึ่งสาย

รูปที่ 3.5 กระบวนการจําลองดีเอ็นเอแบบอักษรวาย (ที่มา Klug : และ Cummingd, 2000)

ปจจัยที่จําเปนตอกระบวนการจําลองดีเอ็นเอ 1. สารตั้งตน (substrate หรือ precursor) สารตั้งตนที่จําเปนในการจําลองโมเลกุลของดีเอ็นเอ คือ ดีออกซีไรโบนิวคลีโอไซดไทร ฟอสเฟต (deoxyribonucleoside triphosphate; dNTP) มี 4 ชนิด คือ ดีออกซีอะดีโนซีนไทรฟอสเฟต (deoxyadenosine triphosphate ;dATP) ดีออกซีกัวโนซีนไทรฟอสเฟต (deoxyguanosine triphosphate; dGTP) ดีออกไซทิดีนซีไทรฟอสเฟต (deoxycytidine triphosphate; dCTP), ดีออกซีไทมิดีนไทร

7

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

ฟอสเฟต (deoxythymidine triphosphate; dTTP) ซึ่งกระบวนการสังเคราะหนิวคลีโอไทดในเซลลนั้น 2 วิธี คือ 1) กระบวนการสังเคราะหขึ้นใหมจากสารโมเลกุลเล็ก (de novo synthesis) เปนกระบวนการ สั ง เคราะห nucleotide จากสารตั้ ง ต น ที่ มี โ มเลกุ ล เล็ ก เช น กรดอะมิ โ น (amino acid) คารบอนไดออกไซด (CO2) แอมโมเนีย (ammonia) และฟอเมต (formate) เปนตน 2) กระบวนการสังเคราะหโดยวิถีกูคืน (salvage pathway) คือ กระบวนการสังเคราะหนวิ คลี โอไทดจากสารอาหาร หรือการสลายกรดนิวคลีอิก หรือนิวคลีโอไทดในรางกาย กระบวนการสังเคราะหนิวคลีโอไทดดังกลาวเกิดขึ้นภายในเซลล โดยเริ่มสังเคราะหโมเลกุลพิ วรีน (purine nucleus) และโมเลกุลไพริมิดีน (pyrimidine nucleus) กอน จากนั้นทําการเชื่อมตออะตอม ของ C และ N ที่ไดจากสารตั้งตนเปนวงแหวนพิวรีน (purine ring) บนโมเลกุลของ 5/phosphoribosyl1-pyrophosphate (PRPP) ซึ่ง C และ N ที่ใชไดมาจากคารบอนไดออกไซด (CO2) ไกลซีน (glycine) กลูตามีน (glutamine) ฟอเมต (formate) และ แอสพาเตต (aspatate) สําหรับวงแหวนไพริมิดีน (pyrimidine ring) สวนประกอบของนิวเคลียสไดมาจากคารบอนไดออกไซด กลูตามีน และ แอสพา เตต (รูปที่ 3.6)

พิวรีน

ไพริมิดีน

รูปที่ 3.6 แหลง C และ N ของวงแหวนพิวรีน และไพริมิดีน (ที่มา : http://medlib.med.utah.edu/NetBiochem/pupyr/pupy12.gif, 2547)

2. ดีเอ็นเอแมแบบ (DNA template) คือดีเอ็นเอสายเดี่ยว (single strand DNA) ที่เกิดจากการแยกของดีเอ็นเอสายคู (double strand DNA) ซึ่งทําหนาที่เปนสายแมแบบในกระบวนการจําลองดีเอ็นเอเพื่อสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมซึ่งมี เบสคูสมเขามาจับคู (complementary base pair) กับดีเอ็นเอสายแมแบบ โดยการจําลองดีเอ็นเอเปน

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

8

แบบกึ่งอนุรักษ คือ เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจําลองดีเอ็นเอ จะไดดีเอ็นเอ 2 โมเลกุล แตละโมเลกุล ประกอบดวยดีเอ็นเอสายเดิมหรือแมแบบ (template strand) 1 สาย กับสายใหมอีกหนึ่งสาย (daughter strand) 3. อารเอ็นเอไพเมอร (RNA primer) คือ อารเอ็นเอ (RNA) สายสั้นๆ (RNA oligonucleotide) ที่ประกอบดวยไรโบนิวคลีโอไทด (ribonucleotide) ประมาณ 5-15 เบส ซึ่งถูกสังเคราะหมาจากอารเอ็นเอโพลีเมอรเรส (RNA polymerase หรือ primase) โดยอารเอ็นเอไพเมอรนี้มีเบสที่เปนคูสม (complementary base) ที่สามารถเขาจับกับดี เอ็นเอแมแบบที่บริเวณจุด bubble โดยใชพันธะไฮโดรเจน นอกจากนี้ที่บริเวณปลาย 3/OH ของ อารเอ็นเอไพเมอรมีปลาย 3/OH อิสระ เพื่อใหดีเอ็นเอโพลีเมอรเรส (DNA polymerase) นําดีออกซี ไรโบสนิวคลีโอไซดไทรฟอสเฟต (dNTP) ที่มีเบสคูสมกับดีเอ็นเอแมแบบเขามาเชื่อมตอดวยพันธะ ฟอสฟอไดเอสเทอร (phosphodiester bond) ดีเอ็นเอสายใหมที่สรางขึ้นมีทิศทางการสังเคราะหแบบ 5/ → 3/ 4. เอนไซม (enzyme) เอนไซมที่เกีย่ วของกับกระบวนการจําลองดีเอ็นมีหลายชนิด ดังนี้ 4.1 Helix uncoiling protein (หรือ helicase) ทําหนาที่สลายพันธะไฮโดรเจนระหวางเบสของ 2 สายโพลีนิวคลีโอไทด เพื่อแยกใหเปน โพลีนิวคลีโอไทดสายเดีย่ ว ซึ่งการทํางานของ helicase เกี่ยวของกับโปรตีน 3 ชนิด คือ dnaA, dnaB และ dnaC ซึ่งโปรตีนเขาเกาะกับดีเอ็นเอสายคู โดยอาศัยพลังงานจากการ hydrolysis ATP 4.2 DNA topoisomerase หรือ DNA gyrase หรือ helix relaxing protein ทําหนาที่คลายปมเหนือจุดแยก (replication fork หรือ replication bubble) โดยการตัดสายใด สายหนึ่งหรือทั้งสองสายของดีเอ็นเอ ณ ตําแหนงเหนือบริเวณจุดแยกเพื่อคลายปมของดีเอ็นเอไมให เกิดปมเวียนขาว (positive suppercoils) หลังจากคลายปมแลวจะเชื่อมตอรอยตัดเขาอยางเดิม ซึ่ง ปฏิกิริยาดังกลาวตองอาศัยพลังงานจากการ hydrolysis ATP 4.3 DNA polymerase ในโปรคารีโอต (Prokaryote) พบวามี DNA polymerase 3 ชนิด ไดแก 1) DNA polymerase I (pol I)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

