Write Eng To Thai

  • Uploaded by: somchais
  • 0
  • 0
  • May 2020
  • PDF

This document was uploaded by user and they confirmed that they have the permission to share it. If you are author or own the copyright of this book, please report to us by using this DMCA report form. Report DMCA


Overview

Download & View Write Eng To Thai as PDF for free.

More details

  • Words: 431
  • Pages: 5
สมชาย แสงอำนาจเดช มิถุนายน 2552

หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์การทับศัพท์ภาษาอังกฤษ หลักเกณฑ์ 16 ข้อนี้นำมาจากเว็บไซต์ของราชบัณฑิตยสถาน ที่เผย แพร่หลายปีมาแล้ว ถ้าสงสัยไม่มั่นใจควรตรวจสอบความถูกต้องและ ทันสมัยก่อนนำไปใช้ 1. ถอดอักษร พอควรแก่การแสดงที่มา แล้วเขียนในรูปที่อ่านได้สะดวกในภาษาไทย 2. คำที่ใช้กันนานจนถือเป็นภาษาไทยและปรากฏในพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถานแล้ว ให้ใช้ต่อไปตามเดิม เช่น ช็อกโกแลต เชิ้ต 3. คำวิสามานยนามที่ใช้กันนานแล้ว อาจใช้ตามเดิม เช่น วิกตอเรีย หลุยส์ โคโลญ 4. สระ ให้ถอดเสียง โดยเทียบเสียงภาษาไทย ตามตารางเทียบเสียง 5. พยัญชนะ เทียบตามตารางเทียบพยัญชนะ 6. การใช้เครื่องหมาย ก. ทัณฑฆาต 1. บนพยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงในภาษาไทย เช่น วินด์เซอร์ ฮอร์น 2. บนพยัญชนะตัวที่ไม่ออกเสียงตัวสุดท้ายเพียงแห่งเดียว (กรณีที่มีพยัญชนะตามตัวสะกดมาหลายตัว) เช่น แบเร็นตส์ (Barents) 3. คำหรือพยางค์ที่มีพยํญชนะไม่ออกเสียงอยู่หน้าตัวสะกด ที่ยังมีพยัญชนะตามหลังมาอีก ให้ตัดพยัญชนะที่อยู่หน้า ตัวสะกดออก และใส่เครื่องหมายไว้บนพยัญชนะตัวสุดท้าย เช่น เวิลด์ (world) ควอตซ์ (quartz) จอนส์ (Johns) เฟิสต์ (first) ข. ไม้ไต่คู้ 1. ใช้เพื่อให้เห็นความแตกต่างจากคำไทย เช่น ล็อก (log) 2. ใช้เพื่อช่วยให้ผู้อ่านแยกพยางค์ได้ถูกต้อง เช่น โอค็อตสก์ (Okhotsk) ค. วรรณยุกต์ ไม่ต้องใส่ ยกเว้นในกรณีที่คำนั้นมีเสียงซ้ำกับคำไทย จนทำให้เกิดความสับสน อาจใส่ได เช่น โค้ก (coke) โคม่า (coma)

