50-03-ng-01

  • December 2019
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View 50-03-ng-01 as PDF for free.

More details

  • Words: 390
  • Pages: 2
กรุงเทพธุรกิจ

อินเดีย vs จีน : คูแขงตลอดกาล

มองมุมใหม ƒ ผศ. ดร. ธีรยุส วัฒนาศุภโชค คณะพาณิชยศาสตรและการบัญชี จุฬาลงกรณมหาวิทยาลัย [email protected]

หาก

จะกล า วถึ ง สองประเทศหลั ก ที่ บ ริ ษั ท ข า มชาติ มุ ง เน น ที่ จ ะเติ บ โตสยายป ก เข า ไปลงทุ น ขุ ด ทองนั้ น ในทศวรรษนี้คงไมหนีคําตอบที่สําคัญคือ จีน และอินเดีย นั่นเอง ซึ่งมีความโดดเดนมากจากอัตราการเติบโตทาง เศรษฐกิ จ ที่ สู ง มากกว า ค า เฉลี่ ย ของโลก รวมถึ ง ขนาดของตลาดภายในที่ ใ หญ โ ตจากจํ า นวนประชากรมหาศาล นั่นเองครับ แตหากจะหาคําตอบสุดทายวา ตกลงแลว จีนหรืออินเดียที่นาสนใจมากที่สุด เพื่อที่จะเทเงินลงทุนไปและใหได ผลตอบแทนกลับมาใหคุมคา ก็คงตองหามาพิจารณากันในเบื้องลึกมากขึ้นครับ อย า งไรก็ ต าม คงไม มี คํ า ตอบที่ เ ป น สู ต รสํ า เร็ จ ในทุ ก ๆ เงื่ อ นไขครั บ ว า ประเทศใดน า ในใจกว า กั น ซึ่งนาจะขึ้นอยูกับสถานการณที่เปลี่ยนแปลงแตกตางกันไป แลวจึงคอยมาพิจารณาแตละปจจัยตาง ๆ ที่สงผลกระทบตอ ผลตอบแทนและความนาดึงดูดใจของแตละประเทศดังกลาว ประการแรก คือ ประเด็นเรื่องของความพรอมของระบบสาธารณูปโภคในแตละประเทศ ซึ่งประกอบไปดวย ระบบโครงข า ยถนน การขนส ง การสั ญ จร เทคโนโลยี ก ารสื่ อ สาร ระบบไฟฟ า น้ํ า ประปา ฯลฯ ซึ่ ง ป จ จั ย เหล า นี้ ลวนแลวแตมีความสําคัญตอความสําเร็จในการดําเนินงานทั้งสิ้น ซึ่งหากพิจารณาในแงนี้ ประเทศจีนนาจะชนะขาดครับ ไมวาจะเปนในเรื่องของพลังงานไฟฟา ที่มีการลงทุน ทางดานนี้อยางมาก เพื่อที่จะรองรับการขยายตัวของการลงทุนขนานใหญตอไปไดอีกนาน รวมถึงโครงขายการสื่อสาร และคมนาคมก็มีประสิทธิภาพสูงกวาอินเดียคอนขางมาก ในอินเดียขณะนี้ กําลังอยูในระหวางการลงทุนพัฒนาระบบสาธารณูปโภคทั้งหลายดังกลาว แตยังคงตองใชทั้ง เวลาอีกนานและเงินทุนอีกมาก กวาจะลงไปถึงเมืองรอง ๆ ตอนนี้ก็มุงเนนพัฒนาเมืองหลักอยางนิวเดลี บังกะลอร เปนตน แตก็ยังนับวาประสบปญหาอยูอีกมากครับ โดยเฉพาะหากจะเขาไปลงทุนตั้งโรงงานอุตสาหกรรมที่ตองใช พลังงานไฟฟาอยางตอเนื่อง ก็นับวายังเสี่ยงอยู เนื่องจากมีจํานวนครั้งของการไฟดับไฟติดบอยครั้ง ประการที่สอง คือ ทางดานความมั่นคงทางการเมืองการปกครอง โดยในแงนี้ ตองยอมรับวาระบบการเมือง ของอินเดีย ไดเปรียบกวาของทางจีน โดยอยางนอยก็เปนระบอบประชาธิปไตยที่รัฐบาลมาจากการเลือกตั้ง ซึ่งเปนสิ่งที่ ธุรกิจตะวันตกมุงเนนมาก

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ โดย ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค

1

ส ว นจี น นั้ น แม ว า จะกล า วเน น ย้ํ า ตลอดถึ ง การปกครองแบบสองระบบ คื อ แยกการปกครองและระบบ เศรษฐกิจออกจากกัน ใหมีความเปนเสรีทางธุรกิจ แตก็ยังไมไดสรางความเชื่อมั่นในอนาคตอยางเต็มที่ครับ เนื่องจาก การลงทุนแตละโพรเจ็คก็ตองใชเวลายาวนานในการคืนทุนและไดรับผลตอบแทนเชนกัน ดังนั้น ในแงนี้แดนภารตะก็ยังมีความไดเปรียบในสายตาของชาวตางชาติมากพอสมควรครับ แตอยางไรก็ตาม สิ่งที่อาจจะเปนอุปสรรคขัดขวางในแงนี้ก็คือ ระบบราชการที่ยังชา ลาสมัยของอินเดียอยูมาก ซึ่งทําใหความยืดหยุนใน การทํางานมีนอยลงตามไปดวย การที่จะพัฒนาระบบสาธารณูปโภคใหทันจีนก็ยังหางไกลอยู ประการที่สาม คือ ทางดานตลาดและการแขงขัน โดยตลาดนั้นมองถึงขนาดของตลาดภายในและศักยภาพใน การสงออกดวย ซึ่งแดนมังกรมีความไดเปรียบอยางเห็นไดชัด ทั้งจากปริมาณประชากรของจีนที่มากมายมหาศาลกวา อินเดียอยูหลายขุม ทําใหโอกาสเจาะตลาดสรางรายไดในจีนก็มีสูง สามารถบรรลุความประหยัดจากขนาดไดอยางดี ทําใหเกิดความไดเปรียบทางดานตนทุน และนําไปสูการสงออกสินคาที่ผลิตในจีนไปสูในตลาดโลกไดไมยากครับ อีกทั้ง อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจแมวาของอินเดียจะสูงเชนกัน แตก็ยังแพใหแกจีน ซึ่งที่ผานมาบรรลุ การเติบโตแบบดับเบิ้ลดิจิตไปหลายครั้ง ทําใหขนาดเศรษฐกิจโตกวาของอินเดียถึงสามเทา นําสูโอกาสทางการตลาดที่ ขยายตัวสูงกวาดวย สวนทางดานการแขงขัน ถือวาทั้งสองประเทศสูสี แตจากการที่จีนเปนเปาหมายที่นาสนใจมาเกากอนกวา ทําใหธุรกิจจากทั่วโลกกรีฑาทัพเขาไปยึดหัวหาดมากกวาที่อินเดีย อัตราการแขงขันจึงสูงตามไปดวย อีกทั้งคนจีนเองก็นับวามียีนดานการคาอยูในสายเลือดอยูแลว การเรียนรู ประยุกต รวมถึงลอกเลียนแนวคิด ทางธุรกิจจากประเทศตะวันตก จึงเปนไปอยางรวดเร็วดวย สถิติของการเกิดขึ้นและเติบโตของธุรกิจทองถิ่นเองก็มี สูงมาก ๆ เชนกัน ซึ่งก็เปนการทวีความรุนแรงทางการแขงขันมากขึ้นทั้งสิ้นครับ ดังนั้นเงื่อนไขนี้ถือวา อินเดียแซงหนา จีนไปเล็กนอย ประเด็นทายสุด แตมีความสําคัญไมยิ่งหยอนไปกวากัน นั่นคือ ทางดาน คน นั่นเอง ซึ่งจะเกี่ยวพันกับ ทักษะ ความสามารถ พฤติกรรม ความเชื่อ รวมถึงวัฒนธรรมตาง ๆ ของทั้งคนจีนและอินเดีย ในประเด็นนี้ คงตองวิเคราะหใหลึกซึ้งขึ้นครับ โดยทักษะของคนทั้งสองชาติถนัดกันไปคนละดาน คนอินเดีย จะไดเปรียบในแงของธุรกิจการบริการ เทคโนโลยีสารสนเทศ และทางดานการสื่อสาร เนื่องจากอินเดียมีภาษาอังกฤษ เป น ภาษาราชการ ทํ า ให ก ารพั ฒ นาเป น ศู น ย ก ลางการให บ ริ ก ารและสื่ อ สารกั บ บริ ษั ท ข า มชาติ ต า ง ๆ เป น ไปได งายดายกวา สวนทางดานเทคโนโลยีการผลิตนั้น จีนมีชัยไปกวาครึ่ง เนื่องจากประสิทธิภาพของธุรกิจอุตสาหกรรมของจีน ตนทุนสูงกวาอินเดีย เนื่องจากคนจีนขึ้นชื่อไดวามีความอดทนสูง อาจจะเพราะจากสภาพความเปนอยูที่แรนแคนใน อดีต จึงทําใหทนทํางานไดทุกสภาวะ Productivity ของคนจีนจึงสูงกวาคนอินเดียโดยเฉลี่ยมากครับ โดยหากจะสรุปในประเด็นนี้ คนอินเดียจะเดนกวาในแงของนวัตกรรม สวนคนจีนเดนในแงของกระบวนการ ในการดําเนินงาน แตหากพูดถึงเรื่องความชาญฉลาด คิดสลับซับซอน หรือการทํา C&D (Copy and Development) ก็คง ไมหนีกันเทาไรครับ อยางที่เรียนวา ยากที่จะบอกวาใครดีกวาใครในทุก ๆ สถานการณครับ นาจะมีการวิเคราะหวาอะไรเปนปจจัย สําคัญที่มุงเนนในการลงทุนมากกวา โดยหากเปนธุรกิจบริการ ที่ตองใชการสื่อสาร นวัตกรรมแปลกใหม ไมตองพึ่งพา ระบบสาธารณูปโภคมากนัก อินเดียคงเขาตามากกวา แตหากกลาวถึงธุรกิจการผลิต เนนการใชเทคโนโลยีในกระบวนการผลิต ใหความสําคัญตอประสิทธิภาพและ ตนทุ น ตอ งพึ่ง พาระบบไฟฟ า โครงข ายที่ ไว วางใจได ก็ต อ งมาที่จีน ดั งนั้ นเลื อ กโลเกชั่ นที่ เปน จุด ยุทธศาสตรใ ห เหมาะสมครับ นสพ.กรุงเทพธุรกิจ โดย ผศ.ดร.ธีรยุส วัฒนาศุภโชค

2