9

เปนเอนไซมตวั แรกที่ถูกคนพบวามีหนาที่เกี่ยวของกับการจําลองดีเอ็นเอ และซอมแซมดีเอ็น เอ มีโครงสรางเปนโพลีเปบไทด (polypeptide) สายเดี่ยว มีน้ําหนาโมเลกุลประมาณ 109,000 ดาลตัน ซึ่งการทํางานของ DNA polymerase I ตองการดีเอ็นเอแมแบบ หนาที่สําคัญของ DNA polymerase I คือ 1) Proofreading หรือ editing function ในกระบวนการจําลองดีเอ็นเอ ถาสายใหมของดีเอ็นเอ ที่สังเคราะหขึ้นมา (daughter strand) มีการนําเบสที่ไมใชเบสคูสมกับดีเอ็นเอสายแมแบบ DNA polymerase I เขาทําหนาที่ตรวจสอบและดําเนินการแกไข โดยใชคุณสมบัติ 5/ → 3/ exonuclease ตัดนิ วคลีโอไทดที่ผิดนั้นออกไป แลวนํานิวคลีโอไทดที่ถูกตองเขาเชื่อมตอแทน ซึ่งอาจเรียกกระบวนการนี้ วาการซอมแซมดีเอ็นเอ (excision repair) 2) Nick translation เมื่อเกิดการแตกหักของพันธะฟอสฟอไดเอสเทอรบนดีเอ็นเอสายใดสาย หนึ่งของดีเอ็นเอเกลียวคู เรียกวาเกิด nick (คือ รอยขาดบนสายโพลีนิวคลีโอไทดที่ขาดออกจากกัน เนื่องจากพันธะฟอสโฟไดเอสเทอรถูกทําลาย โดยรอยขาดนี้มีนวิ คลีโอไทดหางกันอยูเพียง 1 นิวคลีโอ ไทดเทานัน้ แตถาเกิดชองวางที่มีนวิ คลีโอไทดหายไปหลายตัว เรียกวาเกิด gap) พบวา DNA polymerase I จะเขาทําหนาที่ซอมแซม nick โดยใชคุณสมบัติทั้ง 5/ → 3/ exonuclease และ polymerase โดยตัด นิวคลีโอไทดที่จากปลาย 5/PO4 ของบริเวณที่เกิด nick ออกจากสายดีเอ็นเอ จากนั้นนํานิวคลีโอไทด ที่ถูกตองเขาเชื่อมตอที่ตําแหนงปลาย 3/OH ของบริเวณที่เกิด nick โดยใชการ ทํางานของ polymerase แต DNA polymerase I ไมสามารถเชื่อมตอระหวางนิวคลีโอไทดที่บริเวณ nick ได ดังนัน้ nick เคลื่อนตัวไปตามความยาวของสายดีเอ็นเอ ในทิศทางเดียวกับการสังเคราะหดีเอ็น เอ (5/ → 3/) 2) DNA polymerase II (pol II) เปนเอนไซมมนี ้ําหนักโมเลกุลประมาณ 90,000 MW มีจาํ นวนนอยใน E. coli อาจมีหนาที่ เกี่ยวกับการซอมแซมดีเอ็นเอ มีคุณสมบัติดังนี้ 2.1) มีคุณสมบัติ 3/→5/ exonuclease 2.2) ตองการดีเอ็นเอแมแบบ และไพรเมอร 2.3) ไมสามารถเกิดกระบวนการจําลองดีเอ็นเอที่มีขนาดยาวๆ ได (นอยกวา 100 nucleotides) 2.4)ไมสามารถทํางานไดถามี sulfidyl group (-SH) 3) DNA polymerase III (pol III)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

10

เป น เอนไซม ที่ เ กี่ ย วข อ งกั บ กระบวนการจํ า ลองดี เ อ็ น เอ โดยทํ า หน า ที่ ก ระตุ น ให เ กิ ด การ สังเคราะหดีเอ็นเอสาย leading และ lagging strand ซึ่งมีคุณสมบัติดังนี้ 3.1) ทําหนาทีข่ ยายยาวหรือสังเคราะหสายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหม โดยมีทิศทาง 5/ → 3/ 3.2) ตองการดีเอ็นเอแมแบบ และไพรเมอร ตองมี Mg+2 เปนตัว catarizer ในการจําลองดีเอ็นเอ 3.3) มีโครงสรางซับซอนกวา Pol I และ Pol II โดย Pol III เปน holoenzyme ที่ประกอบดวย โพลีเปบไทดจาํ นวน 10 หนวย มีน้ําหนักโมเลกุล 422,000 MW โดยเอมไซมหลัก (core enzyme) ประกอบดวยโพลีเปปไทด หลายสาย เชน α, β, Ψ, γ, χ และ δ เปนตน โดยมีน้ําหนักโมเลกุล ประมาณ 170,000 MW (รูปที่ 3.12) 3.4) มีคุณสมบัติ 3/ → 5/ exonuclease และ 5/ → 3/ exonuclease 3.5) ไมสามารถเชื่อมตอ 3/OH และ 5/-monophosphate group 3.6) สกัดใหบริสุทธิ์ไดยาก มักจะอยูรวมกับ DNA polymerase II 3.7) มีคุณสมบัติ 3→5 exonuclease และ 5→3 exonuclease 3.8) มี ป ระสิ ท ธิ ภ าพในการทงานที่เ กี่ ย วของกั บ กระบวนการจํ า ลองดี เ อ็ น เอสู ง กว า DNA polymerase I ประมาณ 15 เทา และ สูงกวา DNA polymerase II ประมาณ 300 เทา