7. พยัญชนะซ้อน 1.เป็นตัวสะกด ถ้าเป็นศัพท์ทั่วไปให้ตัดออกตัวหนึ่ง เช่น ฟุตบอล 2.กรณีเป็นศัพท์วิชาการ หรือคำวิสามานยนาม ให้เก็บไว้ ทั้งสองตัว โดยใส่เครื่องหมายทัณฑฆาตไว้ที่ตัวสุดท้าย เช่น เซลล์ เจมส์ วัตต์ 3.กรณีซ้อนกันอยู่กลางศัพท์ โดยพยัญชนะซ้อนตัวแรกเป็น ตัวสะกดของพยางค์หน้า และพยัญชนะซ้อนตัวหลังเป็น พยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป การใช้พยัญชนะตัวสะกดและ พยัญชนะต้นจะต่างกันตามหลักเกณฑ์การเทียบพยัญชนะ เช่น แพตเทิร์น (pattern) มิสซูรี (Missouri) บรอกโคลี (broccoli) 8. คำที่ตัวสะกดของพยางค์หน้า ออกเสียงเป็นพยัญชนะต้นของ พยางค์ตัวต่อไป ก. ถ้าสระของพยางค์หน้า 1. เป็นเสียงสระอะ ซึ่งเมื่อทับศัพท์ต้องใช้รูปไม้หันอากาศ ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดของพยางค์หน้าเข้า ไปอีกตัวหนึ่ง เพื่อเป็นพยัญชนะต้นของพยางค์ต่อไป เช่น คัปเปิล (couple) ดับเบิล (double) 2. เป็นสระอื่นที่ไม่ใช่สระอะ ไม่ต้องซ้อนพยัญชนะ เช่น เจเนอรัล (general) แคลิฟอร์เนีย (California) ข. คำที่เกิดจากการเติมปัจจัย เช่น -er, -ing, -ic, -y ถ้าทำตามข้างต้น (ก. 2)แล้วเสียงผิดไปจากภาษาเดิมมาก ให้ซ้อนพยัญชนะตัวสะกดอีกหนึ่ง เพื่อให้เห็นเค้าคำเดิม เช่น สเวตเตอร์ บุกกิง สนูปปี 9. คำประสมที่มีหรือไม่มีเครื่องหมายยัติภังค์ ให้เขียนติดต่อกันไป เช่น นิวกินี ไนต์คลับ แคลเซียมคาร์บอเนต ครอสสติตช์ (crossstitch) ยกเว้น ศัพท์วิชาการ หรือคำวิสามานยนาม ที่มีเครื่องหมาย ยัติภังค์ เช่น โคบอลต์-๖๐ แมกกรอว์-ฮิลล์ 10. คำคุณศัพท์ที่มาจากคำนาม ซึ่งมีปัญหาว่าจะทับศัพท์ในรูป คำนามหรือคำคุณศัพท์นั้น ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายเหมือนคำนาม หรือหมาย ความว่า "เป็นของ" หรือ "เป็นเรื่องของ" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม เช่น ส่วนโค้งไฮเพอร์โบลา (hyperbolic curve) ประจุอิเล็กตรอน (electronic charge) ความยาวโฟกัส (focal length) 2. ถ้าคำคุณศัพท์นั้นมีความหมายว่า "เกี่ยวข้องกับ" หรือ "เกี่ยวเนื่องจาก" คำนามนั้น ให้ทับศัพท์ในรูปคำนาม โดยใช้ คำ ประกอบ เชิง แบบ อย่าง ทาง ชนิด ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น การดูดกลืนโดยอะตอม (atomic absorption) การแปลงผัน กำลังเชิงอิเล็กทรอนิกส์ (electronic power conversion)