รูปที่ 3.12 องคประกอบของ DNA polymerase III ของ E. coli ในยูคารีโอต พบวามี DNA polymerase 3 ชนิด (รูปที่ 3.13) 1) DNA polymerase α หรือ maxi polymerase 1.1) มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 220,000 ดาลตัน 1.2) มีปริมาณสูงในชวงระยะ S (Synthesis-DNA) ของการแบงเซลลในระยะอินเตอรเฟต 2) DNA polymerase β หรือ mini polymerase

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

11

2.1) มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 45,000 ดาลตัน 2.2) ทําหนาที่เกี่ยวกับการซอมแซมดีเอ็นเอ 3) DNA polymerase γ หรือ mitochondrial polymerase 3.1) พบในนิวเคลียส และไมโตคอนเดรีย 3.2) มีน้ําหนักโมเลกุลประมาณ 60,000 ดาลตัน 3.3) ทําหนาที่เกี่ยวกับการจําลองดีเอ็นเอในไมโตคอนเดรีย

รูปที่ 3.13 DNA polymersae ชนิดตางๆ ของ Simian virus 40 (SV40) 5. RNA polymerase (RNA primase) 5.1 ทําหนาทีส่ ังเคราะห RNA primere ที่มีขนาดประมาณ 1-60 นิวคลีโอไทด ทั้งนี้ขึ้นอยูกับ ชนิดสิ่งมีชีวิต 5.2 ใช RNA polymerase เพื่อสังเคราะห RNA primer ในสาย leading strand โดย RNA polymerase ซึ่งไวตอการตอบสนองของ rifampicin 5.3 ใช RNA primase เพื่อสังเคราะห RNA primer ในสาย lagging strand โดย RNA primase ซึ่งไมตอบสนองตอ rifampicin 6. ทิศทาง 5/ → 3/ exonuclease ทําหนาที่ตัดนิวคลีโอไทดของโพลีนิวคลีโอไทดสายเดีย่ ว โดยตัดจากสวนปลาย 5/PO4 ไปยัง ดาน 3/OH (ทิศทาง 5/ → 3/) 7. ทิศทาง 3/ → 5/ exonuclease

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

12

ทําหนาที่ตัดนิวคลีโอไทดของโพลีนิวคลีโอไทดสายเดีย่ ว โดยตัดจากสวนปลาย 3/OH ไปยัง ดาน 5/PO4 (ทิศทาง 3/ → 5/) 8. Endonuclease ทําหนาที่ตัดบริเวณภายในของสายโพลีนิวคลีโอไทดของดีเอ็นเอ โดยทําลายพันธะฟอสฟอได เอสเทอร ทําใหเกิดปลาย 3/OH และ 5/PO4 ที่บริเวณจุดตัดเกิดเปนรอยขาดที่เรียกวา nick 9. DNA ligase ทําหนาที่เชื่อมรอยขาด nick ระหวางปลาย 3/OH ของนิวคลีโอไทดหนึ่งกับ 5/ monophosphate ของอีกนิวคลีโอไทดหนึ่ง ดวยพันธะฟอสฟอไดเอสเทอร (รูปที่ 3.14)

รูปที่ 3.14 การเชื่อมตอรอยขาดของดีเอ็นเอ โดยการทํางานของ DNA ligase (ที่มา : http://163.238.8.180/~davis/Bio_327/lectures/DNA_Repl_Chromosomes/ligase.gif, 2547)

ขั้นตอนกระบวนการจําลองดีเอ็นเอมี 3 ขั้นตอน คือ 1. การเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอ (initiation of DNA replication) 2. การขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหม (polymerlization of DNA replication) 3. สิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ (termination of DNA replication)

กระบวนการจําลองดีเอ็นเอในโปรคารีโอต (DNA replication in prokaryote) การจําลองดีเอ็นเอในโปรคารีโอตมีขั้นตอนที่สําคัญ ดังนี้ I. การเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอ

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

13

เปนขั้นตอนที่เกี่ยวของกับการทํางานของเอมไซม และตองการตําแหนงเริ่มตนที่มีลําดับเบส จําเพาะบนสายดีเอ็นเอ ขั้นตอนการเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอมีดังนี้ 1. เฮลิเคส (helicase) ทําหนาที่ทําลายเกลียวคูของดีเอ็นเอ (double helix) เกิด replication fork หรือ bubble ขึ้น ณ บริเวณจุดเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอ (origin of DNA replication หรือ ori) ซึ่งมีเพียงจุดเดียวใน E. coli โดยมีลําดับเบสที่จําเพาะประมาณ 240-250 คูเบส ที่ เปนตําแหนงจดจําของ helicase ซึ่งทําหนาที่คลายเกลียวคูของดีเอ็นเอ โดยทําลายพันธะไฮโดรเจน ระหวางเบสที่อยูบนแตละสายของโพลีนิวคลีโอไทด เพื่อใหไดเปนดีเอ็นเอสายเดีย่ ว ขั้นตอนการเกิด replication fork มีดังนี้ 1) dnaA protein complex ประกอบดวยโปรตีน 10-20 หนวย เขามาเกาะ (binding หรือ interaction) กับ oriC ที่ตําแหนง 9 mers (A-T rich) โดยใชพลังงานจากการ hydrolysis ATP ทําให DNA อยูในสภาพเกลียวเวียนซาย (left-hand หรือ negative supercoil) ซึ่งงายตอการทําลายพันธะ ไฮโดรเจน ทําใหดีเอ็นเอเกลียวคูเปดออก (open complex) กลายเปนดีเอ็นเอสายเดีย่ ว (รูปที่ 3.15) 2) เกิด prepriming complex โดย dnaB protein (ทําหนาที่เปน helicase) รวมตัวกับ dnaC กลายเปน prepriming complex โดยใชพลังงานจากการ hydrolysis ATP แลวเขาเกาะกับดีเอ็นเอสาย เดี่ยว (ssDNA) บริเวณ open complex ที่อยูระหวาง dnaA และ oriC เมื่อ helicase จะเขาทําหนาทีค่ ลายเกลียวคู โดยทําลายพันธะไฮโดรเจน ระหวางเบสที่อยูบนแต ละสายโพลีนิวคลีโอไทด ทําใหเกิด replication fork หรือ bubble ซึ่งเปนจุดเริ่มตนการการจําลอง ดีเอ็นเอ (initiation point) โดย 1 bubble จะมี replication fork 2 จุด ที่มีทิศทางตรงขามกัน