3. ในกรณีที่การทับศัพท์ในรูปคำนามตามข้อ 1 และ2 ข้างต้นนี้ ทำให้เกิดความหมายกำกวมหรือคาดเคลื่อน ให้ทับศัพท์ในรูปคำคุณศัพท์ เช่น กรดซัลฟิวริก (sulfuric acid) ระบบฟิวดัล (feudal system) ระบบเมตริก (metric system) ฟังก์ชันไฮเบอร์โบลิก (hyperbolic function) 11. คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล ให้ทับศัพท์ตามชื่อของบุคคลนั้นๆ โดยใช้คำประกอบ ของ แบบ ระบบ ฯลฯ แล้วแต่ความหมาย เช่น เรขาคณิตระบบยุคลิด (Euclidean geometry) ฟังก์ชันแบบออยเลอร์ (Eulerian function) ลอการิทึมแบบเนเปียร์ (Napierian logarithm) ยกเว้น ในกรณีที่คำคุณศัพท์ที่มาจากชื่อบุคคล เป็นชื่อเฉพาะ ที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไปในแต่ละวงการ ซึ่งอาจสังเกตได้จากการ ที่ในภาษาอังกฤษไม่ได้ใช้อักษรตัวใหญ่ขึ้นต้น ให้ทับศัพท์ในรูป คำคุณศัพท์ เช่น กลุ่มอาบีเลียน (abelian group) 12. คำคุณศัพท์เกี่ยวกับชนชาติต่างๆ ให้ทับศัพท์ในรูปคำนามที่เป็น ชื่อประเทศ เช่น คนสวีเดน (Swedish people) ระบำฮังการี (Hungarian dance) ยกเว้นชื่อที่เคยใช้นานแล้ว ได้แก่ ประเทศเยอรมนี ภาษาเยอรมัน ประเทศกรีซ เรือกรีก ประเทศไอร์แลนด์ ชาวไอริช ประเทศเนเธอร์แลนด์ ชาวฮอลันดา ภาษาดัตช์ ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ ผ้าสวิส สหราชอาณาจักรบริเตนใหญ่และไอร์แลนด์เหนือ คนอังกฤษ สหรัฐอเมริกา รถอเมริกัน สำหรับสหภาพโซเวียต ซึ่งในภาษาอังกฤษใช้คำคุณศัพท์ 2 คำ คือ Soviet... และ Russian... ใช้คำว่า โซเวียต และรัสเซีย เช่น สถาปัตยกรรมแบบโซเวียต (Soviet Style of architecture อาหารรัสเซีย (Russian food) 13. การวางตำแหน่งคำคุณศัพท์ในคำทับศัพท์ ให้ถือหลักเกณฑ์ดังนี้ 1. คำคุณศัพท์ที่ประกอบคำนามที่เป็นภาษาไทย หรือเป็นคำ ทับศัพท์แต่ได้ใช้ในภาษาไทยมาจนถือเป็นคำไทยแล้วให้วาง คำคุณศัพท์ไว้หลังคำนาม เช่น รังสีคอสมิก (cosmic ray) ต้นกรอส (gross ton) 2. ถ้าทั้งคำคุณศัพท์และคำนามเป็นคำทับศัพท์ที่ยังไม่ถือเป็น คำไทย ให้ทับศัพท์ตรงตามศัพท์เดิม เช่น อาร์กติกเซอร์เคิล (Arctic Circle) อะดรีนัลคอร์เทกซ์ (adrenal cortex) 3. ถ้าต้องการเน้นว่าคำนามนั้นเป็นสิ่งที่มีหลายชนิดและ คำคุณศัพท์ที่ประกอบเป็นชนิดหนึ่งหนึ่งของคำนามนั้น

อาจทับศัพท์โดยใช้คำประกอบ แบบ ชนิด ระบบ ฯลฯ มา แทรกไว้ระหว่างคำนามกับคำคุณศัพท์ เช่น เมทริกซ์แบบนอร์แมล (normal matrix) พลาสติกชนิดเทอร์โมเซตติง (thermoseting plastic) 14. คำย่อ ให้เขียนชื่ออักษรตัวนั้นๆ ลงเป็นภาษาไทย เช่น เอฟ (F) เอช (H) แอล (L) เอ็ม (M) เอ็น (N) เอส (S) ดับเบิลยู (W) เอกซ์ (X) แซด (Z) และให้เขียนโดยไม่ต้องใส่จุดและไม่เว้นช่องไฟ เช่น บีบีซี (BBC) เอฟบีไอ (F.B.I) ดีดีที (DDT) 15. คำทับศัพท์ที่ผูกขึ้นจากตัวย่อ ซึ่งอ่านออกเสียงได้เสมือน คำคำหนึ่ง มิได้ออกเสียงเรียงตัวอักษร ให้เขียนตามเสียงที่ ออกและไม่ต้องใส่จุด เ่ช่น ยูซิส (USIS) ยูเนสโก (UNESCO) อาเซียน (ASEAN) 16. ตัวย่อชื่อบุคคล ให้เขียนโดยใส่จุด และเว้นช่องไฟระหว่างชื่อกับ นามสกุล เช่น ดี.เอ็น. สมิท (D.N. Smith) จี.เอช.ดี. โคลด์ (G.H.D. Cold)

Related Documents

Write Eng To Thai
May 2020 13
Thai
December 2019 47
Hw To Write
November 2019 14
I Write To Say.
November 2019 18

More Documents from ""