รูปที่ 3.15 ขั้นตอนการเกิด open complex ที่บริเวณ oriC และหนาทีข่ องโปรตีน dna B ชวย ให primase เขาเกาะกับดีเอ็นเอ เพื่อเริ่มตนสังเคราะห RNA primer (ที่มา : Klug และ Cumming, 1994)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

14

2. อารเอ็นเอไพเมสทําหนาที่สังเคราะหอารเอ็นเอไพเมอร (primase catalyses formation of RNA primer) dnaB นอกจากทําหนาที่เปน helicase เพื่อเขาเกาะกับ ssDNA ที่ตําแหนงเฉพาะบนตําแหนง open complex แลวยังทําหนาที่กระตุนให primase หรือ RNA polymerase เขามาเกาะที่ตําแหนง ssDNA open complex (oriC) ทั้ง 2 strands เพื่อทําหนาที่สังเคราะห RNA primer ที่มียาวประมาณ ประมาณ 1-60 คูเบส ที่เรียกวา RNA primer หรือ RNA oligonucleotide ที่มีปลาย 3' OH เปนอิสระ และเปนเบสคูสมกับสายดีเอ็นเอแมแบบ (single DNA template) การสังเคราะห RNA primer เริ่มตนดวยการเกิด complex ที่เรียกวา primosome (6 proteins + ss DNA + primase + helicase) ซึ่งประกอบดวย โปรตีน 6 ชนิด คือ n, n/, n//, τ, dna B และ dna C เขา จับกับดีเอ็นเอสายเดี่ยว โดยใช ATP จากนั้น primase จะเขารวมกับ preprimosome เกิดเปนหนวยที่ เรียกวา primosome ซึ่งโปรตีน n/ จะใชพลังงานจาการยอยสลาย ATP เพื่อใชสําหรับการเคลื่อนที่ primosome ไปตามความยาวของดีเอ็นเอ จนกระทั่งไปพบ priming site ซึ่งเลือกโดยสุม หลังจากนั้น โปรตีน dna B. จะเปลี่ยนแปลงโครงสรางของดีเอ็นเอ ตรวจหาตําแหนงที่คัดเลือก ทําให primase เริ่มตนสังเคราะห RNA primer ขึ้น (รูปที่ 3.16)

รูปที่ 3.16 โครงสรางของ primase (ที่มา : http://www.mun.ca/biochem/courses/3107/images/primase_model.gif, 2547)

เมื่อมีการสังเคราะห RNA primer แลว RNA primer จะเขาเกาะกับดีเอ็นเอแมแบบ เพื่อเริ่มตน การจําลองดีเอ็นเอ โดยอาศัยการทํางานของ polymerase III ที่นํานิวคลีโอไทดตัวใหมเขามาเติมที่ 3/OH ของ RNA primer (รูปที่ 3.17)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

15

รูปที่ 3.17 ไพรเมอรที่มีปลาย 3/– OH อิสระ เปนตัวเริ่มตนในการจําลองตัวเองของ ดีเอนเอ (ที่มา : http://www.cat.cc.md.us/courses/bio141/lecguide/unit1/prostruct/dnareppr/images/u4fg8b.jpg, 2547)

3. Single-stranded binding protein (SSBPs) SSBPs ประกอบดวยกรดอะมิโนประมาณ 100 ตัว ที่เกาะอยูกับดีเอ็นเอสายเดียว ( โดย SSBPs มีหนาที่สําคัญคือ ชวยให helicase ทํางานไดดีขึ้น และปองกันไมใหดีเอ็นเอสายเดี่ยว (ssDNA) ที่แยก จากกันแลวกลับเขามาสรางพันธะไฮโดรเจนเพื่อเกิดเปนดีเอ็นเอสายคูใหมอีกครั้ง นอกจากนี้ SSBPs ยังปองกันไมให ssDNA แตละสายมาสรางพันธะไฮโดรเจนภายในสายเดียวกันที่เกิดโครงสรางที่ เรียกวา hairpin loop ขึ้น รวมทั้งยังปองกันไมใหดีเอ็นเอสายเดี่ยวถูกยอยดวยเอนไซม นิวคลีเอส (nuclease) อยางไรก็ตามเมื่อ DNA polymerase ผานจุดนี้ไปแลว พบวา SSBP ก็ถูกปลอยออกจาก โมเลกุลของ ssDNA (รูปที่ 3.18)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

16

รูปที่ 3.18 ขั้นตอนการจําลองดีเอ็นเอที่เกี่ยวของกับเอนไซมตางๆ (ที่มา : Klung และ Cumming, 1194)

II. การขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทด (รูปที่ 3.19) เหตุการณที่สําคัญในขั้นตอนการขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทด มีดังนี้ 1. การสังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหม 2 สาย โดยการทํางานของ DNA polymerase III กระบวนการจําลองดีเอ็นเอเปนแบบกึ่งอนุรักษ ดีเอ็นเอเกลียวคูประกอบดวย 2 สายโพลีนิวคลี โอไทด ซึ่งมีทิศทางแบบ antiparallel คือ สายหนึ่งมีทิศทาง 5/ → 3/ สวนอีกสายหนึ่งมีทิศทางตรงกัน ขามคือ 3/ → 5/ ดังนั้นเมื่อเกิด replication fork แลว RNA primer จะเขาเกาะกับดีเอ็นเอแมแบบทั้ง สองสาย จากนั้น DNA polymerase III ทําหนาที่ในการสังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมโดยนํา deoxynucleotide 5-triphosphate ที่มีเบสเปนเบสคูสมกับสายดีเอ็นแมแบบมาเชื่อมตอกับ RNA primer ที่มีปลาย 3/OH อิสระ โดยใชพันธะฟอสฟอไดเอสเทอร ดังสมการ poly (nucleotide) n –3/OH + dNTP → poly (nucleotide) n+1 3/OH + PP รูปแบบการสังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมโดยใชดเี อ็นเอแมแบบทั้งสองสาย มีดังนี้ 1) สาย leading strand

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

17

เมื่อ RNA primer เขาเกาะกับสายโพลีนิวคลีโอไทดสายแมแบบที่มีทิศทาง 3/ → 5/ พบวา DNA polymerase สามารถสังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมโดยเพิ่มจํานวนนิวคลีโอไทดไดอยางตอเนื่อง ตลอดสาย เรียกวา continuous หรือ leading strand ทั้งนี้เนื่องจากทิศทางการสังเคราะหสายโพลีนิวคลี โอไทดหรือการทํางานของ DNA polymerase III ทําในทิศทาง 5/ → 3/ ซึ่งมีทิศทางการสังเคราะหดี เอ็นเอสายใหมเปนทิศทางเดียวกับการคลายเกลียวของดีเอ็นเอเกลียวคู 2) สาย lagging strand ถาใชสายโพลีนิวคลีโอไทดอีกสายหนึ่งที่มีทิศทาง 5/ → 3/ เปนสายแมแบบ พบวาการ สังเคราะหดีเอ็นเอสายใหมไมสามารถสังเคราะหหรือเพิ่มจํานวนนิวคลีโอไทดไดอยางตอเนื่องที่ เรียกวา discontinuous หรือ lagging strand เพราะทิศทางการสังเคราะหดีเอ็นเอสวนทางกับการคลาย เกลียวของดีเอ็นเอเกลียวคู ฉะนั้นจึงมีการสังเคราะห DNA เปนทอนสั้นๆ ที่เรียกวา okazaki fragment ซึ่งมีจํานวนนิวคลีโอไทดประมาณ 1000- 2000 นิวคลีโอไทด และทุกครั้งที่เกิดจุด replication fork จุด ใหม RNA primer ก็จะเขาเกาะกับดีเอ็นเอสายแมแบบที่มีทิศทาง 5/ →3/ ใหม แลว DNA polymerse III ก็จะเขาทําหนาที่สังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมขึ้นมา DNA polymerase III มีคุณสมบัติที่สําคัญคือ 1) ทําหนาที่ polymersize ทั้งสาย leading strand และสาย lagging strand 2) ตองการดีเอ็นเอแมแบบ และ RNA primer ที่มีปลาย 3/OH อิสระ 3) เปน holoenzyme ขนาดใหญมากคือ มากกวา 600 กิโลดาลตัน ซึ่งประกอบดวยโพลีเบป ไทดที่แตกตางกัน 5-10 ชนิด โดยเอมไซมที่มีรูปรางแบบ asymmetric dimeric structure ประกอบดวย 2γ, β, α, δ, ε, และ τ subunit ซึ่งเปนสวนสําคัญในปฏิกิริยา polymerize 4) β subunit มีรูปรางเปน donut-shaped dimer ซึ่งมีลักษณะคลาย clamp ซึ่งสามารถเคลื่อนที่ ไปตามความยาวของเสนดีเอ็นเอ (รูปที่ 3.20) เพื่อทําหนาที่สังเคราะหเพียงดีเอ็นเอสายสั้นๆ เทานั้น คือ ประมาณ 20 นิวคลีโอไทด 5) α subunit เปนตัวทําใหเกิดปฏิกิริยา polymeriztion สวน ε subunit ทําใหเกิดปฏิกิริยา 3/ → 5/ exnuclease 6) สวนอีก 5 subunits คือ 2γ, δ, ε, และ τ subunit รวมกันเปน γ complex ทําหนาที่เปนตัวนํา β subunit เขาเกาะกับ duplex DNA-primer substrate 7) τ subunit ทําหนาที่เกีย่ วกับการเกิด dimerize ของ core enzyme

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

18

รูปที่ 3.19 ขั้นตอนการขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทด

รูปที่ 3.20

β subunit มีรูปรางเปน donut-shaped dimer ซึ่งมีลักษณะคลาย clamp

2. เมื่อ helicase ทําหนาทีข่ ยายจุด replication fork ตอไปอีกสาย leading strand ก็จะ polymerize ตอไปเรื่อยๆ ในทิศทาง 5/→3/ สวนสาย lagging strand ก็จะสังเคราะห okazaki fragment

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

19

สายใหมขึ้นมาในทิศทาง 5/→3/ โดยมี RNA primer ตัวใหมเขากับดีเอ็นเอแมแบบที่บริเวณ replication fork ที่เกิดขึ้นใหม แลวเริ่มกระบวนการสังเคราะห okazaki fragment สายใหมขึ้นมา (รูปที่ 3.21 และ 3.22)

รูปที่ 3.21 การขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทดในกระบวนการสังเคราะหดีเอ็นเอ (ที่มา : http://opbs.okstate.edu/~petracek/Chapter%2025%20figures/Fig%2025-13.JPG, 2547)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

20

รูปที่ 3.22 การจําลองตัวเองของดีเอนเอ (ที่มา : http://www.groton.k12.ct.us/WWW/fsr/student/fall02/DNA/dnarep.jpg , 2547)

3. DNA topoisomerase หรือ DNA gyrase ขณะที่ helicase ทําลายพันธะไฮโดรเจนระหวางเบสที่อยูตางสายโพลีนิวคลีโอไทดนั้น พบวา บริเวณเหนือจุดแยกจะเกิดปมของสายดีเอ็นเอที่พันกันแนน (คลายกับการดึงปลายเชือกเสนคูใหแยก ออกจากกันเปนเสนเดี่ยว โดยกดใหปลายเชือกดานหนึ่งใหอยูกับที่ ก็จะทําใหเกิดปมเหนือจุดแยกขึ้น) ดังนั้น DNA topoisomerase จะมีทําหนาที่คลายปมเหนือจุดแยก (replication fork) ในขณะเกิด กระบวนการจําลองดีเอ็นเอ โดยการทําลายพันธะฟอสฟอไดเอสเทอรระหวางนิวคลีโอไทดภายในสาย โพลีนิวคลีโอไทดเดียวกัน เพื่อเปนการลดจํานวน supercoil ที่เกิดขึ้นเหนือบริเวณจุด replication fork

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

21

โดยใชพลังงานจาก ATP จากนั้นก็ทําหนาที่เชื่อมรอยขาดระหวางนิวคลีโอไทดดวยพันธะฟอสฟอได เอสเทอร DNA topoisomerase แบงออกเปน 2 ชนิด คือ 1) DNA topoisomerase I ทําหนาที่ตัดดีเอ็นเอสายเดีย่ วที่อยูเหนือจุด replication fork (บางครั้งอาจตัดทั้งสองสายของโพลีนิวคลีโอไทด) (รูปที่ 3.23) 2) DNA topoisomerase II (DNA gyrase) ทําหนาที่ตัดและเชื่อมตอดีเอ็นเอสายเดี่ยวที่อยู เหนือจุด replication fork (บางครั้งอาจตัดทั้งสองสายของโพลีนิวคลีโอไทด)

รูปที่ 3.23 คุณสมบัติของ gyrase หรือ topoisomerase ที่ทําหนาทีค่ ลายเกลียวเหนือจุดแยก III. การสิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ เมื่อสิ้นสุดขั้นตอนการจําลองดีเอ็นเอจะไดดีเอ็นเอ 2 โมเลกุล โดยแตละโมเลกุลประกอบดวย โพลีนิวคลีโอไทดแมแบบหรือโพลีนิวคลีโอไทดสายเดิม 1 สาย และอีกสายหนึ่งเปนโพลีนิวคลีโอไทด สายใหม ซึ่งโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมที่พบใน leading strand และ lagging strand นั้นมี RNA primer ติดอยูที่ปลาย 5/PO4 ซึ่ง RNA primer นี้จําเปนตองถูกขจัดออกไปโดยใช (1) ribonuclease (RNase) ที่ มีความจําเพาะกับ RNA primer หรือ (2) DNA polymerase I (5/→3/ exonuclease) ตัดที่ปลาย 5/PO4 ของ RNA primer โดยตัดที่ละโมเลกุล ขณะเดียวกันก็มีการเติมนิวคลีโอไทดตัวใหมเขาไปที่ปลาย 3/OH ของสายดีเอ็นเอสายใหมที่ถูกสังเคราะหขึ้น คลายกับการเกิด nick translation จนเหลือชองวางที่ เรียกวา nick จากนั้น DNA lygase จึงเขาทําหนาที่เปนเชื่อมรอยตอระหวางนิวคลีโอไทด (nick) โดย สรางพันธะฟอสฟอไดเอสเทอรที่ปลาย 3/OH ของนิวคลีโอไทดหนึ่ง กับ 5/PO4 ของอีกนิวคลีโอไทด หนึ่งที่อยูติดกันโดยใชพลังงานจากการ hydrolysis ATP (รูปที่ 3.24) เหตุการณที่เกิดขึ้นในขั้นตอนการ สิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ พอสรุปไดดังนี้

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

22

1. การขจัด RNA primer บนสาย leading strand สายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมที่พบใน leading strand ที่มี DNA polymerase III ทําหนาที่ สังเคราะหสายโพลีนิวคลีโอไทดในทิศทาง 5/→3/ ไปเรื่อยจนสิ้นสุดสายดีเอ็นเอแมแบบ (3/→5/) จากนั้น DNA polymerase III จะหยุดทํางาน แตจะมี DNA polymerase I ชนิด 5/→3/ exonuclease เขามาทําหนาที่ตัด ณ ตําแหนงปลาย 5/PO4 ของ RNA primer โดยตัดทีละ 1 นิวคลีโอไทด ขณะเดียวกัน DNA polymerase I ก็นํานิวคลีโอไทดที่ถูกตองหรือมีเบสคูสมกับดีเอ็นเอแมแบบมาเชื่อมตอที่ปลาย 3/OH ของสาย leading strand (theta mode of DNA replication) คลายกับการเกิด nick translation จากนั้น DNA ligase เขาทําหนาที่เชื่อมชองหวางระหวางนิวคลีโอไทดโดยตอระหวางนิวคลีโอไทด ดวยพันธะฟอสฟอไดเอสเทอร กรณีของโปรคารีโอตดีเอ็นเอมีรูปรางเปน circular DNA พบวาไมมีปญหาเรื่องการเติม nucleotide ในสวนของชองวาง (gap) หลังจากที่มีการตัด RNA primer ออกไปแลว เนื่องจากมีการ จําลองดีเอ็นเอแบบ theta mode of DNA replication (รูปที่ 3.24) 2. การขจัด RNA primer บนสาย lagging strand สวนสายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของ lagging strand นั้นจะประกอบไดดว ย okazaki fragment จํานวนมาก ซึ่งแตละสาย okazaki fragment จะถูกนํามาเชือ่ มตอเปนสายโพลีนิวคลีโอไทด ยาวตอเนื่อง (continuous strand) ได โดยการทํางานของ DNA polymerase III ซึ่งทําหนาที่นํานิวคลีโอ ไทดมาตอที่ปลาย 3/OH ของ okazaki fragment หนึ่งไปเรื่อยๆ จนถึงปลาย 5/PO4 ของ RNA primer ของอีก okazaki fragment หนึ่งที่อยูติดกันซึ่งถูกสังเคราะหขึ้นมากอนแลว จากนัน้ DNA polymerase III จะแยกออกจาก okazaki fragment (ทั้งนี้เพราะวา DNA polymerase III ไมสามารถ polymerization ตอไปได หรือ DNA polymerase III ไมสามารถทํางานไดบริเวณ nick ทีมีปลาย 5/ triphosphate อยูด วย (RNA primer) ยกเวนแตมเี อมไซมบางชนิดมาตัด triphosphate ใหเปน monophosphate) ดังนัน้ การ เชื่อมตอระหวางนิวคลีโอไทดที่อยูบริเวณ nick ตองอาศัยการทํางานของ DNA ligase จึงเขาทํางาน เชื่อมตอระหวางนิวคลีโอไทด (โดยทัว่ ไป DNA ligase จะอยูในสภาพ inactive เมื่อนิวคลีโอไทดอยูใ น รูปของ ribo-form แต DNA polymerase I สามารถทํางานไดอยางมีประสิทธิภาพบริเวณรอยขาดนี้ คือ ทําใหเกิด nick translation ขึ้น)

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

23

รูปที่ 3.24 การขจัด RNA primer ที่ปลาย 5/ ของดีเอ็นเอสายใหม

กระบวนการจําลองดีเอ็นเอในยูคารีโอต (DNA replication in eukaryote) ขั้นตอนการจําลองดีเอ็นเอในยูคารีโอตมีลักษณะคลายกับโปรคารีโอตแตมีความซ้ําซอน มากกวา และมีชนิดของเอมไซม รวมทั้งวิธีการในแตละขั้นตอนแตกตางกันไปบาง ซึ่งสามารถสรุป ขั้นตอนการจําลองดีเอ็นในยูคารีโอตได ดังนี้ I. การเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอ ในสัตวเลี้ยงลูกดวยน้ํานม พบวามี DNA polymerase และเอมไซมหลายชนิดที่เกี่ยวของกับ กระบวนการเริ่มตนการจําลองดีเอ็นโดยขั้นตอนการคลายกับโปรคารีโอตแตตางกันเล็กนอย เชน ขั้นตอนการเริ่มตนการจําลองดีเอ็นเอของไวรัสชนิดsimian virus 40 หรือ SV40 (in vitro) สามารถสรุป ไดดังนี้ (รูปที่ 3.25) 1. T antigen เปนโปรตีนทีม่ ีหนาที่หลายอยาง (multifunctional proteins) โดย T antigen จะ เขาจับกับตําแหนงเริ่มตนบนสายดีเอ็นเอของไวรัส (SV40 origin) เพื่อคลายเกลียวคูของ duplex DNA ของไวรัสใหเปนดีเอ็นเอสายเดียว โดย T antigen ทําหนาที่คลายกับ helicase ในโปรคารีโอต 2. จากนั้น Replication protein A (RPA) เขามามาจับกับดีเอ็นเอสายเดี่ยว (ssDNA) โดย RPA ทําหนาที่คลาย single-strand binding protein (SSB) ในโปรคารีโอต 3. เกิด Complex โดย Primase เขาเกาะกับ DNA polymerase α จากนั้นจึงเขารวมกับ RFA (Replication protein A) เปน complex แลวจึงเขาเกาะกับ ssDNA template เพื่อเริ่มกระบวกการจําลอง

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

24

ดีเอ็นเอ โดย primase ทําหนาที่สราง RNA primer และ DNA polymerase α ทําหนาที่สังเคราะหสาย โพลีนิวคลีโอไทดสายใหม โดยไดรับการกระตุนจาก RFA II. การขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอไทดของยูคารีโอต กระบวนการจําลองดีเอ็นเอโดยทั่วไปเปนแบบ bidirectional DNA replication (แบบ Y mode) เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจะไดดีเอ็นเอสาย 2 สาย คือ leading strand และ lagging strand คลายกับการ จําลองดีเอ็นเอในโปรคารีโอต โดยเหตุการณที่สําคัญในขั้นตอนการขยายยาวของสายโพลีนิวคลีโอ ไทดของยูคารีโอต (รูปที่ 3.25) มีดังนี้ 1. เหตุการณบนสาย leading strand สายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของสาย leading strand พบวา มีโปรตีนที่เรียกวา proliferating cell nuclear antigen (PCNA) ซึ่งทําหนาที่คลาย β subunit ของ DNA polymerase III คือ เขาเกาะที่ ปลาย 3/OH RNA primer–template terminus เพื่อปลดปลอย DNA polymerase α และ primase ออก จากสายดีเอ็นเอแมแบบ จากนั้น DNA polymerase δ เขารวมกับ RFC-PCNA complex ที่ปลาย 3/OH ของ leading strand เพื่อทําหนาที่สังเคราะหหรือขยายยาวสายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของสาย leading strand 2. เหตุการณบนสาย lagging strand สวนสายโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของสาย lagging strand พบวา RFC-primase-polymerase α complex เขาเกาะที่ปลาย 3/OH ของ lagging strand เพื่อทําหนาที่ polymerization ในทิศทาง 5/→3/ โดยจะมีการสังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของ lagging strand แบบไมตอเนื่อง ทําใหเกิด okazaki fragment ขึ้น ในขณะที่มีการสังเคราะหโพลีนิวคลีโอไทดสายใหมของทั้งสาย leading strand และ lagging strand ก็จะมีเอมไซม topoisomerase ทําหนาที่คลายปมเหนือจุด replication fork (หรือ replicon) คลายกับในโปรคารีโอต

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

รูปที่ 3.25 ขั้นตอนการเริ่มการจําลองดีเอ็นเอของไวรัสชนิด SV40 (in vitro) (ที่มา : http://www.rci.rutgers.edu/~molbio/Courses/MBB_408_512/DNAreplec3.pdf, 2547)

25

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

26

III. การสิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ (รูปที่ 3.26) กระบวนการสิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอในยูคารีโอตจะมีความซับซอนมากกวาในโปรคารีโอต เนื่องจากดีเอ็นเอในยูคารีโอตมีลักษณะเปนเสน (linear DNA) โดยพบวามีลําดับเบสที่จําเพาะบริเวณ สวนปลายของโครโมโซมยูคารีโอต (eukaryotic chromosome หรือ telomere) ซึ่งเปนลําดับเบสที่ไมมี สวนของยีนอยู แตมีบทบาทสําคัญในการกําหนดกระบวนการสิ้นสุดการจําลองดีเอ็นเอ กลาวคือ บริเวณสวนปลายของโครโมโซมยูคารีโอตประกอบดวยจํานวนซ้ําหลายๆ ซ้ําของลําดับเบสทอนสั้น ของ G-C rich sequence ที่ตําแหนงปลาย 3/OH เชน ในสัตวมีกระดูกสันหลัง (vertibrate) พบวามี ลําดับเบส 5/ TTGGGG 3/ / 3/ AACCCC 5/ สวนในมนุษย พบวามีลําดับเบส 5/ TTAGGG 3’ / 3/ AATCCC 5/ sequence ที่เปนสวนสําคัญในกระบวนการสิ้นสุดการจําลองตัวเองของดีเอ็นเอ โดย สามารถสรุปขั้นตอนได (รูปที่ 3.24) ดังนี้ 1. การเพิ่มของ G-C rich sequences ที่บริเวณปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอแมแบบ ซึ่งจะทําการ เพิ่มลําดับเบส G-C rich sequence หลายๆ ชุด (copy) ที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอแมแบบ โดยการทํางาน ของ telomerase ซึ่งภายใน telomerase ประกอบดวยสายอารเอ็นเอแมแบบ (RNA template) ที่มีลําดับ เบส 5/ AACCCC 3/ ซึ่งจะเขาเกาะกับสายดีเอ็นเอแมแบบที่ปลาย 3/OH โดย RNA template มีลําดับเบส 5/ AAC 3/ ลอยอยูอิสระหรือที่ไมไดเขาเกาะกับดีเอ็นเอดีเนเอแมแบบ ซึ่งจะใช 5/ AAC 3/ นี้เปน อารเอ็นเอแมแบบ เพื่อสังเคราะหลําดับเบส 5/ TTG 3/ ที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอสายแมแบบ โดยการ ทํางานของ telomerase 2. การเคลื่อนที่ (translocation) ของ telomerase โดย telomerase มีการเคลื่อนที่ตอไปอีก 3 เบส ทําใหตําแหนง 5/ AAC 3/ ของอารเอ็นเอไพเมอรที่อยูใน telomerase ลอยเปนอิสระอีกครั้ง ดังนั้น จึงมีการสังเคราะห TTG ที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอสายแมแบบขึ้นมาอีก 3. การขยายยาวของลําดับเบส TTG ที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอสายแมแบบ โดยมีการ สังเคราะหนิวคลีโอไทดที่มีลําดับ 5/ TTG 3/ ที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอสายแมแบบเพิ่มขึ้นโดยใช อารเอ็นเอไพเมอรรวมกับทํางานของ telomerase ซึ่งอาจทําซ้ําหลายๆ ซ้ํา จนไดลําดับเบสดังกลาว เพิ่มขึ้นมากมาย (ทําใหมี G rich จํานวนมาก) 4. การสังเคราะห primer โดย primase เขามาเกาะที่ปลาย 3/OH ของดีเอ็นเอแมแบบ แลวเริ่ม กระบวนการสังเคราะห RNA primer (ใน tetrahymena มี RNA จํานวน 159 นิวคลีโอไทด ซึ่ง ประกอบดวย 5/ CAACCCCAA 3/) ซึ่งเขาเกาะกับดีเอ็นเอสายแมแบบ 5. DNA replication โดย DNA polymerase จึงเขาทําหนาที่นํานิวคลีโอไทดเขามาเชื่อมตอที่ ปลาย 3/OH ของไพรเมอรโดยมีลําดับเบสเปนเบสคูสมกับดีเอ็นเอสายแมแบบ

พันธุศาสตรโมเลกุลเบื้องตน (258444) ปการศึกษา 2/2547 กวี สุจิปุลิ

27

6. Primer remove เมื่อสิ้นสุดกระบวนการจําลองดีเอ็นเอพบวา RNA primer ที่ปลาย 5/PO4 ของสายโพลีนิวคลีโอไทดทสี่ ังเคราะหขึ้นมาใหมจะถูกตัดทิ้งไปประมาณ 12-16 เบส โดยไมมกี าร ทดแทนขึ้นมาอีก เพราะสวนที่ขาดหายไปคือ telomere sequence ซึ่งจะมีการสรางขึ้นมาทดแทนอยู เสมอโดย telomerase

รูปที่ 3.26 ขั้นตอนการขยายยาวของดีเอ็นเอสายใหม โดยการทํางานของ telomerase ในกระบวนการสิ้นสุดจําลองดีเอ็นเอ (ที่มา : http://www.rci.rutgers.edu/~molbio/Courses/MBB_408_512/DNAreplec3.pdf, 2547)

Related Documents

Dna Replication
December 2019 37
Dna Replication
May 2020 27
Dna Replication
June 2020 21
Dna Replication
June 2020 16
Dna Replication
June 2020 19
Dna Replication 2.5
June 2020 13